วันพุธที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ส่องหุ้น IPO บริษัท โรงพยาบาล ลาดพร้าว จำกัด (มหาชน) (LPH)

ส่องหุ้น IPO บริษัท โรงพยาบาล ลาดพร้าว จำกัด (มหาชน) (LPH) เป็นหุ้นที่เพิ่งเข้าใหม่วันนี้ มาดูพื้นฐานกันว่าน่าถือยาวววววววววหรือไม่


ข้อมูลทั่วไป


ชื่อบริษัท : บริษัทโรงพยาบาลลาดพร้าวจำกัด(มหาชน)
ชื่อย่อหลักทรัพย์ : LPH
ตลาดรอง : SET
กลุ่มอุตสาหกรรม : บริการ
หมวดธุรกิจ : การแพทย์
วันที่เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน : 28 ต.ค. 2558
วันที่เริ่มทำการซื้อขาย : 28 ต.ค. 2558
จำนวนหุ้นจดทะเบียนกับตลท. (หุ้นสามัญ)(หุ้น) :
จำนวนหุ้นชำระแล้ว (หุ้นสามัญ)(หุ้น) :
ราคา Par (บาทต่อหุ้น) : 0.50
ทุนชำระแล้ว (บาท) :
ราคา IPO (บาท) : 5.00
ผู้ประกันการจัดจำหน่าย : บจ.เคจีไอ
● วัตถุประสงค์ในการระดมทุน:
1. ลงทุนก่อสร้างอาคารศูนย์การแพทย์ประกันสังคมลาดพร้าว จำนวน 150 ล้านบาท (ระยะเวลาใช้เงิน ภายในปี 2560)
2. ลงทุนก่อสร้างสถานพักฟื้นและดูแลผู้สูงอายุลาดพร้าว จำนวน 157 ล้านบาท (ระยะเวลาใช้เงิน ภายในปี 2561)
3. ลงทุนในการก่อสร้างโรงพยาบาลแห่งใหม่ และ/หรือลงทุนในหุ้นสามัญของโรงพยาบาลอื่น จำนวน 300 ล้านบาท (ระยะเวลาใช้เงิน ภายในปี 2562)
4. ชำระคืนเงินกู้ยืม จำนวน 360 ล้านบาท (ระยะเวลาใช้เงิน ภายในปี 2559)
5. เงินทุนหมุนเวียน ส่วนที่เหลือข้อ 1 - 4 (ระยะเวลาใช้เงิน ภายในปี 2562)

ส่องงบการเงิน

จากไฟล์ ข้อมูลทางการเงินที่สำคัญ เพื่อความรวดเร็วก็ดูตรงอัตราส่วนทางการเงิน เลยว่าเป็นอย่างไร
อัตราส่วนทางการเงินของ LPH
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่
อัตราส่วนทางการเงินของ LPH 2
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่
เรื่องหนี้สินเป็นบริษัทที่หนี้น้อยอัตรส่วนหนี้ต่อทุนเพียง 1.31 เท่า และ อัตราส่วนความสามารถในการชำระหนี้ (DSCR คำอธิบายอยุ่ในภาพ) สูงแปลว่า EBITDA เพียงพอกับการจ่ายดอกเบี้ย เงินต้น และปันผล เยี่ยมไปเลย

เรื่องการใช้สินทรัพย์ อัตราหมุนเวียนทรัพย์สินคงที่ แปลว่าสินทรัพย์ยังสร้างรายได้ ได้ตามปกติไม่มีปัญหาอะไร

ที่น่าสนใจคือ จากการมีลูกค้าประกันสังคมเพิ่มขึ้นทำให้ ระยะเวลาเก็บหนี้สูงขึ้น รายละเอียดมาจาก สำนักงานประกันสังคมเปลี่ยนกฎระเบียบทำให้เงินค้างเยอะขึ้นลูกหนี้การค้าเพิ่มขึ้น ในงบดุลตัวที่เพิ่มผิดสังเกตอีกตัวคือ รายได้ค่าบริการค้างรับเพิ่มจาก 10 ล้านในปี 2555 เป็นกว่า 100 ล้านในปี 2558
รายได้ค่าบริการทางการแพทย์ค้างรับ
การที่ระยะเวลาเก็บหนี้รวมๆสูงขึ้น ทำให้กระแสเงินสดจากการดำเนินงานลดลง และทำให้อัตราส่วนสภาพคล่องกระแสเงินสดลดลงไปด้วย

เท่าที่ดูปัญหาอยู่ที่การทำกำไรเนื่องจากอัตรากำไรขั้นต้น และอัตรากำไรสุทธิลดลงมาก
ลองไปเปิดคำอธิบายของฝ่ายจัดการ พบว่าต้นทุนการรักษาพญาบาล 30%เป็นค่าตัวหมอ 17% เป็นค่าตัวพญาบาล และที่สำคัญคือมีลูกค้าประกันสังคมมากขึ้น และมีการส่งต่อผู้ป่วยไปรพเฉพาะทางเพิ่ม ดูๆไปก็ปกตินะ

ส่วนกำไรจากการดำเนินงานลดลงเพราะมีค่าโฆษณามากขึ้น 20% ต้องตามติดว่าโฆษณาไปได้ผลดีหรือไม่จากการเติบโตของรายได้ ควรจะล้อกัน ถ้าลงโฆษณาไปรายได้ไม่ขึ้นก็แปลว่าตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ

ราคานี้ถุูกหรือแพง

ราคาคาบาทคิดเป็น PE 38 เท่า ผมว่าแพงนะ แต่เขาว่าไม่แพงเพราะถูกกว่ากลุ่มที่ PE 41 เท่า ใครจะซื้อก็ลุ้นอนาคตเอา ว่าศูนย์การแพทย์เฉพาะทาง รพใหม่ ฯลฯ จะดีหรือไม่กว่าจะเป็นก็ปี 59-60 รอประมาณ 2 ปี

สู้ต่อไป LPH

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น

สงสัยอะไรถามได้ครับผม