วันเสาร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

อ่านงบการเงินใน 15 นาที

วันนี้ไปพูดที่ งานร่วมระหว่างโบรกกิมเอ็งกับสำนักพิมพ์คิดดี  ให้เวลา 15 นาที พูดเรื่องงบการเงิน เลยสรุปเรื่องงบการเงินเหลือ 1 slide พอตามภาพ

สรุปงบการเงิน

  • วัตถุประสงค์การอ่านงบ เพื่อ เรียนรู้อดีต เข้าใจปัจจุบัน และทำนานอนาคต (เห็นกำไรก็เห็นราคาหุ้น)
  • งบการเงินเริ่มจากนักบัญชีต้องการบันทึกกิจกรรมในธุรกิจให้เป็นระบบ
  • เริ่มจากสังเกตุรายการค้าในธุรกิจมี 3 เรื่องคือ รายได้ รายจ่าย สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของผู้ถือหุ้น
  • งบการเงินจะบอกสองส่วนคือ 
    • แหล่งที่มาของเงิน (เครดิต) ว่ากิจการหาเงินมาจากไหน ประกอบด้วยรายได้ หนี้สินซึ่งแบ่งย่อยเป็น หนี้สินหมุนเวียนหรือหนี้ที่จ่ายใน 1 ปีรายการหลักคือเจ้าหนี้การค้า กับหนี้สินไม่หมุนเวียนหรือหนี้ที่จ่ายมากกว่าหน่งปี และส่วนของผู้ถือหุ้น
    • แหล่งที่ใชไปของเงิน (เดบิต) ว่ากิจกการใช้เงินไปที่ไหนบ้าง ประกอบด้วยรายจ่าย, สินทรัพย์แบ่งเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนหรือสินทรัพย์ที่แปลงเป็นเงินได้ใน 1 ปีรายการหลักคือลูกหนี้การค้าและสินค้าคงเหลือ กับสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่เปลงเป็นเงินใช้เวลามากกว่า 1 ปี รายการหลักคือที่ดินอาคารและอุปกรณ์
  • สรุปออกเป็น 2 งบคืองบกำไรขาดทุน จะบอกว่าในช่วงนั้นมีรายได้และรายจ่ายเท่าไร กับงบแสดงฐานะการเงิน(งบดุล)ที่บอกว่า ณ วันนั้น กิจการมีสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของผู้ถือหุ้นเท่าไร
  • งบกระแสเงินสดเป็นการจัดประเภพรายการค้าตามการตัดสินใจในธุรกิจประกอบด้วย 3 กิจกรรมคือ
    • เงินสดสุธิจากการดำเนินงาน (CFO) เกี่ยวของกับการตัดสินใจในการดำเนินงาน จะประกอบด้วยรายการสำคัญคือ รายได้ รายจ่าย การเปลี่ยนแปลงในสินทรพย์หมุนเวียน(ลูกหนี้การค้า,สินค้าคงเหลือ) และการเปลี่ยนแปลงในหนี้สินหมุนเวียน(เจ้าหนี้การค้า)
    • เงินสดสุทธิจากการลงทุน (CFI) เกี่ยวข้องกับการตัดสินลงทุนของกิจการ ประกอบด้วยรายการสำคัญคือ การเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์)
    • เงินสดสุทธิจากกิจกรรมจัดหารเงิน (CFF) เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจว่าจะหาเงินมาจากไหนประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงในหนี้สินไม่หมุนเวียน และการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้น
  •  การวิเคราะห์ให้อัตราส่วนทางการเงิน
    • อัตราส่วน = การวัดประสิทธิภาพ = output/input => ใส่ input ไป 1 หน่วยได้ out put ออกมาเท่าไร 
    • การบริหารกำไร ประกอบด้วยอัตรากำไรขั้นต้น (GPM=กำไรขั้นต้น/ยอดขาย*100), อัตรากำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี (EBIT margin= EBIT/ยอดขาย*100) และอัตรากำไรสุทธิ (NPM=กำไรสุทธิ/ยอดขาย*100) ยิ่งเยอะและสม่ำเสมอยิ่งดี
    • การบริหารสภาพคล่อง ประกอบด้วย ระยะเวลาเก็บหนี้ (AR day =ลูกหนี้การค้าเฉลี่ย/ยอดขาย*360) ระยะเวลาขายสินค้า (inventory day= สินค้าคงเหลือเฉลี่ยน/ต้นทุนขาย*360) ระยะเวลาชำระเจ้าหนี้การค้า (AP day = เจ้าหนี้การค้าเฉลี่ยน/ต้นทุนขาย*360) และ วงจรเงินสด (cash cycle = ระยะเวลาขายสินค้า + ระยะเวลาเก็บหนี้ - ระยะเวลาชำระเจ้าหนี้) น้อยๆหรือติดลบดี
    • การบริหารสินทรัพย์ อัตราส่วนหมุนเวียนทรัพย์สิน (asset turnover=ยอดขายหารสินทรัพย์รวมเฉลี่ย) ยิ่งเยอะยิ่งดี  อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ROE = EBIT/สินทรัพย์รวมเฉลี่ย*100)
    • ความเสี่ยงเรืองหนี้สิน อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (DE ratio = หนี้สินรวมหรือส่วนของผู้ถือหุ้น) ยิ่งน้อยยิ่งดี อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE=กำไรสุทธิ/ส่วนของผู้ถือหุ้น*100)
  • กรณีศึกษา ยกตัวอย่าง PAE สมัยก่อนทำรับเหมาก่อสร้างและงาน oil&gas มีปัญการการควบคุมค่าใช้จ่ายของงานรับเหมาก่อสร้างทำให้ขาดทุน และกระทบต่อการปล่อยเงินกู้ของธนาคารที่จะมาซื้อเครื่องจักในงาน oil&gas ทำให้รับงานไม่ได้และขาดงเงินลงไปอีก
  • ต่อมาเมื่อเดือน พษฤภาที่ผ่านมาได้ทำการเพิ่มทุนมาจะทำให้ปลดล็อกให้เจ้าหนี้ปล่อยเงินกู้มาซื้อเครื่องจักรงาน oil&gas ทำให้รับงานได้รายได้จากงานที่ลาดกระบือประมาณ 300 ล้านต่อปี ส่วนงานรับเหมาน่าจะรับรู้ขาดทุนใกล้หมดแล้ว
การเข้าไปดู สรุปข้าสนเทศบริษัทจดทะเบียนของ www.set.or.th


บรรยากาศบนเวที ผู้ชมเยอะม้วก

วันพุธที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

สูตรการหา 'มูลค่าที่แท้จริง' สไตล์ 'เบนจามิน เกรแฮม'

สูตรการหา 'มูลค่าที่แท้จริง' สไตล์ 'เบนจามิน เกรแฮม'

ตำราพิชัยยุทธ์ เล่มที่ 6

ถ้ามูลค่าที่แท้จริงขึ้นอยู่กับมูลค่าในอนาคตของบริษัท และมูลค่าในอนาคตของบริษัทก็ขึ้นอยู่กับผลกำไรในอนาคต คำถามสำคัญ 2 ประการ คือ

1. ท่านควรจะจ่ายเท่าไร สำหรับผลกำไรของบริษัท ?

2. มีวิธีการที่น่าเชื่อถือใดบ้าง ที่สามารถนำมาใช้คาดการณ์ ผลกำไรในอนาคตของบริษัทได้?

เกรแฮม ได้คิดค้นสูตรในการคำนวณหามูลค่าที่แท้จริง โดยใช้ผลกำไร เปรียบเทียบกับตราสารหนี้ที่ได้รับการจัดอันดับเครดิต ระดับ AAA ขึ้นมา ปัจจุบันน้อยคนนักที่จะใช้สูตรนี้

มูลค่าที่แท้จริง (Intrinsic Value) = E (2G + 8.5)*4.4 / Y

E = EPS = ผลกำไรต่อหุ้น
G = คาดการณ์ อัตราการเติบโต (Growth) ของผลกำไร

Y = ผลตอบแทนของตราสารหนี้ที่ได้รับการจัดอันดับเครดิต ในระดับ AAA

ตัวเลข 8.5 = เป็นตัวเลขที่ เกรแฮม เชื่อว่า เป็นอัตราส่วน ราคาต่อกำไรต่อหุ้น

(P/E Ratio)ที่ถูกต้อง สำหรับบริษัทที่ไม่มีการเติบโต ค่า P/E ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อาจจะเป็น 15 - 20 เท่า แต่คนที่อนุรักษ์นิยม จะใช้ตัวเลขต่ำไว้ก่อน

สิ่งดึงดูดใจที่ทำให้หุ้นน่าลงทุน

@ ฐานะการเงินมีความอนุรักษ์นิยม และมีเงินทุนหมุนเวียนที่ แข็งแกร่ง

@ ดูสัดส่วนผลกำไรเฉลี่ยต่อราคาตลาด (ตรงข้ามกับค่า P/E) เป็นที่น่าพอใจ

@ ผลกำไรมีเสถียรภาพ ดู ผลกำไรในช่วง 10 ปี ซึ่ง ธุรกิจมีทั้งขาขึ้นและขาลง

จุดยืนของการลงทุนแบบ Value Investor (เน้นคุณค่า) คือ นักลงทุนจะจ่ายเฉพาะสิ่งที่เห็นเท่านั้น ไม่ใช่สิ่งที่คาดหวัง

3 ปัจจัยที่วัดผลงานผู้บริหารในงบดุลและงบกำไรขาดทุน คือ

$ อัตราการเจริญเติบโตของ ยอดขายและผลกำไรของบริษัท

$ อัตรากำไรสุทธิก่อนหักภาษี (EBT) มีการควบคุมต้นทุนที่ดีหรือไม่

$ กำไรจากเงินลงทุน ไม่ว่าธุรกิจขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ สินค้าหรือบริการ นอกหรือในตลาดหลักทรัพย์ เหมือนกัน คือ เจ้าของคาดหวังกำไรจากการลงทุน (ROIC)

อัตราผลตอบแทนจากเงินลงทุน = กำไรสุทธิ + ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย (Interest)

(Return on invested Capital or ROIC) เงินลงทุนทั้งหมด

ROIC = โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 12-13 % นักวิเคราะห์จะถือว่า ตัวเลขหลังหักภาษี ระหว่าง 12-13 % เป็นผลงานที่ดีเยี่ยม

ถึงเวลาที่เราจะต้องรวบรวมการประเมินความปลอดภัยของบริษัท ศักยภาพการเติบโตของบริษัท และความต้องการการลงทุนของท่านเข้าไปด้วย

รวมทุกอย่างเข้าด้วยกัน

ก่อนทีนักลงทุน Value Investor จะเลือกหุ้น ต้อง

$ เน้นไปที่เป้าหมายการลงทุน

$ หาช่วง ของมูลค่าที่แท้จริง จากการดูงบการเงิน (งบดุล งบกำไรขาดทุน)

$ มองหาส่วนเผื่อ (หรือกันชน) เพื่อความปลอดภัย (Margin of safety)

$ ประเมินปัจจัยเชิงคุณภาพ

ข้อควรจำ
$ แนวทางการลงทุน จงมีทัศนคติของนักลงทุนไม่ใช่นักเก็งกำไร นักเก็งกำไรคือคนที่หากำไรจากความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้น โดยไม่ได้พิจารณาถึงมูลค่าที่แท้จริงเลย แต่นักลงทุนที่รอบคอบ คือคนที่ ซื้อหุ้นเมื่อราคาหุ้นมีมูลค่ารองรับมากพอ และลดการถือครองหุ้น เมื่อตลาดอยู่ในภาวการณ์เก็งกำไร

$ ให้คิดถึงผลตอบแทนรวม นักลงทุนได้รับผลตอบแทนจากราคาหุ้นที่เพิ่มสูงขึ้น,

เงินปันผล, หรือทั้งสองอย่าง

$ ราคาหุ้นมักจะผันผวน อยู่รอบๆ มูลค่าที่แท้จริง ?ราคาหุ้นมักจะมีราคาผิดพลาดอยู่เสมอๆ ซึ่งจะเปิดโอกาสให้นักลงทุนสามารถซื้อหุ้นในราคาต่ำและขายในราคาสูง?

$ ระวังหนี้สินที่สูงเกินไป เกรแฮม และดอดด์ เตือนว่า ?คำนิยามสำหรับหุ้นเก็งกำไร ก็คือ บริษัทที่มีหนี้สินจำนวนมาก แต่มีทุนจดทะเบียน (ส่วนของผู้ถือหุ้นหรือ Equity)

ในสัดส่วนที่น้อย?

$ ช่วงของมูลค่าที่แท้จริงจะอยู่ระหว่างมูลค่าสินทรัพย์และค่า P/E ที่อนุรักษ์นิยม สำหรับบริษัทชั้นเยี่ยม มูลค่าที่แท้จริงอาจจะต่ำกว่า 20 เท่าของกำไรเฉลี่ยในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา หรือต่ำกว่า 15 เท่าของกำไรเฉลี่ย ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา แต่สำหรับบริษัทที่ประสบปัญหาแล้ว ค่า P/E ควรต่ำกว่านั้น

ส่วนเผื่อ หรือกันชน เพื่อความปลอดภัย (Margin of safety)

การสร้างส่วนเผื่อหรือกันชนเพื่อความปลอดภัย เริ่มต้นจาก การหาช่วงของมูลค่าที่แท้จริงของหุ้นก่อน เมื่อนักลงทุนรู้ว่า มูลค่าหุ้นในอนาคตน่าจะเป็นเท่าไรแล้ว เราจะต้องมองหาปัจจัยเสริมที่จะเป็นตัวช่วยทำให้เกิดส่วนเผื่อหรือกันชน เพื่อความปลอดภัยได้ (Margin of safety)

ท่านไม่สามารถหามูลค่าที่แท้จริงได้ เป๊ะๆ ออกมาได้ การกำหนดช่วงของมูลค่าที่เหมาะสมขึ้นมา ด้วยการเผื่อ บวก ลบ (+ , -) ไว้ 20 % จากตัวเลขที่เราหามากได้

เพื่อความปลอดภัย คุณต้องทำ 1 ใน 3 สิ่งนี้ คือ

1.ซื้อหุ้นเมื่อตลาดโดยรวมตกต่ำและหุ้นมีราคาถูกมากๆ (ซื้อตอน Panic มากๆ)

2. มองหาบริษัทที่กำลังจะประสบปัญหาชั่วคราว หากบริษัทที่มีพื้นฐานแข็งแกร่ง แล้วประสบปัญหากับข่าวร้ายๆ และทำให้ราคาหุ้นตกต่ำลงชั่วคราว

3. ค้นหาหุ้นที่ถูกมองข้าม แม้ภาวะตลาดโดยรวมจะไม่ได้มีราคาถูกนักก็ตาม

ในภาวะตลาดหมี(Bearish) ราคาหุ้นถูกๆ จะมีจำนวนมาก แต่ในช่วงตลาดกระทิง (Bullish) นักลงทุนจะต้องทำงาน หนักเพื่อจะสร้างผลกำไร

เกรแฮมและ ดอดด์ สอนว่า ไม่ว่ากรณีใดก็ตาม ส่วนเผื่อหรือกันชนเพื่อความปลอดภัย จะเกิดจากการที่ราคาหุ้นมีการซื้อขายกันแบบมีส่วนลดจากมูลค่าที่แท้จริงที่ ต่ำที่สุดที่ นักวิเคราะห์คำนวณได้

คุณลักษณะ 10 ประการของหุ้นที่มีราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง

(Undervalue Stock)
นักลงทุนมืออาชีพจะมองหาการปกป้องพิเศษแตกต่างกันออกไป นักลงทุนแต่ละคนจะยอมรับที่มาของส่วนเผื่อหรือกันชนเพื่อความปลอดภัยแตกต่าง กัน ซึ่งจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์และระดับความสบายใจของนักลงทุนแต่ละคน ตัวอย่างปัจจัยที่มีอิทธิพลสูงก็เช่น มูลค่าสินทรัพย์สูงๆ, กระแสเงินสดที่แข็งแกร่ง และตำแหน่งผู้นำทางการตลาด

ในขั้นตอนแรกที่เราต้องทำคือ การตรวจสอบปัจจัยเชิงปริมาณที่เราได้ทราบก่อนหน้านั้น คือ มูลค่าสินทรัพย์สุทธิ, เงินทุนหมุนเวียน, ค่า P/E, อัตราหนี้สินต่อทุนและอื่นๆ

เกรแฮม บอกว่า บริษัทใดก็ตามที่ตรงตามเกณฑ์ 7 ใน 10 ข้อ จะถือว่า มีราคาถูกกว่ามูลค่าที่แท้จริง และจะให้มีส่วนเผื่อหรือกันชน เพื่อความปลอดภัยที่เพียงพอ

กฎเกณฑ์ ข้อที่ 1-5 จะประเมินเรื่องความเสี่ยง ข้อที่ 6-7 จะดูในเรื่องความแข็งแกร่งทางการเงิน ข้อ 8-10 จะแสดงประวัติผลกำไรที่สม่ำเสมอ

มีบริษัทเพียงไม่กี่แห่ง ที่จะตรงตามเกณฑ์ครบทั้ง 10 ข้อ

การประเมินความเสี่ยง

1. มีอัตราส่วนผลกำไรต่อราคา หรือ E/P (ตรงข้ามกับ P/E) เป็น 2 เท่าของผลตอบแทนของหุ้นกู้ ระดับ AAA เช่น ถ้าหุ้นกู้ ระดับ AAA ให้ผลตอบแทน

6% อัตราส่วน ผลกำไรต่อราคา ก็ควรจะเป็น 12%

2. มีค่า P/E ไม่สูงกว่า 40% ของค่าเฉลี่ยสูงสุดของหุ้นในช่วง 5 ปีที่

ผ่านมา

3. ให้ผลตอบแทนเงินปันผลเป็น 2 ใน 3 ของดอกเบี้ยหุ้นกู้ ระดับ AAA

หุ้นที่ไม่จ่ายเงินปันผลหรือไม่มีกำไรจะถูกตัดออกโดยอัตโนมัติ

4. มีราคาหุ้นเพียง 2 ใน 3 ของมูลค่าทางบัญชีของสินทรัพย์ที่มีตัวตนต่อหุ้น (Tangible Book Value per Share) สินทรัพย์ที่มีตัวตน จะหมายถึง เงินสด และสินทรัพย์ถาวร เช่น ที่ดิน อาคาร เครื่องจักรอุปกรณ์ และ เฟอร์นิเจอร์สำนักงาน สินทรัพย์ถาวร ที่บริษัทชำระเงินหมดแล้ว หากมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นแต่ได้บันทึกไว้ในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าที่เป็นจริง ในปัจจุบันจะกลายเป็นสิ่งสำคัญขึ้นมา

5. มีราคาหุ้นเพียง 2 ใน 3 ของมูลค่าสินทรัพย์หมุนเวียนสุทธิหรือมูลค่าขายทอดตลาดสุทธิ (Net quick liquidation value)

มูลค่าสินทรัพย์หมุนเวียนสุทธิ = สินทรัพย์หมุนเวียน (CA) - หนี้สินหมุนเวียน (CL) -หนี้สินระยะยาว (LL)

จำนวนหุ้น (‪#‎share‬)

(net asset value per share) = CA -CL - LL
การประเมินความแข็งแกร่งทางการเงิน

6. มีหนี้สินทั้งหมดในจำนวนที่ต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชีของสินทรัพย์ที่มีตัวตน

7. มีอัตราส่วนทุนหมุนเวียน (Current Ratio)>= 2 (อย่างน้อยเท่ากับ 2)

จะเป็นตัววัดสภาพคล่อง หรือความสามารถในการชำระหนี้สินจากรายได้ของบริษัท Current Ratio = CA/CL

ประวัติผลกำไรที่สม่ำเสมอ

8. มีหนี้สินรวมไม่สูงกว่ามูลค่าขายทอดตลาดสุทธิ

9. มีผลกำไรเพิ่มขึ้น 2 เท่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

10. มีผลกำไรลดลงไม่เกิน 5% และไม่เกิน 2 ครั้งในรอบ 10 ปี ที่ผ่านมา

ประเด็นเหล่านี้เป็นเพียงแนวทางเท่านั้น นักลงทุนควรจะใช้มันอย่าง พินิจ

พิเคราะห์ แต่ไม่ควรใช้มันแบบเป็นสูตรสำเร็จ การที่จะเน้นที่กฎเกณฑ์ ข้อใด

ขึ้นอยู่กับเป้าหมายการลงทุนของแต่ละบุคคล

$ นักลงทุนที่ต้องการรายได้ ควรให้ความสนใจเป็นพิเศษ ข้อ 1-7 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อ 3

$ นักลงทุนที่ต้องการความสมดุล ระหว่างความปลอดภัยและการเติบโต อาจจะไม่สนใจกฎเกณฑ์ข้อ 3 เลยก็ได้ ให้ไปเน้นที่ ข้อ 1-5, ข้อ 9-10

$ นักลงทุนที่ต้องการได้การเติบโตของราคาหุ้นสูงๆ สามารถมองข้ามกฎเกณฑ์ ข้อ 3 ไปได้เลย และให้น้ำหนักเล็กน้อยกับ ข้อ 4-5-6 แต่ให้เน้นข้อ 9,10

นักลงทุนสามารถที่จะเน้นที่กฎที่ตรงกับเป้าหมายการลงทุน โดยอาจจะไม่ให้น้ำหนักกับประเด็นอื่นๆมากนัก

ในมุมมองของเกรแฮม จะให้ความสำคัญกับปัจจัยเชิงปริมาณมากกว่าเชิงคุณภาพในการเลือกหุ้น แต่ ปัจจัยเชิงคุณภาพจะช่วยให้เรามีส่วนเผื่อหรือกันชนเพื่อความปลอดภัย และบางครั้งก็สำคัญกว่า ค่าตัวเลขด้วยซ้ำ

ส่วน วอร์เรน บัฟเฟตต์ ให้ความสำคัญเชิงปริมาณ 85% เชิงคุณภาพ 15%

เพราะบัฟเฟตต์ ทำตัวเป็นแบบ เกรแฮม 85% และ ฟิลิป ฟิชเชอร์ (Philip Fisher) อีก 15% การพิจารณาเชิงคุณภาพจะช่วยให้ท่านตัดสินใจได้ ในกรณีมีหุ้น 2 ตัว ที่น่าสนใจ เท่าๆกัน แต่ท่านลงทุนได้เพียงตัวเดียว ซึ่งขนาด, ความรู้พิเศษใน อุตสาหกรรมของท่าน, คุณภาพและผลิตภัณฑ์ของบริษัทและผู้บริหารที่มีคุณภาพสูง ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่เราจะนำมาพิจารณาทั้งสิ้น

สรุปแนวทางของ เบนจามิน เกรแฮม

เกรแฮม ทดสอบกฎเกณฑ์ที่ดีที่สุดสำหรับการเลือกหุ้นที่มีความปลอดภัยและให้ผลตอบแทน ในการลงทุนสูงๆ เขาพยายามหาวิธีการที่ง่ายและมีเหตุผลและเป็นวิธีที่ให้ผลตอบแทนในระยะยาว แม้ว่าจะเกิดภาวะตกต่ำก็ตาม

กฎเกณฑ์ 10 ข้อ คือ กฎในการค้นหาหุ้นที่มีมูลค่าต่ำกว่าที่ควรจะเป็น เป้าหมายของเกรแฮม คือให้ง่ายเข้าไว้ แต่นักลงทุนส่วนใหญ่รู้สึกว่ากฎ 10 ข้อยุ่งยากเกินไป แต่ถ้าเราจะเรียนรู้ก็ไม่ยากเกินไป

วันจันทร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

สนุกกับหนี้สงสัยจะสูญโอนกลับ

ค่าใช้จ่ายทางบัญชีตัวหนึ่งที่น่างงกันคือ หนี้สงสัยจะสูญโอนกลับ จริงๆแล้วมันก็คือพอสิ้นงวดบัญชีบริษัทตั้งหนี้สงสัยจะสูญลดลงในทางบัญชีเลยต้องกลับรายการมาเป็นรายได้ดังตาราง ทำเป็น excel ไว้เปลี่ยนตัวเลขเล่นก็ได้สนุกสนานในช่องสีเหลืองๆ แล้วงบดุลงบกำไรขาดทุนจะเปลี่ยนแปลงลั้นไปโหลดไปเล่นได้ปุ่มโหลดอยู่มุมขวาล่างคับ


 

ในปีที่ 0

  • ลูกหนี้ 10,000 บาทในสินทรัพย์ มีหนี้สงสัยจะสูญตั้งไว้ 10% 1,000 บาททำให้มีสินทรัพย์สุทธิ 9,000 บาท
  • ส่วนของผู้ถือหุ้นลงทุนไป 10000 มีขาดทุนสะสม 1000 บาท จากค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 1,000 บาท ทำให้ส่วนทุนเหลือ 9,000 บาท


ในปีที่ 1

  • ลูกหนี้ 10,000 เท่าเดิม แต่ปีนี้คาดว่าจะเก็บตังค์ได้เลยตั้งหนี้สงสัยจะสูญลดลงเป็น 3% เหลือ 300  ทำให้ หนี้สงสัยจะสญในงบดุลลดลงจาก - 1000 เป็น -300 เกิดหนี้สงสัยจะสูญลดลง 700 
  • ทำให้ในงบกำไรขาดทุนตั้งโอนกลับค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญมา 700 เป็นรายได้ 
  • ทำให้เกิดกำไร 700 และขาดทุนสะสมลดลง700 เหลือ -300 บาท

การตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญก็เป็นเทคนิคทางบัญชีหนึ่งในการแต่งกำไรให้สม่ำเสมอได้ โดยเฉพาะกลุ่มธนาคาร ที่ตั้งสำรองเผื่อไว้เยอะๆ ปีไหนกำไรน้อยๆก็โอนกลับรายการมาเป็นรายได้ทำให้กำไรเพิ่มได้

เจริญในการลงทุนทุกท่านครับ

วันเสาร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ถ้าไม่เจ๋งจริงอย่าเล่นสั้น!

1. การเล่นสั้นเปรียบเสมือนดาบสองคม

ความเข้าใจผิดอย่างหนึ่งของคนส่วนใหญ่ก็คือพวกเขามักจะคิดว่ายิ่งเล่นสั้นๆลงมาจะยิ่งช่วยลดความเสี่ยงและช่วงปิดประตูเจ๊งได้ … นี่เป็นความเข้าใจที่ผิดถนัดครับ นั่นก็เพราะจุดเด่นและเอกลักษณ์ที่ชัดเจนที่สุดอย่างหนึ่งของการเล่นสั้นก็คือเรื่องของการถือหุ้นในช่วงเวลาสั้นๆซึ่งนำไปสู่ “อัตราการทบรอบ” หรือการวนรอบของเม็ดเงินในการลงทุนที่สูงมากๆ

อัตราการทบรอบตรงนี้เองที่เป็นเสมือนกับดาบสองคมเนื่องจากว่า หากกลยุทธ์หรือระบบการลงทุนของคุณมีประสิทธิภาพมันก็จะช่วยให้การเติบโตของเงินทุนสูงและ Smooth มากๆ แต่หากว่ากลยุทธ์ของคุณไม่ดีเพียงพอแล้วล่ะก็ อัตราการทบรอบที่สูงมากๆจากกลยุทธ์แบบนี้จะกลายเป็นตัวเร่งให้คุณเกิดการขาดทุนอย่างรวดเร็วแบบคาดไม่ถึงเลยทีเดียว

2. การสร้างกำไรกำไรคาดหวังที่เป็นบวก (Positive Expectancy) จากระบบการลงทุนระยะสั้นนั้นยากมากๆสำหรับนักลงทุนรายย่อยโดยทั่วไป

กลยุทธ์ที่ให้กำไรคาดหวังที่เป็นบวก คือเงื่อนไขแรกที่สุดที่คุณจำเป็นจะต้องมีเสียก่อนที่จะทำการเก็งกำไร (ใครพึ่งมาอ่านเวบผมแล้วไม่รู้ว่ามันคืออะไรให้ย้อนไปอ่านบทความนี้ครับ Expectancy ) ซึ่งแน่นอนว่ามันประกอบไปด้วยตัวแปรหลักๆสองตัวก็คือ

1. ความแม่นยำ (Accuracy)

2. แต้มต่อเวลาได้กำไรและขาดทุน (Pay-off Ratio)

การเล่นสั้นๆนั้นมีจุดอ่อนที่ต้องระวังก็คือเรื่องของ Pay-off Ratio ที่ค่อนข้างจะต่ำมากๆ และนั่นทำให้คุณไม่มี Margin of Error เผื่อความผิดพลาดของคุณสักเท่าไหร่นัก ระบบการเล่นสั้นๆนั้นมักที่จะให้ Pay-off Ratio ที่ต่ำกว่า 1 เท่าเสียเป็นส่วนใหญ่ พวกมันจึงต้องพึ่งพาระดับความแม่นยำของการเทรดที่สูงมากกว่า 50% แทบทั้งสิ้น และสิ่งนี้เองที่ทำการสร้างกำไรคาดหวังที่เป็นบวกยากมากกกกกกกก

3. การเล่นสั้นมีสัดส่วนของต้นทุนคือค่า Commision และ Slippage ที่สูงมากๆ

เรามักจะพบว่ากลยุทธ์การเล่นสั้นๆนั้นจะได้ผลดีเป็นอย่างมากสำหรับพวก Proprietary Trader (Prop Trade) หรือพวกที่เป็นนักเก็งกำไรให้กับบริษัทหลักทรัพย์ต่างๆ นั่นก็เพราะพวกเขาแบกรับต้นทุนการซื้อขายที่เท่ากับ 0 หรือต่ำมากๆ แต่สำหรับนักลงทุนรอบนอกอย่างพวกเราแล้วถือได้ว่าเสียเปรียบพวกเขาอย่างเต็มประตู

ณ อัตราค่าคอมมิสชั่นที่ระดับราวๆ 0.15% – 0.25% ต่อการซื้อหรือขายแต่ละครั้งนั้นดูเหมือนกับว่าจะไม่มากมายอะไรนัก อย่างไรก็ตามหากคุณใช้กลยุทธ์การซื้อมาขายไปแบบถี่มากๆแล้วล่ะก็พวกมันจะกลายเป็นต้นทุนที่หนักมากๆขึ้นมาในทันทีนั่นก็เพราะกำไรเฉลี่ยโดยส่วนใหญ่ของกลยุทธ์การเล่นสั้นนั้นมักจะไม่สูงกว่า 5% ต่อรอบ นี่จึงเป็นสิ่งที่คุณไม่ควรมองข้าม ยิ่งไปกว่านั้นแล้ว Slippage ซึ่งเกิดมาจากความล่าช้าในการส่งคำสั่งการซื้อขายหรือความใหญ่ของ Order ที่คุณเทรดก็จะยิ่งกลายเป็นไขมันส่วนเกินชิ้นใหญ่ของพอร์ทโฟลิโออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เลย

4. การเล่นสั้นไม่ลงรอยกับ Statistical Returns Distribution ของตลาดหุ้น

ผมเคยพูดไปแล้วในบทความเก่าๆว่าสำหรับนักลงทุนธรรมดาๆนั้น การพยายามใช้กลยุทธ์หรือระบบการลงทุนที่เน้นการกินกำไรก้อนใหญ่ๆแบบพวก Super Trend นั้นจะเป็นหนทางทำกำไรอย่างยั่งยืนที่ง่ายกว่าสำหรับพวกเราในระยะยาว โดยเหตุผลหลักๆของมันเพราะวิธีการเหล่านี้คือวิธีการที่ไม่ฝืนธรรมชาติในการคายผลตอบแทนของตลาดออกมา รูปแบบการคายผลตอบแทนของหุ้นในตลาดตรงนี้คือสิ่งที่เรียกว่า Statistical Returns Distribution แปลเป็นไทยได้ประมาณว่ามันคือการกระจายตัวของผลตอบแทนของหุ้นในตลาดนั่นเอง โดยตารางด้านล่างต่อไปนี้เป็นตาราง Returns Distribution ที่ผมได้เก็บข้อมูลขึ้นมาจากผลตอบแทนของหุ้นทุกตัวที่อยู่ในตลาดทั้งหมดตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 – ปัจจุบัน ในแต่ละคาบเวลาออกมา

ผมขอให้สังเกตุผลการกระจายตัวของหุ้นรายวัน, รายสัปดาห์, รายเดือนและรายปีเปรียบเทียบกันดู เราจะเห็นได้ว่าในระยะรายสัปดาห์และรายเดือนหรือมากกว่านั้น Return Distribution จะค่อยๆมีลักษณะเป็นแบบ Long Tail อย่างชัดเจนขึ้นมา

5. กลยุทธ์หรือระบบการลงทุนระยะสั้นมักมีอายุที่จำกัดและขาดความยั่งยืน

สิ่งหนึ่งที่ต้องทำใจสำหรับ Short Term Trader ก็คือระบบการลงทุนส่วนใหญ่มักขาดความยั่งยืนในระยะยาว เนื่องมันฝืน Returns Distribution ของตลาด นอกจากนี้แล้วคนส่วนใหญ่ก็มักที่จะพยายามวิ่งไปสู่ระบบที่ให้ผลตอบแทนในช่วงสั้นๆที่ผ่านมาสูงที่สุดอยู่เสมอ และเมื่อทุกคนพยายามวิ่งเข้าสู่ระบบระยะสั้นที่ให้กำไรสูงที่สุดในช่วงนั้นๆ สภาวะการแข่งขันและแย่งชิงความได้เปรียบจึงเกิดขึ้นอย่างรุนแรง สิ่งนี้เองที่ทำให้ความไร้ประสิทธิภาพของตลาด (Market Inefficiancy) ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของผลกำไรจากระบบการลงทุนระยะสั้นนั้นมีช่วงชีวิตที่สั้นมากกว่าระบบการลงทุนในระยะยาว

(*** ระบบการลงทุนระยะกลาง-ยาวมักมีความยั่งยืนสูงกว่าเนื่องจากพวกมันมักมีกลไกปกป้องตนเองจากคนส่วนใหญ่ด้วยอัตรา Drawdown ที่ค่อนข้างสูงและยาวนานมากๆของระบบ นี่จึงทำให้ระบบเหล่านี้มักถูกมองข้ามหรือฝืนจิตใจของคนส่วนใหญ่มากเกินไป)

6. การเล่นสั้นๆต้องการสภาวะทางจิตใจและร่างกายที่สมบูรณ์ค่อนข้างมาก

นี่ถือเป็นปัจจัยหินๆปัจจัยสุดท้ายที่ผมอยากจะพูดถึงในบทความนี้ ผมอยากบอกว่าไม่ว่าคุณจะรู้สึกว่าการเล่นสั้นๆแล้วทำกำไรออกมารายวันรายสัปดาห์ได้นั้นมันจะดูเท่ห์สักแค่ไหนก็ตาม แต่คุณต้องระลึกไว้อยู่เสมอว่ากลยุทธ์แบบนี้ต้องการความ “ฟิต” อย่างสูงที่สุด!

เบื้องหลังของความสำเร็จของบุคคลที่สามารถจะเก็งกำไรในระยะสั้นได้สำเร็จนั้น คือความพยายามและวินัยที่สูงมากๆ นี่คือเหตุผลที่ผมไม่เคยด่า Prop Trader สักคนถึงแม้ว่าเขาจะได้เปรียบในด้านต้นทุนการเทรดกว่าพวกเรา (นอกจากนี้ยังมีกฏระบบในการเทรดอีกเยอะแยะ) คนพวกนี้คือคนที่มีความฟิตและวินัยที่สุดยอดมากๆ คนที่เล่นสั้นเก่งๆจะต้องมีความนิ่ง, สมาธิและการตัดสินใจที่เยี่ยมยอด ซึ่งหากว่าคุณไม่ได้มีทั้งเวลาและคุณสมบัติเหล่านี้แล้วล่ะก็ผมขอแนะนำให้อยู่เฉยๆจะดีกว่า เพราะบางทีแล้วการไม่ไปยุ่งกับตลาดในช่วงสั้นๆอาจจะช่วยลด Drawdown ที่เกิดขึ้นในการลงทุนของคุณได้มากกว่าก็เป็นได้ …

วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

คำคมการลงทุน

รวบรวมคำคมต่างๆ เอามาเรียงเป็นแนวทางการลงทุนแบบ VI มันก็พอไหวนะ

"เราเลี้ยงชีวิตด้วยสิ่งที่เราหามาได้ แต่เราสร้างชีวิตด้วยสิ่งที่เราให้" ----เซอร์วินสตัน เชอร์ชิลล์

"การเดินทางแม้ไกลหมื่นลี้ก็ต้องเริ่มต้นจากก้าวแรกเสมอ" ----เล่าจื้อ

"ถ้าคุณบินไม่ได้ ก็ให้วิ่ง ถ้าคุณวิ่งไม่ได้ ก็ให้เดิน ถ้าคุณเดินไม่ได้ ก็ให้คลาน ไม่ว่าคุณจะทำอะไรก็ตาม คุณจะต้องมุ่งไปข้างหน้า" -----Martin Luther King

“ความเสี่ยงที่ใหญ่หลวงที่สุด คือการไม่ยอมเสี่ยงอะไรเลย"----Mark Zuckerberg

ราคาคือสิ่งที่เราจ่าย คุณค่าคือสิ่งที่เราได้รับ

"พวกเราส่วนใหญ่เป็นหรือควรเป็นนักลงทุนไม่ใช่นักค้าหุ้น เราควรจะหาโอกาสการลงทุนที่มีอนาคตดีผิดปกติในระยะยาวและหลีกเลี่ยงโอกาสการลงทุนที่มีอนาคตที่ย่ำแย่" ---- Philip A. Fisher

"คนที่มองโลกในแง่ร้ายจะเห็นอุปสรรคอยู่ในทุกๆโอกาส แต่คนที่มองโลกในแง่ดีจะเห็นโอกาสอยู่ในทุกๆอุปสรรค"— วินสตัน เชอร์ชิล (Winston Churchill)

"ความอดทนเป็นสิ่งที่มีรสขมแต่ผลของมันช่างหอมหวานนัก"-Aristotle-

คนรวย รวยขึ้นเพราะทำตัวจน คนจน จนลงเพราะทำตัวรวย ---- William Shakespeare

"ถ้าไม่ศึกษาเพิ่มเติมขึ้นทุกๆวัน ก็จะล้าหลังลงทุกๆวัน" — ปรัชญาจีน


วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

GEL เพิ่มทุนลดทุนแล้วได้อะไร

ตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2557 ผู้ถือหุ้นได้อนุมัติเรื่องดังต่อไปนี้ คำนวณผลกระทบต่อส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้นได้เท่ากับ
การเปลี่ยนแปลงทุนของ GEL
1.อนุมัติยกเลิกมติที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2556 ที่อนุมัติการลดทุนจดทะเบียนโดยการลดมูลค่าหุ้นจากมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 30 บาท เป็นมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.90 บาท เพื่อลดส่วนต่ำมูลค่าหุ้นและลดขาดทุนสะสม

อันนี้ของเก่าเคยอนุมัติไว้ก็ยกเลิก

2.อนุมัติการลดทุนจดทะเบียนของบริษัทจำนวน 1,815,012,514 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 30 บาท จำนวน 54,450,375,420 บาท ในส่วนที่ยังไม่ได้ออกจำหน่ายและสำรองไว้สำหรับการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิ

ที่อนุมัติไว้จะมีอายุ 1 ปี ถ้าไม่สามารถหาคนมาเพิ่มทุนได้ก็ต้องยกเลิก

3.อนุมัติการเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทจำนวน 2,227,384,903 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 30 บาท จำนวน 66,821,547,090 บาท
ที่ประชุมอนุมัติเพิ่มทุนเรียบร้อย


4.อนุมัติการจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 412,384,903 หุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 30 บาท เพื่อรองรับการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิ “GEL-W3”
แบ่งข้อ 3 ไปรองรับ gel-w3 ถ้านคนมาใช้สิทธ์ที่ราคา 0.93 จะเกิดส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้น = (30-0.93)*412384903=11988029130

5.อนุมัติการจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 1,815,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 30 บาท ทั้งจำนวนหรือแต่ บางส่วนในคราวเดียวกันหรือต่างคราวกันให้แก่นักลงทุนโดยเฉพาะเจาะจง และ/หรือนักลงทุนประเภทสถาบัน ซึ่งเป็นบุคคลในวงจำกัด ในราคาเสนอขายไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 ของราคาตลาด
ที่เหลือไป PP ถ้าขายที่ราคา 0.6 จะเกิดส่วนต่ำกว่ามูลค่า = (30-0.6)*1815000000=53361000000

6.อนุมัติการลดทุนจดทะเบียนโดยการลดมูลค่าหุ้นจากมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 30 บาท เป็นมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ   0.85 บาท เพื่อลดส่วนต่ำมูลค่าหุ้นและขาดทุนสะสม
เกิดส่วนเกินมูลค่าหุ้นมา= (30-0.85)*7505964239=218798857567
นำมาหักกับส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้นจะเกิดเป็นส่วนเกินเท่ากับ 44786251437


7.อนุมัติโอนทุนสำรองส่วนเกินมูลค่าหุ้น จำนวน 31,729,260 บาท เพื่อลดส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้น
บวกไปจากข้อ 6 อีก



วันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ปัญหาในการคำนวณต้นทุนผิดพลาด

วิดิโอเรื่องการคำนวณต้นทุนจาก อ.มานพสีเหลือง เรื่องปัญหาในการบันทึกต้นทุน เหมาะกับธุรกิจผลิตครับ โดยต้นทุนประกอบด้วย 3 ส่วนคือ



  1. วัถุดิบทางตรง
  2. แรงงานทางตรง
  3. โสหุ้ยต่าง
เชิญรับชมโดยพลัน


วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

แจกฟรีระบบเทรด MACDtripletrendFollow

แจกฟรีระบบเทรด MACDtripletrendFollow สร้างโดยน้องเติ้ลครับ นักลงทุนวัยหนุ่มหัวใจ technical ใช้งานกับ E-finance thai วิธีใช้งานและการโหลดตามบทความด้านล่างเลยครับ

ได้ ฤกษ์ แจกอีกแล้ว เพราะหุ้นหลายตัวได้ลดราคาลงมา พอสมควร
เราจึงเห็นว่าควรแจก เทมเพลตนี้ ให้ ไปใช้งาน
MACDtripletrendFollow
ไม่มีอะไรพิศดาร ก็แค่ MACD สามชุด วิธีใช้มีแบบธรรมดากับแอดว้านซ
แบบธรรมดาก็คือ ตามป้าย ตามสีแท่งเทียน ตามแถบสี
แบบแอดว้านซ กั๊กไว้ ให้ไปสังเกตุ ความสัมพันธ์ MACD ตัวออริจินัล กับซีโร่ไลน์ กับ MACD สองตัวเล็ก ที่เหลือ แบบแอดว้านซจะบอกได้ด้วยว่าควรซื้อขายตามระบบไหม
https://drive.google.com/file/d/0B6vtn4Z-ORd5VFVTTGVCa3Z2Zm8/edit?usp=sharing
เทมเพลต สำหรับ อีไฟแนนซ์ สมารทโปรตอล
เดิม เทมเพลตนี้ มีชื่อว่า กุมารทอง สองกุมารหนึ่งกุมารี ตอนนี้ตั้งชื่อให้ใหม่เป็นภาษาปะกิต
แจกอีก แล้ว MACD triple trend follow ฟรี! ไม่คิดเงิน
เกิด จากการ แบ่ง MACD เป็น สามระยะ
ซื้อขาย ตามนี้ เขียวซื้อแดงขาย
ไม้แรกตามป้าย
ไม้สองตามสีแท่งเทียน
ไม้สามตามแถบสีล่างแท่งเทียน
นะจ้ะ นะจ้ะ นะจ้ะ
-------------------------------------------------------------------------
1.การสตอปลอสจะเกิดขึ้นเนื่องจากเทรนในไม้แรกสั้นเกินไปเท่านั้น
โดยซิสเตมจะบอกเองว่าขายหรือไม่
2.แบ็คเทส ทุกคนสามารถนำไปทำได้ด้วยตนเองครับ แต่ผมไม่ใส่ใจส่วนนี้เทาไหร่นะคับเพราะมันเป็นเทรนฟอโล่ววิ่งขึ้นคือซื้อและซื้อเพิ่มเรื่อยๆและทยอยขายเรื่อยๆ
3.ใช้กับหุ้นรายตัวได้ครับ ทุกไทมเฟรม ที่เห็นว่ามีเทรนชัด
ลองเอาไปเล่นดูครับ อย่าเพิ่งเชื่อมันก็ได้ครับ จดในกระดาษก็ได้ครับว่าซื้ออะไรเท่าไหร่
การแบ่งเงินสามส่วนตามแต่จะออกแบบเอาเองแล้วแต่นิสัย จริต ของแต่ละท่านนะครับหรือจะแบ่งจำนวนหุ้นเอาก็ได้นะครับ
1.กรณีแบ่งเงิน----ยิ่งเทรนอัพไปเรื่อยๆจำนวนหุ้นที่ซื้อได้จะลดลง
2.กรณีแบ่งหุ้น----ยิ่งเทรนอัพไปเรื่อยๆจำนวนเงินที่ใช้ซื้อต้องมากขึ้น
แบ่ง 20 30 50 เปอร์เซนต์ หรือแบ่ง 50 30 20 ก็ได้ครับเป็นต้น
ซิสเต็มมันประกันความเสี่ยงให้ การแบ่งเงินคือ แล้วแต่เราจะรับไหวแค่ไหน
การซื้อ จะเกิดแบบ ตามเทรนไปเรื่อยๆยิ่งขึ้นยิ่งซื้อ จนกว่าจะครบสามไม้
มันจะไล่ตามลำดับไปเรื่อยๆนะครับ ไม้แรกจะซื้อตามป้าย BUY ไม้สองก็ตามสีแท่งเทียนไม้สามก็ตามแถบสีนะครับมันจะโรเทตไปเรื่อยๆ ถ้าครบแล้วคือ รอเฉยๆนะครับ ขายเมื่อ มีป้ายบอก1ส่วนนะครับ เมื่อมีแท่งเทียนบอกอีก1ส่วนนะครับและจะหมดเมื่อแถบสีสั่งขายนะครับ
หรืออาจมีบางกรณีขายไปได้ ถึงไม้สอง ไม้สามยังไม่สั่งขาย แต่บังเอิญไม้แรกสั่งซื้อ ก็ให้ซื้อคืนตามส่วนที่แบ่งไว้นะครับ เพราะชนั้นแล้วจึงต้องจดบันทึกนะครับว่าซื้ออะไรขายอะไรจำนวนเท่าไหร่


ที่มา https://www.facebook.com/Electricbassist/posts/10201973137551103

วันอังคารที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

สรุปอบรม technical

เป็น VI เริ่มเบื่อต้องหาสีสันให้ชีวิตบ้างไปอบรม technical หาแนวทางมาประสมประสาน

เครื่องมือนักเทคนิค

1.trend line ไว้ดูแนวโน้ม
ขาขึ้น ลากจากจุด low ไปหา low
ขาลง ลากจากจุด height ไปหา height

2.แนวรับแนวต้าน
แนวนรับ low ของคลื่นด้านซ้าย
แนวต้าน height ของคลื่นด้านซ้าย

3.ลงแล้วเด้ง retrenchment
สนใจเพราะชาวบ้านเขาสนใจ fibo
ถ้าขึ้นแล้วลงมา 55% แท่งเขียวด้านซ้ายต้องระวัง

4. moving average
สั้นตัดยาวซื้อ ยาวตัดสั้นขาย
เลื่อก 3 วัน ขายที่ 22 วัน

5. collpse in volality
โบลิงเจอร์แบนด์ (bollinger band)  ตั้ง 12 วัน ถ้ากราฟบีบน่าสนเตรียมเด้ง


6. หุ้นเบรกเส้น break
3% + - น่าวิ่ง

7. เส้น zigzag ไว้ดูแนวโน้ม
กราฟวัน 1.5%
กราฟ week 5%
ดู week ทำรูป w แล้วเบรกยอดด้านซ้าย ให้ซื้อ

8. engulfing กลับตัว
แท่งแดงกลบแท่งเขียวด้านซ้ายมิด ให้ขายน่าจะลง
ซ้ายแดง เขียว แต่แท่งขวาอมด้วยเขียวยักษ์น่าขึ้น
ถ้าหลุดครึ่งของกราฟ weekให้ขาย

9 doji เครืองหมายบวกอาจกลับตัว ดูว่าเข้า pattern ไหน
morring star
evening star
grave stone ป้ายหลุมศพ

10. macd
ema 12 26
ไม้แรก เส้นตัดกัน
ไม้สอง macd ตัด 0 เริ่มพ้นน้ำเตรียมวิ่ง
macd หักหัวลงขาย

ฟังชั่นต่างๆของ efinance thai

altf7 ไว้ดูวอลุ่มของฝรั่ง โดยสเต็ปฝรั่งมีคร่าวๆดังนี้
1 ซื้อ tfex
2 ไล่หุ้น
3 ขาย tfex
4 ขายหุ้น และ tfex
กองทุนตรงข้ามกับฝรั่ง

f3 ไว้ดูปริมาณซื้อขาย
f6%cmpr300% วันแรก

bb12
ma 4 8 25 75

การนับแท่งเทียนดู body
แท่งสอง body สูงกว่าตัวแรก สัญญานกลับทางที่ 1
แท่งสาม body สูงกว่าแท่งที่สอง ให้ซื้อ

folow trend ต้องรอแท่งยืนยัน
เห็น doji ต้องรอแท่งบืนยัน