วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

หลักการของ MVA current operations value (COV) และ future growth value (FGV)

บทความจาก อ.Sanpong Limthamrongkul เรือง "หลักการของ MVA COV และ FGV" ซึ่งเป็นการวิเคราะห์โครงสร้างราคาที่ซื้อขายว่า ตลาดให้มูลค่าหรือราคาตลาดที่ซื้อขายอยู่ตอนนี้ มีองค์ประกอบจากกอะไร อิงกับความสามารถในการดำเนินงานที่เกิดจริงหรือฝากความหวังไว้กับอนาคตมากน้อยเพียงใด เขียนลง facebook [1][2][3][4] ละเอียดมากครับ เชิญอ่านโดยพลัน

  • Market Value Added = Market Value – Accounting Equity Booked Value
  • MVA = MV – BV หรือ ราคา - มูลค่าทางบัญชี

หลักการของ MVA เป็นการแตกยอดต่อออกมาจากแนวคิดเรื่อง EVA โดย MVA คิดง่ายๆ ก็คือ ราคาหุ้นในปัจจุบัน ซื้อขายกันมากกว่าหรือต่ำกว่ามีคงค์ประกอบจากอะไร ถ้ามองแบบต่อหุ้น ง่ายๆก็คือ P-BV (ราคหุ้นลบมูลค่าตามบัญชีต่อหุ้นนั่นเอง) ถ้าราคาหุ้นปัจจุบันสูงกว่าราคาตามบัญชี ก็ต้องดูว่า ที่สูงกว่า มากจาก current operations value (COV) และ future growth value (FGV) เวลาดูต้องดูทั้งสองตัว (และถ้าดูต่อเนื่องหลายๆไตรมาสยิ่งดี) และนำมาพิจารณากับองค์ประกอบอื่นๆด้วย คือ

  1. ถ้า COV มีค่าเป็นบวก (ยิ่งมากยิ่งดี) แสดงว่าราคาหุ้นส่วนหนึ่งอยู่บนมูลฐานของกำไรที่เกิดจริงในอดีตที่ผ่านมามาก และถ้า FGV เป็นบวกด้วย แสดงว่า ตลาดมีมุมมองการเติบโตหรืออนาคตของบริษัทในเชิงบวกสูง
  2. ถ้า COV มีค่าเป็นบวก (ยิ่งมากยิ่งดี) แสดงว่าราคาหุ้นส่วนหนึ่งอยู่บนมูลฐานของกำไรที่เกิดจริงในอดีตที่ผ่านมามาก แต่ถ้า FGV เป็นลบ แสดงว่าอาจเกิเด้สองกรณีคือ ตลาดยังไม่ได้ให้ค่าการเติบโตในอนาคต เป็นไปได้ที่ราคาจะขึ้นได้อีกเมื่อตลาดเป็นแนวโน้มขึ้น และหุ้นนี้โดยพื้นฐานทางอุตสาหกรรมดี เช่น SCC มี FGV ติดลบ ทั้งที่ COV เป็นบวก ถ้ามองว่าอุตสาหกรรมก่อสร้าง และอื่นๆ (ปิโตร กระดาษ) ในอนาคตน่าจะยังดีอยู่ อย่างนี้หุ้นน่าจะขึ้นได้อีกพอควร (มากว่กาตลาด) แต่ถ้าติดลบในอีกกรณีที่มองได้คือ แนวโน้มอุตสาหกรรมอาจจะเริ่มลง (วงจรเข้าสู่ recession) กำไรจะลดลง COV อาจจะลดลง แสดงว่าราคาหุ้นอาจจะอิ่มตัวแล้ว (เต็มมูลค่า) 
  3. ถ้า COV มีค่าเป็นลบ แสดงว่าราคาหุ้นส่วนหนึ่งไม่ได้อยู่บนมูลฐานของกำไรที่เกิดจริงในอดีตที่ผ่านมา และหากถ้า FGV เป็นบวกด้วย แสดงว่า ตลาดกำลังให้อนาคตของบริษัทในเชิงบวกสูง เช่น ITD ที่มี COV ติดลบมาตลอด แต่ FGV เป็นบวก อย่างทีกล่าวมาแล้ว FGV เป็นค่าที่บ่งชี้ว่าตอนนี้ตลาดซื้อชายอนาคตกันอย่างไร FGV อาจจะมีหรือไม่มีพื้นฐาน backup เลยก็ได้ ส่วนนี้โดยส่วนตัววผมมองว่ามักจะเป็น market sentiment มากกว่า หุ้นบางตัวเป็นหุ้นข่าว หุ้นการเมือง หุ้นปั่น ถ้ารู้พติกรรมหุ้นก็ประเมินง่ายขึ้น ITD มักจะเป็นหุ้นอิงข่าวมากกว่า เช่นอนาคตได้โครงการนั้นโครงการนี้ และอิงกับนโยบายเมกกะโปรเจค ก็อยู่ที่นักลงทุนว่าจะชอบหุ้นลักษณะนี้หรือไม่ เพราะราคาหุ้นส่วนใหญ่พึ่งพิงกับอนาคตทั้งหมด ราคาอิงกับโครงการทวายในพม่าเป็นส่วนใหญ่ เป็นต้น 
  4. ถ้า COV มีค่าเป็นลบ และ FGV เป็นลบด้วย แสดงว่า ตลาดมีมุมมองการเติบโตหรืออนาคตของบริษัทในทางลบสูง พื้นฐาน (กำไรก็ไม่มี ขาดทุน) หุ้นพวกนี้ P/E เป็น N/A มี PBV ก็ต่ำกว่า 1 มาก หุ้นที่กลุ่ม VI บางคนชอบ มักจะเข้าข่ายแบบนี้โดยไม่รู้ตัว ที่บางคนเรียกว่า turnaround ตลาดมองไม่มีอนาคต แต่เรามองหาเจอ มันอาจพลิกเป็นแบบ 1 หรือ 2 เลยก็ได้ ที่เรียกว่าหลายเด้ง หุ้นกลุ่มนี้ลุ้นอนาคตล้วนๆ งบการเงินก็ไม่บอกอะไร เพราะบอกแต่อดีตที่แสนเศร้า ตาดีได้ตาร้ายเสีย การวิเคราะหุ้นแบบนี้ต้องเน้น qualitative analysis (วิเคราะห์เชิงคุณภาพ เช่น โครงสร้างผู้ถือหุ้น โครงสร้างบริษัท คุณภาพ board ทีมผูบริหาร วัฒนธรรมองค์กร ภาพรวมและแนวโน้มอุตสาหกรรม เป็นต้น) การวิเคราะห์เชิงปริมาณ (quantitative analysis วิเคราะห์ตัวเลขจากงบการเงิน) แทบจะใช้ไม่ได้ดีเท่าไร

สรุป : การวิเคราะห์ MVA ต้องดูทั้ง COV และ FGV อย่าดูค่าเดียวค่าหนึ่งแล้วสรุปทันที COV คือของเห็นๆ กำไรที่เกิดจริง ส่วน FGV เป็นเรื่อง อนาคต market sentiment

ตัวอย่างการคำนวณ MVA COV และ FGV


IVL : EPS 55 = 0.96 price as of 08/07/2556 = 17.10
ถ้าคิดจากงบปี 55 กำไรต่อหุ้นต้องหัก one time gain/(loss) ดังนี้
กำไรจากการต่อรองราคาซื้อ 847.5 MB ต่อหุ้น = 847.5/4,814.3 = 0.18
ผลกระทบจากน้ำท่วม-สุทธิ 1,873 MB ต่อหุ้น = 1,873/4,814.3 = 0.39
Adj EPS = 0.96 – 0.18 – 0.39 = 0.39
ถ้าดูย้อนหลังจะยิ่งเข้าใจชัดเจนว่า ทำไมราคาหุ้นลง เพราะ COV ลดลงทุกปี
ล่าสุด 1Q56 = 0.1 กำไรย้อนหลัง 4 ไตรมาส = 0.7 ปรับย้อนหลังออกจาก onetime ปีก่อน 0.57 x ¾ = 0.4
Adj EPS = 0.3
ถ้า rk = Expected return (Cost of capital) = 18% (Expected Market return)
COV = 0.3/0.18 = 1.16
MVA = 17.5 -11.15 = 6.35
COV = 1.16 ดังนั้น FGV = 5.19 มูลค่าส่วนใหญ่เป็นการคาดหวังอนาคตเกือบทั้งหมด ถ้าดูปี 55 ที่ผ่านมา Adj EPS = 0.96 – 0.18 - 0.39 = 0.39
COV = 0.39/.18 = 2.17 ดังนั้น FGV = 25.25 (price 31 dec 55) – 2.17 = 23.08 ตลาดคาดหวังมูลค่าในอนาคตสูง ซึ่งอาจคาดหวังการฟื้นของราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี แต่ถ้าการฟื้นตัวทอดเวลายาวไป เช่นหลังไตรมาสที่สามปี 56 มูลค่าส่วนเกินก็จะถูก discount ลงเรื่อยๆ ราคาส่วนเกิน MVA ก็ลดลง

ITD EPS 1Q56 = 0.08
มีรายการ one time คือ กลับรายการค่าเผื่อการด้อยค่าเงินลงทุนรับรู้เป็นกำไร 182 MB คิดเป็นต่อหุ้น 0.04 บาท เกิดในไตรมาสสองหักทั้งจำนวน ส่วนปีก่อนไม่มี จึงไม่ต้องนำมาปรับ
กำไร 4 ไตรมาสย้อนหลัง = 0.15 ลบ 0.04 = 0.11
ถ้า rk = Expected return (Cost of capital) = 18% (Expected Market return)
COV = 0.11/0.18 = 0.61
MVA = 4.18 -0.61 = 3.57
COV = 1.16 ดังนั้น FGV = 5.19 มูลค่าส่วนใหญ่เป็นการคาดหวังอนาคตเกือบทั้งหมด ดังนั้นราคาหุ้นจะอ่อนไหวต่อข้อมูลสุง เช่น โครงการทวาย งบป้องกันน้ำท่วม ซื้อหุ้นนี้คือการเล่นกับข่าว ไม่ใช่ปัจจัยพื้นฐาน

ดูอีกตัวหนึ่ง PTTEP EPS 1Q56 = 5.08
มีรายการ one time คือ กำไรจากอนุพันธ์ทางการเงิน 44 MB คิดเป็นต่อหุ้น 0.01 บาท
กำไร 4 ไตรมาสย้อนหลัง = 16.59 ลบ 0.01 = 16.58
ถ้า rk = Expected return (Cost of capital) = 18% (Expected Market return)
COV = 16.59/0.18 = 92.17
MVA = 161.5 – 92.17 = 69.33 หุ้น PTTEP มีสัดส่วน COV มากกว่า FGV แสดงถึงมูลค่าหุ้นมีองค์ประกอบจากการดำเนินงานที่มากกว่า ชี้ว่าหุ้นนี้ค่อนข้างเติบโตจาก real operation


ย้ำนะครับว่า การวิเคราะห์หา MVA COV FGV ไม่ใช่การหามูลค่าหุ้น แต่เป็นการวิเคราะห์โครงสร้างราคาที่ซื้อขายว่า ตลาดให้มูลค่าหรือราคาตลาดที่ซื้อขายอยู่ตอนนี้ มีองค์ประกอบจากกอะไร อิงกับความสามารถในการดำเนินงานที่เกิดจริงหรือฝากความหวังไว้กับอนาคตมากน้อยเพียงใด หุ้นบางตัว P/E สูง แต่ผลการดำเนินงานก็สูง ผลตอบแทนต่างๆ ก็สูง (ROE, ROA สูง) ก็ดูสมเหตุสมผล บางตัว ผลการดำเนินงานต่ำ บางตัวยังขาดทุนแต่ก็อาจมี P/E สูงอยู่ เพราะตลาดเล่นข่าวข้างหน้า เช่นหุ้นกลุ่มรับเหมาก่อสร้างบางตัว เล่นข่าวโครงการทวาย โครงการน้ำท่วม ให้ P/E กันสูง แม้บางครั้งอาจดูยังไม่มาก เช่น 20-30 เท่า แต่เมื่อวิเคราะห์แล้วพบว่า MVA มี FGV เป็นองค์ประกอบเกือบทั้งหมด (> 80%) แสดงว่า ราคาหุ้นได้บวกมุลค่าอนาคตไว้เกือบทั้งหมด ถ้าเกิดความไม่แน่นอนขึ้นราค็จะตกแรงด้วย ขนาดโครงการน้ำท่วมได้ประมูลแล้วยังทำท่าจะแท้งได้เลย ดังนั้นการซื้อขายข่าวอนาคตมากก็เสี่ยงมาก และที่ใช้ EPS 4 ไตรมาสย้อนหลังเพราะว่า เราหารด้วย rk ต่อปี ดังนั้นควรใช้กำไรย้อนหลัง 1 ปี และควรใชข้อมูลจริงที่ใกล้ที่สุด ไม่ใช่ข้อมูลเพียงสิ้นปี เพราะบางคร้งเราวิเราะห์ กลางปี หรือไตรมาสที่สาม การใช้ปลายปีก่อนจะห่างไป

ความสัมพันธ์ MVA กับ PBV และ PE


MVA = Market Capital – Equity Booked Value (1)
MVA per share = Stock price – BV {(1) หารด้วย จำนวนหุ้น}
ดังนั้น PBV 1.2 เท่า แปลว่า หุ้นมี MVA 20% ของมูลค่าทางบัญชี
องค์ประกอบ MVA = COV + FGV = Current Operating Value + Future Growth Value
ถ้าหาคร่าวๆ อาจปรับ one-time gain/loss ออก ได้ adj.EPS แล้วเอา adj.EPS/rk
มาลบออก จะได้ COV ต่อหุ้น MVA – COV = FGV ต่อหุ้น
rk = Cost of Equity อาจหาจากสมการ CAPM หรือประเมินด้วยความเหมาะสม
FGV = P - BV – EPS / rk
ดังนั้น PVB ที่มาก แสดงว่า ตลาดให้ market value added สูง
วิเคราะห์องค์ประกอบว่า MVA ต่อหุ้นที่สูงมาจาก COV หรือ FGV
COV หาจาก P/E ได้โดย เอา Price / PE จะได้ EPS เบื้องต้น
ดูงบล่าสุดว่ามี one-time gain/loss ต่อหุ้นมากน้อย ปรับปรุง
adj. EPS / rk = COV ต่อหุ้น
เอามาลบออกจาก MVA จะได้ FGV
จะเห็นว่าถ้า P/E สูงมาก แสดงว่า EPS จะน้อยเมื่อเทียบกับราคา
ดังนั้น PE ยิ่งสูง COV ยิ่งน้อย
COV ยิ่งน้อย FGV ยิ่งมีสัดส่วนมาก ถ้า PBV มากแปลว่า MVA ยิ่งสูงมาก
ดังนั้นหุ้นที่มี PBV ต่ำ P/E ต่ำ MVA มีสัดส่วน มาจาก COV มาก ดี

  • หุ้นที่มี PBV สูง P/E สูง MVA มีสัดส่วน มาจาก FGV มาก ไม่ดีนัก
  • หุ้นที่มี PBV ต่ำ P/E สูง MVA มีสัดส่วน มาจาก FGV มาก ไม่ดีนัก
  • หุ้นที่มี PBV สูง P/E ต่ำ MVA มีสัดส่วน มาจาก COV/FGV มาก ?

ข้อสรุปจากการคำนวณมูลค่าทางทฤษฎี ด้วย MVA & QE (คุณภาพกำไร)



  1. หุ้นที่มี QE เป็นบวกจะมี จะมีมูลค่า COV เป็นบวกด้วยเช่นกัน เพราะ QE (เกิน 1) แสดงว่ามีกระแสเงินสดเป็นบวกสูง แต่หากค่า QE ผันผวน มาก ค่า COV จะมีแนวโน้มลบเพราะกำไรจะมีโอกาสต่ำกว่าต้นทุนของต้นทุนส่วนของผู้ถือหุ้น 
  2. หุ้นที่มี COV เป็นลบ เป็นหุ้นที่มีความเสี่ยงในการปรับตัวลงระยะยาว หรือให้ผลตอบแทนระยะยาวต่ำกว่าตลาด 
  3. หุ้นที่มี FGV มากๆ แสดงว่ามูลค่าหุ้นซื้อขายบนข้อมูลที่คาดหวังในอนาคตมาก แสงว่ามูลค่าหุ้นในปัจจุบันไม่ได้ยืนหรืออิงจากผลการดำเนินงานที่เกิดจริง เช่น ITD มักขึ้นกับโครงการขนาดใหญ่ในอนาคตว่ามีโอกาสได้หรือไม่ จึงอิงการเมืองมากกว่าเรื่องผลประกอบการจริง 
  4. นักลงทุนควรประเมินค่า FGV ด้วยว่า ขณะนี้ตลาดให้มูลค่าการเติบโตในอนาคตเหมาะสมกับสถานการณ์หรือไม่ มองบวกมากไปหรือน้อยไปค่า FGV เป็นลบแสดงว่าตลาดอาจะมองเหมาะสมแล้ว (ถดถอย) หรือตลาดอาจจะ underestimate ทำให้ราคา undervalue ไปจากที่ควรเป็น


ที่มา
https://www.facebook.com/sanpong.limthamrongkul/posts/10200665876547761
https://www.facebook.com/sanpong.limthamrongkul/posts/10200665879427833
https://www.facebook.com/sanpong.limthamrongkul/posts/10200665891948146
https://www.facebook.com/sanpong.limthamrongkul/posts/10200665895268229

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น

สงสัยอะไรถามได้ครับผม