วันเสาร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2557

การหาผลตอบแทนของผู้ถือหุ้น (ke) ด้วย capm

ในการประเมินมูลค่าหุ้น ตัวแปรที่เป็นปัญหามากคืออัตราผลตอบแทนของผู้ถือหุ้น (ke) ที่คำนวณโดยอ้างอิงจากแบบจำลอง Capital Asset Pricing Model (CAPM) ปัญหาคือไม่รู้จะเลือกข้อมูลจากระยะเวลาไหนดี จะทำมั่วๆก็กลัวไม่มีเพื่อน ลองมานั่ง review การหาอัตราคิดลดของที่ปรึกษาการเงินมืออาชีพ จากรายงานความเห็นของที่ปรึกษาการเงินให้บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ครับ มาดูกันว่าชาวบ้านเขาหาค่ากันอย่างไร

เริ่มต้นที่ RS ซื้อ  Cap ad ที่มา [1]
RS


MONO ไปประมูลดีวิดิจิต้อล ที่มา [2]
MONO
คำเสนอซื้อกิจการ EIC ของเสี่ย บี เตชะอุบล [3]
EIC
นกแอร์จัดตั้งบริษัทร่วมทุน
NOK
ที่มา

[1] RS ความเห็นของที่ปรึกษาทางการเงินอิสระเกี่ยวกับการได้มาซึ่งสินทรัพย์ www.set.or.th/dat/news/201403/14019570.pdf


[2] MONO ความเห็นของที่ปรึกษาทางการเงินอิสระเกี่ยวกับการได้มาซึ่งสินทรัพย์ www.set.or.th/dat/news/201403/14018630.pdf

[3] EICนำส่งความเห็นของกิจการ และรายงานที่ปรึกษาทางการเงินเกี่ยวกับคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ (แบบ 250-2) www.set.or.th/dat/news/201403/14018039.pdf

[4] NOK ความเห็นของที่ปรึกษาทางการเงินอิสระเกี่ยวกับการได้มาซึ่งสินทรัพย์ www.set.or.th/dat/news/201403/14017331.pdf 17 มี.ค. 2557

ความรู้เบื้องต้นเทรด forex

forex เป็นตราสารอนุพันธ์ชนิดหนึ่งมูลค่าการซื้อขายใหญ่กว่าหุ้นหลายเท่า ตัวมันเองไม่มีค่าอะไรเป็นแค่กระดาษ แต่ค่าของมันผูกกับหลักทรัพย์อ้างอิง ในที่นี้คือ ค่าเงิน ของแต่ละประเทศ ตราสารที่เราซื้อเขาเรียกว่า future คับ คือซื้อหรือขายอัตราแลกเปลี่ยนในอนาคต ปกติคนในตลาดจะมีสองกลุ่มคือ คนป้องกันความเสี่ยง hedger กับนักเกร็งกำไร จะเกร็งกำไรค่าเงินมีคำศัพย์ที่ต้องรู้ประมาณนี้

การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของค่าเงินเรียกว่า pip

ถ้า EUR/USD เคลื่อนไหวจากราคา 1.2250 ไปที่ราคา 1.2251 เรียกว่า 1 pip ซึ่ง 1 Pip คือ ตัวเลขทศนิยมตัว สุดท้ายของค่าเงิน จากตัวทศนิยมสี่ตัว (ซึ่งบางครั้งก็ก็อาจจะมีถึงห้าจุด ซึ่งบ่งบอก ถึงจำนวน pip เหมือนกัน) ซึ่งเราสามารถใช้ Pip ในการประมาณผลกำไรขาดทุนได้ แต่ละค่าเงิน มีมูลค่าที่แตกต่างกัน เราจำเป็นต้องคำนวณมูลค่าของเงินต่อความเคลื่อนไหวต่อ pip ก่อน ในค่าเงิน ที่ที่ค่าเงินดอลล่าร์ อยู่ข้างหน้า จะถูกคิดดังนี้สมมุติเป็น คู่เงิน USD/JPY มีอัตราแลกเปลี่ยนอยูที่ 119.80(สังเกตุว่าค่าเงินดังกล่าว จะมีแค่สองจุดทศนิยม ซึ่งค่าเงินส่วนใหญ่จะมีสี่)ในกรณีของ USD/JPY เคลื่อนไหว 1 จุดจะเท่ากับ .01 ดังนั้น USD/JPY: 119.80.01 แบ่งตามอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงิน = pip value.01/119.80 = 0.0000834ซึ่งออกจะยาวไปหน่อย แต่เดี๋ยวเราจะเริ่มคำนวณ ขนาดของ lot กัน USD/CHF: 1.5250.0001 แบ่งตามอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงิน = pip value.0001 / 1.5250 = 0.0000655 USD/CAD: 1.4890.0001 แบ่งตามอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงิน = pip value.0001 / 1.4890 = 0.00006715 ในกรณีที่ค่าเงินดอลล่าร์อยู่ข้างหลัง การหาค่า จะมีวิธีการเพิ่มขึ้นอีกหน่อย ดังนี้EUR/USD: 1.2200.0001 แบ่งตามอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงิน = pip valueดังนั้น.0001 / 1.2200 = EUR 0.00008196แต่ว่าเราต้องคิดกลับไปเป็นค่าเงินดอลล่าร์อีกทีซึ่งก็คือ EUR x อัตราแลกเปลี่ยนดังนั้น0.00008196 x 1.2200 = 0.00009999เมื่อเราปัดเศษ ก็จะได้ 0.0001 GBP/USD: 1.7975.0001 แบ่งตามอัตราแลกเปลี่ยน = pip valueดังนั้น.0001 / 1.7975 = GBP 0.0000556แต่เราต้องกลับไปคิดเป็นค่าเงินดอลล่าร์อีกทีหนึ่งซื่งเท่ากับ GBP x อัตราแลกเปลี่ยนดังนั้น0.0000556 x 1.7975 = 0.0000998ถ้าเราปัศเศษทศนิยมก็จะได้ 0.0001 บางทีตอนนี้คุณกำลังอาจจะคิดอยู่ก็ได้ว่า ตกลงแล้วเราต้องคิดทั้งหมดทุกคู่ตลอดเลยรึเปล่า คำตอบคือ ไม่ เกือบทุกโบรคเกอร์จะมีรายละเอียดนี้ให้คุณอยู่แล้ว แต่มันก็ดีที่คุณจะรู้ว่ค่าเหล่านี้ามาจากไหน จะบอกว่าเรื่องนี้ มีประโยชน์ยังไง ในบทต่อๆ ไป

Lot คืออะไร?

ฟอร์เร็กซ์ จะเทรดเป็น lot ขนาดมาตรฐานของ 1 ลอท คือ 100,000 ยูนิท ซึ่งก็มีบัญชีแบบ มินิลอท เหมือนกัน ซึ่งมีมูลค่าเท่ากับ 10,000 ยูนิท และอย่างที่บอกว่า ค่าเงินนั้นคิดเป็น pip เป็นหน่วยที่เล็กที่สุด ของค่าเงินนั้นๆ ในการที่จะทำให้เราได้ประโยชน์จากจุดเล็กๆ จุดนี้ คือเราต้องเทรดจำนวนมาก จึงจะเห็น กำไร-ขาดทุนชัดเจนเช่น เราใช้ 100,000 ยูนิท (เท่ากับ 1 สแตนดาร์ดลอท) ลองยกมาคำนวณ เพื่อให้เห็นว่ามันส่งผลยังไงUSD/JPY ที่อัตราแลกเปลี่ยนเท่ากับ 119.80 (.01/119.80)x100,000 = 8.34 เหรียญต่อจุดUSD/CHF ที่อัตราแลกเปลี่ยนเท่ากับ1.4555 (.0001/1.4555)x100,000 = 6.87 เหรียญ ต่อจุดถ้าในกรณีที่เงินดอลล่าร์อยู่ข้างหลัง การคำนวณก็จะแตกต่างกันเล็กน้อยEUR/USD ที่อัตราแลกเปลี่ยนเท่ากับ 1.1930 (.0001/1.1930)x100,000 = 8.38x1.1930 = 9.99734 ถ้าปัดเศษได้ก็จะเท่ากับ 10 เหรียญต่อจุดGBP/USD ที่อัตราแลกเปลี่ยนเท่ากับ 1.8040 (.0001 / 1.8040) x 100,000 = 5.54 x 1.8040 = 9.99416 ถ้าปัดเศษก็จะได้เท่ากับ 10 ต่อจุด.โบรคเกอร์ของคุณ อาจจะมีวิธีการคิดมูลค่าของ pip ที่แตกต่างกันออกไป แต่ไม่ว่าจะเป็นวิธีการไหน พวกเขาสามารถบอกได้ว่า ค่าเงินที่คุณกำลังเทรดมูลค่าต่อหนึ่งจุดนั้น เป็นเท่าไหร่ในช่วงที่คุณกำลังเทรด ซึ่งถ้าตลาดมีการเคลื่อนไหว มูลค่าต่อจุดจะขึ้นอยู่กับ ค่าเงินที่คุณกำลังเทรดอยู่
แล้วเราจะคำนวณกำไรขาดทุนได้อย่างไร
ตอนนี้ คุณรู้ว่าจะคำนวณมูลค่าต่อจุดอย่างไร ลองมาดูต่อว่า เราจะคำนวณกำไร-ขาดทุนได้อย่างไรเช่น เราซื้อดอลล่าร์สหรัฐ และขายสวิสฯฟรังค์ (usd/chf)สมมุติว่า อัตราแลกเปลี่ยนตอนนี้อยู่ที่ 1.4525/1.4530 (bid/Offer) เพราะว่าคุณกำลังซื้อเงินดอลล่าร์ คุณจะได้ราคาที่ 1.4530ถ้าซื้อที่ 1 สแตนดาร์ด ลอท (100,000 ยูนิท) ที่ราคา 1.4530. ไม่กี่ชั่วโมงต่อมา ราคาเคลื่อนไหว ขึ้นไปที่ 1.4550 และคุณตัดสินใจที่จะปิดออร์เดอร์อัตราแลกเปลี่ยนตอนนี้จะเท่ากับ 1.4550/1.4555 หลังจากที่ปิดออร์เดอร์ เรากลับไปดูตั้งแต่ที่ ซื้อจน ปล่อยขาย เพื่อปิดออร์เดอร์ คุณจะได้ราคาที่ 1.4550 ซึ่งเป็นราคาที่เราปิดได้ความแตกต่างของ 1.4530 กับ 1.4550 คือ .0020 หรือเท่ากับ 20 pipเราใช้สูตรก่อนหน้านี้ เราก็จะได้ (.0001/1.4550) x 100,000 1= 6.87 ต่อจุด x ด้วย 20 จุด ซึ่งจะ ได้กำไรทั้งหมด 137.40 เหรียญจำไว้ว่า เมื่อคุณเข้าหรือออก จากการเทรด คุณจะต้องจ่ายค่า spread เหล่านั้นด้วย ซึ่งก็คือส่วนต่าง ระหว่าง Bid/Offer ดังกล่าวเมื่อ Buy ค่าเงินค่าเงินหนึ่ง คุณจะต้องเสนอ(offer)ราคา และเมื่อ Sell คุณก็ต้องตั้ง(Bid)ราคา** ดังนั้นเมื่อ Buy ค่าเงิน คุณจะต้องจ่าย spread เมื่อเข้าเทรด แต่ไม่ต้องจ่ายเมื่อปิดออร์เดอร์** และเมื่อ Sell ค่าเงิน คุณไม่ต้องจ่าย spread ตอนเข้าเทรด แต่คุณจะต้องจ่ายเมื่อคุณปิดออร์เดอร์

leverage คืออะไร?

คุณอาจจะเคยคิดว่า นักลงทุนเล็กๆอย่างคุณ จะสามารถเทรดค่าเงินมากมายขนาดนั้นได้อย่างไร ลองคิดเปรียบว่า โบรคเกอร์ก็คือธนาคาร ซึ่งเขาอยากให้คุณซื้อค่าเงินมูลค่า 100,000 เหรียญ โดยที่เขา ต้องการเงินจากคุณเพียงแค่ 1,000 เหรียญ เพื่อค้ำประกัน ฟังดูง่ายเกินไปในโลกของความจริงใช่ไหม? แต่ว่า นี่แหละคือฟอร์เร็กซ์ และ นี่ก็คือ Leverage ที่เราใช้จำนวน leverage ที่คุณใช้ ขึ้นอยู่กับโบรคเกอร์ และขึ้นอยู่กับตัวคุณว่า ต้องการใช้เท่าไหร่โบรคเกอร์จะให้คุณฝากเงินเข้า ที่เราเรียกกันว่า margin หรือ initial margin เมื่อฝากเงินเข้าบัญชี คุณจะสามารถเทรดได้ทันที และโบรกเกอร์ก็จะบอกว่า คุณต้องใช้เงินเท่าไหร่ในการเทรดจำนวน ลอทนั้นๆเช่น ถ้า leverage ที่เราใช้เท่ากับ 100:1 (หรือ 1 เปอร์เซ็นต์ ของ position ต้องใช้) และคุณ ต้องการเทรด มูลค่า 100,000 เหรียญ โบรคเกอร์จะเรียกมาร์จิ้น 1,000 เหรียญ ดังนั้นถ้ามีเงิน 5,000 เหรียญ จะเทรดได้มากสุดถึง 500,000 เหรียญมาร์จิ้นอย่างต่ำต่อลอท จะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละโบรคเกอร์ จากตัวอย่างข้างบน โบรกเกอร์ จะต้องใช้มาร์จิ้น 1% ซึ่งหมายความว่า ออร์เดอร์มูลค่า 100,000 ซึ่งคุณจะต้องฝากเงินเข้าไป 1,000 เหรียญ เพื่อที่จะฝากเป็นมาร์จิ้นนั่นเอง

Margin Call คืออะไร?

ในเหตุการณ์ที่เงินในบัญชีของคุณลดลง จนเหลือน้อยกว่ามาร์จิ้นขั้นต่ำ (มาร์จิ้นที่คุณต้องใช้ในการถือ position) โบรคเกอร์จะทยอยปิดออร์เดอร์ที่คุณเปิดอยู่ เพื่อป้องกันไม่ให้บัญชีคุณขาดทุนจนติดลบ โดยเฉพาะเวลาที่ตลาดมีความผันผวนสูง คือราคามีการเคลื่อนไหวกว้างตัวอย่างที่ 1คุณเปิดบัญชีฟอร์เร็กซ์ ด้วยเงิน 2,000 เหรียญ(ไม่ใช่ความคิดที่ดี) คุณเปิดบัญชี 1 สแตนดาร์ด ลอท( 100,000 unit) ของค่าเงิน EUR/USD ซึ่งต้องใช้มาร์จิ้น 1,000 เหรียญ มาร์จิ้นที่เหลืออยู่ คุณสามารถเปิดออร์เดอร์เพิ่ม หรือสามารถรองรับการขาดทุนของออร์เดอร์ที่เปิดอยู่ ตั้งแต่แรกที่เปิดบัญชี 2,000 เหรียญ คุณมีมาร์จิ้นที่สามารถใช้เทรดได้ 2,000 เหรียญ แต่เมื่อเทรด 1 สแตนดาร์ดลอท ซึ่งจะใช้มาร์จิ้น 1,000 เหรียญ และมาร์จิ้นที่จะเหลืออยู่ คือ 1,000 ถ้าคุณเสียมากกว่ามาร์จิ้นที่เหลืออยู่ คือ 1,000 เหรียญ คุณจะโดน margin callตัวอย่างที่ 2คุณเปิดบัญชีด้วยเงิน 10,000 เหรียญ แล้วเปิดบัญชี 1 สแตนดาร์ดลอท ของค่าเงิน EUR/USD จะต้องใช้ margin 1,000 เหรียญ มาร์จิ้นที่เหลือเป็นเงินที่สามารถใช้ในการเปิดออร์เดอร์ หรือ เอาไว้รองรับการขาดทุนจากออร์เดอร์ที่เปิดอยู่ ดังนั้ถ้าเปิดที่ 1 standard lot ด้วยมาร์จิ้น 10,000 เหรียญ หลังจากเปิดออร์เดอร์ จะมีมาร์จิ้นเหลืออยู่ 9,000 เหรียญ เพราะ 1,000 เป็นมาร์จิ้นที่ถูกใช้ไปแล้ว ถ้าคุณเสียมากกว่ามาร์จิ้นที่เหลือ 9,000 เหรียญ คุณก็จะถูก margin call ต้องทำความเข้าใจกับความแตกต่างของ

มาร์จิ้นที่ถูกใช้ไป (used margin) กับ มาร์จิ้นที่เหลืออยู่ (usable margin) คืออะไร

ถ้ามูลค่ารวมของบัญชีคุณ มีน้อยกว่ามาร์จิ้นที่เหลือ เนื่องมาจากผลขาดทุนของการเทรด คุณจะต้อง ฝากเงินเพิ่ม หรือไม่เช่นนั้นโบรคเกอร์จะปิดออร์เดอร์ของคุณ เพื่อจำกัดความเสี่ยงของคุณ และความเสี่ยง ของโบรคเกอร์เอง เพื่อไม่ให้คุณเสียมากกว่าที่คุณเทรดถ้าเทรดโดยใช้บัญชีแบบมาร์จิ้น (ยืมเงินโบรคเกอร์เล่น แบบตลาดหุ้น) มันสำคัญมากที่จะต้องเข้าใจ นโยบายเกี่ยวกับบัญชีมาร์จิ้นให้ละเอียดควรจะรู้ว่าโบรคเกอร์ส่วนใหญ่ จะเรียกมาร์จิ้นเพิ่มขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ ครั้งแรกพวกเขาอาจจะให้ใช้ มาร์จิ้นที่ 1% ช่วงกลางสัปดาห์ ถ้าคุณถือ position ข้ามสัปดาห์ อาจจะต้องใช้มาร์จิ้นเพิ่มขึ้นจาก 1% เป็น 2% หรืออาจจะสูงกว่านั้นเรื่องของมาร์จิ้น เป็นเรื่องที่น่ารำคาญใจ และบางคนบอกว่า การใช้มาร์จิ้นเยอะเกินไปเป็นเรื่องอันตราย ขึ้นอยู่กับความเข้าใจของแต่ละบุคคล แต่สิ่งสำคัญที่ควรรู้คือ คุณควรจะเข้าใจเงื่อนไขหรือนโยบาย เกี่ยวกับ มาร์จิ้น ของโบรคเกอร์ จะได้เข้าใจถึงความเสี่ยงที่มีอยู่ด้วยนั่นเองบางโบรคเกอร์ได้อธิบายเกี่ยวกับการใช้ leverage ในรูปแบบของเปอร์เซ็นต์มาร์จิ้น โดยใช้หลักการ ธรรมดาๆ ระหว่าง 2 แบบ คือLeverage = 100 / เปอร์เซ็นต์มาร์จิ้น เปอร์เซ็นต์มาร์จิ้น = 100 / LeverageLeverage ส่วนใหญ่จะแสดงอยู่ในรูปแบบอัตราส่วน เช่น 100 :1 หรือ 200 : 1

https://www.facebook.com/aecwebcams/posts/1486363331587020?stream_ref=5

วันพฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2557

REIT ต่างจากกองทุนรวมอสังหาฯ อย่างไร?

ความจริงความแตกต่างมีเยอะในหลากหลายแง่มุมนะครับ ผมขอยกมาบางส่วนก็แล้วกัน

  • REIT สามารถกู้ยืมเงินได้มาก อาจสูงถึง 60% ของมูลค่าสินทรัพย์ทั้งหมด ขณะที่กองอสังหาฯ กู้ยืมได้ไม่เกิน 10%
  • ความหมายก็คือ หากจะลงทุนในอสังหาริมทรัพย์มูลค่า 100 ล้านบาท ถ้าเป็นกองอสังหาฯ คุณต้องควักเงินของตัวเองอย่างน้อย 90 ล้านบาท แต่ถ้าจัดตั้งเป็นกอง REIT คุณอาจควักเงินแค่ 40 ล้านบาทก็พอ ที่เหลือกู้เอา
  • กองอสังหาฯ ไม่สามารถลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่ยังสร้างไม่เสร็จ ขณะที่กอง REIT สามารถทำได้
  • กองอสังหาฯ ไม่สามารถลงทุนในต่างประเทศ ส่วนกอง REIT ทำได้

ตามมุมมองของผม กอง REIT มีความยืดหยุ่นมากกว่า และอาจให้ผลตอบแทนสูง แต่ก็มีโอกาสที่นักลงทุนจะต้องรับความเสี่ยงมากกว่าเช่นกัน

ศึกษาข้อมูลต่อได้ที่ http://www.set.or.th/th/products/listing/files/Brochure_REIT.pdf


ที่มา https://www.facebook.com/MonkeyFreeTime/posts/622470014495701?stream_ref=1

วันเสาร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2557

แนวทางการวิเคราะห์หุ้น turnaround

หุ้น turnaround เป็นหุ้นที่ให้ผลตอบแทนสูง แต่ก็วิเคราะห์ยากไม่ใช่เล่น หลายตัวก็ไม่ turn จริง มาแป้บเดียวก็ลงกลับมาที่เดิม บ่ทความนี้รวบรวมจาก บทความการวิเคราะห์หุ้น turnaround ของอาจารย์ สรรพงศ์ ลิมป์ธํารงกุล[1][2] เขียนสรุปแนวทางการวิเคราะห์หุ้น turnaround ได้ดีมาก มีสองตอนเลยนำมารวบไว้ที่เดียวครับมันเยี่ยมจริง

นักลงทุนแนววีไอกลุ่มหนึ่งมักชอบพูดถึงและหาหุ้น turnaround ถ้าจะเขียนบทความมีมากมาย ตั้งแต่ อะไรที่เรียกว่า turnaround จริงๆ กับแบบปลอมๆ ที่หลายคนชอบบอกว่านี่คือหุ้น turnaround บางคนบอกว่า fundamental กำลังเปลี่ยนบ้างละ การมีกำไรกลับคืนมาในบางธุรกิจอาจไม่ใช่เรื่องของ fundamental change ก็ได้ครับ แค่เพียงตลาดฟื้นตามวัฏจักรราคาเท่านั้น หรือได้งานเข้ามาใหม่ แต่รูปแบบกลยุทธ์การแข่งขัน การดำเนินธุรกิจ หรือปัญหาเดิมๆ ไม่ได้รับการแก้ไขแท้จริง ไม่ช้าบริษัทนั้นก็จะเข้าวังวนเดิมอีก นี่คือเหตุผลหนึ่งที่จะเห็นว่าบัฟเฟตตไม่นิยมกล่าวถึงการลงทุนในหุ้น turnaround ธุรกิจที่กำลังจะล่มสลาย ส่วนใหญ่มีที่มาจากสาเหตุพื้นๆ ซึ่งคล้าย คลึงกัน เช่น ผู้บริหารไม่เก่ง หรือโกง หรือไม่ก็ควบคุมเรื่องเงินทองไม่ทั่วถึง บริหารนโยบายการเงินผิดพลาด ทำให้รั่วไหล เกิดการใช้เงินผิดประเภท หรือใช้จ่ายเกินตัว เป็นต้น

สาเหตุแห่งความถดถอย


ถ้ามาวิเคราะห์ถึง สาเหตุหลักแห่งความถดถอยของธุรกิจตามที่ Stuart Slatter รวบรวมจากกิจการในประเทศอังกฤษซึ่งคล้ายคลึงกับกิจการที่ต่างๆ และนำมาประยุกต์ใช้ในเมืองไทย สามารถจัดเป็นกลุ่มสำคัญๆ ได้ดังต่อไปนี้คือ

1. ผู้บริหารขาดความสามารถ


Carl Von Clausewitz เคยกล่าวไว้ในหนังสือ On War ว่า ความสามารถทางสติปัญญา ความมุ่งมั่น ตลอดจนคุณธรรมของผู้นำ มีความสำคัญมาก แม้แต่ซุนวู ก็กล่าวทำนองเดียวกันนี้มา ในทางธุรกิจก็เช่นกัน หากผู้นำหรือคณะผู้นำไร้ความสามารถ ขาดความรู้ความชำนาญในธุรกิจของบริษัท หรือขาดคุณธรรมในเชิงการจัดการ ไม่สามารถเป็นตัวอย่างในทางสร้างสรรค์ให้ลูกน้องได้แล้ว โอกาสที่ธุรกิจนั้นจะล้มเหลวก็มีสูง วอร์เรน บัฟเฟตต์ จะให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกในการลงทุนในกิจการใดกิจการหนึ่ง กิจการที่ผู้คณะบริหารละเลยไม่ใส่ใจต่อบริษัท เอาแต่หาผลประโยชน์ส่วนตัว หรือละเลย Core Business ของบริษัท ไปสนใจเรื่องเล็กเรื่องน้อย หรือเรื่องอื่นที่ไม่ใช่หัวใจสำคัญแห่งการอยู่รอดหรือเจริญเติบโตของกิจการ ก็อาจถึงการถดถอยในไม่ช้า ตัวอย่างในทำนองนี้ มีให้เห็นมากมายในแวดวงธุรกิจไทย

2. หละหลวมเรื่องเงินทองหรือการควบคุมภายใน


กิจการใดที่ระบบควบคุมทางการเงินไม่มีประสิทธิภาพ หรือระบบการตรวจสอบอ่อนแอโอกาสที่จะเกิดรั่วไหลก็มีสูง การรั่วไหลในที่นี้ มีทั้งตั้งใจโกง หรือไม่ได้ตั้งใจ เนื่องเพราะไม่มีระบบเตือนภัยทางการเงิน ระบบควบคุมต้นทุน (Costing systems) หรือระบบงบประมาณรวม (Budgetary Control) หลายบริษัทล้มเหลวเพราะปัญหาการทุจริตในองค์กร ที่เลวร้ายต่อนักลงทุนคือการฉ้อโกงของผู้บริหารและมีประวัติทำการตกแต่งตัวเลขทางบัญชี

3. การแข่งขันในอุตสาหกรรมสูงและรุนแรง


การแข่งขันที่รุนแรงขึ้นทั้งในแง่ของการตัดราคาและการแข่งกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริษัทที่อ่อนแอกว่าจะถดถอยลง กิจการที่ไม่เคยเจอการแข่งขันอย่างรุนแรงมาก่อน พอมีผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามาในอุตสาหกรรม แล้วเปลี่ยนกฎเกณฑ์การแข่งขันใหม่อย่างรวดเร็ว ก็อาจทำให้กิจการเดิมนั้นปรับตัวไม่ทันจนถดถอยก็มี ตัวอย่างมีให้เห็นในธุรกิจค้าปลีกและห้างสรรพสินค้า ในสภาพแวดล้อมใหม่ของอุตสาหกรรมค้าปลีกไทยนั้น จะเห็นได้ว่ากลุ่มเซ็นทรัลเป็นผู้ที่อยู่รอด เพราะสามารถปรับตัวให้เข้ากับ Pattern ของการแข่งขันใหม่ได้ ด้วยการขยาย Line ของผลิตภัณฑ์ (ซึ่งแต่เดิมมุ่งเน้นเฉพาะห้างสรรพสินค้า) หรือใช้กลยุทธ์ขยายแบบ Horizontal strategies เพื่อต่อกรกับผู้เล่นหน้าใหม่ซึ่งถึงเวลานี้ก็ไม่ได้จำกัดเฉพาะซีพีแล้ว แต่รวมถึงคาร์ฟูร์ โลตัส และ แม็คโคร ฯลฯ

การปรับตัวของผู้ประกอบการเดิม ย่อมต้องอาศัยปัจจัยหลายประการถึงจะประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นทุน ความคิดสร้างสรรค์ และความเข้าใจแบบใหม่

ส่วน “สงครามราคา” นั้น ต้องทำโดยการควบคุมต้นทุนให้ต่ำกว่าคู่แข่งขัน พร้อมกับต้องพัฒนาความแตกต่างของสินค้าและบริการของตนเมื่อเทียบกับคู่แข่ง

4. ต้นทุนที่สูง


กิจการที่มีโครงสร้างต้นทุนสูงกว่าคู่แข่งขัน ย่อมเสียเปรียบ ในแง่การลงทุนที่เห็นชัดเจนคือมี gross margin ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั่วไปของอุตสาหกรรม ซึ่งถ้าแก้ไขไม่ได้ ในระยะยาวแล้ว กิจการนั้น มักเข้าสู่ภาวะถดถอย เพราะต้องสูญเสียส่วนแบ่งการตลาด เนื่องจากต้องขายแพงกว่าคู่แข่ง หรือ ถ้าขายเท่ากัน กำไรก็จะลดลงเรื่อยๆ จนขาดทุนในที่สุด

โดยทั่วไปแล้ว โครงสร้างต้นทุนที่สูงกว่าคู่แข่งขัน จะเกิดจากสาเหตุใหญ่ๆ 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเพราะมี ค่าใช้จ่ายคงที่สูง เป็นสาเหตุที่แก้ไขได้ด้วยการเพิ่ม Economy of Scale ในการผลิต การควบคุมและลดส่วนที่ไม่จำเป็นลง ลดด้วยเทคนิคที่วิเคราะห์ ABM (Activity Based Management) และทักษะความชำนาญในการผลิตให้กับพนักงาน

สาเหตุกลุ่มที่สองซึ่งทำให้โครงสร้างต้นทุนสูงกว่าคู่แข่ง เป็นแบบถาวรที่ ปรับเปลี่ยนแก้ไขได้ยาก หรือที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Absolute cost disadvantages ส่วนนี้มาจากส่วนที่เป็น Variable Cost เช่น การที่คู่แข่งสามารถครอบครองแหล่งวัตถุดิบได้อย่างถาวร หรือการที่คู่แข่งสามารถจัดจ้างพนักงานค่าแรงทางตรงที่ค่าตัวถูก หรือการที่คู่แข่งเป็นเจ้าของครอบครองสูตร หรือ know-how การผลิต หรือการที่คู่แข่งได้เปรียบในเรื่องสถานที่ตั้งและการขนส่ง เป็นต้น หากกิจการต้องปะทะกับ คู่แข่งที่เหนือกว่าในเชิงต้นทุนแบบถาวรนี้ โอกาสที่เจ๊งก็มีสูง

นอกจากนั้น สาเหตุอื่นที่ทำให้โครงสร้างต้นทุนสูงกว่าคู่แข่งขันอาจเกิดเนื่องมาแต่ความไร้ประสิทธิภาพในการทำงานหรือความซับซ้อนของการจัดองค์กร หรือ สไตล์ของผู้บริหารเป็นแบบฟุ่มเฟือย หรือ บางทีก็อาจเป็นเพราะเพิ่งจะขยายไปสู่ธุรกิจอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเดิม ทำให้การเกื้อกูลในเชิงต้นทุนไม่มี (เรียกได้ว่ากลยุทธ์ขยายกิจการผิดพลาด ไม่เกิด synergy) หรือ บางทีกฎเกณฑ์ของรัฐบาลและกฎหมายบางอย่าง ก็อาจทำให้ต้นทุนของกิจการบางประเภทสูงกว่าคู่แข่งขันได้เช่นเดียวกัน สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นต้นเหตุของปัญหาความถดถอยของธุรกิจทั้งสิ้น

5. ผู้บริโภคเปลี่ยนรสนิยม


การเปลี่ยนแลงในรสนิยมลูกค้านี้ ทำให้บริษัทมีรายได้หายวับไปทันที ปกติหากการเปลี่ยนค่อยเป็นค่อยไป บริษัทอาจปรับตัวทันในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาด สร้างตลาดกลุ่มใหม่ทดแทนกลุ่มเดิม แต่ในโลกปัจจุบัน ด้วยเทคโนโลยีและการสื่อสารที่กระจายข่าวอย่างกว้างขวางรวดเร็ว อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงในรสนิยมอย่างรวดเร็ว หากบริษัทปรับตัวไม่ทันก็จะได้รับผลกระทบสูง

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในปัจจุบัน คือการที่ผู้บริโภคในยุโรปปฏิเสธการกินอาหารแบบตัดต่อยีน (GMO Food) ก็ทำให้บริษัทอาหารทั่วโลกที่พึ่งเทคโนโลยีนี้กระเทือนอย่างแรง หรือ แม้แต่เจ้าแห่งฟาสต์ฟู้ด อย่าง McDonald ก็กำลังประสบปัญหา เนื่องเพราะคนรุ่นใหม่เริ่มมองว่าอาหารฟาสต์ฟู้ดไม่มีคุณค่าทางโภชนาการและเป็นภัยต่อสุขภาพ

หรืออย่างเมื่อไม่นานมานี้ Black Label ยังเป็นเหล้าที่ขายดีมาก แต่มาบัดนี้ ยอดขายของ Black Label ตกฮวบ เนื่องเพราะคนรุ่นใหม่ไม่นิยมดื่มวิสกี้อีกต่อไป พวกเขาหันไปดื่มวอดก้าหรือเตกิลากันแทน

ตัวอย่างที่ยกมา ล้วนเป็นสาเหตุของความถดถอยทางธุรกิจอันเนื่องมาแต่การเปลี่ยนแปลงรสนิยมของผู้บริโภคทั้งสิ้น

บางทีการเกิดสินค้าทดแทน ก็อาจทำให้ธุรกิจเดิมถดถอยได้เช่นกัน ตัวอย่างที่เห็นชัดในบ้านเราคือ การรับส่งโทรเลขและจดหมาย เพราะเมื่อมีคนคิดและให้บริการ E-mail ฟรีอย่างกว้างขวางทั่วถึง กิจการไปรษณีย์โทรเลขก็เกือบจะถึงกาลอวสาน หรืออย่างกรณี MP3 ก็ได้ทำให้ค่ายเพลงใหญ่ๆ จำนวนมาก ต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์กันแบบขนานใหญ่

ดังนั้นต้องพิจารณาว่า พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคนั้น เกิดขึ้นแบบชั่วคราว หรือเป็นแบบถาวร เพราะถ้าเป็นแบบหลังแล้วละก็ปัญหาใหญ่กำลังมา

6. ความผันผวนของราคาวัตถุดิบ


ธุรกิจที่ต้องพึ่งพิงโดยตรง เช่นน้ำมันเป็นต้นทุนสำคัญในอุตสาหกรรมการบิน อุตสาหกรรมเดินเรือ
แม้บางทีไม่ใช่ต้นทุนผลิตโดยตรงแต่กระทบกับลูกค้า ดังเช่น บริษัทขนาดใหญ่ “สามยักษ์” (GE Ford และ Chrysler ของสหรัฐอเมริกาซึ่งมีการศึกษากันมากและใช้เป็นกรณีศึกษา ชี้ให้เห็นว่า แม้แต่กิจการยักษ์ใหญ่ยังถดถอยได้ เมื่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ผันผวน เนื่องเพราะ “สามยักษ์” ไม่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดที่หันมานิยมรถเล็กที่ประหยัดน้ำมันกว่า และราคาถูกกว่า ทำให้ค่ายรถที่จับจุด ถูกแย่งส่วนแบ่งตลาดไปได้อย่างรวดเร็ว (ค่ายรถญี่ปุ่น)

ตัวอย่างที่เห็นชัดในบ้านเรา ครั้งวิกฤตเศรษฐกิจรอบก่อน คือ เมื่ออัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว บริษัท Real Estate ก็ประสบปัญหาทันที ทั้งนี้เพราะอัตราดอกเบี้ยก็เป็นวัตถุดิบอย่างหนึ่งเช่นกัน ทั้งแง่ของบริษัทเอง และผู้บริโภค

หรืออย่างที่น้ำมันผันผวนรอบนี้ ก็ได้ทำให้บริษัทการบินไทย ขาดทุนอย่างมโหฬาร ในรอบปีที่ผ่านมา เป็นต้น

7. องค์กรขาดความสามัคคี หรือ Teamwork ที่ดี


ปัญหานี้แท้ที่จริงมาจากองค์กรที่ขาด organizational culture ที่ดี องค์กรที่มีแต่ความขัดแย้ง ผู้บริหารและพนักงานแบ่งเป็นฝักฝ่าย ตั้งป้อมต่อสู้กัน องค์กรนั้นก็ยากที่จะเจริญได้ องค์กรประเภทนี้ สุดท้ายแล้ว จะไม่เหลือคนดีมีความสามารถอยู่ ผู้บริหารและพนักงานที่มีอยู่ส่วนมาก จะไม่ใส่ความพยายามอย่างถึงที่สุด กระทั่งอาจจะเฉื่อยเนือย ทำงานไปวันๆ ตอบสนองต่อปัญหาช้า สุดท้ายก็จะสู้คู่แข่งไม่ได้ และถดถอยไปเอง ในตำราบริหารจึงมีเรื่องที่เรียนกันคือ Culture Building การสร้างวัฒนธรรมองค์กร

8. ลงทุนเกินตัว


ธุรกิจในประเทศไทยส่วนใหญ่มักลงทุนเกินตัว เมื่อเศรษฐกิจชะงักงัน ธุรกิจเหล่านี้จึงเจ๊งกันระนาว แม้แต่ยักษ์ใหญ่บางราย ยังต้องปลดคนงาน เบี้ยวหนี้ หรือถดถอยไปแบบหน้ามือเป็นหลังมือเลยก็มี เพราะฉะนั้น การลงทุนเกินตัวจึงเหมือนเหรียญสองด้าน หากทุกอย่างเป็นไปด้วยดี โอกาสเติบโตอย่างก้าวกระโดดก็มี แต่ถ้าทุกอย่างไม่เป็นไปตามคาด ก็อาจนำความหายนะมาสู่กิจการได้เหมือนกัน ดังนั้นการลงทุนในธุรกิจที่ลงทุนสูงๆ มี ROI ต่ำๆ ก็ต้องมองไปข้างหน้าให้ชัดเจนอย่า bias ต้องประเมินภาพเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศแบบยาวๆด้วย

9. ซื้อกิจการผิดพลาด


บางทีการขยายตัวด้วยการ Takeover คนอื่น ทำให้กิจการเติบโตอย่างก้าวกระโดด แต่หากกระทำโดยไม่รอบคอบ การ Takeover นั้น อาจนำปัญหามาสู่บริษัทแม่ได้เหมือนกัน อย่างเช่นการประเมินเป้าหมายผิดพลาด ดันไปซื้อกิจการประเภท Loser หรือกิจการที่อ่อนแอเข้ามา กลายเป็นภาระต้องแบกแทนที่จะหนุน หรือการจ่ายซื้อแพงเกินไป ทำให้ ROA รวมบริษัทลดลง ก่อหนี้เกินตัวกลายเป็นภาระในระยะยาว

หรือบางที การจ่ายราคาซื้อกิจการอาจสูงมากเสียจนทำให้บริษัทแม่ซวนเซก็มีอยู่บ่อยๆ แต่ที่พบบ่อยมากกว่านั้น คือ ปัญหาอันเนื่องมาแต่การจัดการ หลังจากผนวกกิจการอื่นเข้ามาแล้ว เช่น วัฒนธรรมองค์กรเข้ากันไม่ได้ หรือผู้บริหารจัดสรรอำนาจกันไม่ลงตัว ฯลฯ เหล่านี้ย่อมทำให้ส่วนรวมถดถอยไปด้วยอย่างแน่นอน

10. นโยบายการเงินที่ผิดพลาด


นโยบายการเงินที่ผิดพลาดก็อาจเป็นที่มาแห่งความถดถอยได้เช่นเดียวกัน ที่พบบ่อยที่สุดก็คือการกู้หนี้ยืมสินเกินตัว หรือกู้ยืมเงินจากแหล่งนอกระบบที่อัตราดอกเบี้ยสูง หรือใช้เงินผิดประเภท เช่น กู้หนี้ระยะสั้นมาลงทุนระยะยาว เป็นต้น แม้แต่การกำหนดอัตราจ่ายปันผล ในทางกลับกัน นโยบายการเงินที่ Conservative เกินไป ก็อาจทำให้องค์กรเกิดปัญหาได้เหมือนกันคือขาดความคล่องตัวและเสียโอกาส

11. ทำการค้าขายเกินตัว


กิจการที่กำลังเติบโตส่วนใหญ่มักมุ่งเน้นที่การเติบโตอย่างก้าวกระโดดของยอดขาย แต่ละเลยในเรื่องกำไร หรือสภาพคล่อง (ทุนหมุนเวียน) บางทีการมองที่การเติบโตฝ่ายเดียว อาจทำให้อัตรากำไร (Margin)โดยรวมลดลง เพราะการขายเพิ่มก็ต้องลงทุนเพิ่มเป็นเงาตามตัว และอาจต้องเพิ่มจำนวนลูกค้าบางประเภทที่ไม่ทำให้บริษัทได้กำไร ทำให้กิจการเกิดปัญหาการเงินขึ้นได้

ทั้ง 11 ข้อคือสาเหตุหลักแห่งความถดถอยของธุรกิจตามที่ Stuart Slatter รวบรวมจากกิจการในประเทศอังกฤษ กว่าจะจบเรื่องสาเหตุก็เล่นเอาเหนื่อยเลยนะครับ ยาวหน่อยนะครับ แต่น่าจะให้มุมมองดีๆ ในการมองธุรกิจที่จะลงทุน

บริษัทจะ turn around ได้อย่างไร


เมื่อเราเรียนรู้สาเหตุกันแล้ว การที่จะพลิกฟื้นกิจการนั้น กลยุทธ์การพลิกฟื้นกิจการกลับมาใหม่ ที่เรียกว่าการ turnaround นั้นต้องทำอะไรบ้างจึงจะเกิดการพลิกฟื้นกิจการขึ้นอย่างแท้จริง

1. เปลี่ยนผู้นำ


ในสถานการณ์ที่ต้องพลิกฟื้นกิจการหรือ Turnaround Situation ส่วนใหญ่ มักต้องมีการเปลี่ยนตัวผู้บริหารระดับสูงเสมอ ทั้งนี้ เพราะผู้บริหารเดิมมักเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้กิจการเกิดปัญหาชะงักงันหรือถดถอย ไม่ว่าจะเกิดจากการโกง ความไร้ประสิทธิภาพในการบริหารงาน หรือการขาดวิสัยทัศน์ก็ตามที แต่บางทีก็มีเหมือนกันที่แม้ความถดถอยขององค์กรนั้นเกิดจากปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ ทว่า ผู้บริหารก็ถูกเปลี่ยนอยู่ดี

ผู้บริหารใหม่ที่จะเข้ามาเป็น Turnaround Manager นั้น ไม่จำเป็นต้องอยู่ในแวดวงอุตสาหกรรมเดียวกันก็ได้ อย่างกรณีของไอบีเอ็มที่ตกต่ำอย่างหนักในช่วงปี 1990-1996 คณะกรรมการสรรหาก็ต้องตัดสินใจว่าจ้าง ลู เกิร์ตสเนอร์ จาก RJR NABISCO ซึ่งเป็นกิจการอาหาร เข้ามาเป็นซีอีโอแทน และเมื่อเวลาผ่านไป ก็พิสูจน์แล้วว่า เป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง เพราะเกิร์ตสเนอร์มาพร้อมกับกระบวนทัศน์ในการสร้างความมั่งคั่งให้กับไอบีเอ็มในรูปแบบใหม่ พร้อมกับความคิดแหวกแนวต่างๆ ที่คนในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ด้วยกันยากจะคิดออก

การเปลี่ยนแปลงผู้บริหารนั้น บางทีก็ต้องเปลี่ยนกัน “ทั้งคณะ” หรือทั้งทีม เพื่อแก้ปัญหาอย่างเบ็ดเสร็จ และป้องกันปัญหาหาใหม่ที่อาจเกิดขึ้นหรือปัญหาเดิมๆจะวกกลับมาอีก และลดจากความขัดแย้งระหว่างผู้บริหารกลุ่มใหม่กับกลุ่มเดิมหากกลุ่มเดิมยังอยู่บางคน

ในทางปฏิบัติ การเปลี่ยนทีมบริหาร ต้องเริ่มจากหา “หัว” หรือ Chief Executive Officer ให้ได้เสียก่อน เพื่อให้หัวนั้นไปหาทีมของเขาเอง

2. คุมเข้มเรื่องการเงิน ปรับโครงสร้างทุน หรืออาจปรับโครงสร้างหนี้


หลังเปลี่ยนผู้บริหารชุดใหม่แล้ว กลยุทธ์แรกที่นิยมนำมาใช้ในการพลิกฟื้นกิจการคือ “การเข้มงวดทางการเงิน” การเข้มงวดเรื่องการเงิน มิได้หมายความว่า บริษัทจะไม่ใช้จ่ายเงิน แต่หมายถึง ความเข้มงวดในการตรวจสอบและการให้ความสำคัญกับข้อมูลทางการเงิน เพื่อป้องกันการรั่วไหล ทั้งทางด้านรายได้ที่ต้องติดตามเก็บเงินให้ได้ตามเป้าภายในระยะเวลาที่กำหนด และทางด้านรายจ่ายที่ต้องใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ

โดยทั่วไปแล้ว ในระยะแรก ผู้บริหารชุดใหม่จะต้องลงมาเล่นเองในเรื่องเงินทอง โดยการรวมศูนย์นโยบายการเงินเข้ามาไว้ที่ส่วนกลาง เพราะยิ่งเป็นกิจการใหญ่ที่มีบริษัทลูกจำนวนมาก โอกาสที่จะควบคุมไม่ถึงก็มีสูง

ส่วนการปรับโครงสร้างหนี้ เหมาะสำหรับกิจการที่ยังมีอนาคตดี แต่ประสบปัญหาเพราะมีหนี้สินเกินพอดี หรือใช้เงินผิดประเภท เช่น กู้เงินระยะสั้นมาลงทุนในโครงการที่ต้องอาศัยเวลานานกว่าจะคืนทุน หรือกู้เงินนอกระบบที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงเกินควร เป็นต้น

3. ปรับโครงสร้างองค์กรและธุรกิจใหม่


การปรับโครงสร้างองค์กรใหม่เพื่อให้รองรับกับแนวคิดหรือกระบวนทัศน์ใหม่เป็นเรื่องที่ต้องทำ และพร้อมกันนี้ ก็อาจมีการปรับบุคลากรทั้งระบบใหม่ โดยมีจุดหมายที่การเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่งเพื่อบรรจุตามโครงสร้างใหม่ ซึ่งถ้าบุคลากรข้างในคุณสมบัติไม่ตรง ก็ต้องหามาจากข้างนอก

พร้อมกันนี้ ก็อาจทำการกระจายอำนาจไปยังหน่วยบริหารย่อยต่างๆ เพื่อเตรียมบุกอีกรอบ

กระจายอำนาจ คือการกระจายความรับผิดชอบและอำนาจการตัดสินใจ ในเชิงการบริหาร ส่วนนโยบายการเงินนั้น ส่วนใหญ่จะถูกควบคุมไว้ที่ส่วนกลางเหมือนเดิมระยะหนึ่งก่อน


4. การหาตลาดใหม่


หลังจากปรับองค์กรใหม่แล้ว ก็ถึงคราวที่จะต้องรุกทางด้านการตลาดกันอย่างจริงจัง ในกระบวนการกำหนดแผนการตลาดเชิงยุทธ์ หรือ Marketing Strategy นั้น จะต้องประเมินตลาด คู่แข่งขัน และ ทรัพยากรไปพร้อมกัน การหาตลาดใหม่ และการคิดค้นผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ เป็นเรื่องจำเป็นสำหรับการฟื้นฟูกิจการ

5. ยกระดับการตลาดหรือพัฒนาตลาด


การยกระดับการตลาด นับเป็นมิติหนึ่งของกลยุทธ์การฟื้นฟูกิจการ การยกระดับที่ว่านี้ ต้องยกระดับทั้ง Value Chain ตั้งแต่กระบวนการวางแผน การตั้งเป้าหมาย การกำหนดกลยุทธ์ของแต่ละผลิตภัณฑ์ ยุทธวิธีที่จะใช้ในแต่ละช่วง ไปจนถึงการควบคุมให้ได้ผลในเชิงปฏิบัติ

6. เลือกเฟ้นและมุ่งเน้นการเข้าซื้อกิจการ


บางทีการเข้าซื้อกิจการอื่นอาจเป็นทางเลือกที่ดีในการพลิกฟื้นสถานะขององค์กรที่กำลังถดถอย กลยุทธ์แบบนี้ การซื้อกิจการ อาจเป็นการซื้อข้ามอุตสาหกรรม เช่น กิจการ บุหรี่ในสหรัฐอเมริกา เมื่อเริ่มรู้ตัวว่า ธุรกิจบุหรี่นั้น อิ่มตัวแล้ว เพราะคนรุ่นใหม่สูบบุหรี่น้อยลง อีกทั้งกระแสรักสุขภาพที่กำลังมาแรงมาก หากปล่อยแบบนี้ ในอนาคตเขาจะแย่ จึงหาทางแก้ลำโดยการเข้าซื้อกิจการอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับบุหรี่ (เช่นธุรกิจอาหาร) โดยหวังว่าจะสามารถยึดกิจการนั้นเป็นหลักในอนาคต เมื่อบุหรี่ถดถอยไป เป็นต้น แต่การเลือกกลยุทธ์นี้ต้องมองวิเคราะห์ให้รอบด้าน เพราะอาจกลายเป็นซ้ำเติมบริษัทก็ได้

บางทีเราเรียกกลยุทธ์แบบนี้ว่า End-game Strategy หรือ “กลยุทธ์ทิ้งทวนธุรกิจ”

7. การตัดสินทรัพย์ขายทอดตลาด หรือ Devestment


การตัดสินทรัพย์ขายทอดตลาด หรือ Devestment ก็สามารถนำมาใช้เป็นกลยุทธ์ในการพลิกฟื้นกิจการได้เช่นกัน โดยทั่วไปแล้ว กลยุทธ์นี้ จะใช้ร่วมกับกลยุทธ์แบบอื่น เช่น การลดต้นทุน หรือการลงทุนเพิ่มในกิจการหลัก เพราะสินทรัพย์ที่ถูกตัดขาย จะเป็นสินทรัพย์ที่มิใช่ Core Business หรือ ธุรกิจหลักของกิจการ

8. การลงทุนเพิ่ม


การลงทุนเพิ่มในภาวะถดถอย ควรเป็นไปเพื่อการเข้าสู่อุตสาหกรรมใหม่ หรือ เข้าสู่ตลาดใหม่ หรือ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งหวังให้เป็น “อนาคตใหม่” ของกิจการ

การลงทุนในภาวะถดถอย ต้องมีข้อมูลที่แน่ชัด เพราะในภาวะถดถอยนั้น ทุกคนจะเสียกำลังใจ และมองอะไรในแง่ร้ายไปหมด ผู้บริหารจึงต้องหนักแน่นและสร้างความมั่นใจในหมู่ผู้บริหารและผู้ถือหุ้นมาก ดังนั้น ผู้บริหารที่เชื่อในแนวทางนี้ ต้องมีความมุ่งมั่นสูงมาก เพราะเป็นการดำเนินกลยุทธ์แบบ “ฝืนจิตวิทยา” ของคนส่วนใหญ่ในองค์กร

การลงทุนในบริษัทที่เป็น turnaround นั้นควรพิจารณาว่ามีลักษณะที่ปรับองค์กรชัดเจนใน 8 ประเด็นดังกล่าวหรือไม่ยิ่งมากข้อยิ่งดีเพราะนั่นคือการพลิกฟื้นที่ชัดเจนและค่อนข้างมั่นคง หากดูแต่กำไรอย่างเดียวอาจได้หุ้นที่ฟืันหลอกหรือขึ้นหลอกได้

[1]https://www.facebook.com/sanpong.limthamrongkul/posts/10202266060831368?stream_ref=10
[2]https://www.facebook.com/sanpong.limthamrongkul/posts/10202266247956046?stream_ref=10

วันอังคารที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2557

กฏ 5 ข้อของการเป็น freelance ให้รุ่ง

บทความไขความลับเรื่องเป็น ฟรีแลนซ์ อย่างไรให้รุ่ง ของคุณ Mr.Grayman [1] ภาษาอาจหยาบไปนิดแต่เนื้อหาดี(สไตร์เขาอะนะ) เขาว่ามีหลักง่ายๆ 5 ข้อดังนี้ครับ
  1. ฟรีแลนซ์ มันคืออาชีพทำมาหาแดกสัสมรุงทำงานเพื่อแลกเงินเหมือนมนุษย์เงินเดือนทั่วไปแต่ควายในคราบคนบางตัวกำลังเข้าใจว่าฟรีแลนซ์คืออิสรภาพทางการเงินกรุอยากบอกว่า นั่นเค้าเรียกว่า Passive Income ต่างหากโว้ยส่วนฟรีแลนซ์มันคือ Active Incomeถ้ามรุงไม่ทำ หรือทำไม่ดี ก็ไม่มีแดร็กส์
  2. ฟรีแลนซ์ ต้องมีระเบียบวินัยมากกว่าคนปกติ เพราะมรุงทำงานแบบมีเวลามากำหนดเหมือนเดิมแต่มรุงต้องจัดสรรเวลาเองเพื่อทำงานนั้นให้เสร็จไม่ใช่เหมือนพวกพนักงานประจำที่ทำงานตามเวลาถ้าไม่เสร็จก็มีเจ้านายด่า แต่นี้มรุงคือเจ้านายตัวเอง

    คราวนี้ถ้ามรุงเอาแต่เล่นเฟส เสพดราม่าปาร์ตี้ กินขี้ ปี้นอน โดยที่ไม่มีวินัยใดๆทั้งสิ้นรับประกันได้ว่าใครๆก็คงไม่จ้างมรุง สัส สัส สัสคนเค้าจ้างมรุง เค้าจะเอางาน ไม่ได้เอาติส ‪#‎คิดซิคิด‬
  3. ฟรีแลนซ์ ต้องสร้างตัวเองให้คนรู้จักถ้ามรุงมัวแต่มุดหัวอยู๋ในกะลา มีแต่คนรู้จักหน้าเดิมๆ เท่ากับมรุงมีงานในวงที่จำกัด ทีนี้ถ้าไอ้พวกนั้นเลิกจ้างมรุงลองคิดสิว่า จะเอาอาไรมาแดร็กส์
  4. มรุงต้องรู้จักเก็บพอร์ทงานไม่่ใช่ทำห่าอะไรก็ให้เค้าไปหมด ไม่เก็บอะไรไว้ใครจะรู้ว่ามรุงทำอะไรเป็นบ้างละโว้ยยยยผลงานมันคือตัวแทนของมรุงแต่ผลงานระยำไม่ต้องไปเก็บมันน๊ะสัสเก็บแต่งานที่โชว์คนอื่นแล้วเค้ารู้สึกว่าเจ๋งไอ้ผลงานระดับ งานโรงเรียนวัดไก่แจ้วิทยาคมไม่ต้องเอามาโชว์ เสียเครดิต ‪#‎คิดเยอะๆ‬
  5. ฟรีแลนซ์มันก็คือคนเหมือนคนแดกเงินเดือนไม่ได้มีอะไรสวยงามแตกต่างเท่าไร มรุงไม่ต้องไปดูถูกใครและไม่ต้องยอมให้ใครมาดูถูกด้วยน๊ะจงรักศักดิ์ศรีตัวเองและให้เกียรติศักดิ์ศรีคนอื่น

แค่นี้แหละ กรุเหนื่อยแล้ว
ใครสงสัยอะไรถามมาสัส สัส สัส

https://www.facebook.com/mrgraymanth/posts/785911541436650?stream_ref=1

วันจันทร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2557

การจ่ายเงินปันผลกับการเติบโตของบริษัท

การจ่ายเงินปันผลกับการเติบโตของบริษัท
การเติบโตของบริษัท มากจาก

  1. การเติบโตของอุตสาหกรรม
  2. กลยุทธ์การแข่งขันของบริษัท

การเติบโตของอุตสาหกรรมจะเป็นแรงขับดันเบื้องต้น ในสมมติฐานการเงินทั่วไปเบื้องต้น หากธุรกิจรักษาระดับการแข่งขันได้ (คงที่) รักษาความสามารถในการผลิต การดำเนินงาน เมื่ออุตสาหกรรมขยายตัว 10% ส่วนแบ่งการตลาดไม่เปลี่ยนแปลง ยอดขายควรเติบโต 10% เช่นกัน ต้นทุนขายและค่าใช้จ่ายเพิ่มในอัตราเท่ากับยอดขาย กำไรก็ควรเพิ่มในอัตราเท่ากัน แต่การเพิ่มขึ้นของยอดขาย ย่อมทำให้กิจการต้องมีทุนหมุนเวียนสุทธิ (Net working capital NWC) เพิ่มขึ้นด้วย ถ้าเราให้อัตราการทำกำไรคงที่ ROA (EBIT/TA) = 10% และทุกยอดขาย 1 บาท ต้องลงทุนใน NWC 0.2 บาท โดยให้ NWC = ลน. + สค. –จน. (ให้ สท.หมุนเวียน และ นส.หมุนเวียน เท่ากัน) ดังนั้นยอดขายเพิ่ม 10% ย่อมต้องการ NWC เพิ่ม 10%
บริษัทจ่ายปันผลมากใช่ว่าดีเสมอ หรือน้อยก็ไม่ได้แย่ตลอด แน่นอนการจ่ายเงินปันผลมากบริษัทต้องมีกำไรมาก และที่จ่ายปันผลสูงมิใช่หมายถึงการวัดที่จำนวนเงิน แต่วัดที่อัตราเงินปันผล (dividend yield) หรือ เงินปันผลต่อหุ้นหารด้วยราคาหุ้น เช่น A จ่ายปันผล 10 บาทต่อหุ้น ราคาหุ้น 400 บาท คิดเป็น yield = 2.5% อีกบริษัท B จ่าย 1.5 บาทต่อหุ้น ราคาหุ้น 50 บาท yield = 3% B จ่ายปันผลดีกว่า A
แต่ในมุมการวิเคราะห์การเงินแล้ว จะดูเพียงอัตราผลตอบแทนอย่างเดียวไม่ได้ ต้องพิจารณาอีก 3 ค่าด้วยคือ อัตราการจ่ายเงินปันผล (Payout = Dividend/Profit) ROE (Return on Equity) อัตราผลตอบแทนส่วนผู้ถือหุ้น และอัตราการเติบโตของอุตสาหกรรม เพราะทั้งสามค่ามีผลกระทบต่อโครงสร้างทุน (D/E) ซึ่งโครงสร้างทุนจะมีผลต่อ ต้นทุนของทุน (Cost of capital) และต้นทุนของทนนี้ก็จะกระทบต่อไปยังมูลค่าหุ้น เพราะสุดท้ายราคาหุ้นก็ขึ้นกับ ผลรวมของกระแสเงินสดในอนาคตคิดลดด้วย WACC (ต้นทุนของทุน)
ถ้า เรานำ DDM Model P = D/(k-g) และ สูตร DY (Dividend Yield) = D/P จะได้ P =D/DY จะเทียบเคียงได้ว่า DY = (k –g) การประยุกต์ใช้ก็ดูว่าตอนนี้ราคาหุ้นซื้อขายที่เท่าไร DY เท่าไร สมมติ Trade ที่ DY = 1.87% ถ้า เรามี k ที่ต้องการราว 19% แสดงว่าต้องมี g = 17.13% เราก็มาดูว่ากำไรระยะสั้น EPS โตสักกี่ % เฉลี่ยสามปี หรือห้าปี เติบโตได้ 17.13% หรือไม่ ระยะสั้นอาจได้ แต่พอดูสามปีห้าปี อาจจะยากแล้ว ก็แปลว่า ถือได้ไม่เกินปี ถ้าถือยาวๆ อาจไม่ใช่ระดับราคาที่ควรลงทุน
CEO และ CFO ที่เก่ง ต้องกำหนดอัตราเงินปันผลที่เหมาะสมเพื่อการเติบโตที่ยั่งยืนของกิจการ เพราะการจ่ายอัตราเงินปันผลที่สูงมากเกินไป ในขณะที่อุตสาหกรรมก็กำลังอยู่ในช่วงเติบโตสูง อาจจะทำให้ D/E สูงขึ้น และถ้าต่อเนื่องหลายปี สุดท้ายก็ต้องเพิ่มทุนเพื่อลดความเสี่ยงทางหนี้สิน และการเพิ่มทุนย่อมกระทบต่ออัตรา ROE เมื่อ ROE ลด ย่อมกระทบกับราคาหุ้นในระยะยาว
ค่าทางการเงินหนึ่ง sustainable growth (การเติบโตที่ไม่กระทบต่อโครงสร้างทุน สามารเติบโตด้วยความสามารถการดำเนินงานเองอย่างต่อเนื่อง) ในทางการเงินให้นิยาม g = ROE x (1 - payout)
เช่น A มีกำไรต่อห้น EPS = 10 บาท จ่ายปันผลต่อหุ้น 40% หรือจ่าย DPS = 4 บาท ถ้า A มี ROE = 15%, sustainable growth A = 15% x (1-0.4) = 9%
ถ้าอุตสาหกรรมที่ A ดำเนินธุรกิจอยู่เติบโตในอัตรา 9% ถือว่ามีการจ่ายปันผลในอัตราที่เหมาะสม A สามารถดำเนินธุรกิจไปได้ โดยเติบโตไปพร้อมๆ อุตสาหกรรม ด้วยแหล่งทุนจาการดำเนินธุรกิจ โดยรักษา D/E คงที่ไปตลอด ไม่มีความสี่ยงด้าน solvency (ความอยู่รอด) รักษาระดับ market share ได้
ทีนี้ถ้าอุตสาหกรรมโตมากกว่า 9% สมมติว่า 12% หาก A จ่ายปันผล 40% ROE ยังต้องการได้ที่ 15% และมี market share เท่าเดิม (รักษาความสามารการแข่งขันทางการตลาดไว้) จะทำให้ A ต้องก่อหนี้สินเพิ่มขึ้น ระดับ D/E จะเพิ่มขึ้น ระยะาวเมื่่อโครงสร้างทุนเพิ่มขึ้น ต้นทุนของทุนเฉลี่ยโดยรวมจะเพิ่มขึ้น ราคาหุ้นก็จะลดลง
ในทางตรงข้าม ถ้าอุตสาหกรรมโตเพียง 5% แต่กิจการจ่ายปันผลแบบเดิม มีอัตราเติบโต sustainable growth 9% ถ้าบริษัทมีความสามารถในการแข่งขันเ่ท่าเดิม ส่วนแบ่งตลาดเท่าเดิม ROE จะลดลงในระยะยาว (เก็บกำไรไว้แต่โดยรวมกำไรเพิ่มในอัตราทีน้อยกว่ากำไรสะสมที่เพิ่ม)
ดังนั้นกิจการที่ดี ต้องมองทั้ง 3 มิติร่วมกันไปพร้อมกัน คือ Payout, ROE และ Industry growth นอกจากนี้ growth ของธุรกิจนอกเหนือจากอุตสาหกรรมแล้วยังมาจากกลยุทธ์ภายในของธุรกิจเองด้วย ซึ่งประเด็นหลังนี้ในหลักการบริหารจัดการคือ การสร้างความได้เปรยบทางการตลาดนั่นเอง มองในภาพรวม อุตสาหกรรมโต 9% แต่กิจการอาจโตมากกว่าได้ สมมติโต 15% แน่นอนการโตนี้หมายความว่ากิจการต้องใช้การขยายงานจากแหล่งทุนซึ่งหามาได้จากสองแหล่งคือ ภายในจากกำไรของกิจการเอง และการใช้แกล่งทุนจากภายนอก (กู้ยืมและเพิ่มทุน ถ้าต้องการรักษา D/E ก็ต้องเพิ่มเข้าในสัดส่วนเดิมโครงสร้างทุนจึงไม่กระทบ)
การเติบโตสูงกว่าอุตสาหกรรมย่อมเป็นสิ่งปรารถนา แต่ในระยาวของเศรษฐกิจเปิดเสรีแล้วระยะยาวจะเติบโตโน้มเข้าหาอุตสาหกรรม
อัตราการเติบโตนี้ควรดูจากการเติบโตจากยอดขาย ไม่ควรใช้กำไร เพราะกำไรอาจเพิ่มลดจากรายการ one time gain/loss หรือการเพิ่ม/ลด ของรายจ่าย แต่อย่าไปสับสนกับการคำนวณหา PEG หรือค่า พีอีหารอัตราการเติบโต (PEG) ของปีเตอร์ลินท์ อัตราการเติบโตตัวนั้นคืออัตราการเติบโตกำไร
การจ่ายปันผล ดังนั้นถ้าอุตสาหกรรมยังโตสูงๆ กิจการที่มี ROE สูงมากๆก็สามารจ่ายปันผลได้ในสัดส่วนสูง แต่ถ้า ROE ทำได้ไม่มากก็ควรจ่ายในอัตราที่ต่ำ ในทางกลับกัน ถ้าอุตสาหกรรมเติบโตต่ำลง อัตราการจ่ายปันผลควรจะเพิ่มขึ้น
ในอดีตมีตัวอย่างจริงให้เห็นมาแล้ว เช่น TISCO ในอดีตที่เป็น บงล. ราคาหุ้นขึ้นตลอด และไม่เคยจ่ายปันผลเลย อุตสาหกรรมโตราว 30% มี ROE เกือบ 30% เช่นกัน และเป็นหุ้นที่เพิ่มทุนน้อยมาก ราคาก่อนเกิดวิกฤติเป็นพัน บงล. ล้มกันเยอะ แต่ตัวนี่รอ และสุดท้ายก็เป็นธนาคาร เทียบกับ บงล. หลายตัวในยุคนั้น เพิ่มทุนกันเป็นว่าเล่น สุดท้ายเจ๊งกันระนาว ถ้าใครมีโอกาสได้วิเคราะห์ลึกๆทางการเงินจากงบการเงินจะเห็นชัด นักลงทุนยุคนั้นเล่นกันแต่หุ้นไฟแนนซ์และอสังหาฯ เหมือนยุคนี้ที่เห่อหุ้นพลังงานและค้าปลีก
บางตัวดี บางตัวก็ดีแบบเวอร์ สร้าง deal อลังการ แต่การเงินแท้จริงซ่อนมีดไว้เยอะ ไม่เห็นง่ายๆหรอกในช่วงสั้นปีครึ่งปี
เขียนมายาวพอควร แต่เรื่องปันผลมีอะไรบอกอีกมาก แต่ดูอัตราปันผลก็รูแล้วระดับหนึ่งว่าเจ้าของคิดอ่านอะไรอยู่ เก่งไม่เก่งแค่ไหน ไว้มีเวลาจะมาบอกเล่าให้ฟังกันอีก

วันพุธที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2557

ารวิเคราะห์สภาพคล่องของกิจการ

บทความการวิเคราะห์สภาพคล่องของกิจการครับ โดย อาจารย์ สรรพงษ์ [1] ครับ

บางครั้งในการวิเคราะห์กิจการหนึ่งๆ เราอาจพบว่าข้อที่จะบ่งชี้ถึงปัญหาสภาพคล่องของกิจการ ในทางการลงทุนเราอาจต้องระวังหรือหลีกเลี่ยง หุ้นนั้นๆ อาจปรับตัวลงเพราะสภาพปัญหา Liquidity ในขณะเดียวกันบางหุ้นก็อาจยังไม่ปรับตัวลง อาจเพราะตลาดไม่รู้หรือคาดว่าบริษัทนั้นๆ จะแก้ปัญหาได้ ซึ่งการที่ไม่ลงหรือว่าลงแล้วจะฟื้นตัวได้หรือไม่ เราอาจต้องประเมินว่า แนวทางการแก้ปัญหาสภาพคล่องของกิจการจะสามารถพลิกปัญหานั้นได้หรือไม่
อัตราส่วนที่ใช้มองว่ากิจการเกิดปัญหาสภาพคล่องที่น่ากังวลหรือไม่นั้นต้องมองอัตราส่วนและใช้ข้อมูลหลายตัว แม้ที่หลายคนเรียนมาว่าอัตราส่วน Current ratio และ Acid-test ratio (Quick ratio) ใช้ดูนั้น ในส่วนตัวผมแล้วและด้วยประสบการณ์ในการเป็นที่ปรึกษาที่ได้สัมผัสจริงๆ มา เพียงสองค่าอาจบ่งชี้ได้ในเบื้องต้นเท่านั้น แต่ยังฟันธงไม่ได้ทุกครั้ง แต่เมื่อได้พิจารณาตัวเลขอื่นๆ ประกอบจะมั่นใจได้มากขึ้นว่าถ้าเห็นแล้วฟันธงได้เลย 99% ไม่เคยพลาด ผู้บริหารยอมรับว่ามีปัญหาจริงๆ คือ

  1. Current ratio (CR) < 1 อันนี้ basic แต่ถ้ามากกว่า 1 ก็ไม่ใช่ว่าดีต้องดูอัตราส่วนอื่นด้วยคือ เพราะอาจมีสภาพคล่องเทียมได้ เช่นมีสินค้าคงเหลือสูงมากๆ
  2. Quick ratio (QR) > 0.6 แต่ที่เรียนกันมาผิดๆ คือ ใช้สูตรอัตราส่วนนี้ว่าเท่ากับ Current assets – Inventories (สินค้าคงเหลือ) ต้องบอกก่อนว่าผิดครับ ตำรา text ไม่ผิดหรอกครับเพราะงบการเงินตัวอย่างใน text จะเป็นงบตัวอย่างว่า ส/ท หมุนเวียนมีเพียง cash + A/R + Inventory แต่ในชีวิตจริงมีรายการใน ส/ท หมุนเวียนมากกว่านี้ ดั้งเดิมจริงๆ QR = Liquid Assets/CL ซึ่ง Liquid Assets = Cash + S-T investment + เงินให้กู้ยืมแก่บริษัทฯ + A/R + รายได้ค้างรับ หรือสรุปว่าคือรายการที่พร้อมเปลี่ยนเป็นเงินได้เร็ว หลังรายการนี้ไป ก็จะเป็นสินค้าคงเหลือ และ ส/ท หมุนเวียนอื่น ซึ่งในทางบัญชี การจัดเรียงรายการในงบจะเรียงตามความสามารถ ส/ท ที่จะเปลี่ยนเป็นเงินสดได้คล่องที่สุดไปหา ส/ท ที่เปลี่ยนเป็นเงินสดได้ช้าที่สุด ดังนั้นรายการที่อยู่ต่อจากสินค้าคงเหลือย่อมแสดงว่ารอบหมุนเป็นเงินสดจะนานกว่า ส/ค แน่นอน ดังนั้นการเอาแค่ เอา Inventory ลบ จึงไม่ถูกต้อง และนำไปสู่การตีความผิดๆ ทำให้หลายคนประเมินสภาพคล่องกิจการผิด ที่ให้ QR > 0.6 เพราะตัวหารคือ Total Current Liabilities มากกว่า 60% จะเป็นหนี้สินที่เป็นเจ้าหนี้การค้าและเงินกู้ระยะสั้น การมี Liquid Assets ครอบคลุมส่วนนี้ได้ก็รอดพ้นการเกิด Temporary Bankruptcy (Technical Bankruptcy) ได้สูง
  3. Modified current ratio (MICR) = CFO/CL ค่าที่ดีควร > 1 ซึ่งก็บังคับกลายๆว่าค่า CFO ต้อง > 0 ค่าของกระแสเงินสดจากการดำเนินงานควรมากกว่า 0 (เป็นบวก) นั่นเอง
  4. Cash Cycle (CC) ในระดับถือว่าดีมาก (Excellence) คือ < 0 วัน ดีคือ 0-45 วัน พอใช้หรือปกติ 45-75 วัน มากกว่า 75-90 วัน ต้องเฝ้าระวัง มีปัญหา ส่วนมากกว่า 90 วัน ถือว่า แย่
ทั้ง 4 ข้อหากกิจการใดมี 3 ข้อขึ้นไปถือว่าเกิดปัญหาสภาพคล่องแน่นอนและมีแนวโน้มก่อให้เกิดปัญหาในการดำเนินงานไม่เกิน 1 ปีแน่

พบบ่อยที่ บริษัทขายได้มากขึ้นแต่กลับมีปัญหาเรื่องเงินทุนหมุนเวียน หมุนเวียนไม่ค่อยทัน (กระแสเงินสดไหลออกเร็วกว่ากระแสเงินไหลเข้า) จะตามมาด้วยภาระดอกเบี้ยและภาระหนี้ที่สูง (ICR ลดลงและ D/E สูงขึ้น) ขายมาก แต่กลับไม่ค่อยมีเงินเหลือและสุดท้ายอัตรากำไรต่ำลง (Net Profit Margin)

ผลกระทบที่ต้องระวัง ภาวะเช่นนี้ กำลังบ่งชี้ว่าอาจจะนำไปสู่ภาวะ temporary bankruptcy (liquidation shortage) ยังไม่ถึงระดับ permanent bankruptcy (Liabilities > Assets) ภาวะ temporary bankruptcy ในช่วงเศรษฐกิจขาขึ้นจะยังทำธุรกิจไปได้ แต่หากภาวะเศรษฐกิจเป็นขาลง จะนำกิจการเข้าสู่ ภาวะ permanent bankruptcy อย่างรวดเร็ว

หนี้ระยะสั้นที่กิจการมีอยู่สูงมามาจาก

  • หนี้เงินเบิกเกินบัญชีหรือเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน
  • หนี้ T/R จาการซื้อวัตถุดิบจากต่างประเทศ (เจ้าหนี้การค้าต่างประเทศ)
  • เจ้าหนี้การค้าในประเทศ

b และ c จะแสดงรวมกันเป็นรายการเดียวคือเจ้าหนี้การค้า เรื่องหนี้ T/R จาการซื้อวัตถุดิบจากต่างประเทศ ในความเห็นผมจะมองเป็นเงินกู้จากสถาบันการเงินมากกว่า (แต่เรื่องนี้ในทางปฏิบัติต้องถกกันยาว แต่อย่างไรก็ตาม ก็ถือเป็นหนี้สินหมุนเวียนอยู่ดีไม่มีผลต่ออัตราส่วน CR) โดยทางหลักวิชาการ การก่อหนี้ระยะสั้นควรจะมีไว้เพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนในการดำเนินงาน ควรจะเท่ากับ ทุนหมุนเวียนที่ต้องการ + กระแสเงินสดที่ต้องมีไว้ใช้จ่ายในช่วงเวลาที่เงินสดยังไม่เข้ากิจการ (COF X CC) ถ้าทุนหมุนเวียนเกิดเป็นประจำ (ส่วนที่เป็น permanent working capital ซึ่งมีอย่างน้อยที่ระดับได้ break-even point) คือทุนหมุนเวียนที่ต้องการนั่นเองและค่าใช้จ่ายของบริษัท ให้พิจารณาค่าใช้จ่ายคงที่ ได้แก่ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร และค่าใช้จ่ายในการผลิต

ทางแก้ไขที่ดีคือต้องปรับกระบวนการทำงานใหม่หมด เพื่อให้มีวงจรเงินสดที่เหมาะสม ถ้าทำได้ อัตราส่วนที่กล่าวมาจะดีหมดตามมาโดยอัตโนมัติ ในการวิเคราะห์ต้องเน้นดูด้าน efficiency ratio ว่ามีทิศทางฟื้นตัวทั้งระยะสั้นและยาว ปกติการดูว่า turnaround แท้จริงแบบยั่งยืนได้ยาวๆ จะต้องมองส่วนนี้ด้วย หลายคนเน้นดูแต่กำไร อาจดี แต่หากปัญหาที่แท้จริง อีกไม่กี่ปีปัญหาเดิมก็จะวกกลับมาอีก ดังนั้นหากจะลงทุนเพียงสองสามปี ก็อาจได้กำไรมากเพราะหุ้นขึ้นแรง (หลายเด้ง) แต่ถ้าลงทุนแบบเดียวกับคุณปู่วอร์เรนบัฟเฟตต์หลายสิบปีอาจไม่เวอร์คได้ แต่ในทางทฤษฎีจริงๆแล้ว หุ้น Turnaround ควรต้องฟื้นจริงๆ และไม่ควรกลับไปด้วยปัญหาเดิมๆ อีก
ทางแก้ชั่วคราวในปัญหาสภาพคล่องคือหาเงินมาใส่ในกิจการ ทำได้สองทางคือ ก่อหนี้เพิ่มหากมี room การก่อหนี้เหลือพอ นั่นคือกิจการมี D/E ในระดับยังไม่มาก วิธีนี้มักไม่แจ้งให้ตลาดรู้ เว้นแต่ออกหุ้นกู้ ซึ่งทำให้ระดับหนี้ (ความเสี่ยง) เพิ่มขึ้น ส่วนต่อมาคือการขายสินทรัพย์ (เช่น ขายสินทรัพย์ให้กองทุน อสังหาริมทรัพย์ (REIT) บ้าง กองทุนโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น) ประเด็นนี้เคยเขียนข้อดีข้อเสียมาแล้ว สุดท้ายก็คือการเพิ่มทุน ซึ่งทำให้เกิด Earning Dilution ที่กล่าวมาในส่วนนี้ล้วนเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าระยะสั้นเท่านั้น

[1]https://www.facebook.com/sanpong.limthamrongkul/posts/10202195537308324?stream_ref=10

วันอังคารที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2557

เมื่อโอกาสมาต้องรีบคว้า

อ่านแล้วมันโดนจริงๆ ต้องก็อปมาแชร์

“ท่านรูปปั้น ท่านชื่ออะไร?”

“ฉันชื่อโอกาส”
“ใครเป็นคนแกะสลัก?”

“ลีซีปัส แกะสลัก”

“ทำไมท่านจึงยืนเขย่งเท้า?”

“เพื่อบอกว่าฉันจะอยู่เพียง
ชั่วครู่ชั่วยาม”

“แล้วทำไมเท้าท่านจึงมีปีก?”

“เพื่อให้รู้ว่าฉันจะผ่านไปอย่างรวดเร็ว”

“แล้วทำไปผมด้านหน้าของท่าน
จึงยาวเช่นนี้?”

“เพื่อคนที่พบเห็นฉัน จะได้จับฉวยได้ง่าย”
“แล้วทำไมผมด้านหลังของท่านจึงโล่ง
ไม่มีผมเลยแม้แต่เส้นเดียว?”

“ก็เพื่อบอกว่า ถ้าฉันผ่านไปแล้ว
ก็ยากที่จะจับฉันได้ใหม่”

-ปรัชญากรีกโบราณ