วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

เครดิตภาษีเงินปันผลคืออะไร

เครดิตภาษีเงินปันผลคืออะไร? บทความโดยคุณ Tar Kawin Suwantragul อธิบายได้ยอดมาก ใครยังงงๆ อ่านแล้วกระจ่าง เชิญอ่านโดยพลัน

สิ่งแรกที่คุณต้องรู้และทำในฐานะผู้มีรายได้ก็คือต้องจ่ายภาษีในอัตราที่กำหนดจากรายได้สุทธิ จะกี่ % ก็ว่าไป ทีนี้ถ้าเราลงทุนในหุ้นเราก็จะมีโอกาสได้เครดิตภาษีจากเงินปันผล จากการที่บริษัทที่จ่ายปันผลไป อาจจะมีความทับซ้อนกับรายได้บุคคลธรรมดา บางอันได้เครดิตภาษี บางอันไม่ได้ บางอันยกเว้นภาษี ขอแนะนำให้เปิดใบสีส้มๆดูประกอบ ตรงรายได้ 40 (4) (ข)

หลักการ


สมมุตบริษัทจ่ายปันผลเรา 700 บาท เราจะได้เงินโอนเข้าบัญชี 630 (หัก ณ ที่จ่าย 10%)

การคิดเครดิตภาษีคือการเอารายได้ที่เราควรจะได้มาคิดเทียบกันว่า มันมีการทับซ้อนของภาษีเท่าไหร่

ถ้าบริษัทจ่ายภาษีอัตรา 30% จ่ายเงินปันผลเรา 700 บาท แปลว่า มีเงินถูกจ่ายให้รัฐบาลไปแล้ว 300 บาท ถ้าไม่จ่ายรัฐเลยเราจะต้องได้เงินมา 1,000 บาท แต่ทั้งหมดเราได้ 630 จ่ายรัฐไป 370 บาทแล้ว

ก็มาดูที่ภาษีเรา ถ้า 1,000 บาทเราควรได้ จ่ายภาษีที่ 10% แปลว่าเราควรจ่ายที่ 100 บาท แปลว่าเราจ่ายไปให้รัฐเกินไป 370-100 รวมแล้ว 270 บาท อันนี้แหละที่เราจะขอคืนภาษีได้

ข้างบนคือหลักการ ต่อจากนี้จะเป็นวิธีคิดอัตราเครดิตภาษีโดย ให้เอา อัตรา/100-อัตรา ได้แก่

  • 30% = 30/70
  • 20% = 20/80
  • 23% = 23/77


แล้วเอาอัตรามาคูณภาษีที่จ่าย เช่น บริษัทจ่ายอัตราภาษี 30% เราได้ 700 บาท
เครดิตภาษีคือ 700 x 30/70 = 300 บาท ก็เหมือนที่ผมคิดข้างบนแหละ

แล้วก็เอาเงินปันผลมารวมกันเครดิตภาษี 700 + 300 = 1,000 บาท ที่มีการจ่ายภาษีไปแล้ว 370 บาท มาคิดรวมกับรายได้บุคคลธรรมดาตามฐานภาษีของทุกท่าน

ในอีกกรณี ถ้าบริษัทจ่ายภาษีอัตรา 20% ส่วนเราจ่ายภาษีอัตรา 30% ล่ะ? แล้วเราได้เงินมา 700 บาท หักภาษี 70 บาท รวม 630 ล่ะ?

เครดิตภาษีคือ 700 x 20/80 = 175 บาท นั่นแปลว่าเงินปันผลเราควรได้ 875 บาท แต่จ่ายภาษีไปแล้ว 245 บาท

ถ้าไม่จ่ายภาษี บริษัทต้องจ่ายเรา 875 บาท แล้วเราไปจ่ายเองอัตรา 30% รวมแล้วคือ 262.5 บาท แพงกว่า 245 บาทอีก นั่นแปลว่าถ้าเราขอเครดิตภาษีคือเราจะต้องจ่ายเพิ่มนะครัชชชชชช!!! หากเป็นเช่นนี้ ให้หักภาษี ณ ที่จ่ายไปเลย ไม่ต้องขอเครดิตอะไร

เพราะฉะนั้น... สรุปเลยว่า ถ้าฐานภาษีคุณน้อยกว่า 20% ก็น่าขอเครดิตภาษีคืนเพราะอัตราส่วนใหญ่ได้ประมาณ 23%-30% แต่ถ้าเคลมก็ต้องเอาทุกอันมากรอกร่วมกันนะครับ เอาอันที่เป็นประโยชน์ต่อเราอย่างเดียวจะโดนไม่น้อย คริคริ

คนได้ประโยชน์คือ

  1. คนรายได้น้อย (อย่างผม)
  2. คนทำงานไม่ประจำ (อย่างผม)
  3. คนมีรายได้ที่ไม่ส่งภาษี (ไม่รู้ใครบ้าง)
  4. ฯลฯ


แหม เชื่อว่าหลายคนอยากออมหุ้นสะสมเงินปันผลกันมากขึ้นล่ะซิ ได้ตังคืนเยอะ

Tar Kawin Suwantragul
ออมหุ้นได้ปันผลแล้วก็ขอคืนตามประโยชน์ของเราที่รัฐบาลอนุญาติซะนะ!!

ที่มา https://www.facebook.com/tartar1210page/posts/423928227710681?stream_ref=10

วันเสาร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2557

เทคนิคการปั่นหุ้นเบื้องต้น และการเอาตัวรอด

ในตลาดหุ้นจะมีเจ้ามืออยู่สองท่าน คือเจ้ามือตัวจริงคือผลประกอบการ และเจ้ามือแดกด่วน ที่คอยทำราคา แม้ในระยะสั้นเจ้ามือทั้งสองคนอาจทะเลาะกันบ้างราคาหุ้นอาจไม่สะท้อนมูลค่าที่แท้จริงของกิจการแต่ในระยะยาวแล้วเจ้ามือทั้งสองคนมักจะมาคืนดีกัน โดยชั้นตอนทั่วไปดังนี้
1. หุ้น A จำนวน 40 ล้านหุ้น
2. รายย่อยถือ 40% 16 ล้านหุ้น
3. ราคาตลาด 30 บาทต่อหุ้น
4. มูลค่า 40% ตามข้อสองเท่ากับ 480 ล้านบาท
5. เจ้ามือตัวจริงก็ขยันทำงานบริหารกิจการให้มี EPS เจริญเติบโตไป ส่วนเจ้ามือแดกด่วนก็ทำตัวเป็นไอ้โม่งค่อยๆเก็บหุ้นอย่างใจเย็น  ซึ่งอาจใช้เวลาหลายเดือน ราคาจะ side way ไม่ไปไหนแต่มี volume ซื้อขายทุกวัน สมมติให้เก็บหุ้นจำนวน 60% ของข้อ 2 เท่ากับ 9.6 ล้านหุ้น ใช้เงินเท่ากับ 288 ล้านบาท
ภาพที่ 1 แสดงเจ้ามือแดกด่วนทำตัวเป็นไอ้โม่งแอบเก็บหุ้นจากรายย่อยอย่างใจเย็น

6.หุ้น 9.6 ล้านหุ้น อยู่ในมือของ A B C D ซึ่งเป็นพวกเดียวกัน
7. สมมติฐานการเล่นหุ้น
    7.1 ถ้าราคาหุ้นวิ่งขึ้นเร็ว 40% ที่เหลือจากข้อ 5 จะขายไม่ทัน และอาจเปลี่ยนใจไม่ขาย
    7.2 การเปลี่ยนใจไม่ขายตาม 7.1 ค่อยขายในราคาที่สูงขึ้น โดยกลุ่ม F ซึ่งเป็นคนนอกจะเข้ามาซื้อ
8. ตารางการซื้อขายหุ้น
    8.1 50% ของข้อ 5. เท่ากับ 4.8 ล้านหุ้นใช้ไล่ราคาหุ้น

ปริมาณหุ้นที่เคาะซื้อราคาเฉลี่ยมูลค่าส่วนเพิ่มสะสม
4.83516.8-16.8
4.84019.22.419.2
4.84521.62.421.6
4.850242.424
4.85526.42.426.4
4.86028.82.428.8
4.86531.22.431.2
4.87033.62.433.6
4.875362.436
4.88038.42.438.4

   8.2 50% ของข้อ 5 เท่ากับ 4.8 ล้านหุ้น เก็บเอาไว้เฉยๆ
9. จากข้อ 8.1 ใช้เงินสดเท่าไรในการเข้าซื้อหุ้นจนราคาเป็น 80 บาท
10. เงินสด 38.4 ล้านบาทหายไปไหนหรือไม่
11. มูลค่าตลาดของหุ้นตามข้อ 8.1. ที่ 4.8 ล้านหุ้น ราคา 80 บาท เท่ากับ 384 ล้านบาท
12. มูลค่าตลาดของหุ้นตามข้อ 8.2. ที่ 4.8 ล้านหุ้น ราคา 80 บาท เท่ากับ 384 ล้านบาท
13. ปริมาณหุ้นในข้อ 11. และ ข้อ12. เทหายให้กลุ่ม F
14. ขณะที่ F เข้าซื้อที่ราคา 80 บาท พื้นฐานของหุ้น A เปลี่ยนไป โดยมี
   14.1 PE ratio ประมาณ 10-15 เท่า
   14.2 P/BV ประมาณ 4-5 เท่า
15 เกิดเงินงอกจากกิจกรรมในครั้งนี่เท่าไรลองคิดเอา
ภาพที่ 2 แสดง วัฐจักรหุ้นปั่น
ที่มา http://topicstock.pantip.com/sinthorn/topicstock/2010/08/I9543104/I9543104.html
เนื่องจากผลประโยชน์มหาศาล ใครๆที่มีเงินก็อยากจับกลุ่มเข้ามาทำราคา ถ้าหุ้นไม่มพื้นฐานรองรับราคาก็จะเหมือนพลุยิ่งชึ้นจากพื้นดินแล้วก็ตกสู่ดินเหมือนเดิมสร้างความเสียหายให้นักลงทุนมากมาย นานๆจะมี เจ้ามือทำราคาโดนกลต กล่าวโทษซักทีเช่น ในปี 2556 ก.ล.ต. ได้กล่าวโทษ ฉาย บุนนาค กับพวก รวม 13 ราย ต่อดีเอสไอ ปั่นหุ้น ไมด้า ลิสซิ่ง-แมกซ์ เมทัล คอร์ปอเรชั่น เผยพฤติกรรมซื้อขายในกลุ่ม-เคาะราคาให้เข้าใจผิด-พยุงราคา โดยมีเจ้าหน้าที่โบรกเกอร์ 2 ราย สนับสนุนการสร้างราคา
ภาพที่ 3 แสดงการสร้างราคาหุ้น ML และ MAX
ที่มากรุงเทพธุรกิจ http://daily.bangkokbiznews.com/home/20130402

แต่ถ้าหุ้นมีพื้นฐานรองรับ เช่น distar ที่ใครๆก็บอกว่าเป็นหุ้นเน่า แต่รุ่นลูกเข้ามาได้ทำการเปลี่ยนธุรกิจจากผลิตทีวี distar มาขายเครื่องสำอางค์ KAMART และได้กำไรอย่างงดงาม กลายเป็นเป็นหุ้น VI และราคาก็ไม่กลับมาที่เดิม (ถ้ายังขายเครื่องสำอางค์ได้กำไรอยู่นะ)

ภาพที่ 4 แสดงความคิดเห็นของคนในเว็ป pantip สมัยที่ใครๆก็บอกว่าเป็นหุ้นเน่า
ที่มา http://topicstock.pantip.com/sinthorn/topicstock/2010/08/I9543104/I9543104.html
สรุปก็คืออยากเอาตัวรอดให้ได้ก็เก็บของพร้อมเจ้ามือในช่วงที่ราคายัง side way เลือกหุ้นที่มีพื้นฐานรองรับ ราคายังมี upside หน่อยเมื่อปัจจัยนั้นเกิดขึ้นจริง ไม่ใช่ราคาเล่นด้วยความหวังลมๆ แล้งๆ จับต้องไม่ได้ ก็ปลอดภัยขึ้นเยอะครับ เจริญในการลงทุนทุกท่าน

วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

จังหวะเข้าซื้อแบบ VI

มาดูกันว่า VI hard core กับนัก Technical จะมาเจอกันได้อย่างไร ในทางทางเทคนิค คุณ SEHJU Research Center[1] ได้แบ่งระยะเป็น 2 Stage ดังนี้

"Stage 1 - Consolidation

ในช่วงระยะที่ 1 ราคาหุ้นนั้นจะยังไม่ได้รับความสนใจจากผู้เล่นในตลาดมากนัก โดยในช่วงนี้ รายได้, ยอดขาย และกำไร ในงบการเงินของบริษัท จะยังไม่เป็นที่จับตามองมากนักหรือไม่เป็นที่นิยมสนใจติดตาม ทำให้ยังไม่สามารถดึงดูดความสนใจจากบรรดานักลงทุนหรือกองทุนให้เข้ามาเทรดจนทำให้วอลุ่มของหุ้นนั้นเพิ่มขึ้นมาได้

ช่วงที่ 1 ของราคาหุ้น superperformance stocks สามารถเกิดขึ้นยาวนานเป็นหลายเดือนหรือหลายปี ซึ่งอาจเกิดจากสภาพการณ์ของตลาดที่ไม่ดี ดังนั้น เราควรหลีกเลี่ยงการซื้อหุ้นในช่วงที่ 1 นี้เอาไว้ก่อนแม้ว่า พื้นฐานของหุ้นจะน่าสนใจก็ตาม

ลักษณะของราคาหุ้นระยะที่ 1 :
- ราคาหุ้นจะ sideway และไม่มีการเคลื่อนไหวของราคาที่แน่นอนขึ้นๆลงๆ
- ราคาจะแกว่งอยู่แถวเส้น 200-day ไม่มีแนวโน้วที่ชัดเจน
- การสร้างฐานมักจะเกิดขึ้นหลังจากหุ้นปรับตัวลงในระยะที่ 4 มาเป็นเวลาอย่างน้อย 2-3 เดือนหรือมากกว่า
- วอลุ่มของหุ้นจะบางมากเมื่อเทียบกับระยะก่อนหน้า (ระยะที่ 4 ที่ผ่านมา)

เป้าหมายของเราไม่ใช่การซื้อที่ราคาต่ำที่สุดหรือถูกที่สุด แต่เป็น ณ ระดับราคา+จังหวะเวลาที่เหมาะสม(เวลาก็มีต้นทุน) นั่นคือ ควรเริ่มซื้อในตอนที่ราคานั้นได้ปรับตัวขึ้นและได้เห็นแนวโน้มที่ชัดเจน การพยายามเข้าซื้อหุ้นที่จุดต่ำสุดนั้นเป็นสิ่งที่ไร้ประโยชน์และสิ้นเปลืองเวลา ฉะนั้น เราควรจะรอให้หุ้นปรับตัว ขึ้นมาอยู่ในระยะที่ 2 เสียก่อน
กราฟราคา

การปรับตัวเข้าสู่ระยะที่ 2 อาจจะเกิดขึ้นโดยไร้การเตือนล่วงหน้า; ไม่มีการประกาศใดๆจากบริษัทหรือมีข่าวที่สำคัญ แต่สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือ วอลุ่มการเทรดจะเพิ่มขึ้นอย่างมากในวันที่ราคาปรับตัวขึ้น แล้วต่อมาวอลุ่มจะเบาบางเมื่อเกิดการหย่อนตัวลงมาของราคาหุ้น สิ่งที่ควรจะเกิดขึ้นเสมอก่อนการวิ่งของหุ้นเมื่อเข้าสู่ระยะที่ 2 และนำไปสู่การตัดสินใจซื้อ คือ การเพิ่มขึ้นของราคาอย่างน้อย 25-30% จากจุดต่ำสุดในช่วง 52 สัปดาห์ ์

การเคลื่อนไหวเข้าสู่ stage 2 :
1. ราคาหุ้นอยู่เหนือเส้น 150-day และ 200-day
2. เส้น 150-day อยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ย 200-day
3. เกิดจำนวน Up-weeks พร้อมวอลุ่มขึ้น มากกว่าจำนวนของ Down-weeks (up-weeks : ปิดสูงกว่าวีคก่อนหน้า, down-weeks : ปิดต่ำกว่าวีคก่อนหน้า)"

สรุปว่าทาง Technical เขาให้ซื้อตอนที่เห็น trend ชัดเจน เพราะอยู่ใน stage 1 มันเสียเวลา แต่ VI สาย hard core และขีเกียจนั่งดูราคาแบบจัดตั้งแต่ stage 1 แต่ภายใต้เงื่อนไขว่า
1 ธุรกิจพื้นฐานดีและกำไรสามารถเติบโตในอนาคต โดยมีโครงการใหม่ๆ เป็นปัจจัยเร่งรอรับรู้รายได้ทำให้กำไรกระโดด เช่น AKR กำลังมีกำไรจากการลดหนี้ 475 ล้าน, TPOLY ยังมีโรงไฟฟ้าชีวมวลกำลังสร้างรอรับรู้รายได้, GRAND มีรายได้รอโอน HYDE condominium , ILINK ไปลงทุนโครงข่ายอินเตอร์เน๊ตความเร็วสูงตามแนวรางรถไฟ ฯลฯ
2 ราคายังต่ำกว่ามูลค่าถ้า 1 เป็นจริง และต้องบอกให้ได้ว่าตัวเร่งตามข้อ 1 จะเกิดขึ้นจริงเมื่อไร กำไรเข้างบเมื่อไร

เมื่อรู้ดังนี้ค่อยๆสะสมไปนึ่งกระดิกตรีนรอเรื่อยๆ เดี๋ยวช่วงที่กำไรจากตัวเร่งใกล้ๆเข้างบราคาหุ้นก็จะเปลี่ยน stage จากstage 1ไปstage 2

หรือใครอยากวิเคราะห์แบบ VI แต่เข้าซื้อแบบ Technical ก็แคะหุ้นที่อย่ใน State 1 และราคายังมี upside เก็บเข้า watch list ไว้เยอะๆ พอTechnicalบอกให้ซื้อก็ซัดเลย แต่ปัญหาคือตอนขายนี่แหละมันจะสับสนในตัวเองเช่น ถือไปซักพัก  Technical บอกให้ขาย แต่ VI บอกว่าขายเมื่อราคาขื้นไปสะท้อนมูลค่า หรือพื้นฐานกับตัวเร่งเปลี่ยนแปลง ซึ่งตอนนี้ราคายังไม่สะท้อนมูลค่า พื้นฐานและตัวเร่งก็ยังเหมือนเดิม สรุปงงต้องเลือกเอาซักทางละ

เจริญในการลงทุนครับ

[1]https://www.facebook.com/photo.php?fbid=448443068615414&set=a.169230259870031.34546.167049863421404&type=1&theater

วันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2557

ค่าเสื่อมราคาวิธีเส้นตรงและวิธีจำนวนปีต่างกันอย่างไร

ค่าเสื่อมราคาวิธีเส้นตรงและวิธีจำนวนปีต่างกันอย่างไร บทความจากอาจารย์สรรพงษ์ [1]ครับ

มีคำถามเรื่องการคิดค่าเสื่อมราคาของโรบินสัน (ROBINS) มาดูนโยบายบัญชีครับ (จากหมายเหตุฯ ครับ)

ค่าเสื่อมราคา

ค่าเสื่อมราคาคำนวณจากมูลค่าเสื่อมสภาพของรายการอาคาร และอุปกรณ์ ซึ่งประกอบด้วยราคาทุนของสินทรัพย์หรือต้นทุนในการเปลี่ยนแทนอื่น หักด้วยมูลค่าคงเหลือของสินทรัพย์

ค่าเสื่อมราคาบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในกำไรหรือขาดทุน ตามเกณฑ์อายุการใช้งานโดยประมาณของสินทรัพย์แต่ละรายการ อาคารและอุปกรณ์ที่ซื้อหรือได้มาก่อนปี 2544 คำนวณค่าเสื่อมราคาโดยวิธีเส้นตรง ส่วนอุปกรณ์ที่ซื้อหรือได้มาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2544 คำนวณค่าเสื่อมราคาโดยวิธีผลรวมจำนวนปี ประมาณการอายุการใช้งานของสินทรัพย์แสดงได้ดังนี้

ราคาทรัพย์สินของกลุ่มบริษัทก่อนหักค่าเสื่อมราคาสะสมของอาคารและอุปกรณ์ ซึ่งได้คิดค่าเสื่อมราคาเต็มจำนวนแล้ว แต่ยังคงใช้งานจนถึง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 มีจำนวน 3,183 ล้านบาท (2554: 2,686 ล้านบาท)

ราคาทรัพย์สินของบริษัทก่อนหักค่าเสื่อมราคาสะสมของอาคารและอุปกรณ์ ซึ่งได้คิดค่าเสื่อมราคาเต็มจำนวนแล้ว

แต่ยังคงใช้งานจนถึง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 มีจำนวน 2,174 ล้านบาท (2554: 1,807 ล้านบาท)

ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ระหว่างก่อสร้าง

ระหว่างปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2555 บริษัทได้ซื้อที่ดินโดยมีความตั้งใจที่จะสร้างห้างสรรพสินค้าแห่งใหม่บนที่ดินดังกล่าว บริษัทเริ่มก่อสร้างห้างสรรพสินค้าใหม่ ทั้งนี้ต้นทุนที่เกิดขึ้นจนถึงวันที่ในรายงาน มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 772 ล้านบาท (2554: 609 ล้านบาท)

หลักทางการบัญชี

  1. การคิดค่าเสื่อมราคา สินทรัพย์แต่ละชนิด หรือแม้แต่สินทรัพย์ประเภทเดียวกัน สามารถคิดค่าเสื่อมด้วยวิธีและอายุใช้งานที่แตกต่างได้ จากการเปิดเผยในหมายเหตุฯ ของบริษัท สินทรัพย์ที่ซื้อหรือได้มาก่อนปี 2544 คำนวณค่าเสื่อมราคาโดยวิธีเส้นตรง ส่วนอุปกรณ์ที่ซื้อหรือได้มาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2544 คำนวณค่าเสื่อมราคาโดยวิธีผลรวมจำนวนปี 
  2. จากข้อมุลในงบการเงิน ในหมายเหตุ เราไม่สามารถรู้ได้หรอกว่า อะไร ส่วนไหนได้มาเมื่อไร ปีไหน เพราะนั้นไม่ใช่สาระสำคัญ
  3. สิ่งสำคัญคือ มีผลกระทบต่องบการเงินอย่างไรมากกว่า
  4. คำนวณค่าเสื่อมราคาโดยวิธีผลรวมจำนวนปีต่างกับการคำนวณค่าเสื่อมราคาโดยวิธีเส้นตรงคือ วิธีเส้นตรงเมื่อประมาณอายุใช้งานแล้ว ก็ไปหารมูลค่าต้นทุนได้มา (หักราคาซาก) อัตราค่าเสื่อมราคาจะคงที่ทุกปี ส่วนวิธีผลรวมจำนวนปี หาโดยประมาณอายุใช้งานก่อน เช่น 5 ปี ให้เอาตัวเลขผลรวม 1+2+3+4+5 = 15 แล้วคิดอัตราค่าเสื่อมดังนี้ ปีที่ 1 ใช้ 5/15 ปีที่ 2 ใช้ 4/15 ปีที่ 3 ใช้ 3/15 ปีที่ 4 ใช้ 2/15 และปีที่ 5 ใช้ 1/15 หรือคิดเป็น 33.3%, 26.7%, 20%, 13.3% และ 6.7% รวมแล้วก็เท่ากับ 100% พอดี เท่ากับเส้นตรงที่ตัดปีละ 20% ห้าปีก็ 100% เท่ากัน เพียงแต่ข้อสังเกตคือ แบบผลรวมจำนวนปี จะหักค่าเสื่อมราคาสูงในช่วงปีแรกๆ และลดลงในปีหลังๆ ถืเป็นการคิดค่าเสื่อมแบบ Declining method แบบหนึ่ง
  5. ในหลักบัญชีมีแนวคิดทางบัญชีอย่างหนึ่งคือ matching revenue concept หรือการจับคู่รายรับรายและรายจ่าย แบบเส้นตรง เชื่อว่ารายได้จากการใช้งานสินทรัพย์ (ผลิตขายของ) เกิดขึ้นค่อนข้างสม่ำเสมอ (ใช้ประสิทธิภาพการผลิตได้เต็มที่ ค่าใช้จ่ายในการบำรังรักษาเครื่องจักร (maintenance) เพื่อรักษาให้ผลิตได้สม่ำเสมอต่อเนื่อง ดังนั้นค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นจากการทยอยตัดต้นทุนสินทรัพย์ที่ใช้งานก็ควรเกิดขึ้นสม่ำเสมอคงที่ ส่วนแบบผลรวมจำนวนปี มีแนวคิดว่าสินทรัพย์จะให้ประโยชน์ (สร้างรายได้) ได้สูงในช่วงแรกๆ และประสิทธิภาพเริ่มลดลง หรือในอีกแนวคิดหนึ่ง ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นพื่อพยายามคงประสิทธืภาพการผลิต เช่นค่าบำรุงรักษาจะเริ่มสูงขึ้นในปีท้ายๆ ดังนั้นการทยอยตัดต้นทุนจึงกลับกัน โดยตัดต้นทุนเครื่องจักรสูงในปีแรกๆ และ ลดลงในปีท้ายๆ เพื่อให้รายได้และค่าใช้จ่ายโดยรวมที่เกี่ยวข้องสอดคล้องกันมากที่สุด
  6. ถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่า วิธีการคิดค่าเสื่อมราคาด้วยวิธีการแบบผลรวมจำนวนปีนั้น ในปีแรกๆ จะมีอัตราค่าใช้จ่ายสูงว่าอัตราที่เกณฑ์ทางภาษีกำหนด (5% สำหรับสิ่งปลูกสร้าง และ 20% สำหรับอุปกรณ์ เครื่องจักร เครื่องใช้สำนกงาน ฯลฯ) ผลคือเมื่อค่าใช้จ่ายทางบัญชีสูง สินทรัพย์ทางบัญชีน้อยกว่าสินทรัพย์ทางภาษี จะเกิดสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดในงบการเงิน 
  7. ในด้านการตกแต่งกำไรทางบัญชี ทำให้แนวโน้มเติบโตขึ้น หากวิเคราะห์ trend analysis พบว่าค่าขายเพิ่มขึ้นใน 3Q57 12.8% แต่ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่เพิ่มโดยรวม 14.3% (12%-21%) กำไรรวมเพิ่ม 11.1% เนื่องจากเป็นธุรกิจ trading ค่าเสื่อมราคาจึงถือเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหาร ซึ่งเพิ่ม 14.5% ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการขายเพิ่ม 21.4% การตัดค่าเสื่อมลดลงทำให้ค่าใช้จ่ายรวมที่แนวโน้มเกิดค่าใช้จ่ายในการขายสูงขึ้นจากภาวการณ์แข่งขันที่สูงขึ้น ลดแรงกดดันต่อกำไรสุทธิ

[1]https://www.facebook.com/sanpong.limthamrongkul/posts/10201876158364050?stream_ref=10

วันอังคารที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2557

ค่า Taxi ความผิดพลาดของกลไกราคา

คุณ Deer Freedom ได้โพสลง facebook [1]เกี่ยวกับค่าโดยสาร Taxi ว่า "จากถนนพระราม 4 มาท่าเรือสะพานตากสิน

  • นั่งมอไซร์เสีย 60 บาท
  • นั่ง Taxi เสีย 45 บาท

ความผิดพลาดของกลไกราคา จากแนวคิดเชิงเศรษฐศาสตร์ น่าจะเกิดจาก 2 สาเหตุ คือ

  1. ค่ามอไซร์แพงเกินไป
  2. ค่า Taxi ถูกเกินไป

แต่ถ้าประเมินสภาพแวดล้อมผมว่า ค่า Taxi บ้านเราถูกเกินไป เพราะสังเกตุได้จาก Taxi เลือกที่จะยอมรถว่างเพื่อปฏิเสธรับคนไทย แสดงว่าต้นทุนค่าเสียโอกาสส่วนเพิ่มมีมากกว่ากำไรส่วนเพิ่ม ในการรับคนไทย"

ผมมองว่าเรื่องค่า Taxi ที่ถูกเกินไปหรือไม่นั้นต้องดูว่าราคานี้ win-win ทั้งสองฝ่ายหรือเปล่า คนขับก็ต้องได้กำไร คนนั่งก็ต้องคุ้มค่าเงินที่เสียไป

มุมมองฝั่งคนขับ


ผมว่าที่เขาทำราคานี้ได้เกิดจาก การใช้ asset turnover ของรถที่สูงมาก สมมติรถ 1 คนมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยเดือนละ 40,000 บาท(ค่าผ่อน ค่าแกส ล้างรถ) คิดต่อวันที่ 1333 บาท แต่รถเขาวิ่ง 24 ชั่วโมง (2 กะ) สร้างรายได้วันละ 2-3 พันบาทก็พอมีกำไรเลี้ยงลูก เมีย

ในแต่ละวันคนขับ taxi จะพยายามแสวงหากำไรสูงสุดภายใต้ข้อจำกัด จากข้อกฎหมายที่มาควบคุมราคา ทั้งการเลือกรับลูกค้าที่ให้กำไรต่อหน่วยสูงกว่าอย่างเช่นลูกค้าชาวต่างชาติ ที่อาจได้ทิปพิเศษ รายได้จากการพาลูกค้าไปแหล่งท่องเที่ยวทั้งอาบอบนวด ร้านเพชร ฯลฯ นี่ยังไม่รวมการลดต้นทุนต่างๆ เช่นใช้ gas ngv ที่ประหยัดว่าการใช้น้ำมัน

ในขณะที่วินมอเตอร์ไซต์ ราคาขึ้นกับความพึงพอใจของคนขับกับลูกค้า


มุมมองฝั่งลูกค้า

การนั่ง Taxi เหมือนซื้อรถพร้อมจ้างคนขับส่วนตัวสมมมติให้ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับรถตกเดือนละ 10000 บาท ค่าจ้างคนขับเดือนละ 15000 รวมค่าใช้จ่าย 25000 บาท คิดเป็นค่าใช้จ่ายต่อวันที่ 833 บาท

ถ้าค่าใช้จ่ายการนั่ง Taxi ต่อวันที่ 400 บาท(ไป 200 กลับ 200) การนั่ง Taxi จะได้กำไรวันละ 433 บาท เดือนละ 12990 บาท ปีละ155880 เอาตังค์มาลงหุ้นได้สบาย

นอกจากนั้นระหว่างรถติดๆ แค่มี 3G แรงๆเราสามารถใช้เวลาไปวิเคราะห์หุ้นได้อีกอาจได้กำไรเป็นเท่าตัว

ดูแล้วการนั่ง Taxi ก็ win-win ทั้งคู่แต่ผมมองว่าคนขับ วินมอร์เตอร์ไซต์ได้กำไรเยอะกว่าเหนื่อยน้อยกว่าด้วย นั่งๆนอนๆรอลูกค้า แต่ Taxi ต้องขับวันไปเรื่อยๆ

[1]https://www.facebook.com/DeerFreeDom/posts/3857279647117

วันศุกร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2557

ธรรมะยามหุ้นตก

เมื่อหุ้นตกตกทำให้ความมั่งคั่งลดลง เกิดความทุกข์ขึ้นมาในใจสิ่งที่หลายๆท่านทำกันเช่น

  1. โทษสิ่งภายนอก QE การเมือง สภาวะเศรษฐกิจ AEC ทำให้ตลาดตกหุ้นตก
  2. หาแพะซื้อตามตามเซียนทั้ง เซียนเทคนิค เซียนVI มาร์เก็ตติ้ง นักวิเคราะห์
  3. เชื่อมั่นระบบการลงทุน เราทำตามระบบระยะยาวก็ได้กำไร vi ก็ปลอบใจว่าราคานี้ยังต่ำกว่ามูลค่า, Mr market เราควบคุมไม่ได้, ธุรกิจยังไปได้, เป็น VI ต้องถือยาว, เล่นเทคนิคก็บอกว่าสัญญาณบอกให้ cut lost เราก็คัด
  4. เครียดวิตกกังวล ขาดสติ วิญญาณนักพนันเข้าสิงอยากได้คืน ไปยอมรับการลงทุนที่ความเสี่ยงที่สูงขึ้น เห็นหุ้นลงก็ไปซื้อ long tfex สวนกะเล่นเด้งถอนทุนคืน
  5. ขยันทำงานหาเงินมาถัว
ถ้าสังเกตุดีๆ จะเป็นแนวทางสมถะคืนหนีปัญหาไปอยู่กับเรื่องอื่น ความทุกข์ก็ลดลงชัวคราว คิดอีกก็ทุกข์อีก ถ้าขาดสติก็ทุกข์ยาว

ในทางพระพุทธศาสนาแก้ทุกข์ระยะยาวด้วยการเดินปัญญา เข้าไปศึกษาตัวทุกข์มันตรงๆ จนรู้ทุกแจ่มแจ้งแล้วทุกข์จะลดลง ถ้ามองด้วยในเป็นกลางตลาดหุ้นจะประกอบด้วยเจ้ามือสองคนคืน
  1. เจ้ามือแดกด่วน คอยลากทุบราคาอยู่เรื่อยไป
  2. เจ้ามือตัวจริงคือผลประกอบการ
เจ้ามือที่ต้องสนใจาที่สุดคือเจ้ามือตัวจริงเพราะในระยะยาวแล้วราคาหุ้นจะไปสะท้อนกับเจ้ามือตัวจริงๆคือผลประกอบการดั้งนั้นถ้าบริษัทมีผลประกอบการในระยะยาวดีก็ไม่ต้องกังวลอะไร

แต่อย่างไรก็ตามเราก็ต้องอยู่กับเจ้ามือทั้งสองคนอยู่ดี เจ้ามือทั้งสองคนมีลักษณะเหมือนกันตามหลักไตรลักษณ์คือ ไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตามเหตุปัจจัย และไม่อยู่ในอำนาจบังคับ 
  • ราคาจะขึ้นลงเจ้ามืออยากทุบ ลาก ตามใจเขา
  • ผลประกอบการก็เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตามเหตุปัจจัย เศรษฐกิจ ต้นทุน ค่าแรง ดอกเบี้ย ความต้องการตลาด คู่แข่ง ผู้บริหารฯลฯ
แผนของคุณ & ความจริงที่คุณต้องเจอ

เมื่อเห็นความจริงตามนี้บ่อยๆ ใจจะค่อยคลายความยึดถือลง ใจจะค่อยๆคลายทุกข์ลง การลงทุนก็จะพยายามหาบริษัทที่ทำเหตุวันนี้ให้ดีพาบริษัทไปอยู่ในที่ที่เหตุเหมาะสม ทั้งสภาพการแข่งขัน แผนการตลาด แผนการจัดการ แล้วผลประกอบการก็จะออกมาดีเอง ถือหุ้นสบายอกสบายใจ ถ้าเห็นท่าไม่ดีทำอะไรแปลกๆ จะเจ้งในระยะยาวก็ขาย

เจริญในการลงทุนทุกท่าน

วันพฤหัสบดีที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2557

รายการในงบกระแสเงินสดจากการดำเนินงานบอกนัยทางธุรกิจได้

บทความขอวง อ.สรรพงศ์ ลิมป์ธำรงกุล[1] เรื่อง เรียนรู้รายการในงบกระแสเงินสดจากการดำเนินงานบอกนัยทางธุรกิจได้ เขียนเรื่องการวิเคราะห์งบกระแสเงินสดจากการดำเนินงานในสวนของการปรับปรุงรายการจากงบกำไรขาดทุนด้วยรายได้และรายจ่ายที่ไม่ใช่เงินสดได้ลึกมาก เชิญอ่านโดยพลัน

ในการอ่านงบการเงินนั้นบางครั้งหากเราดูแต่งบกำไรขาดทุนอาจจะไม่ได้พบอะไรมากนักเพราะ งบกำไรขาดทุนจะให้ภาพรวมๆมากกว่า ซึ่งบางครั้งเราอาจไม่ทราบบางเรื่องราวในธุรกิจ การดูแต่ตัวเลขกำไรนั้นอาจทำให้เราประเมินทิศทางธุรกิจผิดก็ได้ ขอสรุปการบอกความหมายจากตัวอย่างหัวข้อในงบกระแสเงินสดบางรายการ (ไม่ได้อ้างอิงตัวเลขเพื่อความสะดวกในการพิมพ์ครับ)

ปรับปรุงกำไร (ขาดทุน) ก่อนภาษีเงินได้เป็นเงินสดรับ (จ่าย)


  • ค่าเสื่อมราคาและตัดจำหน่าย –รายการนี้จะเป็นยอดรวมของค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายทั้งหมด ทั้งส่วนที่รวมในต้นทุนการผลิต (บางส่วนกลายเป็นค่าใช่จ่ายในต้นทุนขาย) และที่เป็นค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ในกิจการที่ลงทุนใน PPE สูงมากๆ รายการบวกกลับในงบกระแสเงินสดจะสูง ทำให้กระแสเงินสดจากการดำเนินงานสูงแต่กำไรสุทธิอาจจะต่ำ บางคนอาจถามว่ามากหรือน้อยดี ขึ้นกับลักษณะธุรกิจครับ อย่างที่ได้กล่าวถึงเรื่องค่าเสื่อมราคาในบทความ ความรู้ทางการเงิน การลงทุน และการบัญชี (20/12/56) การตัดค่าเสื่อมราคาวัตถุประสงค์จริงๆในทางทฤษฎี เพื่อกันเงินสดออกจากกำไรที่เกิดขึ้นเพื่อจัดหาเงินไป reinvest สินทรัพย์ใหม่ให้สามารถผลิต ขายเพื่อคงกำไรไม่น้อยกว่าระดับเดิม ทางบัญชีเรียกว่า capital maintenance ถ้ามองแบบหยาบๆว่า อายุและวิธีสมเหตุผลดีแล้ว

    การมีจำนวนมากๆ ก็แสดงว่าธุรกิจต้องการเงินลงทุนสูงในอนาคต ดังนั้นระดับเงินสดที่มากจึงไม่ใช่เรื่องดีมากมายอะไร แต่เป็นเรื่องปกติที่ควรต้องมี ไม่เช่นนั้นในอนาคต อาจต้องเพิ่มทุนมากหรือก่อหนี้มากในการหาเงินเพื่อลงทุนใน PPE ซึ่งต้องดูใน CFI (กระเงินสดในกิจกรรมการลงทุน) ว่าแต่ละปี แต่ละงวด มีการลงทุนต่อเนื่องหรือไม่ ถ้าลงทุนต่อเนื่องอาจจะไม่ต้องใช้เงินคราวละมากๆ (มีการ reinvest ตลอดเวลา)

    ส่วนบริษัทที่ตัดน้อย บวกกลับน้อย ควรเป็นบริษัทที่มี PPE ในสัดส่วนไม่มาก จึงถือว่าเหมาะสมถ้า กลับกันกับที่อธิบายมาทั้งหมด จะถือว่าไม่ดี แสดงว่ามีการทำ creative accounting สร้างกำไรโดยใช้การตัดค่าเสื่อมราคาสร้างกลลวงทางบัญชีได้
  • ดอกเบี้ยรับ – นำมาหักออกเพราะในทางบัญชีถือว่าดอกเบี้ยรับเป็นรายได้ของกิจกรรมการลงทุน ไม่ใช่การดำเนินงาน รายการนี้จะไปแสดงใหม่ในส่วนของกิจกรรมการลงทุน แต่ปรับยอดแสดงเป็นยอดเงินสดรับจากดอกเบี้ย ซึ่งแตกต่างจากยอดดอกเบี้ยรับทางบัญชี
  • ดอกเบี้ยจ่าย – นำมาบวกกลับเพื่อปรับยอดรายการที่บันทึกด้วยวิธีเกณฑ์สิทธิ์หรือเกณฑ์คงค้าง (accrual basis) ซึ่งรายการนี้จะหักใหม่ด้วยการจ่ายด้วยเงินสด ซึ่งอาจหักในกิจกรรมดำเนินงานหรือกิจกรรมจัดหาเงินก็ได้ ซึ่งตามมาตรฐานให้เลือปฏิบัติได้ ตรงนี้ก็เป็นช่องให้เกิดการเลือกปฏิบัติในการนำเสนอ มุมมองแยกเป็นสองมุมมองด้านนักบัญชีมองว่าค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยเป็นเรื่องการดำเนินงาน ส่วนนักการเงินมองว่าค่าใช้จ่ายดอกเบี่ยเป็นต้นทุนของกิจกรรมการจัดหาเงิน ในฐานะผู้ใช้งบ (นักลงทุน) ต้องระวังเมื่อนำมาเปรียบเทียบระหว่างบริษัทเพราะอาจมีการหักรายการดอกเบี่ยเงินสดไว้คนละที่
  • หนี้สงสัยจะสูญ – รายการนี้จะบวกกลับ บางครั้งบางบริษัทอาจแสดงแยกรายการในงบกำไรขาดทุน บางบริษัทอาจจะรวมในค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร จำนวนนี้บอกให้รู้ว่าระหว่างปีบริษัทตั้งสำรองค่าใช้จ่ายพอหรือไม่ เราตรวจสอบเบื้องต้นจากอัตราส่วน AR Turnover หากรอบหมุนเวียนเร็ว (มากกว่า 6 แสดงว่าเฉลี่ยเก็บเงินหรือให้ credit การค้าไม่เกิน 60 วัน) ก็ตั้งเพียงพอถ้ารอบน้อยแสดงว่าตั้งสำรองไว้น้อย ในภาวะเศรษฐกิจชลอตัว ยอดนี้ควรจะมากขึ้นได้ ในกิจการที่ขายเงินสด เช่นค้าปลีก หรือรับเงินสดอย่างโรงพยาบาล ไม่ควรมีสูงหากสูงแสดงว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นในธุรกิจ
  • ขาดทุนจากมูลค่าสินค้าลดลงรายการนี้จะแสดงบวกกลับ เช่นเดียวกับหนี้สงสัยจะสูญบางบริษัทอาจแสดงแยกรายการในงบกำไรขาดทุนหรืออาจจะรวมในค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารก็ได้ แต่ในทางหลักบัญชีที่ถูกต้องต้องรวมในต้นทุนขาย ที่กล่าวเช่นนี้เพราะบางบริบัทแสดงเป็นค่าใช้จ่ายอื่นแยกแสดงรายการจากต้นทุนขาย บอกอะไรหากแสดงไว้นอกต้นทุนขาย เพราะเมื่อหักค่าใช้จ่ายนี้ไว้นอกต้นทุนขายแสดงว่าเมื่อวิเคราะห์อัตราส่วนกำไรขั้นต้นจะสูงกว่าความจริงเพราะค่าใช้จ่ายนี้ไม่ถูกรวมอยู่ สมการต้นทุนขาย = สินค้าคงเหลือต้นงวด + (ซื้อ + ค่าใช้จ่ายการผลิตระหว่างงวด) – สินค้าคงเหลือปลายงวด เมื่อสินค้าคงเหลือประกอบด้วย วัตถุดิบ งานระหว่างทำ และสินค้าสำเร็จรูป การขาดทุนจากมูลค่าสินค้าลดลงทำให้สินค้าคงเหลือปลายงวดน้อยยลง นั่นคือต้นทุนขายสูงขึ้น การแสดงรายการนี้ไว้ผิดที่ก็แสดงว่าอาจกำลังพยายามบิดเบือนอัตากำไรขั้นต้น (Gross Margin) ดังนั้นถ้าเห็นรายการนี้ปรากฏขึ้น แล้วแนวโน้มอัตรากำไรขั้นต้นไม่ลดลง แสดงว่ามีแนวโน้มที่จะแสดงขาดทุนจากมูลค่าสินค้าลดลงที่อื่นที่ไม่ใช่ต้นทุนขาย (กำไรขาดทุนรวมไม่ผิดแต้การวิเคราห์อัรากำไรขั้นต้นผิดทำให้วิเคราะห์แนวโน้มธุรกิจผิดได้)
  • ขาดทุน(กำไร)จากการจำหน่ายสินทรัพย์ถาวรขาดทุนจะบวกกลับ ถ้ากำไรจะนำมาลบออก แสดงว่าในระหว่างงวดบริษัทมีการขายสินทรัย์ออก ถ้าจำนวนไม่มากก็เป็นการขายเศษซากสินทรัพย์เท่านั้นไม่มีสาระใดๆ แต่ถ้าจำนวนมากๆ (กำไร) แสดงว่าจะมีการสร้างรายการ one-time gain เพื่อแสดงกำไรรวมให้ดูสูง หากเราเอากำไรนี้ออก (โดยปรับอัตราภาษีออก เช่น กำไรจากการขายสินทรัพย์ 250 ลบ. เอากำไรนี้ออกจากกำไรสุทธิ ต้องลบด้วย 250*(1-t) = 250*(1-0.2) = 200)
  • ขาดทุนจากการตัดจำหน่ายสินทรัพย์ถาวร เป็นรายการบวกกลับ แต่บอกใหรู้ว่ามีสินทรัพย์ที่เลิกใช้งานเท่าไร และมีการเอารายการนี้ออดจากงบแสดงฐานะการเงิน ในภาวะปกติจะมีจำนวนน้อยเพราะสินทรัพย์ที่ตัดออกนี้มักจะตัดค่าเสื่อมจนหมดแล้ว (มักมีราคาซากน้อยมาก เช่น 1 บาท) แต่หากมีจำนวนมากแสดงว่ามีสินทรัพย์ที่เป็น non performing assets อยู่จำนวนหนึ่งซึ่งอาจหมายความว่าเกิดความล้าสมัยในเทคโนโลยีการผลิต หรืออาจเกิดเพราะกิจการมีการเปลี่ยนรูปแบบการผลิต หรือยกเลิกการผลิตในสายผลิตภัณฑ์นั้นและเครื่องจักรไม่สามารถนำไปใช้ในการผลิตได้อีก เราอาจต้องดูเชิงลึกถึงการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ กลยุท์การตลาด vision เป็นต้น
  • ขาดทุนจากการด้อยค่าสินทรัพย์ – เป็นรายการบวกกลับ รายการด้อยค่าจะเกิดขึ้นเมื่อมูลค่าที่จะได้รับจากสินทรัพย์ (ราคาขายสุทธิหรือมูลค่าจากการใช้ที่หามาจากมูลค่ากระแสเงินสดรับสุทธิที่เกิดจากการใช้สินทรัพย์นั้นในการผลิตขายแล้วแต่ค่าใดสูงกว่า) เทียบกับราคาตามบัญชีสุทธิขณะนั้น หากมูลค่าที่จะได้รับจากสินทรัพย์ น้อยกว่าก็จะเกิดการด้อยค่าสินทรัพย์ การด้อยค่านี้บอกนัยได้หลายอย่างคือ
    • ในภาวะปกติ บ่งบอกว่าที่ผ่านมาบริษัทตัดค่าเสื่อมราคาน้อยเกินไป (อดีตแสดงกำไรสูงไป)
    • ในภาวะเศรษฐกิจขาลง บอกว่ารายได้บริษัท(จากการขาย) กำลังลดลงในระยะยาว และมูลค่าสินทรัพย์นั้นๆก็กำลังลดมูลค่าลงมาก
  • ขาดทุนจากการด้อยค่าเงินลงทุนในบริษัทย่อย/ร่วม –เป็นรายการบวกกลับเช่นกัน แต่บอกให้รู้ว่าในบริษัทที่กิจการเข้าไปถือหุ้นอยู่นั้น เริ่มหรือเป็นกิจการในช่วง sunset หรือที่เข้าไปลงทุนนั้นซื้อมาในราคาแพงเกินไปเมื่อเปรียบเทียบกับกำไร(หรือกระแสเงินสด Free cash flow) ธุรกิจลูกเริ่มไม่สดใส หากมูลค่าบริษัทถูกประเมินเพราะคาดว่าการซื้อธุรกิจทำให้เกิด synergy อาจต้องทบทวนใหม่


เอาพอสังเขปเท่านี้ก่อน จะเห็นว่ารายการในงบกระแสเงินสด หากอ่านเข้าใจจริงๆ บอกเรื่องราวในบริษัทให้ขยายความได้ไม่น้อย การอ่านงบการเงินนอกจากดูและอ่านงบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จเป็นแล้ว การเข้าใจงบกระแสเงินสดจะช่วยส่องภาพธุรกิจได้ลึกยิ่งขึ้น

ที่มา
[1]https://www.facebook.com/sanpong.limthamrongkul/posts/10201760336788583