วันอังคารที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2556

EBITDA ความหมายและการใช้งาน

เพื่อนๆหลายคนเองได้ยิน Warren Buffets กล่าวว่า "EBITDA เป็นตัวเลขที่นักวิเคราห์กล่าวอ้างไม่ได้มีความสำคัญอะไรเลย" ทำให้หลายคนไม่ได้ให้ความสำคัญกับ EBITDA เพราะตีความคำพูดของ Warren Buffets ผิดไป จริงๆแล้วตัวเลขตัวนี้มีความสำคัญมากครับ

1.ความหมายของ EBITDA


EBITDA = Earning Before Interest Tax Depreciation and Amortization
แปลเป็นไทยก็คือ กำไรก่อน ดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อม และค่าตัดจำหน่าย EBITDA นิยมใช้วัด Performance ของบริษัทที่เป็นพวกโรงงานมีค่าเสื่อมสูงๆ เราลองมาดูตัวอย่างกันครับ

สมมุติ สมชาย เป็นเจ้าของ Apartment แห่งหนึ่ง ซึ่งไม่มีหนี้สินอะไร สมชายต้องการยก Apartment ให้ลูกชายไปบริหารต่อ โดย Apartment มีกำไรขาดทุนดังนี้ แต่สมชายขอร้องลูกชายว่าห้ามขาย Apartment แห่งนี้ซึ่งเป็นสมบัติของตระกูล

กำไรขั้นต้น(Gross Profit) 50,000 บาท
ค่าบริหารจัดการ(Admin) 30,000 บาท
ค่าเสื่อมราคา(Depreciation) 30,000 บาท
กำไรก่อนภาษี  -10,000 บาท

ตัว ลูกชายพอเห็นงบการเงินแล้วก็ได้ปฎิเสธพ่อ ไปอย่างสุภาพว่า ไม่เอาครับ พ่อ Apartment พ่อบริหารขาดทุนนี่ ผมเอามาแล้วนอกจากไม่มีกำไรยังต้องควักเงินส่วนตัวไปสนับสนุนอีก

  • ถามว่าลูกชายสมชายถูกหรือผิดอย่างไรครับ?

ถ้า ใครตอบว่าลูกสมชายถูกแสดงว่ายังไม่เข้าใจเรื่องบการเงิน กับเรื่องกระแสเงินสด จริงอยู่ที่ Net Income ของ Apartment แห่งนี้ติดลบแต่ หากดู EBITDA จะเป็นบวกนะครับ EBITDA = + 20,000 THB หมายความว่า Apartment แห่งนี้ยัง Generate เงินสดให้สมชายอยู่ถึงเดือนละ 20,000 บาทเลยทีเดียว
ตัว Depreciation นั้น เป็นค่าใช้จ่ายที่เรียกว่า Sunk Cost ครับ คือ Cash ส่วนนี้ได้ออกจากบริษัทไปนานแล้วแต่ที่ยังโชว์ในงบการเงินเป็นไปตามหลักการ Cost-Revenue Matching ครับ

ดังนั้นหากบริษัทที่เราสนใจมี Net Income ติดลบ แต่ EBITDA เป็นบวก ก็เป็นหลักประกันระดับหนึ่งว่าธุรกิจอาจจะไม่แย่อย่างที่คิด เราคงต้องมาวิเคราะห์กันก่อนว่าสาเหตุมาจากอะไร
  • ติดลบจากค่าเสื่อมราคา( Depreciation): ต้องมองลึกไปดูนโยบายตัดค่าเสื่อมว่าสมเหตุสมผลหรือไม่ บางบริษัทใช้นโยบายตัดค่าเสื่อมเร็วเพื่อโชว์ Net Income น้อยๆเพื่อประหยัดภาษี ปีแรกๆจะค่าเสื่อมเยอะ แต่พอตัดค่าเสื่อมสินทรัพย์หมด ก็กำไรเต็มๆ
  • ติดลบจากบรรทัดค่าใช้จ่ายทางการเงิน( Interest): อาจจะเป็นไปได้ว่าโครงสร้างทางการเงินของบริษัทไม่ดี เช่นมีสัดส่วนหนี้สินต่อทุนมากเกินไป ถ้ามีการปรับโครงสร้างหนี้( restructure) บริษัทก็จะเป็นสัญญานของการ turnaround ได้ 
นี่เป็นสาเหตุที่นักวิเคราะห์หุ้น Turnaround มักจับจ้องตัวเลข EBITDA  โดยถ้าบริษัทขาดทุนเป็นเวลานานๆแล้วปีไหน EBITDA พลิกกลับมาเป็นบวก ก็เป็นสัญญานว่าอาจจะพลิกฟื้นกลับมาได้

ตัวอย่าง
HOTPOT

หุ้น HOTPOT ใครๆก็ว่าไม่ดีครึ่งปี 2556 ยอดขายตั้ง 1162 ล้านบาทแต่เหลือกำไรสุทธิแค่ 23.39 ล้านบาทเอง แต่ถ้าดูค่าเสื่อมราคาที่สูงถึง 75 ล้านบาท ทำให้บริษัทมี EBITDA ถึง 111 ล้านบาท ก็น่าสนใจว่าทำไมทำธุรกิจแล้วไม่คุ้มค่าเสื่อม จำนวนลูกค้าน้อยไปหรือเปล่า
AKR
หุ้น AKR ใครๆก็ว่าไม่ดี ปี 2554 ขาดทุน 105 ล้านบาท แต่ EBIT เป็นบวก 105 ล้านบาท ติดลบเยอะๆ มาจากดอกเบี้ยจ่ายที่สูงมาก เพราะต้องจ่ายในอัตราผิดนัดชำระหนี้

แต่ถ้าบริษัทปกติผมจะมอง EBITDA เที่ยบกับค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่าย ถ้าบริษัทไหนที่ EBITDA สูงก่าค่าเสื่อมมากๆ ก็แปลว่าใช้สินทรัพย์ได้เก่งกว่า ถ้าดูงวด 6 เดือนเทียบกัน


  • HOTPOT EBITDA/DA = 111.41/75.6 = 1.47
  • AKR  EBITDA/DA = 132.58/46.68 = 2.84


จะเห็นว่า AKR ทำ EBITDA ได้มากกว่าค่าเสื่อมถึง 2.84 เท่า ถ้ามองค่าเสื่อมเป็นต้นทุนคงที่ตัวนึง บริษัทที่มีต้นทุนคงที่สูงๆ และทำกำไรได้แค่ปริ่มๆค่าเสื่อม กำไรจะผันผวนกว่า คนที่ถือก็จะเสียวๆ

2.ข้อควรระวังของ EBITDA


EBITDA ละเลย ค่าใช้จ่ายงบลงทุน (Capex) เพื่อให้กิจการยังคงสภาพเดิม หรือคงความสามารถในการแข่งขันได้ (matainant Capex) ดังนั้น Warren Buffets จึงแนะนำให้ใช้ Free cash flow จะดีกว่าครับ
สมมติว่า ในแต่ละปี ลูกชายจะต้องใช้เงินสด เพื่อลงทุน ตกแต่ง ปรับสภาพให้ Apartment คงความสวยงาม ลูกค้ามาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง โดยค่าใช้จ่ายในการรักษาสภาพนี้ ปีละ 10,000 บาท นอกจากนี้ทุกๆ 5 ปี จะต้องมีการปรับปรุงครั้งใหญ่ ใช้งบลงทุน 50,000 บาท

นั่นคือ

  • ปีที่ 1 = 10000
  • ปีที่ 2 = 10000
  • ปีที่ 3 = 10000
  • ปีที่ 4 = 10000
  • ปีที่ 5 = 10000+50000 = 60000

รวมทุกๆ 5 ปี ต้องมีค่าใช้จ่ายลงทุนปรับปรุง Apartment 100,000 บาท
ในขณะที่ EBITDA ปีละ 20,000 บาท >>> 5 ปี = 100,000 บาท
เท่ากับว่าทำธุรกิจมา ก็ไม่ได้เงินสดคืนมาให้ตัวเองเลย

ตัวอย่างในตลาด
SAFARI
หุ้น SAFARI ทำสวนสัตว์ซาฟารีเวิล และภูเก้ตแฟนตาเซีย กระแสเงินสดจากการดำเนินงานได้มาก็ต้องเอาไปลงทุนซ้ำเยอะมากซื้อสัตว์ชุดใหม่เข้าสวนสัตว์ ทำให้เงินสดสุทธิจากการกิจกรรมลงทุนติดลบ  แถมต้องเอาไปโป๊ะหนี้อีก(เงินสดสุทธิจากการกิจกรรมจัดหาเงินติดลบ) เงินแต่ละปีแทบไม่เหลือ

นอกจากงบลงทุนแล้ว EBITDA ยังไม่ได้หัก เงินทุนหมุนเวียนคือเงินที่ต้องนำไปลงทุนใน ลูกหนี้ สินค้าคงเหลือ และเจ้าหนี้การค้า

ยังไม่พอ EBITDA ยังไม่ได้หัก ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากต้นุของเงินทุนเช่นดอกเบี้ย และการจ่ายเงินต้น

ดังนั้น EBITDA จึงเป็นกำไรในรูปเงินสด ต่างกับ Free cash flow ตรงที่ยังไม่ได้หัก การเปลี่ยนแปลงในเงินทุนหมุนเวียน CAPEX และการจ่ายดอกเบี้ยและเงินต้น

3.อัตราส่วนทางการเงินที่ใช้วิเคราะห์ EBITDA


อัตราส่วนแรกเลยคือ EBITDA margin คำนวณจาก EBITDA/รวมรายได้ จะบอกว่ารายได้ 100 บาทสามารถสร้างเป็น EBITDA ออกมาได้เท่าไร ยิ่งมากก็ยิ่งดี แต่อย่าลืมว่า  EBITDA ไม่ได้หักค่าเสื่อมซึ่งก็คือเงินลงทุนหรือ CAPEX ในอนาคตนั่นเอง

อัตราส่วนต่อมาคือ EBITDA/DA หรือ EBITDA ต่อ ค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่าย บริษัทที่สามารถทำ EBITDA ได้มากกว่าค่าเสื่อมเยอะๆ แสดงว่าสามารถนำสินทรัพย์ไปทำกำไรได้มากกว่าการเสื่อมค่าลงของสินทรัพย์ ยิ่งเยอะยิ่งดี

บริษัทที่เพิ่งเริ่มลงทุน EBITDA มักเลยค่าเสื่อมไปไม่มาก เนื่องจากรายได้ยังไม่ถึงจุดคุ้มทุน ทำให้กำไรค่อนข้างผันผวนถ้ารายได้เปลี่ยนแปลงไปนิดเดียว กำไรมันจะผันผวนตามไปด้วย

อีกประเด็นหนึ่งคือบริษัทที่มี EBITDA/DA ใกล้ๆ 1 ต่อเนื่องหลายๆปี แสดงให้เห็นว่าบริษัทมีการจัดการภายในที่ไม่ดีเช่นกัน


3.การประเมินมูลค่าด้วย EV/EBITDA


เป็นอัตราส่วนครับคืออัตรส่วน EV / EBITDA โดยที่ EV, enterprise value คือสิ่งที่คุณจ่ายคำนวณมากจาก มูลค่าตลาดของหุ้น + มูลค่าตลาดของหนี้ - เงินสด ตีความเหมือนเราซื้อสินทรัพย์ที่ปลอดหนี้ เที่ยยบกับสิ่งที่ได้รับคือ EBITDA อัตราส่วนนี้ยิ่งต่ำยิ่งดี แต่การใช้การจะดูคู่กับ ค่าใช้จ่ายงบลงทุน เพื่อให้กิจการยังคงสภาพเดิม หรือคงความสามารถในการแข่งขันได้ (reinvestment) ถ้าบริษัทไหนมี EV / EBITDA ต่าๆ และ reinvestment ต่ำด้วยจะดีมากเหมือนว่าเงินสดของกิจการก็เอามาใช้ได้เกือบหมด


แต่ปัญหาก็อยู่ตั้งแต่นิยามของ EV EBITDA นั่นเอง คือในชีวิตจริงก็ไม่มีใครทำธุรกิจแล้ว  ไม่ลงทุนต่อ เอา EBITDA มาใช้ทั้งหมด ก็ต้องมีการลงทุนซ้ำเรื่อยๆเพื่อการเติบโต หรือแม้แต่ค่าเสื่อมเองก็ไม่สามารถนำไปใช้งานได้ทั้งหมด เนื่องจากเมื่อสินทรัพย์หมดอายุการใช้งานไป ก็ต้องซื้อใหม่อยู่ดี ถ้าค่าเสื่อมที่ตัดไปเอาออกมาใช้ทั้งหมด ก็แสดงว่าจะไม่มีเงินซื้อสินทรัพย์ใหม่ บริษัทก็จะเจ้งไป

ค่า EV/EBITDA สามารถดูได้ใน factsheet ของตลาดหลักทรัพย์ครับผม ตลาดหลักทรัพย์คำนวณไว้ให้เรียบร้อย

จะเห็นว่า EBITDA เป้นกำไรตัวหนึ่งที่มีปประเด็นให้วิเคราะห์มากมาก ถ้าเรารู้ประเด็นต่างๆจะทำให้เราได้ประโยชน์มากครับ


☀หลักสูตรวิเคราะห์หุ้นด้วยปัจจัยพื้นฐาน☀


✅เจาะลึกหุ้นอย่างเซียน เห็นผลจริง100% สไตร์ อ.ภัทร
✅Workshop !! ทำจริง เห็นผลจริง พิสูจน์ได้
✅เรียนคลาสเล็ก ถามได้ทุกคำถามคาใจ

☀เรียนแล้วได้อะไร☀


✅10 จุุดสำคัญอ่านงบการเงิน วิเคราะห์ธุรกิจไม่เสียเวลา
✅ปัจจัยเร่ง ให้หุ้นวิ่ง และสัญญาณยืนยันในงบการเงิน
✅ประมาณราคาเหมาะสม เห็นเป้าราคาหุ้นตั้งแต่วันที่ซื้อ
✅เคล็ดลับสแกนหุ้น ถูก ดี กำไรโต

🔈สอนโดย อ ภัทรธร ช่อวิชิต
นักลงทุนอิสระ เจ้าของผลงานหนังสือ คุ้ยแคะแกะหุ้นเด้ง และเจาะหุ้นร้อนสแกนหุ้นเด้ง

=======================================

🔈รายละเอียดหลักสูตร วันเวลา

www.investidea.in.th/p/value-investor.html

=======================================

☎ติดต่อสอบถามและลงทะเบียน (รับจำนวนจำกัด)

มือถือ: 0865035023

ข้อความ; www.facebook.com/messages/investidea.in.th/

line id; pat4310

=======================================

☀เนื้อหาหลักสูตร☀


✅แหล่งข้อมูลการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน งบการเงิน คำอธิบายงบ ตัวเลขเศรษฐกิจ
✅วิเคราะห์ ปัจจัยเชิงคุณภาพ ผลกระทบต่องบการเงิน และแนวโน้มราคา
✅โครงสร้างงบดุล และลักษณะธุรกิจ จุดสำคัญที่ต้องดูในงบการเงิน
✅งบกำไรขาดทุน ลักษณะงบการเงินที่ดี
✅งบกระแสเงินสด และความสัมพันธ์กับวงจรธุรกิจ
✅การค้นปัญหาธุรกิจใน 1 นาที ด้วยอัตราส่วนทางการเงิน
✅ปัจจัยทางการเงินที่มีผลต่อทิศทางราคาหุ้น
✅การประเมินมูลค่าหุ้นด้วย PE ratio เทคนิคการใช้งานกับแต่ละอุตสาหกรรม
✅ดูความเห็นของนักลงทุนส่วนใหญ่ผ่านการเคลื่อนไหวของราคา

=======================================

☎ติดต่อสอบถามและลงทะเบียน (รับจำนวนจำกัด)

มือถือ: 0865035023

ข้อความ; www.facebook.com/messages/investidea.in.th/

line id; pat4310

ที่มา:
[1]board.thaivi.org/viewtopic.php?f=20&t=50531

วันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2556

AKR จะ turn around

มหากาพย์ AKR ใกล้จบแล้วเนื้อหาในช่วงต้นมา จาก http://value.exteen.com/20120404/akr-turn-around เขียนไว้ตั้งนานตั้งแต่วันที่ซื้อหุ้นตัวนี้ แต่ web เน่าไปแล้วเปิดได้บ้างไม่ได้บ้างย้ายบทความมานี่ละกัน

AKR บริษัท เอกรัฐวิศวกรรม จำกัด (มหาชน) ทำมาหากินเกี่ยวกับ ผลิตหม้อแปลงไฟฟ้าและบริการซ่อมบำรุงรักษา รับออกแบบติดตั้งรวมทั้งก่อสร้างสถานีไฟฟ้าย่อย
ตัวธุรกิจเดิมไม่มีปัญหาได้กำไรทุกปี ตอนปี 50 เข้าตลาดมาระดมทุน + กู้เงินเพื่อสร้างโรงงานผลิต Solar cell แล้วก็เจ้งไม่เป็นท่า ตอนนี้ก็ฮิตทำ Solar farm แต่ไม่เห็นมีใครซื้อซักเจ้า T^T แต่ออกข่าวโม้ซะดิบดี
วันที่ 30 มีนาได้ลงนามปรับโครงสร้างหนีกับธนาครกรุงไทย[1] หนี้ก่อนปรับโครงสร้าง 1,320 ล้าน เหลือต้องจ่าย 2 ส่วนคือ 505 ล้าน กับ 300 ล้านจากการขายโรงงานภายในปี 2557  ข้อดีคือบริษัทจะได้จ่ายดอกเบี้ย MLR จากตอนนี้ต้องจ่ายดอกเบี้ยผิดนัดชำระ ( 1,320-805=515  จะบันทึกเป็นกำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ในไตรมาศ 1 หรือเปล่าไม่มั่นใจ )
ที่น่าสนใจคือ
ปี 2553 บริษัทหักขาดทุนจากบริษัทย่อยหมดแล้ว เพราะขาดทุนเกินทุนเรียบร้อยTongue out แต่ถ้าหาผู้ร่วมทุนได้เงินก้อนนี้ก็จะพลิกกลับมาเป็นกำไรWink
  • หนี้สงส้ยจะสูญ 275 ล้าน
  • เงินลงทุนบริษัทย่อย 700 ล้านเกลี้ยง
ปี 2554 [2] บริษัทมี EBITDA     204.26 ล้านแสดงว่าธุรกิจเดิมก็ยังไปได้อยู่
  • ค่าใช้จ่ายจากการผลิตไม่เต็มกำลังการผลิต 48 ล้าน<--ถ้าขายตัวถ่วงไปได้ก็ไม่มีค่าใช้จ่ายตัวนี้อีกนะ
  • ค่าใช้จ่ายทางการเงิน 150 ล้าน <-- เป็นอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหลังปรับโครงสร้างหนี้มันจะลดลงกลับมาจ่ายแค่ MLR
  • ขาดทุนสะสม 807 ล้านบาท <--ล้างด้วย กำไรจากการ Hair cut + ส่วนล้ำมูลค่าหุ้น 297 ล้าน + ลดทุน

Update:14 พฤษภาคม 55

จากงบการเงิน Q1  จะเห็นว่า ยอดขายเพิ่มเป็น 503.23 ล้าน จาก 325.21 ล้านCool อัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มจาก 19% เป็น 24% Cool กำไรก่อนดอกเบี้ยจากและภาษี อยู่ที่ 40 ล้าน จากติดลบ 19 ล้านCool ส่วนดอกเบี้ยค้างชำระ 500 กว่าล้านจะบันทึกเมื่อชำระหนี้ได้ตามแผน(เขียนในหมายเหตุประกอบงบ)Tongue out
แต่พึงเซ๊นต์สัญญาปรับโครงสร้างหนี้ไปเมื่อ 30 มีนาทำให้ ไตรมาศแรกยังบันทึกต้นทุนทางการเงินในอัตราผิดนัดชำระอยู่ที่ 35 ล้าน ทำให้ net แล้วยังขาดทุนอยู่ 11 ล้านTongue out แต่ไตรมาศต่อไปจะกลับมาจ่ายที่ MLR แล้วหวังว่าชีวิตคงจะดีขึ้น และขายโรงงานผลิตแผงโซล่าเซลได้ไวๆนะครับ

Update:19 มิถุนายน 55

แสงสว่างรำไร มีการลดทุนล้างขาดทุนสะสม[3] โดยการลดพาร์จาก 1 บาทมาเป็น 0.8 บาทเอาส่วนต่างมาล้างขาดทุนสะสมได้ 100 กว่าล้านCool แถมออกข่าวในกรุงเทพธุรกิจ[4]ว่าจะปิดบริษัทปลายปีนี้ เหตูเพราะนโยบายรัฐไม่นิ่ง

Update: 18 กรกฎาคม 2555

ไปประชุมผู้ถือหุ้นมาพบว่าล้างขาดทุนสะสมแค่บริษัทแม่อย่างเดียวก็จ่ายปันผลได้แล้ว สรุปก็คือล้างขาดทุนสะสมแค่ "512" ล้านในงบการเงินเฉพาะกิจการ ไม่ใช่ 852 ล้านในงบรวมตามที่คิดไว้ตอนแรกครับ ด้วยวิธีการดังนี้
  • ใช้ ส่วนเกินมูลค่าหุ้นสามัญ 296 ล้าน
  • ส่วนเกินจากการลดทุน 158 ล้าน
  • สำรองตามกฎหมาย 35 ล้าน
สรุปว่าวันนี้เหลือขาดทุนสะสมแค่ 24 ล้านจาก 512 ล้าน ด้วยการยกมือเพียงครั้งเดียว เย้ Cool น่าจะเห็นขาดทุนสะสมลดลงในงบไตรมาศ 3 ครับถ้าโชคดีอาจได้เงินปันผลครั้งแรกในรอบหลายปี
ส่วนเรื่องหนี้สินผู้บริหารพูดอย่างมั่นใจว่ามีจ่ายแน่ๆครับ

Update 18 สิงหาคม 2555

ยอดขายดีขึ้น ค่าใช้จ่ายทางการเงินลดลงจากผลของการปรับโครงสร้างหนี้ net แล้วขาดทุนไตรมาศนี้ 8 แสนบาท Cool  มีรายการหนึ่งที่น่าสนใจคือ
  • หมายเหตุข้อ 5, ในงบการเงินเฉพาะกิจการ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2555 บริษัทฯได้จ่ายค่าหุ้นเพิ่มทุนเป็นเช็คให้แก่บริษัทย่อย จำนวน 300 ล้านบาท และบริษัทย่อยได้นำเช็คดังกล่าวมาชำระคืนเงินให้กู้ยืมและดอกเบี้ยค้างรับ จำนวน 211.97 ล้านบาท และลูกหนี้การค้า จำนวน 88.03 ล้านบาท
แค่เขาเช๊คโยนไปโยนมา รายการระหว่างกันในหมายเหตุข้อ 27 โดยเฉพาะเงินให้กู้ยืมแก่บริษัทย่อยหายเกลี้ยง เหลืออยู่ 19 ล้านเพราะให้เอาเงินไปจ่ายดอกเบี้ย หวังว่ารายการนี้คงจะเป็นการทำความสะอาดลูกเพื่อขายทิ้งได้ซะทีนะ สาธู้
เหลือ lock ตัวสุดท้ายคือการขายบริษัทย่อยออกไปในปีนี้ซึ่งก็ยังไม่มีความชัดเจนอะไรซักอย่าง ก็คิดในกรณีเลวร้ายที่สุดแล้วกันก็คือขายไม่ออกต้องหาเงิน 300 ล้านมาโป๊ะในปีหน้า เริ่มต้นกวาดตาหาทรัพย์สินหน้าตักเราก่อน
  • เงินสด 71 ล้าน
  • กระแสเงินสดจากการดำเนินงานอีก 2 ไตรมาศถ้าทำได้เท่า H1 ก็อีก 66 ล้าน
รวมได้ 137 ล้าน ขาดอีก 163 ล้าน(300-137)
อาจจะเพิ่มทุนอีกซัก 150-200 ล้านก็พอใช้หนี้ เฉพาะหน้าอีก 500 ที่เหลือก็ผ่อนจ่าย 7 ปีไม่น่ามีปัญหาอะไร

Update 28 กันยายน 2555

ไปเยียมชมกิจการมา ir เขาว่าตอนนี้ก็ยังหาคนมาซื้อลูกไม่ได้ แต่ขณะนี้กำลังพยายามที่จะ refinance ทั้งก้อนอยู่ครับ อยู่ในขั้นตอนที่แบงค์สองแบงค์คุยกันอยู่ถ้าคุยกันจบก็จะบันทึกส่วนต่างจาก
  • 1300 - เงินที่เอามาโป๊ะ = กำไรพิเศษ
ใช้สินทรัพย์ของบริษัทแม่เป็นตัวค้ำประกัน ถ้าทำได้สินทรัพย์ของบริษัทย่อยก็จะฟรี ล็อกหน้าประตูบริษัทเป็นสินทรัพย์ที่ไม่ได้ใช้งานได้เลย เอาไปเร่ขายซากอย่าให้ต่ำกว่าบุ้กแล้วกัน
ถ้าปัญหาจบเขาว่าจะโตจากหม้อแปลงนี่แหละ ไม่ยุ่งกับนโยบายรัฐแล้วเข็ด
เดี๋ยว Q3 มาลุ้นกันต่อ

Update 13 พฤศจิกายน 2555

ชีวิตเริ่มดีขึ้น จากงบกำไรขาดทุนงวด 3 เดือน ไตรมาศ 3  รายได้เพิ่มขึ้น 22.43 % จาก 497ล้านบาท เป็น 609 ล้าน อัตรากำไรขึ้นต้นก็เพิ่มขึ้นจาก 19%  เป็น 25% ,ต้นทุนทางการเงินจากอัตราดอกเลี้ยผิดนัดที่กลับมาจ่าย MLR ทำให้กำไรสุทธิเป็นบวก 31 ล้าน พลิกจากขาดทุน 29 ล้าน
แต่ถ้าดูในงบเฉพาะกิจการมีกำไร 49 ล้านถ้าเอาเงินให้กู้ยื่มแก่บริษัทย่อย 19 ล้านมาบวกกลับนี่แสดงว่า เฉพาะกำไรจากหม้อแปลงไตรมาศ 3 เกือบ 70 ล้านเลยทีเดียวCool แสดงว่าถ้าบริษัทอยากจ่ายปันผลก็จ่ายได้เลยครับเพราะ ตอนนี้งบเฉพาะกิจการมีกำไรสะสมอยู่ 39 ล้าน จากขาดทุนสะสม 557 ล้านในปีที่แล้วCool
ส่วนเอกรัฐโซล่าที่เป็นตัวถ่วงกิจการอยู่ก็ยังไม่ชัดเจนว่าจะเอาอย่างไร ขายได้หรือเปล่า กำหนดการที่ต้องจ่าย 300 ล้านก็ใกล้เข้ามาทุกทีแล้วววววว เรื่อง refinance ก็ยังไม่ได้ข้อสรุปLaughing

Update 1 มีนาคม 2556

AKR งบปีออกแล้ว งบรวมกำไร 111 ล้านบาท ซึ่งรวมขาดทุนจากบริษัทย่อยไปแล้ว 173 ล้านบาท แสดงว่าตัวแม่จริงๆกำไรเท่ากับ 111 + 173 = 284 ล้าน กำไรสูงที่สุดตั้งแต่เปิดบริษัทมาเลยทีเดียว เยี่ยมมากครับ ส่วนบริษัทย่อยก็ยังขายไม่ออกเหมือนเดิมเป็นตัวถ่วงต่อไป

Update 27 ตุลาคม 2556

เมื่อเย็นวันที่ 25 ตุลาคม 2556 ได้มีข่าวสำคัญคือ ประกาศเพิ่มทุนที่อัตราส่วน 1 หุ้นเดิมต่อ 0.6 หุ้นใหม่ ในราคา 0.8 บาทต่อหุ้น ปัจจุบันมีจำนวนหุ้นทัั้งหมด 839,555,877 หุ้น จะมีหุ้นใหม่เพิ่มขั้นมาเท่ากับ 503,733,527 หุ้น รวมมีหุ้นเท่ากับ 1,343,289,404 ซึ่งจำนวนหุ้นที่เพิ่มขึ้นมาส่งผลดังนี้

1. ผลกระทบด้านการลดลงของสัดส่วนการถือหุ้น (Control dilution)
 สามารถคำนวณได้ดังนี้ Control dilution = Qe/(Qe +Qo)

  • โดยที่  Qe = จำนวนหุ้นใหม่เพิ่มขั้นมาเท่ากับ 503,733,527 หุ้น
  • Qo = จำนวนหุ้นเดิมเท่ากับ  839,555,877 หุ้น
  • Control dilution = 503,733,527/(503,733,527 +839,555,877)
  •  Control dilution = 37.5%
ถ้าเพิ่มทุนแล้วสามารถทำให้กำไรโตมากกว่าสัดส่วนหุ้นที่เพิ่มเข้ามาก็คุ้มละ

2. ผลกระทบด้านการลดลงของราคาหุ้น (Price dilution)
สามารถคำนวณได้ดังนี้ Price dilution = (Po - Pnew) / Po
  • โดยที่ Po เป็นราคาสิ้นวันที่ 1.67
  • Pnew = (Po x จำนวนหุ้นก่อนเพิ่มทุน) + (ราคาเพิ่มทุน x จำนวนหุ้นเพิ่มทุน) / (จำนวนหุ้นก่อนเพิ่มทุน + จำนวนหุ้นเพิ่มทุน)
  • Pnew = (1.67 x 839,555,877) + (0.8 x 503,733,527) /( 503,733,527 +839,555,877)
  • Pnew = 1.34
  • Price dilution = (1.67-1.34)/1.67 = 19.5%
วัน XR ถ้าราคาอยู่ที่ 1.67 จะเกิดPrice dilution ตามตำราที่ 19.5% ถ้าตอนเช้าเปิดตลาดมาราคาลงต่ำกว่า 19.5% ก็กำไร

ได้เงินมาเอาไปทำอะไร



เพิ่มทุนเอาไปทำอะไร

สรุปก็คือ ตัวแม่เพิ่มทุนมา 400 ล้าน กู้ KBANK มาอีก 400 ล้าน ได้เงินมา 800 เอาไปซื้อเครื่องจักรจากบริษัทย่อยที่ 800  ล้านลาท  (ซื้อที่ราคาทุนก็ไม่มีขาดทุนจากการด้วยค่าสินทรัพย) บริษัทย่อยก็เอาเงินไปโป๊ะหนี้ TMB จ่ายหนี้ครบก็จะได้กำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ จาก TMB 475 ล้านบาท (ในรูปทำตัวเลขกลมๆ)

ทำแล้วได้อะไร

  • หนี้ก้อนใหญ่ลดลงจาก 1,275,444,008.45 บาท (หนี้สินระยะยาวตามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ ณไตรมาศสอง 2556) เหลือแค่หนี้ที่กู้จากกสิกรแค่ 400 ล้าน หรือหนี้ลดลงเท่ากับ 875 ล้านบาท 
  • ส่วนทุนเพิ่มขึ้นสองส่วนจาก
    • กำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ 475 ล้าน
    • ส่วนทุนที่ระดมทุนเพิ่มเข้ามา 400 ล้าน
  • คิด DE ratio จาก 4 เท่าจะเหลือเท่ากับ (1,768.36 -875)/(417.53 +475+400) = 0.7 สามารถกู้เงินมาทำโครงการในอนาคตได้อีกเพียบ
  • ข้อเสียคือจำนวนหุ้นเพิ่มมาเยอะบริษัทจะทำกำไรโตทันหรือไม่ 
UPDATE 12 พฤศจิกายน 2556
งบ AKR ไตรมาศสาม งบรวมขาดทุน 6 ล้าน บริษัทย่อยตัวถ่วงเหมือนเดิม
-รายได้การขายใกล้เคียงเดิม รายได้ค่าบริการลดลง
- อัตรากำไรขั้นต้นดีขึ้น
- ค่าใช้จ่ายในการผลิตไม่เต็มกำลังการผลิต 40 ล้านคือค่าเสื่อมของเครื่องจักรของบริษัทย่อย
- มีขาดทุนจากการด้วยค่าเครื่องจักร 30 ล้าน ตรงนี้คือบริษัทให้ผู้ประเมินราคาอิสระประเมินราคาเครื่องจักรของบริษัทย่อยใหม่ ก่อนที่บริษัทแม่จะซื้อเข้ามาหลังจากที่เพิ่มทุนแล้ว ประเมินใหม่อีกรอบก็ 3 ปีข้างหน้านู้นนนน
- กำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษีที่ 112 ล้าน
- หักดอกเบี้ย 52 ล้าน และภาษี 41 ล้าน งบ 9 เดือนกำไร 19 ล้าน
- ลองคิดเล่นๆ หลังจากเพิ่มทุนปีหน้า หนี้จาก 1300 จะเหลือ 400 ทำให้ดอกเบี้ยจ่ายลดลงครึ่งนึง นอกจากนั้นดอกเบี้ยจ่ายและค่าเสื่อมจะย้ายมาอยู่ในงบเฉพาะกิจการทำให้สามานำค่าใช้จ่ายส่วนนี้มาประหยัดภาษีของบริษัทแม่ได้ถ้าให้กำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษีเท่าเดิมจะงบ 9 เดือนจะมีกำไรสุทธิท่ากับ (112 - (52/2))x0.8 =68 ล้านบาท มันเยี่ยมจริง
สู้ต่อไป AKR กลับมาทำสิ่งที่ตัวเองถนัดแล้ว turn around ซะ

ที่มา
[1] http://www.settrade.com/simsImg/news/2012/12015613.pdf
[2] http://www.set.or.th/set/factsheet.do?symbol=AKR&language=th&country=TH
[3] http://www.set.or.th/set/pdfnews.do?file=http%3A%2F%2Fwww.set.or.th%2Fdat%2Fnews%2F201206%2F12028984.pdf
[4] http://www.irplus.in.th/Listed/AKR/read_detail.asp?topic=clipping&name=akr_bkkbizn_190612.pdf

วันเสาร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ลงทุนหุ้นเงา พันเท่าแค่เอื้อม จริงหรือ

บังเอินเข้าเว็ปโฉมใหม่ SE-ED ปรับปรุงดีขึ้นหลายอย่างมี ebook จำหน่ายด้วยแต่ดูไม่ค่อยโปรโมรตเท่าไร ส่วนใหญ่ก็เป็นหนังสือของสำนักพิมพ์ SE-ED อยู่แล้ว อย่างเล่มนี้ "ลงทุนหุ้นเงารวยพันเท่าแค่เอื้อม" เคยอ่านตั้งแต่สมัยเริ่มหัดเล่นหุ้นใหม่
ลงทุนหุ้นเงา พันเท่าแค่เอื้อม 
หนังสือเล่มนี้สรุปสั้นๆคือซื้อหุ้นดีที่คนยังไม่สนใจ ราคายังไม่วิ่ง มีเกณฑ์ว่าใน3 เดือนราคาหุ้นต้องวิ่งไม่เกิน 10%  ปกติผมเป็นคนชอบทดลองสูตรการลงทุน ผมก็มองหาหุ้นดี แสกนด้วยการเปิดหนังสือพิมพ์หาหุ้นที่ PE ต่ำกว่า 10 มีปันผล ที่เข้าเกณฑ์ราคาใน3 เดือนวิ่งไม่เกิน 10%  ก็ไปเจอหุ้นหลายตัวครับเช่น PRAND PE ต่ำปันผลสูง แต่ถือเป็นปีราคาก็นิ่งสนิทไม่ขาดทุนและไม่กำไร, ซื้อ TPAC ตอน 2.8 ได้กำไรเป็นเด้งขายไป 6 บาท, ซื้อ GFPT ตอนราคา 2 บาทไปขาย 8 บาท ได้กำไรหลายเด้ง

เท่าที่สังเกตคือหุ้นเงาขาดทุนยากครับ แต่ถ้าตาร้ายจะเจอหุ้นที่ ดรนิเวศ เรียกว่าหุ้นถูกเรื้อรังครับ PE ต่ำ ปันผลสูง แต่ราคาก็ไม่ไปไหน ตลาดไม่สนใจ

พึ่งมารู้ตอนหลังว่าหุ้นจะวิ่งได้ต้องมี "ตัวเร่ง" ได้แนวคิดเรื่องตัวเร่งจากหนังสือกุญแจ 5 ดอกของ vi มาช่วยก็ดีขึ้นเยอะครับ แต่หนังสือเล่มนั้นมันตัวเร่งของฝรั่งเขา ของไทยต้องหนังสืออาจารย์ชาย กิตคุณาภรณ์ครับ เล่นหุ้นที่ใกล้ๆจะล้างขาดทุนสะสมราคาวิ่งจี๊ดปรู๊ดปร้าดดี 555

เจริญในการลงทุนทุกท่านคครับ

วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2556

วิธีค้นหาสินทรัพย์ที่ซ่อนอยู่ของกิจการ

asset play เป็นวิธีลงทุนวิธีหนึ่ง โดยนักลงทุนไปค้นหาบริษัทที่มีสินทรัพย์มูลค่ามหาศาลซ่อนอยู่ และลงทุนเมื่อบริษัทมีแผนที่จะปลดล็อกสินทรัพย์นั้นเช่นขาย หรือปรับมูลค่าทางบัญชีใหม่ ทำให้ผู้ลงทุนได้กำไรมหาศาล แต่เมื่อไทยเล่นวิธีนี้ยากหน่อยเพราะส่วนใหญ่สินทรัพย์จะเป็นทรัพย์มรดกตระกูลเจ้าของของไม่ค่อยปลดล็อกเท่าไร แต่ถ้าเราอยากลงทุนก็มาดูกันว่าจะค้นหาสินทรัพย์ที่ซ่อนอยู่ของกิจการได้อย่างไร

แหล่งข้อมูล
แบบ 56-1 หรือ รายงานการเปิดเผยข้อมูลประจำปี (56-1) เป็นรายงานประเภทหนึ่ง ที่บริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์ ต้องส่งให้กับ ตลาดหลักทรัพย์ ที่มีข้อมูลพร้อมที่ทางบริษัทเปิดเผยให้เราทราบมากที่สุด มีทั้งงบการเงิน รายชื่อผู้บริหาร และ แนวโน้มการทำธุรกิจด้วยโดยเราสามารถหาได้จากเว็บตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตามลำดับ

วิธีโหลดรายงาน 56-1

  1. เข้า http://www.set.or.th/th/index.html แล้วไปที่ ค้นหาหลักทรัพย์ ให้เราใส่ หลักทรัพย์ที่เราต้องการ
  2. เลือกหัวข้อ บริษัทฝหลักทรัพย์
  3. กด แบบ 56-1 เพื่อ download
  4. unzip แล้วเลือก file ชื่อ PROPERTY นี่แหละขุมทองของเราจะแสดง ทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ 
ทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ 
จากนั้นก็นั่งอ่านๆ ตัวเลขที่ต้องสนใจคือ มูลค่าทางบัญชีที่บันทึกอยู่ในงบ กับราคาประเมินที่มีคนประเมิน ถ้ามีส่วนต่างมากๆ ก็น่าสน ยกตัวอย่าง KTP เป็นหุ้นเล็กๆ มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด 286.00 ล้านบาท แต่เมื่อพิจารณาอาคารสำนักงาน 34 ชั้น ที่มีมูลค่าทางบัญชี 35 ล้าน แต่มีราคาประเมิน 250 ล้าน ถ้าบริษัทเอาไปขายก็จะบันทึกกำไรจากส่วนต่างระหว่างราคาขายกับ มูลค่าทางบัญชี และค่าใช้จ่ายจิปาถะอื่นๆ ถ้าท่านเป็นนักลงทุนจะทำอย่างไรเชิญไปคิดเอาเอง 

  
เจริญในการลงทุนทุกท่านครับ

วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2556

หุ้น Turnaround กับหุ้นวัฏจักรต่างกันอย่างไร

หุ้น Turnaround คือหุ้นที่กำลังพลิกจากขาดทุนมาเป็นกำไร ส่วนหุ้นวัฏจักรจะเล่นให้ได้เงินก็ต้องเล่นตอนที่กำลังพลิกจากขาดทุนหรือกำไรน้อยๆ มามาเป็นกำไรเยอะๆเหมือนกัน ถ้าเราเก็งถูกมัน Turnaround หรือ วัฏจักรมาตามที่เราคิดรางวัลที่ตามมามันงดงามมาก แม้ว่าหุ้นทั้งสองกลุ่มจะเป็นการลุ้นให้หุ้นฟื้นจากจุดต่ำสุดเหมือนกันแต่การวิเคราะห์และวิธีลงทุนก้ไม่เหมือนกันครับต้องแยกกันให้ดีๆ

สำหรับหุ้น Turnaround  การดูหุ้นพวกนี้วิเคราะห์ยาก ไม่ง่ายเหมือนที่หลายๆคนบอก หากฟื้นได้ง่าย โลกนี้คงไม่ต้องมีบริษัทล้มละลายกัน เพราะในทางหลักการแล้วการที่ภาวะบริษัทต้องใช้ Turnaround strategy นั้น มีหลัการอยู่ว่าต้องบริหารจัดการอย่างไรจึงพ้นภาวะนั้นมาได้ ถ้าเดินผิดก็หมดทางฟื้น บางทีผู้บริหารเองยังลุ้นด้วยซ้ำว่าจะรอดไหม หุ้นพวกนี้ถ้าจะเสี่ยงน้อยสำหรับนักลงทุนก็ต้องมีสัญญาณจากงบการเงินเท่านั้น การดูปัจจัยภายนอกไม่พอครับ หมายความว่าไม่ได้ซื้อตอนย่ำแย่สุด แต่ซื้อหลังฟื้นแล้ว เพียงแต่เราจะตาดีมองเจอก่อนไหม สำหรับผมหุ้น turn ถ้าตอบคำถาม 4 เรื่องนี้ก็ลงทุนสบายใจละเราแค่นั่งกระดิกตรีนดูไปเรื่อยๆว่าเป็นไปตามแผนไหม ถ้าเป็นก้รวยถ้าไม่ก็ซวย

  • สภาพปัญหาคืออะไร
  • สาเหตุมาจากไหน
  • เป้าหมายกิจการจะไปที่ไหน
  • แนวทางการแก้ปัญหาเป็นอย่างไร


ส่วนหุ้นวัฏจักร ส่วนใหญ่จะฟื้นตามวัฏจักร   เป็นเพียง Recovery Cycle เท่านั้น เมื่อวัฏจักรมันขึ้นมันก็ขึ้นทั้งกลุ่ม ไม่ใช่เรื่อง Turnaround แค่มอง Cycle ออกก็ลงทุนได้ ง่ายๆก็คือซื้อเมื่ออยู่ช่วง Tough Stage ขายเมื่ออยู่ Peak Stage ก็เท่านั้น

เจริญในการลงทุนทุกท่านครับ



วันพฤหัสบดีที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2556

หลักการอ่านงบกระแสเงินสด

สรุปแนวทางการเข้าใจและวิเคราะห์งบกระแสเงินสดง่ายๆครับ
1. รู้จักที่มา (+) ที่ไป(-) ของเงิน

  • ที่มาของเงิน (+) รายได้, สินทรัพย์ลด, หนี้สินเพิ่ม, ทุนเพิ่ม
  • ที่ไปของเงิน (-) รายจ่าย, สินทรัพย์เพิ่ม, หนี้สินลด, ทุนลด

2. การจัดประเภท ในทางธุรกิจเงินเข้าออกได้ 3 ช่องทาง

  • 2.1. กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (Cash flow from operation : CFO) ทำมาค้าขาย
    • 2.1.1. กระแสเงินสดจากการดำเนินงานก่อนการเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์และหนี้สินดำเนินงาน
       = กำไร + ค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่เงินสด – รายได้ที่ไม่ใช่เงินสด
    • 2.1.2. การเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์หมุนเวียน และหนี้สินหมุนเวียน ยกเว้นเงิน OD จัดประเภทในกระแสเงินสดจากการจัดหาเงิน
  • 2.2. กระแสเงินสดจากการลงทุน (Cash flow from investing : CFI) ซื้อ/ขาย สินทรัพย์ถาวร
     = การเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
  • 2.3. กระแสเงินสดจากการจัดหาเงิน (Cash flow from financing : CFF) กู้หนี้ ระดมทุนทุน
     = การเปลี่ยนแปลงในเงิน OD, หนี้ระยะยาว, และส่วนของผู้ถือหุ้น

3 แนวทางการวิเคราะห์

  • บริษัทที่ดีต้องมีทั้งกำไรทางบัญชีและกำไรที่เป็นเงินสด 
  • บริษัทที่ดี งบกระแสเงินสดจะเป็นเป็น บวก, ลบ, ลบ, และ CFO ใกล้ๆกำไรสุทธิ 
  • อัตราส่วนคุณภาพกำไร = CFO/กำไรสุทธิ
  • ในช่วงลงทุน เช่นสร้างโรงงานใหม่CFO จะลบเยอะต้องกู้เงินหรือเพิ่มทุนมาลงทุน CFF
  • แม้บริษัทจะขาดทุนบัญชีแต่งบกระแสเงินสดยังเป็น บวก, ลบ, ลบ แสดงว่ายังมีเงินหมุนไม่เจ้งแน่แต่ในทางกลับกันถ้างบขาดทุนบัญชีด้วยขาด CFO ด้วยอาจเจ้งได้ง
  • ถ้าบริษัทมีกำไรบัญชีเยอะแต่ไม่มีเงินสดอาจมีกำไรพิเศษ

วันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ขายสินทรัพย์เข้ากองทุนแล้วได้อะไร

ช่วงหนี้หลายๆบริษัทขอบออกกองทุน โดยการนำสินทรัพย์ไปขายให้กองทุนเป็นว่าเล่น รับรู้กำไรทางบัญชี หุ้นวิ่งกันสนุกสนาน แนะนำบทความของ อ.สรรพงศ์ ลิมป์ธำรงกุล[1] เรื่องการออกกองทุน ละผลที่บริษัทได้อย่างน่าสนใจเชิญอ่านโดยพลัน

ก่อนที่จะไปเรื่องทางบัญชี ต้องเข้าใจเหตุผลของการทำธุรกรรม และวิธีการทางธุรกรรมที่สำคัญก่อนและจากนั้นก็จะเข้าใจประเด็นทางบัญชี (ข้อ 3-4)

  1. การจัดตั้งกองทุน (กองทุนอสังหาฯ REIT กองทุนโครงสร้างพื้นฐาน IFF) นั้นมีวัตุประสงค์หลักคือ การระดมทุน โดยนำเงินไปเพื่อลดภาระหนี้ หรือเพื่อนำไปขยายการลงทุน ไม่ใช่เพื่อการขายสินทรัพย์หากำไร
  2. หลักการระดมทุนเป็นรูปแบบหนึ่งของการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน จึงต้องมีการจัดตั้ง SVP (เรื่องนี้เคยเขียนไปเมื่อ 31/8/56 ลองไปหาอ่านเพิ่มเติม) ถ้าบริษัทตั้งเอง อาจจะเข้าไปถือหุ้นราว 30% ตามที่ กลต.กำหนด (ให้บริษัทจัดการจัดสรรหน่วยลงทุนของกองทุนรวมให้แก่บุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดได้ ไม่เกินอัตราหนึ่งในสามของจำนวนหน่วยลงทุนที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวม) ผู้ถือหน่วยลงทุนถือเป็นผู้ถือหุ้นของกองทุน การถือหุ้นนี้จะไม่ถือหรือถือแต่ต้องไม่เกินหนึ่งในสาม
  3. จากข้อสองนี้เอง ถ้าบริษัทไปถือ > 20% ก็เข้าหลักเกณฑ์การเป็นบริษัทร่วม เมื่อเป็นบริษัทร่วม กำไรที่เกิดระหว่างกันจากการซื้อขายสินทรัพย์จะไม่นำมาบันทึกครั้งเดียว ต้องตัดรายการระหว่างกันออก เนื่องจากกองทุนมักจะมีอายุเช่นกองทุน IFF เช่น BTS Growth Fund บริษัทขายระบบรางรถไฟฟ้าให้ขายได้เงินมา 6 หมื่นล้านบาท ต้นทุนของโครงการราว 4 หมื่นล้านบาท มีกำไรทั้งสิ้น ราว 2 หมื่นล้านบาท เนื่องจากมีการลงทุนระหว่างกันราว 1/3 จึงต้องรับรู้เพียง 2/3 ราว 1.3 หมื่นล้านบาท ซึ่งกำไร 2/3 นี้เรียกว่า True Sale Transaction กำไรจริงที่เกิดขึ้น
  4. มาตรฐานทางบัญชีอนุญาตให้บริษัทที่ขายสินทรัพย์ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานบันทึกกำไรพิเศษได้แค่ส่วนต่างระหว่างมูลค่าพื้นฐานกับมูลค่าทางบัญชีเท่านั้นโดยส่วนที่เหลือจะทยอยรับรู้ตามอายุสินทรัพย์

ในประเด็นนี้

  • มูลค่าทางบัญคือราคาทุนหักค่าเสื่อมสะสมและด้อยค่า(ถ้ามี) 
  • ส่วนมูลค่าพื้นฐานคือมูลค่าเชิงเศรษฐกิจ มักนิยมหาจากมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดในอนาคต สมมติ บริษัทนำเอาโครสร้างพื้นฐาน เช่น ระบบขนส่งทางราง ไฟฟ้า ประปา ถนน ทางพิเศษ หรือทางสัมปทาน ท่าอากาศยานหรือสนามบิน ท่าเรือน้ำลึก โทรคมนาคม โครงข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นต้น การประเมินมูลค่าก็คือ ดูว่าโครงข่ายนี้จะทำรายได้กระแสเงินสดเข้าสุทธิเท่าไรในอนาคต แล้วคิดลดด้วยอัตราคิดลดซึ่งปกติจะใช้ WACC 


ดังนั้นโดยมากแล้วการบันทึกกำไรพิเศษจะเกิดทันทีระหว่างส่วนต่างระหว่างมูลค่าพื้นฐานกับมูลค่าทางบัญชีส่วนแรกรับรู้ทันที และต้องหักกำไรระหว่างกันออกตามส่วนที่มีการถือในกองทุน สาวนที่เกินจะทยอยรับรู้ตามอายุการใช้งานของสินทรัพย์ การเล่นแร่แปรธาตุที่ทำได้คือ ตัว WACC กำไรพิเศษจะเพราะมูลค่าปัจจุบันของกรแสเงินสดจะน้อย ส่วนที่ขายได้เกินก็ทยอยรับรู้ไป แต่โดยมากบริษัทเน้นลงกำไรทันทีมากกว่า ดังนั้นก็ต้องตีราคาพื้นฐานให้สูงเข้าไว้ ซึ่งก็จะทำให้ผู้ถือหน่วยได้ผลตอบแทนต่ำลง

ในทางบัญชีรายการเหล่านี้เมื่อเกิดขึ้นจะรับรู้เป็นกำไรจากการขายสินทรัพย์ ถือเป็น และone-time gain ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่สร้างคอนโดมิเนียมขาย จะขายยกโครงการและเป็นรายได้จากการขาย ทำให้มีรายได้แบบก้าวกระโดด กำไรเติบโตอย่างมาก มาดูที่ธุรกิจทั่วไปที่ขายสินทรัพย์ประเภทอสังหาริมทรัพย์เข้ากองทุนอสังหาฯ และเกิดกำไรจากการขายสินทรัพย์ ขึ้น ถือว่าเป็นรายการทำ Creative accounting ซึ่งบางคนอาจเรียกว่าการตกแต่งบัญชีบ้าง กลบัญชีบ้าง Financial Shenanigans บ้าง
ดังนั้นถือเป็นการสร้างกำไรประเภท one-time gain ขึ้น รายการพวกนี้ถ้าพิจารณาดีๆ มันมาครั้งเดียวกระชากกำไรให้เพิ่มขึ้น แต่งวดต่อไป ก็ไม่มีแล้วถ้าจะให้มีอีกก็ต้องหาสินทรัพย์มาขายทำกองทุนแบบนี้อีก เหมือนกับคนๆหนึ่งมีรายได้จากการทำงานประจำ จู่ๆเดือนนั้นขายรถได้เงินมา ถ้าคุณเป็นธนาคารคุณจะปล่อยสินเชื่อโดยมองที่งานประจำอย่างเดียวหรือรวมรายได้ขายรถมากำหนดให้วงเงินกู้ การลงทุนระยาวก็หลักการเดียวกัน

ดังนั้นบริษัทที่ออกข่าวว่าจะมีกำไรจากการขายสินทรัพย์เข้ากองทุน ผมมองว่าเขาเริ่มไม่มีอะไรจะหากินแล้วแต่เริ่มเอาสินทรัพย์มาสร้างตัวเลขกำไร เวลาประเมินมูลค่าแท้จริง จะต้องหักรายการพวกนี้ออก หากจะซื้อให้ระลึกไว้เสมอว่าซื้อเพราะการเก็งกำไร ไม่ใช่เรื่องปัจจัยพื้นฐาน

อย่างที่บอกไว้แต่ข้อแรกว่า การจัดตั้งกองทุน (กองทุนอสังหาฯ REIT กองทุนโครงสร้างพื้นฐาน IFF) นั้นมีวัตุประสงค์หลักคือการระดมทุน ไม่ใช่เพื่อการขายสินทรัพย์หากำไร จึงอย่าเอาเรื่องกำไรมาประเมินมูลค่าในระยะยาว กำไรจากการขายสินทรัพย์เข้ากองทุน มีกำไร ส่วนทุนเพิ่ม เงินสดเพิ่ม แต่กำไรนี้มางวดเดียว ไม่เหมือนรายได้จากการขาย/บริการปกติ ไม่ใช่มูลค่าระยะยาว ถ้าหวังเอาส่วนต่างระยะสั้นตามข่าวก็ได้ แต่ถ้าจะลงทุนแนว VI ตัวจริงคงไม่ใช่และถ้าเอาเงินมาลดหนี้แล้วในทางทฤษฎีแล้ว ผลตอบแทนเงินก้อนนั้นได้แค่ต้นทุนดอกเบี้นเท่านั้น ข้อดีมีประเด็นเดียวคือจากสถานะมีหนี้สินพรุงพรังใกล้แย่ก็ดีขึ้น ถ้าบริษัทใดไม่ได้มีแรงกดดันเรื่องหนี้ถือว่าไม่คุ้ม แค่ปั่นกำไรเท่านั้น ส่วนบริษัทหนี้มากก็แต่รอดตาย ต้องดูอีกว่าหลังรอดตายจาก ICU จะเป็นอย่างไรต่อไป จะฟื้นหรือแค่อัมพฤกษ์

[1]https://www.facebook.com/sanpong.limthamrongkul/posts/10201234011070769

วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ข้อผิดพลาดที่ทำให้ตีความงบการเงินชีผิดเพี้ยนไป

บทความจาก อ.สรรพงศ์ ลิมป์ธำรงกุล [1][2] เขียนอธิบายข้อผิดพลาดที่พบบ่อยของนักลงทุนในการตีความข้อมูลตัวเลขจากบัญชี-งบการเงินชีผิดเพี้ยนไป ได้อ่านง่ายมากครับ เยี่ยมจริงๆ เชิญอ่านโดยพลัน

1. อัตราส่วน Current Ratio ตัวนี้ดูง่ายๆ แต่ทำคนหลงประเด็นมาก ส่วนมากดูกันว่า > 1 ก็โอเคแล้ว อาจไม่ใช่เสมอครับ มีประเด็นที่ทำให้ผิดเพี้ยนในการใช้และตีความอยู่สามประเด็นหลักๆคือ

  • 1.1 ไม่ตรวจสอบว่าสินทรัพย์หมุนเวียนอาจมีมูลค่าเทียมแฝงอยู่ เช่นลูกหนี้ตั้งหนี้สงสัยจะสูญน้อยไป สินค้าก็มีรอบยาวมาก ไม่มีการตีมูลค่าให้เหมาะสม (ตั้งค่าเผื่อ) แบบนี้ก็ได้ CR สูงเกินไปทำให้คิดว่ากิจดารไม่มีปัญหาสภาพคล่อง
  • 1.2 วัฏจักรของธุงกิจมีผลต่อ CR ช่วง Growth Stage ค่า CR ไม่ต้องสูงมากก็ได้ เพราะช่วงนี้ขายคล่องเก็บเงินคล่อง สินค้าก็หมุนเร็ว ตัวสินทรัพย์หมุนเวียนมันจะเปลี่ยนเป็นเงินสดเร็ว บางคนอาจคิดว่า เงินสดก็ต้องมากสิ อาจใช่แต่เป้าหมายธุรกิจข้อหนึ่งคือ Mame Profit (เคยเขียนไว้แรกว่า เป้าหมายธุรกิจที่ดี คือต้อง Make Profit, Generate Cash Flow, Stay Solvency ทำทุกข้อไม่ใช่แค่ทำกำไรสูงสุดอันนี่โบราณแล้ว) ดังนั้นเมื่อมีเงินสดเหลือมากธุรกิจก็จะเปลี่ยนเงินสดไปเป็นสินทรัพย์ทำเงิน เช่นซื้อสินค้า ขยายกำลังการผลิต ขยายสาขา วัฏจักรนี้จึงเห็นการฌติบในสินทรัย์ไม่หมุนเวียนสูง ส่วนในช่วง Recession (Declining) Stage ค่า CR ควรต้องสูงขึ้น เพราะ ส/ท หมุนเวียนเริ่มหมุนช้าลงแต่ภาระจ่ายหนี้สินยังมีรอบหมุน (ระยะเวลาจ่าย) เท่าเดิม แต่ต้องอย่าลืมว่าต้องดู 1.1 ด้วยว่าไม่มี ส/ม หมุนเวียนเทียม
  • 1.3 CR ที่สูงกว่า 1 มากๆ ไม่ใช่ว่าดีเสมอ เพราะอาจไม่มีประสิทธิภาพในการบริหาร ส/ท หมุนเวียนก็ได้ เช่นเก็บหนี้นานกว่าอุตสาหกรรม เพราะใช้กลยุทธ์แข่งขันการขายด้วยการให้เครดิตการค้านานกว่าคู่แข่ง แสดงว่าแบรนด์ไม่แกร่งจริง ซื้อของมาตุนไว้มากเกินไป อาจจะดูปกติในช่วงขาขึ้นของอุตสาหกรรม ถ้าเกิดการผลิกผัน ปีหน้าขาลง จะเกิดผลเสียหายได้
    การอ่านค่า CR (current ratio) ถ้าอ่านและตีความเป็นแล้วบอกได้หลายมุมของธุรกิจทีเดียว ผมจะใช้คู่กับ วงจรเงินสดด้วย (แนะนำให้ไปดูเพิ่มในบทความเก่าๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ทั้งสองหัวข้อประกอบ)


1.2 รายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ เป็นปัญหาทางการบัญชีที่ต้องเข้าใจ รายการนี้จะแสดงบนพื้นฐานราคาทุนหักค่าเสื่อมสะสมและการด้อยค่า (ถ้ามี) การเปรียบเทียบสองกิจการที่เริ่มต้นในเวลาต่างกันมากอาจเป็นปัญหาได้ แม้ว่ามาตรฐานการบัญชีจะอนุญาตให้รายการนี้ตีราคาใหม่ได้ แต่ก็มีบางกิจการไม่เลือกตีใหม่เพราะ ไม่ได้อะไรมาก การตีรคาใหม่ส่งผลต่ออัตราส่วนหลายตัวคือ

หนึ่ง D/E ลดลง เพราะส่วนที่ตีราคาเพิ่มขึ้นจะทำให้กำไรสะสมเพิ่ม ส่วนทุนเพิ่ม ค่าD/E ก็ลดลง
สอง ค่า P/BV ลดลง ทำให้ราคาหุ้นดูแล้วถูกลง แต่ไม่ทำให้ P/E ลดลง ดังนั้นระวังอย่าเลือกหุ้นโดยดู P/BV อย่างเดียว
ในรายการนี้ควรมองในหมายตุประกอบงบการเงินกว้างๆ ว่ามีรายการเพิ่มลดผิดสังเกตหรือไม่ และอายุการใช้งานที่ตัดค่าเสื่อมเป็นอย่างไรใกล้เคียงอุตสาหกรรมหรือไม่ ถ้าภาพรวมๆ ผ่าน ก็ไม่ต้องติดใจใดๆแม้จะตั้งธุรกิจต่างเวลากัน

1.3 การวิเคราะห์ให้ดูงบรวมเป็นหลัก และให้ถือว่าบริษัทย่อยคือสาขา ส/ท และ น/ส บริษัทย่อยคือของบริษัท มีไม่กี่กรณีที่จะไปดูงบเดี่ยว (งบเฉพาะ) รายการเงินลงทุนในงบรวม เหลือเพียงสองกลุ่มคือ งลท.ในบริษัทร่วม และ งลลท.อื่น งลท.ในบริษัทร่วมจะแสดงด้วย Equity method ในงบเฉพาะนั้นทั้งบริษัทยอยและร่วมจะแสดงด้วยราคาทุนเท่านั้น และไม่บันทึกส่วนแบ่งกำไร แต่ในงบการเงินรวมจะแสดงส่วนแบ่งกำไร (ขาดทุน) ดังนั้นมูลค่างลท.ในบริษัทร่วม คือมูลค่าที่รวมผลกำไรสะสมหักปันผลที่จ่ายคืนมายังบริษัทแล้ว ดังนั้นการตีความและวิเคราะห์รายการนี้ สำหรับบริษัทหลายแห่งมีเงินลงทุนในบริษัทร่วมเกือบ 20% หรือมากกว่าของสินทรัพย์รวม
สัดส่วนที่สูงมากเช่นนี้เมื่อวิเคราะห์งบการเงินต้องระมัดระวัง เพราะคำว่าบริษัทร่วมหมายถึงบริษัทอื่นที่บริษัทเข้าไปถือหุ้น ระหว่าง 20% - 50% มากกว่านี้ต้องเอามาทำงบการเงินรวม น้อยกว่า 20% ถือเป็น งลท.ระยะยาวอื่น ความแตกต่างของ งลท ย่อย ร่วม และอื่นคือ ย่อยนั้นถูกมองเป็นสาขาดังนั้นรายได้ ค่าใช้จ่ายถือเป็นส่วนหนึ่งของแม่ รายการซื้อขายระหว่างกันไม่เอามาคิด เหมือนกับการส่งของระหว่าง สนญ.กับสาขาเท่านั้น กำไรขาดทุนก่อน (หรือไม่รวม) ส่วนแบ่งกำไร/ขาดทุนจากเงินลงทุนซึ่งบันทึกโดยวิธีส่วนได้เสีย คือที่สนญ.และสาขาทำได้ ในการแสดงรายการบางบริษัทก็รวมส่วนแบ่งกำไร/ขาดทุนในหัวข้อรายได้ด้านบน บางกิจการแยกแสดงต่างหากหลังกำไรขาดทุนก่อนส่วนแบ่งกำไร/ขาดทุนจากเงินลงทุน ทำได้ทั้งสองแบบ เพราะสุดท้ายกำไรขาดทุนสุทธิเท่ากัน ในการอ่านงบต้องระวัง เพราะบริษัทที่รวมในบรรทัดรายได้ด้านบนมีสองนัยซ่อนอยู่ คือ
หนึ่ง บริษัทแม่มีกำไรไม่โดดเด่นและเอาส่วนแบ่งกำไรมาเพิ่มในรายได้รวมให้ดูสูง หลายคนเวลาวิเคราะห์อัตราส่วนที่ใช้ยอดขายบางทีเผลอเอายอดรายได้รวมไปใช้ ทำให้อัตราส่วนผิดเช่น RT (Receiviable Turnover) อัตรากำไรขั้นต้น (GM) บางคนเผลอเอารายได้รวมลบต้นทุนขาย เท่ากับกำไรขั้นต้น เมื่อส่วนแบ่งกำไรสูงก็อาจผิดได้
สอง ในทำนองกลับกันเนื่องจากการลงทุนไม่มีประสิทธิภาพ การรวมไว้ทำให้คนอ่านงบข้ามเรื่องเงินลงในบริษัทร่วมไป เพราะแม้จะเผลอทำแบบที่หนึ่งที่กล่าวมาก็ไม่ผิดเพี้ยนมากนัก แต่ถ้ามาวิเคราะห์ประสิทธิผลของเงินลงทุนจะพบว่าต่ำมาก บริษัทที่มีสัดส่วนเงินลงทุนในบริษัทร่วมมากกว่า ¼ ของสินทรัพย์รวมต้องระวัง

1.4 เรื่องใกล้ๆกันคือค่านิยม ค่านิยมมีในงบการเงินรวมเท่านั้น มาจากเมื่อเอางบแม่และลูกมารวมกัน ปกติ (เพื่อให้เข้าใจง่ายๆ) ก็เอาสินทรัพย์มาบวกกันตรงๆตามรายการ ทีนี้ถ้าซื้อมาที่ราคาทุนตามบัญชี เงินลงทุนในงบมีก็จะเท่ากับส่วนทุนลูกตามสัดส่วนพอดี งบรวมต้องเอาสองรายการนี้มา offset (หักกลบกัน) ก็ไม่มีค่านิยม (ซื้อสูงกว่าราคายุติธรรม) ถ้ามีค่านิยมแสดงว่าซื้อมาสูงกว่ามูลค่ายุติธรรม ซึ่งมูลค่านี้มักมาจากการตีราคา ส/ท ใหม่ที่ราคาตลาด บางบริษัทมีค่านิยมมากกว่า 40-50% หรือกว่านั้น ค่านิยมนี้ไม่มีการตัดจำหน่ายแล้วตามมาตรฐานบัญชีใหม่ ซึ่งมองว่ามันคือส่วนหนึ่งของเงินลงทุน และบริษัทร่วมซื้อมาแพงแค่ไหนก็อยู่ในเงินลงทุน ไม่ได้แยกมาเป็นค่านิยม ดังนั้นเมื่อเห็นค่านิยมแปลว่าซื้อย่อยมาสูงกว่ามูลค่ายุติธรรม จะคุ้มหรือไม่เวลาวิเคราะห์อย่าดูแยกส่วนต้องมองว่าคือสาขาที่เลาเงินไปลงทุน มองภาพรวม ดู ROA D/E GM NM บางบริษัทที่กำลังไปเทคมา (ค้าปลีก) บอกข่าวว่าไปซื้อแท่นพิมพ์ธนบัตรมาคุ้มมากๆ ผมจะไม่สนใจไปมากกว่า ใส่เงินทำสาขาไป 1.88 แสนล้าน ถ้าคิดแบบง่ายๆ ของเดิมได้ ROA ราว 17.5% สาขาใหม่ต้อง gen รายได้สุทธิ ราว 3.3 แสนล้าน ปัจจุบันทำกำไรราว 3.6 แสนล้าน ก็ถือว่าพอเสมอตัวสูงกว่าเล็กน้อย ดังนั้นจะเรียกเครื่องปั๊มเงินคงไม่ใช่เสียทีเดียว และผมมักขี้สงสัย บรษัทถูกซื้อมีรายได้และกำไรกระโดดผิดปกติในช่วงก่อนเทคโอเวอร์ ทั้งที่ก่อนหน้าโตคงที่เรื่อย 4-5 ปีราว 12-13% พอมาปีล่าสุดกระโดไปทันที 15% ส่วนมากก็ SME กำลังซื้อก็ไม่ได้เพิ่มมากมายนัก จึงยังสงสัยว่าสร้างภาพหรือไม่ วิเคราะห์ออกหัวข้อไปหลายเรื่องเลย แต่จะชี้ให้ดูว่าข้อมูลตัวเดียวในงบก็บอกเรื่องราวได้มาก ถ้าเข้าใจจริงและเชื่อมโยงเป็น
1.5 ที่ใกล้ๆกันมาจากที่มาเดียวกันก็คือ กำไรต่อรองจากการซื้อ เกิดขึ้นเมื่อบริษัทไปซื้อกิจการอื่นในราคาต่ำกว่ามูลค่ายุติธรรม รายการนี้ต้องระวัง ควรมองว่ามันคือ one-time gain ความผิดเพี้ยนในการใช้ข้อมูลคือ เมื่อหลายคนนะไปวิเคราะห์การเติบโตกำไร ไม่ว่าเพื่อประเมิน PEG หรือใช้ประมาณการหาราคาใน DCF Model ถ้าเอากำไรตัวนี้ไมใช้หาค่า Earning growth จะได้ผลที่เบี่ยงเบนการตัดสินใจต้องเอาออกในการประเมินมูลค่า เพราะสุดท้ายแค่บรษัทไม่มี ส/ม โป่งพองเกินไป ในระยะยาวไม่ต้องเหนื่อยมากเท่านั้น แต่มันไม่ได้สัมพันธ์กับรายได้จริงที่จะเติบโตของทั้งกลุ่มเลย รายการนี้เกิดเมื่อมีการซื้อบริษัย่อย

1.6 กำไรสะสม ในยุคใหม่ หลังมีการใช้งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ หลายคนเวลาอ่านงบการเงินมักคิดว่า กำไรสะสมคือกำไรที่ยังเก็บไว้ในบริษัท สามารถจ่ายปันผลในอนาตตได้ ถูกครับแต่ไม่หมด ในอดีต (ก่อนมีการใช้งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ) มันเป็นเช่นนั้น แต่ปัจจุบันไม่ใช่แล้ว อดีต ส่วนนี้ แยกออกมาเป็นกำไรที่จัดสรร กำไรที่ยังไม่จัดสรร ส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ กำไรขาดทุนจากเงินลงทุนเผื่อขาย กำไรขาดทุนจากการป้องกันความเสี่ยงจากกระแสเงินสด (Cashflow hedging) ผลต่างจากการแปลงค่างบการเงิน (จะเกิดขึ้นเมื่อมีบริษัทย่อยในต่างประเทศ) รายการเหล่านี้เมื่อก่อนแสดงแยกภายใต้หัวข้อส่วนของผู้ถือหุ้น เดี๋ยวนี้เอามายำรวมกันใน บางทีแยกยังไม่จัดสรรกับสำรองตามกฎหมายให้ (ซึ่งไม่มีประโยชน์เท่าไรเลย) แต่ก็มีบางบริษัทยังแจงแบบเดิมแยกรายการ ทำได้ทั้งนั้น แต่เห็นนิยมยำรวมกันมากกว่า เพระฉะนั้นเวลาอ่านงบถ้ามีด้วนๆ สั้นๆ แปลว่ายำรวมหมด อยากรู้รายละเอียดต้องไปดูงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้นเอา ให้มองว่ากำไรสะสมโดยรวม (แบบยำ) แสดงถึงความมั่งคั่งที่กิจการสะสมมา ซึ่งมีทั้งกำไรสุธิที่คงเหลือสะสมมา ส่วนเกินต่างๆ อย่ามองว่ามีเยอะจะได้ปันผลเยอะ ความจริงปันผลควรมาจากกำไรประจำปีมากกว่า การสะสมควรเกิดจากอัตราปันผลจ่ายที่เหมาะสมเพื่อให้เกิด Sustainable growth ไม่ใช่จ่ายเท่าไรก็จ่าย เก็บไว้จ่ายในอนาคต นี่ถือว่าผิดหลักการบริหารการเงิน เรื่องนี้ เขียนเน้นหลายครั้ง การเลือกลงทุนระยะยาวผมจะดูตัว growth นี้ด้วย ไม่ชอบบริษัทที่เอะอะก็เพิ่มทุน ไม่เน้นพอร์โต แต่เอาแบบชีวิตไปได้อย่างสบายๆ ไม่เดือดร้อนและไม่ชอบให้บริษัมมากวนขอเงินเพิ่มทุน หน้าที่เขาคือจ่ายปันผลดีๆอย่างเดียว บริษัทที่จ่ายอัตราปันผลไม่เหมาะสม ระยะยาวไม่เพิ่มทุนลด D/E ก็จะมี ROE ลดลง หนีไม่พ้นต้องจ่ายหุ้นปันผลและไล่ซื้อหุ้นคืน เดือดร้อนให้ผมต้องมานั่งเทรดเอาตังคืน เพราะผ่านมาไม่ยอมจ่ายปันผลอัตราที่ปกติควรจ่าย

1.7 ส่วนของผู้มีส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมของบริษัทย่อย ส่วนนี้คือส่วนที่บริษัทไม่ได้เข้าไปถือครองครอง เช่น ทุนบริษัทย่อยตามราคายุติธรรม 300 ล้านบาท บริษัทเข้าไปถือเพียง 80% นั่นคือจ่ายซื้อ 240 ล้านบาท ส่วนที่เหลือ 60 ล้านบาทจะแสดงไว้ที่รายการนี้ เคยมีคนถามผมในเว็ปบอร์ดวีไอ (เดี่ยวนี้ไม่ได้เข้าไปแล้วเพราะเข้าไม่ได้ เมื่อก่อนมีคนเขาเชิญไปช่วยตอบเลยเข้าได้ พอปรับปรุงเว็ปเข้าไม่ได้เลย) ว่ารายการส่วนของผู้มีส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมของบริษัทย่อยทำไมมันถึงมีมากเกือบเท่าส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทใหญ่ ปกติรายการนี้มักจะพบว่าไม่มากนัก แต่ในกรณีที่ถามซึ่งคือบริษัท ทุนธนชาต มีส่วนของบริษัทใหญ่ 44,845 ลบ ส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม 45,441 ลบ ทำไมมากกว่า การเจอตัวเลขแบบนี้พอเห็นก็ทราบได้คร่าวๆเลยว่า บริษัทใหญ่ไปถือราว 50% (ปริ่มๆ) เมื่อไปดูรายละเอียดบริษัทย่อยพบว่าถือธนาคารธนชาตอยู่ 50.96% โดย story คือ ธนาคารธนชาตได้ควบรวมกับธนาคารนครหลวงไทย มีสินทรัพย์รวมกันราว 951,000 ลบ มีสินเชื่อราวราว 759,000 ลบ ปกติธนาคารจะปล่อยกู้ราว 11-12 เท่าของทุน ดังนั้นทุนจะมีคร่าวๆราวในช่วง 80-90 ลบ ถ้าถือ 50% ก็จะมีส่วนที่ไม่มีอำนาจควบคุมราว 40-45 ลบ ถือว่า make sense นี่เป็นเพียงตัวอย่างการอ่านตัวเลขจากงบแล้วตีความ เราไม่ต้องเอาอะไรที่เป๊ะๆ สำหรับบางรายการ เพียงแต่ดูแล้วเห็นภาพรวมบริษัทว่ามีอะไรตรงไหน ก็เพียงพอเพราะเมื่อเราจะลงทุนหุ้นใด เราต้องทราบ Character และ Structure จะได้รู้ว่ากำไรจะมาจากไหนเท่าไร ความเสี่ยงของหุ้นมีอะไรบ้าง
คราวนี้ในการประเมินบริษัทที่ไม่ใช่ธนาคารจะดูอย่างไร (ธนาคารจะซับซ้อนหน่อย และ TCAP ไม่เปิดเผยงบเฉพาะโดยตรงแต่กระจายในหมายตุ จึงยากกกับนักลงทุนทั่วไป พอดีผมพอรู้เรื่องโครงสร้างธุรกิจธนาคารจึงประเมินง่ายหน่อย) สำหรับบริษัททั่วไปให้ดูภาพรวมง่ายๆคือ เอาส่วนของผู้มีส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมของบริษัทย่อยในงบรวม หารด้วยเงินลงทุนในบริษัทย่อยในงบการเงินเฉพาะ ก็จะได้ภาพรวมทั้งหมดคร่าวๆว่าบริษัทแม่ถือบรษัทย่อยเฉลี่ยรวมๆราวกี่ % หลายคนอาจบอกว่าบริษัทลงทุนตั้งหลายสิบบริษัท บางแห่งเกือบร้อย ผมบอกว่าไม่ต้องกังวลมากเลย เพราะบริษัทที่มีขนาดเล็กๆ ถือ 100% กับบริษัทย่อยที่มีขนาดใหญ่ เพียง 60% ภาพรวมก็จะได้ออกมาราวๆ 60% นิดๆ ค่า%เฉลี่ยรวมนี้จะถ่วงน้ำหนักไปในตัวแล้ว รายได้จากบริษัทย่อยใหญ่จะมีผลต่องบรวมมากกว่าบริษัทย่อยเล็กอยู่แล้ว ต่อให้โตสองเท่าก็ไม่ส่งผลมาก และปกติบริษัทลงทุนในบริษัทย่อยจะใช้กลยุทธ์ลงทุนในธุนกิจที่ส่งเสริมกันกับบริษัทแม่ เช่นลงทุนใน upstream หรือ downstream เป็นรูปแบบ Vertical Investment Strategy ถ้าลงทุนแบบ Horizntal Investment Strategy จะต้องแสดงงบจำแนกตามส่วนงาน (Segment Report) ในช่วงท้ายๆของหมายเหตุประกอบงบการเงิน ในการวิเคราะห์เช่นนี้ทำให้เรามองเห็นด้านคุณภาพมากขึ้น บางบริษัทมีเงินลงทุนในย่อยคิดเฉลี่ยเพียง 60% กำไรส่วนของบริษัทใหญ่ก็ได้ประโยชน์มาเพียง 60% มีผลต่อตัวเลขการเติบโต EPS ที่ได้รับมาเพียง 60% เช่นกัน

1.8 กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน เรื่องนี้มีมากหลายระเด็นทีพูดกันได้เยอะมาก แต่สิ่งสำคัญและเกือบทุกกคนเผลอนำไปใช้ผิดบ่อยสุดคือ กระแสเงินสดตัวนี้มาตรฐานบัญชีอนุญาตให้แสดงได้ด้วยก่อนหักเงินสดจ่ายดอกเบี้ย (หรือต้นทุนการเงิน) รายการนี้ไม่ใช่ตัวบวกกลับนะครับ บางคนงงมากว่าทำไมต้องปรับปรุงกำไรสุทธิด้วยการบวกดอกเบี้ยจ่ายแล้วหักด้ายเงินสดจ่ายดอกเบี้ยจ่าย เข้าใจง่ายๆคือเอารายการทางบัยชีบวกกลับทั้งหมด แล้วมาหักใหม่ด้วยตัวเลขที่เป็นเงินสดภายหลัง เพราะดอกเบี้ยจ่ายมีทั้งรายการที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน (ตั้งค้างจ่าย) บวกกลับในกำไรก่อนทั้งหมด แล้วค่อยมาหักใหม่อีกที รายการภาษีก็เช่นกัน
รายการกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานสุทธินี้นำไปใช้คำนวณหลายค่า เช่น คุณภาพกำไร (QE = CFO/NI)
Modified ICR = CFO/I บางบริษัทกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานแสดงด้วยยอดที่หักดอกเบี้ยจ่ายเงินสด บางบริษัทแสดงด้วยยอดที่ยังไม่หักดอกเบี้ยจ่ายเงินสด ในสูตรที่เกี่ยวข้องกับการใช้ CFO ต้องเป็นกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานหลังหักดอกเบี้ยเงินสดเท่านั้น วิธีสังเกตง่ายๆเร็วคือไปดูกระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงินว่ามีรายการหักดอกเบี้ย (ต้นทุนทางการเงิน) หรือไม่ ถ้ามีแสดงว่าเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานแสดงด้วยยอดที่ยังไม่หักดอกเบี้ยจ่ายเงินสด
[1]https://www.facebook.com/sanpong.limthamrongkul/posts/10201223305163128
[2]https://www.facebook.com/sanpong.limthamrongkul/posts/10201228814700863

วันอังคารที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556

วิธีวิเคราะห์ว่าบริษัทจะเจ้งหรือไม่

ลงทุนหุ้น turnaround ให้รวยขั้นแรกต้องมั่นใจก่อนว่าบริษัทที่จะลงทุนต้องไม่เจ้งไปซะก่อน เรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งคือเรื่องหนี้สินไม่ว่าธุรกิจคุณจะเป็นเช่นไรยังไงก็ต้องจ่ายหนี้ การใช้อัตราส่วนการวิเคราะห์ความอยู่รอด Solvency Ratio (Leverage Ratio) เป็นอัตราส่วนที่จะตอบคำถามว่าบริษัทว่ามีภาระหนี้มากน้อยเพียงใด และธุรกิจมีปัญหาจ่ายหรือไม่ อยากรู้รายละเอียดเชิญอ่านบทควาามเรื่องนี้จาก อ.สรรพงศ์ ลิมป์ธำรงกุล[1] โดยพลัน

Financial leverage: ความเสี่ยงทางการเงิน
อัตราส่วนการวิเคราะห์ความอยู่รอด Solvency Ratio (Leverage Ratio) อัตราส่วนกลุ่มนี้เป็นเครื่องชี้ถึงความสามารถในการชำระภาระหนี้สินของกิจการในระยะยาว ซึ่งสำคัญอย่างมากต่อผู้ที่เน้นการลงทุนระยะยาวจริงๆ (ไม่ใช่นักลงทุนประเภท Trading ที่อาจเก็งแต่ผลประกอบการรายไตรมาส ซื้อหุ้นโดยหวังผลเรื่องการเติบกำไรแจะเป็นแรงขับดันราคาหุ้น) แต่สำหรับคนที่จะลงทุนระยะยาวโดยไม่ได้กังวลกับความผันผวนราคาฃรายวัน รายเดือน นอกจากอัตราส่วนสภาพคล่อง (Liquidity) ความสามารถในการทำกำไร (Profitability) ประสิทธิภาพ (Efficiency: พวก Turnover ต่างๆ) แล้ว ตัวที่ละเลยไม่ได้เลยคือ อัตราส่วนความอยู่รอด (Solvency) ที่มีอยู่หลายค่า ตามแต่ที่จะใช้กัน เช่น 
  1. Debt to Equity Ratio (D/E Ratio) = Total Debt / Total Equity
  2. Debt to Asset Ratio = Total Debt / Total Assets
  3. Short-term Debt to Total Debt = S-T Debt / Total Debt 
  4. Interest Coverage Ratio or Times interest Earned = EBIT/ Interest Expense
  5. Modified Interest Coverage Ratio = CFO before interest and tax / Cash of interest payment
  6. Modified Debt Principal Payback Period (Debt Coverage Ratio)= Long-term Liabilities / CFOOr Implied Debt Coverage Ratio = Debt / EBITDA
บางอัตราส่วนก็ไม่ได้ตีความต่างกันนัก เช่น Debt to Equity Ratio (D/E Ratio) กับ Debt to Asset Ratio แต่ที่นิยมก็คือ D/E จะใช้ตัวใดก็ได้ เพียงแต่ตีความให้เป็นเท่านั้น เพราะทั้งสองค่านี้ตีความเหมือนกัน เช่นบริษัทหนึ่งมี D/E เท่ากับ 0.4 ถ้าหาเป็น D/A = 0.29 เพราะ A = D + E เมื่อ D/E = 0.4 แสดงว่า ถ้ามี หนี้สิน Debt อยู่ 4 จะมี Equity อยู่ 10 นั่นคือจะมี Asset เท่ากับ 14 การตีความ D/E หมายถึงโครงสร้างแหล่งทุนบริษัทดังกล่าวมีโครงสร้างการจดห่แหล่งเงินทุน ใช้หนี้สินรวม 40% เทียบกับใช้จากส่วนทุน 100% ค่านี้จะดีหรือไม่ขึ้นกับว่าเมื่อเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมเป็นอย่างไรนั่นคือประเด็นหนึ่ง เพราะหากบริษัทเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมแล้วส่วนใหญ่อยู่ที่ 0.6 แสดงว่า มีโครงสร้างทุนที่เสี่ยงน้อยกว่าแต่ในด้านหนึ่ง ROE อาจต่ำกว่าอุตสาหกรรม แต่นั่นไม่ใช่ข้อสรุปว่าหุ้นนี้ไม่ดี เพราะการมี ROE ที่ต่ำกว่าในขณะที่ความเสี่ยงต่ำกว่านั้น เท่ากับความเสี่ยงกิจการได้ลดลง ทำให้ Expected return ของ Market ที่มีต่อหุ้นลดลงด้วย (High risk High return) ซึ่งได้เคยพุดถึงเรื่องทฤฌฎีโครงสร้างทุนเกี่ยวเรื่องนี้ ไว้บ้างแล้ง ซึ่งค่าความสัมพันธ์ 
ในทฤษฎีการเงินเรื่อง capital structure ต้นทุนหุ้นทุนจะผันแปรโดยตรงกับ D/E เมื่อ 
rk = ผลตอบแทนหุ้นทุนที่ มี Leverage ที่ D/E
r0 = ผลตอบแทนหุ้นทุนที่ ไม่มี Leverage หรือที่ D/E = 0 
rd = ผลตอบแทนหุ้นกู้หรือต้นทุนเงินกู้ 
rk = r0 + (D/E) * (r0 - rd)
เราสามาสรุปแบบคร่าวๆคือ Expected return ของหุ้นที่มี D/E ต่างกัน จะต่างกันราว (D/E1 – D/E2)*r0 แต่ตัวปัญหาก็คือ r0 นี่แหละจะเท่าไรดี ซึ่งควรอยู่ระหว่าง rf (risk free rate) กับ rm (Market return rate)

แต่เอาละนั่นคือภาคทฤษฎี เราไม่ต้องพยายามหาตัวเลขเป๊ะๆหรอก เอาแค่รู้ว่าเมื่อ D/E ของหุ้นสองตัวไม่เท่ากัน หุ้นที่มี D/E สูงกว่าย่อมต้องการ Required of return สูงกว่า ถ้าโยงไปถึง P/E = b / (k-g) แม้จะมีอัตราการจ่ายปันผลเท่ากันและมี growth เท่ากัน แต่ P/E ก็ไม่เท่ากัน เพราะ k หรือ rk จะต่างกันเอาเท่านี้ก็คงพอนึกออกแล้วนะครับว่าทำไมหุ้นมันถึงขึ้นลงมากน้อย (ผันผวน) ต่างกัน ทำไมบางตัว P/E ถึงได้ต่ำแล้วต่ำอีก อุตส่าห์เลือกตัว P/E ต่ำกว่าอุตสาหกรรมยังติดดอยอีก

ส่วนการคีความ D/A คือ ให้อ่านความหมายว่าในการจัดหาสิทรัพย์นั้นใช้หนี้เท่าไร ใช้เงินส่วนของเจ้าของเท่าไร จากตัวอย่างเดิม D/E 0.4 มี D/A = 0.29 (หรือราว 0.3) แสดงว่าสินทรัพย์ 100 บาท กู้มา 30 เจ้าของลงทุน 70 ในการจัดหามา เหมือนกันจะดูว่าดีหรือไม่ก็ต้องเทียบกับอุตสาหกรรม แต่ตัวนี้ลูกเล่นในทางการเงินตรงๆ มีน้อยไม่เท่า D/E ดังที่กล่าวมา นักการเงินเลยไม่นิยมนักเพราะถ้าจะใช้ก็ต้องแปลงเป็น D/E 

ส่วนข้อ 3 Short-term Debt to Total Debt ขึ้นกับแต่ละอุตสาหกรรม เพราะแต่ละอุตสาหกรรมมี โครงสร้างสินทรัพย์หมุนนเวียน และไม่หมุนเวียนต่างกันไปตามลักษณะอุตสาหกรรม เช่นหุ้นอุตสาหกรรมผลิต (หุ้นโรงงาน) กับ โรงพยาบาล หรือ ค้าปลีก พาณิชย์ รับเหมาก่อสร้าง จะมีโครงสร้างตาม Common size แตกต่างกันไป หุ้นโรงงาน จะมี ส/ท ไม่หมุนเวียนราว 60% ของสินทรัพย์รวม จะเป็น ส/ท หมุนเวียน 40% ครึ่งหนึ่งส่วนนี้มักจะเป็นสินค้าคงเหลือ หากสินค้าควรได้เครดิตในการซื้อเกือบทั้งหมด แสดงว่าที่เหลือของ ส/ท หมุนเวียน ถ้าใช้เงินกู้ระยะสั้น ก็ควรใช้ราว 20% เพราะหนี้สินส่วนที่เหลือควรใช้หนี้ระยะยาวเพราะสินทรัพย์ที่เหลือคือ ส/ท ไม่หมุนเวียน และถ้า Current ratio ควรมากกว่า 1 แล้ว หนี้ระยะสั้นก็ควรยิ่งต้องน้อยลงอีก จึงควรที่จะไม่เกิน 30-40% ถ้ามากกว่านี้จะสันนิษฐานว่า มีการใช้เงินกู้ระยะสั้นผิดวัตถุประสงค์ (Unmatched) ไว้เรื่องโครงสร้างของอุตสาหกรรมและการวิเคราะห์นี้จะเขียนภายหลัง เพราะคือส่วนหนึ่งของ Common size analysis ที่ดูพื้นๆ แต่คนที่อ่านงบแบบวิเคราะห์ไม่ใช่อ่านแบบบัญชีจะได้ประญชน์ ยิ่งใช้กับ Trend Analysis แล้วอาจแทบไม่ต้องทำ Ratio analysis เลยด้วยซ้ำ

ยังมีการวัดความเสี่ยงทางการเงินอีกแบบหนึ่ง เป็นการวัดความสัมพันธ์ของต้นทุนคงที่ทางการเงิน (ส่วนใหญ่คือดอกเบี้ย) ของทุน ซึ่งหมายถึงเฉพาะหนี้สิน 
Leverage หมายถึงสิ่งที่สร้างความเสี่ยงให้กับธุรกิจ โดยทั่วไปความเสี่ยงของธุรกิจคือความผันผวนของกำไรหรือกระแสเงินสด ส่วน Leverage ในสูตรที่จะกล่าวถึงนี้จะหมายถึงรายการที่เป็นภาระที่ธุรกิจต้องจ่ายไม่ว่ารายได้จากการดำเนินงานจะเปลี่ยนไปอย่างไร การวัดภาระความเสี่ยงสามารถวัดได้ สองด้านคือ ระดับภาระความเสี่ยงทางการเงิน และระดับภาระความเสี่ยงในการดำเนินงาน 

เมื่อจะวิเคราะห์ความเสี่ยงที่มีผลต่อกำไรโดยรวม (DTL) จะช่วยให้เข้าใจธุรกิจได้มากนึ้น บางครั้งการเพิ่มทุน หรือจัดตั้งกองทุนอสังหา REIT หรือ กองทุนโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเอาเงินมาลดหนี้สินลง โดยหวังลดดอกเบี้ยก็อาจไม่ได้ให้ประโยชน์เต็มที่เพราะความเสี่ยงโดยรวมที่กระทบต่อกำไร (DTL) อาจไม่ได้มาจาก DFL (ความเสี่ยงจากต้นทุนการเงิน) อย่างเดียว แต่อาจมาจาก DOL (ความเสี่ยงจากต้นทุนคงที่ในการดำเนินงาน)
โดยการวิเคราห์องค์ประกอบความเสี่ยงโดยรวมนี้ (DTL) มีดังนี้

1. The degree of financial leverage (DFL)
= % chg in net income / % chg in net operating income 
= EBIT / EBIT - I 

2. The degree of operating leverage (DOL)
= % chg in net operating income / % chg in sales 
= Contribution margin (income) / Contribution income - Fixed cost

3. The degree of total leverage (DTL)
= % chg in net income / % chg in sales
= Contribution margin / EBIT –I
= DFL * DOL 

-ค่าที่ยิ่งสูงของแต่ละตัวบ่งชี้ถึงภาระที่กิจการต้องแบกรับไว้มาก ยิ่งมากแสดงว่าความเสี่ยงยิ่งสูง สะท้อนถึงจุดคุ้มทุนที่ต้องสูงตามไปด้วย
-Operating Brake-even Point = Fixed Cost / Contribution Margin per Unit ค่า DOL แสดงถึงระดับการเปรียบเทียบอัตรากำไรส่วนเกิน (รายได้หักต้นทุนผันแปร) กับกำไรส่วนเกินส่วนที่เหลือหลังหักค่าใช้จ่ายคงที่ (Fixes Cost) ซึ่งหมายถึงกำไรจากการดำเนินงาน (ไม่รวมค่าใช้จ่ายทางการเงินหรือดอกเบี้ย) ค่าที่ยิ่งสูงแสดงว่ากำไรหลังหักค่าใช้จ่ายคงที่จากการดำเนินงาน ก็คือกำไรจากการดำเนินงาน (Contribution Income – Fixed Cost = operating Income) เหลือเพียงเล็กน้อย --- > 1- 1/DOL = FC/CM = ค่าใช้จ่ายคงที่ต่ออัตรากำไรส่วนเกิน
-Financial Break-even Point = EBIT = I, ความสัมพันธ์ ICR กับ DFL คือ 1/ICR = 1-1/DFL
-การวิเคราะห์เปรียบเทียบงวดต่องวด จะช่วยบ่งชี้ให้ผู้บริหารเห็นแนวโน้มภาระจากต้นทุนคงที่ทั้งด้านการดำเนินงานและต้นทุนทางการเงินว่าบริษัทรับภาระมากขึ้นน้อยลงอย่างไร จะช่วยสะท้อนจุดแข็งละจุดอ่อนอีกมุมหนึ่งทางด้านการเงินได้ แต่อัตราส่วนนี้วิเคราะห์จากงบบริษัทอื่นได้ยากเพราะเราไม่สามารถแยกต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปรของบริษัทอื่นได้
-การวิเคราะห์ DOL นี้ อาจทำได้โดยการหา DFL และ DTL จากนั้นหาย้อนกลับจากสูตร DTL = DFL * DOL บริษัทที่มี DOL สูง การหาเงินทุนมาลดหนี้ย่อมไม่ช่วยอะไรได้มาก

วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2556

หลักการย่อความ กับการเล่าหุ้น

หุ้นจะถูกจะแพงอยู่ที่การเล่าเรื่อง สินค้าที่ไม่มีเรื่องราวราคาจะถูก สินค้าเดียวกัน เรื่องเดียวกัน แต่พลิกกระบวนการเล่าเรื่อง มูลค่าจะเพิ่ม หุ้นก็เหมือนกันถ้าผู้บริหารเล่า story ดีๆ นังลงทุนเชื่อหุ้นก็ขึ้น แต่นักลงทุนหลายท่านเวลาวิเคราะห์หุ้นแต่ละตัวอ่านข้อมูลเยอะแต่สรุปประเด็นลงทุนไม่ได้ บางคนก็ฟุ้งหลุดประเด็นสำคัญไปก็มี ความรู้เรื่องการย่อความช่วยท่านได้สรุปเนื้อหายาวๆเหลือเพียง 4 ย่อหน้าได้มันเยี่ยมจริง

หลัการย่อความ

ถ้าย่อความเป็น จะเขียนหนังสือได้ดี อยู่ในกรอบ ไม่เพี้ยนออกนอกลู่นอกทาง คุณธนง ขันทอง ได้เขียนเรื่องการย่อความใน thanong fanclub เรื่อง จดหมายของLarry Summersเป็นแบบอย่างของการเขียนที่เป็นเลิศไว้ว่า

คนไทยเขียนหนังสือไม่เป็นกันโดยมาก เพราะไม่รู้โครงสร้างการเขียน และการดำเนินเรื่องของความคิด เนื้อหา หรือจุดประสงค์ นับจากความคิดริเริ่ม หรือประเด็นหรือข่าวที่จะสื่อ ไปจนจบกระบวนการของการเขียน

ลองอ่านจดหมายของSummers อีกครั้ง ถึงแม้ว่าเขาเป็นคนไม่ดี เป็นส่วนหนึ่งของปัญหาของระบบการเงินสหรัฐฯ แต่เราต้องเรียนรู้การเขียนที่เป็นเลิศของเขา


Dear Mr. President,

I am writing to withdraw my name for consideration to be Chairman of the Federal Reserve.

It has been a privilege to work with you since the beginning of your Administration as you led the nation through a severe recession into a sustained economic recovery built on policies to promote employment and strengthen the middle class.

This is a complex moment in our national life. I have reluctantly concluded that any possible confirmation process for me would be acrimonious and would not serve the interests of the Federal Reserve, the Administration, or ultimately, the interests of the nation’s ongoing economic recovery.

I look forward to continuing to support your efforts to strengthen our national economy by creating a broad based prosperity and to reform our financial system so that no President ever again faces what you and your economic team faced upon taking office in 2009.

Sincerely yours,

Lawrence Summers

คุณธนงกล่าวว่างานเขียนทุกงานเขียน รวมทั้งบาทความ จดหมาย หรือหนังสือต้องประกอบด้วย


  1. เนื้อหาหรือประเด็นที่สำคัญที่สุดที่จะสื่อ
  2. พื้นเพหรือแบ็คกราวด์ของเรื่องราว
  3. ประเด็นหักเห จุดไคลแมกซ์ ที่นำไปสู่ความเข้าใจใหม่
  4. บทสรุปที่แลไปข้างหน้า


จากหลักนี้ เราสามารถย่อหนังสือยาวๆ เป็นพันหน้าเหลือแค่4 ย่อหน้าสั้นๆ ตามโครงสร้างที่ให้ไว้ข้างบน มันเยี่ยมจริง

การประยุกต์กับการลงทุน

ในการวิเคราะห์หุ้นมี 3 เรื่องที่ต้องวิเคราะห์คือพื้นฐานของกิจการ ตัวเร่ง และมูลค่า ยกตัวอย่างหุ้น AKR ลองดูแบบสั้นสุดตรีน

  1. เนื้อหาหรือประเด็นที่สำคัญที่สุดที่จะสื่อ : AKR ธุรกิจหม้อแปลงไฟฟ้ากำลังสดใส และผู้บริหารกำลังเร่งจบปัญหาเรื่องหนี้สินบริษัทย่อยซึ่งจะเป็นตัวปลดล็อกให้ตลาดเห็นคุณค่าของหุ้น
  2. พื้นเพหรือแบ็คกราวด์ของเรื่องราว : AKR จากธุรกิจหม้อแปลงมาระดมทุนในตลาดหุ้นเพื่อมาทำโรงงานผลิตแผงโซล่าเซล แต่รัฐบาลไม่สนันสนุนผู้ผลิตในประเทศทำให้แข่งขันกับแผงจากจีนไม่ได้ และลูกค้ายุโรปที่คิดว่าจะขายตอนแรกก็ไม่ตามนัด ผลคือมีโรงงานร้างพร้อมหนี้สิน 1300 ล้าน
  3. ประเด็นหักเห จุดไคลแมกซ์ ที่นำไปสู่ความเข้าใจใหม่  ธุรกิจหม้อแปลงก็ยังโตเรื่อยๆตามอุตสหกรรม ส่วนเรื่องบริษัทย่อยที่เห็นตัวถ่วง ต้นปี 55 AKR ได้เริ่มแก้ไขปัญหาโดยไปปรับโครงสร้างหนี้กับ TMB จนเหลือหนี้ต้องจ่ายจริงเพียง 800 ล้าน ภายใต้เงื่อนไขว่า ต้องขายโรงงานหาเงิน 300 ล้าน มาโป๊ะในต้นปี 57 และ 500 ล้านทยอยจ่าย 7 ปี
  4. บทสรุปที่แลไปข้างหน้า ในปีนี้หม้อแปลงคงไม่ใช่ปัญหานักลงทุนต้องลุ้นว่าปัญหาจะจบอย่างไร จะเงินมา300 ล้านมาทันในปี 57 หรือไม่ซึ่งก็มีหลายแนวทาง
    -- เพิ่มทุน
    -- refinance แบงค์อื่นมาโป๊ะ
    -- ขายสินทรัพย์
    เชิญลุ้นกันตามอัธยาศัยว่าจะออกช่องใหน

วันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556

คู่แข่งและผลตอบแทนในตลาดหุ้น

"ฝ่ายชนะรู้ว่าชนะก่อนจึงออกรบ ฝ่ายแพ้รบก่อนแล้วจึงหวังว่าชนะ" ซุนวูว่าไว้ มาดูกันว่าในสมรภูมิหุ้นคุณแข่งกับใครบ้าง

  • หุ้นบลูชิพ คู่แข่งคุณคือ กองทุน, ฝรั่ง, ปอบเทรด, นักเทคนิคขั้นเทพ, เม่า, VI ระดับโลก, เจ้ามือ, ผลประกอบการ 
  • หุ้นดีที่คนยังไม่รู้ คู่แข่งคุณคือ VI ระดับโลก, เจ้ามือ, ผลประกอบการ 
  • หุ้น turnaround คู่แข่งคุณคือ เจ้ามือ, ผลประกอบการ และสองคนนี้ส่วนใหญ่รู้จักกันซะด้วย หุ้นกลุ่มนี้ VI ระดับโลกไม่ค่อยสนใจครับ เพราะผลประกอบการเลวร้ายต่อเนื่อง แต่เจ้ามือเขารู้ว่าอนาคตบริษัทกำลังวางแผนทำจะทำให้บริษัทมามีกำไร ก็เก็บหุ้นอย่างใจเย็นรอวันผลประกอบการพลิกมาเป็นกำไร
จะเห็นว่าหุ้นกลุ่มที่มีคู่แข่งน้อยที่สุดคือหุ้น turn around เพราะเหลือคู่แข่งแค่เจ้ามือและผลประกอบการ ดังนั้นถ้าท่านให้เวลากำการศึกษาผลประกอบการบริษัทให้ดีๆโอกาสชนะก็ยิ่งเพิ่ม เพราะเวลาใดที่ผลประกอบการพลิกมาเป็นกำไรเจ้ามือจะพาท่านไปสู่สวรรค์เอง 

กับกลุ่มหุ้นดีที่คนยังไม่รู้ หุ้นกลุ่มนี้ยังไม่ค่อยติดตลาดแต่ผลประกอบการดี ราคายังต่ำกว่ามูลค่า VI ระดับโลกที่ทำการบ้านจนเข้าใจบริษัทก็นั่งเก็บชิวๆ รอราคาสะท้อนมูลค่า ส่วนเจ้ามือก็แย่ง VI เก็บ แถมถือสบายใจกว่าหุ้น turnaround ด้วยเพราะผลประกอบการดีเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว

สุดท้ายคือคนเล่นหุ้นบลูชิพ ปัญหาคือใครๆก็รู้ว่าดีคู่แข่งเต็มไปหมด โดยเฉพาะกองทุนเขามีข้อมูลแน่นปึ้ก เงินหนาก็กว่า นักลงทุนที่เล่นหุ้นกลุ่มนี้ก็จะได้ผลตอบแทนไม่มากแต่ความเสี่ยงก็ไม่เยอะเพราะยังไงบริษัทก็ไม่เจ้ง

โดยส่วนตัวเริ่มลงทุนใหม่ๆ ผมชอบเล่นหุ้นดีที่คนยังไม่รู้หาง่ายมากครับกรอง PE ต่ำ ปันผลสูง รอไม่นานราคาก็ไปสะท้อนมูลค่าที่แท้จริง แต่ช่วงหลังๆ VI มือใหม่ที่ขยันๆก็มาแย่งผมซื้อหุ้นดีที่ราคายังไม่สะท้อนมูลค่าทำให้ราคาวิ่งไปสะท้อนมูลค่ามากขึ้น ผมก็หนีไปเล่นหุ้น turnaround ครับ