วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

เทคนิคช้อนหุ้น เพิ่มหรือลดความเสี่ยงกันแน่

เทคนิคช้อนหุ้น เพิ่มหรือลดความเสี่ยงกันแน่

การช้อนหุ้น คือ การที่ราคาหุ้นปักหัวลง ลงจนคิดว่า มันไม่ลงไปกว่านี้อีก จึงควรซื้อเพราะ “เชื่อว่า” ซื้อได้ในราคาที่ต่ำสุด ต่อไปมันจะต้องขึ้น แล้วเราจะพลิกชีวิตกลายเป็นรวย แต่ปัญหาคือส่วนใหญ่มักจะเจ๊งออกมา เพราะหุ้นไม่วิ่งอย่างที่คิด แต่เราจะมีวิธีการช้อนหุ้นอย่างไรไม่ให้เสี่ยง มาดูกันครับ


1.Risk Reward Ratio เครื่องมือประเมินความคุ้มค่าความเสี่ยง


Risk Reward Ratio เป็นเครื่องมือสำคัญในการประเมินว่า จังหวะที่เราจะเข้าลงทุนได้รับผลกำไรคุ้มค่ากับความเสี่ยงหรือไม่ ถ้าผลตอบแทนที่ได้ไม่คุ้มค่ากับความเสี่ยงที่ต้องรับมากเกินไปก็ไม่น่าช้อนซื้อ การคำนวณเริ่มจากรู้ว่า จะเข้าตรงไหน cut loss ตรงไหน และจากจุดที่เราเข้ามีเป้าราคาอยู่ที่ไหน โดยการคำนวณตามสูตรดังนี้

Risk Reward Ratio = Risk / Reward = (profit - entry) / ( entry – stop)

นักลงทุนหลายท่านจะซื้อเมื่อ Risk Reward Ratio สูง ๆ เกิน 3 เท่าขึ้นไปเท่านั้น ได้ก็ได้เยอะ เสียก็เสียไม่มากพอร์ทไม่พัง เป็นหัวใจของ money management คือมี  money ให้ manage ตลอดเวลา

Risk Reward Ratio 

2.ช้อนหุ้นด้วยปัจจัยพื้นฐาน


ระยะยาวแล้วหุ้นก็จะไปตามพื้นฐานเสมอ ถ้าหุ้นกำไรไม่โต ราคาก็ตก อนาคตกำไรเติบโตราคาหุ้นก็ยังวิ่งต่อไปได้ ดังนั้นการช้อนหุ้นโดยใช้ปัจจัยพื้นฐานต้องดูว่า ราคาหุ้นที่ตกลงมาเนื่องจากอะไร และต่อไปมีแนวโน้มที่จะกำไรกลับมาเติบโตได้อีกหรือไม่

การช้อนหุ้นด้วยปัจจัยพื้นฐาน PJW

ตัวอย่างหุ้น PJW ทำธุรกิจโรงงานผลิต แกลอนน้ำมัน ขวดนม ชิ้นส่วนรถยนต์ เข้า IPO นำเงินไปสร้างโรงงานใหม่ หลังจากเปิดโรงงานมารายได้ก็ยังไม่คุ้มทุนซักที มีไตรมาสสี่ที่ผ่านมากำไรเพิ่มเป็นไตรมาสแรก และไตรมาสที่ 1 ก็ยังกลับมาเติบโตอีก ส่วนไตรมาสต่อไปก็วัดใจเอาครับ

การเข้าไปช้อนซื้อต้องรอให้มีสัญญาณการฟื้นตัวกลับมาก่อน เริ่มจากระบุปัญหาของธุรกิจว่าเกิดจากอะไร ยกตัวอย่าง PJW กำไรตกเพราะยังผลิตไม่ถึงจุดคุ้มทุน เมื่อออดเดอร์มากขึ้น อัตราหมุนเวียนทรัพย์สินก็ค่อยๆเพิ่มขึ้น เมื่อบวกกับต้นทุนเม็ดพลาสติกลดลง อัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้น กำไรเพิ่ม สตอรี่มา งบยืนยันก็สามารถช้อนซื้อได้ครับผม

3.กลยุทธ์ย่อรับแบบตามเทรน


เคยเห็นบางคน ใช้เทคนิคย่อรับแบบตามเทรน โดยการหาหุ้นที่กำลังวิ่งอยู่บนเทรน แล้วพายามหาเส้นที่รับอยู่ เช่น INET พอราคาลงมาที่เส้น 20 วันแล้วเด้งทุกที สายย่อต้องใช้ใจหน่อยโดยการ พอเห็นราคาลงมาที่เส้น แล้วดูว่าน่าจะรับอยู่ก็ซัดเลย ถ้ามันวิ่งก็ได้เงิน ปล่อยให้รันเทรนไป ถ้าไม่วิ่งและราคาลงมาก็ต้องทำใจคัดขาดทุนไป หาตัวใหม่
ตัวอย่างกลยุทธ์การรับหุ้นที่เส้นค่าเฉลี่ย
จะเห็นว่ากลยุทธ์การลงทุนแบบย่อรับก้มีได้บ้างเสียบ้างสลับกันไป ต้องลองทดสอบกลยุทธ์ย้อนหลังเรื่อยๆครับ

4.สายย่อแบบไม่เป็นเทรน


หุ้นบางทีเรามองแล้วว่าไม่เป็นเทรนเพราะ กำไรก็ยังไม่ได้โตไปไหน ราคาคงไปไหนได้ไม่ไกล ก็คงวนๆ อยู่ในกรอบ ถ้าจับยังกับพื้นฐานราคาหุ้นอาจวนอยู่ในกรอบ PE ที่เป็นไปได้ เช่นระหว่าง 10-20 เท่า ไปไหนได้ไม่ไกล
กลยุทธ์การช้อนหุ้นตามกรอบการเคลื่อนไหวของราคา

เมื่อรู้อย่างนี้เมื่อหุ้นลงมาเยอะ ๆ บางคนเอาชัวร์ เช่น ต้องให้หลุดกรอบโบลิงเจอร์แบนมาถึงเข้า ค่อยไปขายเมื่อราคาหุ้นวิ่งไปที่เส้นค่าเฉลี่ย หรือวิ่งกลับไปที่กรอบบน เพื่อเพิ่มความมั่นใจอาจดู RSI เพื่อคอนเฟริมว่ามันจะตกจริงหรือไม่ ช่วยได้อีกก็ได้


โดยสรุปจะเห็นว่า การช้อนหุ้นให้ไม่เสี่ยงต้องคำนึงถึงผลได้กับความเสี่ยงเป็นสำคัญ ถ้าผลได้ไม่ค่อยคุ้มกับความเสี่ยงก็อย่างไปเล่นมันเลย ใครไม่อยากเจ็บตัวซ้ำแล้วซ้ำอีก หรือเดินหมากผิด ก็ลองเข้ามาดูเทคนิคการลงทุนดี ๆ ได้ที่ลิงก์นี้นะครับ https://www.krungsri.com/bank/th/KrungsriGuru/Investment.html 



1 ความคิดเห็น :

สงสัยอะไรถามได้ครับผม