วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

Fiscal Cliff คืออะไร?

Fiscal Cliff คืออะไร?

Fiscal Cliff เป็นคำอธิบายสถานการณ์ที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจจะเข้าสู่ภาวะถดถอยรุนแรงอีกครั้ง เมื่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ จะหมดอายุลงพร้อมกันภายในสิ้นปี 2012 นี้ นั่นคือ 

  1. มาตรการลดหย่อนภาษีต่างๆ (เช่น ภาษีเงินได้ ภาษีมรดก) ที่เรียกกันว่า Bush Tax Cut จะหมดอายุในสิ้นปีนี้ ทำให้คนอเมริกันต้องจ่ายภาษีเพิ่มขึ้นในปี 2013 และเมื่อต้องเสียภาษีมากขึ้น ก็จะมีเงินใช้จ่ายน้อยลง
  2. นอเมริกันจะถูกเก็บภาษีเพิ่มอีก 3.8% จาก “เงินได้จากการลงทุน” เพื่อไปดูแลค่ารักษาพยาบาลในโครงการ ObamaCare
  3. เงินงบประมาณของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่มีใช้จ่ายสนุกมือจะหายไปครึ่งหนึ่ง
หากมาตรการเหล่านี้ไม่ได้รับการต่ออายุ คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2013 จะพลิกจาก +2.0% เป็น -0.5% อัตราการว่างงานจะเพิ่มจาก 8.0% เป็น 9.1% และอาจจะฉุดเศรษฐกิจโลกที่แย่อยู่แล้วให้แย่ไปกว่านี้อีก อันที่โหดมาก คือ ภาษีเงินได้จากเงินปันผล ที่จะเพิ่มจาก 15% เป็นอัตราปกติ 39.6% แล้วบวกภาษี ObamaCare อีก 3.8% คนอเมริกันต้องจ่ายภาษีเงินปันผลสูงถึง 43.4% มีคนทำนายว่า หุ้นสหรัฐฯจะร่วงอย่างน้อย 30% ในปีหน้า!!!

แต่ในระยะยาว Fiscal Cliff จะส่งผลให้รัฐบาลสหรัฐฯ ต้องประหยัดและรัดเข็มขัดมากขึ้นครับ คาดว่าอัตราส่วนหนี้สินต่อ GDP ในปี 2022 จะลดลงจาก 90% เหลือเพียง 58%

Fiscal Cliff มีผลต่อเงินออมของเราอย่างไร? ถ้ามันเกิดขึ้นจริง ผมเกรงว่าคนที่ซื้อหุ้นในตอนนี้ อาจจะต้อง “ติดดอย” กันเป็นแถวครับ : )





ที่มา https://www.facebook.com/photo.php?fbid=309478322493680&set=a.305313389576840.71578.305000962941416&type=1


วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

Rules of Thumb กับการลงทุน

มนุษย์เรานั้นชอบทำอะไรตามความคุ้นเคย และมองหาทางลัดในการตัดสินใจอยู่เสมอ หลายครั้งเราเลือกใช้กฎบางอย่างมาช่วยในการตัดสินใจอย่างคร่าว ๆ เพื่อประหยัดเวลา แม้ว่ามันอาจไม่ถูกต้อง 100% แต่ก็มีโอกาสใกล้เคียง มีกฎอยู่บางประเภทที่เราสร้างมันขึ้นมาจากประสบการณ์และบอกต่อกันเพื่อเอาไว้ใช้เพื่อประหยัดเวลา เราเรียกกฎประเภทนี้ว่า Rules of Thumb ซึ่งคาดว่าน่าจะมาจากอดีตที่ช่างไม้ขี้เกียจใช้ไม้วัดในการวัดชิ้นงานของตน และตัดสินใช้นิ้วตัวเองวัดแล้วก็บอกต่อๆ กัน ผู้เขียนเข้าใจว่ามันคงคล้ายกับรากศัพท์หน่วยวัดที่บ้านเราเรียกว่า นิ้ว หรือ คืบ(มือกาง) หรือ ศอก(ท่อนแขน) หรือวา (สองแขนกาง) ซึ่งแท้จริงแล้วศอกแต่ละคนก็ไม่เท่ากัน แต่สมัยโบราณ เพื่อความรวดเร็ว เราก็ยอมรับให้ใช้แบบอนุโลมเพื่อความรวดเร็วได้ และ ได้พัฒนากลายเป็นกฎบางอย่างเกี่ยวกับงานของตน เช่น ช่างตัดเสื้อที่วัดเพียงรอบหัวแม่เท้าหรือ รอบคอก็สามารถคะเน และตัดเสื้อทั้งตัวออกมาได้

และสำหรับการลงทุนก็มี Rules of Thumb อยู่หลายข้อเหมือนกันที่น่าสนใจ ยกตัวอย่างเช่น
  1. ให้เราเอาผลตอบแทนเฉลี่ยที่เราทำได้ไปหาร 72 แล้วเราจะได้จำนวนปีที่เงินต้นเราจะเพิ่มเป็น 2 เท่า เช่นหากผู้เขียนทำผลงานได้ปีละ 20% มันก็จะใช้เวลา 72/20 = 3.6 ปี ในการทำให้เงินต้น 100 บาทกลายเป็น 200 บาท หรือ 
  2. ผลตอบแทนเฉลี่ยของตลาดหลักทรัพย์คือ 10% ซึ่งทำให้เราน่าจะคาดได้ว่าหากเราลงทุนระยะยาว เราควรได้ผลตอบแทนประมาณนี้สอดคล้องกัน และเราควรตั้งเป้าให้สูงกว่านี้อีกนิดเพื่อเพิ่มความท้าทาย แต่อย่างไรก็ตามนี่คือค่าเฉลี่ย ไม่ใช่ว่าทุกปีจะเท่ากับ 10 มันมีปีที่พุ่งสูงลิ่วและดิ่งทะลุเหว โปรดระลึกไว้เสมอ หรือ 
  3. อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 4% เราจึงควรตระหนักอยู่เสมอว่า เงินที่เราหามาได้ในปีหน้านั้น ค่าของมันหายไป 4% เสมอ อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจก็มีโอกาสที่จะเข้าสู่ภาวะเงินฝืดได้ด้วย เราจึงต้องหมั่นติดตามสภาวะที่แท้จริงที่เกิดขึ้นในตลาดอยู่เสมอ มิใช่ วิเคราะห์บนแผ่นกระดาษเพียงอย่างเดียว 
จะเห็นว่า Rules of Thumb ช่วยประหยัดเวลาให้เราในการตัดสินใจหรือทำความเข้าใจในบางเรื่องได้พอสมควร แต่ หากเป็นการตัดสินใจที่สำคัญเราควรให้เวลาในการคิดมากกว่านี้ พิจารณาให้ละเอียดทุกด้าน จะดีที่สุด

ที่มา https://www.facebook.com/OutOfMyMindOnValueInvestment บทความหมายเลข 132

วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555

การใช้งาน efinancthai สำหรับชาว VI

เดียวนี้เครื่องมือกรองหุ้นมีเยอะครับแต่กรองมาแล้วจะกล้าซื้อหรือเปล่าเท่านั้นเอง

กรองหุ้น

เลือกเมนูกรองหุ้นด้วยปัจจัยพื้นฐาน

เลือกเงื่นไขตามต้องการ

ได้รายชื่อหุ้น

ดูข้อมูลพื้นฐาน

analysis stock

หน้าจอ

วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

การจัดพอร์หุ้นกับการเล่นดนตรี

คุณ OutOfMyMind on Value Investment ได้เขียนใน page เปรียเทียบการ portfolio ลงทุนกับดนตรีได้เห็นภาพดีครับ เชิญอ่านโดยพลัน

วันนี้เบาๆ สำหรับคนรักในเสียงเพลงนะครับ พอร์ตลงทุนที่ถูกออกแบบไว้อย่างสวยงามสอดคล้องน่าจะสามารถสร้างความบันเทิงให้กับเจ้าของในการเฝ้าติดตามความเคลื่อนไหวของมันได้เป็นอย่างดี ไม่ต่างกับบทเพลงไพเราะสักบท พอร์ตที่ไพเราะเหมือนเพลงนั้นมีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ 4 อย่างนั่นคือ

  1.  Melody อันได้แก่จังหวะการขึ้นลงของหุ้นแต่ละตัวที่ควรมีจังหวะขึ้นลงอย่างต่อเนื่อง ไม่หวือหวา กระโดดข้าม หรือ เคลื่อนไหวในทิศทางที่เกินความคาดหมาย จนขาดความไพเราะ
  2.  Harmony อันเป็นความสอดคล้องเมื่อรวมหุ้นทุกตัวเข้าด้วยกัน ต้องสามารถทำงานร่วมกัน เมื่อตัวหนึ่งกดลงแรง อีกตัวหนึ่งอาจจะขึ้น เพื่อรองรับ ไม่ให้บทเพลงเหวี่ยงไปทางใดทางหนึ่งมากกว่าที่ควร
  3.  Rhythm คือการไหล (Flow) หรือการเคลื่อนตัวของพอร์ต ซึ่งควรเป็นจังหวะ อาจเป็นได้ทั้งเร่งเร็วหรือไหลเอื่อย ก็แล้วแต่เจ้าของผู้สร้างสรรค์พอร์ตลงทุนนั้นจะเลือกใช้จังหวะอะไร ด้วยความเร็วแค่ไหน และ 
  4. Dynamic คือชีวิต พลัง และ อารมณ์ ของพอร์ตที่ต้อง กำหนดผ่านความหนักเบา ของหุ้นแต่ละตัวในพอร์ต ซึ่งไม่ควรแข็งทื่อด้วยการกำหนดน้ำหนักเท่า ๆ กันทุกตัว แต่ควรแตกต่าง เพื่อให้พอร์ตลงทุนมีพลัง และ เคลื่อนไหวอย่างมียุทธศาสตร์
สำหรับผู้เขียนนั้น ชอบเพลงช้า ที่มีจังหวะแน่นอน มีหนักบ้าง เบาบ้าง เสียงขึ้นลง อยู่ในกรอบที่ไม่กว้างนัก มันต้องมีเสียงลงต่ำบ้าง เพื่อให้เวลาขึ้นสูงแล้วไพเราะ พอถึงท่อน Hook ต้องได้ได้เนื้อได้หนัง ฟังแล้วจับใจ ไพเราะ เปิดวนซ้ำได้นานหลายปี ยังทันสมัยอยู่เสมอ ไม่ต้องเปลี่ยนเพลงใหม่บ่อยๆ

ที่มา https://www.facebook.com/OutOfMyMindOnValueInvestment

วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

รูปแบบการตกแต่งงบกระแสเงินสดในไทย


รูปแบบการตกแต่งงบกระแสเงินสดในไทย

  1. รวมรายการเงินเบิกเกินบัญชีธนาคารไว้เป็นส่วนหนึ่งในกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน 
  2. จัดจำแนกรายการเงินให้กู้ยืมกรรมการและบำเหน็จไว้เป็นกระแสเงินสดจากการจัดหาเงิน 
  3. แสดงรายการส่วนเกินจากการตีราคาทรัพย์สิน ขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นของหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด(เงินลงทุนระยะยาว) และผลสะสมของการเปลี่ยนแปลงหลักการบัญชี(การเปลี่ยนแปลงวิธีบันทึกเงินลงทุนในบริษัทร่วมและย่อย จากวิธีราคาทุนเป็นวิธีส่วนได้เสีย) โดยปรับกับกำไรสุทธิ ทั้งๆ ที่รายการดังกล่าวจัดเป็นรายการที่ไม่เกี่ยวกับเงินสด( Noncash Items) 
  4. นำรายการกำไรจากการลงทุนในบริษัทร่วมและบริษัทย่อย หรือกำไรจากการขายเงินลงทุน มาบวกกับกำไรสุทธิ 
  5. นำรายการเปลี่ยนแปลงในลูกหนี้ค่าหุ้นซึ่งเกิดจากการจัดหาเงินมาปรับกับกำไรสุทธิ
  6. นำรายการเปลี่ยนแปลงในบัญชีเจ้าหนี้การค้าที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการลงทุน (เช่น การซื้อเครื่องจักรโดยการก่อหนี้) มาปรับกับกำไรสุทธิ 
  7. ไม่บันทึกกำไรจากการขายสินทรัพย์ กำไรจากการลงทุนในบริษัทร่วมและบริษัทย่อย ออกจากการคำนวณกระแสเงินสดจากการดำเนินงานตามวิธีทางอ้อม 
  8. แสดงกำไรสุทธิในงบกระแสเงินสดแตกต่างไปจากกำไรสุทธิที่แสดงไว้ในงบกำไรขาดทุนหรือ แสดงค่าเสื่อมราคาในงบฯต่างไปจากที่เปิดเผยไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ทั้งๆ ที่เป็นรายการเดียวกัน
  9. ไม่แยกแสดงเงินสดที่ไม่มีสภาพคล่อง ( เช่น เงินสดที่นำไปใช้ค้ำประกัน เงินเบิกเกินบัญชี และการออกหนังสือค้ำประกันต่างๆ) ออกจากรายการเงินสด และรายการเทียบเท่าเงินสด
  10. รวมรายการเงินเบิกเกินบัญชีธนาคารไว้เป็นส่วนหนึ่งของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด 
  11. รวมเงินปันผลรับจากการลงทุนในบริษัทอื่นๆ ไว้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมดำเนินงาน ในขณะที่บันทึกเงินปันผลรับจากการลงทุนในบริษัทร่วมและบริษัทย่อยไว้ในกิจกรรมลงทุน 
  12. รายการต่างๆ ที่รวมอยู่ในการคำนวณกระแสเงินสดสุทธิจากการดำเนินงาน เมื่อตรวจสอบการคำนวณใหม่ จะได้ยอดที่ไม่ตรงกับกระแสเงินสดสุทธิจากการดำเนินงานตามที่แจ้งในงบกระแสเงินสด 

ที่มา http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=35&t=3497

วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555

ความแตกต่างระหว่างนักลงทุนกับนักเก็งกำไร

นักเก็งกำไร  และนักลงทุนต่างกันอย่างไร

การเก็งกำไรคือการตกปลา บางคนก็ได้ปลามาเป็นกอบเป็นกำทุกครั้ง บางคนก็เสียเหยื่อไปฟรีๆ บางคนอาจถึงขั้นตกเรือโดนปลากินอีกต่างหาก

การลงทุนคือการสร้างบ่อเลี้ยงปลา ค่อยๆสร้าง แรกๆได้ปลานิดเดียวแต่ลงทุนไปเยอะ นานๆเข้าก็แค่คอยดูแลไปเรื่อยๆก็มีปลาให้กินทุกวัน

แต่ก็มีบางคนที่
  • นอกจากตกปลาไม่เป็น/เก่งแล้ว ยังสร้างบ่อเลี้ยงปลาไม่เป็น/เก่งครับ 
  • ไม่มีความรู้เรื่องปลาอย่างแท้จริง การผสมพันธุ์ หรือรักษายามมันติดโรค 
  • มีข้อจำกัดในการลงทุน ไม่สามารถลงทุนสร้างได้แม้แต่บ่อเดียว นอกจากนี้
    หากรายได้จากการขายปลาดี ผมกลัวจะขยายการลงทุนทำบ่อเพิ่มไม่ทันคนอื่นเขา

ทำไปก็เจ้งดังนั้น แทนที่จะสร้างบ่อเลี้ยงปลาเอง ก็ขอเลือกบ่อปลาดีๆ ที่ต้องการผู้ร่วมลงทุนแทนครับ แต่ก่อนจะตัดสินใจ ก็ต้องดูหลายอย่างเหมือนกัน เช่น

  • เลือกเจ้าของบ่อที่มีความรู้ ความสามารถ ต้องใจเลี้ยงปลาเพื่อให้ผมประกอบการให้ดียิ่งขึ้น 
  • เลือกชนิดของปลาที่จะเลี้ยง เป็นความต้องการของตลาด รสชาดอร่อย มีความแตกต่าง 
  • เลือกบ่อที่มีชื่อเสียงและขายปลาได้ราคา มีความสามารถในการแข่งขัน 
  • เลือกบ่อที่มีประวัติดี ยอดขาย รายได้ กำไร อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังแบ่งปลามาให้ทานบ้าง
    และอื่นๆ 
เวลาผ่านไปสิบปี
คนตกปลาก็ต้องออกไปหาปลาเรื่อยๆถ้าอยากได้ปลา
คนเลี้ยงปลากับคนที่ร่วมหุ้นกับเจ้าของบ่อปลาไม่ต้องออกไปหาก็ได้ปลามากินทุกวัน

ความเสี่ยง

เสี่ยงด้วยกันทั้งคู่ครับ ทั้งคนตกปลา กับคนเลี้ยงปลา 
คนตกปลาอาจไม่ได้ปลา ก็อดตาย
คนเลี้ยงปลาถ้าปลาตาย ก็อดเหมือนกันครับ