วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2559

ส่องหุ้น JWD : บริษัท เจดับเบิ้ลยูดี อินโฟโลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน)

หุ้น JWD : บริษัท เจดับเบิ้ลยูดี อินโฟโลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) ทำธุรกิจการจัดการโลจิสติกส์ (เคลือนย้าย จัดเก็บ รวบรวม กระจาย) ครบวงจร ตังแต่เข้าตลาดมา ราคาหุ้นวิ่งขึ้นทุกวัน ต้องหยิบธุรกิจมาส่องซะหน่อยว่าทำมาหากินอะไร กำไรมาจากไหน และราคาหุ้นวิ่งมาจากอะไรเยี่ยมจริง

การทำมาหากิน


ประเภทธุรกิจของ JWD
ที่มา oppday
กดที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่

การทำธุรกิจเป็น Logistics Services Provider คือลูกค้าอยากได้บริการอะไรที่เกี่ยวข้องกับ การจัดเก็บ การเคลื่อนย้าย และการกระจา แบบครบวงจร อยากได้อะไรบอกมา เงินมาป๋าจัดให้ แบ่งเป็น 5 ธุรกิจ ได้แก่


  1. บริการรับฝากและบริหารสินค้า ทั้งบนพื้นที่ทั่วไปและพื้นที่เขตปลอดอากร โดยแบ่งสินค้าที่ให้บริการได้ 4 ประเภทคือ สินค้าทั่วไป สินค้าอันตราย รถยนต์และสินค้าควบคุมอุณหภูมิแช่เย็นและแช่แข็ง
  2. บริการขนส่งสินค้าในประเทศ และขนส่งสินค้าข้ามแดน เช่น ประเทศลาว และประเทศพม่า
  3. บริการขนย้ายให้กับบุคคลและองค์กรทั้งในและต่างประเทศ
  4. บริการจัดการเอกสารและข้อมูล เช่น บริการรับฝากข้อมูล บริการรับฝากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ บริการทำลายเอกสาร และบริการขนส่งเอกสาร เป็นต้น
  5. ธุรกิจอื่นๆ ได้แก่ ให้เช่าอาคารสำนักงานและคลังสินค้า และให้บริการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ


โครงสร้างรายได้และกำไร


โครงสร้างรายได้
ที่มา oppday


  • คลังสินค้าห้องเย็นอยู่มหาชัย พร้อมบริการขนส่ง เก็บพวกปลา
  • ท่าขนส่งเคมีพร้อมบริการขนส่งเคมี ตรงนี้เด่นเพราะได้สัมปทานมา เหมือน NYT ที่เป็นท่าขนรถยนต์ เยี่ยมจริง
  • Logistics เกี่ยวกับรถยนต์ เวลาจะส่งออกต้องทำเอกสาร ติดชุดแต่ง ฯลฯ เอาว่าอะไรวุ่นก็โยนมาทางนี้ 
  • คลังสินค้าทั่วไป 
บริการเสริมเช่น รับจ้างขนย้าย office บ้าน จัดเก็บเอกสาร แกนกลางคือส่วนที่เป็นระบบ IT ที่ทำให้จัดการเรื่องวุ่นๆให้เป็นระบบมากขึ้น

รายได้และอัตรากำไรขั้นต้นของ JWD
ที่มา oppday

รายได้โตเรื่อยๆทุกปี อัตรากำไรก็สามารถยืนได้ที่ประมาณ 36% เยี่ยมจริง
ค่าใช้จ่ายขายและบริหาร
ค่าใช้จ่ายขายและบริหารของ jwd ปี 2015 ลดลงเพราะค่าธรรมเนียม ค่าซ่อมบำรุงลดลง

อัตรากำไรสุทธิ
อัตรากำไรสุทธิปี 2014 ค่อนข้างต่ำเนื่องจากรายการขาดทุนด้วยค่าคลังสินค่าที่ไม่ได้ใช้งาน กำไรปกติคือช่องประ 290 ล้าน กำไรปี 2015 เพื่มเนื่องจากรายได้เพิ่มและอัตรากำไรขั้นต้นเพิ่ม

โครงการอนาคตของ jwd
ที่มา oppday
อนาคต jwd จะขยายไปต่างประเทศแถบ aec มากขึ้น ผู้บริการเชื่อว่าจะทำให้เติบโตในระดับ 10% ได้ในช่วงหลายปีข้างหน้า

มีแผนที่จะเอาคลังสินค้าไปออกกองทุนมูลค่าประมาณ 2000 ล้าน การออกกองทุนความหมายคือการระดมทุนเงินก้อน โดยเราต้องจ่ายผลตอบแทนประมาณ 7% ผู้บริหารว่าต้องหาโครงการที่จะเอาเงินไปใช้ให้ได้ผลตอบแทนมากกว่า 7% นอกจากนั้นยังมีแผนออกหุ้นกู้เพื่อระดมทุนด้วย

ปัญหาคือจะเอาเงินไปทำอะไร เนื่องจากเงิน IPO ก็เพียงพอตามแผนงานแล้ว ลุ้นกันต่อไปว่าจะทำอะไร

ความถูกแพง


ปัจจุบันหุ้น PE 56.97 เท่าสำหรับผมมองว่าแพงสัด ถ้าลองคำนวณ PE ใหม่จากกำไรปกติโดยไม่รวมกำไรพิเศษเข้าไปด้วย PE จะเป็นเท่าไร

มูลค่าตลาดวันนี้เท่ากับ 14820 ล้านบาท

กำไรทั้งปี 2014 แบบไม่มีขาดทุนพิเศษเท่ากับ 290.7 ล้านบาท คิดเป็น PE ประมาณ 14820/290.7= 50.98 เท่า

กำไร 9 เดือน 2015 ปีนี้เท่่ากับ 243.1 ล้าน คิดเต็มปีแบบบ้านๆ เท่ากับ 243.1/9 x 12 = 324.13 ล้านบาท คิดเป็น PE ประมาณ 14820/324.13= 45.72 เท่า

ผู้บริหารว่าโตประมาณ 10% แสดงว่า PEG ประมาณ 45.72/10 = 4.5 เท่า ก็ยังแพงมาก

แสดงว่าราคานี้ตอบสนองอนาคตอันไกลโพ้นพอสมควร ต้องลุ้นว่าจะเอาเงินที่จะออกกองทุนมาทำอะไร จะมีการควบรวมกิจการอะไรหรือไม่วัดใจกันไปพี่น้อง

ที่มา http://www.dcs-digital.com/setweb/downloads/2558q3/20151112_jwd.pdf

วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2559

อ่านผู้บริหารด้วยสัญญาณจากงบการเงิน

ลงทุนในธุรกิจสำคัญอยู่ที่ผู้บริหาร ต้องเลือกให้ดีตั้งแต่แรก เพราะผู้บริหารเป็นคนกำหนดทิศทางของบริษัท  เหมือนคำโบราณที่ว่าไม้คดใช้ทําขอเหล็กงอใช้ทําเคียว แต่ คนคดเคี้ยวใช้ทําอะไรไม่ได้เลย เพราะถ้าเลือกไม่ได้ชีวิตการลงทุนไม่น่ารอดเพราะแผนงานเยอะแต่กำไรไม่โต ปันผลก้ไม่ได้ และเราซื้อหุ้นก็ไม่มีจำนวนหุ้นมากพอที่จะถอดถอนใครได้

งบการเงินเป็นผลของการตัดสินใจของผู้บริหารดังนั้นถ้าอ่านดีๆก็สามารถอ่านใจผู้บริหารได้ครับผม

พูดจริงทำจริง


คนพูดจริงทำจริง อยู่ด้วยแล้วสบายใจไม่ต้องระแวงกัน เปรียบเทียบคำพูดกับการกระทำ ดูจากข่าวในอดีตเที่ยบกับงบการเงิน ข่าวก็ค้นได้ใน google ครับว่าในอดีตเคยพูดอะไรไว้บ้าง

บอกว่าไปตีตลาดใหม่ยอดขายกระฉูด ในงบการเงินควรเห็นยอดขายเพิ่มขึ้น

บอกว่าจะไปขายสินค้า margin สูง อัตรากำไรขั้นต้นควรจะสูงขึ้น

บอกว่าปรับปรุงกระบวนการผลิต ต้นทุนการผลิตประกอบด้วยวัตถุดิบ ค่าแรง และค่าโสหุ้นต่างๆ ถ้าจัดการได้ดี ต้นทุนวัตถุดิบ ค่าแรง ค่าโสหุ้นต่างๆจะลดลง อัตรากำไรขั้นต้นควรจะสูงขึ้น

สร้างโรงงานใหม่แล้วจะรุ่งเรื่อง ตอนสร้างในงบการเงินจะเห็น ที่ดินอาคารอุปกรณ์เพิ่มขึ้น แต่ยังไม่เป็นรายจ่ายจนวันที่พร้อมใช้งาน จะเริ่มทยอยตัดเป็นค่าเสื่อม จะรุ่งเรื่องจริงต้องสามารถสร้างรายได้มาถึงจุดคุ้มทุนได้เร็ว ดูจากอัตราส่วนหมุนเวียนทรัพย์สินจะตกไม่นาน ผมให้ไม่เกิน 1 ปีอัตราหมุนเวียนทรัพย์สินน่าจะเพิ่มกลับมาที่เดิมได้

อีกจุดสังเกตคือ ถ้าไปลงทุนในธุรกิจที่ตัวเองถนัด ไม่หนีไปจากเดิมมาก ขยายโรงงานใหม่แล้วจะกำไรโตไว เพราะถ้าไปทำธุรกิจที่ไม่ชำนาญ ต้องมี learning curve ซักพัก กว่าจะหาลูกค้าได้

ซื่อสัตย์สุจริต


วิธีดูคนของขงเบ้งคือให้อามิสสินจ้างเพื่อดูความสุจริต ผู้บริหารที่ไม่สุจริต มักหาช่องทาง ชักเงินออกจากบริษัทได้หลายทาง เช่น ตั้งบริษัทบุคคลเกี่ยวข้องกันมาขายวัตถุดิบให้แบบบวกกำไรบ้าง มารับของจากเราไปถูกๆไปขายต่อแพงๆบ้างๆ

รายการระหว่างกันจะดูได้ในหมายเหตประกอบงบการเงิน หัวข้อรายการระหว่างกัน จะมีตารางแสดงว่า มีการซื้อขายอะไรกันระหว่างบริษัทย่อย บริษัทร่วมบ้าง รวมถึงรายการกับบุคคลที่เกี่ยวข้องกัน เงินเดือนผู้บริหาร ฯลฯ

จะเจอรายการตลกๆเช่น เช่าที่ดินแม่ตัวเองมาตั้งป้ายโฆษณา บริษัทขาดทุนแต่จ่ายเงินเดือนผู้บริหารแพงๆ จ้างเจ้าของเป็นที่ปรึกษา โดยจ่ายที่ปรึกษาเป็นรายปี

หรือเอาเงินไปซื้อสินทรัพย์ในราคาแพงๆ เช่นไปเทคโอเวอร์ บริษัทมาแบบราคาแพงเชี้ยๆ สินทรัพย์ก็จะสูงผิดปกติ

หรือถ้าบริษัทแม่ไม่ดี แต่ตัวลูกดี ก็พยายมลดสัดส่วนตัวแม่ลง สุดท้ายกำไรก็ไม่ค่อยเหลือตกถึงท้องผู้ถือหุ้นเท่าไร

ถ้าแหล่งที่ใช้ไปของเงิน ที่ดันไปเข้ากระเป๋าตัวเอง รายจ่าย กับสินทรัพย์ ก็จะสูงผิดปกติ ทำให้อัตรากำไรต่ำ และ ROA ROE ต่ำกว่าเพื่อนในอุตสาหกรรมเดียวกัน หรือขาดทุนต่อเนื่องไปเลย

มีวิสัยทัศน์


ถ้าผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ ดูได้จากแผนลงทุน ว่าจะทำอะไร กลยุทธ์ไปแนวไหน ขยายกิจการแนวดิ่ง แนวข้าง โดยการซื้อกิจการต่างๆ เข้ามา จะสอดคล้องกับ vision mission ของกิจการ

ถ้าผู้บริหารพูดจริงและมีฝีมือทำได้จริง รายได้กำไรของบริษัทก็จะโตเรื่อยๆ ROA ROE สม่ำเสมอ ในทางกลับกันถ้าโมอย่างเดียว งบการเงินจะออกมาคนละเรื่องกับที่พูด

สรุปสั้นๆว่าบริษัทที่งบออกมาสวยๆ เติบโตสม่ำเสมอแสดงให้เห็นอย่างหนึ่งว่าผู้บริษัทหารมีการจัดการภายในที่ดี ตั้งใจทำธุรกิจ แต่ถ้าตั้งใจมาปั่นหุ้นงบก็จะเป็นอีกแบบหนึ่ง งบขาดทุนทุกปี แต่ผู้บริหารรวยเอารวยเอา ปล่อยให้ผู้ถือหุ้นเฉาตายไป

วันพุธที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2559

ส่องหุ้น KKC บริษัท กุลธรเคอร์บี้ จำกัด (มหาชน)


ส่องหุ้น KKC บริษัท กุลธรเคอร์บี้ จำกัด (มหาชน) เห็นช่วงนี้ราคาวิ่งมาสนุกสนานมาดูกันว่า ขึ้นเพราะอะไร และจะขึ้นยั่งยืนหรือไม่

มาดูสินค้าและบริการคือ ผลิตและจำหน่ายมอเตอร์คอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบ (Reciprocating Compressor) สำหรับใช้กับตู้เย็น ตู้แช่ ตู้ทำน้ำเย็น ตู้เย็นเชิงพาณิชย์และเครื่องปรับอากาศ และผลิตCondensing unit เพื่อใช้กับ Commercial Refrigeration รวมทั้งผลิตชิ้นส่วนมอเตอร์คอมเพรสเซอร์และชิ้นส่วนมอเตอร์ไฟฟ้าให้กับผู้ผลิตรายอื่นๆด้วย


สินค้าหลักๆจะเป็นตู้แช่และตู้เย็น ตามภาวะโลกร้อนน่าจะขายได้เรื่อยๆ ยอดขายโดยรวมก็เรื่อยๆมาเรียงๆ น่าสนใจคือทำไมตัวมอเตอร์ยอดขายลดลง



มาดูงบกำไรขาดทุนของ KKC กันบ้างรวมรายได้ทรงๆอยู่แถว 11,000 12,000 แต่กำไรสุทธิลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะปี 2556 กำไรลดลงเหลือเพียง 0.88 ล้านบาท แล้วค่อยๆฟื้นในปี 2557 และ 2558 ตามลำดับ

ส่วนงบกระแสเงินสด ตามสูตรคือ การดำเนินงานเป็นบวก การลงทุนเป็นลบ และการจัดหาเงินเป็นลบ สดงว่าอยู่สบายๆ ไม่ร้อนเงินและมีเงินเหลือ ลงทุนและปันผล

ดูปัญหาธุรกิจของ KKC ผ่านอัตราส่วนทางการเงิน



ความอยู่รอด


บริษัทนี้รักษาระดับหนี้ไว้ค่อนข้างสูง ที่ 2.12 เท่า ถ้าไปดูงบดุล 9m 2558 หนี้ส่วนใหญ่เป็นเงินกู้ระยะสั้น ประมาณ 3-4 พันล้านจริงๆก็น่าเป็นห่วงนะ แต่เมือไปดูงบกระแสเงินสดที่มีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานกว่า 1000 ล้านต่อปี ก็ไปน่าห่วงมีเงินจ่ายหนี้สบาย

การสร้างเงินสด


จาดอัตราส่วนหมุนเวียนทรัพย์สินสม่ำเสมอแสดงว่าสินทรัพย์ยังสร้างรายได้ได้ดี

การเก็บหนี้ การขายสินค้า การชำระเจ้าหนี้สม่ำเสมอปกติ

reinvestment ratio (CFI/ค่าเสื่อม) 0.26 แสดงว่าลงทุนน้อยกว่าค่าเสื่อม เงินที่ลงทุนแต่ละปีเพียงแค่ maintenance ให้เครื่องจักรคงสภาพเท่านั้น

โดยรวมๆส่วนนี้ปกติไม่ใช่ปัญหา

การทำกำไร


ปัญหาของ KKC คือ ราคาทองแดงขึ้นทำให้อัตรากำไรขั้นต้นต่ำ โดยเฉพาะปี อัตรากำไรขั้นต้นต่ำเพียง 4.05% ส่วนปี 2558 ขึ้นมาเป็น 8.01%  ทำให้กำไรขึ้นอย่างต่อเนื่อง

สรุปแล้ว KKC ฟื้นจากต้นทุนการผลิตลดลง ก็เป็นรอบของเขา แต่กำไรคงไม่วิงแรงมาก เพราะไม่ได้ลงทุนเพื่อการเติบโตอะไร

วันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2559

ส่องหุ้น PJW บริษัท ปัญจวัฒนาพลาสติก จำกัด (มหาชน)

ทิศทางราคาของหุ้น PJW ในช่วง 3 ปี
ที่มา setsmart
PJW บริษัท ปัญจวัฒนาพลาสติก จำกัด (มหาชน) ทำธุรกิจ ผลิตและจำหน่ายบรรจุภัณฑ์พลาสติกประเภทขวดและฝา ได้แก่ น้ำมันหล่อลื่น นมและนมเปรี้ยว สินค้าอุปโภคและบริโภค น้ำยาเคมีสำหรับใช้ในการเกษตร และชิ้นส่วนพลาสติกสำหรับยานยนต์

หุ้นตัวนี้เป็นหุ้นที่หายไปจากสารระบบนักลงทุนไปหลายปี ดูทิศทางราคาไหลลงเป็นเทน้ำเทท่ายังกะบริษัทจะเจ้ง น่าสนใจว่ามีปัจจัยอะไรทำให้มันลงได้ไร้สาระขนาดนี้

งบกำไรขาดทุนและงบกระแสเงินสดของ PJW
ที่มา setsmart

จากงบกำไรขาดทุนจะเห็นว่ารายได้ของ PJW เติบโตขึ้นทุกปีส่วนทางกับกำไรที่ลดลงทุกปี งวด 9 เดือน58 ที่ผ่านมากำไรลดลงกว่าครึ่งจากงวด 9 เดือน 59

ในส่วนของงบกระแสเงินสด กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน Opeeration Cash Flow ลดลงจนติดลบ แต่ที่น่าสนใจคือ บริษัทมีการลงทุนทุกปี ดูจากกระแสเงินสดจากการลงทุน Investing Cash Flow ที่ติดลบมากกว่า กระแสเงินสดดำเนินงาน ทำให้ส่วนใหญ่บริษัทต้องหาเงินทุนจากแหล่งภายนอกด้วยการกุ้เงิน หรือเพิ่มทุน ดูจากกระแสเงินดสดจากการจัดหาเงินที่มีค่าเป็นบวก

โดยสรุปคือ PJW กำไรลดลงเพราะ ขยายการลงทุนแบบบ้าพลัง แล้วรายได้โตไม่ทันค่าใช้จ่ายที่เพิ่มนั่นเอง

ดูปัญหาธุรกิจผ่านอัตราส่วนทางการเงิน


ความอยู่รอด

DE ratio ของ PJW
ที่มา setsmart
ในแง่ความอยู่รอด เชื่อมโยงจากงบกระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงินที่เป็นบวกทุกปี จะเห็นว่าเมื่อ pjw จัดหาเงินทุนด้วยการกู้เงิน ก็จะทำให้ อัตราส่วน หนี้สินต่อทุนเพิ่มขึ้นทึกไตรมาศ แต่จะเห็นช่วงปี 2015 หนี้สินเริ่มทรงตัว แต่จากกระแสเงินสดจากการดำเนินงานที่ติดลบก็เริ่มเสียวๆ ในเรื่องความสามารถในการชำระหนี้เหมือนกัน

การสร้างเงินสด


อัตราส่วนหมุนเวียนสินทรัพย์ของ PJW
ที่มา setsmart

เมื่อกู้เงินมาลงทุน ซื้อสินทรัพย์ หลังๆของ PJW จะเป็นการลงทุนในโรงงานพ่นสีชิ้นส่วนรถยนต์ ต้องมาดูว่าสินทรัพย์ที่ลงไปสามารถสร้างรายได้ได้หรือไม่ ดูจากอัตราส่วนหมุนเวียนสินทรัพย์ (Total Asset Turnover: AT) จะเห็นว่า อัตราส่วนหมุนเวียนสินทรัพย์ ลดลงเรื่อยๆทุกปี สวนทางกับรายได้ที่เพิ่ม แสดงว่า PJW สินทรัพย์เพิ่มมากกวารายได้ที่เพิ่มนั่นเอง ทิศทางเริ่มดีขึ้นในช่วง 2 ไตรมาศที่ผ่านมา ถ้าดีต่อเนื่องเรื่อยๆจะดีมาก

แสดงการใช้กำลังการผลิตของ PJW
ในส่วนงานบรรจุภัณฑ์ อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงทุกปี จาก 63% ในปี 2012 มาเหลือเพียง 44% ในงวด 9 เดือน 2015 ใน oppday เขาว่า คำสั่งซื้อที่ลดลงเนื่องจาก เศรษฐกิจชลอ และไตรมาศ 3 ที่ผ่านมาลูกค้าเลือกออเดอร์เพราะจะออกสินค้าใหม่

ยังงงว่า ปริมาณการขายก็ไม่ได้เพิ่มมากแล้วจะขยายอะไรเยอะแยะทุกปีให้ต้นทุนมันเพิ่ม ประชุมปีนี้ต้องถามซะหน่อยละ

ในส่วนของ โรงพ่นสี เพิ่มกำลังการผลิตกว่า 3 เท่าตัวจาก 54,000 เป็น 161,280 ในช่วง 9 เดือน 2015

บริษัทที่ใช้กำลังการผลิตไม่เต็ม ปัญหาหนึ่งคือต้นทุนคงที่ต่อหน่วยจะสูง และอัตรากำไรขั้นต้นต่ำลง กำไรรวมหดตามอีก ดังนั้นต้องลุ้นให้บริษัทนี้ขยันหาลูกค้าเก่งๆ เดี๋ยวกำไรจะมาเอง

การทำกำไร

อัตรากำไรขั้นต้น PJW


เมื่อดูอัตรากำไรขั้นต้นของ PJW ลดลงแทบจะทุกไตรมาศ ในขณะที่ ราคาเม็ดพลาสติดซึ่งเป็นต้นทุนการผลิตลดลงกว่าปีที่แล้ว โดยในไตรมาศ 3 ลดลงเฉลี่ยกว่า 29,59% แสดงว่า ต้นทุนขายเพิ่มขึ้นจากการใช้การผลิตไม่เต็มกำลัง

อัตรากำไรสุทธิของ PJW
เมื่อใช้กำลังการผลิตไม่เต็ม รายได้ไม่ทันรายจ่ายที่เพิ่ม q3 2015 ก็ขาดทุนไปตามระเบียบ

โดยสรุปคือ PJW ลงทุนหนักมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แล้วรายได้โตไม่ค่อยทันรายจ่ายเท่าไรนัก กำไรก็ดรอบๆกันไป จะเข้าซื้อ ก็รอ ออดเดอร์เข้า สัญญาณคอนเฟริมในงบคือ AT GPM และ NPM เริ่มฟื้น ก็เข้าได้ สู้ต่อไป PJW


วันเสาร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2559

จับสัญญาณเตือนภัยจากงบกระแสเงินสด



การอ่านงบกระแสเงินสด เป็นผู้ช่วยในการมองภาพธุรกิจได้เยอะ ถ้าธุรกิจกำลังมีปัญหาเรื่องกระแสเงินสด จะมีสัญญาณบางอย่างที่ต้องเฝ้าระมัดระวังเกิดขึ้น ถ้ากระแสเงินสดเริ่มมีปัญหาก็แสดงว่ามูลค่ากิจการกำลังลดลงไม่นานหุ้นจะตก โดยสัญญาณที่ต้องเฝ้าระวังประกอบด้วย

1.อัตราการเติบโตของลูกหนี้การค้าและสินค้าคงเหลือสูงกว่ายอดขาย


อัตราการเติบโตของลูกหนี้การค้าและสินค้าคงเหลือสูงกว่ายอดขาย ถ้าดูในอัตราส่วนทางการเงินจะเห็น ระยะเวลาขายสินค้า และระยะเวลาเก็บหนี้ยาวขึ้น ปัญหาคือสินค้าอาจขายไม่ออก หรือขายไปแล้วเก็บหนี้ไม่ได้ ถ้าแห้ปัญหาไม่ได้อนาคตร้อนเงินแน่ๆแบบไม่ต้องสืบ

2.เจ้าหนี้การค้าเพิ่มสูงกว่าสินค้าคงเหลือที่เพิ่มขึ้น


มองในแง่ร้ายสาเหตที่เจ้าหนี้การค้าเพิ่มสูงกว่าสินค้าคงเหลือที่เพิ่มขึ้นอาจมาจากไม่มีเงินจ่ายเจ้าหนี้การค้าก็ของผัดผ่อนไปเรื่อย ของเก่ายังไม่จ่ายเจ้าหนี้ใหม่ก็มา เจ้าหนี้การค้าบวม ระยะเวลาชำระเจ้าหนี้จะยาวขึ้น เหมือนดูดีแต่ถ้าเจ้าหนี้มาทวงเงินเมื่อไรอาจซวยได้ เพราะอนาคตก็ต้องจ่ายเงินอยู่ดี

3.หนี้สินหมุนเวียนโตเร็วกว่าการเติบโตของยอดขาย


หนี้หมุนเวียนคือภาระผูกพันที่ต้องชำระภายใน 1 ปี การที่หนี้หมุนเวียนเพื่อขึ้นเร็วๆ ระยะสั้นอาจดูดีเพราะเอาเงินอนาคตมาใช้ก่อน แต่ถ้าเจ้าหนี้มาทวงเงินเมื่อไรอาจซวยได้ เพราะอนาคตก็ต้องจ่ายเงินอยู่ดี

4.กระแสเงินสดดำเนินงานติดลบต่อเนื่องหลายๆปี 


อาจมาจากขาดทุนจากการดำเนินงาน รายได้น้อยกว่ารายจ่าย หรือการเพิ่มขึ้นของเงินทุนหมุนเวียน เงินไปจมกับลูกหนี้ สินค้าคงเหลือ แต่ไม่ค่อยมีเจ้าหนี้การค้ามาช่วย รวมๆกันแล้ว CFO ติดลบ แสดงว่าร้อนเงิน เมื่อร้อนเงินก็ต้องวิ่งวุ่นหาเงินมาหมุน ทั้งขายสินทรัพย์ ไปกู้ยืมเงินชาบบ้าน และเรียกเพิ่มทุนจากผู้ถือหุ้น

ถ้าดูในอัตราส่วนทางการเงิน อัตราส่วนคุณภาพกำไร = CFO หลังจ่ายดอกเบี้ย / กำไรสุทธิ จะไม่มีค่าเพราะ CFO ติดลบ

5.รายจ่ายลงทุนในสินทรัพย์ถาวรสูงกว่ากระแสเงินสดจากการดำเนินงานอย่างเป็นสาระสำคัญ


แม้ว่าจะคาดการณ์ว่า Free Cash Flow จะติดลบอยู่แล้วในกรณีที่ธุรกิจนั้นอยู่ในช่วงเติบโตและต้องการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรจำนวนมาก แต่  Free Cash Flow  ที่ติดลบจำนวนมากก็แสดงว่ากิจการยังคงต้องพึ่งพิงเงินทุนจากแหล่งภายนอกอย่างต่อเนื่องเพื่อการเติบโตที่ยั่งยื่น

เผื่อใครลืม Free Cash Flow = EBIT + DA - t - Net Working Capital - CAPEX

กิจการที่ต้องลงทุนในสินทรัพย์ถาวร (CAPEX) สูงๆ จะเห็นในอัตราส่วนทางการเงินคือ อัตราหมุนเวียนสินทรัพถาวรย์จะต่ำ (Fixed asset turnover FAT)

FAT = ยอดขาย/สินทรัพย์ถาวร
=> สินทรัพย์ถาวร = ยอดขาย / FAT
จะเห็นว่าบริษัทที่ FAT ต่ำกว่า จะเพิ่มยอดขายขึ้น 1 บาทเท่ากัน ต้องลงทุนสินทรัพย์เยอะกว่า

และจากยอดขายกว่าจะมาเป็นกระแสเงินสดต้องผ่านอีกหลายด่าน หมุนเงินกันหัวปั่นเลยทีเดียว

ุ6.รายจ่ายลงทุนในสินทรัพย์ถาวรปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง


แม้ว่าการลดการลงทุนจะทำให้บริษัทมีเงินสดสำรองไว้ใช้ในระยะสั้นก็ตาม แต่ก็เป็นสัญญาณบ่งบอกว่ายอดขาย กำไร และกระแสเงินสดของกิจการจะลดลงตาม

ในงบอาจดูจากยอด CAPEX ที่ลดลงเมื่อเที่ยบกับปีที่แล้ว หรือนำ CAPEX ไปเทียบกับ ค่าเสื่อมเป็น อัตราส่วน Reinvestment ratio = CAPEX / DA มีค่าลดลง

7.มีการขายหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดออกไปมากกว่าส่วนที่ซื้อเข้ามาใหม่


การขายหลักทรัพย์ออกไปเช่นนี้ช่วยให้กิจการมีเงินสดเข้ามาทันที แต่ก็เป็นตัวบ่งบอกว่ากิจการขาดความสามารถในการก่อให้เกิดกระแสเงินสดจากการดำเนินงานเพียงพอที่จะนำมาใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนและเพื่อการลงทุนระยะยาว ทำให้กิจการต้องขายหลักทรัพย์ออกไปเพื่อให้ได้เงินสดมาใช้เพื่อวัตถุประสงคดังกล่าว

อย่างไรก็ตามการขายหลักทรัพย์ไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกว่ากิจการมีปัญหาด้านกระแสเงินสดเสมอไป หากกิจการขายหลักทรัพย์ออกไปเพื่อถือเงินสดส่วนเกินที่ได้มาไว้เป็นการชั่วคราวเพื่อที่จะนำไปใช้ในการซื้อกิจการหรือสินทรัพย์ในเวลาต่อมา

8.การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของการกู้ยืมระยะยาวมาเป็นระยะสั้นแหล่งเงินกู้ยืมระยะสั้น


เงินกู้ยืมระยะสั้นที่เพิ่มขึ้นเป็นตัวบ่งบอกว่ากิจการขาดความสามารถในการขอสินเชื่อระยะยาวจากสถาบันการเงิน เนื่อจากสถาบันการเงินผู้ให้กู้เกิดความไม่มั่นใจในอนาคตของกิจการ

ในงบกระแสเงินสดกิจกรรมจัดหาเงิน จะเห็นสภาพการหมุนเงิน การกู้แบงค์นึง มาจ่ายแบ้งค์นึง จะแสดงกันคนละบรรทัด ถ้าดูในงบดุลจะเห็นรวมกัน ถ้าเห็นกู้หนี้สั้นมาจ่ายหนี้ยาว ก็เริ่มเสียวๆละ

9.การจ่ายเงินปันผลลดลงหรืองดจ่ายปันผล 


แม้ว่าการลดหรือการงดการจ่ายเงินปันผลจะช่วยห้กิจการสามารถรักษาเงินสดไว้ได้ในระยะสั้นก็ตาม ผู้ถือหุ้นก็มักจะมองการเปลี่ยนแปลงนโยบายการจ่ายเงินปันผลเช่นนี้ไปในทางลบเกี่ยวกับกระแสเงินสดของกิจการ

แม้ว่าสัญญาณเหล่านี้ในตัวของมันเองจะไม่ได้เป็นตัวยืนยันปัญหาที่เป็นข้อสรุปที่ชัดเจน แต่จากการที่สัญญาณเหล่านี้เกิดขึ้น นักลงทุนก็ต้องให้ฝ่ายจัดการชี้แจกเพื่อดูว่าปัญหาทางด้านกระแสเงินสดกำไรลังเกิดขึ้นหรือไม่

ส่วนรูปนี้ก็มาจากงานวิจัย วิเชียร เธียรวิวรรธน์ ประยุกต์มาใช้ช่วยในการสอบบัญชี ทำเป็น checklist ไว้




อ้างอิง
วรศักดิ์ ทุมมานท์ "งบกระแสเงินสดงบการเงินรวมคู่อมือการจัดทำและวิเคราะห์ตามมาตรฐานการบัญชี" 2542


วิเชียร เธียรวิวรรธน์ การวิเคราะห์สัญญาณเตือนภัยจากงบกระแสเงินสดเพื่อประเมินความเสี่ยงในการปฏิบัติงานสอบบัญชีของกลุ่มธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ = Analysis of the warning signal from cash flow statement to assess audit risk in electricity product and computer business group

http://library.cmu.ac.th/digital_collection/etheses/fulltext.php?id=14240&word=%A7%BA%A1%C3%D0%E1%CA%E0%A7%D4%B9%CA%B4&check_field=_All_&select_study=&condition=2&search=9&philosophy=ok&master=ok#