Tax Shield คือประโยชน์ที่ได้ทางภาษีที่จ่ายน้อยลงจากรายจ่ายนั้นเอง เช่น บริษัทมีรายได้ก่อนหักค่าเสื่อมและภาษี 300 ลบ. อัตราภาษี 22% มีค่าเสื่อมราคา 100 ลบ. สมมติไม่มีหนี้ ไม่มีดอกเบี้ยจ่าย
EBITDA_______________300
Depreciation ___________-100
EBT__________________200
Tax 22%_____________-44
NI___________________156
ถ้าไม่มีค่าเสื่อมเกิดขึ้น บริษัทต้องจ่ายภาษี 300x22% = 66 แต่เมื่อมีการหักค่าเสื่อมฯ 100 จ่ายภาษีเพียง 44
ภาษีที่จ่ายน้อนลงนี้ 22 เรียกว่า Tax Shield = 100x22% = 22
Tax Shield = ค่าใช้จ่าย x อัตราภาษี พูดง่ายๆคือรายจ่ายทุก 100 บาท ให้ภาษีที่ต้องเสียภาษีลดลงจากภาษีที่เกิดจากรายได้ก่อนรายจ่ายนั้น 22 บาท
จากตัวอย่างข้างต้นสมมติมีดอกเบี้ยจ่าย 500 บาท แทนที่บริษัทจะเหลือกำไรเท่ากับ 156-50 = 106 แต่จะมีกำไรดังนี้
EBITDA_______________300
Depreciation ___________-100
ดอกเบี้ยจ่าย_____________-50
EBT__________________150
Tax 22%______________-33
NI___________________117
ภาษีจ่ายลดลงอีกจาก 44 เหลือ 33 ลดลง 11 บาท ทุกๆรายจ่ายที่เกิดขึ้น กำไรลดลงแต่ภาษที่จะจ่ายก็จะลดลงด้วยเช่นกัน ถ้าเขียนเป็นสมการง่ายๆ
NI = Sales – Exp - (Sales – Exp) x t = (Sales – Exp) x (1-t) = Sales – Exp - (Sales x t) + (Exp x t)
Total tax exp = ภาษีทั้งหมดจากรายได้ (Gross) + Exp x t
บริษัทมีรายได้จากการขาย 1,000 ต้องเสียภาษี = 1,000 x t
มีรายจ่ายทั้งหมด 800 จะได้ tax shield = 800 x t
ถ้าภาษีเท่ากับ 25%
ภาษี = -1000x0.25 + 800x0.25 = -250 + 200 = -50
Prove:
Sales___________1000
Exp_____________-800
EBT_____________200
Tax 25%_________-50
NI______________150
ความจริงเรื่อง Tax Shield มักจะมีกล่าวมากในวิชาการเงินมากกว่าทางด้านบัญชี
- Depreciation Tax Shield ประโยชน์ทางภาษีที่เกิดจากค่าเสิอมราคา เป็นรายจ่ายทางบัญชีที่ไม่ได้จ่ายเป็นงินสด แต่ทำให้ค่าใช้จ่ายทางภาษีลดลง = Depreciation Exp. X Tax rate
AKR เอาเครื่องจักรของบริษัทย่อยมารวม ทำให้ค่าเสื่อมราคาเข้ามาที่ งบแม่ประมาณ 57 ล้านต่อปี ทำให้ประหยัดภาษี(20%)ได้ปีละ 57 x 0.2 = 11.4 ล้าน - Interest Tax Shield ประโยชน์ทางภาษีที่เกิดจากดอกเบี้ย ทำให้ต้นทุนดอกเบี้ยที่เป็นเงินสดจ่ายออกลดลง = Interest Exp. X Tax rate ทำให้ในสูตร WACC = D/(D+E) * (rd) *(1-t) + E/(D+E) * re
AKR ไปกู้เงินมา 400 ล้านไปซื้อเครื่องจักรจากบริษัทย่อย ทำให้ดอกเบี้ยจ่ายเข้ามาที่งบแม่ประมาณ 28 ล้านต่อปี ทำให้ประหยัดภาษีได้ปีละ 28 x 0.2 = 1.96 ล้านบาท
[1]https://www.facebook.com/sanpong.limthamrongkul/posts/10201574316018180
ขอบคุณมากๆนะคะ
ตอบลบ