วันจันทร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เมื่อคุณค่าไม่เท่ากับราคานักลงทุน VI จึงถือกำเนิด

คำว่า value แปลได้สองความหมายคือ คุณค่า และมูลค่า
value investor ทำกำไรจากความผิดปกติของ คุณค่า และมูลค่า
การลงทุนในหุ้นที่ มีคุณค่า มากกว่า มูลค่า ที่จ่ายไปจะทำให้นักลงทุนได้รับกำไรเกินปกติ ร่ำรวยเกินค่าเฉลี่ย
มูลค่า เห็นอยู่ตรงหน้า แต่ คุณค่าต้องหาเอาเอง
คุณค่าจะเกิดได้ต้องมีคนให้ค่า
เท่าที่สังเกตในตลาดนักลงทุนให้ค่ากับ
การเติบโต โตจริงหรือเปล่าไม่รู้แต่ตลาดชอบ
มีการลงทุนเรื่อยๆ อนาคตโตอีกเยี่ยมเลย
กำไรสม่ำเสมอ
งบสวย หนี้เหมาะสม ใช้สินทรัพย์เกิดประโยชน ธุรกิจทำกำไรได้

เข้า facebook แล้วเห็นมุขนี้เขาแชร์กัน มองในมุมของคนทั่วไปก็ฮากันกัน

แต่ถ้ามองในแง่นักลงทุนเน้นคุณค่าคือ เจ้าของภาพมองว่าคุณค่ากับราคาไม่ใช่สิ่งเดียวกัน ตามภาพของราคา 150 บาท ตรงตามธีมจับฉลากของงานที่ตั้งไว้คือ "ยิ่งใหญ่ในงบไม่เกิน 150 บาท" แต่เมื่อเปิดกล่องออกมาคุณค่าที่ได้รับต่ำกว่า 150 ทำให้เกิดความไม่พอใจเกิดขึ้น (แต่งานปใหม่ไม่เป็นไรก็ฮาๆกันไป)
ได้น้ำปลาใช้ทั้งปีทำเป็น
นี่ก็อีกราย

จุดนี้แหละครับคือช่องทางการลงทุนของนักลงทุนแบบเน้นคุณค่า เรารู้ว่าน้ำปลาขวดนี้มูลค่าคือ 150 บาท เมื่อเห็นคนนี้ไม่เห็นค่าเราก็ขอซื้อถูกๆต่อเหลือ 70 บาทน่าจะได้ จากนั้นเราก็นำน้ำปลาขวดนี้ไปขายแม่ค้าอาหารตามสั่งราคา 140 บาท ได้กำไร 100% ชิวๆ


ชีวิตมีทางเลือกสองทางคือ
หาหุ้นถูกๆ ลงทุนก่อนที่มันจะดี(ตลาดมอง) ถูกตัวรวยเละผิดตัวซวย
ซื้อหุ้นดี ราคาเหมาะสม อนาคตโตกำไรก็โตเอง
ชอบแบบไหนเอาที่สบายใจครับผม

วันพุธที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2556

กำไรจากการขายสินทรัพย์ผลกระทบต่องบการเงินและราคาหุ้น

กำไรจากการขายสินทรัพย์กระทบอย่างไรกับงบการเงินมาดูกัน
สมมติบริษัทแห่งหนึ่ง มีอาคารร้างมูลค่า 1,000 ล้าน ส่วนทุน 1,000 ล้าน
ต่อมามีคนเสนอซื้อให้ราคา 1500 ล้าน จะกระทบกับงบการเงินดังนี้
ผลกระทบต่องบการเงิน

  • งบกำไรขาดทุนจะบันทึก กำไรจากการขายสินทรัพย์ 500 ล้านบาท โดยที่กำไรจากการขายสินทรัพย์เกิดจาก เงินสดรับจากการขาย(สินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้น) หักด้วย มูลค่าทางบัญชี(มูลค่าสินทรัพย์ที่ลดลง) = 1500 - 1000= 500 ซึ่งจะกระทบชิ่งไปที่กำไรสะสมในงบดุลซึ่งคือความมั่งคั่งของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น 500 ล้าน
  • งบดุล
    • เงินสดเพิ่มขึ้น 1500 เท่ากับ เงินสดรับจากการขาย
    • ส่วนผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น 500 จากกำไรสะสมที่เพิ่มขึ้น
  • งบกระแสเงินสด
    • กระแสเงินสดสุทธิจากการดำเนินงาน (CFO) จะไม่มีเงินสด เพราะเขาไม่ถือว่ากำไรจากการขายสินทรัพย์เป็นเงินสดที่มาจากการดำเนินงาน จึงนำกำไรจากการขายสินทรัพย์ไปหักออกจากกำไรสุทธิ
    • กระแสเงินสดสุทธิจากการลงทุน (CFI) จะบันทึกเงินสดรับจากการขายสินทรัพย์ 1500 ล้าน
    • ทำเงินเงินสดสุทธิในงวดนั้นเพิ่มขึ้น 1500 ล้าน

ผลกระทบต่อราคาหุ้น

จากภาพจะเห็นว่าเมื่อมีการขายสินทรัพย์จะทำให้กำไรกระโดด EPS สูงขึ้น ราคาก็ควรจะพุ่งสูงขึ้น ดั้งนั้นถ้าอยากรู้ว่าบริษัทไหนจะมีการขายสินทรัพย์แล้วเกิดกำไรพิเศษก็ควรซื้อดักไว้ก่อน
  • ข่าวว่าจะขายสินทรัพย์ให้ไปดูที่ข่าวในเว็ปของตลาดหลักทรัพย์ www.set.or.th
  • เข้าไปหามูลค่าทางบัญชีของสินทรัพย์ที่จะขายในข่าวที่ประกาศนั่นแหละ หรือเข้าไปดูที่รายงาน 56-1 หัวข้อสินทรัพย์ที่ใช้ประกอบธุรกิจ ถ้ายังหาไม่เจอก็โทรไปถาม IR
  • ประมาณการกำไรจากการขายสินทรัพย์ จากสูตร กำไรจากการขายสินทรัพย์เกิดจาก เงินสดรับจากการขาย หักด้วย มูลค่าทางบัญชี
  • หาราคาเป้าหมายคร่าวๆ ด้วย PE โดย ราคาเท่ากับ กำไรที่คาดการณ์ คูณ อัตรา PE คูณซัก 3-4 เท่าของกำไรพอกำไรพิเศษต้องรีบเข้ารีบออกมันมาครั้งเดียว
  • รอให้หุ้นวิ่งแล้วก็ขายถ้าโชคดีท่านจะมีกำไร

ตัวอย่าง FANCY

งบ 9 เดือนมีกำไร 32 ล้าน

ประกาศงบ 9 เดือนมามีกำไร 32 ล้าน แต่เงินสดสุทธิจากการดำเนินงานไม่มีเงินสด สงสัยไม่ใช่กำไรปกติ วิธีหากำไรพิเศษง่ายๆให้เข้าไปดูที่งบกระแสเงินสดตรง CFO ถ้าเป็นกำไรที่ไม่เกี่ยวกับการดำเนินงานที่อยู่ในงบกำไรขาดทุน เขาก็จะจัดประเภทโดยเอาเอากำไรจากการขายสินทรัพย์มาหักออกในงบกระแสเงินสดในส่วนของ CFO แล้วเอาไปบวกกลับใน CFI



ผลกระทบด้านราคาราคาวิ่งตอนวันออกข่าวกับ วันใกล้ๆประกาศงบ จากนั้นแป้กกลับมาที่เดิม
ผลกระทบด้านราคา

เจริญในการลงทุนทุกท่าน

วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ค่าเสื่อมราคาควรกี่ปีดี

บทความเรื่อง "ค่าเสื่อมราคา ควรต้องตัดให้ถูกวิธีและใกล้เคียงอายุการใช้งาน" ของ อ.สรรพงศ์ ลิมป์ธำรงกุล[1]เขียนเรื่องการคิดค่าเสื่อมได้ละเอียด และแสดงปัญหาของการตัดค่าเสื่อมที่ไม่ใกล้เคียงอายุการใช้งานจะกระทบอะไรบ้าง เชิญอ่านโดยพลัน


การตัดค่าเสื่อมราคาหลายคนแม้แต่นักบัญชีมองเพียงแค่เป็นเพียงการทยอยรับรู้ค่าใช้จ่ายทุนออกไปตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ เช่นจะกระจายต้นทุผนสินทรัพย์ออกไป 5 ปี หรือสัก 15 ปี และจะตัดให้เท่าๆกันทุกปี หรือให้มากๆในปีแรกๆ แล้วค่อยลดลงเพื่อใต ห้กำไรดูมีแนวโน้มเพิ่มในอัตราเร่า (ใช้วิธีอัตราเร่งบ้าง หรือ ผลรวมจำนวนปีบ้าง) บ้างก็ใช้วิธีตามหน่วยผลิต (Unit of Production) เพื่อให้แสดงว่ามี Income margin ดูคงที่ตลอดการใช้งาน แต่หลายคนไม่ได้พิจารณาในด้านการเงิน (Financing Decision Making) ว่ามีผลต่อการลงทุนในระยาวอย่างไร

ลองมาดูตัวอย่างง่ายๆจะได้เข้าใจผลกระทบที่เกิดขึ้นกับธุรกิจ
สมมติกิจการหนึ่ง ลงทุนเบื้องต้น ด้วยเงิน 140 $M และจัดหาเป็น PPE ทั้งหมด ซึ่งมีอายุ 7 ปี
PPE 140 = EQ 140
โครงการ (ส/ท) สามารถสร้าง รายได้หักรายจ่ายค่าเสื่อมราคา = 25 และรายได้สุทธิเป็นเงินสดทั้งหมด (ไม่มีลูกหนี้และ ส/ท หมุนเวียนอื่นๆ)
Cash 25 + PPE 140 = EQ 140 + NI 25
คิดค่าเสื่อมราคา 7 ปี ๆละ 20 $M
Cash 25 + PPE 140 – Acc.Depre 20 = EQ 140 + NI 25-20 (Deprec. 20)
สิ้นปีที่หนึ่ง Cash 25 + PPE 120 = EQ 140 + NI 5
ถ้าในทุกปีมีรายได้คงที่ตลอดไปปีละ 25 และเมื่อมีกำไรจะจ่ายปันผลกำไร 100% ปีละ 5 $M
งบการเงินหลังจ่ายปันผล

  • ปีที่ 1 Cash 20 + PPE 120 = EQ 140 + Retain Earn. 0
  • ปีที่ 2 Cash 40 + PPE 100 = EQ 140 + Retain Earn. 0
  • ปีที่ 3 Cash 60 + PPE 80 = EQ 140 + Retain Earn. 0
  • ปีที่ 4 Cash 80 + PPE 60 = EQ 140 + Retain Earn. 0
  • ปีที่ 5 Cash 100 + PPE 40 = EQ 140 + Retain Earn. 0
  • ปีที่ 6 Cash 120 + PPE 20 = EQ 140 + Retain Earn. 0
  • ปีที่ 7 Cash 140 + PPE 0 = EQ 140 + Retain Earn. 0

หลังจากปีที่ 7 กิจการจะดำรงต่อเนื่อง (Going concern) โดยการ Reinvest ด้วยเงินสดที่มีในโครงการเดิม 140 $M เพื่อหารายได่ปีละ 25$M ต่อไป จ่ายปันผลปีละ 5$M ผลตอบแทนปีละ 3.57% เป็นผลตอบแทนที่ผู้ถือหุ้นพอใจ บนความเสี่ยงที่ = 0% (รายได้คงที่แน่นอนตลอดการถือหุ้น)
มูลค่ากิจการ ใช้ DDM (Dividend Discount Model) g = 0 ; k = 3.57%
P = 5/(0.0357-0) = 140

กรณีที่ 1 ถ้าตัดค่าเสื่อมต่ำหรืออายุนานกว่าความเป็นจริงเช่น ตัด 10 ปีๆละ 14 $M จ่ายปันผล 100% ของกำไร
จะมีกำไรปีละ 25-14 = 11 $M Cash = 25-11= 14

  • ปีที่ 1 Cash 14 + PPE 126 = EQ 140 + Retain Earn. 0
  • ปีที่ 2 Cash 28 + PPE 112 = EQ 140 + Retain Earn. 0
  • ปีที่ 3 Cash 42 + PPE 98 = EQ 140 + Retain Earn. 0
  • ปีที่ 4 Cash 56 + PPE 84 = EQ 140 + Retain Earn. 0
  • ปีที่ 5 Cash 70 + PPE 70 = EQ 140 + Retain Earn. 0
  • ปีที่ 6 Cash 84 + PPE 56 = EQ 140 + Retain Earn. 0
  • ปีที่ 7 Cash 98 + PPE 42 = EQ 140 + Retain Earn. 0

เนื่องจากอายุการใช้งานจริงมีเพียง 7 ปี ดังนั้น ส/ท ในปีที่ 8 จะต้องจัดหาทดแทนใหม่ ของเดิมหมดอายุแล้วต้องตัดจำหน่ายออกจากบัญชี (ด้อยค่า) ต้นปีที่ 8 มีเงินสดเพียง 98 ไม่พอ กิจการทำได้สองทางคือ เพิ่มทุน หรือก่อหนี้ขึ้นเพื่อหาเงินมาลงทุนต่อเนื่อง ดังนั้นกิจการที่ตัดค่าเสื่อมต่ำในทางการเงินระยะยาวต้อง

  1. เพิ่มทุน ในการลงทุนโครงการขนาดเท่าเดิม โดยไม่มี growth
  2. ก่อหนี้เพิ่ม D/E จะเพิ่ม กำไรลดลงจากต้นทุนดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น โดยรายได้ไม่เพิ่ม สุดท้ายปันผลจะลดลง
  3. ถ้าไม่เพิ่มทุน หรือก่อหนี้ กิจการต้องลงทุนใหม่ในขนาดโครงการที่เล็กลง รายได้จะน้อยลง ปันผลจะน้อยลง


อภินิหารที่อาจเกิดได้คือ ลงทุนน้อยลง แต่รายได้โครงการใหม่มากกว่าเดิม แต่นั่นคือสิ่งที่ไม่อาจจะรู้ได้ว่าจะได้หรือไม่ ซึ่งในการลงทุนคือความเสี่ยงนั่นเอง (ต้องลุ้นเอาเองว่าจะได้หรือไม่)

ในทางกลับกันหากตัดค่าเสื่อมสูงหรืออายุเร็วกว่าที่ควรเป็น กำไรจะน้อยลง (หรืออาจขาดทุน) ในช่วงแรกๆ ปันผลจะต่ำหรือไม่มีและมาจ่ายสูงๆ หลังจากตัดค่าเสื่อมหมดแล้ว เท่ากับนักลงทุนต้องจมเงินระยะเวลาหนึ่งถึงได้เงินคืน ในแง่การประเมินราคา แบบการตัดค่าเสื่อมน้อยๆ ราคาหุ้นจะสูงในช่วงแรกๆ และราคาจะตกอย่างแรงหลังจากต้องเพพิ่มทุนหรือมีความเสี่ยงเพิ่มจากระดับ D/E ที่เพิ่มขึ้น

ส่วนกรณีที่ตัดเร็วๆหรือค่าเสื่อมสูง ราคาหุ้นจะต่ำนานหลายปีก่อนที่จะปรับขึ้นหลังตัดค่าเสื่อมหมดก่อนการใช้งานจริง ทั้งสองกรณีไม่ใช่สิ่งที่ดีกับการลงทุนแนว Value Investing แต่สำหรับคนลงทุนแบบหาจังหวะช่วงการลงทุนอาจจะได้ แต่ต้องแกะงบการเงินกันมากทีเดียว ซึ่งยากและเสียเวลามาก และในโลกความจริงไม่มีใครสามารถรู้ได้ว่าบริษัทมีสินทรัพย์อะไรและตัดหมดก่อนหรือหลัง (บางทีตัวบริษัทเองก็ไม่รู้) ดังนั้นการประเมินอายุและใช้วิธีที่เหมาะสม จะดีที่สุด การเลือกบริษัทลงทุนเพียงแต่พิจารณาภาพกว้างและความเหมาะสมในการกำหนดวิธีและอายุของการคิดค่าเสื่อมราคา

[1]https://www.facebook.com/sanpong.limthamrongkul/posts/10201722637126115

วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2556

IDEA ธุรกิจจากความเบื่อ

IDEA ธุรกิจ 1,000 ล้านหลายๆอันก็มาจากความเบื่อนี่แหละ

ไปฟังธรรมะมาได้ความรู้ว่าความเบื่อมีสองแบบ

  1. เบื่อเพราะ "โทสะ" จะมีเป็นคู่ อันนี้ไม่ดี อันนั้นดีกว่า เช่นเบื่องาน เบื่อเมีย เบื่อคน ฯลฯ
  2. เบื่อเพราะ เห็นสภาวะรูปนามความความเป็นจริง ว่ามันไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงตามเหตุปัจจัย และไม่อยู่ในอำนาจบังคับ ไม่น่าเอาไม่น่าเป็น

เบื่อแบบที่สองไม่สามารถสร้างธุรกิจได้เพราะ ใกล้นิพพานไปละ ความทุกข์มีอยู่แต่เข้าไม่ถึงใจ แต่ความเบื่อแบบที่หนึ่งคนที่ไปมีกันทุกคน เมื่อความทุกข์เข้ามาถึงใจ เกิดปรุงแต่งเป็นอารมณ์ไม่พอใจอยากหนีให้พ้นๆ เช่นนั่งรถเมล์แต่ไม่เท่านั่งนานๆก็เบื่อ ใจก็ดิ้นๆอยากซื้อรถ พอมีรถก็เบื่อรถแบบเดิมๆ ก็ไปแต่งรถ แต่งจนเต็มที่ ก็เริ่มเบื่ออยากไปหารถคันใหม่ ไม่มีที่สิ้นสุด

เจ้าของบริษัทเขาก็รู้เรื่องนี้ก็พยายามทำให้คนเบื่อบ่อยๆ รถยนต์ก็อย่าให้มันดีมาก แบ่งซอยๆเป็นหลายๆ รุ่น รุ่นสวยๆก็แพงหน่อย รุ่นถูกๆ ก็ออกแบบให้มันดูโลๆ เข้าไว้ ปีสองปีก็ออกรุ่นใหม่ ยั่วน้ำลายเราเล่น

หัวใจสำคัญคืออย่าให้ลูกค้าเรามี "สติ" ยั่วกิเลศเข้าไว้ถ้ามีสติเห็นความจริงบ่อยๆ จะกลายเป็นเบื่อประเภทที่สอง แล้วจะขายของไม่ได้

ทุนนิยมช่างโหดร้าย

วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2556

SMPC จะ turnaround

ไปประชุมผู้ถือหุ้น SMPC บริษัททำถังแกสใหญ่ระดับโลกมาครับ (ซื้อ 100 หุ้น) ประชุมเสร็จไปเยี่ยมชมโรงงานได้ความว่า
- ทำธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายถังแกสไปทั่วโลกสัดส่วนรายได้ต่างประเทศ 90% และในประเทศไทยประมาณ 10%
- สำหรับในประเทศไทย smpc มี market chair กว่า 50% ที่เหลือแบ่งๆกันกินกันอีกสองเจ้า
- ธุรกิจนี้เป็นตลาดแข่งขันน้อยราย คนทั่วไปเข้ามาแข่งยาก เพราะต้องผ่านการทดสอบเยอะ
- สมัยก่อนมีปัญหาคือไปขยายการผลิตไปทำโรงเหล๊ก ทำให้เจ้งกระบ้ง ปรับโครงสร้างหนี้มากมายตั้งแต่ปี 2540 เพ่งมาเสร็จตอนปี 2552 นี่เอง แต่ธุรกิจหลักคือถังแกสโตเรื่อยๆ
- สินค้ามีถังแกสแบบสองตอน (ใช้ตามบ้าน) และสามตอน (ถังยาวๆใช้ตามร้านอาหาร) กำลังการผลิต 5 ล้านถังต่อปี
- ปัจจุบันมีโรงงานการผลิต 2 โรง และขยายไปโรงที่ 3 ซึ่งจะย้ายไลน์การผลิตถังแกสแบบ 3 ตอน ที่ไปเบียดบังพื้นที่การผลิตถังแกสขนาดสองตอนในโรงงาน 1-2 มาผลิตที่โรงงานสามทั้งหมด ทำให้ประสิทธิภาพการผลิตมากขึ้น และกำลังการผลิต 10% (100 ถังต่อชั่วโมง) รองรับการเติบโตได้ประมาณ 2-3 ปี
- อนาคตโรงงานที่ 3 สามารถขยายไลน์ทำถังแบบพ่นสีได้อีก
- วัตถุดิบหลักคือเหล็ก ไม่เน้นเก็งกำไรสต็อก และมี natural hedge เรื่องค่าเงิน เพราะนำเข้าวัตถุดิบเป็นเงินดอลล่า และส่งออกเป็นดอลล่า
- ก่อนปรับโครงสร้างหนี้ไปซื้อวัตถุดิบจากตปทไม่ได้ ต้องสั่งผ่านตัวแทนทำให้ไม่ค่อยได้กำไรแต่ก็ต้องทำ ตอนนี้สามารถไปสั่งวัตถุดิบเองได้ละ อัตรากำไรดีขึ้น
- มีการเพิ่มไลน์สินค้าใหม่ เป็นถังขนาดเบาน้ำหนักลดไปครึ่งหนึ่ง
- ประชุมวันนี้เพิ่งล้างขาดทุนสะสมไป เตรียมจ่ายปันผลได้
บรรยากาศเยี่ยมชมโรงงาน
เขาห้ามถ่ายในโรงงานก็เห็นภาพเท่านี้ละ

วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ข้อผิดพลาดที่มักพบของนักลงทุนที่วิเคราะห์และใช้ข้อมูลทางการเงิน

ข้อผิดพลาดที่มักพบของนักลงทุนที่วิเคราะห์และใช้ข้อมูลทางการเงิน จากประสบการณ์ที่เห็นมามากกว่า 20 ปี ของ อาจารย์ อ.สรรพงศ์ ลิมป์ธำรงกุล [1] ครับ สรุปได้ 4 ข้อ เชิญอ่านโดยพลัน

1. ส่วนใหญ่สนใจแต่ Bottom line (กำไรสุทธิ)


  ส่วนใหญ่แทบทุกคนแม้แต่นักวิเคราะห์โบรคเกอร์ต่างๆ จะมุ่งเน้นแนะนำว่าหุ้นน่าสนใจหรือไม่โดยบอกเพียงกำไรเติบโตเพิ่มมากน้อยหรือลด แต่มักไม่ได้ดูว่ากำไรดังกล่าวมีที่มาที่ไปอย่างไร ช่วงที่ผ่านมาหลายบริษัทมีกำไรที่เกิดจากกำไรที่ไม่ได้มาจากการดำเนินงาน (กำไรพิเศษ) เช่นการขายสินทรัพย์เข้ากองทุน มีกำไรจากการต่อรองจากการซื้อบริษัทย่อย เป็นต้น ซึ่งกำไรเหล่านี้เป็น one-time gain/loss


2. ดูแนวโน้มกำไรเพียงปีต่อปี 


หรือไตรมาสนี้กันปีที่แล้วหรืองวดเดียวกันของปีก่อน ผลสืบเนื่องมาจากข้อแรก ทำให้กำไรก้าวกระโดดมากเป็นพิเศษ และการมองการเติบโตเพียง Y-o-Y หรือ Q-to-Q อาจเกิดเพียงระยะสั้นเท่านั้นการลงทุนแบบ Value Investor ควรมองกำไรอย่างน้อย 4-5 ปี


3. สนใจรายละเอียดมากเกินความจำเป็น อ่านงบการเงินแบบนักบัญชี แต่ไม่อ่านแบบนักลงทุน 


ไม่มององค์รวมก่อน มุ่งแต่รายละเอียด จากประสบการณ์ที่ผ่านๆมา คำถามที่ได้รับจากผู้ลงทุนหลายๆ ท่าน พบว่า บางครั้งมุ่งสนใจเฉพาะรายละอียดบางรายการ ทั้งที่บางคครั้งนักบัญชีเองอาจจะยังไม่รู้รายละเอียด หรือยังไม่เข้าใจในมาตรฐานบัญชีด้วยซ้ำ หลายๆ รายการในงบการเงิน บางครั้งก็ปรับปรุงตัวเลขไปตามคำแนะนำของผู้สอบบัญชี (เพื่อจะได้ออกความเห็นแบบไม่มีเงื่อนไข) เช่นสินทรัพย์/หนี้สินภาษีเงินได้รอตัดบัญชี มาอย่างไรทำไมได่เท่านั้น้ท่านี้ ปกติรายการที่เปรียบเทีบยด้วย common size ถ้าขนาดต่ำกว่า 5% ผมแทบจะไม่สนใจเลย เพราะผลกระทบต่อกำไรจะน้อยมาก เว้นแต่เปลี่ยนแปลงสัดส่วนเทียบปีต่อปีอย่างมีนัยสำคัญ

 สำหรับคนที่เรียนวิธีการอ่านงบกับผมแล้วนั้น ผมจะเน้นให้ใช้สมการบัญชี พิจารณาการเปลี่ยนแปลงเป็นหลักเบื้องต้นก่อน สินทรัพย์รวมเปลี่ยนไปเท่าใด เปลี่ยนในหมุนเวียนหรือไม่หมุนเวียน และค่อยเจาะลึกลงไป จากนั้นพิจารณาว่าเอาเงินทุนมาจากอะไร หนี้สินหรือส่วนทุน ทำให้ด้เงินทุนจากกำไรลดลงถ้าก่อนี้มาจากหมุนเวียนหรือไม่หมุนเวียน ส่วนทุนได้มาจากอะไร กำไร(สะสม)หรือเพิ่มทุน (การจ่ายปันผลออกไปย่อมได้ทุนจากกำไรลดลง) บางคนสนใจว่าลงบัญชีอย่างไร ซึ่งบางครั้งอาจไม่จำเป็นนัก แค่เข้าใจว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นตามสมการบัญชีเป็นอย่างไรก็เพียงพอที่จะประเมินธุรกิจแล้ว เพราะถ้ากระทบด้านสินทรัพย์หมุนเวียน ไม่ว่าจะชื่ออะไรก็คือสินทรัพย์หมุน้วียนอยู่ดีและ current ratio ก็ไม่เปลี่ยนไปจากการคำนวณอัตราส่วน

4. ขาดความเข้าใจการดำเนินธุรกิจ และเชื่อมโยงกิจกรรมทางเศรษฐกิจกับผลที่นำเสนอรายงานทางการเงินไม่ได้ 


หลายครั้งที่งบการเงินได้บอกนัยทางธุรกิจผ่านงบการเงิน เช่นตัวอย่างง่ายๆด้านขาย ถ้าเป็นกิจกรรมหลักปกติ เมื่อเกิดกิจกรรมขายขึ้นย่อมทำให้เกิดลูกหนี้การค้าขึ้นและถ้าเก็บเงินได้ ลูกหนี้จะเปลี่ยนเป็นเงินสด ค่าขายเพิ่มและลูกหนี้หรือเงินสดพิ่ม การมีลูกหนี้คงค้างในงบเพิ่ม ย่อมแสดงว่ามีการบันทึกรายได้(ขาย) แต่ยอดคงค้างคือรายการที่ยังไม่เก็บเงิน คงค้างมากแสดงว่าขายแล้วยังไม่เรียกเก็บเงินอีกมาก การจะดูว่าผิดปกติหรือไม่ก็ตรวจสอบภาพรวมได้จากการวิเคราะห์ Accounting receivables turnover เป็นต้น หรือกรณีธุรกิจมีลักษณะเป็น Cyclical Business ราคาสินค้ามีลักษณะขึ้นลงเป็นวัฏจักรยาวนานรอบละสามถึงสี่ปี ผลการดำเนินงานและโครงสร้างทุนจะแปรเปลี่ยนได้ตามวงจรธุรกิจ หากไม่เข้าใจก็อาจมองหรือประมาณการผิดพลาดได้ ธุรกิจธนาคารเชื่อมโยงกับด้านเศรษฐกิจระดับมหภาคสูง ถ้าวิเคราะห์ระดับมหภาคผิดก็จะประเมินผลการดำเนินงานผิดพลาดเป็นต้น

นั่นคือ 4 ประเด็นหลักๆ ที่เจอมาตลอดจากทั้งนักวิเคราะห์เอง หรือจากนักลงทุนที่วิเคราะห์หุ้นจากกงบการเงินเอง ความจริงในแต่ละเรื่องมีรายละเอียดปลีกย่อยมาก แต่พยายามสรุปเป็นกลุ่มหลักๆ ในความผิดพลาดมีอีกหลายอย่าง เช่น การประเมินมูลค่าหุ้น ในรูปแบบต่างๆทั้ง DCF P/E PEG P/BV หรือการหา growth ความเข่าใจหลักการเงินหรือการบัญชีที่ผิดๆ ทำให้ใช้งานและตัดสินใจไม่เป็นไปตามหลักที่ถูกต้อง อาจได้กำไรช่วงสั้นแต่เสียหายได้ในระยะยาว

[1]https://www.facebook.com/sanpong.limthamrongkul/posts/10201676394290073

วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Tax Shield คืออะไร

บทความเรื่อง Tax Shield จาก อ.สรรพงศ์ ลิมป์ธำรงกุล.[1] ครับ มันเยี่ยมจริงๆ

Tax Shield คือประโยชน์ที่ได้ทางภาษีที่จ่ายน้อยลงจากรายจ่ายนั้นเอง เช่น บริษัทมีรายได้ก่อนหักค่าเสื่อมและภาษี 300 ลบ. อัตราภาษี 22% มีค่าเสื่อมราคา 100 ลบ. สมมติไม่มีหนี้ ไม่มีดอกเบี้ยจ่าย
EBITDA_______________300
Depreciation ___________-100
EBT__________________200
Tax 22%_____________-44
NI___________________156
ถ้าไม่มีค่าเสื่อมเกิดขึ้น บริษัทต้องจ่ายภาษี 300x22% = 66 แต่เมื่อมีการหักค่าเสื่อมฯ 100 จ่ายภาษีเพียง 44
ภาษีที่จ่ายน้อนลงนี้ 22 เรียกว่า Tax Shield = 100x22% = 22
Tax Shield = ค่าใช้จ่าย x อัตราภาษี พูดง่ายๆคือรายจ่ายทุก 100 บาท ให้ภาษีที่ต้องเสียภาษีลดลงจากภาษีที่เกิดจากรายได้ก่อนรายจ่ายนั้น 22 บาท
จากตัวอย่างข้างต้นสมมติมีดอกเบี้ยจ่าย 500 บาท แทนที่บริษัทจะเหลือกำไรเท่ากับ 156-50 = 106 แต่จะมีกำไรดังนี้
EBITDA_______________300
Depreciation ___________-100
ดอกเบี้ยจ่าย_____________-50
EBT__________________150
Tax 22%______________-33
NI___________________117
ภาษีจ่ายลดลงอีกจาก 44 เหลือ 33 ลดลง 11 บาท ทุกๆรายจ่ายที่เกิดขึ้น กำไรลดลงแต่ภาษที่จะจ่ายก็จะลดลงด้วยเช่นกัน ถ้าเขียนเป็นสมการง่ายๆ
NI = Sales – Exp - (Sales – Exp) x t = (Sales – Exp) x (1-t) = Sales – Exp - (Sales x t) + (Exp x t)
Total tax exp = ภาษีทั้งหมดจากรายได้ (Gross) + Exp x t
บริษัทมีรายได้จากการขาย 1,000 ต้องเสียภาษี = 1,000 x t
มีรายจ่ายทั้งหมด 800 จะได้ tax shield = 800 x t
ถ้าภาษีเท่ากับ 25%
ภาษี = -1000x0.25 + 800x0.25 = -250 + 200 = -50
Prove:
Sales___________1000
Exp_____________-800
EBT_____________200
Tax 25%_________-50
NI______________150
ความจริงเรื่อง Tax Shield มักจะมีกล่าวมากในวิชาการเงินมากกว่าทางด้านบัญชี

  • Depreciation Tax Shield ประโยชน์ทางภาษีที่เกิดจากค่าเสิอมราคา เป็นรายจ่ายทางบัญชีที่ไม่ได้จ่ายเป็นงินสด แต่ทำให้ค่าใช้จ่ายทางภาษีลดลง = Depreciation Exp. X Tax rate

    AKR เอาเครื่องจักรของบริษัทย่อยมารวม ทำให้ค่าเสื่อมราคาเข้ามาที่ งบแม่ประมาณ 57 ล้านต่อปี ทำให้ประหยัดภาษี(20%)ได้ปีละ 57 x 0.2 = 11.4 ล้าน
  • Interest Tax Shield ประโยชน์ทางภาษีที่เกิดจากดอกเบี้ย ทำให้ต้นทุนดอกเบี้ยที่เป็นเงินสดจ่ายออกลดลง = Interest Exp. X Tax rate ทำให้ในสูตร WACC = D/(D+E) * (rd) *(1-t) + E/(D+E) * re

    AKR ไปกู้เงินมา 400 ล้านไปซื้อเครื่องจักรจากบริษัทย่อย ทำให้ดอกเบี้ยจ่ายเข้ามาที่งบแม่ประมาณ 28 ล้านต่อปี ทำให้ประหยัดภาษีได้ปีละ 28 x 0.2 = 1.96 ล้านบาท


[1]https://www.facebook.com/sanpong.limthamrongkul/posts/10201574316018180

วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วิธีจำสูตรอัตราส่วนทางการเงิน

เวลาจำสูตรอัตราส่วนทางการเงิน บางสูตรสินทรัพย์เฉลี่ยบ้าง บางสูตรสินทรัพย์ก็ไม่เฉลี่ย วิธีจำง่ายๆคือ "ถ้าตัวเลขมาจากต่างงบ ตัวเลขจากงบดุลต้องเป็นค่าเฉลียเสมอ" เพราะตัวเลขจากงบดุลเป็นจุดของเวลา แต่ตัวเลขจากงบ กำไรขาดทุน และงบกระแสเงินสดเป็นตัวเลขในช่วงเวลาหนึ่งๆ ตัวอย่าง

  • อัตราส่วนที่มาจากต่างงบ
    • อัตราส่วนหมุนเวียนทรัพย์สิน = ยอดขาย/สินทรัพย์เฉลี่ย
    • ROE = กำไรสุทธิ / ส่วนของผู้ถือหุ้นเฉลี่ย x 100
    • ROA = EBIT / สินทรัพย์รวมเฉลี่ย  x 100
  • อัตราส่วนที่มาจากงบเดียวกัน
    • อัตรากำไรสุทธิ = กำไรสุทธิ / ยอดขาย  x 100
    • อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน = หนี้สินรวม / สินทรัพย์รวม

เทคนิคการเข้าใจ
พอจำสูตรได้ก็ต้องวิเคราะห์ให้เป็นวิธีการง่ายๆ ให้จำว่า อัตราส่วนคือ OUT PUT / IN PUT ทำให้เรามองอัตราส่วนทางการเงินเป็นเครื่องมือวัดประสิทธ์ภาพขององค์กร โดยมองตัวฐานเป็น 1 หรือถ้าเป็นร้อยละก็มองเป็น 100

  • อัตราส่วนหมุนเวียนทรัพย์สิน สินทรัพย์เฉลี่ย 1 บาทสร้างยอดขายได้เท่าไร
  • ROE ส่วนของผู้ถือหุ้นเฉลี่ย 100 บาทสร้างกำไรกลับมาได้กี่บาท
  • ROA คือ สินทรัพย์รวมเฉลี่ย 100 บาทสร้าง EBIT กลับมาได้กี่บาท
  • อัตรากำไรสุทธิ คือยอดขาย 100 บาทสร้าง กำไรสุทธิกลับมาได้เท่าไร
เจริญในการลงทุนทุกท่านครับ

วันพุธที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ข่าวลือในตลาดหุ้น แนวทางการวิเคราะห์และตัดสินใจ

นักลงทุนต้องใช้ข้อมูลในการตัดสินใจครับ หลายๆครั้งก็เป็นข่าวลือมาขื้นต้นประโยคประมาณนี้

"ด่วน!!! ด่วนมากที่สุด!!!
เพิ่งได้รับข่าว....จากคนวงใน/คนที่เชื่อถือได้/พี่ชายที่เป็นตำรวจ/พรรคพวกที่เป็นทหาร/ญาติสนิท/คนในวัง/เพื่อนที่อยู่ในกระทรวง/หมอดูมีญาณ/พระป่าอภิญญาแรงมาก/สายข่าวความมั่นคงที่สนิทกับที่บ้าน/แหล่งข่าวที่เปิดเผยไม่ได้จริงๆ แต่เชื่อถือได้แน่นอน/นักข่าวสายความมั่นคงที่ซี้กัน/นายพลที่รู้จักกับเพื่อนสนิท/หัวหน้าที่ทำงานที่รู้จักกับพวกเมียน้อยของคนข้างบ้านที่เป็นหน่วยข่าวกรองที่นับถือกันมาก/หลานสาวของพี่ชายของอาก๋งที่เป็นดอกเตอร์น่าเชื่อถือ/เจมส์บอน/มิสเตอร์บีน/ซูเปอร์แมน/อาร์โนลด์ชวาซเนกเกอร์/อัลกออิดะห์วงในที่คุยไลน์กันทุกวัน.....
ช่วยแชร์ด้วยนะคะ ด่วนเลยครับ แชร์ออกไปให้มากที่สุด ให้เร็วที่สุดเลย
เร็ว!!!!!"

มิตรสหายท่านหนึ่ง

การทำงานของข่าวลือในตลาดหุ้น
เป็นหน้าที่ของนักลงทุนครับที่ต้องนำ ข้อมูล(data) มาเปลี่ยนเป็น สารสนเทศ(information) เพื่อใช้ในการตัดสินใจ หลักประมาณนี้ครับ
ระดับความน่าเชื่อถือของแหล่งข่าว

  • เป็นข้อมูลปฐมภูมิ หรือทุติยภูมิ(ฟังมาหลายทอด)
    • ปฐมภูมิ เช่นพนักงานในบริษัทนั้น พนักงานแต่ละระดับจะได้ข้อมูลไม่เหมือนกันครับ ข้อมูลที่เกี่ยวกับหุ้นส่วนใหญ่จะเป็นความลับ และคนที่รู้จะเป็นกรรมการบริษัทครับ เช่นการลงทุนโปรเจกใหม่ การขายสินทรัพย์ ส่วนพนักงานทั่วๆไปก็จะรู้เฉพาะส่วนที่ตัวเองรับผิดชอบครับให้น้ำหนักน้อยลง
    • ทุติยภูมิ ข้อมูลมาหลายต่อแล้วเช่นเพื่อนของเพื่อน ญาติ ลูกเจ้าของ ฯลฯ อันนี้ให้น้ำหนักน้อยลงมา
  • ได้ข่าวมาต้องประเมินผลกระทบกำกำไรให้ได้ว่ามากน้อยอย่างไร และเมื่อไร เช่น ลงทุนโครงการใหม่ ขายสินทรัพย์ ปรับโครงสร้างหนี้
  • ราคาในตลาดปัจจุบันมี MOS margin of safety หรือไม่ เอาไว้กันตายครับเผื่อใจไว้บ้างถ้าข่าวไม่เป็นจริง อย่างน้อยก็จะได้มีปันผลกินบนดอย
ข้อควรระวังเป็นปย่างยิ่งคือ ข่าวพวกนี้คนบอกก็จะบอกแต่ตอนซื้อเวลาขายเขาไม่มาบอกเราหรอกครับ เจริญในการลงทุนทุกท่านครับ

วันอาทิตย์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2556

หลัก 10 ประการในการสร้างตัวเองให้ประสบความสำเร็จของ Sam Walton เจ้าของ Walmart

นี่ก็คือ “หลัก 10 ประการในการสร้างตัวเองให้ประสบความสำเร็จ” ของ Sam Walton ที่เค้าใช้สร้าง Walmart จนประสบความสำเร็จมาจนถึงทุกวันนี้

  1. ต้องทำธุรกิจของตัวเองอย่างเต็มที่ มีความกระหายในธุรกิจของตัวเองอย่างจริงจัง
  2. ถ้ามีกำไรต้องแบ่งให้พนักงานทั้งหลาย ของทำให้เค้ารู้สึกเหมือนเป็นพาร์ทเนอร์
  3. ต้องแสดงความบริสุทธิ์ใจต่อพาร์ทเนอร์ในเรื่องเรื่องผลกำไรและผลตอบแทน
  4. ต้องแบ่งปันความคิดเห็นทั้งหมดกับพาร์ทเนอร์เท่าที่เป็นไปได้
  5. ต้องเคารพงานธุรกิจทั้งหมดที่พาร์ทเนอร์ทำ
  6. ฉลองให้กับความสำเร็จของตัวเอง เมื่อล้มเหลวก็ต้องยิ้มรับ
  7. ต้องรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นๆ ในบริษัท
  8. ต้องบริการเหนือความคาดหมายให้แก่ลูกค้า
  9. ต้องควบคุมค่าใช้จ่ายให้ได้มากกว่าคู่แข่ง
  10.  ต้องเปลี่ยนทัศนคติ

มันเยี่ยมจริงๆ