แนวคิดหลักมาจาก เราไปซื้อสินค้าคงเหลือกะว่าจะเอาไปขายให้เกิดกำไรเพิ่มความมังคั่ง พลิกชีวิตให้ดีขึ้น
แต่เจ้ากรรมราคาสินค้าดันลดลงทำให้มูลค่าสุทธิที่จะได้รับลดลง ในเวลาปิดบัญชีเลยบันทึกส่วนที่ลดลงเป็นขาดทุนในงวดนั้นไปเลย
มาตรฐานบัญชีบอกว่า มูลค่าที่ลดลงของสินค้าคงเหลือเนื่องจากการปรับมูลค่าให้เท่ากับมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ รวมทั้งผลขาดทุนทั้งหมดที่เกี่ยวกับสินค้าคงเหลือต้องบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในงวดที่ปรับมูลค่าสินค้าให้ลดลงหรือมีผลขาดทุนเกิดขึ้น
ผลขาดทุนจะบันทึกรวมในต้นทุนขายงวดนั้นๆ
ผลกระทบชิ่งแบบง่ายๆคือ
สินทรัพย์ลดลง => รายจ่าย => ทุนลดลง
สินทรัพย์ลดลง => รายจ่าย => ทุนลดลง
ในงบกำไรขาดทุนต้นทุนขายงวดที่ด้อยค่าจะเพิ่มขึ้น ทำให้อัตรากำไรขั้นต้นลดลง
ทำให้มึนขึ้นดังนี้ แนะนำให้นอนให้เพียงพอแล้วค่อยมาอ่าน
1ซื้อสินค้าคงเหลือ
1.1นำเงินมาลงทุน 1,000 บาท
1.2เอาเงิน 1000 บาทไปซื้อสินค้าคงเหลือ
จะเห็นตัวเลขในงบกระแสเงินสด 1.3 คือเงินสดหายไป 1000 ไปซื้อสินค้าคงเหลือ
2.ราคาตลาดลดลง
วันสิ้นงวดราคาตลาดลดลงเหลือ 800 ความซวยบังเกิดเพราะซื้อของมา 1,000 นึง
3.ปรับมูลค่าสินค้าคงเหลือ
เมื่อเกิดขาดทุนในข้อสอง ก็ต้องบันทึกขาดทุนจากการด้อยค้าในสินทรัพย์ เป็น 3.2 รายจ่าย 200 เกิดจาก 3.2มูลค่าลดลงไป 200
ในงบกระแสเงินสด รายการนี้ไม่ได้จ่ายออกไปเป็นเงินสด ต้องเอามาบวกกลับ 200 ตาม 3.3
4.กำไรสุทธิ และกำไรสะสม
4.1 จากขาดทุนในข้อสามทำให้งบกำไรขาดทุนเกิดผลขาดทุน 200 กระทบชิ่งไป 4.2กำไรสะสมติดลบ 200
5.สินทรัพย์และส่วนทุน
การการด้อยค่าทำให้ 5.2 ทุนลดลง 200 จาก 1000 เป็น 800 เหตจาก 5.1 สินทรัพย์มูลค่าลดลง 200 1000 เป็น 800
6.วันขายจริง
รับเงินสด 800 จากการขายสินได้ 800 ตามที่ประมาณการเป๊ะๆ
7,8.สินค้าคงเหลือ รายการปรับมูลค่าและต้นทุนขาย
ต้นทุนขาย = สินค้าคงเหลือต้นงวด + ซื้อเพิ่ม - ปลายงวด
= 1,000 + 0 - 0
ที่สินค้าคงเหลือยังเป็น 1000 เพราะรายการปรับปรุงบัญชีไม่ได้นำมาตัดกับสินค้าคงเหลือโดยตรง
ส่วนรายการปรับมูลค่า -200 งวดที่แล้ว ก็กลับรายการ 8.1 มาเป็น 200 จะเห็นยอดคงเหลือในงบดุล8.2 เท่ากับ 0
ดังนั้นต้นทุนขายในงบกำไรขาดทุนจึงเป็น -1000 + 200 = -800
ส่วนในงบกระแสเงินสด จะเห็นรายการ 8.3 เป็นยอดหักออกเนื่องจากเป็นรายการที่ไม่ใช่เงินสด
จะเห็นว่าถ้างวดหน้าไม่มีการด้อยค่าสินค้าคงเหลือล็อทใหม่เพิ่มเต็ม ในงบกระแสเงินสดจะเห็นการกลับรายการด้อยค่ามาทั้งจำนวน
ถ้าเห็นตัวเลขกลับรายการมาไม่หมด เช่นในงบกระแสเงินสด ปีที่ 0 เห็น 200 งวดที่ 1 มีค่า -150 แสดงว่า สินค้าคงเหลือสิ้นงวดที่ 1 มีการด้อยค่าเพิ่มเติม 50 (-200 + 50 = -150)
9.ผลกระทบกับกำไร
กำไรจะเท่ากับ 0 กำไรสะสมก็ไม่เปลี่ยนแปลง เพราะเราเอาขาดทุนที่คาดว่าจะเกิดในอนาคตมากระทบไว้ในงวดที่แล้ว
10.เงินสดสุทธิ
เงินสดเพิ่มขึ้น 800 จากการขาย
สรุปผลกระทบชิ่งแบบง่ายๆสั้นๆ คือ สินทรัพย์ลดลง => รายจ่าย => ทุนลดลง
ในงบกำไรขาดทุนต้นทุนขายงวดที่ด้อยค่าจะเพิ่มขึ้น ทำให้อัตรากำไรขั้นต้นลดลง
โชคดีในการลงทุนครับผม
ติดตามเราได้ที่ Website : http://www.investidea.in.th
Facebook : http://www.facebook.com/investidea.in.th
Line ID : @investidea.in.th ใส่@นำหน้าด้วย
สัมมนาวิเคราะห์หุ้นด้วยปัจจัยพื้นฐาน ดูรายละเอียดและตารางอบรมได้ที่http://www.investidea.in.th/p/value-investor.html
หรือสอบถามราบละเอียดและลงทะเบียนได้ที่ Line; pat4310, หรือโทร 086-503-5023