วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ทำไม ROE น้อยกว่า ROA

มีคนถามทำไมหุ้นบางตัว ROE ถึงน้อยกว่า ROA ทั้งๆที่ปกติ ROE มักจะมากกว่า ROA เนื่องจากผลของ Leverage จากหนี้สิน เป็นที่มาของบทความนี้ครับ เพื่อหาคำตอบว่ามันเกิดอะไรขึ้น

เมื่อลองนั่งไล่สมการที่ตลาดหลกทรัพย์ใช้คำนวณพบว่า

roa = ebit/สินทรัพย์
roe=กำไรสุทธิ/ส่วนทุน
= (ebit-i-t-กำไรของส่วนได้เสียไม่มีอำนาจควบคุม)/(สินทรัพย์-หนี้-ส่วนได้เสียไม่มีอำนาจควบคุม)

จาสมการพบว่า จาก EBIT มาเป็น กำไรสุทธิ จะผ่านสามส่วนคือ ดอกเบี้ย ภาษี และส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมดังนี้

1.เรื่องของหนี้สิน


โดยปกติหนี้สิจะทำหน้าที่ Leverage ให้ ROE สูงขึ้น แต่ในทางกลับกันถ้าบริษัทมีหนี้สินเยอะเกินไป ก็จะทำให้ดอกเบี้ยเยอะ แต่บริษัทไม่สามารถสร้าง กำไรจากการดำเนินงาน (ebit) ได้น้อยเกินไปไม่พอกับการจ่ายดอกเบี้ยก็จะทำให้กำไรของบริษัทน้อยลง และ ROE ก็จะต่ำลง

ดังนั้นทางแก้คือต้องพยายามทำให้ ROA สูงขึ้น เมื่อแยกส่วน ROA ออกมาจะพบว่า

ROA = อัตราหมุนเวียนสินทรัพย (Asset turnover) x Ebit margin

จากสมการ การที่บริษัทจะสามารถเพิ่ม ROA  ได้นั้นต้องทำโดยการเพิ่ม อัตราหมุนเวียนสินทรัพย์โดยสินทรัพย์เท่าเดิมต้องหาวิธีสร้างรายได้ให้เพิ่มขึ้น และพยายามลดรายจ่ายเพื่อให้ Ebit margin แต่บางที่ก็ต้องชั่งน้ำหนักดีๆ เพราะการหารายได้เพิ่มขึ้นถ้าคุมไม่ดี ค่าใช้จ่ายในการขายจะเพิ่มขึ้นอาจทำให้ Ebit margin ลดลงได้

แต่ในปีต่อๆไป ถ้าบริษัทเริ่มคืนหนี้ไปเรื่อยๆ และ ROA ยังเท่าเดิมได้ ROE จะค่อยๆเพิ่มขึ้น

2.ส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม


ส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม คือส่วนของผู้ถือหุ้นรายอื่นที่ไม่ใช่เราที่อยู่ในบริษัทย่อย งบการเงินที่เราอ่านคืองบรวม เขาจะเอาสินทรัพย์ หนี้สิน รายได้ และรายจ่ายมารวมกันทั้งก้อน ได้กำไรมาเท่าไรก็หักให้ส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมไป กำไรสะสมก็จะแบ่งเข้าสองส่วนคือ ส่วนทุนของบริษัทใหญ่ และส่วนไ้ด้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม

ดังนั้นถ้าบริษัทย่อยดีแต่บริษัทแม่ผลประกอบการไม่ค่อยดีนัก เวลาได้ EBIT มาแล้วแบ่งให้ส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมไป กำไรจะไปหักจาก ebit เยอะ ทำให้กำไรเหลือน้อยและ ROE ต่ำได้

ปัญหานี้จะแก้ยากหน่อย เพราะเป็นเรื่องของอัตราส่วนการถือหุ้นที่ตกลงกันกับ partner ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งบริษัท ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำคือไปทำผลประกอบการของบริษัทแม่ให้ดีขึ้น ROE ก็จะเพิ่มขึ้นได้

3.ภาษี


รายได้รายจ่ายบางตัวกรมสรรพากรก็ไม่มองเป็นรายได้รายจ่ายเอาแน่เอานอนอะไรไม่ค่อยได้ บางทีภาษีอาจเยอะก็ได้ ค่าใช้จ่ายภาษีจะไปหักจาก ebit เยอะ ทำให้กำไรเหลือน้อยและ ROE ต่ำได้

โดยสรุปบริษัทที่ ROA มากกว่า ROE สามารถอธิบายได้จากสามส่วนคือ ดอกเบี้ย ภาษี และส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมนั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น

สงสัยอะไรถามได้ครับผม