วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

เทคนิคช้อนหุ้น เพิ่มหรือลดความเสี่ยงกันแน่

เทคนิคช้อนหุ้น เพิ่มหรือลดความเสี่ยงกันแน่

การช้อนหุ้น คือ การที่ราคาหุ้นปักหัวลง ลงจนคิดว่า มันไม่ลงไปกว่านี้อีก จึงควรซื้อเพราะ “เชื่อว่า” ซื้อได้ในราคาที่ต่ำสุด ต่อไปมันจะต้องขึ้น แล้วเราจะพลิกชีวิตกลายเป็นรวย แต่ปัญหาคือส่วนใหญ่มักจะเจ๊งออกมา เพราะหุ้นไม่วิ่งอย่างที่คิด แต่เราจะมีวิธีการช้อนหุ้นอย่างไรไม่ให้เสี่ยง มาดูกันครับ


1.Risk Reward Ratio เครื่องมือประเมินความคุ้มค่าความเสี่ยง


Risk Reward Ratio เป็นเครื่องมือสำคัญในการประเมินว่า จังหวะที่เราจะเข้าลงทุนได้รับผลกำไรคุ้มค่ากับความเสี่ยงหรือไม่ ถ้าผลตอบแทนที่ได้ไม่คุ้มค่ากับความเสี่ยงที่ต้องรับมากเกินไปก็ไม่น่าช้อนซื้อ การคำนวณเริ่มจากรู้ว่า จะเข้าตรงไหน cut loss ตรงไหน และจากจุดที่เราเข้ามีเป้าราคาอยู่ที่ไหน โดยการคำนวณตามสูตรดังนี้

Risk Reward Ratio = Risk / Reward = (profit - entry) / ( entry – stop)

นักลงทุนหลายท่านจะซื้อเมื่อ Risk Reward Ratio สูง ๆ เกิน 3 เท่าขึ้นไปเท่านั้น ได้ก็ได้เยอะ เสียก็เสียไม่มากพอร์ทไม่พัง เป็นหัวใจของ money management คือมี  money ให้ manage ตลอดเวลา

Risk Reward Ratio 

2.ช้อนหุ้นด้วยปัจจัยพื้นฐาน


ระยะยาวแล้วหุ้นก็จะไปตามพื้นฐานเสมอ ถ้าหุ้นกำไรไม่โต ราคาก็ตก อนาคตกำไรเติบโตราคาหุ้นก็ยังวิ่งต่อไปได้ ดังนั้นการช้อนหุ้นโดยใช้ปัจจัยพื้นฐานต้องดูว่า ราคาหุ้นที่ตกลงมาเนื่องจากอะไร และต่อไปมีแนวโน้มที่จะกำไรกลับมาเติบโตได้อีกหรือไม่

การช้อนหุ้นด้วยปัจจัยพื้นฐาน PJW

ตัวอย่างหุ้น PJW ทำธุรกิจโรงงานผลิต แกลอนน้ำมัน ขวดนม ชิ้นส่วนรถยนต์ เข้า IPO นำเงินไปสร้างโรงงานใหม่ หลังจากเปิดโรงงานมารายได้ก็ยังไม่คุ้มทุนซักที มีไตรมาสสี่ที่ผ่านมากำไรเพิ่มเป็นไตรมาสแรก และไตรมาสที่ 1 ก็ยังกลับมาเติบโตอีก ส่วนไตรมาสต่อไปก็วัดใจเอาครับ

การเข้าไปช้อนซื้อต้องรอให้มีสัญญาณการฟื้นตัวกลับมาก่อน เริ่มจากระบุปัญหาของธุรกิจว่าเกิดจากอะไร ยกตัวอย่าง PJW กำไรตกเพราะยังผลิตไม่ถึงจุดคุ้มทุน เมื่อออดเดอร์มากขึ้น อัตราหมุนเวียนทรัพย์สินก็ค่อยๆเพิ่มขึ้น เมื่อบวกกับต้นทุนเม็ดพลาสติกลดลง อัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้น กำไรเพิ่ม สตอรี่มา งบยืนยันก็สามารถช้อนซื้อได้ครับผม

3.กลยุทธ์ย่อรับแบบตามเทรน


เคยเห็นบางคน ใช้เทคนิคย่อรับแบบตามเทรน โดยการหาหุ้นที่กำลังวิ่งอยู่บนเทรน แล้วพายามหาเส้นที่รับอยู่ เช่น INET พอราคาลงมาที่เส้น 20 วันแล้วเด้งทุกที สายย่อต้องใช้ใจหน่อยโดยการ พอเห็นราคาลงมาที่เส้น แล้วดูว่าน่าจะรับอยู่ก็ซัดเลย ถ้ามันวิ่งก็ได้เงิน ปล่อยให้รันเทรนไป ถ้าไม่วิ่งและราคาลงมาก็ต้องทำใจคัดขาดทุนไป หาตัวใหม่
ตัวอย่างกลยุทธ์การรับหุ้นที่เส้นค่าเฉลี่ย
จะเห็นว่ากลยุทธ์การลงทุนแบบย่อรับก้มีได้บ้างเสียบ้างสลับกันไป ต้องลองทดสอบกลยุทธ์ย้อนหลังเรื่อยๆครับ

4.สายย่อแบบไม่เป็นเทรน


หุ้นบางทีเรามองแล้วว่าไม่เป็นเทรนเพราะ กำไรก็ยังไม่ได้โตไปไหน ราคาคงไปไหนได้ไม่ไกล ก็คงวนๆ อยู่ในกรอบ ถ้าจับยังกับพื้นฐานราคาหุ้นอาจวนอยู่ในกรอบ PE ที่เป็นไปได้ เช่นระหว่าง 10-20 เท่า ไปไหนได้ไม่ไกล
กลยุทธ์การช้อนหุ้นตามกรอบการเคลื่อนไหวของราคา

เมื่อรู้อย่างนี้เมื่อหุ้นลงมาเยอะ ๆ บางคนเอาชัวร์ เช่น ต้องให้หลุดกรอบโบลิงเจอร์แบนมาถึงเข้า ค่อยไปขายเมื่อราคาหุ้นวิ่งไปที่เส้นค่าเฉลี่ย หรือวิ่งกลับไปที่กรอบบน เพื่อเพิ่มความมั่นใจอาจดู RSI เพื่อคอนเฟริมว่ามันจะตกจริงหรือไม่ ช่วยได้อีกก็ได้


โดยสรุปจะเห็นว่า การช้อนหุ้นให้ไม่เสี่ยงต้องคำนึงถึงผลได้กับความเสี่ยงเป็นสำคัญ ถ้าผลได้ไม่ค่อยคุ้มกับความเสี่ยงก็อย่างไปเล่นมันเลย ใครไม่อยากเจ็บตัวซ้ำแล้วซ้ำอีก หรือเดินหมากผิด ก็ลองเข้ามาดูเทคนิคการลงทุนดี ๆ ได้ที่ลิงก์นี้นะครับ https://www.krungsri.com/bank/th/KrungsriGuru/Investment.html 



วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ค่าเสื่อม (Depreciation) และค่าตัดจำหน่าย (Amortization) คืออะไร


ค่าเสื่อม (Depreciation) และค่าตัดจำหน่าย (Amortization) คืออะไร ตีความและวิเคราะห์ผลกระทบที่มีต่ออย่างไร มาหาคำตอบได้จากบทความนี้ครับผม

ค่าเสื่อม (Depreciation) และค่าตัดจำหน่าย (Amortization) คืออะไร


ค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่ายเกิดจากสินทรัพย์ที่เสื่อมไปตามกาลเวลาและถ้าสินทรัพย์พังไปบริษัทก็ไม่มีเครื่องผลิตรายได้บริษัทอาจต้องปิดตัว นักบัญชีจึงทำการตั้งสำรองค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่ายเอาไว้ ป็นรายจ่ายที่ไม่ใช่เงินสดตามมูลค่าของสินทรัพย์ที่ลดลง ทำให้กำไรสุทธิต่ำลง และไม่สามารถจ่ายปันผลเงินก้อนนั้นออกมาได้ ต้องเก็บไว้ซ่อมแซมสินทรัพย์ให้ใช้การได้

ยกตัวอย่าง ซื้อรถมา 1 คัน ราคา 1 ล้านบาท อายุการใช้งาน 5 ปี รถมือสองอายุ 5 ปีราคา 2 แสนบาท แสดงว่าเราต้องหาเงิน 1 ล้าน - 2 แสนบาท = 8 แสนบาททุก 5 ปี เพื่อซื้อรถคันใหม่

ถ้าเราตัดค่าเสื่อมราคาแบบเส้นตรง (ราคาทุน - ซาก)/จำนวนปี = (1,000,000-200,000)/5 = 160,000

แสดงว่าถ้าเราหยอดกระปุ่กเก็บไว้ปีละ 160,000 สิ้นปีที่ 5 จะมีเงิน 800,000 บาท บวกค่าซาก 200,000 ได้เงิน 1,000,000 บาทไว้ซื้อรถใหม่พอดี

ดังนั้นนักบัญชีจึง นำ 160,000 เป็นรายจ่ายทำให้กำไรตำลงเหมือนบังคับให้เราเก็บไว้ซ่อมแซม หรือซื้อหม่กลายๆ

ค่าเสื่อม (Depreciation) และค่าตัดจำหน่าย (Amortization) แตกต่างกันอย่างไร


ค่าเสื่อมราคา (Depreciation) คิดจากสินทรัพย์มีตัวตน เช่นพวกที่ดิน อาคาร อุปกรณ์

ค่าตัดจำหน่าย (Amortization) คิดจากสินทรัพย์ไม่มีตัวตน เช่นสิทธิการเช่า ลิขสิทธ์

ค่าเสื่อม (Depreciation) และค่าตัดจำหน่าย (Amortization) เป็นค่าใช้จ่ายหรือไม่


ค่าเสื่อมแม้จะเป็นรายจ่ายที่ไม่เป็นเงินสด แต่ผมมองเหมือนเป็นค่าใช่จ่ายคงที่ตัวหนึ่งในงบที่เป็นผลมาจากการตัดสินใจลงทุนของกิจการ

บริษัทที่งบขาดทุนเพราะโดนค่าเสื่อม วิธีการสังเกตอาจดูได้จาก EBIT ติดลบ แต่ EBITDA เป็นบวกแสดงให้เห็นว่าบริหารงานไม่เก่งใช้สินทรัพย์ไปสร้างรายได้ไม่พอเลี้ยงการเสื่อมของสินทรัพย์ แก้ยากมากต้องหาวิธีหารายได้เพิ่ม ลดค่าใช้จ่าย หรือตัดขายสินทรัพย์ที่ไม่จำเป็นทิ้ง

บริษัทที่ตัดค่าเสื่อมน้อยเกินไป อนาคตสินทรัพย์อาจพังก่อนที่ค่าเสื่อมจะตัดจำหน่ายหมด อาจต้องกู้หนี้ยืมสินมาลงทุน หรือบริษัทที่ตัดมากเกินไป ก็ตัดค่าเสื่อมหมดก่อนที่สินทรัพย์จะหมดอายุ เสียดายเวลาที่ปีแรกไม่ได้จ่ายเงินปันผล

การดูว่าบริษัทมีการลงทุนเยอะหรือไม่


ถ้ามองว่า ค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่่ายเป็นมูลค่าสินทรัพย์ที่ลดลง เมื่อไปดูในงบกระแสเงินสดจากการลงทุนรายการเงินลงทุนในที่ดินอาคารอุปกรณ์ จับมาเทียบกันว่าลงทุนไปกี่เท่าของค่าเสื่อม

บริษัทที่ลงทุนเท่ากับค่าเสื่อมเป็นเพียงแค่การซ่อมแซม บริษัทที่ลงทุนมากๆ สัดส่วนนี้มักมากกว่า 2 เท่าขึ้นไป

บริษัทที่ลงทุนมากกว่าค่าเสื่อมเยอะๆ และสินทรัพย์สามารถสร้างรายได้ได้ ทัน ROA สม่ำเสมอ ถือว่าบริษัทลงทุนได้ดี สร้างการเจริญเติบโตให้กับบริษัท

จะเห็นว่า ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย สามารถบอกอะไรในกิจการได้หลายๆอยาง เจริญในการลงทุนทุกท่านครับ



ติดตามเราได้ที่ Website : http://www.investidea.in.th
Facebook : http://www.facebook.com/investidea.in.th
Line ID : @investidea.in.th ใส่@นำหน้าด้วย
สัมมนาวิเคราะห์หุ้นด้วยปัจจัยพื้นฐาน ดูรายละเอียดและตารางอบรมได้ที่http://www.investidea.in.th/p/value-investor.html
หรือสอบถามราบละเอียดและลงทะเบียนได้ที่ Line; pat4310, หรือโทร 086-503-5023

วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ปัจจัยกำหนด PBV และการหาราคาเหมาะสม


PBV หรืออัตราส่วน ราคาต่อมูลค่าทางบัญชี เป็นอัตราส่วนที่นิยมในการประเมินมูลค่าหุ้น บทความนี้ก็จะมาหาปัจจัยที่มีนัยยะสำคัญในการกำหนด PBV และการประมาณค่า PBV ที่เหมาะสมจากตัวเลขทางการเงินครับ

ปัจจัยกำหนด PBV ทางทฤษฎี


เรารู้ว่า PBV = PE x ROE

PE = b / (k-g)
PBV = b / (k-g) x ROE

b คืออัตราการจ่ายเงินปันผลจากกำไร

k-g มันประเมินยาก ดังนั้นจึงประมาณการ k-g จาก DDM
p = d/k-g
k-g = d/p = Yield% ผลตอบแทนเงินปันผล

ROE = ROA x (1+DE)

จากการย้ายข้างสมการไปๆมา ทำให้เลือกตัวแปรมา 4 ตัวคือ

  1. อัตราการจ่ายเงินปันผลจากกำไร b ถ้าเพิ่มขึ้น PBV จะเพิ่ม
  2. อัตราผลตอบแทนเงินปันผล ถ้าเพิ่มขึ้น PBV จะลดลง
  3. ROA เพิ่มขึ้น PBV จะเพิ่ม
  4. DE เพิ่ม PBV เพิ่ม



ผลการประมาณการ PBV ด้วยวิธี Regression


ข้อมูลที่ใช้เป็นข้อมูลภาคตัดขวางจาก web siamchart.com/stock ก็อบข้อมูลมาวันที่ 2 พค จากการประมาณการได้ผลดังภาพ

สมการคือ PBV = 2.55 + 0.121 DE + 0.063 ROA -0.226Yield

มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ ยกเว้น DE ที่มีนัยสำคัญที่ 90

ทิศทางความสัมพันธ์ตามคาดคือ

  1. DE เพิ่ม PBV เพิ่ม
  2. ROA เพิ่ม PBV เพิ่ม
  3. Yield เพิ่ม PBV ลด

ผ่านมา 1 ปีวันที่ 4 พค 2560 ได้สมการดังภาพ
ผลสมการของปี 2560 ข้อมูลวันที่ 4 พค
สมการเปลี่ยนแปลงนิดหน่อยเป็น

PBV = 1.38 + 0.32DE + 0.23ROA - 0.4Yield

การประยุกต์หาราคาที่เหมาะสม


ถ้าเรารู้ ค่า PBV ที่เหมาะสมก็สามารถหาราคาเป้าหมายได้เลย 

PBV = P / BV

p = PBV x BV

ตัวอย่างหุ้น MINT 


อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น 1.82 เท่า
อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ 10.41 %

อัตราเงินปันผลตอบแทน 0.94 %

PBV = 2.55 + 0.121 (1.82) + 0.063 (10.41) -0.226(0.94 )
= 3.21 เท่า

มูลค่าหุ้นทางบัญชีต่อหุ้น (บาท/หุ้น) 7.45

ราคาหุ้นเท่ากับ 7.45 x 3.21 = 23.94 บาท

แสดงว่าวันนี้เทรดกันที่ราคาแพงไปหน่อย

มูลค่าเหมาะสม MINT


ราคาวันนี้แพงไปหน่อย แต่กิจการเขาดีมูลค่ากิจการก็สูงขึ้นเรื่อยๆ ถ้าเจอแบบนี้ก็ต้องถือยาวๆ
มูลค่าเหมาะสม AS
เมื่อทดลองนำไปประมาณการมูลค่าของหุ้น AS จะเห็นว่าเมื่อผลประกอบการแย่งลง มูลค่าของกิจการที่จะแย่งลงตามไปด้วย

ดังนั้นการลงทุน หัวใจอันแรกคือหาหุ้นที่มูลค่ากำลังสูงขึ้น

การหา PE ที่เหมาะสม


หรือจะประยุกต์มาหาค่า PE เหมาะสมก็ได้
PE = PBV / ROE

ROE = 23.14%

จะเอามาใส่สมการก็ต้องหาร 100 ก่อนได้ 0.2314
จะได้ PE เท่ากับ 13.88 เท่า


สรุปว่าตัวแปรกำหนด PBV ทฤษฎี มีนัยสำคัญทางสถิติกับข้อมูลในตลาดหลักทรัพย์



ติดตามเราได้ที่ Website : http://www.investidea.in.th
Facebook : http://www.facebook.com/investidea.in.th
Line ID : @investidea.in.th ใส่@นำหน้าด้วย
สัมมนาวิเคราะห์หุ้นด้วยปัจจัยพื้นฐาน ดูรายละเอียดและตารางอบรมได้ที่http://www.investidea.in.th/p/value-investor.html
หรือสอบถามราบละเอียดและลงทะเบียนได้ที่ Line; pat4310, หรือโทร 086-503-5023