วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2559

การด้อยค่าสินค้าคงเหลือผลกระทบต่องบการเงินและความเชื่อมโยง

มีคนถามว่า สินค้าคงเหลือมูลค่าลดลงมีผลกระทบต่องบการเงินและความเชื่อมโยง ยังไง อธิบายทางโทรศัพย์ยังมึน พูด เดบิตเครดิต ก็ยิ่งมึน เลยทำเป็นภาพแสดงเป็นขั้นตอนมาดังนี้

แนวคิดหลักมาจาก เราไปซื้อสินค้าคงเหลือกะว่าจะเอาไปขายให้เกิดกำไรเพิ่มความมังคั่ง พลิกชีวิตให้ดีขึ้น

แต่เจ้ากรรมราคาสินค้าดันลดลงทำให้มูลค่าสุทธิที่จะได้รับลดลง ในเวลาปิดบัญชีเลยบันทึกส่วนที่ลดลงเป็นขาดทุนในงวดนั้นไปเลย

มาตรฐานบัญชีบอกว่า มูลค่าที่ลดลงของสินค้าคงเหลือเนื่องจากการปรับมูลค่าให้เท่ากับมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ รวมทั้งผลขาดทุนทั้งหมดที่เกี่ยวกับสินค้าคงเหลือต้องบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในงวดที่ปรับมูลค่าสินค้าให้ลดลงหรือมีผลขาดทุนเกิดขึ้น
ผลขาดทุนจะบันทึกรวมในต้นทุนขายงวดนั้นๆ

ผลกระทบชิ่งแบบง่ายๆคือ

สินทรัพย์ลดลง => รายจ่าย => ทุนลดลง
ในงบกำไรขาดทุนต้นทุนขายงวดที่ด้อยค่าจะเพิ่มขึ้น ทำให้อัตรากำไรขั้นต้นลดลง

ทำให้มึนขึ้นดังนี้ แนะนำให้นอนให้เพียงพอแล้วค่อยมาอ่าน

1ซื้อสินค้าคงเหลือ


1.1นำเงินมาลงทุน 1,000 บาท  
1.2เอาเงิน 1000 บาทไปซื้อสินค้าคงเหลือ 
จะเห็นตัวเลขในงบกระแสเงินสด 1.3 คือเงินสดหายไป 1000 ไปซื้อสินค้าคงเหลือ

2.ราคาตลาดลดลง


วันสิ้นงวดราคาตลาดลดลงเหลือ 800 ความซวยบังเกิดเพราะซื้อของมา 1,000 นึง

3.ปรับมูลค่าสินค้าคงเหลือ


เมื่อเกิดขาดทุนในข้อสอง ก็ต้องบันทึกขาดทุนจากการด้อยค้าในสินทรัพย์ เป็น 3.2 รายจ่าย 200 เกิดจาก 3.2มูลค่าลดลงไป 200 

ในงบกระแสเงินสด รายการนี้ไม่ได้จ่ายออกไปเป็นเงินสด ต้องเอามาบวกกลับ 200 ตาม 3.3

4.กำไรสุทธิ และกำไรสะสม


4.1 จากขาดทุนในข้อสามทำให้งบกำไรขาดทุนเกิดผลขาดทุน 200 กระทบชิ่งไป 4.2กำไรสะสมติดลบ 200 

5.สินทรัพย์และส่วนทุน


การการด้อยค่าทำให้ 5.2 ทุนลดลง 200 จาก 1000 เป็น 800 เหตจาก 5.1  สินทรัพย์มูลค่าลดลง 200 1000 เป็น 800

6.วันขายจริง


รับเงินสด 800 จากการขายสินได้ 800 ตามที่ประมาณการเป๊ะๆ

7,8.สินค้าคงเหลือ รายการปรับมูลค่าและต้นทุนขาย


ต้นทุนขาย = สินค้าคงเหลือต้นงวด + ซื้อเพิ่ม - ปลายงวด
= 1,000 + 0 - 0 

ที่สินค้าคงเหลือยังเป็น 1000 เพราะรายการปรับปรุงบัญชีไม่ได้นำมาตัดกับสินค้าคงเหลือโดยตรง

ส่วนรายการปรับมูลค่า -200 งวดที่แล้ว ก็กลับรายการ 8.1 มาเป็น 200 จะเห็นยอดคงเหลือในงบดุล8.2 เท่ากับ 0 

ดังนั้นต้นทุนขายในงบกำไรขาดทุนจึงเป็น -1000 + 200 = -800


ส่วนในงบกระแสเงินสด จะเห็นรายการ 8.3 เป็นยอดหักออกเนื่องจากเป็นรายการที่ไม่ใช่เงินสด


จะเห็นว่าถ้างวดหน้าไม่มีการด้อยค่าสินค้าคงเหลือล็อทใหม่เพิ่มเต็ม ในงบกระแสเงินสดจะเห็นการกลับรายการด้อยค่ามาทั้งจำนวน

ถ้าเห็นตัวเลขกลับรายการมาไม่หมด เช่นในงบกระแสเงินสด ปีที่ 0 เห็น 200 งวดที่ 1 มีค่า -150 แสดงว่า สินค้าคงเหลือสิ้นงวดที่ 1 มีการด้อยค่าเพิ่มเติม 50 (-200 + 50 = -150)

9.ผลกระทบกับกำไร


กำไรจะเท่ากับ 0 กำไรสะสมก็ไม่เปลี่ยนแปลง เพราะเราเอาขาดทุนที่คาดว่าจะเกิดในอนาคตมากระทบไว้ในงวดที่แล้ว

10.เงินสดสุทธิ


เงินสดเพิ่มขึ้น 800 จากการขาย


สรุปผลกระทบชิ่งแบบง่ายๆสั้นๆ คือ สินทรัพย์ลดลง => รายจ่าย => ทุนลดลง
ในงบกำไรขาดทุนต้นทุนขายงวดที่ด้อยค่าจะเพิ่มขึ้น ทำให้อัตรากำไรขั้นต้นลดลง
โชคดีในการลงทุนครับผม



ติดตามเราได้ที่ Website : http://www.investidea.in.th
Facebook : http://www.facebook.com/investidea.in.th
Line ID : @investidea.in.th ใส่@นำหน้าด้วย
สัมมนาวิเคราะห์หุ้นด้วยปัจจัยพื้นฐาน ดูรายละเอียดและตารางอบรมได้ที่http://www.investidea.in.th/p/value-investor.html
หรือสอบถามราบละเอียดและลงทะเบียนได้ที่ Line; pat4310, หรือโทร 086-503-5023

วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2559

ความสัมพันธ์ระหว่างROE PBV PE

ความสัมพันธ์ระหว่าง ROE PBV PE
กดที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่

ROE PBV PE ค่าทั้งสามตัวนี้เป็นค่าที่ใช้บ่อยๆในการวิเคราะห์และประเมินค่า การรู้ความสัมพันธ์ระหว่าง สามตัวนี้จะทำให้สามารถวิเคราะห์ได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

1.ความสัมพันธ์เชิงคณิตศาสตร์


จากสมการ
roe = E/bv
=E/p x p/bv
roe เท่ากับ pbv คูณส่วนกลับของ pe

2,ROE และการเติบโต


roe คือผลตอบแทนที่บริษัททำกลับมาให้ผู้ถือหุ้น คนก่อตั้งมักจะมีหุ้นที่ราคาพาร์ดังนั้นผลตอบแทนที่เขาได้ก็คือ roe นั่นเอง

น้อกจากนั้น ROE จะมีความสัมพันธ์กับ การเติบโตของกิจการ ถ้าบริษัทโตเรื่อยๆแบบรักษาสัดส่วนโครงสร้งเงินทุนไว้เท่าเดิมจะเป็นการโตแบบ Sustainable growth

g = ROE x (1-b)

จะเห็นว่าถ้าบริษัทจายเงินปันผลอัตราคงที่เมื่อเทียบกับกำไร และบริษัทรักษาอัตรา ROE ให้สม่ำเสมอได้ บริษัทก็จะโตไปเรื่อยๆเท่ากับ g นั่นเอง ดังนั้นการซื้อหุ้นจึงเป็นการสะท้อน การเติบโตที่คาดหวังไปได้ด้วยส่วนหนึ่ง

3.PBV กับค่าความนิยม


pbv บอกว่าเราจ่ายซื้อที่ราคากี่เท่าของ  ฺBook Value คือส่วนทุน ในทางบัญชีเรียกสินทรัพย์สุทธิ

ในการขายหุ้นถ้าบริษัทดี เจ้าของคงไม่ขายบริษัทที่ bv  ต้องขายที่ราคาแพงกว่า bv

มองในแง่นักลงทุน เราจ่ายเงินซื้อที่ราคาสูงกว่ามูลค่าสินทรัพย์สุทธิ จะเกิดค่าความนิยม (goodwill) ในงบของเรา

ดังนั้นถือหุ้นไปอยู่เฉยๆไม่ได้ต้องดูว่าหุ้นที่เราถือยังมีค่าความนิยมหรือไม่ถ้ามองแล้วกิจการกำลังแย่ลงก็ต้องขายออก ถ้าไม่ขายตลาดจะปรับด้อยค่าความนิยมให้เองจากราคาตลาดที่ลดลง

การที่จ่ายซื้อสินทรัพย์ แพงกว่า bv แสดงว่าต้องเห็นอะไรดีๆในสินทรัพย์ เช่นแบรนด์แข็งแกร่ง networkของผู้บริโภค economy off scale จากการผลิตที่ทำให้อำนาจต่อรองสูงๆ ต้นทุนการเปลี่ยนแบรนสูงๆ หรือกฎระเบียบที่ทำกันคู่แข่ง ทำให้ส้างใหม่แข่งก็ลำบาก ยอมจ่ายซื้อกิจการที่good willดีกว่า

4.PE กับผลตอบแทนที่คาดหวัง


e/p ส่วนกลับของpe คือผลตอบแทนจากเงินลงทุนนั่นเอง
ดังนั้นถ้ามองจากสมการ roe ก็คือผลตอบแทนที่บริษัททำให้ bv pbvก็คือ ค่าความนิยมที่เรายอมจ่ายและepคือผลตอบแทนที่เราได้ แสดงว่าราคาเหมาะสมคือราคาที่ทำให้ได้ผลตอบแทนตามที่เราคาดหวังนั่นเอง หวังน้อยก็ยอมจ่ายซื้อที่ค่าความนิยมเยอะขึ้น

จะเห็นว่าสามอัตราส่วนนี้มีความสัมพันธ์กันแนบแน่น แสดงทั้งมุมมองฝั่งกิจการและมุมมองฝังนักลงทุน ถ้ามองเป็นก็สามารถประยุกต์ได้ไมมีขีดจำกัด เจริญในการลงทุนทุกท่านครับ


ติดตามเราได้ที่ Website : http://www.investidea.in.th
Facebook : http://www.facebook.com/investidea.in.th
Line ID : @investidea.in.th ใส่@นำหน้าด้วย
สัมมนาวิเคราะห์หุ้นด้วยปัจจัยพื้นฐาน ดูรายละเอียดและตารางอบรมได้ที่http://www.investidea.in.th/p/value-investor.html
หรือสอบถามราบละเอียดและลงทะเบียนได้ที่ Line; pat4310, หรือโทร 086-503-5023

วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2559

หุ้นที่กำไรโตในไตรมาศ 4 แยกตามอุตสาหกรรม

หุ้นที่กำไรโตในไตรมาศ 4 แยกตามอุตสาหกรรมสรุปเป็นรายงานตามภาพเลยครับผม

กลุ่มอสังหากำไรไตรมมาศที่แล้วโตหลายบริษัทเดาว่ามีโอนเยอะ รองลงมาเป็นกลุ่มบริการโตมากๆในหลายๆ sector เลย



ติดตามเราได้ที่ Website : http://www.investidea.in.th
Facebook : http://www.facebook.com/investidea.in.th
Line ID : @investidea.in.th ใส่@นำหน้าด้วย
สัมมนาวิเคราะห์หุ้นด้วยปัจจัยพื้นฐาน ดูรายละเอียดและตารางอบรมได้ที่http://www.investidea.in.th/p/value-investor.html
หรือสอบถามราบละเอียดและลงทะเบียนได้ที่ Line; pat4310, หรือโทร 086-503-5023

วันพุธที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2559

ค่า PE Ratio ของตลาดหลักทรัพย์คำนวณอย่างไร


ค่า PE Ratio เป็นอัตราส่วนที่ใช้วัดมูลค่าที่คนนิยมกัน ปัญหาของหลายคนที่ลองคำนวณเองมักเจอปัญหาคือ คำนวณยังไงก็ไม่ตรงกับที่ตลาดหลักทรัพย์คำนวณ มาดูกันครับว่าตลาดเขาคำนวณอย่างไร

ในเว็บตลาดหลักทรัพย์สูตรการคำนวณคือ www.set.or.th/th/market/files/SET_Formula_Glossary.pdf

ราคาปดของหุนสามัญ X [(จํานวนหุ้นสามัญ + จํานวนหุ้นบุริมสิทธิ) – จํานวนหุ้นซื้อคืน]
กําไรงวด 12 เดือนลาสุด

ตัวเศษ ราคา


ราคาปิดของหุ้นสามัญ X [(จํานวนหุ้นสามัญ + จํานวนหุ้นบุริมสิทธิ) – จํานวนหุ้นซื้อคืน] ก็คือมูลค่าหลัก

เท่าที่ลองคำนวณมาหลายๆแบบพบว่า ตัวเสษก็คือมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดนั่นเอง เพราะเดี๋ยวนี้บริษัทไม่ค่อยออกหุ้นบุริมสิทธ์กันเท่าไรนานๆเจอที

ถ้าคำนวณแบบนี้ หลายคนที่ใช้ EPS มาคำนวณจะไม่ตรงเพราะ EPS แต่ละไตรมาศจำนวนหุ้นที่มาเป็นตัวหารจะเป็นจำนนหุ้นสามัญเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก ส่วนจำนวนหุ้นที่เอามาคำนวณ PE จะเป็นจำนวณหุ้นที่ซื้อขายในตลาด ณ วันนั้นไม่ใช่ค่าเฉลี่ย

ตัวส่วน กำไร


กำไรงวด 12 เดือนล่าสุด


ตรงนี้ก็ปัญหาเหมือนกันเพราะกำไรมีตั้งสามตัว

  • กำไรสุทธิ ; กำไรในงบรวมที่รวมกำไรของบริษัทและบริษัทย่อย ก่อนแบ่งให้ส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม
  • กำไรส่วนได้เสียไม่มีอำนาจควบคุม ส่วนที่เราไม่ได้ถือ เมื่อมีกำไรก็ต้องแบ่งให้เขาไป
  • กำไรส่วนของผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่ กำไรที่มาถึงเราจริงๆ 
กำไรที่ SET ใช้คำนวณ จะเป็น  กำไรส่วนของผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่ 

ย้อนหลัง 12 เดือน ก็คือ 4 ไตรมาศนั่นเอง การคำนวณก็เอา กำไร 4 ไตรมาศย้อนหลังมาบวกกัน


การตีความ



ดังนั้นการตีความจึงต้องมองว่า ที่ระดับราคาปัจจุบัน เราจ่ายเงินซื้อเป็นกี่เท่าของกำไรของผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่ ยิ่งน้อยยิ่งดี




ค่า PE คำนวณไม่ยายเลยครับผม



ติดตามเราได้ที่ Website : http://www.investidea.in.th
Facebook : http://www.facebook.com/investidea.in.th
Line ID : @investidea.in.th ใส่@นำหน้าด้วย
สัมมนาวิเคราะห์หุ้นด้วยปัจจัยพื้นฐาน ดูรายละเอียดและตารางอบรมได้ที่http://www.investidea.in.th/p/value-investor.html
หรือสอบถามราบละเอียดและลงทะเบียนได้ที่ Line; pat4310, หรือโทร 086-503-5023