วันเสาร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2559

จับสัญญาณเตือนภัยจากงบกระแสเงินสด



การอ่านงบกระแสเงินสด เป็นผู้ช่วยในการมองภาพธุรกิจได้เยอะ ถ้าธุรกิจกำลังมีปัญหาเรื่องกระแสเงินสด จะมีสัญญาณบางอย่างที่ต้องเฝ้าระมัดระวังเกิดขึ้น ถ้ากระแสเงินสดเริ่มมีปัญหาก็แสดงว่ามูลค่ากิจการกำลังลดลงไม่นานหุ้นจะตก โดยสัญญาณที่ต้องเฝ้าระวังประกอบด้วย

1.อัตราการเติบโตของลูกหนี้การค้าและสินค้าคงเหลือสูงกว่ายอดขาย


อัตราการเติบโตของลูกหนี้การค้าและสินค้าคงเหลือสูงกว่ายอดขาย ถ้าดูในอัตราส่วนทางการเงินจะเห็น ระยะเวลาขายสินค้า และระยะเวลาเก็บหนี้ยาวขึ้น ปัญหาคือสินค้าอาจขายไม่ออก หรือขายไปแล้วเก็บหนี้ไม่ได้ ถ้าแห้ปัญหาไม่ได้อนาคตร้อนเงินแน่ๆแบบไม่ต้องสืบ

2.เจ้าหนี้การค้าเพิ่มสูงกว่าสินค้าคงเหลือที่เพิ่มขึ้น


มองในแง่ร้ายสาเหตที่เจ้าหนี้การค้าเพิ่มสูงกว่าสินค้าคงเหลือที่เพิ่มขึ้นอาจมาจากไม่มีเงินจ่ายเจ้าหนี้การค้าก็ของผัดผ่อนไปเรื่อย ของเก่ายังไม่จ่ายเจ้าหนี้ใหม่ก็มา เจ้าหนี้การค้าบวม ระยะเวลาชำระเจ้าหนี้จะยาวขึ้น เหมือนดูดีแต่ถ้าเจ้าหนี้มาทวงเงินเมื่อไรอาจซวยได้ เพราะอนาคตก็ต้องจ่ายเงินอยู่ดี

3.หนี้สินหมุนเวียนโตเร็วกว่าการเติบโตของยอดขาย


หนี้หมุนเวียนคือภาระผูกพันที่ต้องชำระภายใน 1 ปี การที่หนี้หมุนเวียนเพื่อขึ้นเร็วๆ ระยะสั้นอาจดูดีเพราะเอาเงินอนาคตมาใช้ก่อน แต่ถ้าเจ้าหนี้มาทวงเงินเมื่อไรอาจซวยได้ เพราะอนาคตก็ต้องจ่ายเงินอยู่ดี

4.กระแสเงินสดดำเนินงานติดลบต่อเนื่องหลายๆปี 


อาจมาจากขาดทุนจากการดำเนินงาน รายได้น้อยกว่ารายจ่าย หรือการเพิ่มขึ้นของเงินทุนหมุนเวียน เงินไปจมกับลูกหนี้ สินค้าคงเหลือ แต่ไม่ค่อยมีเจ้าหนี้การค้ามาช่วย รวมๆกันแล้ว CFO ติดลบ แสดงว่าร้อนเงิน เมื่อร้อนเงินก็ต้องวิ่งวุ่นหาเงินมาหมุน ทั้งขายสินทรัพย์ ไปกู้ยืมเงินชาบบ้าน และเรียกเพิ่มทุนจากผู้ถือหุ้น

ถ้าดูในอัตราส่วนทางการเงิน อัตราส่วนคุณภาพกำไร = CFO หลังจ่ายดอกเบี้ย / กำไรสุทธิ จะไม่มีค่าเพราะ CFO ติดลบ

5.รายจ่ายลงทุนในสินทรัพย์ถาวรสูงกว่ากระแสเงินสดจากการดำเนินงานอย่างเป็นสาระสำคัญ


แม้ว่าจะคาดการณ์ว่า Free Cash Flow จะติดลบอยู่แล้วในกรณีที่ธุรกิจนั้นอยู่ในช่วงเติบโตและต้องการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรจำนวนมาก แต่  Free Cash Flow  ที่ติดลบจำนวนมากก็แสดงว่ากิจการยังคงต้องพึ่งพิงเงินทุนจากแหล่งภายนอกอย่างต่อเนื่องเพื่อการเติบโตที่ยั่งยื่น

เผื่อใครลืม Free Cash Flow = EBIT + DA - t - Net Working Capital - CAPEX

กิจการที่ต้องลงทุนในสินทรัพย์ถาวร (CAPEX) สูงๆ จะเห็นในอัตราส่วนทางการเงินคือ อัตราหมุนเวียนสินทรัพถาวรย์จะต่ำ (Fixed asset turnover FAT)

FAT = ยอดขาย/สินทรัพย์ถาวร
=> สินทรัพย์ถาวร = ยอดขาย / FAT
จะเห็นว่าบริษัทที่ FAT ต่ำกว่า จะเพิ่มยอดขายขึ้น 1 บาทเท่ากัน ต้องลงทุนสินทรัพย์เยอะกว่า

และจากยอดขายกว่าจะมาเป็นกระแสเงินสดต้องผ่านอีกหลายด่าน หมุนเงินกันหัวปั่นเลยทีเดียว

ุ6.รายจ่ายลงทุนในสินทรัพย์ถาวรปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง


แม้ว่าการลดการลงทุนจะทำให้บริษัทมีเงินสดสำรองไว้ใช้ในระยะสั้นก็ตาม แต่ก็เป็นสัญญาณบ่งบอกว่ายอดขาย กำไร และกระแสเงินสดของกิจการจะลดลงตาม

ในงบอาจดูจากยอด CAPEX ที่ลดลงเมื่อเที่ยบกับปีที่แล้ว หรือนำ CAPEX ไปเทียบกับ ค่าเสื่อมเป็น อัตราส่วน Reinvestment ratio = CAPEX / DA มีค่าลดลง

7.มีการขายหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดออกไปมากกว่าส่วนที่ซื้อเข้ามาใหม่


การขายหลักทรัพย์ออกไปเช่นนี้ช่วยให้กิจการมีเงินสดเข้ามาทันที แต่ก็เป็นตัวบ่งบอกว่ากิจการขาดความสามารถในการก่อให้เกิดกระแสเงินสดจากการดำเนินงานเพียงพอที่จะนำมาใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนและเพื่อการลงทุนระยะยาว ทำให้กิจการต้องขายหลักทรัพย์ออกไปเพื่อให้ได้เงินสดมาใช้เพื่อวัตถุประสงคดังกล่าว

อย่างไรก็ตามการขายหลักทรัพย์ไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกว่ากิจการมีปัญหาด้านกระแสเงินสดเสมอไป หากกิจการขายหลักทรัพย์ออกไปเพื่อถือเงินสดส่วนเกินที่ได้มาไว้เป็นการชั่วคราวเพื่อที่จะนำไปใช้ในการซื้อกิจการหรือสินทรัพย์ในเวลาต่อมา

8.การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของการกู้ยืมระยะยาวมาเป็นระยะสั้นแหล่งเงินกู้ยืมระยะสั้น


เงินกู้ยืมระยะสั้นที่เพิ่มขึ้นเป็นตัวบ่งบอกว่ากิจการขาดความสามารถในการขอสินเชื่อระยะยาวจากสถาบันการเงิน เนื่อจากสถาบันการเงินผู้ให้กู้เกิดความไม่มั่นใจในอนาคตของกิจการ

ในงบกระแสเงินสดกิจกรรมจัดหาเงิน จะเห็นสภาพการหมุนเงิน การกู้แบงค์นึง มาจ่ายแบ้งค์นึง จะแสดงกันคนละบรรทัด ถ้าดูในงบดุลจะเห็นรวมกัน ถ้าเห็นกู้หนี้สั้นมาจ่ายหนี้ยาว ก็เริ่มเสียวๆละ

9.การจ่ายเงินปันผลลดลงหรืองดจ่ายปันผล 


แม้ว่าการลดหรือการงดการจ่ายเงินปันผลจะช่วยห้กิจการสามารถรักษาเงินสดไว้ได้ในระยะสั้นก็ตาม ผู้ถือหุ้นก็มักจะมองการเปลี่ยนแปลงนโยบายการจ่ายเงินปันผลเช่นนี้ไปในทางลบเกี่ยวกับกระแสเงินสดของกิจการ

แม้ว่าสัญญาณเหล่านี้ในตัวของมันเองจะไม่ได้เป็นตัวยืนยันปัญหาที่เป็นข้อสรุปที่ชัดเจน แต่จากการที่สัญญาณเหล่านี้เกิดขึ้น นักลงทุนก็ต้องให้ฝ่ายจัดการชี้แจกเพื่อดูว่าปัญหาทางด้านกระแสเงินสดกำไรลังเกิดขึ้นหรือไม่

ส่วนรูปนี้ก็มาจากงานวิจัย วิเชียร เธียรวิวรรธน์ ประยุกต์มาใช้ช่วยในการสอบบัญชี ทำเป็น checklist ไว้




อ้างอิง
วรศักดิ์ ทุมมานท์ "งบกระแสเงินสดงบการเงินรวมคู่อมือการจัดทำและวิเคราะห์ตามมาตรฐานการบัญชี" 2542


วิเชียร เธียรวิวรรธน์ การวิเคราะห์สัญญาณเตือนภัยจากงบกระแสเงินสดเพื่อประเมินความเสี่ยงในการปฏิบัติงานสอบบัญชีของกลุ่มธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ = Analysis of the warning signal from cash flow statement to assess audit risk in electricity product and computer business group

http://library.cmu.ac.th/digital_collection/etheses/fulltext.php?id=14240&word=%A7%BA%A1%C3%D0%E1%CA%E0%A7%D4%B9%CA%B4&check_field=_All_&select_study=&condition=2&search=9&philosophy=ok&master=ok#

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น

สงสัยอะไรถามได้ครับผม