วันพุธที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สรุปการลงทุนปี 2557

หลังจากปี 2556 ที่ตลาดไปค่อยนำนวย ปี 2557 ที่ผ่านมาตลาดก็เริ่มดีขึ้น พร้อมผลตอบแทนการลงทุนแบบพออยู่พอกิน เล่าหุ้นที่ให้น้ำหนักการลงทุนเยอะๆ กับตัวที่แป้กละกัน

AKR หมดทุกข์หมดโศก
เข้าลงทุนหนักๆ ปลายปี 2556 ประเด็นการลงทุนคือบริษัทมีการเพิ่มทุน และกู้เงินจาก KBANK รวม 800 ล้านบาทมาใช้หนี้ของธนาคาร TMB ที่ใจดียอมลดหนี้เหลือ 800 ล้านจากยอด 1300 ล้านทำให้เกิดกำไรจากการลดหนี้ 500 ล้านบาทในไตรมาศ 4 ปี 2556 (ประกาศงบเดือน ก.พ. 2557) ทุนบาทกว่าๆ 1.2 ก็ขายเพราะมองเป็นกำไรพิเศษมาครั้งเดียว และธุรกิจหม้อแปลงกว่าจะพีคอีกรอบก็ไตรมาศสี่(ส่งมอบงานเยอะช่วงนั้น)
หม้อแปลงเอกรัฐ

GRAND ปัญหาชีวิตจบ
หลังจากที่มีปัญหาหนี้สินรุงรัง โครงการเก่าก็ไม่มีเงินสร้างต่อ ปี 2556 เริ่มเห็นพัฒนาการ มีการขายโครงการคราวน์พลาซ่าที่มีเงินทำ refinance หนี้สิน ไปเทคโอเวอร์โรงแรมเพิ่ม และทุ่มทรัพยากรมาลงที่ HYDE สุขุมวิท 13 ทำให้โครงการคืบหนี้ไปมาก ยอดจองปลายปี 56 เกือบ 100% จะเริ่มโอนไตรมาศ 1 ปี 2557 ได้กำไรจาก AKR มาพอสมควรจึงสวิชมาลงทุน GRAND ราคาแถวบาทต้นๆ เกร็งว่ากำไรไตรมาศ 1 ต้องพุ่งราคาคงวิ่งจี๊ดแน่ๆ วางแผนว่าโอนจบก็ออก เพราะกำไรมาแค่ครั้งเดียว ปี 2558 ก็ไม่มีโครงการใหม่อะไร ทนมาถึง Q2 งบออกเห็นโครงการโอนไปเกินครึ่งขายไป 1.5 ขายไปได้ซักพักมันลากโชว์ไปเกือบสามบาท ผมนี่อึ้งเลยครัชแหม่

TPOLY โอกาสดีมีไม่บ่อย
งบปีออกมาเน่าม้วกๆ ขาดทุนมโหราณ มานั่งดูส่วนใหญ่ขาดทุนจากการตั้งสำรองงานรับเหมาเก่าๆ ถ้าโครงการพวกนี้ปิดงานก็คือขาดทุนครั้เดียว โครงการใหม่ถ้าไม่ทำอะไรแปลกๆก็คงไม่ขาดทุนหนักๆอีก และมีสตอรี่รออยู่คือเอาบริษัทลูก TPCH ทำโรงไฟฟ้าชีวมวลเข้าตลาดปลายปี โดยคนถือ TPOLY จะได้สิทธ์ซื้อหุ้น IPO ของ TPCH ก็คิดว่าถ้าเอาลูกเข้าแม่น่าจะดี วันที่งบออกบทวิเคราะห์กิมเอ็งออกมาให้ขายผมนี่ซื้อสวนเลยครัช ก็ทำกำไรให้พอสมควร

NPP หุ้นม้ามืด
หุ้น NIPPON เก่าราคาลงมาเยอะหลังจากคุณเอกยุทธ์เสียชีวิต มานั่งดูเริ่มเห็นกลับมาทำมาหากิน ไปลงทุนสร้างโรงงานใหม่ขนาดใหญ่กว่าเดิม 3 เท่า ไปทำธุรกิจบริหารป้ายโฆษณาร้านจิฟฟี่ ขายธุรกิจอุดรพลาซ่าที่ไม่ทำกำไรทิ้ง เปลี่ยผู้บริหารเป็นคุณสุรพงษ์ เตรียมชาญชัย เจ้าของหนังสือพิมพ์ทันหุ้น ชีวิตน่าจะดีขึ้น พี่แก่วิ่งซะอลังกาล

RPC เกือบตาย
เห็นคุณวิชัย ทองแตง เข้ามาลงทุน ไปลงทุนคลังน้ำมันบนเกาะสีชัง ในรายงานผู้สอบบัญชีมีรายงานว่าจะย้ายโรงกลันไปบนเกาะ ซักพักราคาวิ่งๆหูดับตับไหม้ อยู่ดีๆตกลงกันไม่ได้ซะงั้นราคาแป้กไม่เป็นท่าจบเบย

PJW เข้าเร็วไปเป็นปี
เคยเป็นหุ้น VI คนนิยมชมชอบ ไปตกม้าตายหลังจาก IPO แล้วไปลงทุนในโรงงานพ่นสี แต่ออเดอร์ยังไม่มารอทดสอบคุณภาพเป็นปี เข้าไปนึกว่าจะได้ออเดอร์เร็วนี้ดูจาก OPPDAY แล้วคงอยู่ด้วยกันอีกยาว 555

AGE จากทำถ่านหินลงข่าวหนังสือพิมพ์ว่าจะไปทำโรงไฟฟ้าลองลงทุนตั้งแต่เริ่มต้นดูว่าเป็นยังไงบ้าง ถือๆไปเจอวิกฤติราคาพลังงาน อเมริกาเจอเชลแก็ซ ทำให้ราคาน้ำมันลดลงมาก ถ่านหินก็หนีไม่พ้น ราคาลงฮวบฮาบทำให้กำไรปกติของ AGE แป้กไปด้วยหุ้นก็ร่วงเอาร่วงเอา สูุ้ต่อไปนะทาเคชิ

สรุปเราไม่จำเป็นต้องเข้าถูกทางทุกตัวขอแค่ครั้งที่ถูกได้กำไรมาพอสมควรก็โอละคร้าบ ปี 2558 ก็สู้กันต่อไป


วันพุธที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สรุปวิเคราะห์หุ้น VI ในสมการเดียว

หลัก VI คือหาหุ้นดี ราคาไม่แพงเวอร์แล้วถือๆไป ความยากคือเราต้องหาหุ้นที่โตยาวๆ ให้ได้ไม่ใช่โตได้ปี สองปีก็จบ จากสมการการเติบโต
สรุป VI

g = ROE x (1 - b)

g ที่คำนวณได้ภาษาฝรั่งเขาเรียก  Sustainable Growth คือการเติบโตของบริษัท ที่ไม่ได้รบกวนผู้ถือหุ้นในการเพิ่มทุนให้กำไรสะสมมาลงทุนโตไปเรื่อยๆ จะถือยาวๆก็ต้องดูทิศทางลมคือการเติบโตของอุตสาหกรรมด้วยว่า ตอนนี้อยู่ช่วงไหน เริ่มต้น เติบโต อิ่มตัว ถดถอย

g = การเปลี่ยนแปลงของกำไรต่อหุ้น(EPS)เมื่อเวลาเปลี่ยนแปลง
หุ้นที่จ่ายปันผลเป็นหุ้นมาก บริษัทจะต้องทำกำไรสุทธิให้โตมากกว่าสัดส่วนของหุ้นที่เพิ่ม ไม่งั้นจะทำให้ EPS ไม่โต ยกตัวอย่าง HMPRO จ่ายหุ้นปันผลทุกปีช่วงหลังๆ กำไรโตไม่ทัน EPS เริ่มลดลง

ROE = กำไรสุทธิ / ส่วนของผู้ถือหุ้น
เมื่อ ROE สูงขึ้นบริษัทจะโตมากขึ้น แต่เราต้องการหุ้นถือยาวๆดังนั้นบริษัทที่โตดี ROE ควรจะสม่ำเสมอ
= กำไร/ยอดขาย x ยอดขาย/สินท่รัพย์ x สินทรัพย์/ส่วนของผู้ถือหุ้น
= อัตรากำไรสุทธิ x อัตราหมุนเวียนทรัพย์สิน x อัตราส่วนสินทรัพย์/ส่วนของผู้ถือหุ้น
แสดงว่าบริษัทจะโตยั่งยืนได้ ต้องรักษาการทำกำไร อัตราหมุนเวียนทรัพย์สิน และ สัดส่วนหนี้ให้สม่ำเสมอ ด้วย

เมื่อ b หรืออัตราจ่ายปันผลมากขึ้นจะโตลดลง หุ้น VI ที่ดีควรจ่ายปันผลแต่พอดี และควรจ่ายปันผลจากเงินสดจากการดำเนินงาน

ถ้าบริษัทจัดการดี มูลค่าหุ้นก็จะสูงขึ้นเรื่อยๆ P = D/(k-g) นักลงทุนก็ยิ่มแก้มปริ เยี่ยมจริง

แนะนำให้อ่านหนังสือ แกะงบการเงินไสตร์ VI ของ อ.สรรพงษ์ เพิ่มเติม

วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

เทคนิคประมาณการกำไรและหาราคาเป้าหมายอย่างง่าย

การประมาณราคาเป้าหมายเป็นเรื่องเสียเวลาของหลายคน
ผมทำไฟล์ excel ให้ไว้เล่นกันครับ กรอกตัวเลขในช่องสีเขียวตามหุ้นของท่าน ปรับตัวเลขสมมติฐานในช่องสีเหลืองตารางจะประมาณการกำไรตามสมมติฐานของท่านและคำนวณราคาเป้าหมาย
โดยใช้ PE ratio
ปุ่มกดโหลดโหลด file excel อยู่มุมขวาล่างของตารางที่เป็น icon รูป excel




ยอดขายปีหน้า = ยอดขายปีนี้ x (1+การเติบโต) , ให้โตเท่าไรประมาณการด้วยสมมติฐานของใครของมัน
ต้นทุนขาย = ยอดขาย x (1-GPM) , GPM คืออัตรากำไรขั้นต้น
กำไรขั้นต้น = ยอดขาย x GPM
ค่าใช้จ่ายขายและบริหาร = ค่าใช้จ่ายขายบริหารปีที่แล้ว x การเติบโตของค่าใช้จ่าย, ปรับตัวเลขได้ตามใจชอบ
กำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี = กำไรขั้นต้น - ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร
ต้นทุนทางการเงิน(ดอกเบี้ย) = ต้นทุนทางการเงินปีที่แล้ว x การเติบโตของยอดขาย, ให้โตเท่ากับยอดขายเพราะว่าถ้าบริษัทโต น่าจะ กู้เงินเพิ่มในอัตราส่วนเดียวกันเพื่อรักษา DE ratio ให้คงที่
กำไรก่อนภาษี = กำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี - ต้นทุนทางการเงิน
ภาษี = กำไรก่อนภาษี x 0.2, ภาษี 20%
กำไรสุทธิ = กำไรก่อนภาษี - ภาษี
กำไรต่อหุ้น = กำไรสุทธิ / จำนวนหุ้น
ราคาเป้าหมาย = กำไรต่อหุ้น x PE
คำแนะนำแบ่งเป็น 3 ช่วง ถ้าราคาเป้าหมาย > ราคาตลาดให้ซื้อ, ราคาเป้าหมายเท่ากับราคาตลาดให้ถือ, ราคาเป้าหมายน้อยกว่าราคาตลาดให้ขาย


วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

เทคนิคการประเมินกำไรในอนาคต

การประเมินกำไรในอนาคต บทความจากคุณ road to billion เขียนลงใน Thaivi [1] [2] [3]

การรู้จักการประเมินกำไรล่วงหน้าอย่างถูกต้องจะช่วยให้เราตัดสินใจลงทุนได้ดีขึ้น เพราะนอกจากจะสามารถประเมินอัตราการเติบโตและความถูกแพงของหุ้นได้ถูกต้องแม่นยำขึ้นแล้ว การมีโมเดลในการประเมินกำไรจะเป็น “เครื่องจับโกหก” ชั้นดีที่เราสามารถนำไปใช้ในการประเมินความเป็นไปได้ของสิ่งที่ผู้บริหารพูดหรือสิ่งที่นักวิเคราะห์เขียนไว้ในบทวิจัย การที่เราสามารถใช้เครื่องมือตรงนี้ได้อย่างแม่นยำจะทำให้เราได้เปรียบนักลงทุนทั่วๆไปที่ไม่มีเครื่องมือตรงนี้

แต่ก่อนที่จะเริ่มประมาณการผลกำไร เราต้องเข้าใจคุณภาพของธุรกิจก่อน เราต้องสามารถวิเคราะห์ได้ว่าธุรกิจมี "จุดตาย" หรือ "ข้อควรระวัง" อยู่ตรงไหน และอะไรเป็นประเด็นที่สำคัญ เช่น ธุรกิจเกษตรจะมีราคาขายผันผวนตามสภาวะตลาด ซึ่งจะมีผลต่อการเติบโตของยอดขายและอัตรากำไรขั้นต้น ธุรกิจโรงแรมจะมีความผันผวนตามฤดูกาล เพราะฉะนั้นงบในไตรมาส 1 และ 4 จะสูงกว่าอีกสองไตรมาสมาก การวิเคราะห์ประเด็นเหล่านี้จะทำได้ถ้าเราเข้าใจความเสี่ยงและโครงสร้างรายได้และต้นทุนของกิจการ การประเมินโดยขาดความเข้าใจในคุณภาพของกิจการจะทำให้เกิด Garbage In, Garbage Out (ขยะเข้า ขยะออก) หรือถ้าพูดง่ายๆคือความถูกต้องของการประเมินกำไรในอนาคตจะขึ้นอยู่กับคุณภาพของการประเมินธุรกิจ ซึ่งในบทความนี้ผมจะไม่กล่าวถึงการวิเคราะห์เชิงคุณภาพแต่จะบอกว่าการวิเคราะห์เชิงคุณภาพจะทำให้เรารู้ว่า "สมมติฐาน" ข้อไหนมีความสำคัญต่อการประเมินกำไรในอนาคตของเรา

หลังจากประเมินมูลค่าเชิงคุณภาพแล้วเราก็สามารถเริ่มต้นทำการประมาณการกำไรได้ โดยแบ่งเป็น 5 ขั้นตอนง่ายๆดังนี้


  1. สร้างโมเดลในการประเมิน (Creating a Model)

    สามารถทำได้โดยทำการป้อนข้อมูลตัวเลขทางการเงินย้อนหลัง (จากงบการเงิน) เราจะกรอกข้อมูลย้อนหลังลงในไฟล์ Excel อย่างน้อย 3 ปี (ถ้าอยากเห็นแนวโน้มของธุรกิจมากขึ้น ผมแนะนำ 5 ปี) โดยที่เราจะกรอกตัวเลขแต่ละบรรทัดและทำการคำนวณกำไรสุทธิออกมา (เราจะไม่กรอกกำไรสุทธิลงไปตรงๆ) เราจะนำกำไรสุทธิที่คำนวณได้ไปเปรียบเทียบกับตัวเลขในงบการเงิน ถ้าตรงก็แล้วไป แต่ถ้าไม่ตรงแสดงว่า 1) สูตรผิด 2) ตัวเลขที่เรากรอกไม่ถูกต้อง เราต้องหาจนเจอจุดผิด (ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องที่น่ารำคาญมากๆสำหรับคนที่พึ่งจะเริ่มทำโมเดลใหม่ๆ) เพราะไม่งั้นการประมาณการเราจะผิดทั้งหมด แต่ถ้าเราทำได้แล้วเราก็จะมีโมเดลที่พร้อมแล้วสำหรับการการประเมินกำไรต่อไป 
  2. กำหนดสมมติฐาน (Set Assumptions)

    สามารถทำได้โดยดูแนวโน้มของการเติบโตของยอดขาย อัตราการทำกำไรย้อนหลัง และนำข้อมูลมาเปรียบเทียบกับข้อมูลที่ผู้บริหารให้มา หลังจากเปรียบเทียบแล้วเราจะทราบว่าผู้บริหารให้ Guidance ต่ำหรือสูงเกินไป เช่น ถ้าธุรกิจมีรายได้เติบโตแค่ปีละ 3% ตลอด 5 ปีที่ผ่านมาแต่ปีนี้ผู้บริหารให้เป้า 20% เราต้องสงสัยแล้วว่าจะมีปัจจัยอะไรที่ทำให้บริษัทเติบโตได้ขนาดนั้น หลังจากนั้นเราก็ต้องทำการ “เลือกเชื่อ” ว่าเราจะนำตัวเลขไหนมาใช้ในการประเมินกำไร 
  3. ประเมินกำไรจากสมมติฐาน (Forecasting)

    โดยนำตัวเลขสมมติฐานที่ได้มาทำการประมาณการกำไร ตัวเลขเหล่านี้ควรรวมถึง (แต่อาจจะมีมากกว่านี้) อัตราการเติบโตของยอดขาย อัตรากำไรขั้นต้น ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเมื่อเทียบเป็นสัดส่วนของยอดขายรวม อัตราภาษี ค่าใช้จ่ายทางการเงิน ในบางธุรกิจอาจจะมี กำไร(ขาดทุน)จากอัตราแลกเปลี่ยน ค่าใช้จ่ายจากการขายสินทรัพย์ และอื่นๆ ซึ่งวิธีการประเมินอาจจะขึ้นอยู่กับว่ารายการนั้นมีนัยสำคัญต่อการประเมินของเราหรือไม่ ถ้าไม่มีก็สามารถตัดทิ้งได้ แต่ถ้ามีเราอาจจะต้องศึกษาเพิ่มเติม
  4. เปรียบเทียบตัวเลขที่ทำได้กับแหล่งอ้างอิงอื่นๆ (Benchmarking)

    นำตัวเลขที่ได้มาเปรียบเทียบกับสิ่งที่ผู้บริหารให้ไว้ รวมถึงเปรียบเทียบตัวเลขกับบทวิเคราะห์ว่าผลกำไรที่เราประเมินได้มากหรือน้อยกว่าอย่างไร อยากให้ตั้งข้อสังเกตว่าการที่ได้ตัวเลขใกล้เคียงกับนักวิเคราะห์อาจจะไม่ได้แปลว่ามันถูกต้องเสมอไป การได้ตัวเลขที่น้อยกว่าหรือมากกว่ามากๆบางครั้งอาจจะถูกก็ได้ เพราะสุดท้ายแล้วขึ้นอยู่สมมติฐานของเรา สิ่งที่สำคัญกว่าคือเราต้องตอบให้ได้ว่า “ทำไม” ตัวเลขเราถึงแตกต่างกับคนอื่นๆ
  5. ติดตามและอัพเดทงบรายไตรมาส (Earning Review)

    ทุกครั้งที่งบออก เราจะป้อนข้อมูลงบล่าสุดเทียบกับประมาณการที่เราทำไว้สำหรับทั้งปี เช่นถ้ายอดขาย 6 เดือนแรกโต 50% แต่เราทำประมาณการไว้ 10% แสดงว่าเราอาจจะต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมหรืออาจจะต้องศึกษาดูว่ากำไรที่โตเยอะมากเกิดจากเหตุการณ์พิเศษอะไรรึเปล่า แล้วเราก็ควรจะปรับโมเดลตามข้อมูลใหม่ที่เราได้รับมา 
ช่วงที่ผมเป็นนักวิเคราะห์กองทุนใหม่ๆผมมักจะเจออาการ “โดนหลอก” เป็นประจำ เพราะผมเชื่อ 100% ในสิ่งที่ผมได้ยินได้ฟังมาทำให้ตัวเลขที่ได้บางครั้งก็สูงเกินไป (ทำให้เราไม่ได้ระวังตัว) บางครั้งก็ต่ำเกินไป (ทำให้เราไม่กล้าซื้อ) เพราะฉะนั้นการประเมินกำไรให้ได้แม่นยำ ต้องอาศัยความอดทน ความพยายาม ความช่างสังเกต ประสบการณ์ในการลองผิดลองถูก แต่สิ่งที่ได้รับคือเครื่องมือที่ทรงพลังที่สุดชิ้นหนึ่งในการเป็นนักลงทุนแบบเน้นคุณค่า

อ่านจบแล้วก็อย่าลืมหยิบงบการเงินของหุ้นตัวโปรดแล้วมาลองทำการประเมินกำไรดูครับ การอธิบายเป็นคำพูดอาจจะมีข้อจำกัด เพราะฉะนั้นถ้ามีข้อสงสัยหรือคำแนะนำตรงไหนก็ถามกันได้ครับ

ตอนหน้าผมจะมาพูดถึงวิธีการวิเคราะห์และการประเมินงบในแต่ละบรรทัดว่าเราจะทำการประเมินได้อย่างไร และมีข้อควรระวังอะไร มาวิเคราะห์แบบเจาะลึกไปเลย ติดตามอ่านกันได้


การประมาณการกำไร

ในบทความ “การประเมินกำไรในอนาคต ตอนที่ 1” เราได้พูดถึงขั้นตอนในการประเมินกำไรทั้ง 5 ขั้นตอนแล้ว http://www.thaivi.org/การประเมินกำไรในอนาคต-ต/ ในบทความนี้เราจะลงในรายละเอียด โดยจะกล่าวปัจจัยที่มีผลต่อกำไรอย่างละเอียดมากขึ้น

รายได้


หุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่งและอยู่ในอุตสาหกรรมที่กำลังขยายตัว มักจะมีการเติบโตของรายได้ที่สม่ำเสมอ การประเมินรายได้ของหุ้นพวกนี้อาจจะใช้อัตราการเติบโตในอดีตได้ แต่สำหรับหุ้นที่มีรายได้ในอดีตไม่สม่ำเสมอ ได้รับผลกระทบจากวัฏจักรเศรษฐกิจ หรือบริษัทที่มีผู้บริหาร ผลิตภัณฑ์ หรือหน่วยธุรกิจใหม่ๆ การใช้ตัวเลขในอดีตอาจจะไม่ใช่วิธีการที่ดีที่สุด เราอาจจะต้องอาศัยข้อมูลการจากทางผู้บริหารประกอบ อย่างไรก็ตามเราต้องระมัดระวังความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของรายได้ โดยเฉพาะบริษัทที่มีลูกค้าน้อยราย หรือบริษัทที่ไม่มีลูกค้าประจำหรือไม่สามารถกำหนดราคาขายแน่นอนได้ บริษัทเหล่านี้เราต้องมี “ส่วนเผื่อสำหรับข้อผิดพลาด” ไว้บ้าง

การประมาณการอัตราการทำกำไร


ต้นทุนของธุรกิจหลักๆมีสองส่วนคือ ต้นทุนในการขาย (Cost of Good Sold หรือ COGS) และค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหาร (Sale, General & Admin หรือ SG&A) ในการวิเคราะห์เราต้องมองให้ออกว่าทั้ง COGS และ SG&A มีส่วนไหนบ้างที่เป็นค่าใช้จ่ายคงที่ และส่วนไหนเป็นค่าใช้จ่ายทีแปรผันตามยอดขาย ธุรกิจโรงแรมจะมีค่าใช้จ่ายคงที่ค่อนข้างเยอะจากค่าเสื่อมราคา ทำให้การเพิ่มขึ้นของยอดขายในวัฏจักรขาขึ้นจะทำให้อัตราการทำกำไรเติบโต (รายได้เพิ่มขึ้น แต่ต้นทุนเพิ่มขึ้นในอัตราส่วนที่น้อยกว่า) แต่ในขณะที่ธุรกิจเกษตรอาจจะมีต้นทุนแปรผันเยอะ เพราะฉะนั้นการเพิ่มขึ้นของยอดขายอาจจะไม่ได้ถึงอัตราการทำกำไรที่ดีขึ้น (สำหรับธุรกิจนี้ ต้องมองกันที่ราคาขายและราคาของวัตถุดิบเป็นหลักๆ)

การใช้อัตราส่วนในอดีตจะสามารถใช้ได้แต่เราต้องดูผลกระทบที่บริษัทจะได้รับในปีปัจจุบัน ซึ่งอาจจะมาจากค่าเช่า ค่าสาธารณูปโภค หรือค่าแรงที่ปรับตัวขึ้น รวมถึงอัตราการใช้กำลังการผลิต (Capacity Utilization) ของธุรกิจ ส่วนมากแล้วทางบริษัทจะสามารถให้ข้อมูลได้ว่าแนวโน้มของอัตราการทำกำไรในปีนี้จะเป็นยังไง แต่ก็อย่าลืมถามถึง “เหตุผล” ที่จะเป็นอย่างนั้นด้วยนะครับ เราจะได้นำมาวิเคราะห์ต่อได้

ต้นทุนทางการเงินและกระแสเงินสด


สองอย่างนี้ใกล้กันจนหลีกเลี่ยงกันไม่ได้ บริษัทที่มีกระแสเงินสดดีจะมีเงินเหลือไปจ่ายหนี้เพื่อลดภาระทางการเงิน แต่สำหรับบริษัทที่ต้องใช้Working Capitalหรือเงินลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนมาก อาจจะต้องอาศัยการกู้ยืมที่มากขึ้นถ้าธุรกิจจะต้องการเติบโต การวิเคราะห์โดยละเอียดจะทำได้ยากสำหรับคนที่ไม่ใช่นักวิเคราะห์มืออาชีพ แต่เราสามารถทำได้คร่าวๆโดยการวิเคราะห์งบกระแสเงินสด ถ้ากระแสเงินสดจากการดำเนินงานหักด้วยเงินที่ใช้ในการลงทุนติดลบมากๆ บริษัทจำเป็นต้องจัดหาเงินจากแหล่งอื่นๆ ซึ่งอาจจะหมายถึงการกู้เงินจากธนาคารหรือการเพิ่มทุนจากผู้ถือหุ้น สมมติว่าบริษัทต้องใช้

อัตราภาษี


ค่าใช้จ่ายบางประเภทไม่สามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายเพื่อลดภาษีได้ เช่น การตั้งสำรองหนี้เสีย ทำให้อัตราการจ่ายภาษี (“ภาษีจ่าย” หารด้วย “กำไรก่อนหักภาษี”) มีอัตรามากกว่าปรกติ แต่ในบางกรณีบริษัทอาจจะจ่ายภาษีน้อยกว่าฐาน 20% เนื่องจากได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี เช่น BOI การประเมินภาษีทำได้ยาก ถ้าอัตราการจ่ายภาษีในอดีตไม่ได้ผันผวนมากผมก็จะใช้ตัวเลขเดิม แต่ถ้าผันผวนประเมินยาก ผมจะโทรถามข้อมูลส่วนนี้จากทางเจ้าหน้าที่นักลงทุนสัมพันธ์โดยตรงเลย ซึ่งจะแม่นยำกว่าการคาดเดาของเราแน่นอน

ผลกระทบจาก Dilution


การออก Warrant การเพิ่มทุน การจ่ายหุ้นปันผล จะทำให้จำนวนหุ้นเพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีผลให้กำไรต่อหุ้นลดลง นักลงทุนหลายท่านประเมินมูลค่าโดยที่ยังไม่ได้นำหุ้นส่วนเพิ่มนี้มารวม ทำให้ได้ตัวเลขกำไรต่อหุ้น (EPS) ที่สูงเกินจริง สุดท้ายแล้วเราต้องไม่ลืมว่าการเติบโตของ EPS ในระยะยาวจะเป็นเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงและสร้างผลตอบแทนได้ดีที่สุด

ข้อผิดพลาดในการประเมินกำไร


สุดท้ายแล้วหุ้นแต่ละตัว ในแต่ละอุตสาหกรรมก็จะมีปัจจัยที่มีผลต่อรายได้และกำไรแตกต่างกัน เพราะฉะนั้นการประเมินกำไรให้แม่นยำ จำเป็นต้องอาศัยการสะสมประสบการณ์ (รวมถึงข้อผิดพลาด) ในการวิเคราะห์ธุรกิจและประเมินกำไรในอนาคต สิ่งที่สำคัญที่สุดคือกระบวนการทั้ง 5 ข้อที่ผมได้กล่าวถึงในบทความก่อนหน้านี้ http://www.thaivi.org/การประเมินกำไรในอนาคต-ต/  ถ้ากระบวนการถูกต้องแล้ว ในท้ายที่สุดเราจะได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพึงพอใจ ถ้าเราผิดพลาดตรงไหนก็ค่อยๆปรับแก้ไป สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ต้องคอยประเมินตัวเองอยู่เสมอ ในบทความหน้า ผมจะมาพูดถึงข้อผิดพลาดในการประเมินกำไรในอนาคตที่นักลงทุนชอบทำกัน ติดตามกันได้ครับ

ในทางทฤษฎีการประเมินกำไรเป็นเรื่องที่ดูเหมือนจะไม่ยาก แต่เหมือนกับทุกอย่างในโลกนี้ โลกความเป็นจริงเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ ต้องใช้มุมมองภาพกว้างๆประกอบการตัดสินใจ ผมได้หยิบยก “ข้อผิดพลาด” จากประสบการณ์ของตัวเองและของนักลงทุนหลายนๆท่านที่ผมมีโอกาสได้การสอนและให้ความรู้ เป็นบทเรียนราคาแพงสำหรับหลายๆคน สรุปออกมาแบบง่ายๆให้ทุกคนได้อ่านกันแบบไม่ต้องจ่าย “ค่าเล่าเรียน” ด้วยตัวเอง

ไม่ได้วัดผลการประเมินของตัวเอง


การประเมินกำไรที่ดีก็เหมือนกับการยิงปืน ยิงไปแล้วเราก็ต้องดูว่ามันเข้าไปหรือเปล่า สูงไปมั้ย? ต้องขยับซ้ายอีกรึเปล่า? ถ้าเราประเมินกำไรแล้ว ไม่เคยเอามาเปรียบเทียบกับตัวเลขจริงๆ เราก็จะไม่สามารถรู้ได้เลยว่ากระบวนการในการประเมินของเรานั้นถูกต้องแค่ไหน ปรกติแล้วผมจะอัพเดทข้อมูลทุกๆไตรมาส และจะทำละเอียดๆหลังจากงบปีออก ผมจะทำการเปรียบเทียบดูว่างบที่ออกมาเมื่อเทียบกับที่เราทำไว้เป็นอย่างไร? อัตราการเติบโตของยอดขาย อัตรากำไรขั้นต้น ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ต้นทุนทางการเงิน อัตราภาษี และสุดท้ายกำไรต่อหุ้น งบที่ออกมาในไตรมาสนั้นสูงหรือต่ำเกินกว่าที่เราประเมินไว้อย่างมีนัยสำคัญ (เกิน 10%) ผมก็จะพยายามหาเหตุผลว่ามันเกิดขึ้นเพราะอะไร สมมติฐานที่ผมมีเกี่ยวกับหุ้นตัวนั้นๆยังถูกต้องอยู่หรือไม่ ขั้นตอนนี้เป็นกระบวนการพัฒนาตัวเองที่จะทำให้ความแม่นยำเราดีขึ้นอย่างมาก

ไม่ได้ทำการ BENCHMARK ตัวเลข


แน่นอนว่าการเปรียบเทียบกับตัวเลขจริง เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ดีที่สุด แต่บางครั้งเราก็อยากจะรู้ว่าตัวเลขที่เราทำออกมาเป็นอย่างไรก่อนที่จะรู้ผล วิธีที่ทำได้ง่ายและเร็วที่สุดคือการเปรียบเทียบตัวเลขของเรากับบทวิเคราะห์ โดยหลักผมจะเปรียบเทียบการเติบโตของยอดขาย อัตราการทำกำไร และกำไรต่อหุ้น ในอีก 3 ปีข้างหน้า กับบทวิเคราะห์อย่างน้อยซัก 2 – 3 ฉบับ หลายครั้งผมก็อาจจะโทรไปคุยกับนักวิเคราะห์เพื่อสอบถามข้อสงสัยเกี่ยวกับตัวสมมติฐานของงบการเงิน ในโลกของการลงทุน นักวิเคราะห์จะเป็นคนที่ได้รับข้อมูลดีที่แม่นยำและรวดเร็วที่สุด (หลายบริษัทจะจัดประชุมนักวิเคราะห์ก่อนจะให้ข้อมูลกับนักลงทุนทั่วไป และหลายๆบริษัทก็ไม่ให้ข้อมูลกับนักลงทุนโดยตรง) ซึ่งเป็นส่ิงที่มีประโยชน์ต่อการลงทุนเป็นอย่างมาก แต่เนื่องจากบริษัทหลักทรัพย์ไม่อยากให้นักวิเคราะห์เปลี่ยนคำแนะนำกลับไปกลับมา นักวิเคราะห์ส่วนมากมีแนวโน้มที่จะทำตัวเลขออกมาให้ไม่ต่างกับอดีตมากนัก มีนักวิเคราะห์จำนวนน้อยที่กล้าที่จะเปลี่ยนมุมมองอย่างมีนัยสำคัญเมื่อมีเหตุการณ์เปลี่ยนแปลง เพราะฉะนั้นการเปรียบเทียบกำไรของเราต้องพิจารณาให้ครบทุกด้าน

หุ้นแต่ละตัวประเมินกำไรได้ยากง่ายแตกต่างกัน


“Not all stocks are created equal” หุ้นทุกตัวมีความแตกต่าง การประเมินกำไรก็เช่นกัน นักลงทุนหลายท่านมองการเติบโตของกำไร อยากได้หุ้นที่เติบโตดีๆ เลือกลงทุนในหุ้นเล็กๆที่มีการเติบโตดี แต่ลืมที่จะพิจารณาความเสี่ยง มองปริมาณ แต่ไม่ได้มองคุณภาพ เราคิดว่าธุรกิจจะโต 30% แต่เราไม่ได้คิดว่าโอกาสที่มันจะเกิดขึ้นมีมากน้อยแค่ไหน แล้วในทางกลับกันมันมีโอกาสที่จะลดลง 30% หรือเปล่า ในความเป็นจริงแล้วหุ้นที่มีความเป็นวัฏจักร มีราคาหรือต้นทุนที่ผันผวน มีลูกค้าน้อยราย เช่น ส่งออกอุปกรณ์อิเล็กโทรนิคส์ หุ้นที่มียอดขายไม่สม่ำเสมอ เช่น รับเหมา จะสามารถประเมินกำไรในอนาคตได้ยากกว่าธุรกิจที่มีลูกค้าหลายราย มีการซื้อซ้ำ และราคาขายและต้นทุนไม่ผันผวน ยกตัวอย่างหุ้น หุ้นกลุ่ม OEM กับ หุ้นค้าปลีก แต่ OEM ถ้าดีก็จะดีใจหาย แต่ถ้าลูกค้ารายหลักๆหายไปซักรายก็จะมีผลกระทบต่องบการเงินเป็นอย่างมาก (ซึ่งบางครั้งผู้บริหารก็ไม่รู้เลยว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต) ส่วนค้าปลีกก็ไม่ได้ว่าประเมินได้ง่ายเสมอไปเพราะถ้าเศรษฐกิจไม่ดี ต้นทุนอาจจะเพิ่มในขณะที่กำลังซื้อถดถอย ตัวอย่างเช่นช่วงต้นปี 2014 ที่ผ่านมา หุ้นค้าปลีกส่วนมากมีผลประกอบที่ต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ อย่างไรก็ตามความแน่นอนของการคาดการณ์งบการเงินของหุ้นค้าปลีกจะมีความแน่นอนกว่ามาก แต่ถ้ามองในมุมของการประเมินมูลค่า PE ที่สูงของหุ้นพวกนี้ (เทียบกับหุ้นค้าปลีกในต่างประเทศ) ก็อาจจะเป็นความเสี่ยงที่ทำให้ราคาหุ้นปรับตัวได้อย่างมีนัยสำคัญ

เชื่อผู้บริหารมากเกินไป

นักลงทุนหลายๆคนไม่ได้ติดตามว่าสิ่งที่ผู้บริหารเคยพูดในอดีต ทำให้ “ตีความ” ข้อมูลที่ผู้บริหารให้สูงหรือต่ำเกินจริง ผู้บริหารบางท่านเป็นนัก “ขายฝัน” มีโปรเจคเยอะ บอกว่าจะขยายให้ได้ 100 – 200 สาขา แต่พอทำจริงๆอาจจะไม่ถึง 10 สาขา นักลงทุนที่ไม่เคยติดตามผลงานก็ต้อง “ฝันสลาย” ไปตามๆกัน แต่ถ้าเราย้อนไปศึกษาข้อมูลในอดีตซักนิด ก็จะพบว่าผู้บริหารท่านนั้นมี Track Record ที่ไม่ค่อยดี พูดอะไรก็ทำไม่ค่อยได้ ในขณะที่บางพวกเป็นพวก “พูดน้อย ทำมาก” ถามว่าเป็นยังไง? จะโตแค่ไหน? อาจจะบอกแค่ 5-10% แต่พอทำจริงๆกลับได้เยอะกว่านั้น แบบนี้เราก็ต้องนำผลงานของท่านมาพิจารณาในการประเมินกำไร อย่างไรก็ตาม บางครั้งสิ่งที่ผู้บริหารพูดอาจจะไม่มีความสำคัญเท่ากับปัจจัยภาพนอก บางครั้งสภาวะอุตสาหกรรมดูดี มีปัจจัยเชิงบวกเป็นลมหนุน ไม่ว่าจะมาจากนโยบายรัฐ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค เหตุการณ์พิเศษ ที่อาจจะเอื้อต่อธุรกิจ เวลาผู้บริหารพูดอะไร ก็อาจจะดูน่าเชื่อถือ แต่ถ้าสภาวะการณ์พลิกผัน เป้าหมายของผู้บริหารก็อาจจะดู “เกินจริง” ขึ้นมาทันที ในฐานะนักลงทุน การหาแหล่งข้อมูลอื่นมาประกอบเพื่อ “ตรวจสอบความถูกต้อง” ของผู้บริหารถือว่าเป็นสิ่งจำเป็น บางครั้งการศึกษาและพูดคุยกับผู้บริหารของบริษัทคู่แข่ง บริษัทที่เป็นคู่ค้า หรือลูกค้า ก็จะช่วยให้เราสามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ผู้บริหารให้มาได้

ไม่ได้พิจารณาความน่าจะเป็นของงบที่อาจจะเกิดขึ้น


ในความเป็นจริงไม่มีใครสามารถคาดเดากำไรในอนาคตได้อย่างแม่นยำ 100% เรามองออกได้แค่เป็น “ช่วง” หรือ Range ของกำไรเท่านั้น สำหรับธุรกิจที่มีความไม่แน่นอนสูง (งบที่ดีที่สุดกับแย่ที่สุดมีความแตกต่างเกินกว่า 30%) ผมจะประเมินกำไรออกมาในหลายๆกรณี และจะดูว่าแต่ละกรณีมีความน่าจะเป็นอย่างไร นักลงทุนหลายท่านมองแต่กรณีปรกติ (Base Case) หรือ กรณีดีสุดๆ (Best Case) แต่ไม่ได้เพื่อโอกาสไว้สำหรับกรณีแย่สุดๆ (Worst Case) เลย ซึ่งหลายๆครั้งหมายถึงการประเมินมูลค่าที่ผิดพลาดและการขาดทุนแบบมหาศาลที่เกิดจากการไม่มี “ส่วนเผื่อความผิดพลาด” (Margin of Error) ที่มากพอ เปรียบเทียบก็เหมือนการทอยลูกเต๋าพิเศษที่มีตัวเลขทั้ง 6 ด้านคือ {1, 1, 5, 5, 5, 5} การที่มีเลข “5” ถึงสี่ด้านไม่ได้แปลว่าจะไม่มีโอกาสที่ทอยได้เลข 1 ซึ่งถ้าเลข 1 ต่ำพอที่จะทำให้หุ้นตกลงอย่างมหาศาลได้ เราก็ต้องควรพิจารณาความน่าจะเป็นในส่วนนั้นด้วย สุดท้ายแล้วการประเมินมูลค่าเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องแบบไม่มีวันจบ (Continuous Improvement) เป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยความขยันทุ่มเท ทำการบ้านเยอะๆ และเรียนรู้จากข้อผิดพลาดและมุมมองของนักลงทุนท่านอื่น อย่างไรก็ตามในสภาวะตลาดที่ “หุ้นตามกระแสนิยม” มาแรง ราคาตลาดอาจจะไม่ได้สะท้อนมูลค่าที่แท้จริง หุ้นที่ Hot และเป็นที่นิยมก็จะมีราคาสูงกว่ามูลค่าที่แท้จริงมาก ในขณะที่หุ้นบางกลุ่มก็จะไม่มีใครเหลียวแล และนั่นก็อาจจะเป็นโอกาสในการซื้อกิจการที่ดี แข็งแกร่ง มีการเติบโต ในราคาที่มีส่วนลด และสิ่งเหล่านั้นก็อาจจะเป็นรางวัลพิเศษให้กับนักลงทุนที่เฉลียวฉลาดและมีความอดทนมากพอ

ที่มา

  • [1] http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=7&t=55200
  • [2] http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=7&t=58059
  • [3] http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=1&t=58311

วันพุธที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

7 เคล็ดลับต้องรู้ก่อนเริ่มต้นธุรกิจ SMEs

การเป็นเจ้าของธุรกิจ SMEs ถือเป็นความใฝ่ฝันสำหรับหลายคน แต่จุดเริ่มต้นเป็นเรื่องที่ยากที่สุด เพราะทุกอย่างคุณต้องเริ่มต้นจากศูนย์ ต้องคิดและตัดสินใจทุกขั้นตอนของกระบวนการทำงาน และธุรกิจ 90% มักจะปิดตัวไปตั้งแต่ปีแรก และที่เหลือรอดถึงห้าปีมีเพียง 1% เท่านั้น แสดงว่าถ้าคุณเป็นผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามาแข่งคู่แข่งคุณคือ กลุ่ม เสือ สิงค์ กระทิง แรด 1% ที่สามารถรอดมาในสนามธุรกิจได้เท่านั้น การที่คุณเข้าไปในสนามการค้าคุณจะเป็น”ผู้ล่า” หรือ “ผู้ถูกล่า” การวางแผนและเตรียมความพร้อมธุรกิจตั้งแต่ก่อนลงสนามเป็นเรื่องสำคัญ โดยในการวางแผนธุรกิจประเด็นสำคัญที่ต้องคิดดังนี้


1. สินค้าหรือบริการของเราแก้ไขปัญหาอะไรของลูกค้า

คนส่วนใหญ่ถ้าคิดจะเริ่มธุรกิจคำถามแรกคือจะขายอะไรดี ส่วนใหญ่คำตอบที่ได้ก็จะคล้ายๆ มองไปรอบๆตัวคนก็กันหมดแล้ว จากนั้นเราก็ล้มความคิดกันไป แต่ถ้าเราไปมองในมุมมององลูกค้าจะเห็นว่า การซื้อสินค้าหรือบริการของคนเราเพื่อที่จะตอบสนองความต้องการที่เกิดขึ้นหมุนเวียนเกิดขึ้นตลอดเวลา โดยทั้งวันคนเราจะทำอยู่สองอย่างคือ “วิ่งไล่หาความสุข” และ “วิ่งหนีความทุกข์”  สินค้าและบริการทั้งหมดก็เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาของลูกค้านี่เอง ดังนั้นการคิดว่าจะขายอะไรดีจึงเริ่มจากคำถามง่ายๆ ว่า

  1. สินค้าเราแก้ปัญหาอะไรให้ลูกค้า
  2. มีตลาดที่ใหญ่เพียงพอให้เป็นธุรกิจได้หรือไม่

ถ้าสินค้าเราแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้ และมีตลาดรองรับที่มากพอ ก็สามารถทำเป็นธุรกิจได้ไม่ยาก ตัวอย่างธุรกิจเช่น

  • หิว  ->  ร้านอาหาร
  • หิว แต่ไม่มีเวลา  ->  fast food, ข้าวกล่อง 7-11
  • ร้อน -> พัดลม แอร์ น้ำแข็ง เครื่องดื่มเย็นๆ
  • ง่วง แต่ไม่อยากนอน -> กาแฟกระป๋อง
  • น้ำมันแพง  -> ECO car, อุปกรณ์ประหยังพลังงาน
  • บริษัทไม่มีพนักงาน  -> ธุรกิจรับจัดหาแรงงาน

2. ธุรกิจเรามีจุดขายอะไรที่ไม่เหมือนชาวบ้าน

ธุรกิจเดี๋ยวนี้การแข่งขันสูง ยิ่ง SMEsที่ไม่มีจุดขายที่ชัดเจนโอกาสรอดยาก ดังนั้นธุรกิจเราต้องตอบให้ได้ว่าสินค้าของเรามีจุดขายอะไรที่ไม่เหมือนชาวบ้านและลูกค้าต้องการ (Unique Selling Proposition :USP) จุดขายของเราก็คือคำสัญญาที่เราให้กับลูกค้าว่า มาซื้อสินค้าและบริการจากเราแล้วจะได้อะไรตัวอย่างจุดขายเช่น

  • ทุกอย่าง 20 บาท
  • ส่งถึงบ้านใน 30 นาที
  • หลับสบายแม้วันมามาก
  • ทะเลกรุงเทพ
  • สวยด้วยแพทย์
  • ลบริ้วรอยใน 7 วัน

  ส่วนใหญ่ของ USP จะประสบความสำเร็จและธุรกิจอยู่รอดได้ คือ ต้องเป็นสัญญาที่สามารถปฏิบัติได้ และระบุเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งแล้ว น่าสนใจมากน้อยแค่ไหน? และมันจะ สร้างต้นทุนค่าใช้จ่ายให้กับบริษัทมากน้อยแค่ไหน?  ความยุ่งยากในการปฏิบัติเป็นอย่างไร? ปริมาณกลุ่มลูกค้าที่ต้องการสัญญานี้เทียบกับสัดส่วนของลูกค้าทั้งหมดในกลุ่มเป็นอย่างไร?

3. สภาพการแข่งขันเป็นอย่างไร

ในการกำหนดกลยุทธ์ธุรกิจ เราต้องรู้ว่า อุตสาหกรรมที่เรากำลังเข้าไปฟาดฟัน อยู่ช่วงไหนของการเติบโต โดยปกติจะมี 5 ขั้นคือ ช่วงเริ่มต้น ช่วงเติบโต ช่วงอิ่มตัว ช่วงถดถอย และช่วงตกต่ำดังภาพ


โดยในแต่ละช่วงของการเติบโต ปัจจัยที่กระทบกับการแข่งขันทั้ง 5 หรือ five force model มีการเปลี่ยนแปลงดังนี้
ภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง five force model และช่วงการเติบโต
ที่มา : สรรพงศ์ ลิมป์ธำรงกุล, "แกะงบการเงินสไตล์ VI", สํานักพิมพ์ think good, 2557

4. จะทำการขายและการตลาดอย่างไร

ในปัจจุบันสภาพการแข่งขันที่สูง การขายสินค้าเราต้องแบ่งกลุ่มชัดเจนว่าจะเจาะกลุ่มไหน สำหรับ SMEs การเจาะตลาด Mass เป็นเรื่องลำบากเพราะคู่แข่งจะเป็นบริษัทใหญ่ๆที่ดำเนินงานมานาน เงินทุนหนา ซึ่งเราสามารถเลือกเจาะกลุ่มเฉพาะที่มีปริมาณ และกำลังซื้อได้ หลายๆธุรกิจที่เจาะตลาดเฉพาะกลุ่มก็ยังอยู่ได้อย่างรถก้างที่วิ่งในรางเคยฮิตมากๆเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้วนึกว่าไม่มีคนเล่น แต่ปัจจุบันก็ยังมีกลุ่มคนที่ยังรักและเล่นอยู่และเป็นตลาดที่ใหญ่ซะด้วย

ซึ่งธุรกิจแต่ละขั้นกลยุทธิการตลาดก็จะใช้แตกต่างกัน
ภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง กลยุทธการตลาด ผลประกอบการ ในแต่ละช่วงการเติบโต
ที่มา : สรรพงศ์ ลิมป์ธำรงกุล, "แกะงบการเงินสไตล์ VI", สํานักพิมพ์ think good, 2557

***เทคนิคการเขียนโฆษณาให้ลูกค้ายอมจ่ายเงิน***
หลายคนวางแผนมาดีแต่ไปตกม้าตายตอนนำเสนอขายลูกค้า ข้อผิดพลาดส่วนใหญ่จะชอบเขียนว่าสินค้าเรามีคุณสมบัติอะไรบ้าง แต่จริงๆแล้วในการเขียนโฆษณาที่ดีควรนำเสนอประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้ว่าซื้อไปแล้วได้อะไร แล้วมีประโยคปิดการขายเท่ๆ เช่นซื้อวันนี้ลด 90% พรุ่งนี้ราคาเต็ม ลูกค้าเราจะตัดสินใจง่ายขึ้น



5. รูปแบบธุรกิจเป็นอย่างไร

ตอนนี้ทุกบริษัทเริ่มใกล้เป็นรูปเป็นร่างแล้ว ต้องขวดความคิดออกมาเป็นโมเดลธุรกิจที่ประกอบด้วยคำถาม 4 ข้อที่สำคัญที่สุดในการทำธุรกิจ คือ  ทำ(สินค้า)อะไร?  ทำอย่างไร?  ทำ(ขาย)ให้ใคร? และ  คุ้มค่าหรือไม่? Business Model Canvas เป็นเครื่องมือที่ลงรายละเอียดในแต่ละส่วนต่างๆ โดยจะแยกย่อยหัวข้อลงไปอีกเป็น 9 ส่วน ทำให้เราสามารถออกแบบและวางแผนธุรกิจได้ง่ายขึ้น

  • ทำ(สินค้า)อะไร?
    • คุณค่าที่นำเสนอ: Value Propositions
  • ทำ(ขาย)ให้ใคร?
    • กลุ่มลูกค้า Customer Segment
    • ช่องทางการเข้าถึง Channels
    • สายสัมพันธ์ลูกค้า Customer Relationship
  • ทำอย่างไร?
    • ทรัพยากรของบริษัทเราคืออะไร? Key Resource
    • งานหลักที่ทำคืออะไร? Key Activities
    • ใครคือคู่ค้าของเรา? Key Partners
  • คุ้มค่าหรือไม่?
    • วิธีการหารายได้ของเราเป็นอย่างไร? Revenue Streams
    • ค่าใช้จ่ายหลักของธุรกิจคืออะไร? Cost Structure

6. จะหาเงินทุนจากไหน

เมื่อแผนธุรกิจเราชัดเจน ใจจะสั่งมาว่าต้องทำ ความรู้สึกของการเป็นคนรวยจะเกิด การดิ้นรนหาเงินมาทำจะเกิดขึ้น โดยเงินลงทุนหลักๆจะประกอบด้วยสองส่วนคือเงินที่ใช้ลงทุนในสินทรัพย์ถาวร เช่นที่ดินอาคารและอุปกรณ์ต้องมีอะไรบ้าง และเงินทุนที่ใช้หมุนเวียน ที่ประกอบด้วยเงินที่ไปจมกับลูกหนี้การค้าถ้าเราขายเครดิต เงินที่จมไปกับสินค้าคงเหลือ และเงินที่ต้องเตรียมไว้จ่ายเจ้าหนี้การค้า
โดยแหล่งที่มาของเงินส่วนใหญ่จะมาจาก 2 ส่วนคือหนี้สิน กับส่วนของเจ้าของแต่ส่วนใหญ่ธุรกิจที่เพิ่งเปิดจะไม่ค่อยมีใครให้กู้ก็ต้องให้แหล่งที่มาของเงินจากส่วนของเจ้าของเป็นหลัก แรกๆอาจเงินขลุกขลักหน่อยแต่ให้พยายามเดินบัญชีให้ผ่านธนาคารไว้ 6 เดือนก็ไปขอวงเงินสินเชื่อได้ ธ.กรุงศรี( www.krungsri.com) ก็มีฝ่ายสินเชื่ออยู่

7. ถ้าเจ้งจะทำอย่างไร

ไม่ว่าแผนธุรกิจของเราจะดูดีเพียงไร เวลาทำจริงมักจะไม่ค่อยเป็นไปอย่างที่คิด ดังนั้นเราต้องคิดเผื่อกรณีเลวร้ายที่สุดเอาไว้ว่าถ้าขายไม่ได้เลย รายจ่ายประจำที่ต้องจ่ายมีเท่าไร จะหาเงินจากไหนมาจ่าย แล้วจะสู้ทนได้กี่เดือนถึงยอมแพ้และถ้าจะเลิกธุรกิจไปเลยจะทำอย่างไร จะกลับไปทำงานประจำได้หรือไม่


ตอบได้ 7 ข้อตามนี้แผนธุรกิจท่านจะชัดเจน เริ่มต้นไม่มั่วจะไปพูดระดมทุนจากเพื่อนก็เอออนห่อหมกให้เงินทุนมาทำ เหลือแค่ทำตามฝันและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่ไม่คาดคิดให้ได้ สู้ต่อไปทาเคชิ

วันอังคารที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557

หน้าที่ CEO ต้องทำอะไรบ้าง

เป็นนักลงทุน หัวใจหนึงคือดูผู้บริหาร บริษัทไหนผู้บริหารเก่งๆก็ไปไกล มาดูหน้าที่ CEO ต้องทำอะไรบ้างว่าวุ่นวายและมีเรื่องให้ติดสินใจเยอะขนาดไหน
1. ผู้ถือหุ้นจ้างมาบริหารงาน = วางแผน ควบคุม ติดตาม xxxx ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อตอบสนองความต้องการของ yyyyy
2. เป้าหมายของธุรกิจคือสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยวุ่นวายกับคน 4 คน ลูกค้า ลูกจ้าง ผู้จัดส่งวัตถุดิบ และผู้ถือหุ้นแต่ละคนก็มีความต้องการต่างกัน
2.1 ลูกค้าต้องการซื้อสินค้าเพราะต้องการสินค้ามาตอบสนองความต้องการ CEO ต้องใช้หลัก 7R
ได้ผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าต้องการ (Right product & Right customer)
ตามปริมาณที่ลูกค้าสั่งซื้อ (Right quantity)
ถือเอาคุณภาพที่ตกลง (Right condition)
ส่งตามที่นัดหมาย (Right place)
ได้ตามเวลาที่กำหนด (Right time)
อยู่ในปริบทที่คุ้มต้นทุน (Right cost)
2.2 ลูกจ้างต้องการ งานดี มั่นคง รายได้พอกิน สภาพแวดล้อมดี ฯลฯ CEO ต้องใช้พระเดชพระคุณจัดการ
2.3 ผู้จัดส่งวัตถุดิบ ส่งของบ้างไม่ส่งบ้าง ส่งช้าก็มี บางทีของไม่ครบ เสป๊กไม่ได้ ฯลฯ
2.4 ผู้ถือหุ้น ต้องการกำไรเติบโตสม่ำเสมอ ปันผลทุกปี
3 เพื่อให้บรรลุเป้าหมายธุรกิจผู้บริหารต้องดู 3 เรื่อง จัดการดีมูลค่าจะเพิ่ม
3.1 การทำกำไร (make profit)
3.2 การสร้างเงินสด (generate cash flow) หมุนเงินให้ทัน สินทรัพย์ต้องสร้างรายได้
3.3 สามารถอยู่รอดได้ (SolvencyStay Solvency) ในที่นี้คือต้องมีระดับหนี้สินต่อทุนที่เหมาะสม และ มีความสามารถในการจ่ายภาระหนี้ได้
4.เป็นผู้กำหนดทิศทางของบริษัทว่าจะไปทางไหน กำหนดกลยุทธ์องค์กร
สรุปเป็นลูกจ้างสบายสุด 5555

วันพุธที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บริษัทที่แจก warrant ฟรี ดีจริงหรือ

มีมีิตรสหายท่านหนึ่งส่งคำถามมาดังนี้

เมื่อวานอ่านหนังสือเรี่อง การเพิ่มทุน รวมถึงการแจกวอเแรนต์ ฟรี พวก ฟรีวอแรต์ ที่ให้เราฟรีในกระดานวอแรนต์ ที่มุลค่า 0 มีสองคำถามครับ

1.กระดานหุ้นแม่ เวลา dilute มันคิดยังไงครับ  เพื่อไจะได้รู้่ว่า dilute ไปเทาไหร่
2. พอวันราคาเปิดในกระดาาน warant  วันจะราคาเทาไหร่ แล้วคนที่เข้ามาซื้อเอาหุ้นเพื่อเอา waarant ฟรี นี้  กะขายวันราคาเปิดของกระดาน warant เลยหรือครับ
รบกวนด้วยครับ

ตอบ

1. การมี warrant จะทำให้เกิด dilution effect จากตัวอย่าง earth แจกหุ้น warrant ในอัตราส่วน 2.1 หุ้นเดิม ต่อ 1 หุ้นใหม่ ที่ราคาใช้สิทธ์ 7 บาท ราคาแม่อยู่ 5.95 ดังนั้น dilution effect จะเท่ากับ

  • 1.1Control Dilution = จำนวนหุ้นใหม่ / (จำนวนหุ้นเดิม + จำนวนหุ้นใหม่) = 1/(2.1+1) =32% วันหมดอายุ 15/09/2562 แสดงว่าหมดอายุหลังจากวันออกอีก 5 ปี แสดงว่า ใน 5 ปีจากนี้บริษัทต้องทำการเติบโตเฉลี่ยคร่าวๆปีละ 32/5=6.4% ถ้าทำไม่ได้แสดงว่าอีก 5 ปีถ้า warrant มีการใช้สิทธ์ EPS จะลดลง หุ้นก็จะตก
  • 1.2 price Dilution ไม่มีเพราะราคาใช้สิทธ์แพงกว่าราคาแม่


2. เปิดมาราคา warrant ควรเป็นเท่าไร ปกติ

  • ราคาแม่  = ราคาใช้สิทธ์ + ราคาwarrant

ดังน้นถ้าบริษัทแจกหุ้นwarrant ให้มาฟรีๆ ราคาที่เทรดวันแรกก็ควรเท่ากับ
ราคาwarrant =  ราคาแม่ - ราคาใช้สิทธ์ + มูลค่าจากเวลา(time value)

มูลค่าจากเวลา(time value) ที่มาบวกเข้าไปเพราะกว่าจะใช้สิทธ์แปลงเป็นหุ้นแม่ก็หลายปีเราถือไว้ถ้าแม่ขึ้นเราอาจได้ capital gain ได้ เยี่ยมจริง

แต่หุ้นหลายตัว ราคาแม่ ณวันที่ออกยังน้อยกว่าราคาใช้สิทธ์ อย่าง earth-w4 ราคาใช้สิทธ์อยู่ที่ 7 บาท ในที่ประชุม ก็ไม่สามารถคำนวณได้เพราะราคาแม่ยังอยู่แค่ 5.95 บาทเอง ที่ปรึกษาการเงินบอกว่าแล้วแต่ตลาดจะให้ละกัน

 กรณีศึกษาวันที่หุ้นลูกเข้า
ลองคำนวณผลตอบแทนภายใต้สมมติฐานว่าซื้อก่อน XW 1 วันเพื่อรับสิทธ์แล้วขายเลยที่ราคาปิดอีกวัน รอรับ warrant ลุ้นว่าจะได้ราคามาเท่าไร
หุ้น Earth-w4 XW วันที่ 2 กค ราคาปิดก่อน XW อยู่ที่ 5.95 ราคาปิดวันที่ 2 อยู่ที่ 5.5 แปลว่าจะขาดทุนไปหุ้นละ 0.45 บาท
ถือทนไปซักพัก
Earth-w4 เข้าเทรดวันที่ 15/08/2557, ราคาปิดหุ้น warrant วันแรกอยู่ที่ 0.98
ก็ยังได้กำไรกินหนมนิดหน่อย เนาะ 0.98 - 0.45 = 0.53

สรุปทนๆไปได้กำไรเท่ากับ 0.53/5.95 =8.9% ยินดีด้วยคร้าบ ส่วนคนที่คิดจะถือยาวๆ ต้องลุ้นว่าบริษัทจะทำกำไรโตปีละ 6.4% ได้หรือเปล่า





วันพฤหัสบดีที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2557

การใช้ PBV ในการประเมินมูลค่าหุ้น

PBV = จ่ายเงินซื้อที่ p ได้ BV กลับบ้าน
ฺBV = book value = สินทรัพย์ - หนี้สิน = เอาสินทรัพย์ทั้งหมดไปขายแล้วหักหนี้ได้เงินกลับบ้าน
ใช้ PBV กับโรงงาน แปลว่าคุณคิดจะซื้อบริษัทเอาโรงาน ลูกหนี้ สต็อกสินค้า ไปขายหักหนี้ได้เงินกลับบ้าน
ใช้ PBV กับธนาคาร แปลว่าคุณคิดจะซื้อบริษัท ไปนั่งทวงลูกหนี้ทุกราย ได้เงินมาจ่ายคืนผู้ฝากเงิน เหลือเท่าไรก็เอาเงินกลับบ้าน
ถ้าตัดสินใจด้วย PBV แสดงว่าคุณกำลังเล่นกับสินทรัพย์ของบริษัทว่าเงินที่จ่ายไปคุ้มหรือไม่
PBV โดยส่วนตัวผมไม่ชอบใช้เพราะผมไม่ต้องการเอาซากโรงงานมานอนกอดที่บ้าน แต่ต้องการกระแสเงินสดที่บริษัทผลิตได้มากกว่า เช่นเงินปันผล

ปัจจัยที่กำหนด PBV 

ต่อให้ชีวิตวุ่นวายอีกนิด เมื่อกี้บอกว่าเราต้องการกระแสเงินสดที่บริษัทผลิตได้ก็คือเงินปันผล
จาก DDM เรารู้ว่า P = D/k-g (1)
ให้

  • D = กำไร x อัตราการจ่ายเงินปันผล 
  • = E x b (2)

แทนค่า (2) ใน (1)

  • P = (E x b)/k-g

หารด้วย BV ทั้งสองข้างเพื่อหา PBV

  • PBV = ((E x b)/k-g)/BV
  • =((E/BV)xb)/k-g
  • =(ROExb)/k-g

จากสมการหุ้นจะเทรดที่ PBV สูงขึ้นถ้า

  • ROE สูงขึ้น ถ้าใช้ Dupon system
    • ROE = profit margin x asset turnover x financial leverage
    • แสดงว่า ROE จะสููงขึ้น ถ้า การทำกำไรดีขึ้น สินทรัพย์หมุนได้ดีขึ้น และกู้มาเยอะๆ
  • อัตราการจ่ายเงินปันผล (b) สูงขึ้น จุดนี้ต้องพิจารณาจากกระแสเงินสดจากการดำเนินงานว่ามีหรือไม่ ธุรกิจอยู่จุดไหนของการเติบโต โตมากอาจจ่ายปันผลน้อยหน่อย การลงทุนทุนสินทรัพย์ถาวร
  • ผลตอบแทนที่คาดหวัง (k) ลดลง อย่าไปโลภมากหวังอะไรเยอะ 55555
  • การเติบโต (g) ธุรกิจยิ่งโตคนยิ่งยอมซื้อในราคาที่แพงขึ้น

หุ้นตัวนี้ควรเทรดที่ PBV กี่เท่าดี

จากบทความของ อ.สรรพงษ์ [1] "การหา-pe-ที่เหมาะสมทางทฤษฎีเพื่อกำหนดกรอบราคาในการลงทุน" เรารู้ว่า
  • PE = b/(k-g)
  • = b/(risk free + beta)
แทนค่าเข้าไปจะได้
  • PBV = ROE x (b / (risk free + beta))
    • ROE ใช้ค่าเฉลี่ยยาวๆๆๆๆๆ 
    • b = เงินปันผล / กำไร : เงินปันผลจ่ายหาจากงบกระแสเงินสดส่วนใหญ่จะซุกไว้ในงบกระแสเงินสดจากการจัดหาเงิน ส่วนกำไรก็ใช้กำไรสุทธิของปีที่แล้ว ที่ต้องเหลื่อมไป 1 ปีก็เพราะ กว่าจะปิดงบ ปีและประชุมผู้ถือหุ้นจ่ายปันผลได้ ก็ล่วงเวลาไปอีกปีละ 
    • risk free ใช้พันธบัตร 1 ปี ก็ราวๆ 2.5%
    • ค่าเบต้า ผมใช้กราฟของ efinanc thai ก็มี หรือเร็วๆก็เว็ปหุ้นปันผลก็มีข้อมูล
ถ้าราคาปัจจุบัน PBV สูงกว่าที่คำนวณก็แพงไปหน่อย

[1]https://www.facebook.com/notes/sanpong-limthamrongkul/การหา-pe-ที่เหมาะสมทางทฤษฎีเพื่อกำหนดกรอบราคาในการลงทุน/10202892649375690 

วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2557

งบกระแสเงินสดบอกอะไร

ภาพแสดงงบกระแสเงินสด
กระแสเงินสดในกิจการแบ่งเป็นสามกิจกรรมที่ต้องตัดสินใจ
1กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน CFO
  • บอก รายได้ รายจ่าย และการเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์หมุนเวียน รายการหลักคือลูกหนี้ สินค้าคงเหลือ และเจ้าหนี้การค้า
  • ทำให้ทราบว่ากิจการมีรายการปรับปรุงทางบัญชีอะไรบ้าง 
    • รายจ่ายที่ไม่ใช่เงินสดจะถูกนำมาบวกกลับ ส่วนใหญ่เกิดจากการปรับปรุงมูลค่าของสินทรัพย์ให้ลดลง หรือหนี้สินสูงขึ้น เช่นหนี้สงสัยจะสูญ ค่าเผื่อสินค้าเสื่อมคูณภาพ ปรับลดมูลค่าสินค้าคงเหลือ ขาดทุนจากการด้อยค่าสินทรัพย์ ขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงของเงินลงทุน สำรองหนี้สินคดีความ สำรองหนี้สิน สำรองผลประโยชน์พนักงาน
    • รายได้ที่ไม่ใช่เงินสดจะถูกนำมาหักออกไป ส่วนใหญ่เกิดจากการปรับปรุงมูลค่าของสินทรัพย์ให้เพิ่มขึ้น หรือหนี้สินสูงลดลง ส่วนใหญ่ก็เป็นการกลับรายการของข้อเมื้อกี้แหละจำง่ายๆ
  • แสดงให้เห็นการจัดประเภทรายการให้อยู่ถูกที่ถูกทางเข่น ปันผลรับ ดอกเบี้ยรับก็หักออกจาก CFO ไปอยู่ CFI กำไรจากการจำหน่ายสินทรัพย์ ก็หักออกจาก CFO ไปแสดงยอดเงินสดรับทั้งหมด (มูลค่าบัญชี + กำไร) ใน CFI 
  • ใครมีพวก one time gain/lose อะไรเราเห็นหมด
  • การเปลี่ยนแปลงใน สินทรัพย์หมุนเวียน และหนี้หมุนเวียน (สินทรัพย์เพิ่มเงินลด หนี้เพิ่มเงินเพิ่ม) ให้ดู ระยะเวลาเก็บหนี้ ระยะเวลาขายสินค้า ระยะเวลาชำระเจ้าหนี้และวงจรเงินสดประกอบว่าเงินที่หมุนๆอยู่ปกติหรือไม่
2. กระแสเงินสดจากการลงทุน

  • เป็นการเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (สินทรัพย์เพิ่มเงินลด )
  • รายการส่วนใหญ่ควรเป็นเงินลงทุนในที่ดินอาคารอุปกรณ์ แสดงว่าเอาเงินไปขยายกิจการตัวเอง
  • ถ้าเป็นเงินลงทุนในบริษัทย่อย ร่วม ก็ต้องไปดูว่าบริษัทที่ซื้อมาดีจริงหรือไม่
  • กระแสเงินสดจากการลงทุนส่วนใหญ่ไปทำอะไรที่ไม่เกี่ยวกับธุรกิจหลักถือว่าอาการน่าเป็นห่วง
  • ให้ดู ROA อัตราหมุนเวียนสินทรัพย์ประกอบ ว่าที่ลงทุนไปใช้งานคุ้มไหม
3. กระแสเงินสดจากการจัดหาเงิน
  • เป็นการเปลี่ยนแปลงในหนี้ และส่วนของผู้ถือหุ้น (หนี้ ทุน เพิ่มเงินเพิ่ม)
  • ถ้าเงินสดจากการดำเนินงานติดลบไม่ดี กิจการต้องหมุนเงินหัวปั่น
  • ดู DE ratio ROE ประกอบการวิเคาะห์

อัตราส่วที่เกี่ยวข้องกับกระแสเงินสด
  • คุณภาพกำไร = CFO หลังหักดอกเบี้ย / กำไรสุทธิ : กำไรทางบัญชีควรเป็นเงินสดด้วยจะดีมาก
  • Modified Interest Coverage ratio (MICR, ความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย) = CFO ก่อนหักดอกเบี้ย / ดอกเบี้ยจ่าย : ถ้าเยอะๆแสดงว่าบริษัทมีกระแสเงินสดมาจ่ายดอกเบี้ยได้ บังคับกลายๆว่า CFO ต้องเป็นบวกถึงมีเงินมาจ่ายดอกเบี้ยได้
  • Modified Payback Period = หนี้ที่มีดอกเบี้ย / CFO หลังดอกเบี้ย : หนี้ที่มีใช้เวลากี่ปีจ่ายหมด 
  • Modified Current Ratio = CFO / หนี้หมุนเวียน ค่าประมาณ 0.4 ดี มองว่ามีเงินสดมาจ่ายหนี้หมุนเวียนหรือไม่ ถ้ามีสภาพคล่องสดใส่
  • Reinvestment ratio = เงินลงทุนในที่ดินอาคารอุปกรณ์(CFI) / ค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่าย (CFO) : ถ้าค่ามากๆ จะบอกว่าบริษัทลงทุนเยอะอนาคตจะโตได้ แต่ต้องดู ROA ROE ประกอบอย่าให้ค่าตก ไม่งั้นจะโตไม่แกร่ง

ศึกษาเรืองอัตราส่วนของงบกระแสเงินสดเพิ่มเติมได้ที่ facebook อ.สรรพงษ์ 
https://www.facebook.com/notes/sanpong-limthamrongkul/อัตราส่วนทางการเงินสำหรับการวิเคราะห์งบกระแสเงินสด/10202590070651411 

วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ศึกชิงเจ้า VI SIRI ปะทะ PF และ AQ

ศึกชิงเจ้า VI SIRI ปะทะ PF และ AQ ใครจะอยู่ใครจะไปมาดูกัน

ยกแรก สู้กันด้วยความสามารถในการทำกำไร

เปรียบเทียบการทำกำไร
อัตรากำไรขั้นต้นของ siri และ pf พอๆกันที่ 33% และ 32% แต่อัตรากำไรข้นต้องของ aq ต่ำสุดที่ 27.7% ในแง่กำไรสุทธิ siri อัตรากำไรยังเหนือกว่า pf ที่6.66% และ0.37% ส่วน aq ผมตัดแพ้ฟลาวเพราะกำไรที่เห็นมาจากกำไรพิเศษที่ไม่ค่อยเกี่ยวกับการดำเนินงานดังภาพ

กำไรพิเศษของ AQ ในปี 2556

แต่เมื่อพิจารณาคุณภาพกำไร(CFOหลังหักดอกเบี้ย/กำไรสุทธิ) ที่บอกว่ากำไรที่ทำได้มาเป็นเงินสดได้หรือไม่พบว่า siri ตกรอบเพราะว่ากำไรไม่สามารถเป็นเงินสด เงินสดสุทธิจากการดำเนินงานติดลบ11,069.76ล้านได้กำไรมาก็เอาเงินไปจมกับต้นทุนโครงการหมดอัตราส่วนคุณภาพกำไรติดลบ 5.14เท่า pf ก็ตกรอบเพราะกำไรไม่เป็นเงินสดเช่นกัน เงินสดสุทธิจากการดำเนินงานติดลบไป1032.15ล้านบาทอัตราส่วนคุณภาพกำไรติดลบ 24.92 เท่า aqผ่านเพราะเงินสดจากการดำเนินงานเป็นบวกเนื่องจากพึ่งปรับโครงสร้างหนี้เสร็จขอหายใจหน่อยงานยังไม่ได้เริ่มทำ55

ดังนั้นจะเห็นว่าบริษัทอสังหาจะอ่อนไหวต่อสภาพเศรษฐกิจมากเพราะทำธุรกิจมีกำไรแต่ไม่ค่อยเห็นเงิน ถ้าเศรษฐกิจเริ่มชลอกลุ่มนี้จะไปก่อนเพื่อน

ยกที่สอง ใครขายของเก่งกว่ากัน


วงจรเงินสด
ระยะเวลาเก็บหนี้ = ลูกหนี้การค้า-เงินรับล่วงหน้าเฉลี่ย / ยอดขาย *360
ระยะเวลาขายสินค้า = ต้นทุนพัฒนาโครงการ/ต้นทุนขาย *360
ระยะเวลาชำระเจ้าหนี้การค้า = เจ้าหนี้การค้า-จ่ายล่วงหน้า/ต้นทุนขาย/360
วงจรเงินสด = ระยะเวลาเก็บหนี้ + ระยะเวลาขายสินค้า - ระยะเวลาชำระเจ้าหนี้

จะเห็นว่าวงจรเงินสดของ PF สั้นสุดที่ 1.93 ปี รองลงมาคือ SIRI ที่ 2 ปี และยาวที่สุดคือ AQ วงจรเงินสดยาวถึง 3 ปี บริษัทที่ใช้เวลาสร้างโครงการยาวๆกว่าจะโอนเงินก็จะจมชีวิตเริ่มรันทด


ยกสุดท้าน สู้กันด้วยหนี้สิน
เนื่องจากอสังหาเป็นธุรกิจที่วงจรเงินสดยาว กว่าจะสร้างโครงการแล้วได้เงินมาก็ใช้เวลาหลายปี ดังนั้นถ้าใครหนี้สินเยอะๆ แล้วจัดการไม่ทันชีวิตจะรันทน ไม่นานก็ต้องเรียกเพิ่มทุน ปันผลก็ไม่ได้แถมยังต้องควักเงินเพิ่มทุนให้อีก

จะเห็นว่าเนื่องจากอายุโครงการยาวเกินหนึ่งปีดังนั้นโครงสร้างหนี้สินควรเป็นหนี้ระยะยาวมากกว่าหนี้ระยะสั้น เมื่อดูอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นจะพบว่า PF มีอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นสูงถึง 2.07 เท่า รองลงมาเป็น SIRI ที่ 1.89 เท่า และท้ายสุดเป็น AQ ที่ 0.06 เท่าหนี้ต่ำที่สุดเพราะพึ่งปรับโครงสร้างหนี้มา

ส่วนความสามารถในการชำระหนี้เนื่องจากทั้ง SIRI และ PF ดูไม่มีความสามารถในการชำระหนี้โดยมีอัตา modified interest coverage ratio ติดลบทั้งคู่คือ -6.48 และ -0.04 ตามลำดับแสดงว่าบริษัทมีไม่มีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานก่อนหักดอกเบี้ยที่เพียงพอกับการจ่ายดอกเบี้ยจะรอดไหมเนี้ย แต่ดู PF มีภาษีกว่าเพราะอัตราสว่นติดลบน้อยกว่า และปี 2555 ยังเป็นบวก ส่วน AQ รอดตัวเพราะพึ่งปรับโครงสร้างหนี้มา

สรุป
ทั้งสามตัวงบไม่สวยเท่าไรแต่ถ้า SIRI และ PF สามารถปรับโครงสร้างหนี้ลดหนี้ลงได้ และเพิ่มความสามารถในการทำกำไรให้อัตรากำไรสุงขึ้น และบริษัทเงินสดให้กระแสเงินสดจากการดำเนินงานเป็นบวกได้ชีวิตน่าจะดีขึ้นครับผม ส่วน AQ ดิ้นปรับโครงสร้างหนี้มาตั้งแต่ปี 2540 ปัญหาพึ่งจบสู้ต่อไปนะไอ้มดแดง
สรุปอัตราส่วน

วันพุธที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2557

แนวคิดเบื้องหลังสูตรแสกนหุ้นด้วย technical

สูตรแสกนหุ้นด้วย technical มีเยอะครับ แต่หลายท่านอาจยังไม่ทราบแนวคิดเบื้องหลังที่เป็นที่มาของสูตรต่างๆ ก้มหน้าก้มตาใช้กันไป การเข้าใจที่มาของ indicator (ตัวชี้วัด)ต่างๆ ทำให้เราสามารถใช้ ตัวชีวัดให้เป็นตัวชีวัดจริงๆ และสามารถประยุกต์ให้เข้ากับวัตุประสงค์ของเราได้ด้วย เชิญอ่านโดยพลัน

ใครเคยตั้งคำถาม? สูตรเหล่านี้มีที่มาอย่างไร?

1.หุ้นราคาเบรค200วัน คือ
2.หุ้นโวลุ่มเบรค200วัน คือ
3.สูตรบัวพ้นน้ำ คือ
4.สูตรยกไฮยกโลว์ คือ
5.สูตรตั้งลำ คือ
6.สูตรดั้งเดิม คือ

1.หุ้นราคาเบรค200วัน คือ 


คำตอบคือ...หุ้นเบรค 200 วัน แบ่งเป็น 1.ราคาเบรค 2.โวลุ่มเบรค

หุ้นราคาเบรค 200 วัน:
หมายถึง หุ้นที่มีราคาขึ้นไปสูงสุดในรอบ 200 วันทำการ (ประมาณ 1 ปี) คนที่ติดหุ้นตัวนี้มานานเป็นปี ถ้าไม่ได้เป็นนักลงทุนแบบ VI หรือไม่ได้คัททิ้งไปก่อนหน้านี้ ก็จะทำการขายแล้ว วันนี้เป็นวันที่ทุกคนกำไรหมด ได้ลงจากดอยกันซะที

คนทั่วไปเข้าใจว่า ควรขาย แต่บางคนกลับ อยากซื้อ นี่เป็นความคิดที่ทำให้ คนทั่วไป ต่างจาก เซียนหุ้น หุ้นที่เบรค 200 วันได้ แสดงว่า หุ้นตัวนี้ต้องมีดีอะไรบางอย่าง ไม่งั้นทำไมรายใหญ่จึงยอมกวาดซื้อหุ้นทั้งหมดที่ราคาสูงขนาดนี้

วิธีหาหุ้นราคาเบรค 200 วัน ก็คือ เปรียบเทียบราคาย้อนหลังไป 200 วันทำการ ถ้าพบว่าวันปัจจุบันมีราคาสูงสุด หุ้นตัวนั้นก็คือ หุ้นราคาเบรค 200 วัน

2.หุ้นโวลุ่มเบรค 200 วัน:


หมายถึง หุ้นที่มีโวลุ่มสูงสุดในรอบ 200 วันทำการ (ประมาณ 1 ปี) ซึ่งโดยปกติแล้ว หุ้นจะเบรคราคา 200 วัน พร้อมๆ กับเบรคโวลุ่ม 200 วันไปด้วยกัน แต่ก็มีบางกรณีที่เบรคราคาไปก่อนแล้วค่อยเบรคโวลุ่มในวันถัดมา หรือเบรคโวลุ่มไปก่อนแล้วค่อยเบรคราคาในวันถัดมา สำหรับกรณีหลังเราต้องตรวจสอบว่า เกิดจากการซื้อขาย Big lot หรือไม่ ถ้าเป็นการซื้อขายปกติในตลาดก็จะน่าสนใจกว่า

โดยอาศัยทฎษฎีเทน้ำลงแก้ว สมมติเราเอาแก้วมา 1 ใบ แล้วเราเอาน้ำจำนวนหนึ่งเทลงไปในแก้ว ระดับน้ำก็จะสูงขึ้นมาในระดับหนึ่ง หากเราเทน้ำออก แล้วเทน้ำเข้ามาใหม่ ด้วยปริมาณน้ำที่เท่าเดิม เราก็เชื่อว่าระดับน้ำในแก้ว ก็คงจะสูงขึ้นเท่าครั้งก่อน

น้ำที่เท ก็คือ โวลุ่ม ส่วนระดับน้ำที่ขึ้น ก็คือ ราคานั่นเอง เราจะอาศัยสิ่งนี้ มาประเมินราคาหุ้นที่คาดว่าจะเกิดในอนาคตได้ นั่นคือ หุ้นที่เบรคโวลุ่มไปก่อน ก็น่าจะเบรคราคาตามมาในไม่ช้า

วิธีหาหุ้นโวลุ่มเบรค 200 วัน ก็คือ เปรียบเทียบโวลุ่มย้อนหลังไป 200 วันทำการ ถ้าพบว่าโวลุ่มปัจจุบันมีค่าสูงสุด หุ้นตัวนั้นก็คือ หุ้นโวลุ่มเบรค 200 วัน

หุ้นเบรค 200 วันแล้วกำลังพักตัว:
หลังจากหุ้นได้เบรคราคา 200 วันไปแล้ว มักจะมีการพักตัวเพื่อซับแรงขายที่ยังไม่หมด เช่น รายย่อยที่เพิ่งรู้ข่าวว่าหุ้นขึ้นก็จะรีบมาขายหุ้น หรือรายย่อยที่เล่นเอากำไรระยะสั้นก็จะรีบขายก่อนหุ้นตก เป็นต้น เมื่อรายย่อยขายหุ้นออกไป เจ้าท่านก็จะรับซื้อไว้ทั้งหมด การพักตัวอาจกินเวลาแค่ 1 วันหรือหลายวันก็เป็นได้ ราคาจะตกลงมาเยอะบ้างน้อยบ้างตามแต่เจ้าท่านจะสร้างสถานการณ์ให้เราตกใจกลัวแล้วเราก็ขายหุ้นออกไป

หุ้นจะพักตัวจนกระทั่งโวลุ่มแห้ง คือ แทบไม่มีการซื้อขาย หรือซื้อขายกันน้อยมากๆ (เมื่อเทียบกับวันที่หุ้นเบรค 200 วัน) เมื่อเจ้าท่านเห็นว่า รายย่อยได้ขายหุ้นในมือจนหมดเกลี้ยงแล้ว (หุ้นพักตัวเสร็จ) เจ้าท่านก็จะทำราคาหุ้นให้สูงขึ้นไปอีกและอาจจะสูงขึ้นเรื่อยๆ อีกหลายวัน จนกระทั่งรายย่อยทนไม่ไหวแห่กันเข้าไปซื้อหุ้นอีกครั้ง เจ้าท่านก็จะขายให้ด้วยความเต็มใจ รายย่อยก็ได้ติดดอยกันอีกครั้งนึง 5555

เงื่อนไขที่ใช้สแกนหาหุ้นเบรค 200 วันแล้วกำลังพักตัว:
-หุ้นที่เบรค 200 วันมาแล้วไม่เกิน 30 วันทำการ
-อยู่ระหว่างพักตัว โดยราคาปัจจุบันไม่ต่ำกว่าราคา low ของวันที่เกิด Float
-และวันที่เกิด Float เป็นวันเดียวกับที่เบรค 200 วัน หรืออยู่ห่างกันไม่เกิน 5 วันทำการ

3.สูตรบัวพ้นน้ำ คือ?


คำตอบ....หลักการสแกนหุ้นสูตรบัวพ้นน้ำ
พระพุทธเจ้าทรงเปรียบคนกับบัวไว้ 4 เหล่า ได้แก่
-บัวพ้นน้ำ คือ บัวที่ต้องแสงอาทิตย์ก็เบ่งบานทันที
-บัวปริ่มน้ำ คือ บัวที่จะเบ่งบานในวันต่อๆไป
-บัวในน้ำ คือ บัวที่จะจะค่อยๆ โผล่ขึ้นเบ่งบานได้ในวันหนึ่ง
-บัวใต้โคลนตม คือ บัวที่ไม่มีโอกาสโผล่ขึ้นพ้นน้ำเพื่อเบ่งบาน

ธรรมชาติของดอกบัว จะไม่บานในน้ำ แต่จะชูก้านดอกขึ้นเหนือน้ำก่อน แล้วรอคอยแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ เมื่อมันได้รับพลังงาน จึงจะบานและเปล่งแสงสีสวยงามให้ผู้พบเห็นได้ชื่นชม ถ้าเมื่อไหร่เราพบเห็นบัวพ้นน้ำขึ้นมาได้ แสดงว่า เราจะได้เห็นมันเบ่งบานในเวลาอันใกล้

เปรียบเสมือนหุ้นที่ไซด์เวย์มานาน ราคาเคลื่อนไหวขึ้นลงอยู่ในกรอบจำกัด จนกระทั่งวันหนึ่ง ราคาสามารถขึ้นทะลุกรอบด้านบนได้ โดยมีโวลุ่มสนับสนุนที่มากกว่าวันก่อนๆ แสดงว่า หุ้นตัวนี้พร้อมที่จะขึ้นต่อไปอีกด้วยพลังที่มากเกินพอ

ถ้าหากไม่มีโวลุ่มมากพอสนับสนุน ราคาหุ้นที่ขึ้นไปก็จะต้องตกกลับลงมาทันทีหรือในวันถัดไปอย่างแน่นอน เพราะราคาหุ้นที่สูงขึ้น ย่อมจูงใจให้คนที่ถืออยู่อยากขายหุ้นออกมา ถ้าเจ้าท่านไม่รับซื้อหุ้นเหล่านี้เอาไว้ที่ราคาสูง ราคาหุ้นย่อมตกกลับลงมาในกรอบไซด์เวย์เดิม เข้าใจกันหรือยังครับว่า โวลุ่มนั้นสำคัญไฉน

เงื่อนไขที่ใช้ในการสแกนหุ้นสูตรบัวพ้นน้ำ มีดังนี้
-มูลค่าการซื้อขายทั้งวันต้องไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท (คำนวณง่ายๆ คือ ราคาปิด คูณ โวลุ่ม)
-ราคาหุ้นต้องแกว่งตัวในกรอบแคบๆ โดยในรอบ 15 วัน มีส่วนต่างของราคา high กับ low ไม่เกิน 8% ของราคาหุ้น
-ราคา high ของวันนี้ สูงกว่า ราคา high ในรอบ 15 วันที่ผ่านมา
-ราคา high ของเมื่อวาน น้อยกว่า ราคา high ในรอบ 15 วันที่ผ่านมา (เพราะถ้ามากกว่าหรือเท่ากับ ก็จะถูกสแกนเจอตั้งแต่เมื่อวานแล้ว)
-มีโวลุ่มสนับสนุน โดยโวลุ่มวันนี้มากกว่าโวลุ่มเฉลี่ย 15 วัน ไม่ต่ำกว่า 2 เท่า

ตัวเลขต่างๆ เช่น 1 ล้านบาท 15 วัน 8% และ 2 เท่า เป็นค่าเหมาะสมที่ได้ภายหลังจากการทดลองด้วยค่าอื่นๆ ซ้ำๆ เป็นระยะเวลาหนึ่ง กล่าวคือ บางค่าที่มากไปหรือน้อยไป อาจทำให้ผลการสแกนได้จำนวนหุ้นที่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป จำนวนหุ้นที่มากเกินไป เช่น ได้ 30 ตัว อาจทำให้เราตาลายเลือกไม่ถูก แต่ถ้าได้น้อยตัวเกินไป หุ้นตัวที่ดีๆ อาจหลุดรอดสายตาไป

ใครมีไอเดียเกี่ยวกับการสแกนหุ้น ก็แสดงความคิดเห็นได้นะครับ ขอให้ทุกท่านโชคดีกับการลงทุน

4.สูตรยกไฮยกโลว์ ?


คำตอบ คือหลักการสแกนหุ้นสูตรยกไฮยกโลว์
ได้แนวความคิดมาจากการสังเกตหุ้นในตลาดตัวใดตัวหนึ่งขึ้นแรงๆ เกิน 10%-20% ในวันเดียว เมื่อดูกราฟย้อนหลังแล้วก็พบว่า มันค่อยๆ ขึ้นมาหลายวันแล้ว โดยที่เราไม่ทันสังเกตุ คือมันจะขึ้นวันละนิดวันละหน่อย แล้วค่อยมาขึ้นแรงๆ เอาวันท้ายๆ ถ้าจะเข้าตอนนี้ก็ดูเหมือนจะเสี่ยงเกินไป กลัวจะเข้าไปรับของจากเจ้าแล้วพลันติดดอยเปล่าๆ เลยเกิดคำถามขึ้นมาในใจว่า ตอนที่มันขึ้นวันแรกๆ ขึ้นทีละน้อยๆ ทำไมเราไม่รู้ตัว ทำไมเราไม่เข้าซื้อ

จึงเป็นที่มาของสแกนหุ้นสูตรยกไฮยกโลว์ คือเราจะสแกนหาหุ้นที่มี high และ low สูงขึ้น ติดต่อกัน 2 วัน เราจะไม่สนใจราคาปิด เพราะราคาปิดอาจปิดสูงหรือต่ำกว่าเดิมนิดหน่อยได้ แต่สิ่งที่หลอกเราไม่ได้คือ ราคา high และ low ที่สูงขึ้นเรื่อยๆ นั้น บ่งบอกถึงสภาวะที่หุ้นมีคนต้องการซื้อมากกว่าต้องการขาย

โดยราคา low ที่ยกสูงขึ้น ชี้ให้เห็นว่า ที่ราคาต่ำกว่านั้นไม่มีใครยอมขายออกมาแล้ว และราคา high ที่ยกสูงขึ้น แสดงให้เห็นว่า มีความต้องการหุ้นมากถึงขนาดยอมซื้อแพงกว่าราคาเมื่อวาน

ทั้งหมดนี้เราจะตรวจสอบให้แน่ใจว่า หุ้นตัวนี้กำลังจะขึ้นจริงๆ รึเปล่า หรือมันขึ้นเพราะมีการซื้อปิดตลาดด้วยจำนวนหุ้นเพียงเล็กน้อย เราจะตรวจสอบได้จากโวลุ่มซื้อขายในแต่ละวัน คือก่อนหุ้นจะขึ้นโวลุ่มอาจจะมีแบบกะปริดกะปรอย มากบ้างน้อยบ้าง เมื่อราคาขยับสูงขึ้นก็ย่อมจูงใจให้ผู้ที่มีหุ้นอยู่ในมือยอมขายออกมา จึงทำให้โวลุ่มมากขึ้นเป็นเท่าตัวหรือหลายเท่าตัว การเปรียบเทียบโวลุ่มจึงจำเป็นต้องเทียบกับโวลุ่มเฉลี่ยสัก 5 วันทำการย้อนหลัง ถ้าโวลุ่มวันนี้มีมากเกิน 200% ของโวลุ่มเฉลี่ยแล้วล่ะก็ เราจะมั่นใจได้อีกระดับนึงว่า หุ้นตัวนี้จะไปต่อแน่ๆ

ใครที่ใช้โปรแกรม Metastock ก็สามารถนำไอเดียนี้ไปสร้างสูตรของตนเองได้นะครับ หรือจะรอผลการสแกนที่นำมาโพสท์ที่นี่ทุกวันได้เลยครับ

เงื่อนไขที่ใช้ในการสแกนหุ้นสูตรยกไฮยกโลว์ มีดังต่อไปนี้
-มูลค่าการซื้อขายทั้งวันต้องไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท (คำนวณง่ายๆ คือ ราคาปิด คูณ โวลุ่ม)
-ราคา high วันนี้ สูงกว่า ราคา high เมื่อวาน (ย้อนหลัง 1 วัน)
-ราคา high เมื่อวาน สูงกว่า ราคา high วันก่อนเมื่อวาน (ย้อนหลัง 2 วัน)
-ราคา high วันก่อนเมื่อวาน ต่ำกว่าหรือเท่ากับ ราคา high วันก่อนวันก่อนเมื่อวาน (ย้อนหลัง 3 วัน)
-ราคา low วันนี้ สูงกว่า ราคา low เมื่อวาน (ย้อนหลัง 1 วัน)
-ราคา low เมื่อวาน สูงกว่า ราคา low วันก่อนเมื่อวาน (ย้อนหลัง 2 วัน)
-โวลุ่มวันนี้ มากกว่า 200% ของโวลุ่มเฉลี่ย 5 วันย้อนหลัง

เงื่อนไขในสูตรนี้จะตัดหุ้นที่ high สูงขึ้นติดต่อกัน 3, 4, 5, ... วันทิ้งไป ด้วยเหตุผลคือ หุ้นตัวนี้จะถูกสแกนเจอตั้งแต่วันแรกที่ high สูงขึ้นติดต่อกัน 2 วันแล้ว

ถ้าใครมีไอเดียเกี่ยวกับการสแกนหุ้น ก็แสดงความคิดเห็นได้นะครับ ขอให้ทุกท่านโชคดีกับการลงทุนครับ

5.สูตรตั้งลำ คือ ?


คำตอบ....หลักการสแกนหุ้นสูตรตั้งลำ เป็นแนวความคิดต่อยอดมาจากสูตรดั้งเดิม คือบางครั้งกราฟสวยแล้ว แต่ราคาก็ยังไม่ยอมไปไหน จึงต้องหาวิธีการคัดหุ้นที่มีโอกาสไปมากกว่ามาพิจารณา แล้วตัดหุ้นที่กราฟสวยแต่เจ้าไม่เล่นทิ้งไป

จากการสังเกตหุ้นที่เปิดตลาดมาแล้ววิ่งไปไกลเลยนั้น มักจะแสดงอาการบางอย่างล่วงหน้า 2-3 วัน คือจะมีคนแอบสะสมหุ้น ทำให้ราคาในระหว่างวันจะสูงขึ้นเล็กน้อย แต่ก็จะกลับมาปิดแถวๆ ราคาเดิม ทำให้ดูเหมือนกับว่า ราคาหุ้นไม่คิดจะไปไหนเลย จนวันสุดท้ายเจ้าจะทำราคาปิดสูง และสูงกว่า 2-3 วันที่ผ่านมาด้วย ใครเห็นก็ไม่กล้าเข้า เพราะกลัววันถัดไปจะตกกลับลงมา แต่ที่ไหนได้ วันถัดไปหุ้นก็จะเปิดสูงขึ้นไปอีก ยิ่งทำให้รายย่อยไม่กล้าเข้า แล้วหุ้นก็จะวิ่งหนีไปไกลเลย กว่ารายย่อยจะรู้สึกตัว ราคาก็แพงมากแล้ว จะเข้าก็กลัวเป็นแมงเม่า 55555

ผมขอตั้งชื่อหุ้นที่ปิดสูงก่อนวิ่งในวันถัดไปว่า หุ้นตั้งลำ เหมือนปืนใหญ่ก่อนจะยิง จะตั้งลำกล้องปืนชี้ไปยังทิศทางเป้าหมาย ก่อนจุดชนวนยิงต่อไป

เงื่อนไขของการสแกนหุ้นสูตรตั้งลำ มีดังต่อไปนี้
- มูลค่าการซื้อขายทั้งวันต้องไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท (คำนวณง่ายๆ คือ ราคาปิด คูณ โวลุ่ม)
- กราฟ Stochastics ระดับวัน กำลังขึ้น (ดูรายละเอียดได้จากสูตรดั้งเดิม)
- กราฟ Stochastics ระดับสัปดาห์ กำลังขึ้น (ดูรายละเอียดได้จากสูตรดั้งเดิม)
- ราคาปิดวันนี้ เท่ากับ ราคาไฮวันนี้
- ราคาปิดวันนี้ มากกว่า ราคาไฮเมื่อวาน (ย้อนหลัง 1 วัน)
- ราคาปิดวันนี้ มากกว่า ราคาไฮวันก่อนเมื่อวาน (ย้อนหลัง 2 วัน)
- ราคาปิดวันนี้ มากกว่า ราคาไฮวันก่อนวันก่อนเมื่อวาน (ย้อนหลัง 3 วัน)

ผลการสแกนหุ้นสูตรตั้งลำนี้จะพบว่า ในวันที่เซตบวกเยอะ จะสแกนได้หุ้นจำนวนมาก เพราะหุ้นจำนวนหนึ่งก็ขึ้นตามตลาด ทำให้ดูยากนิดนึงว่า หุ้นตัวไหนเป็นหุ้นตั้งลำตัวจริง อาจจะต้องดูปัจจัยอื่นๆ ประกอบ หรือดูจากผลการสแกนหุ้นสูตรอื่นๆ ประกอบ แต่ถ้าวันไหนตลาดแดงมาก หุ้นที่สแกนได้จากสูตรนี้ ก็น่าจะเป็นหุ้นตั้งลำตัวจริง

ถ้าใครมีไอเดียเกี่ยวกับการสแกนหุ้น ก็แสดงความคิดเห็นได้นะครับ ขอให้ทุกท่านโชคดีกับการลงทุนครั

6.สูตรดั้งเดิม?


คำตอบ...คือหลักการสแกนหุ้นสูตรดั้งเดิม
หลักการสแกนหุ้นสูตรดั้งเดิม

เริ่มต้นจากแนวความคิดที่ว่า หุ้นจะเป็นขาขึ้นเมื่อกราฟ Stochastics เป็นขาขึ้น คือ เส้น %K ตัด %D ขึ้นไป โดย %K %D ไม่ใกล้ 100% และเส้น EMA3 ตัดเส้น EMA12 ขึ้นไปสำหรับสูตรดั้งเดิมนี้ จะสแกนโดยใช้อินดิเคเตอร์ Stochastics มีค่าพารามิเตอร์ตามค่าดีฟอลท์ที่นิยมกัน ดังนี้

%K Periods = 9
%K Slow = 3
%D Periods = 3

เมื่อได้รายชื่อหุ้นที่กราฟ Day และ Week เป็นขาขึ้นแล้ว ก็เปิดกราฟของ EMA3 และ EMA12 เพื่อคัดว่า หุ้นตัวไหนมี EMA3 ตัด EMA12 ขึ้นไป

ที่มา https://www.facebook.com/TimeKeerper/posts/617684048349490

วันศุกร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2557

เหรียญ 10 ปี 33 กับการซื้อขายในตลาดเก็งกำไร

ตัวอย่างของการซื้อขายในตลาด

การซื้อขายจะเกิดขึ้นทั้งผู้ซื้อและผู้ขายต้องมีการประเมินมูลค่า
ทุกคนมีราคาในใจตามภาพคือ 10 บาท
ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายต้องการกำไรสูงสุด
ถ้าราคาในตลาดต่ำกว่ามูลค่า ตลาดก็จะปรับราคาสูงขึ้นจนเข้าใกล้มูลค่ายุติธรรม
ในทางกลับกันถ้าราคาตาลาดสูงกว่ามูลค่า ตลาดก็จะปรับราคาลงจนเข้าใกล้มูลค่ายุติธรรม

สำหรับในตลาดหุ้นมีข้อแตกต่างคือ ไม่มีใครรู้มูลค่ายุติธรรมของสิ่งที่เทรดกันอยู่ ตลาดจึงเทรดบนพื้นฐานของความโลภและความกลัว

ถ้าคนรู้มูลค่าก็จะไม่ขายให้
ตัวอย่างการไล่ราคา

วันอังคารที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2557

หุ้นซิ่ง 4 ระยะ

หุ้นซิ่ง 4 ระยะ
1. จุดความฝัน เริ่มจากเจ้ามืออยากได้ตังค์ก็ปล่อยข่าวลากราคาหาค่ากับข้าว ค่าเฟอรารี่ให้ลูกไปเรื่อย ถ้าจะทำโครงการจริงจังก็ลากไปเพิ่มทุนพร้อมสร้างความฝันสวยหรู เปิดโรงงานใหม่ โรงแรมใหม่ขยายสาขายแล้วจะดีอย่างนู้นอย่างนี้ เดี๋ยวผู้ถือหุ้นเคลิ้มๆ ก็ใส่เงินมาให้ แต่ซักพักหุ้นก็ตกเพราะกว่าโรงงานจะสร้างเสร็จก็ใช้เวลาเป็นปี ราคาก็ side way ไป
2. ความฝันใกล้เป็นจริงๆ วันที่โรงงานเปิด โรงแรมเปิด ฯลฯ ตลาดจะไล่ราคาพร้อมวอลุ่มไปถึงยอดดอย
3. เมื่อความฝันเป็นจริงตลาดจะเล่นตามความจริง ถ้าบริษัทมีกำไรราคาหุ้นก็จะเป็นดาวค้างฟ้าไปไม่ค่อยลง แต่ถ้ากำไรไม่มาตามคาดราคาก็ตกทิ้งหุ้นอย่างกับบริษัทจะเจ้ง
4. พวกเก็บตกเห็นพวกเบอร์ 3 ทิ้งหุ้นมาเยอะๆ แล้วมองว่าตกเกินไปก็เข้ามาเก็บ รอกำไรมาจริงก็รวยได้ก็ทนกันไป

การประยุกต์ จะเห็นว่าหุ้น 1 ตัวสามารถเล่นได้ถึง 4 รอบ โดยเฉพาะช่วงที่ 1 ถ้าราคาวิ่งมาแรงๆ story เปิดหมดก็ควรออกได้ละ รอโรงงานเปิดเดี๋ยวก็เล่นอีกรอบได้กำไรมา ช่วงที่วัดใจที่สุดคือช่วงที่ 3 ครับลุ้นว่ากำไรจะมาตามนัดหรือเปล่า

วันเสาร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

สนุกกับส่วนของผู้ถือหุ้น

ตารางสรุปส่วนทุน
ส่วนส่วนทุน
การคำนวณผลกระทบต่อราคา(price dilution)

ตัวอย่าง TRUE อัตรา 2.5725 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นเพิ่มทุน ราคาเพิ่มทุน 6.5 บาท ราคาวันสุดท้ายก่อน XR 11.4 บาท วันขึ้นเครื่องหมาย XR จะมีราคาเปิดเท่าไร และ จงคำนวณ price dilution

การล้างขาดทุนสะสม

ส่วนผู้ถือหุ้น = ทุนจดทะเบียน + ส่วนเกินมูลค่าหุ้น + กำไร(ขาดทุนสะสม)
500 = 1,000 + 600 – 1,100
นำส่วนเกินมูลค่าหุ้นมาล้าง : 500 = 1,000 + 600-600 – 1,100 +600 = 1,000 + 0500

  • ส่วนเกินลดลง 600 (600-600) ขาดทุนสะสมลดลง 600 (-1,100+600)

ลดทุนเพื่อล้างขาดทุนสะสม : 500 = 1,000 - 500 + 0 – 500 + 500 = 500 + 0 + 0

  • ทุนลด 500 (จะมาจาก ลดทุนแต่พาร์เท่าเดิม หรือ ลดพาร์แต่หุ้นเท่าเดิมก็ได้ เอาว่าคุณกันแล้วทุนลดลง 500) (1,000-500) ขาดทุนสะสมลดลง 500 (-500+500)

ข้อสังเกต

  • มูลค่าทางบัญชี 500 เท่าเดิม ไม่กระทบต่อความมั่งคั่งของผู้ถือหุ้น PBV เท่าเดิม
  • ทำแล้วหุ้นวิ่ง เพราะกลับมาจ่ายปันผลได้


วันพฤหัสบดีที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เตรียมออกรบในตลาดหุ้น

ในตลาดหุ้นก็เหมือนสนามรบที่ยิงกระสุนสู้กันด้วยเงิน แพ้ชนะเป็นกำไรขาดทุน
จะปฏิบัติการรบ ต้องฝึกฝน เตรียมตน เตรียมการ เตรียมงาน เตรียมข่าว และ เตรียมกำลัง ไม่ใช่บุ่มบ่ามเดินออกไปรับห่ากระสุน ไม่ใช่ไปสู้แล้วเป็นตัวถ่วงคนอื่น ต้องสู้ด้วยกัน มีใจอย่างเดียวไม่พอ ต้องมีสมองด้วย

  1. ร่างกายต้องพร้อม
  2. รู้หลบเป็นปีก รู้หลีกเป็นหาง การจู่โจมศัตรู ต้องรู้ชัยภูมิ รู้จุดยุทธศาสตร์ เช่น มีศัตรูเฝ้าระวังอยู่ตรงไหน จะโจมตีจากจุดไหน จะหนีด้วยเส้นทางใด ศัตรูจะเสริมกำลังเข้าทางใด จะตัดกำลังบำรุงศัตรูได้ทางใดบ้าง เป็นต้น 
  3. ลับ
  4. ประเมินข่าว ประเมินกำลังพลศัตรู ประเมินกำลังพลตัวเอง มีอยู่เท่าไหร่ ต้องประเมินไว้ให้รอบด้าน จัดสายการบังคับบัญชาของตัวเอง ทำงานเป็นทีม

Cr. ดัดแปลงมาจากมิตรสหายทหารท่านหนึ่ง

วันอังคารที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

สนุกกับกราฟแทงเทียน

ตะก่อนดูพื้นฐานอย่างเดียว จังหวะเข้าออกตามอารมณ์ หุ้นตกเยอะๆ ราคา side way แต่มี story ดีๆ ที่ทำให้มูลค่ากิจรออยู่ก็ซื้อไปเรื่อยๆเดี๋ยวก็ขึ้น เดี๋ยวนี้ต้องเริ่มศึกษาเรื่องเทคนิคเดี๋ยวคุยกับเพื่อนไม่รู้เรื่อง

แท่งเทียนเขียวกับแดง
แท่งเทียนหลายๆแท่งต่อกันเป็นกราฟ
กราฟ
หุ้นมีขึ้นก็ต้องมีลง หลายคนก็พยายาม ดูรูปแบบการกลับตัว เพราะเชื่อว่าซื้อตอนกลับตัวจากขาลงเป็นขาขึ้นเราจะเป็นไม้แรกกำไรดี พอจะกลับตัวเป็นขาลงก็ขายได้จุดสูงสุด
รูปแบบแท่งเทียนกลับตัว

กลับตัวแบบกระทิง จะขึ้น
กลับตัวแบบหมี มันจะลง
นี่ก็มาเป็นชุด ดูแบบกลุ่ม

 ในขณะเดียวกันเจ้ามือก็เรียนตำราเล่มเดียวกัน บางทีเจ้ามืออยากเก็บหุ้นก้อขายหุ้นออกมาให้เกิดสัญญาณขาย พอคนขายเจ้ามือก้อเก็บ ใช้กราฟเป็นเครื่องมือ เป็นอีกมุมมองนึงเหรียญมีสองด้านครับ

เหรียญมีสองด้านบางคนก็ใช้กราฟแบบนี้

เรื่องกราฟนี่ไม่ธรรมดาจริงๆ ซูฮกเซียนเทคนิคจริงๆ

วันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2557

เทคนิคการอ่านงบการเงินแบบแกะรอย

เทคนิคการอ่านงบการเงินแบบแกะรอย บทความโดย คุณวิโรจน์ เฉลิมรัตนา [1][2] เขียนเกี่ยวกับการแกะรอยงบการเงินได้เป็นขั้นเป็นตอน ไล่เรียงเป็นข้อได้เห็นภาพชัดเจน

สรุปคร่าวๆดังนี้

  • อ่านรายงานผู้สอบบัญชี 
  • ดูโครงสร้างการจัดหาเงินทุน 
  • ดูการกู้ยืม ใช้ DE ratio ประกอบ
  • ดูผลการดำเนินงานในงบกำไรขาดทุน โดยใช้เครื่องมือคือ อัตรากำไรขั้นต้น และค่าใช้จ่ายแยกตามลักษณะในหมายเหตุประกอบงบเป็นตัวช่วย
  • ดูเรื่องเงินทุนหมุนเวียน ลูกหนี้ สินค้าคงเหลือ เจ้าหนี้การค้า
  • ดูงบแสดงการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้น ว่ามีการเพิ่มทุน ลดทุน ล้างขาดทุนสะสม ปรับมูลค่าสินทรัพย์? หรือไม่
  • ดูงบกระแสเงินสดว่าได้มา และใช้เงินไปทางไหนบ้าง
  • อ่านรายงานประจำปีประกอบ

เห็นภาพคร่าวๆแล้วก็เชิญอ่านบทความเต็มๆโดยพลัน

การอ่านงบการเงินแบบแกะรอยนั้น อาจกล่าว ได้ว่าไม่ได้อยู่ในสารบบและหลักวิชาการ แต่ผมเชื่อว่าเป็นวิธีการที่มีคนจำนวนมากใช้อยู่ในการทำความเข้าใจงบการเงิน โดยเฉพาะผู้รับผิดชอบด้านการเงิน ผู้บริหาร เจ้าของกิจการ เจ้าหนี้ สถาบันการเงิน และนักบัญชีหรือผู้สอบบัญชี คำว่าอ่านงบการเงินแบบแกะ รอยนั้น ไม่ได้เป็นศัพท์ที่รับรู้กันโดยทั่วไป เนื่องจากผมบัญญัติขึ้นใช้เรียกเพื่อให้ง่ายต่อการเผยแพร่ และเชื่อว่าน่าจะยังไม่มีการรวบรวมรูปแบบการอ่านงบการเงินแบบแกะรอยนี้ในที่ ใดมาก่อน

ที่พูดเช่นนี้ใช่ต้องการกล่าวอ้างแต่อย่างใด หากแต่ต้องการออกตัวไว้ก่อนว่า “การอ่านงบการเงินแบบแกะรอย”ที่ จะนำเสนอนี้ ไม่ใช่วิธีการที่ยอมรับกันทั่วไปในวงการนักบัญชีและบรรดานักอ่านงบการเงิน ทั้งหลาย หากแต่ผมเห็นว่าเป็นวิธีการที่ผมใช้และพบว่าทำให้ค้นพบแง่มุมที่เป็น ประโยชน์ในการอ่านงบการเงินพอสมควร

ความหมายของการอ่านงบการเงินแบบแกะรอย


การ อ่านงบการเงินแบบแกะรอยในความหมายของผมนั้น คือการอ่านงบการเงินโดยตั้งคำถามเพื่อนำไปสู่ที่มาที่ไปของตัวเลขต่างๆที่ อยู่ในงบการเงิน และโดยการอ่านหมายเหตุประกอบงบการเงินประกอบเพื่อปะติดปะต่อเรื่องราวและ กิจกรรมต่างๆของกิจการ และสุดท้ายนำไปสู่การมองภาพรวมของกิจการอย่างย่นย่อเพื่อให้เข้าใจการดำเนิน ธุรกิจ ฐานะการเงิน และผลการดำเนินงานของกิจการนั้นๆ

ลำดับวิธีการอ่านงบการเงินแบบแกะรอย


ผมได้ลำดับวิธีการอ่านงบการเงินแบบแกะรอยไว้โดยสรุปดังต่อไปนี้

ข้อควรคำนึงเบื้องต้น


1. การอ่านงบการเงินแบบแกะรอยนั้น ให้ไล่ลำดับการเลือกดูในจุดต่างๆไปเรื่อยๆตามที่จะกล่าวต่อไปในลักษณะแกะรอยตัวเลข โดยไม่ได้เริ่มต้นจากหน้าแรกไปจนหน้าสุดท้ายเหมือนการอ่านโดยทั่วไป

2. การ อ่านงบการเงินแบบแกะรอยที่ดีนั้น ผู้อ่านต้องทอนตัวเลขมากๆในงบการเงินให้เป็นตัวเลขกลมๆ เพื่อให้สามารถเคาะตัวเลขแบบง่ายๆได้ นอกจากนี้ผู้อ่านงบการเงินแบบแกะรอยต้องใช้การลำดับให้เป็นเรื่องราวไปด้วย เช่น ให้คิดตามตัวเลขว่า ผู้ถือหุ้นของกิจการลงทุนในวันที่จัดตั้งบริษัทเป็นเงิน 5 ล้านบาท ไปซื้อที่ดินราคา 1.5 ล้านบาท สร้างอาคารราคา 4 ล้านบาท ซื้อเครื่องจักรราคา 2 ล้านบาท ทำให้ในงบมีเงินกู้ยืมจากผู้ถือหุ้น 3 ล้านบาท ซึ่งต่อมาเมื่อกิจการเริ่มดำเนินกิจการแล้วมีรายได้ได้ชำระเงินกู้ยืมจากผู้ ถือหุ้นไปบางส่วน ณ วันที่ในงบการเงินพบว่ามียอดเงินกู้ยืมดังกล่าวคงเหลืออยู่ 2 ล้านบาท เป็นต้น และปะติดปะต่อเรื่องราวเฉพาะประเด็นที่ทราบข้อเท็จจริงเท่านั้น ส่วนใดไม่ทราบให้จดเป็นประเด็นคำถามไว้

3. ให้เน้นรายการที่มีสาระสำคัญเท่านั้น รายการเล็กๆน้อยๆ ให้ตัดทิ้งไปก่อน

อ่านรายงานของผู้สอบบัญชี


4. ให้ เริ่มต้นที่รายงานของผู้สอบบัญชี ซึ่งจะระบุงวดเวลาที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบ ขอบเขตการตรวจสอบและความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชี ความรับผิดชอบของฝ่ายบริหาร วิธีการตรวจสอบเป็นไปตามข้อกำหนดในมาตรฐานการสอบบัญชี ข้อจำกัดของผู้สอบบัญชี และที่สำคัญที่สุดคือ ความเห็นของผู้สอบบัญชี ว่า “งบการเงินนั้นถูกต้องตามที่ควรหรือไม่” การที่ผู้สอบบัญชีเห็นว่างบการเงินถูกต้องตามที่ควร เรียกว่า ผู้สอบบัญชีมีความเห็นแบบไม่มีเงื่อนไข

5.  คำว่า “งบการเงินถูกต้องตามที่ควร” นั้น หมายถึง ผู้สอบบัญชีจะใช้หลักความมีสาระสำคัญในการตรวจสอบ โดยไม่ได้ตรวจสอบทุกรายการ (ซึ่งเป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ) แต่จะใช้วิธีการต่างๆ เช่น การสุ่มรายการเพื่อตรวจสอบ การวิเคราะห์เปรียบเทียบ เป็นต้น

6.  หากรายงานของผู้สอบบัญชีให้ความเห็นแตกต่างไปจากการระบุว่า “งบการเงินถูกต้องตามที่ควร” แล้ว โดยปกติผู้สอบบัญชีจะอธิบายประเด็นที่ทำให้ความเห็นของผู้สอบบัญชีเป็นแบบมี เงื่อนไขนั้นไว้ด้วยว่า มีประเด็นใดและมีผลกระทบต่องบการเงินอย่างไร ประเด็นเหล่านี้ผู้อ่านงบการเงินต้องให้ความสำคัญ และใส่ใจเป็นพิเศษ เนื่องจาก เป็นประเด็นที่ผู้สอบบัญชีเห็นแตกต่างไปจากฝ่ายบริหารของกิจการ และบางกรณีเป็นประเด็นที่ไม่สามารถหาข้อสรุปที่ตรงกันได้

เริ่มต้นอ่านงบการเงินที่หมายเหตุข้อมูลทั่วไป


7.  เมื่อ ได้ดูความเห็นของผู้สอบบัญชีแล้ว (เพื่อให้แน่ใจว่ามีความเห็นแบบไม่มีเงื่อนไขหรือไม่) ถัดจากนั้น ให้เริ่มต้นดูหมายเหตุประกอบ ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ชื่อกิจการ ธุรกิจหลักของกิจการ ที่ตั้ง ปีที่จดทะเบียนจัดตั้ง และข้อมูลอื่นๆ เช่น การหยุดดำเนินงานในบางส่วนงาน เป็นต้น หมายเหตุที่ให้ข้อมูลลักษณะนี้มักเป็นหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 1.

8.  บวกลบเพื่อหาจำนวนปีที่กิจการเปิดดำเนินกิจการมาแล้ว (บวกลบจากปีที่จดทะเบียนจัดตั้ง)

ดูโครงสร้างการจัดหาทุนของกิจการ


9.  ดูเงินลงทุนขั้นต้น ได้แก่ ทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้ว (งบดุลในส่วนของผู้ถือหุ้น)

10. ดู สินทรัพย์ถาวรที่กิจการลงทุนไว้ และดูว่าเป็น ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ แต่ละประเภทในจำนวนเงินเท่าใด (งบดุลด้านสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน โดยอ้างอิงหมายเหตุเรื่องนี้ที่มีรายละเอียดของราคาทุน และค่าเสื่อมราคา ค่าเสื่อมราคาสะสมของ ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์)

11. ถ้า เป็นการดำเนินกิจการปีแรกๆ เราจะคำนวณได้เลยว่า ทุนของผู้ถือหุ้น 5 ล้านบาทนั้น ต้องนำมาลงในการจัดหาที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจการเท่าไร และทุนดังกล่าวเพียงพอหรือไม่ ถ้าไม่เพียงพอ กิจการจัดหาเงินจากแหล่งอื่นใดเพิ่มเติม เช่น กวาดตาดูด้านหนี้สิน อาจจะพบ เงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน หรือ เงินกู้ยืมจากผู้ถือหุ้น หรือจากบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน เป็นต้น

12. การ ดูเงินลงทุนในสินทรัพย์ถาวรนั้น ต้องมองที่ราคาทุน ไม่ใช่ราคาที่สุทธิจากค่าเสื่อมราคาสะสม เนื่องจากราคาทุนคือราคาที่กิจการจ่ายซื้อในครั้งแรก

ดูเงินกู้ยืม


13. อ่านหมายเหตุประกอบงบการเงินเกี่ยวกับ Terms and Conditions ของการกู้ยืมดังก ล่าว เช่น เงินกู้ยืมนั้นมีวงเงินกู้เท่าใด เสียดอกเบี้ยในอัตราใด มีกำหนดระยะเวลาชำระคืนอย่างไร เป็นหนี้สินระยะสั้น หรือหนี้สินระยะยาว มีวงเงินกู้หลายชนิดหรือไม่

14. เรา อาจพบว่า กิจการมีวงเงินกู้เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ เช่น วงเงินกู้ยืมเพื่อซื้อที่ดิน เพื่อก่อสร้างอาคารโรงงาน เพื่อซื้อเครื่องจักร นอกจากนี้อาจมีวงเงินกู้อื่นเพื่อเสริมสภาพคล่องในการดำเนินกิจการ เช่น วงเงินเบิกเกินบัญชี หรือ เงินกู้ระยะสั้น วงเงินสินเชื่อเพื่อการส่งออก วงเงินสินเชื่อเพื่อการค้า การเปิดวงเงินแอลซี

15. เรา อาจพบว่า วงเงินสินเชื่อต่างๆนั้นมีภาระค้ำประกัน และมีการนำสินทรัพย์ถาวรของกิจการ เช่น ที่ดินไปค้ำประกันวงเงินสินเชื่อ กล่าวคือ มีที่ดินของกิจการเป็นหลักประกันการกู้ยืม บางกรณีอาจมีการค้ำประกันโดยบุคคล เช่น กรรมการ ผู้ถือหุ้น และ/หรือ โดยสินทรัพย์ของผู้ถือหุ้น เป็นต้น

16. เรา อาจพบว่า เงินกู้ยืมที่กิจการจัดหามานั้น อาจมีเงื่อนไขหรือข้อจำกัดบางประการ เช่น กิจการต้องดำรงอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนไม่ให้เกิน 2 เท่า เป็นต้น ซึ่งเป็นเงื่อนไขไม่ให้กิจการไปกู้ยืมจากสถาบันการเงินอื่นเพิ่มเติมจนความ สามารถในการชำระหนี้ลดน้อยลง และอาจเป็นเหตุให้ไม่สามารถชำระหนี้แก่สถาบันการเงินที่ให้เงินกู้นั้นแก่ กิจการได้ ปกติสถาบันการเงินจะกำหนดการดำรงอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนโดยดูจากโครงสร้าง หนี้สินต่อทุน ณ วันที่กู้ ประกอบกับการดูประมาณการกระแสเงินสดในอนาคตของกิจการเป็นเกณฑ์

17. เรา อาจพบว่า เงินกู้ยืมที่กิจการจัดหามานั้น อยู่ในรูปเงินบาท หรือเงินตราต่างประเทศ ขึ้นอยู่กับวิธีการจัดหาเงินและอัตราดอกเบี้ยในท้องตลาดและความเสี่ยงที่ กิจการสามารถรับได้ และหากเป็นเงินกู้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศ กิจการอาจมีความเสี่ยง เรื่อง ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้นด้วย ขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจในขณะนั้น

คงจะต้องกล่าวส่วน ที่เหลือในคราวต่อไปครับ ซึ่งจะเป็นการดูผลการดำเนินงาน การดูโครงสร้างค่าใช้จ่าย การดูสินทรัพย์และหนี้สินที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานหลักของกิจการ การดูงบกระแสเงินสด รายการนอกงบดุล หมายเหตุประกอบงบการเงิน และข้อมูลในรายงานประจำปี
การอ่านงบการเงินแบบแกะรอย (ตอนจบ)

ดูผลการดำเนินงาน


18.   ดู งบกำไรขาดทุน เพื่อวิเคราะห์ผลการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมา และเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งงบการเงินจะวางตัวเลขเปรียบเทียบไว้ 2 ปี เสมอ (ยกเว้นงบการเงินปีแรก) ดูไล่ตั้งแต่ยอดขาย รายได้อื่น ต้นทุนขาย ค่าใช้จ่ายในการขาย ค่าใช้จ่ายในการบริหาร กำไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน กำไรขาดทุนจากการขายสินทรัพย์ ต้นทุนทางการเงิน ภาษีเงินได้นิติบุคคล และที่สำคัญที่สุดคือ กำไรสุทธิ (หรือขาดทุนสุทธิ)



19.   เมื่อเห็นภาพรวมในงบกำไรขาดทุนแล้ว ให้คำนวณหาอัตรากำไรขั้นต้นของตัวเลขทั้ง 2 ปี โดยใช้สูตร

                (รายได้จากการขาย – ต้นทุนขาย) / รายได้จากการขาย = อัตรากำไรขั้นต้น เป็นร้อยละ (%)

เรา อาจทราบอัตรากำไรขั้นต้นของกิจการประเภทต่างๆ เช่น อัตรากำไรขั้นต้นของกิจการขายสินค้าโดยเฉลี่ยไม่น่าจะต่ำกว่าร้อยละ 30 เป็นต้น กำไรขั้นต้นนี้เป็นส่วนที่เป็นผลต่างระหว่างราคาขายกับต้นทุนขาย และกำไรส่วนนี้ควรจะเพียงพอที่จะรองรับ ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการขาย และค่าใช้จ่ายในการบริหาร ต้นทุนทางการเงิน และภาษีเงินได้ของกิจการเป็นอย่างน้อย ไม่เช่นนั้น กิจการจะมีผลการดำเนินงาน ติดลบ หรือมีผลขาดทุนสุทธินั่นเอง



20.   เปรียบ เทียบสัดส่วนของค่าใช้จ่ายในการขายและค่าใช้จ่ายในการบริหาร ซึ่งแต่ละกิจการอาจมีสัดส่วนดังกล่าวมากน้อยแตกต่างกัน โดยส่วนใหญ่แล้วกิจการน่าจะมีค่าใช้จ่ายในการขายน้อยกว่าค่าใช้จ่ายในการบริ หาร (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายประจำเกี่ยวกับการดำเนินงาน) นอกจากบางกิจการที่โครงสร้างค่าใช้จ่ายมีน้ำหนักเน้นไปในส่วนของการขาย เช่น บริษัทที่มีขนาดเล็กจำนวนคนน้อยๆ และมีค่าใช้จ่ายประจำไม่มาก เนื่องจากมีสำนักงานหรือออฟฟิศที่มีพื้นที่น้อย



21.   จากงบกำไรขาดทุนให้ข้ามไปหาหมายเหตุประกอบงบการเงิน เรื่อง ค่าใช้จ่ายตามลักษณะ ค่า ใช้จ่ายตามลักษณะนี้จะเป็นค่าใช้จ่ายหลักของกิจการซึ่งขึ้นอยู่กับว่า กิจการนั้นใช้ทรัพยากรอะไรในการดำเนินกิจการเป็นหลัก ปกติแล้ว ค่าใช้จ่ายหลักของกิจการโดยทั่วไปมักได้แก่ เงินเดือนและผลประโยชน์พนักงาน ค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ ค่าเช่าอาคาร หรือหากเป็นกิจการผลิตหรือขายสินค้าแล้ว รายการซื้อวัตถุดิบ ค่าระวาง ค่าขนส่ง ก็อาจจะเป็นค่าใช้จ่ายหลักของกิจการนั้น เป็นต้น

22.   การดูค่าใช้จ่ายตามลักษณะจะทำให้เราประมาณการกระแสเงินสดของกิจการนั้นในภาพรวมได้ง่ายขึ้น การดูค่าใช้จ่ายตามลักษณะจะช่วยให้เรามองเห็นภาพว่า ภาระค่าใช้จ่ายของกิจการนั้นมีอะไรบ้าง เช่น ในหนึ่งปี กิจการนั้นจะต้องจ่ายค่าเช่าอาคารเป็นจำนวนเงิน 2.4 ล้านบาท (แปลว่ามีภาระค่าเช่ารายเดือน 240,000 บาท) กิจการมีค่าใช้จ่ายเรื่องเงินเดือนและผลประโยชน์พนักงาน 9.6 ล้านบาทต่อปี (เฉลี่ยเงินเดือนค่าจ้างต่อเดือนเท่ากับ 800,000 บาท) ค่าเสื่อมราคา 1.2 ล้านบาท (ค่าเสื่อมราคาตกเดือนละ 100,000 บาท) ด้วยการวิเคราะห์ในลักษณะเช่นนี้ เราจะทราบได้ทันทีว่ากิจการนี้ควรมียอดขายไม่ต่ำกว่าเท่าใด (ต่อปี ต่อเดือน)  จึงจะสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้


ดูสินทรัพย์และหนี้สินที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานหลักของกิจการ


23.   หากในงบกำไรขาดทุนไม่พบอะไรสะดุดตา ก็ให้ข้ามกลับมาที่งบดุล โดยให้ดูสินทรัพย์ที่เกี่ยวกับการดำเนินงานหลักของกิจการ ถ้าเป็นกิจการผลิตเพื่อขาย หรือซื้อมาขายไป สินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานหลัก จะได้แก่ ลูกหนี้การค้า สินค้าคงเหลือ เครื่องจักรอุปกรณ์ในการผลิต ด้านหนี้สินได้แก่ เจ้าหนี้การค้า (ค่าซื้อวัตถุดิบ หรือสินค้าคงเหลือ) เงินมัดจำรับจากลูกค้า เป็นต้น

24.   ดู หมายเหตุประกอบงบการเงินสำหรับบัญชีลูกหนี้การค้า บางกรณีกิจการอาจแยกจำนวนลูกหนี้การค้าตามอายุไว้ ก็จะทำให้เราเห็นภาพว่า ลูกหนี้การค้าของกิจการเป็นลูกหนี้การค้าที่คงค้างนานแล้วหรือไม่ ถ้าคงค้างนานเป็นจำนวนมาก จะมีโอกาสเก็บเงินได้หรือไม่ เราอาจพบว่า กิจการได้ตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญไว้จำนวนหนึ่ง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า มีรายได้จากการขายบางส่วนที่กิจการอาจเก็บเงินไม่ได้ ก็จะทำให้เกิดผลขาดทุนที่ต้องรับรู้ไว้ ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อผลกำไรของกิจการ

25.   ดู ว่าสินค้าคงเหลือประกอบด้วยวัตถุดิบ สินค้าสำเร็จรูป และงานระหว่างทำ ในสัดส่วนเท่าใดบ้าง บางกิจการมีวัตถุดิบมากในขณะที่มีสินค้าสำเร็จรูปน้อย ย่อมแสดงว่ากิจการสามารถระบายสินค้าที่ผลิตเสร็จแล้วออกไปขายได้เร็ว ก็จะส่งผลดีต่อกิจการ มากกว่ากิจการที่มีสินค้าสำเร็จรูปจมอยู่จำนวนมาก และมีความเสี่ยงที่จะเกิดสินค้าที่หมดอายุ ด้อยคุณภาพ และต้องรับรู้ผลขาดทุนจากการด้อยค่าของสินค้าในอนาคต

26.   ดูหมายเหตุประกอบงบการเงินในส่วนของนโยบายการบัญชีเกี่ยวกับเกณฑ์ในการตั้ง ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ การคำนวณราคาสินค้าคงเหลือใช้วิธีการใด เช่น วิธีเข้าก่อน-ออกก่อน หรือวิธีถัวเฉลี่ย หรือวิธีต้นทุนมาตรฐาน จำนวนที่กิจการตั้งค่าเผื่อการลดลงของมูลค่าสินค้า เป็นต้น

27.   เมื่อ ได้แกะรอยงบการเงินมาจนถึงจุดนี้แล้ว เชื่อได้ว่า คุณคงมองเห็นภาพของกิจการนั้นๆได้ชัดเจนและครอบคลุมประเด็นสำคัญพอสมควรแล้ว ส่วนที่เหลือก็แล้วแต่กรณีว่า ในงบการเงินมีรายการอะไรน่าสนใจ หรือแปลกไปกว่าที่เคยพบโดยทั่วไปหรือไม่ ก็ให้ตามไปดูว่าเป็นรายการที่เกี่ยวกับกิจกรรมหรือรายการค้าอะไร

อ่านงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น


28.   จุด สำคัญของงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น ได้แก่ การเพิ่มทุน ลดทุน การจ่ายเงินปันผล การตีราคาสินทรัพย์เพิ่ม (ซึ่งจะทำให้เกิด “ส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์เพิ่ม” ที่นำมาบันทึกไว้ในส่วนของผู้ถือหุ้น) ส่วนเกินมูลค่าหุ้น (ซึ่งเกิดจากการออกหุ้นในราคาสูงกว่ามูลค่าที่ตราไว้ หรือราคา Par) การกันสำรองตามกฎหมายเมื่อมีการจ่ายเงินปันผล เป็นต้น

อ่านงบกระแสเงินสด


29.   งบ กระแสเงินสดจะช่วยให้เรามองเห็นกระแสเงินสดที่ไหลเวียนในกิจการในรอบบัญชี หนึ่งๆในภาพรวม โดยงบกระแสเงินสดจะแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน กระแสเงินสดจากการลงทุน และกระแสเงินสดจากการจัดหาทุน การอ่านงบกระแสเงินสดให้ใช้วิธีไล่ว่า เงินสดรับที่เกิดจากการดำเนินงานเป็นบวกหรือไม่ เท่าใด ในปีนั้นมีการจัดหาเงินมาจากแหล่งใด และในปีนั้นมีการนำเงินที่ได้จากกระแสเงินสดจากการดำเนินกิจการหรือจากการ จัดหาเงินไปใช้ลงทุนในเรื่องใด หรือนำไปใช้หนี้เดิม

กวาดตาดูงบการเงินตั้งแต่ต้นจนจบ


30.   ให้ กวาดตาดูงบการเงิน ไล่ตั้งแต่ต้นจนจบอีกรอบหนึ่ง เริ่มตั้งแต่ รายงานของผู้สอบบัญชี งบดุล งบกำไรขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น งบกระแสเงินสด และหมายเหตุประกอบงบการเงินทุกข้อ เราอาจพบว่ากิจการมีหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น คดีฟ้องร้อง เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบการเงิน และภาระผูกพัน ซึ่งหัวข้อเหล่านี้มักเป็นรายการนอกงบดุลที่กิจการอาจจะยังไม่ได้รับรู้ไว้ ในงบการเงิน ณ วันที่สิ้นงวดนั้นๆก็ได้

อ่านรายงานประจำปีประกอบงบการเงิน


31.   รายงาน ประจำปีมักเป็นส่วนที่ให้ข้อมูลต่างๆ นอกเหนือจากข้อมูลทางการเงิน กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ งบการเงินจะเป็นข้อมูลทางการเงินที่ถือเป็นข้อมูลส่วนหนึ่งในรายงานประจำปี ในรายงานประจำปีจะมีข้อมูลสำคัญอื่นๆ เช่น ภาพรวมกิจการ สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อกิจการ แผนงาน นโยบายในด้านต่างๆของกิจการ ประวัติคณะกรรมการ ประวัติผู้บริหาร และผู้ถือหุ้นใหญ่ นโยบายและกิจกรรมด้านสังคมต่างๆของกิจการ กราฟแสดงราคาหุ้นของกิจการ ในรายงานประจำปีมักมีการสรุปตัวเลขสำคัญย้อนหลังมากกว่าในงบการเงิน เช่น ตัวเลขกำไรสุทธิย้อนหลัง 5 รอบบัญชี เป็นต้น

การ อ่านงบการเงินแบบแกะรอยนี้ หากจะให้ผลดี ผู้อ่านงบการเงินต้องมีความเข้าใจในโครงสร้างของงบการเงินพอสมควร อย่างไรก็ตาม งบการเงินเองก็มีคำอธิบายบัญชีต่างๆอยู่พอสมควร การไม่ดูเพียงตัวเลข แต่อ่านหมายเหตุประกอบงบการเงินประกอบ จะช่วยให้คนที่ไม่คุ้นเคยกับบัญชีเกิดความเข้าใจความหมายของงบการเงินมาก ยิ่งขึ้น และจะพบว่า การอ่านงบการเงินไม่ใช่เรื่องที่ยากอย่างที่เคยรู้สึก

ที่มา
[1] http://alumni.tu.ac.th/accounting/index.aspx?id=415&hasp=m9gmud77txi1j698wo2gjmvqfcch6nhihwiy56ge05qd42c7oyx1

[2] http://alumni.tu.ac.th/accounting/index.aspx?id=418&hasp=ujn586xzekmijf5178p68a3cy6m2j5jah80x042m5slwf76gw9z

วันอังคารที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ราคาและจุดกลับตัว

จะลงทุนห้รวยต้องดูจุดกลับตัวให้ออก ถนนของนักลงทุนเกือบทุนสายก็เฝ้าที่จะศึกษาการกลับตัวของราคาทั้งทางขึ้นและทางลง

P = ราคา
T = เวลา
(P2 - P1)/(T2 -T1) = Diff(P) =อัตราการเปลี่ยนแปลงของราคา (V) เมื่อเวลาผ่านไป 1 คาบเวลา
(V2 -V1)/(T2 -T1) = Diff(V) = ความเร่งของการเปลี่ยนแปลงราคา (a) เมื่อเวลาผ่านไป 1 คาบเวลา
จุดสูงสุดคือจุดที่ ความเร่งของราคา (a) เท่ากับศูนย์
เมื่อทิศทาง(slope) ณ T ใดๆของค่า V และ a มีทิศทางตรงข้ามกัน (+/-) = จุดกลับตัวของราคา (Divergence)

ฟิสิกส์ ม.4 หรือมองเป็นภาพ

ช่วงแรกไม่ค่อยมีใครสนใจขึ้นช้าๆ
เมื่อหุ้นเริ่มซิ่ง ราคาเป็นขาขึ้น ด้วยความเร่งที่รุนแรงไม่กล้าเข้า
เมื่อหุ้นยังขึ้นต่อคนเริ่มแห่เข้ามา แต่สังเกตุว่าราคาเริ่มขึ้นในอัตราที่ช้าลง
เมื่อถึงจุดยอดอยู่ได้ซักพักมันก็จะกลับตัว
แล้วก็ขายไปหาตัวใหม่ที่กำลังจะกลับตัวเป็นขาขึ้น

นักลงทุนแนวหลายท่านใช้ความพยายามอย่างมากเพิ่อที่จะหาวิธีดูจุดกลับตัว คิดเครื่องมื่อมากมาย ตั้งแต่ RSI MACD STO หุ้นสูตรบัวพ้นน้ำ แนวรับแนวต้าน

นักลงทุนพื้นฐานก็ ใช้เรื่อง five force เพื่อบอกเทรนด์ทั้งสภาพการแข่งขัน คู่แช่งใหม่ อำนาจต่อรองลูกค้า อำนาจต่อรองผู้จัดส่งวัตถุดิบ สินค้าทดแทน เพื่อมองว่าหุ้นที่ถือยังไปต่อหรือไม่

หลายท่านก็พยายามหาหุ้นที่พื้นฐานกำลังกลับตัวเป็นขาขึ้น (turn around)

แต่สุดท้ายทั้งราคา และพื้นฐาน ก็ไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัย และไ่ม่อยู่ในอำนาจบังคับ เล่นหุ้นให้ไม่ขาดทุนต้องตังอยู่ในความไม่ประมาท

วันอังคารที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ความสัมพันธ์ของรายการตั้งสำรองกับงบการเงิน

ความสัมพันธ์ของรายการตั้งสำรองต่างกับงบการเงิน เป็นเรื่องที่ถ้าใครงงก็จะไม่เข้าใจ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของเกณฑ์คงค้างที่ต้องการปรับมูลค่าของสินทรัพย์และหนี้สินให้เป็นมูลค่าปัจจุบันเพื่อให้ส่วนของผู้ถือหุ้นสะท้อนความเป็นจริงมากที่สุด ยกตัวอย่างบริษัทแห่งหนึ่งไม่ได้ทำมาหากินอะไร สิ้นงวดก็ตั้งสำรองอย่างเดียวดังตาราง (โหลดเป็นไฟล์ excel ไปเล่นได้ ปุ่มโหลดอยู่ตรงมุมขวาล่างคับผม)
 

A ตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ

มีหนี้อยู่ 100 ปีที่แล้วตั้งสำรองไป 5% ก็ 5 บาท ปีนี้ หนี้ก้อนเดิมดูว่าจะเก็บไม่ได้ ก็ตั้งสำรองเพิ่มเป็น 8% ของยอดหนี้ก็ 8 บาท การบันทึกคือ ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้น 3 บาท

  • Dr(ที่ไปของเงิน) หนี้สงสัยจะสูญ 3 (รายจ่ายเพิ่ม)
    • Cr(ที่มาของเงิน) ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 3 (สินทรัพย์ลด)
ส่วนในงบกระแสเงินสดรายการนี้ไม่ได้จ่ายเป็นเงินสดก็นำมาบวกกลับจากกำไร

B มูลค่าสินค้าคงเหลือสุทธิ

มีสินค้าคงเหลืออยู่ 100 ด้อยค่าไป 10 เหลือ 90 ระหว่างงวดซื้อเพิ่มอีก 20 ยอดเพิ่มเป็น 120 แต่วันปิดงบราคาสินค้าคงเหลือตกเหลือมูลค่าแค่ 80 บาท แสดงว่าต้องตั้งสำรองค่าเผื่อด้อยค่าสินค้าคงเหลือ = 120-80=40 แสดงว่าของเดิมด้อยค่าอยู่แล้ว 10 ในงวดนี้ต้องตั้งด้อยค่าเพิ่มอีก 30 

  • Dr(ที่ไปของเงิน) ด้อยค่าสินค้าคงเหลือ 30 (รายจ่ายเพิ่ม)
    • Cr(ที่มาของเงิน) ค่าเผื่อด้อยค่าสินค้าคงเหลือ 30 (สินทรัพย์ลด)
ส่วนในงบกระแสเงินสดรายการนี้ไม่ได้จ่ายเป็นเงินสดก็นำมาบวกกลับจากกำไร

C กำไร (ขาดทุน) จากการขายสินทรัพย์

สินทรัพย์มูลค่า 100 ขายไป 80 ขาดทุน 20
  • Dr(ที่ไปของเงิน) เงินสด 80 (สินทรัพย์เพิ่ม)
  • Dr(ที่ไปของเงิน) ขาดทุนจากการขายทรัพย์สิน 20 (รายจ่ายเพิ่ม)
    • Cr(ที่มาของเงิน) ที่ดิน อาคาร์ อุปกรณ์ 100 (สินทรัพย์ลด)
ส่วนในงบกระแสเงินสด นำขาดทุนจากการขายทรัพย์สิน 20 มาบวกกลับใน CFO และนำเงินสดรับทั้งก้อน 80 มาบวกใน CFI

D ขาดทุนจากการด้อยค่าสินทรัพย์

ที่ดินอาคารอุปกรณ์มูลค่า 500 บาท สิ้นปีวัดมูลค่าเหลือ 450 เท่ากับสินทรัพย์มูลค่าลดลง 50บาท
  • Dr(ที่ไปของเงิน) ขาดทุนจากการด้อยค่าทรัพย์สิน 50 (รายจ่ายเพิ่ม)
    • Cr(ที่มาของเงิน) ค่าเผื่อด้อยค่าสินทรัพย์ 50 (สินทรัพย์ลด)

E กำไรจากการลดหนี้

สินปีเจ้าหนี้ลดหนี้ให้จาก 180 เหลือ 100  ทำให้เกิดกำไรจากการลดหนี้เท่ากับ 80
  • Dr(ที่ไปของเงิน) หนี้สิน 80 (หนี้ลด)
    • Cr(ที่มาของเงิน) กำไรจากการลดหนี้ 80 (รายได้เพิ่ม)
ในงบกระแสเงินสดนำรายการนี้หักออกเพราะไม่ได้รับมาเป็นเงินสด

F สำรองคดีความฟ้องร้อง

อยู่ดีๆโดนฟ้อง 50 บาท ด้วยความระมัดระวังต้องตั้งสำรองเป็นหนี้สินไว้ก่อน
  • Dr(ที่ไปของเงิน) สำรองคดีความฟ้องร้อง 50 (รายจ่ายเพิ่ม)
    • Cr(ที่มาของเงิน) หนี้สินคดีความฟ้องร้อง 50 (หนี้เพิ่ม)

G ดอกเบี้ยจ่าย

จากหนี้ 180 บาท ดอกเบี้ย 10% ต้องจ่ายเงิน 18 บาท
  • Dr(ที่ไปของเงิน) ดอกเบี้ยจ่าย 18 (รายจ่ายเพิ่ม)
    • Cr(ที่มาของเงิน) เงินสด 18 (สินทรัพย์ลด)
ในงบกระแสเงินสด นำดอกเบี้ยจ่ายที่เป็นเกณฑ์คงค้างมาบวกกลับใน CFO และนำไปหักออกใน CFF เพราะดอกเบี้ยควรเป็นรายจ่ายที่มาจากการจัดหาเงินไม่ใช่ดำเนินงาน