วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556

PLE จะ turn around ?

ตัวนี้ผมก็คิดว่าน่าจะ turn around เหมือนกันนะครับลองศึกษากันดู
ตัวนี้คือ ple
  1. งานด้่านโยธาที่ทำให้ขาดทุน บริษัทได้ทำการขายบริษัทย่อยแล้ว และได้บันทึกด้อยค่าลงแล้ว รวมถึงงานบ้านเอื้ออาทร ที่เป็นตัวฉุดกำไรลงตลอดจบไปแล้่ว
  2. รายได้จากโซโห ที่จะเริ่มเข้ามาหลัง grand opening เดือน กพ.นี้ และคาดว่าจะมีการเปิด pop fund อันจะทำให้เกิดกำไรอีกพอควร
  3. eps เมือ่ดูย้อนหลัง หลังจากตัดรายการพิเศษออกไปแล้วมีกำไรตั้งแต่ Q2 Q3 แล้วซึ่ง Q4 ถ้าไม่มีอะไรน่าจะกำไร
  4. .ยอดงาน bag log จากส่วน mega project ที่เริ่มมีเข้ามาเรื่อยๆและเป็นงานที่ ple ถนัดคืองานส่วนของระบบ

พื้นฐานหุ้น คร่าวๆ 


พฐ.ธุรกิจ เป็นบริษัทก่อสร้างที่มีความเชี่ยวชาญด้านระบบไฟฟ้า มีสายสัมพันธ์ที่ดีกับทั้ง ck itd งานที่ได้ก็เป็นเช่นพวกงาน CPN งานสถานที่ราชการใหญ่ aot อะไรทำนองนี้
ความน่าสนใจบริษัทนี้
บริษัทนี้เคยเป้นบริษัทชั้นดีมากก่อนตลาดให้ premium สุดๆเพราะว่าด้วยงานที่ทำอยู่เป้นงานที่ได้ margin สูงมากและมีคู่แข่งไม่มากเท่างานโยธา ตอนได้งานสุวรรณภูมเคยทำราคาได้สูงสุดถึง 19-20 บาท มีการเพิ่มทุนจากอดีตเท่าที่จะได้ราคาจำไม่ได้แม่นเท่าไหร่ ครั้งแรกคือ เกือบๆ 9 บาท ครั้งที่ 2 เกือบๆ 5 บาท แต่ ple ต้องเข้าอยู่ในความตกต่ำอันเนื่องมาจาก การประเมินงานผิดและทำให้บริษัทขาดทุนติดต่อกันอย่างยาวนาน เพราะการตัดสินใจเข้าสู่งานด้านก่อสร้างโยธา ซึ่งมีการจัดตั้งบริษัทลูกขึ้นมา งานที่ทำให้เจ็บหนักๆมี 2 งานคือ 
  1. งานบ้านเอื้ออาทร
  2. งานทีดูไบ 
งานของ ple
งานและระบบที่ติดตั้งได้เป็น 5 ประเภทหลัก ได้แก่
  1. งานก่อสร้างโยธา สัดส่วนรายได้เกือบ70%
  2. ระบบไฟฟ้า
  3. ระบบปรับอากาศ
  4. ระบบสุขาภิบาลและระบบป้องกันอัคคีภัย
  5. ระบบสื่อสารโทรคมนาคม

ธุรกิจ 2 3 4 5 รวมๆกันเพียงแค่30% แต่ margin สูงกว่ามาก ลองดูงบ Q3 ดูได้ครับรายได้ลดลงมากแต่ว่ากำไรดีขึ้นมากเมื่อตัดรายการพิเศษออก
ถ้าดูงานที่เป็นตัวดึงผลกำไรลงจะเห็นว่างานด้านโยธาซึ่งเป็นงานที่ ple ไม่ถนัดทำมาเป็นตัวถ่วง แต่เมื่อปีที่แล้ว ple ได้ทำการขายหุ้นPower Line Engineering – Qatar W.L.L ที่ส่วนมากเป็นงานด้านโยธาและเป็นงงานนอกประเทศที่ทำให้งบรวมของ ple ขาดทุนติดๆกันมาในปี 56 หลังเสร็จสิ้นการตั้งสำรองหนี้สูญของโครงการบ้านเอื้ออาทร และบริษัทย่อยในกาตาร์แล้วทั้งจำนวนในปี 55 ดังนั้น
แม้ว่า 4Q55 คาดว่าจะมีผลขาดทุนสุทธิเล็กน้อยราว 14 ล้านบาทจากการตั้งสำรองโครงการบ้านเอื้ออาทร
และหนี้สินของบำรุงเมืองส่วนที่เหลืออีกราว 100 ล้านบาท แต่หากไม่รวมรายการดังกล่าว 4Q55 จะมีกำไรจากการดำเนินงานปกติเป็นไตรมาสที่ 2 ติดต่อกัน(สัญญานดีมาแล้ว)

สิ่งที่จะทำให้หุ้นตัวนี้ฟื้นกลับมา

  1. จาก Backlog ราว 8,000 ล้านบาท ซึ่งจะเริ่มทะยอยรับรู้รายได้เข้ามาและงานที่เหลือจะเป็นงานดั้งเดิมที่บริษัทมีความเชี่ยวชาญซึ่งคาดว่าจะทยอยรับมาได้อย่างต่อเนื่องเมื่อไม่มีงานด้านโยธาเข้ามาแล้ว
    ถ้าดูงบการเงินเช็คหลังจากตัดรายการที่ไม่ปรกติออกและเมื่อดูงบการเงินเดี่ยวจะเห้นสัญญาณการฟื้นตัวชัดเจนลองไปดูได้ครับ ผมทำประเมินไว้บ้างแล้วแต่ไม่อยากเอาลงกลัว bias กันมากไป


2.ตัวนี้ผมถือเป็นพระเอกเลยนั้นคือ Soho plaza เดิม ple เคยรับจ้างสร้างห้างชื่อโบ้เบ้พลาซ่ามูลค่าก่อสร้าง800ล้านบาท แต่ผู้ว่าจ้างไม่สามารถจ่ายเงินให้ ple ได้ ple จึงทำการยึดมาซะเลย โดยได้ตัดมูลค่าเสียหายไปแล้ว
ซึ่งโซโห เป็นห้างที่อยู่แถวโบ้เบ้ครับขนาดเนื้อที่ 16 ไร่ ผมว่าแค่ราคาที่ดินตอนนี้ยังซื้อไม่ได้เลยมั้งครับ555 เจ้าตัวโซโหผมคาดว่า ple จะทำเหมือน ticon ทำน่าเป็นวิธีที่ดีสุดคือขายเป็ย property fund
ซึ่งถ้ามีการจัดตั้งจริง ple สามารถ book กำไรจากการขายสินทรัพย์นี้ได้เลย และกำไรจาก โซโห ไม่ต้องตัดค่าเสื่อมให้กระทบกับงบด้วย win win และไม่ต้องใช้เงินของตัวเองเลย แถมกำไรจากส่วนนี้น่าจะสูงมากเพราะ
ต้นทุนที่ยึดมาต่ำสุดๆ ผมอยากให้ลองอ่าน model การทำให้เกิด โซโห ดู http://www.bkkonline.com/scripts/news/popup.aspx?contentid=31488 มันเป็น ยุทธศาสตร์ที่มีผลกับบริษัทอย่างมากซึ่ง ple สามารถใช้ pricing war ได้ง่ายมากเพราะต้นทุนต่ำสุดๆ ผมคิดว่าน่าจะเกิดนะครับ เดิม soho จะเปิดตั้งนานแล้วแต่ติดปัญหามาตลอด กำหนดการขายคือ กพปีหน้าจุดนี้เมื่อรวมกับ core business เดิมผมว่าถูกมากครับส่วนตัวเลขขอไม่ลงแล้วกันนะครับ
ปล.ชั้นล่างสุดจองเต็มละ


update data from IR วันนี้ เค้าบอกประเด็นบ้านเอื้อาทรจบไปแล้วแต่เหลือติดคดีที่ฟ้องกันอยู่ 2 โครงการ ส่วนโซโหกำลังทำเรื่องยื่นเข้า Prop fund ไม่ยอมบอกเวลาไหน ส่วนงานโยธายังมีอยู่บ้าง backlog แม่มก็ไม่บอก เปิดตัวโซโหตามข่าวที่บอกเป็น Grand opening


เพิ่มส่วนโซโหที่ต้องเปิด 28 กพ เพราะจะครบรอบปีพอดีจากสัญญาเช่าถึงปี 2580 เพราะฉะนั้นเหลือสิทธิเช่าอีก 24 ปี ขายเข้า prop fund ก็สบายตัวไม่ต้องตัดค่าตัดจำหน่ายการเช่าไตรมาสละ 13.8m bottom line สวยขึ้น ส่วนที่ยึดมาคงไม่ได้โอนกลับอะไรแต่ได้ asset มาทุนประมาณ 1200m หากขายเข้า prop fund ได้เกินกว่านี้ก็เป็นกำไรพิเศษเลย


Risk npl มีที่ยังไม่ตั้งค่าเผื่ออีกประมาณ 67 ล้าน อาจโดนตรงนี้และโดนดอกเบี้ยร้อยละ 8 จากหนี้ที่ตกลงกันประนอมหนี้ 400 ล้าน เข้ามาหักใน bottom line ส่วนความเสี่ยงอีกตัวคือที่ฟ้องร้องบ้านเอื้ออาทรที่ไม่ได้ทำอีก 2 โครงการ โดนฟ้องไป 388 ล้านและรับรู้ไปแล้ว 284 ล้าน เหลืออีก 100 ล้านที่ยังไม่ได้หัก


งปี 2556 รับอานิสงส์โดยตรงจากโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่จำนวนมากของภาครัฐ ดังนั้น บริษัทรับเหมาก่อสร้างขนาดใหญ่ที่มีข้อจำกัดเรื่องกำลังคน มีแนวโน้มที่จะส่งต่องาน (Sub-Contract)ให้กับบริษัทรับเหมาขนาดกลาง-เล็ก และส่งผลบวกโดยรวมต่อภาพรวมของทั้งอุตสาหกรรม
ปัจจุบัน PLE มี Backlog ราว 8,000 ล้านบาท คาดว่าจะรับรู้รายได้ราว 1,200 ล้านบาทใน 4Q55 และคงเหลือ Backlog ราว 6,800 ล้านบาท ณ สิ้นปี 55 หรือคิดเป็น 82% ของประมาณการรายได้ปี 56 ที่ 8,250 ล้านบาท ดังนั้น จึงเชื่อว่าประมาณการรายได้ของเรามีความเสี่ยงค่อนข้างจำกัด

ขณะที่ความสามารถในการทำกำไรจะดีขึ้นมากในปี 56 หลังเสร็จสิ้นการตั้งสำรองหนี้สูญของโครงการบ้านเอื้ออาทร และบริษัทย่อยในกาตาร์แล้วทั้งจำนวนในปี 55 ดังนั้น แม้ว่า 4Q55 คาดว่าจะมีผลขาดทุนสุทธิเล็กน้อยราว 14 ล้านบาทจากการตั้งสำรองโครงการบ้านเอื้ออาทร และหนี้สินของบำรุงเมืองส่วนที่เหลืออีกราว 100 ล้านบาท แต่หากไม่รวมรายการดังกล่าว 4Q55 จะมีกำไรจากการดำเนินงานปกติเป็นไตรมาสที่ 2 ติดต่อกัน

ทั้งนี้ ผลประกอบการปี 56 คาดว่าจะ Turnaround พลิกเป็นกำไรสุทธิ 194 ล้านบาท หรือ EPS หุ้นละ 0.24 บาท 

นอกจากนั้น ยังมี Upside Risk จากการจัดตั้ง Property Fund โครงการ SOHO ใน 2Q—3Q56 โดยมีอายุสัญญาเช่า 24 ปี และขนาดกองทุนราว 2.5 พันล้านบาท ซึ่งจะส่งผลให้มีกำไรพิเศษจากการจัดตั้ง Property Fund สูงถึง 1.0 พันล้านบาท หรือคิดเป็นกำไรต่อหุ้น 1.50 บา

วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เจาะลึก Current Ratio ในการบริหารสภาพคล่อง

ปกติ Current Ratio สอนกันว่าที่ดีต้อง > 1 จริงหรือเพราะมีมากมายที่แม้มากกว่า 1 ก็ล้มละลายมาแล้ว ขาดสภาพคล่องมาแล้ว บางแห่งต่ำกว่ 1 ยังรอดมาได้ก็มี แล้วที่ถูกต้องคืออะไร มาทำความเข้าใจหลักการบางประการที่อาจช่วยเปิดมุมมองใหม่ๆ บทความดีๆจาก อ.สรรพงศ์ ลิมป์ธำรงกุล[1] เขียนได้ลึกและแจกแจงได้พิสดารจริงๆ

เริ่มที่การวิเคราะห์สภาพคล่องธุรกิจ-อัตราส่วนสภาพคล่อง (Liquidity Ratios) อัตราส่วนกลุ่มนี้จะช่วยบอกสถานะสภาพคล่องหรือกระแสเงินสดของกิจการในการชำระหนี้ระยะสั้นและการดำเนินธุรกิจในรอบๆ หนึ่งว่ามีความคล่องตัวเพียงใด บริษัทที่สามารถมีภาพคล่องหรือที่เรียกกันทั่วไปว่ามีเงินหมุน (เวียน) ในระดับที่พอเหมาะหรือมากจะมีโอกาสและได้เปรียบในการแข่งขันสูง ถ้าย้อนกลับไปที่วัตถุประสงค์ของธุรกิจคือต้องสามารถทำกำไร สร้างกระแสเงินสดและรักษาการอยู่รอด (Make Profit, Generate Cash Flow and Stay Solvency) เพื่อนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผู้ถือหุ้น การวิเคราะห์พิจารณาติดตามอัตราส่วนกลุ่มนี้ จะช่วยให้บริษัทอยู่รอดได้อย่างแข็งแกร่งภายใต้ภาวะปัจจุบันที่สภาพแวดล้อมธุรกิจผันแปรอยู่เสมอ อัตราส่วนกลุ่มนี้มีใช้พิจารณาหลายค่าดังนี้

  • อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน (Current Ratio)
  • อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick Ratio)
  • อัตราส่วนเงินสด (Cash Ratio)
  • อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนปรับแต่งใหม่ (Modified Current Ratio)
  • อัตราส่วนความเพียงของเงินสด (Cash Adequacy Ratio)
  • อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน (Current Ratio) เป็นอัตราส่วนที่จะกล่าวในเบื้องต้น


Current Ratio = Current Assets/ Current Liability
= สินทรัพย์หมุนเวียน/หนี้สินหมุนเวียน

ในตำราทั่วไปมักจะกล่าวกว้างๆ ว่า อัตราส่วนทุนหมุนเวียนที่ต่ำกว่า 1 แสดงว่ากิจการมีหนี้ระยะสั้นสูงกว่าสินทรัพย์แสดงถึงความสามารถในการชำระหนี้ต่ำ ทำให้นักวิเคราะห์หลายท่านตีความว่า อัตราส่วนนี้ต้องสูงกว่า 1 จึงจะถือว่าดีต่อธุรกิจ ก็ถือว่าไม่ผิดเสียทีเดียว ถ้าเช่นนั้นมี 2-3 เท่าขึ้นไปยิ่งดีเช่นนั้นหรือ คำตอบคงไม่ใช่แน่นอน หลายบริษัทที่เป็นกิจการที่แข็งแกร่งระดับ Blue chip บางบริษัทในบางช่วงก็ไม่ได้มีอัตราส่วนนี้มากกว่า 1 หลายบริษัทที่มีอัตราส่วนนี้มากกว่า 1 กลับต้องประสบปัญหาทางการเงินในเวลาถัดมา ถ้าอย่างนั้นแล้วควรเป็นอย่างไร
- Current Ratio มากกว่า 1 ดีจริงเสมอไหม น้อยกว่าได้หรือไม่ แล้วเท่าไรถึงเรียกว่ากำลังดี
- อัตราส่วนควรเท่าไรนั้นให้พิจารณาจากการเปรียบเทียบรอบการหมุนของสินทรัพย์หมุนเวียนและรอบการหมุนของหนี้สินหมุนเวียน
- หลักตรรกะ (Logic) คือ รอบการหมุนหมายถึงความสามารถในการเปลี่ยนเป็นเงินสดเข้า (สำหรับสินทรัพย์หมุนเวียน) หรือเป็นเงินสดออก (สำหรับหนี้สินหมุนเวียน) ถ้ารอบสินทรัพย์หมุนเวียนเร็วกว่ารอบของหนี้สินหมุนเวียนก็แสดงว่ากิจการสามารถถือสินทรัพย์หมุนเวียนได้ต่ำกว่าหนี้สินหมุนเวียน
- ถ้ารอบการหมุนของสินทรัพย์หมุนเวียนสูงกว่ารอบการหมุนของหนี้สินหมุนเวียนเท่ากับ 2 เท่า อัตราส่วน CR สามารถต่ำได้ถึง = 1/2 = 0.5 แต่ควรบวก safety ไว้สัก 2-1.5 เท่า ดังนั้น CR = 0.5*1.5 = 0.75
- การหารอบการหมุน ให้ใช้การถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของ turnover ของแต่ละรายการในงบ เช่น เงินสด = 26 ลูกหนี้การค้า = 8 สินค้าคงเหลือ = 6
- การหารอบการหมุน เช่น เงินสด = 26 ลูกหนี้การค้า = 8 สินค้าคงเหลือ = 6 สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น อาจเท่ากับ 1 หรือ 0 ก็ได้ (ดูความสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสด) ตัวอย่างเช่น
หารอบหมุนเวียนเฉลี่ยโดยการคูณรอบหมุนเวียนด้วยน้ำหนัก หรือสัดส่วนที่เป็นอยู่ในสินทรัย์หมุนเวียน เช่น

สินทรัพย์หมุนเวียนประกอบด้วย

  • เงินสด------------------------------15
  • ลูกหนี้การค้า----------------------75
  • สินค้าคงเหลือ---------------------90
  • ค่าเช่าจ่ายล่วงหน้า----------------20
  • รวมสินทรัพย์หมุนเวียน----------200


หารอบหมุนของแต่ละค่าด้วยการถ่วงน้ำหนัก

  • เงินสด---------------------------15 x 26/200 = 1.95
  • ลูกหนี้การค้า-------------------75 x 8/200 = 3.0
  • สินค้าคงเหลือ------------------90 x 6/200 = 2.7
  • ค่าเช่าจ่ายล่วงหน้า-------------20 x 1/200 = 0.1
  • รวมสินทรัพย์หมุนเวียน-------200 = 7.75 รอบ

-ปกติรายการสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น จะดูว่าเป็น monetary items เพียงใด และจะให้เท่ากับ 1 รอบต่อปีเท่านั้น เพราะมัดจะมีการเปล่ยนทางบัญชีหรือใชีเพียง 1 ครั้งเท่านั้น เช่น ภาษีหัก ณ ที่จ่ายจ่ายล่วงหน้า แม้จะเกิดทุกเดือน แต่เวลาเคลมคืน (เงินเข้า) ตอนจ่ายภาษีประจำปี ภงด ๕๐ เท่านั้น เป็นต้น

ด้านหนี้สินหมุนเวียนทำแบบดียวกัน

  • เงินเบิกเกินบัญชี----------------20 x 12/160 = 1.500
  • เจ้าหนี้การค้า--------------------30 x 10/160 = 1.875
  • ตั๋วเงินจ่าย-----------------------50 x 6/160 = 1.875
  • ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย---------------60 x 12/160 = 4.500
  • รวมหนี้สินหมุนเวียน-----------160 = 9.750 รอบ
  • อัตราส่วนทุนหมุนเวียนตามสูตร (CR) = 200/160 = 1.25

อัตราส่วนทุนหมุนเวียนที่ควรจะดำรงไว้ที่ต่ำสุด = 9.75/7.75 หรือ 1.26

-ค้างจ่ายค้างจ่ายมักจะจ่ายไม่เกินเดือน เช่นเงินเดือน ค่าน้ำค่าไฟ เป็นต้น
-รายการประเภท ส/ท น/ส หมุนเวียนอื่นๆ ในแง่การวิเคราะห์งบการเงินมักมีมูลค่าไม่มีนัยสำคัญมาก ส/ท มว ให้ =1 ส่วน น/ส มว ให้ = 12 เพื่อหลักการระมัดระวัง (conservative)

แต่เราสามารถหาอัตราส่วนทุนหมุนเวียนที่ควรจะดำรงไว้ที่ต่ำสุด = 9.75/7.75 หรือ 1.26 ถ้ากิจการเผื่อความปลอดภัยไว้ที่ 1.5 เท่าว่าเป็นระดับที่กำลังดี จะได้ที่ระดับ CR = 1/(7.75/9.75)*1.5 = 1.89 หรือถ้าเผื่อความปลอดภัย ไว้เท่ากับ 1.2 จะได้ = 1.51 แสดงว่า ณ ปัจจุบันกิจการมีความเสี่ยงในเรื่องของสภาพคล่อง อัตราส่วนทุนหมุนเวียนที่ 1.25 ไม่ได้บอกว่าวันนี้กิจการไม่น่าห่วงในเรื่องสภาพคล่อง แต่ระดับขณะนี้ถือว่าอยู่ในระดับปริ่มน้ำ เพราะอยู่ในระดับต่ำสุดของที่ควรจะเป็น ถ้าหากเพื่อความเสี่ยงหรือความปลอดภัยมากขึ้นราว 20% อัตราส่วนทุนหมุนเวียนที่จะทำให้กิจการมีการหมุนเวียนปลอดภัยคือ 1.51 ระดับที่เป็นอยู่ปัจจุบันที่ 1.25 เท่าดังกล่าวจะถือว่าไม่ยังปลอดภัย

- ถ้าเปลี่ยน หนี้สินหมุนเวียนมีการเปลี่ยนแปลงทั้งปริมาณและรอบหมุนเวียน เป็น

  • เงินเบิกเกินบัญชี---------------30 x 12/200 = 1.80
  • เจ้าหนี้การค้า-------------------40 x 12/200 = 2.40
  • ตั๋วเงินจ่าย ----------------------60 x 6/200 = 1.80
  • ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย---------------70 x 12/200 = 4.20
  • รวมหนี้สินหมุนเวียน----------200 = 10.20 รอบ


เมื่อคำนวณหาอัตราส่วนหมุนเวียนตามสูตร (CR) = 200/200 = 1.00
อัตราส่วนทุนหมุนเวียนที่ควรจะดำรงไว้ที่ต่ำสุด = 10.2/7.75 = 1.31
แต่ถ้าคำนวณโดยการพิจารณารอบการหมุนเวียนเพื่อหาระดับ CR ที่ต่ำสุดที่กิจการควรดำรงไว้จะเท่ากับ 1.31 ถ้าเพิ่มความปลอดภัย (safety factor) สัก 1.5 เท่า ระดับที่ควรเป็น = 1/(7.75/10.2)*1.5 หรือ 1.97 หรือถ้าเผื่อความปลอดภัยไว้เท่ากับ 1.25 จะได้ = 1.65

-ข้อสังเกต ถ้าหากรอบของสินทรัพย์หมุนเวียนยิ่งสูงมากเท่าใดอัตราส่วนหมุนเวียนก็สามารถมีค่าต่ำได้มากขึ้น แต่ถ้ารอบของสินทรัพย์หมุนเวียนหมุนเวียนต่ำกว่าหนี้สินหมุนเวียนมากเท่าไร ค่าที่เหมาะสมของอัตราส่วนหมุนเวียนก็จะยิ่งสูง
-อัตราส่วนหมุนเวียนยังขึ้นกับโครงสร้างของสินทรัพย์หมุนเวียนและหนี้สินหมุนเวียนด้วยว่ามีอะไรเป็นองค์ประกอบสัดส่วนเท่าไร ดังนั้นหน้าที่ของ CFO หรือ Finance Manager จึงต้องบริหารสัดส่วนและอัตราการหมุนเวียนของรายการในทุนหมุนเวียน
-ระดับอัตราส่วนทุนหมุนเวียนที่คำนวณตามสูตร ซึ่งขอเรียกว่าเป็น current ratio (should be) เป็นระดับที่กิจการจะสามารถดำรงความสามารถรักษาสภาพคล่องได้อย่างไม่มีปัญหาการดำเนินงานได้ หากอัตราส่วนทุนหมุนเวียนต่ำกว่าค่าดังกล่าว บริษัทต้องมีการดำเนินการด้านการจัดหาเงิน (financing activity) เพื่อให้สามารถดำรงกิจกรรมธุรกิจต่อไปเช่น ตัวอย่างที่จะกล่าวต่อไปในธุรกิจโทรคมนาคม ในปีที่บริษัทมีอัตราส่วนทุนหมุนเวียนต่ำกว่าอัตราสวนที่ควรจะเป็น พบว่าในปีถัดมามีการเพิ่มทุนตามมา
- ส่วนค่าความปลอดภัยนั้นจะกล่าวถึงในเรื่อง quick ratio
- อัตราส่วนทุนหมุนเวียนที่เหมาะสมจะเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงวงจรธุรกิจ
- สรุปหลักคิดคือรอบการหมุนของสินทรัพย์สามารถเปปลี่ยนเป็นเงินสดเปรียบเทียบกับรอบการหมุนของหนี้สิน ดั้งเดินนั้นถือว่าเอาตามนิยามบัญชีคือ สินทรัพย์หมุนเวียน = 1 ปี ส่วนหนี้สินหมุนเวียนก็ = 1 ปี เช่นกันเลยสรุปง่ายๆว่า = 1 แต่ในความจริงนั้นรอบของทั้ง สินทัพย์หมุนเวียนไม่เท่ากับหนี้สินหมุนเวียน อัตราส่วน Current ratio จึงไม่ใช่ 1 ถึงดีเสมอ


นโยบายเงินทุนหมุนเวียน
 ดังนั้นในแง่การบริหารธุรกิจในโลกความจริงและสำหรับ CFO แล้วต้องกำหนดนโยบายทุนหมุนเวียนให้สอดคล้องกับธุรกิจ สอดคล้องกับโครงสร้างธุรกิจ เพราะแต่ละที่ก็มีนโยบายบริหารลูกหนี้ต่างกัน บริหารการจัดซื้อต่างกัน มีการผลิตต่างกัน ดังนั้นต้องดำรงสัดส่วนที่ต่างกันไป ในทางการบริหารนั้น สินทรัพญ์หมุนเวียสามารแบ่งได้เป็นสองส่วนหลักๆ คือ
- Temporary Current Assets เป็นระดับสินทรัพย์หมุนเวียนที่มมีไว้ตามภาวะวงจรเศรษฐกิจ ส่วนนี้จะไม่แน่นอน ส่วนนี้จะคือส่วนที่เพิ่มเติมขึ้นจากระดับ Permanent Current Assets
- Permanent Current Assets คือระดับสินทรัพย์หมุนเวียนที่กิจการจำเป็นต้องดำรงไว้ขั้นต่ำ แล้วผู้บริหารจะทราบได้อย่างไร ในการประยุกต์เพื่อหาระดับของสินทรัพย์หมุนเวียนจะนำเรื่องจุดคุ้มทุน (Break-Even Point) มาช่วยในการคำนวณหา เช่นกิจการหนึ่งเมื่อคำนวณหาระดับยอดขายที่จุดคุ้มทุนได้แล้ว สมมติว่าได้เท่ากับ 100 ล้านบาท อัตรากำไรขั้นต้นเฉลี่ยเท่ากับ 20% ต้นทุนขายจะได้เป็น 80 ล้านบาท รอบการหมุนลูกหนี้การค้า (A/R Turnover) รอบการหมุนสินค้าคงเหลือ (Inventory Turnover) รอบการหมุนเงินสด (Cash Turnover) และรายการอื่นๆในสินทรัพย์หมุนเวียนก็จะคำนวณเบื้องต้นได้หรืออาจใช้ Common size ช่วยด้วยก็ได้ในการกำหนดสัดส่วนในสินทรัพย์หมุนเวียน ในด้านหนี้สินหมุนเวียนก็ใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน ส่วน Temporary Current Assets ก็คือส่วนที่สัมพันธ์กับยอดขายในระดับที่เกินกว่าจุดคุ้มทุนนั่นเอง
- ถ้าดูจากภาพสรุปง่ายๆคือ กิจการจะอยู่รอดต้องมียอดขายไม่น้อยกว่าจุดขายค้มทุน ดังนั้นระดับ Permanent Current Assets จึงน่าจะกำหนดได้ และส่วนนี้เมื่อต้องมีอญู่ถาวรในระยะยาวจึงควรจัดหาด้วย long term financing
อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน


- CR ระยะแรกมากกว่า 1 และค่อยๆ ลดลงจนเท่ากับ 1 จากนั้นอาจต่ำกว่า 1 ได้
- เมื่อเข้าสู่ระยะอิ่มตัวก็จะกลับเข้าสู่ 1 อีกครั้งและเพิ่มกลับมาที่ 1 ใหม่อีก
จะเห็นว่าแค่ Current ratio ที่หลายคนคิดว่าง่ายๆ เอาเข้จริงมันมีอะไรซ่อนอยู่มาก อาจารย์การเงินทั่วๆ ไปไม่สอนกันเลย ทั้งหมดที่ผมบอกมานั้นมาจากการนำไปใช้จริงมาแล้ว มีประสบการณ์จริงมาแล้ว ผู้สอนส่วนใหญ่ไม่เคยลงสนามจริง แม้บางคน (ผู้เรียน) ลงสนามจริงแต่กลับทิ้งหลักการไว้กลางทาง แล้วสรุปเอาว่าทฤษฎีใช้ไม่ได้ อัตราส่วนต่างๆ ก็เช่นกัน มันมีอะไรลึกกว่าที่เรียนกันเยอะมาก เสียดายที่หลายคนเรียนมาจากการถ่ายทอดหลวมๆ เลยนำไปใช้แบบผิดที่ผิดทางในหลายครั้ง

ที่มา https://www.facebook.com/sanpong.limthamrongkul/posts/10200928388950407

วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ลงทุนทำธุรกิจเอง กับลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ต่างกันอย่างไร

โดยส่วนตัวผมชอบทำธุรกิจครับ หลังจากทำงานเป็นลูกจ้าง ได้เงินมาแล้วเปรี้ยวออกมาเป็นเจ้าของธุรกิจ หลังจากลองผิดลองถูกมาเยอะส่วนใหญ่จะเจ้งครับเพราะไม่มีฝีมือบริหารธุรกิจให้ได้กำไร ก็มาลงตัวที่ให้เงินทำงานผ่านตลาดหุ้น (ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย) เพราะทำให้ผมสามารถเป็นเจ้าของธุรกิจที่ชาตินี้ไม่คิดจะทำได้เช่น เปิดร้าน 7-11 เป็นเจ้าของโรงไฟฟ้า เจ้าของโรงพญาบาล ร้านอาหาร นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ มาดูกันว่าตลาดหุ้นช่วยให้เราเป็นเจ้าของกิจการแบบนี้ได้อย่างไร

ก่อนเข้าตลาดเจ้าของเดิมเริ่มต้นทำธุรกิจ


กระบวนการทำงานของทุน


  1. เจ้าของมีเงินเก็บเป็นทุน (ส่วนของผู้ถือหุ้น) ก้อนหนึง ถ้าไม่พอก็กู้มาเพิ่ม ภาษาการเงินจะเรียกส่วนของผู้ถือหุ้น และ หนี้สิน ว่า แหล่งที่มาของเงินทุน(Source of fund)
  2. ต่อมาก็เอาแหล่งที่มาของเงินทุน(Source of fund) เงินไปซื้อสินทรัพย์ (Asset) ภาษาการเงินว่าแหล่งที่ใช้ไปของเงินทุน(Used of Fund) ถ้าจะเปิดร้านกาแฟก็หมดเงินไปกับการแต่งร้าน ซื้อเครื่องชงกาแฟ เมล็ดกาแฟ นม น้ำแข็ง
  3. พอของครบก็เปิดร้านได้แล้วมีคนมาซื้อลูกค้าได้สินทรัพย์ของเราไป(กาแฟ) เขาก็ให้เงินมาแลกเปลี่ยนเงินส่วนนี้เรียกว่ายอดขาย เงินมาก็เอาไปจ่ายเป็นค่าตอบแทนให้กับปัจจัยการผลิตที่เราไปยืมเขามา คนงานก็จ่ายค่าแรง เจ้าของที่ก็จ่ายค่าเช่า จ่ายดอกเบี้ยให้เจ้าหนี้ ฯลฯ
  4. ถ้าหักค่าใช้จ่ายในข้อ 3 แล้วเหลือ เขาเรียกว่ากำไรซึ่งจะวนกลับไปส่วนของผู้ถือหุ้นให้งอกเงยขึ้นเรื่อยๆ สามารถนำเงินไปลงทุนเพิ่ม หรือคืนหนี้ได้ เงินที่เหลือก็ออกมาเป็นเงินปันผลให้กินได้ใช้ ถ้ากิจการมีความสามารถในการแข่งขันธุรกิจไปได้เรื่อยๆ ก็เหมือนเป็นเครื่องจักรเงินสดให้เราได้กินตลอดไปยัน ลูกหลาน

สรุปง่ายๆ หัวใจของการลงทุนเพราะต้องการกำไรทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นสูงขึ้นเรื่อยๆ นั่นเอง 

เมื่อธุรกิจเติบโตและต้องการใช้เงินก็นำบริษัทเข้ามาระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์

ตลาดหลักทรัพย์(ตลาดทุน) เป็นตลาดที่ทำให้คนมีทุน กับคนต้องการใช้ทุนมาเจอกัน ซับซ้อนขึ้นอีกนิดแต่ไม่เกินความสามารถในการเข้าใจของท่านแน่นอน
กลไกการทำงานของทุนในตลาดหลักทรัพย์
จากภาพบริษัทก็ทำงานค้าขายกันตามปกติจนวันหนึงร้านกาแฟที่นั่งทำมาอยากขยายกิจการเช่นอยากเปิดสาขาเพิ่ม อยากขยายโรงงาน ฯลฯ แต่เงินทุนมีไม่พอ หนี้ก็เยอะแล้วเหลือทากเดียวคือต้องเพิ่มทุน แต่ก็ไม่มีทุนอีกก็ต้องหานักลงทุนมาร่วมลงทุน โดยการนำบริษัทเข้ามาระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ เสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนในครั้งแรก (IPO) คนที่ซื้อหุ้นก็ได้เป็นเจ้าของบริษัทและมีสิทธิ์ได้รับเงินปันผล ส่วนบริษัทก็ได้เงินมาลงทุนขยายกิจการ ไปชำระหนี้ ไปเป็นทุนหมุนเวียน ฯลฯ

สำหรับหุ้นที่เรานั่งๆ เทรดกันอยู่ เขาเรียกว่าตลาดรอง คิดภาพง่ายๆ เหมือนเล่นเก้าอี้ดนตรี คนที่นั่งอยู่ (ถือหุ้น) ถ้าธุรกิจดีก็มีสิทธ์ได้ัรับเงินปันผล คนที่ไม่ได้นั่งก็ได้แต่มองเพราะเก้าอีมีจำกัด  ถ้าอยากนั่งเก้าอี้ก็ต้องไปเจรจากับคนที่นั่งอยู่ถ้าเขายอมขายเราก็จ่ายเงิน และไปนั่งแทน ราคาที่ตกลงกันก็เรียกว่าราคาตลาด (Market price) ถ้ากิจการเติบโตเรื่อยๆปันผลก็โตขึ้นเรื่อยๆ คนที่นั่งอยู่ก็คงไม่ขายราคาเดิมแน่นอนต้องขายในราคที่สูงขึ้นราคาหุ้นก็ ขึ้น แต่ถ้ากิจการเลวร้ายผลประกอบการตกต่ำคนที่นั่งอยู่ถ้าขายราคาเดิมก็ขายไม่ ออกก็ต้องลดราคาลงราคาหุ้นก็ตก ส่วนต่างระหว่างการเข้ามานั่งกับตอนที่ออกไปก็คือ capital gain /loss ตรงนี้เงินไม่เข้าบริษัทเพราะเป็นการตกลงกันเอง

ดัง นั้นสรุปลงทุนในหุ้นก็เหมือนทำธุรกิจเองโดยผู้ลงทุนจะได้ผลตอบแทนอยู่สองอย่าง ก็คือ เงินปันผล และ โอกาสได้กำไรหรือขาดทุนจากการขายหลักทรัพย์ สำหรับผมข้อดีคือได้เป็นเจ้าของกิจการดีๆ ตามกำลังทรัพย์ที่เรามีครับ 1000 เดี่ยวก็ซื้อได้และผลตอบแทนก็ยังดีกว่าฝากธนาคารเยอะ


แล้วเปิดบริษัทเองหรือลงทุนในหุ้นดีกว่ากัน

ในโลกทุนนิยมเราต้องรวยด้วยคนอื่นครับมาดูกันว่าอันไหน work กว่า
1 การจัดหาทุน ใช้เงินตัวเองส่วนหนึ่ง เงินคนอื่น (หนี้) ส่วนหนึ่ง

  • ทำธุรกิจเอง ทุนน้อย แหล่งเงินกู้ถูกๆ ไม่มีบางคนกู้สินเชื้อบุคคล  28% ต่อปี เงินกู้น้อกระบบ ทำให้ต้นทุนของเงินทุนสูง
  • ซื้อหุ้น บริษัทเขาทุนเยอะ ทำมานานทำให้มีแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยถูก MLR แค่ 7% ต่อปี ออกตราสารหนี้ก็ได้ ทำให้ต้นทุนของเงินทุนต่ำกว่ามาก

2 นำเงินทุนไปซื้อสินทรัพย์และนำไปสร้างรายได้ มูลค่าของสินค้าก็ถูกกำหนดโดยคนอื่น (ราคาตลาด) เมื่อเอาทรัพยากรคนอื่นมาก็จ่ายผลตอบแทนไปเช่นค่าแรง ค่าเช่า ดอกเบี้ย

  • ทำธุรกิจเอง ถ้าทำธุรกิจทั่วๆไปร้านเล็ก สามารถสร้างรายได้ได้น้อย บางทีไม่คุ้มค่าแรง ค่าเช่า และดอกเบี้ยเงินกู้
  • ซื้อหุ้น ทุนเยอะก็ลงทุนได้เยอะ ต้นทุนหลายๆตัวก็ถัวๆกันไป ก็ยังมีกำไร

3 ถ้าหักค่าใช้จ่ายแล้วเหลือเป็นกำไรทำให้ความมั่งคั่งของเราเพิ่มขึ้น
4 ทำซ้ำข้อ 1-3 ถ้าได้กำไรความมั่งคั่งคุณจะสูงขึ้นเรื่อยๆ

จะเห็นว่าบริษัทใหญ่ๆได้เปรียบบริษ้ทเล็กๆ เกือบทุกประตู แต่ถ้าคุณทำธุรกิจเองได้กำไรคุณเห็นเงินเป็นกอบเป็นกำครับเพราะเรากินคนเดียว แต่ลงทุนหุ้นถ้าหุ้นดีๆ ที่คนรู้จักเยอะๆ แล้วคุณต้องซื้อราคาที่แพงขึ้นทำให้ผลตอบแทนที่กลับมาหาเราต่ำลงครับ

ป.ล. จงสะสมความมั่งคั่งแต่พอดีเพราะตายไปก็เอาความมั่งคั่งที่สะสมไปด้วยไม่ได้

วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การทำบัญชีด้วย excel

การทำบัญชีปกติจะบันทึกด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปครับ แต่รู้วิธีการบันทึกแบบ manual ก็เป็นเรื่องดีให้รู้ที่มา มาดูกันว่าเขาบันทึกบัญชีกันอย่างไร กว่าจะมาเป็นงบการเงินให้นักลงทุนตาดำๆอย่างเราได้อ่านกันมันลำบากอย่างไร

แนวคิดการบันทึกบัญชี

แนวคิดทางบัญชีปัจจุบันนำเสนองบการเงินบนแนวคิด Balance Sheet Approach นั่นคือถ้ามูลค่าหรือการวัดมูลค่างบดุลถูกต้อง งบกำไรขาดทุนก็จะถูกต้อง โดยการรับรู้กำไรขาดทุนระหว่างงวดเป็นไปตามทฤษฎีการรักษาระดับทุน (Capital Maintenance) แต่นั่นไม่ใช่เรื่องใหญ่สำหรับการวิเคราะห์งบการเงิน เพราะในเบื้องต้นนั้นงบการเงินที่จะนำเข้ามาใช้ในการวิเคราะห์ควรต้องน่าเชื่อก่อน นั่นคือต้องผ่านการตรวจสอบหรือผู้ใช้งบการเงินเชื่อมั่นระดับหนึ่งว่า งบการเงินได้มีการจัดเตรียมและนำเสนออย่างถูกต้องตามควรถ้างบนำเสนอไม่ถูกต้อง ผลการวิเคราะห์ก็ไม่ถูกต้อง
เมื่อแนวคิดทางบัญชีนำเสนอบนหลักของ Balance Sheet Approach การอ่านงบดุลจึงให้มุมมองในอีกมิติ ที่งบกำไรขาดทุนไม่สามารถชี้ภาพของธุรกิจได้ทั้งหมด

เดบิต เครดิตคืออะไร

ข้อสังเกต เดบิตและเครดิตทางบัญชีอาจจะอธิบายได้ยาก บางคนอาจสรุปง่ายๆ ว่า คือ ซ้ายกับขวา ซ้ายเป็นด้านสินทรัพย์และค่าใช้จ่าย ขวาเป็นการบันทึกด้านหนี้ ทุน รายได้ เท่านี้หรือ ไม่ได้ต่อยอดความรู้อะไรเพิ่มขึ้นและเชื่อมโยงกับนิยามตามแม่บทการบัญชีและหลักทางการเงินไม่ได้เลย แต่ถ้าเปลี่ยนใหม่มามองว่า เดบิตและเครดิต คือ ด้านการบันทึกแหล่งที่ใช้ไปของทุนและที่ได้มาของทุน เราจะเห็นภาพเชื่อมโยงทั้งหมดระหว่างบัญชีและการเงิน แม้แต่นิยามสินทรัพย์ หนี้สิน ทุน รายได้ ค่าใช้จ่าย ตามแม่บทการบัญชีก็สอดคล้องด้วยเช่นกัน
เดบิต เครดิต คืออะไร

  • เดบิต = เครดิต
  • ที่ใช้ไปของเงิน (used of fund) = ที่มาของเงิน (source of fund)
  • สินทรัพย์ = หนี้สิน + ทุน
  • สินทรัพย์ = หนี้สิน + ทุน + กำไรสะสม
  • สินทรัพย์ = หนี้สิน + ทุน + รายได้ - รายจ่าย
  • สินทรัพย์ + รายจ่าย = หนี้สิน + ทุน + รายได้


การวิเคราะห์รายการค้า 

ทุกรายการการค้าที่เกิดขึ้น มันมีที่มาที่ไปครับ ไม่มีอะไรเกิดขึ้นลอยๆ รูปนี้ทำให้ช่วยบันทึกบันชีง่ายขึ้นครับ รายการค้าโดยทั่วไปเกี่ยวข้องกับ 5 กลุ่มคือ สินทรัพย์ หนี้สินทุน รายได้  และ รายจ่าย การบันทึกบัญชีเขามองเป็นหลักบัญชีคู่คือ ทุกรายการค้าต้องมีที่มากับที่ไป เวลาลงบัญชี เราจำแค่สูตรเพิ่มก็พอครับถ้ารายการไหนลดลงก็ลงบัญชีสลับกัน ลองดูตัวอย่างแล้วจะเข้าใจ
การบันทึกบัญชีสูตรเพิ่มขึ้น

ขายของได้เงินสดมา 1000 บาท จะลงรายการทางบัญชีอย่างไร การขายของได้ เงินสด เมื่อได้เงินสด ก็สินทรัพย์เพิ่มเพราะฉะนั้น "เดบิต เงินสด 1000 บาท" สินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นมาจากรายได้เพิ่ม อีกด้านหนึ่งต้องเครดิต 1000 บาท

  • เดบิต เงินสด                  1000    (สินทรัพย์เพิ่ม)
    • เครดิต ขายสินค้า 1000    (รายได้เพิ่ม)


นำเงินไปฝากธนาคาร 1000 บาท ตอนนี้เงินออก 1000 บาท (สินทรัพย์ลด) เพราะฉะนั้น ต้องเครดิต เงินสด 1000 บาท อีกด้านหนึ่งก็จะต้องเป็นเดบิต โดยเอาเงินไปให้ธนาคาร (สินทรัพย์เพิ่ม) เพราะฉะนั้น ก็จะเดบิตธนาคาร 1000 บาท รูปบัญชีก็จะเป็น


  •  เดบิต เงินฝากธนาคาร 1000           (สินทรัพย์เพิ่ม)
    • เครดิต เงินสด     1000             (สินทรัพย์ลด)


ขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ 1000 บาท จะเห็นได้ว่าไม่ได้เงินสด แต่ได้ลูกหนี้ เพราะฉะนั้น จะต้อง เดบิต ลูกหนี้การค้า(สินทรัพย์เพิ่ม) และเครดิต ขายสินค้า (รายได้เพิ่ม)

  • เดบิต ลูกหนี้การค้า                    1000 (สินทรัพย์เพิ่ม)
    • เครดิต เครดิตขายสินค้า  1000 (รายได้เพิ่ม)

ซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ 1000 บาท เป็นรายการประเภท "เจ้าหนี้" เพราะฉะนั้น ก็จะลงรายการเป็น "เครดิต เจ้าหนี้การค้า"(หนี้เพิ่ม) อีกด้านหนึ่งก็จะเป็น "เดบิต ซื้อสินค้า" (สินทรัพย์เพิ่ม)

ขายสินค้าราคา 1000 บาทมีภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% (เท่ากับ 70 บาท) ทั้งหมดลูกค้าจ่ายเป็นเงินสด ข้อนี้จะมีรายการมากขึ้น ต้องมาวิเคราะห์ให้ดีครับว่าได้อะไรบ้าง อย่างแรก ได้เงินสดแน่นอน 1000 บาท (สินทรัพย์เพิ่ม) และเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากลูกค้าอีก 70 บาท ภาษีคุณได้รับมา เพราะฉะนั้น ก็จะต้องเดบิต ภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 70 บาท (รายจ่ายเพิ่ม) ส่วนเหลือก็จะเครดิตรายการขาย 1070 บาท (รายได้เพิ่ม)

นี่คงเป็นหลักการง่ายๆ ที่พอจะทำให้เข้าใจได้ว่าเมื่อมีรายการค้าเกิดขึ้นเราจะเดบิตเครดิตรายการอย่างไร จากนั้นนักบัญชีจะนำไปจัดทำเป็นรายงานทางการเงินครับ
ภาพแสดงการจัดทำรายงานทางการเงินของนักบัญช่ี

ต่อไปมาดูวิธีการบันทึกบัญชี และปิดงบใน excel บรรยายโดย อ.มานพ สีเหลือง ครับ

จัดทำสมุดรายวันทั่วไป

 

จากนั้นก็นำข้อมูลจากสมุดรายวันทั่วไป มาจัดทำบัญชีแยกประเภททั่วไป



สรุปข้อมูลมาเป็นงบกำไรขาดทุน และงบแสดงฐานะการเงิน(งบดุล)

ความสัมพันธ์ระห่วางงบกำไรขาดทุน และงบแสดงฐานะการเงิน(งบดุล)

งบกำไรขาดทุน
งบแสดงฐานะการเงิน (งบดุล)

วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2556

WIN จะ turnaround?

WIN สมัยก่อนทำธุรกิจคลังสินค้าเก็บปลอดอากร กับรับบริหาร logistics ในระบบรถไฟไปท่าเรื่องแหลมฉบังแต่เจ้งไม่เป็นท่าต้องตัดขายทิ้งไป เหลือหนี้สินไว้ให้ดูต่างหน้าประมาณ 300 ล้าน กับคลังสินค้าปลอดอกร

วันที่ 15 ส.ค. 2556 ได้ออกข่าวใน SET เรื่อง "สารสนเทศการจำหน่ายทรัพย์สินให้กองทุนรวม การได้มาซึ่งหน่วยลงทุนในกองทุนรวม และสิทธิการเช่าของกองทุนรวม" และมีเรียกประชุมผู้ถือหุ้น จากหนังสือเชิญประชุมลองคำนวณกำไรกันเล่นๆ ขายเข้ากองทุนได้เงิน 806 ล้านบาท คลังมี Book Value 357.52 ล้านบาท win เข้าไปถือกองทุน 20% มีค่าใช้จ่ายดังภาพ


ค่าใช้จ่ายต่างในการออกกองทุน
ที่มา: http://www.wyncoast.com/documents/EGM1_2013/TH/3-สารสนเทศตามเกณฑ์ส่งผู้ถือหุ้น_T_ขายทรัพย์สินเข้ากองทุน.pdf หน้า 20
ค่าใช้จ่ายหลายหลายการไม่อยู่ในงบกำไรขาดทุนแต่ไปอยู่ในงบกระแสเงินสดเช่น

  • ชำระหนี้ให้สถาบันการเงิน อยู่ CFF เงินสดลด หนี้ลด
  • แบงค์การันตีอยู่ CFI เงินสดลดสินทรัพย์เพิ่ม
  • ซื้อหน่วยลงทุนอยู่ CFI เงินสดลดสินทรัพย์เพิ่ม

คิดกำไรจากการขายสินทรัพย์เข้ากองทุนได้ดังนี้
กำไร = รายได้เข้ากองทุน - BV คลัง - ค่าใช้จ่่ายจัดตั้งกองทุน - ภาษีเงินได้นิติบุคคล - ภาษีธุรกิจเฉพาะ- ค่าปรับปรุงอาคาร
= 806 - 357.52 -26 - 73-26.6 -20 = 302.88
เราถือกองทุน 20% จะรับรู้กำไรเข้างบเท่ากับ
302.88 x 0.8= 242 ล้านบาท ตอนนี้มี 490 ล้านหุ้น
EPS = 0.49?



2.เงินจากการขายกองทุนเอาไปคืนหนี้ และพัฒนาโครงการอื่นๆ

มีคนถามผู้บริหารว่าทำแล้วจะรอดหรือ ผู้บริหาร present เป้นหมวก 3 ใบ

  • หมวกใบแรกภาพในอดีตตอนเข้ามาบริหารเมื่อ 5 ปีที่แล้วมีหนี้ 140 ล้าน  คลังสินค้าปลอดอากรมีพื้นที่เช่า 20%
  • หมวกใบที่สอง เป็นปัจจุบันมีพื้นที่เช่า 90% แต่ก็ยังมีหนี้เหมือนเดิม ผู้บริหารภูมิใจมากกว่าสามารถโตได้โดยไม่ต้องเพิ่มทุน
  • หมวกใบสุดท้าย เป็นภาพอนาคตจะมีคลังที่สอง และธุรกิจใหม่อีกมากมาย
ผู้บริหารพูดเรื่อง อดีต ปัจจุบัน อนาคตของ WIN
เท่าที่ฟังๆมา สรุปคร่าวๆ ก็คือ ขายคลังหนึ่งเข้ากองทุน ได้เงินมาก็ไปโล๊ะหนี้ของเดิม เงินที่เหลือก็เอาไปสร้างคลังสินค้าแห่งที่สอง ทำ solar roof อีกส่วนก็เอาไปขายรถประกอบตามสั่ง

คอยติดตามกันต่อไปว่าจะ turnaround ได้หรือไม่สู้ๆ ไอ้มดแดง

วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การประเมินมูลค่าหุ้นด้วย PE ratio

PE Ratio เป็นอัตราส่วนยอดฮิตในการประเมินมูลค่าหุ้น จากความง่ายในการคำนวณของมันนั่นเอง ตำราการลงทุนเบื่องต้นมักสอนกันว่า "หุ้นตัวไหน P/E Ratio สูงกว่า 10 แปลว่าแพง" นักลงทุนจึงความหาหาหุ้น PE ต่ำ 10 แล้วก็ซื้อ แต่ว่าจริงๆแล้ว PE Ratio มันง่ายแต่ลึกครับ

PE Ratio เป็นการประเมิณมูลค่าโดยใช้ "ตัวคูณราคา (price multiples valuation)" อยู่บนหลักการที่ว่า การหามูลค่าหรือราคาหุ้นก็คือ การประเมินว่าราคาหุ้นที่ผู้ลงทุนจ่ายออกไปจะนำไปซื้อตัวแปรทางการเงินที่แทนมูลค่าใดได้บ้าง สำหรับ PE Ratio ก็คือ คุณยอมจ่ายซื้อหุ้นด้วยราคาเป็นกี่เท่าของกำไร (earning )  นั่นเอง

อัตราส่วน PE 
คำว่าถูกหรือแพงมาจากทฤษฏีเศรษฐศาสตร์ "กฏของราคาเดียว (law of one price)" ที่กล่าวว่าสินทรัพย์ 2 อย่างที่เหมือนกันควรมีราคาที่เท่ากัน ดังนี้นถ้าหุ้นสองตัวมีลักษณะเหมือนกันทุกประการ หุ้นตัวที่ PE ต่ำกว่าจะมีราคาถูกกว่าโดยเปรียบเที่ยบนั่นเอง

ตัวอย่าง

  • หุ้น A มีค่า PE ratio 10 เท่า แปลว่าคุณจ่ายเงินไป 10 บาทเพื่อแลกกับการได้กำไร 1 บาท
  • หุ้น B มีค่า PE ratio 6 เท่า แปลว่าคุณจ่ายเงินไป 6 บาทเพื่อแลกกับการได้กำไร 1 บาท

ถ้าทั้งสองบริษัททำธุรกิจเดียวกัน ความเสี่ยง การเจริฐเติบโต ฯลฯ คล้ายๆกัน ก็จะสรุปได้ว่าหุ้น B มีราคาต่ำกว่าโดยเปรีบเทียบกับหุ้น A

บางคนก็มอง PE Ratio เป็นการหาจุดคุ้มทุน สมมติหุ้น B มี PE ratio 6 เท่า ถ้าบริษัททได้กำไรคงที่ทุกปีนึกลงทุนต้องถือหุ้นนี้ไป 6 ปีจะเท่าทุน

หัวใจสำคัญของการใช้ PE Ratio ในการประเมินมูลค่าคือการวิเคราะห์กำไร (earning) ครับ เป็นหน้าที่ของนักลงทุนที่ต้องเฟ้นหา มาดูหลักการกันครับ

หุ้น PEปัจจุบัน (trialing PE) ต่ำดีจริงหรือ?

ค่า PE ที่โชว์ใน SET เขาเรียกว่า trialing PE เขาจะคำนวณจาก ราคาปัจจุบัน หารด้วย กำไร 4 ไตรมาศย้อนหลัง บางคนเห็นหุ้น PE ต่ำๆ มีปันผลสม่ำเสมอก็ซื้อเลย แต่ต้องดูนิดนึงครับว่า PE ต่่ำแบบมีคุณภาพหรือไม่

PE ต่ำแบบมีคุณภาพ ถือแล้วสบายใจลั้นลา
  • รายได้ กำไรโตสม่ำเสมอ
  • อัตรากำไรสม่ำเสมอ
  • กำไรสามารถแปลงเป็นเงินสดได้ ดูกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (CFO) เทียบกับกำไรสุทธิ ถ้าใกล้ๆกันถือว่าดี
  • ธุรกิจไม่ต้องลงทุนเยอะๆเพื่อขยายกิจการ
    • เงินทุนหมุนเวียน (สินทรัพย์หมุนเวียน - หนี้สินหมุนเวียน) อย่าง earth ขายถ่านหินอัตรากำไรน้อย แต่อยากโตจำเป็นต้องลงทุนในลูกหนี้การค้า กับสินค้าคงเหลือมาก แต่เครดิตการค้าได้นิดเดียว ทำให้ CFO ติดลบเงินขาดมือ ต้องกู้หนี้ยืมสินมาเพื่อหมุนเงิน นักลงทุนก็กลัวเพิ่มทุน
    • สินทรัพย์ถาวร บางธุรกิจจะโตได้ต้องลงทุนสินทรัพย์เยอะ เมื่อดำเนินงานช่วงแรกๆ ต้นทุนคงที่มากทั้ง ค่าดำเนินการ ค่าเสื่อมก็เยอะ ดอกเบี้ยก็แยะ ต้องใช้เวลากว่าจะคุ้มทุน
  • ถึงธุรกิจขาดทุน PE = n.a เราก็ลงทุนได้ เพราะถ้าธุรกิจพลิกมาเป็นกำไรได้เราก็รวย ต้องมาดูว่าเขาขาดทุนเพราะอะไร ในทางธรุกิจถ้าธุรกิจยังไม่หมดความสามารถในการทำกำไรปัญหาอะไรก็สามารถแก้ไขได้ทั้งนั้น


PE ต่ำแบบไม่มีคุณภาพ มีโอกาศติดดอยสูง:
  • ธุรกิจไม่โต หรืออยู่ในอุตสาหกรรมตะวันตกดิน
  • หุ้นที่มีกำไรพิเศษที่ไม่เกี่ยวกับการดำเนินงานธุรกิจปกติเช่น เช่นกำไรจากการขายสินทรัพย์ กำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ กำไรจากการออกกองทุนอสังหาริมทรัพย์
  • หุ้นวัฏจักรที่กำไร ผันผวน หุ้นกลุ่มนี้ PE ต่าต้องขายเพราะเป็นช่วงสูงสุดของวัฏจักร กำไรถึงจุดสูงสุดใครเข้าไปต้องระวังติดดอยครับ

หาราคาเป้าหมายของหุ้นด้วย Forward PE

คนที่เป็นเซียนก็คือคนที่สามารถทำนายกำไรในอนาคตได้แม่นกว่าคนอื่น เหมือนยากแต่ถ้าเข้าใจธุรกิจอย่างลึกซึ้ง เล่าแผนงานในอนาคตได้เป็นฉากๆ ตัวเลขกำไรในอนาคตจะออกมาเองทำให้เห็นราคาเป้าหมายก่อนคนอื่น (บางคนเป็นเพื่อนกับผู้สอบบัญชีก็จะเห็นกำไรก่อนชาวบ้าน แต่ทำบ่อยๆระวัง กลต เรียกไปทานกาแฟละกัน) เราก็เข้าซื้อก่อนคนอื่น ถ้ากำไรมาอย่างที่เราคิดราคาก็วิ่งไปเป้าหมายเอง ถึงเป้าเราก็ขายก่อนคนอื่น ให้คนอื่นที่เข้ามาที่หลัง (แมงเม่า) ติดดอยไป

สำหรับการหาราคาเป้าหมายโดยใช้สูตร

  • ราคาเป้าหมาย = [PE] x กำไร (Earning) ที่คาดการณ์
  • ถ้าราคาตลาดต่ำกว่าราคาเป้าหมายมากๆ ก็ซื้อ
  • PE เป้าหมายที่ใช้เป็นตัวคูณอาจแบ่งเป็นช่วงๆ เช่น
    • หุ้นเสี่ยงหน่อยกำไรผันผวน ก็ < 10
    • หุ้นทั่วๆ ไปก็ PE  10 - 15
    • หุ้นจะมี PE ขึ้นถ้า
      • ตลาดคาดหวังการเจริญเติบโต (growth) มากๆ แต่ต้องระวังถ้าธุรกิจกำไรเติบโตลดลงโอกาศติดดอยมีสูงมาก 
      • ไปทำอะไรที่ความเสี่ยงลดลง เช่น tpoly จากรับเหมาก่อสร้างที่กำไรไม่ค่อยสม่ำเสมอก็มาทำโรงไฟฟ้าทำให้กำไรผันผวนลดลง หรือ โรงงานน้ำตาลหลายโรงที่เอากากน้ำตาลมาทำไฟฟ้า เอทานอล
      • อัตราการจ่ายปันผลเมื่อเทียบกับกำไร (payout ratio) มากขึ้น

ตัวอย่าง

  • การประเมินมูลค่าต้องมองไปข้างหน้าครับว่า ในอีก 1-3 ปีข้างหน้าบริษัทจะทำกำไรได้เท่าไร  สมมติว่าอีก 1 ปี จะทำกำไรสุทธิได้ 100 ล้านบาท และบริษัทนี้มีจำนวนหุ้นสามัญที่ชำระแล้วเป็นจำนวน 100 ล้านหุ้น เราก็จะได้กำไรต่อหุ้น (EPS) เป็น 100ล้านลาท / 100 ล้านหุ้น = 1 บาท / หุ้น
  • สมมติให้ PE ในอนาคตเท่ากับ 15 เท่า มาจากการเข้าใจธุรกิจอย่างลึกซึ้งทำให้เชือได้ว่ากำไร 3 ปีจากนี้ต้องโตได้ 20% แน่ๆ จากแผนการขยายสาขา ฯลฯ (โม้ได้เป็นวัน)
  • ดังนั้นราคาเป้าหมายใน 1 ปี = 15 เท่า x EPS 1 บาท = 15 บาท ณสิ้นปี
  • ดูราคาหุ้นที่เป็นอยู่ปัจจุบันว่าราคาเท่าไหร่ สมมติราคาเป็น 10 บาท แสดงว่าในอีก 1 ปี หุ้นตัวนี้มีโอกาสที่ราคาจะเพิ่มเป็น 15 บาท ก็เป็นไปได้ ทำให้ถ้าเราเข้าซื้อวันนี้เราก็จะมีโอกาสทำกำไร 50% ใน 1 ปี เป็นต้น
  • แต่ในทางกลับกันถ้าหุ้นบนกระดานมีราคาเป็น 15 บาท ก็แสดงว่าราคาได้ขึ้นมารองรับผลประกอบการในอนาคต 1 ปีแล้ว (โดยประมาณ) เราก็ไม่ควรซื้อ


เพราะฉะนั้นในการหาหุ้นที่จะทำกำไรให้เราได้ยาวนาน ก็ต้องเป็นหุ้นของกิจการที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืนเท่านั้น ซึ่งนักลงทุนจะต้องมองกิจการให้ตรงตามความเป็นจริงมากที่สุด และคาดหวังผลตอบแทนจากหุ้นอย่างสมเหตุสมผล ด้วยสมมุติฐาน และข้อมูล ความรู้ ความมีวินัย การควบคุมอารมณ์ และพฤติกรรมในการลงทุน ให้สมเหตุสมผลที่สุด


วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2556

กฎมัศจรรย์ของเลข 72

กฎมัศจรรย์ของเลข 72 มีอยู่ว่า การคำนวณว่าเงินออมจะพอกพูนเป็นสองเท่าภายในเวลาเท่าใด ให้นำเลข 72 ตั้ง หารด้วยอัตราผลตอบแทนที่ได้ กล่าวคือ หากได้ผลตอบแทน 1% เงิน 1 ล้านจะเพิ่มเป็น 2ล้าน ต้องใช้เวลา 72 หารด้วย 1 = ใช้เวลา 72 ปี เป็นต้น

ที่มาของเลข 72
ถ้าฝากเงินในปัจจุบันเท่ากับ pv บาท ที่ผลตอบแทนทบต้นเท่ากับ r% เป็นเวลา n ปี สามารถมูลค่าของเงินในอนาคตเท่ากับ

  • FV = PV x (1+r)^n                                               ...(1)

ให้เงินอนาคตโต 2 เท่าจากปัจจุบันจะได้

  •  FV = 2PV                                                            ...(2) 
  • แทนค่า (2) ใน (1) จะได้:  2PV = PV x (1+r)^n     
  • 2 = (1+r)^n
  • n =log2 ฐาน(1+r) 
  • เปลี่ยนให้เป็นฐาน log ฐาน e จะได้ n = ln2/ln(1+r)  ...(3)
    โดยที่ ln 2 มีค่าประมาณ 0.693  

ตัวเลขเป๊ะมันหายาก คุณ Luca Pacioli (1445–1514) ได้คิดกฎเลข 72 มาประมาณหาค่าเวลาที่ทำให้ เงินเราโต 2 เท่าคับ ซึ่งตัวเศษยังมีได้อีกหลายค่าเช่น 72, 70, 69.3 ฯลฯ

มันเยี่ยมจริงๆ เจริญในการลงทุนทุกท่านครับ

ที่มา http://en.wikipedia.org/wiki/Rule_of_72

วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ถ้าธุรกิจดีงบการเงินจะหน้าตาอย่างไร

หากเปรียบการทำธุรกิจเหมือนการทำสงคราม ผู้บริหารก็เหมือนแม่ทัพ ถ้าแม่ทัพเก่งก็จะรบชนะแย่งชิงทรัพยากรกลับมาให้นักลงทุนมั่งคั่งมากขึ้น (แต่ถ้าผลประกอบการเริ่มแย่ลงขอสละเรือก่อนนะ) ถ้าบริษัทจัดการธุรกิจดี(ทำเหตุดี) งบการเงินที่เป็นผลประกอบการควรจะมีลักษณะดังนี้

  1. จัดโครงสร้างกองทัพอย่างเหมาะสม โดยยุ่งอยู่กับแหล่งที่มาของเงิน (SF) และแหล่งที่ใช้ไปของเงิน (UF) ทั้งส่วนของหนี้สิน ทุน สินทรัพย์ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เช่นมีหนี้ไม่มากไม่น้อยไปธุรกิจสามารถสร้างกระแสเงินสดมาจ่ายภาระทางการเงินไหว วางแผนจัดหาเงินทุนหมุนเวียนอย่างเพียงพอในการขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโต
  2. งบกำไรขาดทุนเหมือนการนำทัพไปเข้าโจมตี ถ้าแม่ทัพวางแผนรบมาดี เมื่อนำแผนไปปฏิบัติก็จะได้รายได้หักค่าใช้จ่ายแล้วเหลือกำไรกลับมาสร้างความมั่งคั่งให้ผู้ถือหุ้นได้ต่อเนื่อง
  3. เมื่อธุรกิจมีกำไรแหล่งที่มาของเงิน (SF) ก็จะมากขึ้น เงินสดด้านแหล่งที่ใช้ไปของเงิน (UF) ก็จะเพิ่มตาม หากไม่มีการขยายตัวของธุรกิจและเงื่อนไขการค้ายังเป็นเหมือนเดิม เงินสดในแหล่งที่ใช้ไปของเงิน(UF) จะเพิ่มขึ้น และผู้ประกอบการอาจตัดสินใจลดภาระหนี้ระยะสั้นลง ทำให้แหล่งที่มาของเงิน (SF) ที่ใช้ไปเพื่อสินทรัพย์หมุนเวียน มีส่วนของเงินทุนหมุนเวียนที่มาจากส่วนทุนของเจ้าของมากขึ้นเรื่อยๆ จนวันหนึ่งอาจไม่ต้องกู้เงินเลยก็เป็นได้ คงเหลือแต่การใช้แหล่งที่มาของเงิน (SF) จากเจ้าหนี้การค้าที่ไม่มีดอกเบี้ยเพียงอย่างเดียว สรุปง่ายๆก็คือหนี้สินจะลดลงเรื่อยๆนั่นเอง
  4. เฝ้าระแวดระวัง และคิดตลอดต่อการใช้ที่มาของเงิน (SF) ไปลงทุนในแหล่งที่ใช้ไป (UF) ของเงินอย่างเหมาะสมและไม่ใช้เงินผิดประเภท ถ้าผู้บริหารลงทุนผิดประเภทจะส่งผลให้อัตราหมุนเวียนทรัพย์สินลดลง (ยอดขาย/สินทรัพย์) 

ถ้าเจอแบบนี้ก็เยี่ยมเลย หากันต่อไปพี่น้อง

วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เครื่องมือวิเคราะห์ภาพรวมของอุตสาหกรรม

ในการลงทุนในการพิจารณาเรื่องสภาพแวดล้อมทางธุรกิจเป็นเรื่องสำคัญครับ แต่ใครยังงง ไม่รู้ริ่มตรงไหน บทความของ อ.สรรพงศ์ ลิมป์ธำรงกุล[1] ได้เสนอเครื่องมือในเป็นแนวทางการวิเคราะห์  ประกอบด้วย

  • ลักษณะตลาด
  • 5 Forces model
  • LEPEST

ไว้เป็น Check lists ได้เพื่อไม่ตกหล่นประเด็นสำคัญครับได้ประเด็นมาเยอะแยะฟุ้งไปหมดฟุ้งซ่าน แต่สำหรับการใช้งานจริงที่วิเคราะห์กันยืดยาวให้คัดมาเหลือแค่ปัจจัยสำคัญไม่เกิน 10 ก็พอครับ เชิญอ่านบทความโดยพลัน เพิ่มภาพประกอบความเข้าใจอีกนิดหน่อย

ในการลงทุน นอกจากการวิเคราะห์งบการเงินของแต่ละบริษัทแล้ว การพิจารณาภาพรวมของอุตสาหกรรมก็เป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง แม้บริษัทจะมีผลประกอบการดูดีเท่าไรก็ตาม หากอุตสาหกรรมที่ดำเนินธุรกิจอยู่นั้นกำลังดำเนินเข้าสู่วัฏจักรเป็น Sunset แล้ว บริษัทนั้นก็ไม่สามารถได้ประโยชน์ต่อเนื่องในระยะยาวได้ ดังนั้นการเลือกลงทุนนอกจากเลือกถูกบริษัท ต้องเลือกถูกอุตสาหกรรมด้วย จึงจะได้ประโยชน์จากการลงทุน ในการวิเคราะห์อุตสาหกรรมนั้นแต่ละคนมีแนวทางและวิธีคิดวิเคราะห์มากมา แต่เครื่องมือหนึ่งที่ผมนำมาประยุกต์ใช้ และถือเป็น Check lists เพื่อจะได้ไม่ตกประเด็นที่ควรต้องพิจารณาหลักๆ คือ Five forces model ของ Michael E. Porter หลายคนอาจบอกว่าตายไปแล้ว หรือมีของใหม่กว่า เดิมหลักของ Five forces ใช้เป็น model สำหรับธุรกิจหรือผู้ประกอบการพิจารณาเพื่อกำหนดกลยุทธ์ (Strategy) ในการแข่งขัน แต่ผมเห็นว่านำมาใช้วิเคราะห์ช่วยการลงทุนได้ และยังถือว่ากรอบของ Five forces model ยังใช้การได้และนำเอาหลักเศรษฐศาสตร์และการตลาดมาประยุกต์ใช้ ในการพิจารณาและวิเคราะห์อุตสาหกรรม ด้วย Five forces model

ในมุมของการลงทุน ให้ประเมินว่าอุตสาหกรรมที่จะลงทุนนั้น มีลักษณะใด เพราะถ้ามองสภาพการแข่งขันออกแล้ว เราจะประเมินการเติบโตในระยะยาวได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น เพราะนี้เป็นเรื่องสำคัญแรกของการลงทุน โดยดูว่าอุตสาหกรรมที่จะลงทุนนั้นเป็น

  1. Monopoly Market ตลาดผูกขาด
  2. Oligopoly Market ตลาดผู้ขายน้อยราย
  3. Monopolistic Market ตลาดผู้ขายมากราย จำนวนคู่แข่งขัน ถ้าคู่แข่งขันมีจำวนมาก หรือ มีขีดความสามารถพอๆกัน จะทำให้มีการแข่งขันที่รุนแรง การเติบโตของบริษัทจะไม่สูงกว่าการเติบโตอุตสาหกรรม
  4. Perfect or Pure Market ตลาดแข่งขันสมบูรณ์
ตารางที่เปรียบเทียบตลาดแต่ละประเภท
ที่มา : http://microeconomicswithsarbjeet.blogspot.com/2012/12/comparing-market-structures.html

จากนั้นพิจารณาแต่ละตลาดด้วยกรอบ Five forces model ก็จะทำให้พิจารณาหรือวิเคราะห์อุตสาหกรรมได้รอบด้านโอกาสตกหล่นปัจจัยที่สำคัญจะน้อยลง

 Five forces model
ที่มา: 
http://www.mindtools.com/pages/Newsletters/20Jan05.htm

  1. สภาพการณ์ของการแข่งขัน (Rivalry between established firms or Rival competition) เป็นการวิเคราะห์เกี่ยวกับการแข่งขันทั้งหมดที่อยู่ในธุรกิจเดียวกัน ตลาดเดียวกัน การวิเคราะห์ขนาดของตลาด รวมถึงสภาพเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อการแข่งขัน 
  2. อำนาจการต่อรองของผู้บริโภค (Bargaining power of buyers) เป็นการวิเคราะห์ที่จะดูด้านดีมานด์ของอุตสาหกรรมว่าขยายตัวอย่างไร เพื่อให้ทราบอำนาจการต่อรองของผู้บริโภคว่ามีมากน้อยเพียงใด ถ้ามีการแข่งขันในทางธุรกิจสูงและผู้บริโภคมีทางเลือกมาก ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะในแง่ของรายได้ และส่วนแบ่งการตลาดที่ลดลงได้ การวิเคราะห์ด้านนี้ทำให้ พิจารณา margin ได้ว่าในระยะยาวจะรักษาหรือคง margin ได้มากน้อยเพียงใด นอกจากนี้จะดูเรื่องต้นทุนในการเปลี่ยนไปใช้สินค้าของอุตสาหกรรมคู่แข่งแล้วลูกค้าอุคสาหกรรมต้องมีต้นทุนในการเปลี่ยนสูง อำนาจการต่อรองของลูกค้าก็จะต่ำ
  3. อำนาจการต่อรองของผู้ผลิต (Bargaining power of suppliers) เป็นการวิเคราะห์เกี่ยวกับปัจจัยการผลิตที่สำคัญต่ออุตสาหกรรม โดยการวิเคราะห์การพึ่งพาจากผู้ผลิต ถ้าต้องมีการพึ่งพาสูงก็จะมีความเสี่ยงของการผลิตมากขึ้น เพราะจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจและความสามารถในการทำกำไร เช่น ธุรกิจเดินเรือ ธุรกิจการบิน ใช้น้ำมันเป็นต้นทุนสูง และธุรกิจเดินเรือ ธุรกิจการบิน แทบไม่มีอำนาจต่อรองไปใช้วัตถุดิบอื่นได้เลย ดังนั้นราคาน้ำมันจะมีผลต่อต้นทุนขายสูง ในภาวะน้ำมันราคาสูง กำไรของธุรกิจนี่ก็จะลดลงอย่างมาก เป็นต้น
  4. การเข้ามาของผู้ประกอบการรายใหม่ (Risk of entry by potential competitors) เป็นการวิเคราะห์ว่ามีความยากง่ายในการเข้ามาของผู้ประกอบการรายใหม่มากน้อยเพียงใด ถ้าการเข้ามาของผู้ประกอบรายใหม่สามารถทำได้ง่ายและสะดวกก็จะต้องทำให้การแข่งขันเพิ่มสูงขึ้น และส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจได้ง่าย อุปสรรคกีดขวางการเข้าสู่อุตสาหกรรม จะได้แก่
    - การประหยัดจากขนาด (Economies of scale)
    - ใช้เงินในการลงทุนสูง (Scale barrier)
    - เงินลงทุน (Capital requirements) ถ้าต้องลงทุนสูง ก็จะเป็นอุปสรรคต่อรายใหม่
    - ข้อจำกัดในการเข้าถึงช่องจัดจำหน่าย (Access to distribution)
    - นโยบายของรัฐบาล ถ้ารัฐบาลไม่มีนโยบายส่งเสริม หรือมีข้อห้ามสัมปทาน
    - ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนแปลงการใช้สินค้า (Switching cost) ถ้าลูกค้าต้องมีต้นทุน หรือค้าใช้จ่ายในส่วนนี้สูง ต้นทุนเหล่านี้ซึ่งอาจได้แก่ ต้นทุนของอุปกรณ์เครื่องจักรที่ต้องปรับเปลี่ยนเพิ่ม หรืออาจจะเป็นระบบงานที่ต้องจัดรูปแบบใหม่ ค่าฝึกอบรมแลสอนงานให้กับพนักงานเพื่อให้ทำงานตามระบบใหม่เป็นต้น
    - ข้อได้เปรียบต้นทุนในด้านอื่นๆ เช่น เป็นเจ้าของเทคโนโลยีเฉพาะ มีวัตถุดิบราคาถูก มีทำเลที่ตั้งดีกว่า มีแหล่งเงินทุนที่ต้นทุนถูก และทำมานนานจนเกิดการเรียนรู้
  5. การมีสินค้าและบริการอื่นทดแทน (Threat of substitute products) เป็นการวิเคราะห์ว่าสินค้าและบริการที่อุตสาหกรรมมีอยู่นั้น มีโอกาสหรือไม่ที่จะมีสินค้าและบริการอื่นเข้ามาทดแทนสินค้าและบริการเดิม ซึ่งอาจทำให้รายได้จากการขายสินค้าและบริการลดลง รวมถึงส่วนแบ่งการตลาดที่ลดลงในอนาคต ตัวอย่างแรงผลักดันซึ่งเกิดจากสินค้าอื่นๆซึ่งสามารถใช้ทดแทนได้
    - ระดับการทดแทน เป็นการทดแทนได้มาก หรือทดแทนได้น้อยแค่ไหน เช่น เครื่องปรับอากาศกับพัดลม
    - ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนแปลงการใช้สินค้าปัจจุบัน ไปสู่การใช้สินค้าทดแทน
    - ระดับราคาสินค้าทดแทนและคุณสมบัติใช้งานของสินค้าทดแทน
    - การเลือกใช้ถ่านหินหรือน้ำมันเตาในการให้ความร้อนของธุรกิจผลิตปูนซิเมนต์
    ดังนั้น การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมของการทำธุรกิจทำให้เรารู้ถึงสภาวะที่ธุรกิจหรืออุตสาหกรรมนั้นๆ ดำรงอยู่ เพื่อที่จะทำให้ธุรกิจสามารถปกป้องตนเองให้พ้นจากสิ่งรอบข้าง ที่มีผลต่อการทำธุรกิจของเราและในขณะเดียวกันก็สามารถทนแรงผลักดันจากด้านต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์กับธุรกิจอีกทางหนึ่งด้วย
นอกจากนี้ถ้าใช้ LEPEST ซึ่งเป็นการประเมินเรื่องความเสี่ยงสำหรับ Enterprise Risk Management เอามาประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรม ประกอบด้วย

  1. Legal 
  2. Economic 
  3. Political 
  4. Environment 
  5. Strategic/Social 
  6. Technology 
LEPEST + 5 force
ที่มา http://cdn.grin.com/images/preview-object/document.24495/81dd43eef5760c15e4a792211945eba4_LARGE.png


ทั้ง 5 Forces และ LEPEST (ลีเพสท์) ใช้เพื่อเป็น Checklist ในการดูเพื่อให้ไม่หลุดประเด็นพิจารณา ใครจะไม่ใช้ก็ได้ เพราะไม่ใช่หลักการหรือทฤษฎี แต่อย่างน้อยช่วยนักลงทุนประเมินอุตสาหกรรมว่าอนาคตมีอะไรเป็นแรงผลักดันหรือกดดันบ้าง ในด้านความเสี่ยงของอุตสาหกรรมมีอะไรบ้างที่เราต้องดูว่าตกหล่นประเด็นใดหรือไม่ เช่น บางคนจะวิเคราะห์อุตสาหกรรมโรงพยาบาล สิ่งแรกคือประเมินว่าเป็นตลาดประเภทใดก่อนว่าเป็นลักษณะแบบผูกขาด ผู้ขายน้อยราย ผู้ขายมากราย หรือ ตลาดสมบูรณ์ เพราะถ้าเราประเมินผิดแต่แรก จะเดินผิดทางหมดได้ง่าย ถ้ามองเฉพาะพื้นที่หรือเฉพาะกลุ่มบางคนอาจมองว่าเป็นแบบน้อยราย อันนี้แล้วแต่มุมมองแต่ในส่วนของผมจะประเมินว่าเป็นแบบผู้ขายมากราย มีผู้ประกอบการอยู่ไม่น้อยทั้งภาครัฐและเอกชน หลายพื้นที่ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว การแข่งขันในอุตสาหกรรมก็มีระดับหนึ่ง ย่อมหมายความว่าการเติบโตย่อมถูกจำกัดในระยะยาวจากการแข่งขัน ประเภทโตปีละ 15-20% อีก 5 ปี 10 ปี ย่อมยาก นอกจากตัวอุตสาหกรรมโดยรวมจะโตเองเช่นนั้น ซึ่งตัวเลขนี้สามารถหาได้จากแหล่งต่างๆ เช่น ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ จากธนาคารพาณิชย์บางที่ที่ทำวิจัยอุตสาหกรรมนี้ เป็นต้น มองด้านผู้ใช้บริการที่มีช่องทางเลือกใช้บริการได้มาก อำนาจการต่อรองราคาอาจไม่ได้เกิดขึ้นจากฝั่งผู้บริโภคโดยตรง แต่เกิดจากการแข่งขันด้านราคากันเองในผู้ประกอบการมากกว่า ส่วนด้านอำนาจการต่อรองของผู้ผลิต ก็ต้องมองไปทางด้านบุคคลากรทางการแพทย์ ซึ่งอาจต้องดูถึง AEC ว่าจะเกิดการขาดแคลนหรือเกิดุปทานส่วนเกินมากกว่ากัน เพราะมีผลต่อต้นทุนบริการเพิ่มในระยะยาว และส่งผลถึงอัตรากำไรในอนาคต ในด้านผู้ประกอบการใหม่ก็ไม่ยากนักที่จะเกิดโรงพยาบาลใหม่ๆ เพราะการขึ้นโรงพยาบาลใหม่นั้นไม่ได้ยากมากมาย ไม่ได้มีอุปสรรคทางกฎหมายจะห้ามสร้างเพิ่ม แต่อาจเกิดโรงพยาบาลเฉพาะทางเดิดได้ไม่ยากนัก ส่วนด้านการมีสินค้าและบริการอื่นทดแทนนั้น อาจจะไม่มีนอกจากการแข่งขันกันเองภายใน ทียกมาเป็นตัวอย่างเพื่อให้เห็นถึงการไล่ประเด็นใน 5 Forces จะทำให้มี checklist ในเบื้องต้น แต่ใครจะมีเพิ่มอีกก็ได้ ยิ่งดี แต่อย่างน้อยกรอบนี้ก็ทำให้มองได้ครอบคลุมกว้างขึ้น บาง Forces อาจมองได้ลึกกว่านี้อีก เพียงแต่ยกวิธีคิดให้ดูเท่านั้น

หาก จะนำเอา LEPEST มาช่วยเพิ่มอีกก็จะละเอียดขึ้น เช่นอุตสาหกรรมที่ดูอยู่นี้ ด้าน Legal มีอะไรเป็น Hot Issues ที่กดดันในปัจจุบันหรืออนาคตหรือไม่ หรืออย่างธุรกิจธนาคาร ก็คงต้องพิจารณาเรื่อง กฎเกณฑ์การควบคุม (Regulator Law) ใหม่ที่มีว่ากระทบกับการดำเนินธุรกิจเพียงใด เช่นในอดีตที่มีเรื่อง Basel II เป็นต้น ด้าน Economic อ่อนไหวต่อปัจจัยทางเศรษฐกิจเพียงใด ปัจจัยทางเศรษฐกิจมีมาก แต่หลักๆก็จะดู GDP (C, G, I, E-I), ดอกเบี้ย เงินเฟ้อ ปริมาณเงิน ซึ่งแต่ละอุตสาหกรรมอ่อนไหวต่อปัจจัยต่างๆ ไม่เท่าหรือเหมือนกัน อุตสาหกรรมโรงพยาบาลอาจมีน้อย และอาจดูเพียง C (Consumption) ตัวเดียว บางคนอาจจะบอกว่าเวลาป่วยคนไม่อาจเลือกได้ว่าจะป่วยตามภาวะเศรษฐกิจ แต่บางคนก็มองว่า เมื่อกำลังซื้อน้อยลงเลือกรักษาโรงพยาบาลลดลง แต่ซื้อยาทานเอง แต่ปัญหานี้หมดไป ถ้าดูตัวเลขรายจ่ายครัวเรือนด้านรักษาสุขภาพ (มีข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ แม้ข้อมูลจะไม่ update แต่ใช้เป็นแนวทางทดสอบว่าที่ผ่านมามีแนวโน้มสัมพันธ์กับการจ่าย Consumption หรือไม่) การเมืองหรือนโยบายทางการเมืองมีผลต่ออุตสากรรมอย่างไร โดยเฉพาะทางภาคเอกชน บางอุตสาหกรรมมีสูง เช่น รับเหมาก่อสร้างที่อิงกับนโยบายภาครัฐในเรื่องเมกะโปรเจ็ค เป็นต้น Environment อุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้า ถ่านหิน เดี๋ยวนี้อาจต้องเพิ่มกลุ่มน้ำมันด้วยที่อ่อนไหวต่อประเด็นสิ่งแวดล้อมสูง แม้แต่ เมกะโปรเจค เช่นโครงการ 3.5 แสนล้าน ที่มีเรื่องสิ่งแวดล้อม (ทำ EIA) ทำให้ความไม่แน่นอนสูงติอการลงทุนในภาครัฐ เป็นต้น ส่วน Strategic/Social ก็ต้องดูว่าภาพรวมอุตสาหกรรมไปสู่ทิศทางใด กลยุทธ์ในระดับบนมีสามทางหลักคือ Growth Strategy, Productivity Strategy และ Retrenchment Strategy ขอยกตัวอย่างใน Growth Strategy ให้ประเมินเบื้องต้นว่า จะเกิดการรวมธุรกิจมากน้อยเท่าใด ดูแง่อุตสาหกรรมรวมๆเท่านั้น ว่ามีไหม ส่วนรายละเอียดแต่ละบริษัทก็ต้องไปวิเคราะห์อีกที เพราะบางครั้งระดับอุตสาหกรรมมีน้อย แต่บริษัทที่เลือกอาจทำก็ได้ การมองระดับอุตสาหกรรมหากภาพรวมกำลังนำไปสู่การทำ M&A สูง แสดงว่ากำลังเกิดการเปลี่ยนแปลง Scale ในการแข่งขัน จากระดับ Domesticไปสู่ Regional และ Global แนวโน้มการเติบโตอาจมาก ในระยะสั้น แต่ระยะยาวต้องเผชิญการแข่งขันมาก margin อาจถูกกดดันมาก การพิจารณา 5 Forces อาจต้องเปลี่ยนมุมมองใหม่ที่กว้างขึ้น (มองทั้งภูมิภาคหรือโลกแทน) และสุดท้ายดูว่าทาง Technology อุตสาหกรรมที่ดูอยู่เป็นอย่างไร เอาเท่านี้นะครับ เอากันจริงๆ การวิเคราะห์อุตสาหกรรมก็ไม่ง่ายๆ มีตัวแปรเชิงคุณภาพหลายด้าน ถ้าจะลงทุนยาวๆ เช่นมากกว่า 5 ปี หรือนานสิบปีต้องมองอุตสาหกรรมให้ออกอย่างขาด ถ้าลงทุนสั้นก็คงไม่เป็นไร กว้างๆ คร่าวๆ ก็พอไหว เพราะส่วนใหญ่ก็เอา growth จากตัวเลขงบดูไปข้างหน้าแค่ปีสองปีคงพอ

[1]https://www.facebook.com/sanpong.limthamrongkul/posts/10200846272137538

วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เป็น VI ต้องถือหุ้นนานแค่ใหน

เป็น VI ต้องถือหุ้นนานแค่ใหนเป็นคำถามที่นักลงทุนต้องรู้ครับ มาดูกันว่าหุ้นที่เราถือควรขายเมื่อไร มีแนวทางง่ายๆดังนี้ครับ

  • หุ้นวัฎจักร หุ้นกลุ่มนี้ มันจะวิ่งเป็นรอบๆ ครับ ช่วงธุรกิจตกต่ำคู่แข่งปิดกิจการเหลือเราเจ้าเดียวช่วงนั้นจะเป็นช่วงที่บริษัทเราได้กำไรเยอะสุดครับ ทำให้ PE ต่ำลง จังหวะนี้แหละคือช่วงในการขายของเราเพราะถ้าไม่ขาย เลยจุดนี้ไปคู่แข่งเริ่มเข้ามา อุปทานมากขึ้น อัตรากำไรลดต่ำลง เดี๋ยวราคาก็ร่วงครับ เช่น banpu เป็นต้น
  • หุ้นเติบโต เป็นหุ้นที่ warrant buffet ชอบถือ หลักการง่ายๆคือ ให้ถือจนกระทั่งรู้สึกว่ามันเติบโตเต็มที่และมีแนวโน้มเติบโตชลอตัวในเวลาาอันใกล้ครับ หรือในช่วงที่ใครๆก็รู้ว่าเป็นหุ้น VI จังหวะนั้นแหละเราต้องขาย เช่น it city ช่วงแรก notebook ขายดีก็ขยายกิจการเป็นเทน้ำเทท่าพอเทรนเริ่มเปลี่ยนมา smart phone มากขึ้น jmart ก็เริ่มมาแทน หรือ tpoly ที่ขยายกิจการไปสร้างโรงไฟฟ้าถ้าหยุดสร้างก็กำไรคงที่เดี๋ยวหุ้นก็หยุดร้อนแรง
  • หุ้น turnaround เราเข้าซื้อใกล้มันพลิกมาเป็นกำไร เราก็ต้องขายตอนงบออกว่าเขาเริ่มอยู่ได้ด้วยลำแข้งตัวเอง
  • กำไรพิเศษ ไม่ยากครับกำไรพิเศษเช่นปรับโครงสร้างหนี้ ขายสินทรัพย์ ขายสินทรัพย์เข้ากองทุนเข้างบเมื่อไหร่ก็ขายเมื่อนั้น อย่าง ci กำลังจะขายโรงแรงมศรีพันวาเข้ากองทุนข่าวบอกว่าจะเข้างบ q3 พองบ q3 มากำไรจริงเราก็ขาย
สรุปก็คือขายเมื่อชาวบ้านเข้ารู้กันหมดว่ามันดี