วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556

ปัญหาเรื่อง CAPEX และ CWC ในการคิด DCF

มีมิตรสหายท่านหนึ่งอยากลองหามูลค่าหุ้นด้วยวิธี DCF แต่ติดปัญหาเรื่อง CAPEX และ CWC ได้โพสถามใน http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=1&t=56411 และได้คำตอบอันทรงคุณค่าดังนี้ครับ

1. CAPEX (Capital Expenditure)


ผมเลือกรายการที่อยู่ใน "กระแสเงินสดจากกิจกรรมการลงทุน" ในบรรทัดสีแดงมาคิด CAPEX
ผมสงสัยว่า "เงินสดจ่ายสำหรับการซื้อเงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขาย" ต้องเอามาคิดด้วยหรือเปล่าครับ ?ผมเลือกถูกแล้วใช่ไหมครับ ?


  • เงินฝากธนาคารที่ติดภาระค้ำประกันลดลง (เพิ่มขึ้น)
  • เงินสดรับจากการจำหน่ายเงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขาย
  • ดอกเบี้ยรับ
  • เงินปันผลรับ
  • เงินสดรับจาก (จ่ายสำหรับ) การลงทุนในเงินลงทุนระยะสั้น
  • เงินสดจ่ายสำหรับการซื้อเงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขาย
  • เงินสดรับจากการจำหน่ายสินทรัพย์ถาวร
  • เงินสดจ่ายซื้อสินทรัพย์ถาวร
  • เงินสดจ่ายซื้อสินทรัพย์ไม่มีตัวตน


2. CWC (Changes in Working Capital)


ผมเลือกรายการที่อยู่ใน "สินทรัพย์" ในบรรทัดสีแดงมาคิด CWC
ผมสงสัยว่า "ภาษีเงินได้นิติบุคคลค้างจ่าย" ต้องเอามาคิดด้วยหรือเปล่าครับ ?
ผมเลือกถูกแล้วใช่ไหมครับ ?
สินทรัพย์หมุนเวียน

  • เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
  • เงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขาย
  • ลูกหนี้การค้า
  • กิจการที่เกี่ยวข้องกัน
  • กิจการที่ไม่เกี่ยวข้องกัน
  • ลูกหนี้จากการขายผ่อนชำระที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี
  • สินค้าคงเหลือ
  • สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น
หนี้สินหมุนเวียน

  • เจ้าหนี้การค้า
  • กิจการที่เกี่ยวข้องกัน
  • กิจการที่ไม่เกี่ยวข้องกัน
  • เจ้าหนี้ค่าซื้อสินทรัพย์
  • ภาษีเงินได้นิติบุคคลค้างจ่าย
  • หนี้สินหมุนเวียนอื่น

ขอบคุณครับ

มิตรสหายอีกท่านตอบว่า

1. CAPEX (Capital Expenditure)


"เงินสดจ่ายสำหรับการซื้อเงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขาย" ต้องเอามาคิด CAPEX ด้วยหรือเปล่าครับ ?

สมมติว่าเป็นธุรกิจประเภท Manufacturing ซึ่งไม่ใช่ธุรกิจที่ต้องค้าเงิน
(ธุรกิจที่ต้องค้าเงิน เช่น ธนาคาร โบรกเกอร์ ประกัน กองทุนรวม)
ตอบ ไม่ต้องเอามาคิดใน CAPEX ครับ

ขออธิบายเพิ่มครับ
ขอโยงไปงบกระแสเงินสด หมวด Cash Flows from Investing Activities (CFI)
This section of the cash flow statement shows the amount of cash firms spend on investments. Investments are usually classified as either capital expenditures--money spent on items such as new equipment or anything else needed to keep the business running--or monetary investments such as the purchase or sale of government bonds. The most important parts of this section for investors are typically the capital expenditures line item and the line item for acquisitions of other businesses.
สรุป จะเห็นว่า "เงินสดจ่ายสำหรับการซื้อเงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขาย" อยู่ใน CFI เหมือน Cap. Ex.
แต่เป็นอีกกลุ่มนึง กล่าวคือไม่ต้องเอามาคำนวณเพื่อหา Cap. Ex. นั่นเอง
อย่าลืมว่า Cap. Ex. คือเงินลงทุนที่บริษัทจำเป็นต้องจ่าย เพื่อรักษา capacity ในการผลิตให้เท่าเดิม
เมื่อเรานำ Cap. Ex. ไปคำนวณหา Free Cash Flow to Firm ได้แล้ว จึงขึ้นอยู่กับผู้บริหารว่าจะนำกระแสเงินสดอิสระส่วนนี้ ไปใช้ชำระหนี้ ใช้จ่ายปันผล หรือจะใช้ขยายกำลังการผลิต อย่างละเท่าไหร่ดี
ขณะที่ "เงินสดจ่ายสำหรับการซื้อเงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขาย" ไม่ได้มีความจำเป็นที่บริษัทจะต้องนำ Operating Cash Flow มาใช้กับเรื่องนี้ แต่ "เงินสดจ่ายสำหรับการซื้อเงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขาย" เกิดขึ้นเพราะเป็นการบริหารสภาพคล่องระยะสั้นด้วยการเอาเงินสดไปซื้อสินทรัพย์ดังกล่าว

แต่ "เงินสดรับจากการจำหน่ายสินทรัพย์ถาวร(ที่ไม่ใช่พวกอสังหาฯเพื่อการลงทุน)" ควรเอามาใช้คำนวณ Cap. Ex . ด้วยครับ เพราะรายการนี้อยู่ใน CFI ในกลุ่ม Cap. Ex.
โดยรายการ"เงินสดรับจากการจำหน่ายสินทรัพย์ถาวร" ดังกล่าวต้องมีเครื่องหมายบวกหรือลบตรงข้ามกับ
"เงินสดจ่ายซื้อสินทรัพย์ถาวร & เงินสดจ่ายซื้อสินทรัพย์ไม่มีตัวตน"

ส่วน "เงินสดจ่ายซื้อสินทรัพย์ถาวร" และ "เงินสดจ่ายซื้อสินทรัพย์ไม่มีตัวตน" ต้องเอามาคิดใน Cap. Ex. ด้วย ถูกต้องแล้วครับผม

2. CWC (Changes in Working Capital)

"ภาษีเงินได้นิติบุคคลค้างจ่าย" ต้องเอามาคิดด้วยหรือเปล่าครับ ?

ถ้าหมายถึง Deferred Tax Assets and Liabilities
ตอบ ไม่ต้องเอามาคิดครับ
อ้างอิงยาวเลยครับ
Net working capital is supposed to represent those assets and liabilities that are expected to have a short-term impact on cash and equity. Current assets are generally those that are expected to generate cash within twelve months. Current liabilities are generally those that are expected to use cash within the same time frame.

Looking at the name alone, most people think that deferred tax assets and liabilities refer to expected tax refunds or taxes due. Deferred tax assets and liabilities, however, are not the actual taxes, but simply an accounting concept. They refer to “timing differences,” an accounting term used to describe a situation in which certain revenue and expenses are recognized differently for tax purposes and book purposes, and are non-cash in nature. Even though they may be classified as short-term on the balance sheet, the calculation is derived from the classification of the underlying asset or liability that has the timing difference for tax purposes. It does not necessarily follow that the deferred tax asset or liability will have any impact on cash within twelve months, or ever.

SRS recommends that the parties to a merger go line by line through the target company’s chart of accounts to determine which items impact the value of the business, and therefore should be included in working capital calculations, and which do not. Non-cash items, such as deferred tax assets and liabilities, often should be specifically excluded from the definition of working capital in merger agreements. If they are not excluded in your transaction, pay special attention to their anticipated impact on determining the estimated balance sheet or any target level of net working capital. Otherwise, one of the parties might find the economic deal changed for reasons that do not make sense. We have seen large adjustments made to the purchase price for reasons that will never affect the combined company’s actual cash position or value. This result can be hard for selling shareholders or the buyer to countenance, especially if they realize the impact after it is too late to change.
https://www.shareholderrep.com/beware-o ... abilities/


สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น, หนี้สินหมุนเวียนอื่น, เจ้าหนี้ค่าซื้อสินทรัพย์

ตอบ
"สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น"
>>ถ้ารายการนั้นมีสถานะเสมือนเงินสดหรือหลักทรัพย์เทียบเท่าเงินสด ก็ไม่ต้องนำมาคำนวณใน changes in working capital
>>แต่ถ้ารายการนั้นมีสถานะเหมือนลูกหนี้การค้า หรือไม่ก็ สินค้าคงคลัง ก็ต้องนำมาคำนวณใน changes in working capital
เหตุผลที่เป็นเช่นนั้นเพราะ CHANGES in working capital แท้จริงแล้วก็คือวัดการเปลี่ยนแปลงของ "ลูกหนี้การค้า, สินค้าคงคลัง, เจ้าหนี้การค้า" ว่ากลายเป็น "เงินสดและหลักทรัพย์เทียบเท่าเงินสด" เท่าไร นั่นเอง
พูดง่ายๆคือการเปลี่ยนแปลงของสองกลุ่มในเครื่องหมาย "" สองบรรทัดข้างบน ต้องมีค่าเป็นจำนวนเงินเท่ากัน
เช่น ลูกหนี้การค้ารวมถึงสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้น 10 บาท ทำให้ สิ้นปีนั้นเงินสดและหลักทรัพย์เทียบเท่าเงินสด ก็จะมีค่าลดลง 10 บาทไปด้วยเพราะเงิน 10 บาทถูกนำไปแปลงเป็นลูกหนี้รวมถึงสินค้าคงคลังดังกล่าว ฉะนั้นคิดด้านเดียวคือด้านการเปลี่ยนแปลงของ"ลูกหนี้การค้า, สินค้าคงคลัง, เจ้าหนี้การค้า"ก็พอแล้ว ถ้าเอาไปรวมกับการเปลี่ยนแปลงของเงินสดด้วย ก็จะเป็นการนับซ้ำ

"หนี้สินหมุนเวียนอื่น, เจ้าหนี้ค่าซื้อสินทรัพย์"
ถ้าบริษัทต้องเอาเงินสดไปจ่ายคืนเค้าภายใน 12 เดือน ยกตัวอย่างเช่น wage payable
ก็ต้องเอา changes ของรายการพวกนี้มาคิดใน changes in working capital ด้วย
เพราะเนื้อหาสาระของรายการพวกนี้เหมือน เจ้าหนี้การค้า ในแง่ที่ว่าเป็นรายการที่เป็นแหล่งใช้ไปของเงินสดในรอบ 12 เดือนเหมือนกันนั่นเอง

แนะนำให้ไปอ่านเรื่องการคำนวณ "Operating Cash Flow แบบ indirect method" เพิ่มเติมครับ

Free Cash Flow to Firm

Capital Expenditure

http://www.investopedia.com/video/play/what-is-capex/

Working Capital

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น

สงสัยอะไรถามได้ครับผม