วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

yci จะ turnaround

YCI : บริษัท ยงไทย จำกัด (มหาชน) ทำธุรกิจผลิตและจำหน่ายเคมีอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ เช่น เซอร์โคเนียมซิลิเกต (Zirconium Silicate) น้ำกรด สารเร่งการตกตะกอน กำมะถันก้อน (Sulphur Roll, lump)

ณ วันที่  26 พ.ย. 2556 มี  มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด 109.20 ล้านบาท เล็กที่สุดในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นโจทย์ที่น่าศึกษามากครับว่าอะไรทำให้มันเล็กได้ขนาดนี้
งบกำไรขาดทุนและงบกระแสเงินสด
รายได้ธุรกิจก็ลุ่มๆ ดอนมาตลอด ปี 2556 ขาดทุนหนักมา เงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงานก็ติดลบคือทำธุรกิจแล้วร้อนเงิน เงินสดสุทธิจากกิจกรรมจัดหาเงินก็เป็นบวกตลอดเหมือนกู้หนี้เพิ่มเรื่อยๆ

อัตราส่วนทางการเงิน
วงจรเงินสด
วิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน

เป้าหมายของธุรกิจควรมุ่งไปที่มูลค่า กำไรสูงสุดไม่ใช่ตัววัดความสำเร็จของธุรกิจ แต่สิ่งที่จะบ่งชี้ถึงความสำเร็จทางการเงินของธุรกิจในระยะยาวอย่างมั่นคง ต้องมาจาก 3 สิ่งพร้อมๆ กันคือ ธุรกิจต้องทำกำไร สร้างกระแสเงินสด และสามารถอยู่รอดได้ (Make Profit, Generate Cash Flow and Stay Solvency) จึงจะสามารถสร้างมูลค่าให้เกิดขึ้นในธุรกิจอย่างยั่งยืน การวิเคราะห์งบการเงินเพื่อถอดรหัสธุรกิจจึงต้องหาคำตอบให้ได้ว่าธุรกิจ ก่อให้เกิด 3 สิ่งขึ้นหรือไม่ และมีจุดใดที่ทำให้ 3 สิ่งดังกล่าวมีปัญหามาดูกัน

1 การทำกำไร (Make Profit)
บริษัทนี้มีปัญหาตั้งแต่กำไรขั้นต้นที่ติดลบ ทำให้ไม่มีเงินเพียงพอจ่ายค่าใช้จ่ายดำเนินงานต่างๆ จะรอดไหมเนี้ย เมื่อไม่มีกำไร ROA ROE ก็ไม่ต้องพูดถึง ไม่มีกลับมาหา

2 การสร้างกระแสเงินสด (Generate Cash Flow)
ในเรื่องสภาพคล่อง

  • ลูกหนี้การค้าบริษัทมีระยะเวลาเก็บหนี้มากขึ้น หนี้ค้างเกินสามเดือนก็เพิ่มขึ้นอีกน่าเป็นห่วงจริงๆ

ลูกหนี้การค้า

  • เรื่องสินค้าคงเหลือ ระยะเวลาขายสินค้าทิศทางดีขึ้นตัวเลขลดลงสามปีติด ของหมุนไวขึ้น?
  • ระยะเวลาชำระหนี้ยังได้เครดิตใกล้ๆเดิม
  • Cash cycle ค่อนข้างยาวเกือบ 200 วันเสียวหมุนเงินไม่ทันจริงๆ
  • อัตราหมุนเวียนทรัพย์สินยังใกล้ๆเดิมยังดีที่สินทรัพย์ยังสร้างรายได้ได้อยู่
ดูแล้วเงินสดก็ตึงๆ ตัวปล่อยลูกหนี้การค้าก็โดนยืดหนี้ CFO ก็ติดลบ


3 สามารถอยู่รอดได้ (Stay Solvency)
กำไรก็ไม่มี เงินสดก็ไม่สร้างจะรอดหรือไม่ต้องติดตาม

  • อัตราส่วนสภาพคล่องลดลงเรื่อยๆ และต่ำกว่า 1 แสดงว่าบริษัทมีสินทรัพย์หมุนเวียนน้อยกว่าหนี้สินหมุนเวียนเริ่มเสียว
งบดุล
หนี้สินหมุนเวียนหลักๆก็จะเป็นเงินเบิกเกินบัญชีและกู้ยืม 101.69 ล้าน กำลังนึกอยู่ว่าจะเอาเงินไหนมาจ่ายหนี้ดี
  • อัตราหนี้สินต่อทุนหาค่าไม่ได้เพราะส่วนทุนติดลบ ปีสุดท้ายที่ยังหาค่าได้อยู่คือปี 2555 มีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนอยู่ที่ 9.18 เท่า สูงมากกกก
  • เงินต้นคงไม่มีปัญญา ดูกันว่าจะจ่ายดอกไหวไหม ดูในงบ EBITDA , CFO ติดลบทั้งยวงแสดงว่ากิจการไม่สามารถสร้างเงินสดได้ ดอกเบี้ยงไม่ต้องพูดถึง

การแก้ปัญหา

เมื่อไม่มีเงินก็ต้องหาเงินมาหมุน วันที่ 15 ก.ค. 2556 บริษัทได้ทำการขายทรัพย์สินที่ไม่ได้ใช้งานออกไปสองแปลงได้เงินมา 60 ล้านพอหายใจหายคอหน่อย และทำให้ส่วนทุนไม่ติดลบได้ อนาคตก็ต้องลุ้นกันต่อไป

วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การวิเคราะห์ลูกหนี้การค้าในธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง

ในธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง จะรับรู้รายได้ตาม % งานที่ทำเสร็จ ในงวดนั้นทำเสร็จไปก็ % ก็จะบันทึกรายได้ตามนั้น เมื่อมีรายได้แต่ยังไม่ได้เงินเข้าทางฝั่งสินทรัพย์ก็ต้องลงรายการลูกหนี้การค้าเอาไว้ สำหรับลูกหนี้การค้าในธุรกิจรับเหมาก่อสร้างจะมีสองอย่างครับคือ

  • รายได้ที่ยังไม่ได้เรียกชำระ
  • ลูกหนี้การค้า
ข้อแตกต่างระหว่างสองรายการนี้ก็คือ รายได้ที่ยังไม่ได้เรียกชำระยังไม่ได้ส่งบิลไปเก็บตังค์ ถ้าส่งบิลไปเก็บตังค์แล้วก็จะเลื่อนไปเป็นลูกหนี้การค้า

ดังนั้นถ้าดูไม่ดีอาจทำให้คำนวณระยะเวลาเก็บหนี้ผิด และวิเคราะห์ลูกหนี้การค้าผิดไปคนละทางได้ อย่างในสรุปข้อสนเทศบริษัทจดทะเบียนของ CK  ลงรายการลูกหนี้การค้าไว้ 5,457 ล้านบาท
สินทรัพย์ของ CK
วงจรเงินสดของ CK
คำนวณระยะเวลาเก็บหนี้ออกมาได้เฉลี่ยแค่ 55.93 วันเลขสวย ดูแนวโน้มลดลงด้วย
สินทรัพย์หมุนเวียนของ CK
ถ้ามองลูกหนี้การค้า กับรายได้ที่ไม่ได้เรียกชำระเป็นลูกหนี้การค้าเหมือนกัน ลูกหนี้ใหม่ก็จะเป็น 14,239+5,457=19,696 ลูกหนี้มากกว่าเดิมเกือบ 4 เท่า ให้รายได้ปกติงวด 9 เดือนไม่รวมรายได้พิเศษอื่นๆ อยู่ที่ 25,157.88 ล้าน คำนวณระยะเวลาเก็บหนี้ใหม่ได้เท่ากับ 19696/25157x270 = 211 วัน เทียบกับระยะเวลาเก็บหนี้เดิมที่ 55 วัน ระยะเวลาเก็บหนี้เพิ่มจากเดิมมาเกื่อบ 4 เท่า อัยยะ แสงว่าวงจรเงินสดที่แสดงใน สรุปข้อสนเทศบริษัทจดทะเบียนก็ผิดไปด้วยมิน่าสงสัยตั้งนานว่าทำไมวงจรเงินสดของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างมันก็ติดลบแต่ทำไม่ CFO ไม่เคยเป็นบวกซักทีร้อนเงินตลอด
สินทรัพย์หมุนเวียนของ TPOLY

ของ TPOLY ก็คล้ายๆกันลูกหนี้การค้าดูเหมือนลดลง แต่มูลค่างานที่เสร็จแต่ยังไม่เรียกเก็บเพิ่มรวมๆกันก็ไม่แตกต่าง55

สรุปว่าอยากให้ลูกหนี้การค้าลดลงก็สงบิลช้าๆ มันก็จะบันทึกเป็นมูลค่างานที่ยังไม่เรียกเก็บ

วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ACC (CEI เก่า) จะ turnaround

CEI ทำธุรกิจผลิตและออกแบบพัดลมซึ่งมีโคมไฟประกอบเข้ากับพัดลมเป็นเครื่องตกแต่ง ภายใต้เครื่องหมายการค้า Sunlight, COMPASS EAST และ abc ผลิตภัณฑ์ทุกชนิดได้รับการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยเพื่อสร้างความมั่นใจว่าลูกค้าจะได้รับสินค้าที่ดีและมีคุณภาพสูง

จากงานประชุมผู้ถือหุ้น CEI วันที่ 22 พย สรุปคร่าวๆดังนี้
- ของแจกเป็นพัดลม
- การประชุมห้องไม่สวยเพราะรีบๆ จองไม่ทัน
- มีผู้ถือหุ้นทักท้วงเรื่องอาหารกลางวันก็พาไปเลี้ยงบุฟเฟ่ที่โรงแรมโนโวเทล เยี่ยมเลย
- มีการเปลี่ยนแปลงการถือหุ้นจากคนจีนที่ถือหุ้นอยู่ 51% เหลือเพียง 27% กรรมการบริษัทที่เป็นคนจีนลาออกยกชุด และมีกรรมการชุดใหม่เข้ามาแทน เป็นคนไทย
- ผลประกอบการปีที่แล้วงั้นๆรายได้มาจากดอกเบี้ยเงินฝากซะเป็นส่วนใหญ่ ธุรกิจเดิมทำพัดลมคงลดๆการทำลงไป เพราะขายได้แต่ฝั่งอเมริกาและยุโรป แถบเอเซียขายไม่ออก
- มีการใช้เงิน 360 ล้านบาทไปซื้อกิจการคุ้มขันโตกที่จังหวัดเชียงใหม่
- คุ้มมขันโตกทำธุรกิจร้านอาหารบวกการแสดง คล้ายๆสยามนิรมิตรจัดการแสดงวันละรอบ รองรับได้สูงสุด 800-1000 คน ยอดเฉลี่ยต่อวัน 400-800 คน จุดคุ้มทุนต่อวันประมาณ 300 คน
- ถามยังไงผู้บริหารก็ไม่ยอมตอบเรื่องตัวเลขรายได้ กำไร แต่มีแพลมๆระยะเวลาคืนทุนมาที 5 ปี ก็ผลตอบแทนประมาณ 20% คิดต่อเป็นกำไรต่อปีก็ได้ประมาณ 40-60 ล้านมั้ง
บรรยากาศการประชุมปีนี้จองโรงแรมไม่ทัน

บรรยากาศคุ้มขันโตก

- จากข้อเท๊จจริง ผมเชื่อว่ามีการเปลี่ยนแปลงภายในและเตรียมทำการอะไรบางอย่างรอชมกันต่อไป

UPDATE 20/8/2558

ผ่านมาเกือบสองปี

  • เปลี่ยนโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหญ่
  • ลงทุนพลังงานเริ่มต้นทำ solar rooftop เล็กๆ กับห้น win

UPDATE 30/9/2558

- งบปีออกแล้วมาดูกันว่ามีพัฒนาการอะไรบ้าง
ผลประกอบการขาดทุน 137 ล้านบาท จากปีที่แล้วกำไร 8 ล้านบาท
คำอธิบายผลประกอบการของฝ่ายจัดการ
โดยสรุปก็คือปีนี้ส่นใหญ่ขาดทุนจากการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญลูกหนี้การค้า ดอกเบี้ยค้างรับ และเงินลงทุนระยะยาว รวมๆเป็นเงินกว่า 100 ล้านบาท น่าติดตามว่าขาดทุนจากรายการไหน
งบกำไรขาดทุนของ CEI

รายได้ลด ค่าใช้จ่ายเพิ่ม ต้องตามไปหารายการพิเศษที่งบกระแสเงินสดต่อว่ามีรายการปรับปรุงอะไรบ้าง

รายการที่เป็นขาดทุนพิเศษ จะเป็นยอดบวกกลับ และชื่อรายการดูไม่เป็นปกติเท่าไรนัก เช่นหนี้สงสัยจะสูญ ขายทุนจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าเงินลงทุนชั่วคราวว ด้อยค่าสินทรัพย์ ลดมูลค่าสินค้า ต้องไปดูว่าสินทรัพย์อะไรด้อยค่าขนาดนั้นเป็นรายการชั่วคราวหรือเปล่า

ไปที่หมายเหตประกอบงบต่อ capture ยอดใหญ่ๆ ที่น่าสนใจดังนี้


จากหมายเหต 4 บริษัทให้ CEI เชียงใหม่ที่ทำคุ้มขันโตกกู้ไป 511 ล้าน คาดว่าจะตามไม่ได้ ขาดทุนไปปีนี้ 36 ล้านบาท อัยยะ

แต่รายการนี้ไม่รวมอยู่ในงบการเงินรวมครับ เพราะเป็นรายการระหว่างการ CEI เชียงใหม่ บริษัทลงส่วนทุนไป 1 ล้าน เงินซื้อสินทรัพย์ส่วนที่เหลือ คือเงินกู้ ซึ่งดูเหมือนจะไม่ค่อยยอมจ่ายเงินทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยให้ CEI่ บริษัทแม่ งบเฉพาะซักเท่าไร

ส่วนในงบรวมสินทรัพย์ของ CEI เชียงใหม่จะบันทึกเป้นสินทรัพย์ตามปกติ

ส่วนอันนี้เป็นการตั้งสำรองของธุรกิจเก่า ทั้งทำน้ำดื่มและโรงสี


จากหมายเหต 11 มีขาดทุนบริษัททำน้ำดื่มไป 49 ล้าน ถ้าจำไม่ผิดเป็นธุรกิจตั้งแต่ผู้บริหารเก่า กำลังพยายามขายคืนอยู่แต่ไม่สำเร็จก็ตั้งด้อยค่าไว้ก่อน



เงินต้น 76 ล้านสิ้นปีทีี่แล้วสำรองไว้ 33 ล้าน ปีนี้คิดว่าคงเก็บไม่ได้ตั้งสำรองทั้งจำนวนขาดทุนเต็มๆ

สรุปว่างบปีนี่ล้างบางธุรกิจเก่าไปเต็มๆ มาดูกันว่าจะทำอะไรต่อ

จากหมายเหตุ 31. เหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลารายงาน

  • เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2558 บริษัทได้จำหน่ายเงินลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัท เอซีซี แลนด์มาร์ค จำกัด (“บริษัทย่อย”) ให้กับบริษัท ไพรม แมนชั่น จำกัด จำนวน 0.025 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท รวมเป็นจำนวนเงิน 0.25 ล้านบาท ซึ่งบริษัทจะถือหุ้นคงเหลือสัดส่วนร้อยละ 75 ในบริษัทย่อยดังกล่าว
  • เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2558 บริษัทได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของการลงทุนในโครงการพัฒนาที่ดิน กับบริษัท ไทยลานนา ฟู้ด แอนด์ คัลเชอรัล เซ็นเตอร์ จำกัด (“เจ้าของที่ดิน”) ข้อตกลงมีกำหนดระยะเวลา 6 เดือนนับแต่วันลงนามในบันทึกข้อตกลง ทั้งนี้ บริษัทได้วางเงินเพื่อเป็นหลักประกัน จำนวนเงิน 150 ล้านบาท โดยเจ้าของที่ดินตกลงว่าจะไม่เข้าไปใช้ประโยชน์หรือให้บุคคลอื่นเข้าไปใช้ประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว รวมถึงจะไม่เจรจาเสนอขายที่ดินดังกล่าวให้บุคคลอื่นตลอดระยะเวลาของบันทึกข้อตกลงนี้ หากเจ้าของปฏิบัติผิดข้อตกลงบริษัทมีสิทธิเลิกสัญญาและเรียกเงินประกันคืนพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี
  • เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2558 และวันที่ 10 กันยายน 2558 บริษัทได้ออกตั๋วแลกเงินให้กับบริษัทหลักทรัพย์ 2 แห่ง จำนวนเงินรวม 140 ล้านบาท กำหนดวันที่ครบกำหนดชำระ คือ วันที่ 15 กันยายน 2558 และวันที่ 10 มีนาคม 2559 ตามลำดับ
  • เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2558 บริษัท (“ผู้ซื้อ”) ได้ทำบันทึกข้อตกลงจะซื้อขายหุ้นสามัญของบริษัท บางปะกง โซล่า เพาเวอร์ จำกัด กับบริษัท สวนอุตสาหกรรม วินโคสท์ จำกัด (มหาชน) (“ผู้ขาย”) จำนวน 2.499 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท รวมเป็นจำนวนเงิน 24.99 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนการถือหุ้นร้อยละ 51 ซึ่งประกอบธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาอาคาร

    ทั้งนี้ ผู้ซื้อตกลงจ่ายชำระค่าหุ้น ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้
    - จ่ายชำระค่าหุ้น จำนวนเงิน 9 ล้านบาท ณ วันทำบันทึกข้อตกลง
    - จ่ายชำระค่าหุ้น จำนวนเงิน 8 ล้านบาท ภายในวันที่ 30 กันยายน 2558
    - ส่วนที่เหลือ จำนวนเงิน 7.99 ล้านบาท ผู้ซื้อจะจ่ายชำระเมื่อจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD) และผู้ขายจะโอนกรรมสิทธิ์ในหุ้นสามัญให้แล้วเสร็จภายใน 14 วันนับจากวันที่ได้รับชำระเงินครบทั้งจำนวน
  • บริษัทย่อย

    ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัท เอซีซี แลนด์มาร์ค จำกัด (“บริษัทย่อย”) เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2558 ได้มีมติพิเศษให้เพิ่มทุนจดทะเบียนจากเดิมจำนวนเงิน 1 ล้านบาท เป็นจำนวนเงิน 50 ล้านบาท โดยการออกหุ้นสามัญจำนวน 4.90 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท

    บริษัทย่อยได้ดำเนินการจดทะเบียนการเพิ่มทุนดังกล่าวกับกระทรวงพาณิชย์แล้วเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2558
  • เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2558 บริษัท เอซีซี แลนด์มาร์ค จำกัด (“บริษัทย่อย”) ได้ทำสัญญาซื้อที่ดินเปล่ากับบุคคลอื่น มูลค่าตามสัญญา จำนวนเงิน 50 ล้านบาท เพื่อนำมาพัฒนาโครงการ โดยบริษัทย่อยได้จดจำนองที่ดินดังกล่าว เพื่อเป็นหลักประกันวงเงินกู้ยืมที่ได้รับจากสถาบันการเงินแห่งหนึ่ง นอกจากนี้ เงินกู้ยืมดังกล่าวค้ำประกันโดยบริษัท บริษัท ไพรม แมนชั่น จำกัด และผู้ถือหุ้นของบริษัท ไพรม แมนชั่น จำกัด
ดูจากวันที่หลังรายงาน แล้วบริษัทน่าจะไปทำอสังหาริมทรัพย์ แต่ยังไม่รู้ว่าโครงการอะไร



UPDATE 16/11/2558

ประชุมผู้ถือหุ้น cei
งบสะอาดเพราะตั้งด้อยค่าธุรกิจเก่าไปทั้งหมดตัดขาดทุนเป็นร้อยล้าน
เจ้าของเดิมลาออกและขายหุ้นหมด ตอนนี้เป็นผู้บริหารชุดใหม่หมด
พัดลมยังขายอยู่แต่ไม่ผลิตเอง ใช้วิธีซื้อมาขายไปแทน กำลังเจรจาเข้าโมเดรินเทรด มีโชรูมหน้าซีค่อน โรงงานเก่าปล่อยเช่าที่ไป
คุ้มขันโตกทำแล้วไม่ได้กำไร ก็ปล่อยเช่าแทนค่าเช่าพอๆกับค่าเสื่อม ไม่เหลือกำไร
อสังหาไปทำห้องแถวขายอยู่ที่ชลบุรี 30ห้องขายได้แล้ว8
พลังงานรอลุ้นสิ้นปี ว่าจะได้ใบอนุญาติหรือเปล่า
สรุปคือตอนนี้บริษัทเป็นเหมือนผ้าใบเปล่าๆรอผู้บริหารจะแต่งแต้มสีสัน


UPDATE 1/12/2016


โครงการอสังหาของ ACC ที่สัตหีบ


นั่งรถผ่านโครงการ อสังหา ของ ACC Landmark พอดี สอบถามตามเบอร์โทรได้ความว่า ราคาเฉลี่ยตก 6.5ล้าน/ยูนิต ตัวโครงการมี 30 ยูนิต ทำเลการค้า ครับ

สู้ต่อไป ACC

วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การวิเคราะห์ลูกหนี้การค้า

มีมิตรสหายท่านหนึ่งส่งข้อมความมาถามว่า

"ขอความรู้หน่อยนะคะ คำว่าลูกหนี้การค้า ถ้าเพิ่มขึ้น พร้อมกับยอดขายที่เพิ่มขึ้น อันนี้มีนัยยะสำคัญอะไรที่จะะแสดงถึงบริษัทดีขึ้นหรือแย่ลงมั้ยคะ แล้วอีกกรณีถ้าลูกหนี้การค้าเพิ่ม แต่ยอดขายเท่าเดิม อันนี้มีนัยยะหมายถึงยังงัยค่ะ"

ปกติการทำธุรกิจยอดขายเพิ่มก็ต้องปล่อยลูกหนี้การค้าเพิ่ม วิธีวัดว่าลูกหนี้การค้าของบริษัทเพิ่มในระดับปกติหรือไม่ใหดูที่ ระยะเวลาเก็บหนี้ (= ลูกหนี้การค้า / ยอดขาย x 360 ) ถ้าสม่ำเสมอ และใกล้เคียงกับนโยบายการปล่อยลูกหนี้การค้าก็ถือว่าปกติ
PM รายได้โตทุกปี


ดูระยะเวลาเก็บหนี้ยังใกล้ๆเดิม

ตัวอย่าง PM รายได้โตทุกปี ดูระยะเวลาเก็บหนี้ยังใกล้ๆเดิมผ่าน ถือว่าปกติไม่มีอะไรน่าสงสัย

แต่ถ้าลูกหนี้เพิ่มแต่ยอดขายเท่าเดิมดูระยะเวลาเก็บหนี้จะเพิ่มขึ้น ให้้เข้าไปหมายเหตุประกอบงบดูการแบ่งชั้นหนี้ถ้าลูกหนี้เกินกำหนดเยอะๆก็ให้ระวัง วันดีคืนดีอาจตัดลูกหนี้การค้าเป็นหนี้สูญได้
รายได้ EIC ทรงๆ

ระยะเวลาเก็บหนี้ และระยะเวลาขายสินค้าสูงมาก
EIC รายได้ทรงๆ ทรุดๆ แต่ระยะเวลาเก็บหนี้และระยะเวลาขายสินค้าสูงจุงเบย น่าสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้น
ลูกหนี้การค้าแยกตามอายุลูกหนี้
เข้าไปดูหมายเตุประกอบงบไตรมาศสามปี2556 ข้อ 7.ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น พบว่า ลูกหนี้การค้า 70 ล้านอยู่ในกำหนดชำระแค่ 41 ล้าน คิดเป็น58% ของลูกหนี้รวม ที่เหลือ 42% เป็นหนี้ค้างชำระนะครัส

จะดูเรื่องลูกหนี้การค้าแต่ดันเจอระวะเวลาขายสินค้าที่สูงด้วยก็เข้าไปดูซะหน่อย ตามหมายเหตุประกอบงบข้อ 8.สินค้าคงเหลือ
สินค้าคงเหลือของ EIC
สินค้าคงเหลือส่วนใหญ่เป็นสินค้าสำเร็จรูปเขาอธิบายว่า "บริษัทฯ มีความจำเป็นจะต้องเก็บสำรองสินค้ากึ่งสำเร็จรูปและสินค้าสำเร็จรูปหลากหลายรายการ เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าตามปริมาณการสั่งซื้อของลูกค้ารายสำคัญ เพื่ออำนวยความสะดวกและสร้างความได้เปรียบเกี่ยวกับกำหนดเวลาการส่งมอบรวมทั้งลดต้นทุนในการสั่งซื้อให้กับลูกค้า (One Stop Shop) ซึ่งปัจจัยดังกล่าวมีผลทำให้สินค้าคงเหลือของบริษัทฯ มีจำนวนสูง" ใช้นโยบาย One Stop Shop เล่นซะเราตุนสต็อกหน้าเขียวเลยแต่ลูกค้ายิ้มแก้มปริ

รวมปี 56 สต๊อกของไว้ 366 ล้าน แต่หักค่าเผือลดมูลค่าสินค้าไป 76 ล้าน เหลือ 290 ล้าน ส่วนปี 55 สต็อกของไว้ 346 ล้านหักค่าเผือลดมูลค่าสินค้าไป 59 ล้าน เหลือ 286 ล้าน  แต่ละปีเอาเงินไปทิ้งน้าเล่น 60-70 ล้านผู้ถือหุ้นดีใจตาย555

วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วิธีการทำงบให้เน่า (BIG BATH)

นั่งไล่อ่านงบ ไปเจองบของบริษัท EMC ทำธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ไตรมาศสามมีรายได้แค่ 335 ล้านบ้าทแต่สามารถขาดทุนถึง 1179 ล้านบาท สิ้นวันราคาปิดติดลบไป 20% วิธีการทำงบให้เน่าๆ เขาเรียกว่า BIG BATH ครับ คือคิดว่าอะไรที่จะกลายเป็นขาดทุนในอนาคตให้เอามาไว้ในงวดเดียวกันให้หมด ยอมเจ็บครั้งเดียวแต่จบ(มั้ง) ดูรายละเอียดค่าใช้จ่ายได้ตามภาพ

คำอธิบายผลประกอบการ EMC
จากภาพบริษัทไปรับงานแล้วงานช้า เจ้าของงานเพิ่มงาน บริษัทคิดว่ามีค่าใช่จ่ายเพิ่มจากแผนแน่ๆ ก็บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายตั้งแต่งวดที่รู้ว่ามีค่าใช้จ่ายเพิ่มเลย ไปทำงานให้แล้วเก็บเงินไม่ได้ก็ตั้งสำรองลูกหนี้ ไปโดนเขาฟ้องก็บันทึกตั้งสำรองไว้อีก

ขอดีของการทำ BIG BATH คือรายการด้อยค่าพวกนี้จะบันทึกครั้งเดียว ไตรมาศต่อไปถ้าไม่ทำผิดซ้ำสองก็จะไม่มีรายการนี้อีก ราคานี้ก็เหมือนว่าสะท้อนข่าวร้ายไปหมดแล้ว คนที่อยู่เก่าๆซื้อมาก่อนก็รับเคราะห์ไป ถ้าเรายังไม่มีหุ้นก็ต้องไปวิเคราะห์ต่อไปว่าบริษัทจะมีอนาคตหรือไม่ ราคานี้มี upside หรือเปล่าถ้าคิดว่ามีก็ซื้อ เจริญในการลงทุนทุกท่านครับ

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การลงทุนและอิสรภาพทางการเงินคืออะไร

เราอยู่ในโลกทุนนิยม มีหน้าที่สองอย่างคือทำงานหาเงิน และนำเงินมาลงทุนให้เงินมันทำงาน เพื่อหาผลตอบแทนมาตอบสนองความต้องการไปวันๆ คนเราเกิดมาเข้าโรงเรียนเขาก็สอนแค่ก็เรียนจมมาได้มีความรู้ไปทำงานหาเงิน แต่เรื่องการนำเงินไปลงทุนให้เงินทำงานไม่มีสอนในโรงเรียน (สงสัยกลัวคนรู้เยอะๆแล้วนายทุนจะขาดแรงงาน)

การลงทุนคืออะไร

การวางแผนการเงินในโลกทุนนิยมเราต้องวางแผนว่าจะหาที่มาของเงินจากไหน และจะนำเงินไปใช้อย่างไร

โดยทั่วไปที่มาของคนในโลกของทุนนิยมมีที่มาดังนี้
  • แรงงาน = สมอง + แรง => ค่าแรง
  • ผู้ประกอบการ = สมอง  + ทุน + แรง => ค่าแรง และ กำไร
  • นักลงทุน = สมอง + ทุน  => กำไร
เมื่อมีรายได้ ก็เอาไปใช้จ่ายเหลือก็เอาไปเก็บออม มีเงินออมก็นำไปลงทุน

ตามตำรา การลงทุนก็คือ การที่ยอมสละการบริโภคในปัจจุบัน นำในลงทุน เพราะคาดว่าในอนาคตจะได้รับผลตอบแทนกับมาทำให้ได้รับการบริโภคมากขึ้น สั้นๆแค่นี้แหละ

อิสรภาพทางการเงินคืออะไร

ถ้าคุณตัดสินใจถูกต้องได้รับผลตอบแทนมาตามที่เราคาดไว้ ในอนาคตเราก็จะมีเงินให้บริโภคมากขึ้นตามคาด ถ้าเราทำได้บ่อยๆ ก็จะเกิดการสะสมทุนแล้วมีมั่งคั่งสูงขึ้นเรื่อยๆ ถ้าถึงจุดหนึ่งที่รายได้จากการลงทุนมากกว่ารายจ่ายประจำคุณก็จะมีอิสรภาพทางการเงิน คือไม่อด แต่ไม่ได้หมายความว่าจะมีความสุขนะ คนมีสตางค์ก็มีความทุกข์ในแบบของเขา

ปัจัยกำหนดการตัดสินใจลงทุน

คนเรามีเรื่องให้ตัดสินใจลงทุนทุกวัน แต่ด้วยทรัพยากรที่มีจำกัด ทำให้ผู้บริโภคไม่สามารถเลือกลงทุนในทุกทางเลือกที่ผ่านเข้ามาได้ จะเลือกลงทุนทางหนึ่ง ก็ต้องยอมสละอีกทางหนึ่งเราต้องตัดสินใจในการจัดสรรทรัพยากรว่าทำอย่างไรจึงคุ้มค่าที่สุด

ในทางเศรษฐศาสตร์ การจัดสรรที่มีประสิทธิภาพที่สุดคือจัดทรัพยากรไปในทางเลือกที่มีต้นทุนค่าเสียโอกาสต่ำที่สุด (ผลตอบแทนของทางเลือกที่เรายอมสละไปต่ำที่สุด) เอาภาษามนุษย์ก็คือเลือกทางเลือกที่ให้ผลตอบแทนสูงที่สุดนั่นเอง

ปัจจัยกำหนดการลงทุน
ในการลงทุนนักลงทุนจะมีผลตอบแทนที่คาดหวังอยู่ในใจ เหมือนว่าไม่ทำอะไรอยู่เฉยๆก็ได้รับผลตอบแทนเท่ากับผลตอบแทนที่คาดหวัง คนเราส่วนใหญ่ก็ฝากแบงค์กินดอก อย่างมากก็ 3% ต่อปี

เมื่อโอกาสการลงทุนผ่านมา ก็เหมือนนิทานเรื่องหมาน้อยกับเงา ที่ไปเจอหมาอีกตัวในน้ำที่มันคาบเนื้อชินใหญ่กว่า อาจมีคนมาเสนอว่าลงทุนกับเราสิให้ผลตอบแทน 100% ต่อปี มากกว่าผลตอบแทนที่คาดหวังคือเอาไปฝากแบงค์ 3% ต่อปี ถ้าพิจารณาแล้วเห็นว่าความเสี่ยงไม่สูง (มั้ง) อยู่ในระดับที่รับได้(มั้ง) ก็จะกระโจนใส่เข้าไปซื้อ แล้วก็...

เล่นกับความเสี่ยงอย่างไรไม่ให้เจ็บตัว

ความเสี่ยงเป็นทั้ง อันตราย และ โอกาส ถ้าไม่กล้ายอมรับความเสี่ยงก็ไม่ได้โอกาสที่จะได้รับผลตอบแทน จะเป็นนักลงทุนชีวิตต้องอยู่กับความเสี่ยงให้ได้ เพราะธรรมชาติของทุกสิ่งล้านตกภายใต้กฎไตรลักษณ์คือ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ตามเหตุปัจจัย และไม่อยู่ในอำนาจบังคับของเราได้

เมื่อหนีความเสี่ยงไม่พ้นก็ต้องหาวิธีจัดการมัน เทคนิคจัดการความเสี่ยงที่ดีคือ อย่าโลภเกินความรู้ ยิ่งถ้าเอา “ความโลภ” เข้าไปขยี้รวมกับ “ความรู้ไม่จริง” การลงทุนนั้นๆ ยิ่งน่ากลัวกันไปใหญ่ รู้ครึ่งๆ กลางๆ สร้างความเสียหายมากกว่าไม่รู้อะไรเลยแล้วมั่วๆไปอีก ในเรื่องการลงทุนมีคอร์สและตำรามากมายทั้งฟรีและไม่ฟรีให้ท่านเลือก  TSI ของตลาดหลักทรัพย์ก็ดี, อยากรู้ลึกก็ไปลงสอบ CFA CISA  เรียนรู้ไปเถอะไม่เสียหาย

เมื่อใจพร้อม แนะนำว่าปิดจอแล้วไปเลือกดูศึกษาเปรียบเทียบสินทรัพย์ที่เราสนใจให้เยอะๆ จะทำให้ความรู้พัฒนาเป็นความชำนาญที่สุด ของดีความเสี่ยงต่ำ ผลตอบแทนต่ำนั้นหาง่ายแต่ของดีความเสี่ยงต่ำ ผลตอบแทนสูงๆ ต้องค้นเยอะเปรียบเทียบสินทรัพย์หลายๆตัวถึงจะเจอ

ใจพร้อม ความรู้พร้อม ไม่มีทุนทำอย่างไร

การบอกว่าไม่มีทุนเป็นข้ออ้างครับ การลงทุนหลายอย่างไม่ใช้เงินเยอะอย่างที่คิดครับ อย่างอสังหาแค่เป็นนายหน้าก็รวยสะดือปริ้นและ อยากเป็นเจ้าของธุรกิจไม่มีเงินก็ลงทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์ได้ ตลาดเขาให้ซื้อขั้นต่ำ 100 หุ้น บางบริษัทหุ้นละ 5 บาท ซื้อร้อยหุ้นก็ใช้เงินแค่ 500 บาท

ดังนั้นถ้าอยากรวยอย่างยั่งยื่นก็พยายามรักษาสติ อย่าโลภเกินความรู้ ก็จะสามารถลงทุนให้ผลตอบแทนที่เราพอใจในระดับความเสี่ยงที่รับได้ เจริญในการลงทุนทุกท่านครับ

เงินไม่ทำให้คนเรารวย แต่ ‘ความรู้’ และ ‘วินัยทางการเงินที่ดี’ ต่างหากที่ทำให้คนเรารวยได้

วันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การทำรายการป้องกันความเสี่ยงแบบ Currency Swaps และ Intrest Rate Swaps (IRS)

การทำรายการป้องกันความเสี่ยงแบบ Currency Swaps และ Intrest Rate Swaps (IRS)
ทำความเข้าใจแบบง่ายๆ ให้ดูตามรูป การทำ Currency Swaps อาจเลือกทำแบบ Back-to-Back ก็ได้แต่มีน้อยเพราะมีบริษัทที่มีศักยภาพเช่นนั้นน้อย คือบริษัท A อยากกู้เงินสกุล $ จาก B แต่ B มีบริษัทในเครือที่ประเทศ A อยู่ ก็ให้บริษัทในเครือบริษัทในเครือทำแทน ส่วน A มีบริษัทในเครือที่ B ตั้งอยู่ เมื่อถึงตอนคืนเงิน A ก็ให้บริษัทในเครือที่ B ตั้งอยู่จ่ายคืนเงินกู้ $ แทน จะเห็นว่าบริษัทที่จะทำอย่างนี้ได้ต้องเป็น Miltinational Company ทั้งคู่ บางคนอาจจะงงอยู่ว่าแล้วยังไง อย่าลืมว่า งบ A และ B ต้องทำ consolidation ตอนกู้ในงบก็จะแสดงรายการก็ยืมปกติ ตอนคืนเงินรายการเงินก็หายไปจากงบรวม

Currency Swaps

ในด้านการเงินการทำ currency swaps มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ป้องกันความเสี่ยงด้านมูลค่า สมมติยืมมา 1 MU$ แลกมาเป็นบาทที่ 30 ฿/$ เมื่อถึงตอนคืนอยากคืนที่อัตราเดิม อันนี้คล้ายกับทำ forward หนี้สินก็จะขึ้นลงตามอัตราแลกเปลี่ยน เกิด gain/loss FX นั่นเองแต่เมื่อทำ currency swaps หนี้สินก็จะยังคงขึ้นลงเช่นเดิม แต่จะถูก Balance ด้วยมูลค่ายุติธรรมของ currency swaps และ interest rate swap ถ้าขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนจะมีกำไรจากอนุพันธุ์ชดเชย bottom line จะดีขึ้น

งบแสดงฐานะการเงินของคนกู้เงิน ณ วันกู้
เงินสด 30 MB = เงินกู้ยืม 30 MB
เมื่อสิ้นงวด อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 31 B/$

งบแสดงฐานะการเงินของคนกู้เงิน ณ วันสิ้นงวดเป็น สมมติป้องกันความเสี่ยงได้พอดี
เงินสด 30 MB + ส/ท อนุพันธ์ 1 MB = เงินกู้ยืม 31 MB + กำไรจากอนุพันธ์ 1MB – ขาดทุน FX 1 MB
(จะ offset ได้หมดหรือไม่ขึ้นกับมูลค่ายุติธรรมของ currency swaps)

ในบางประเทศมีตลาด Derivatives ที่ active อาจทีการ trade สัญญาพวกนี้ บางบริษัทก็อาจไป hold position ในตลาดแทนที่จะไปทำกับธนาคารก็ได้
Interest rate swaps

ส่วนกรณี ที่จ่ายดอกเบี้ย โดยไปทำ IRS (Interest rate swaps) ดอกเบี้ยในงบจะเปลี่ยนไปตามอัตราที่เลือกทำ เช่นกู้แบบลอยตัวแต่ทำ IRS จ่ายคงที่ เมื่อถึงตอนจ่าย จ่ายลอยตัวแต่ได้รับส่วนต่างกลับจากสัญญา IRS (เป็นได้ทั้งรับ-จ่าย) ให้กลายเป็นคงที่ และอาจเลือกทำจากคงที่เป็นลอยตัวก็ได้ บางคนอาจอยากถามว่าแล้วเมื่อไรทำอะไรและควรเลือกแบบไหน ในหลักการเงินในเบื้องต้นพิจารณาว่ารูปแบบรายได้บริษัทรายรับถ้าค่อนข้างคงที่หรือประมาณการได้ค่อนข้างชัดเจน เมื่อบริษัทกู้เงินมาจากตลาดเงินมักจะกู้ได้ในอัตราดอกเบี้ยลอยตัว บริษัทไม่ต้องการให้กำไรผันผวนจากอัตราดอกเบี้ย ก็ไปทำ IRS เปลี่ยน Float เป็น Fix หรือกลับกันรายได้บริษัทค่อนข้างผันแปรคามภาวะเงินเฟ้อหรือดอกเบี้ยสูง แต่ตอนไปกู้ได้ดอกเบี้ยแบบคงที่ Fix (ดังภาพตัวอย่าง) ก็ไปทำ IRS เพื่อเปลี่ยนให้ภาพรวมการจ่ายดอกเบี้ยจาก Fix เป็น Float

งบการเงิน ณ วันกู้
เงินสด 1 M$ = เงินกู้ยืม 1M$

เมื่อวันครบกำหนดจ่ายดอกเบี้ยงวดแรก (ตามภาพตัวอย่าง)
ง/ส 1 – จ่าย 0.03 ให้ XYZ + รับจาก BANK 0.001 + ส/ท อนุพันธ์ 0.002 M$ = เงินกู้ 1 งบ I/S –ดอกเบี้ย 0.029 + OCI กำไรจากอนุพันธ์ป้องกันความเสี่ยงจากกระแสเงินสด 0.002
สรุป
ง/ส 0.971 ส/ท อนุพันธ์ 0.002 M = เงินกู้ 1 กำไรสะสม (-0.029) + OCI (0.002)
สมมตว่าให้มูลค่ายุติธรรมของอนุพันธ์ IRS ณ วันสิ้นงวดนั้นเท่ากับ 0.002 M$
จ่ายดอกเบี้ยสุทธิรวม 0.029 = LIBOR +2.5% = 0.4+2.5% = 2.9%

พองวดที่สอง
ง/ส 0.971 – จ่าย 0.03 ให้ XYZ - จ่าย BANK 0.001 = เงินกู้ 1 /ท + น/ส อนุพันธ์ 0.001 M$ กำไรสะสมยกมา -.0027+ งบ I/S –ดอกเบี้ย 0.031 + OCI –ขาดทุนจากอนุพันธ์ป้องกันความเสี่ยงจากกระแสเงินสด 0.003
สรุป
เงินสด 0.94 M = เงินกู้ 1 + น/ส อนุพันธ์ 0.001 + กำไรสะสม (-0.029) + I/S (-0.0310) + OCI (0.002-0.003)
เงินสด 0.94 M = เงินกู้ 1 + น/ส อนุพันธ์ 0.001 + กำไรสะสม (-0.06) + OCI (-0.001)

ตามมาตรฐานการบัญชี การป้องกันความเสี่ยงจากมูลค่ายุติธรรม -ที่เกิดกับรายการที่บันทึกในงบดุล ผลกระทบจะบันทึกในงบกำไรขาดทุนของงวดที่เกิดเกิดจากมูลค่ายุติธรรมที่เปลี่ยนแปลงไป การเปลี่ยนแปลงมูลค่าของอนุพันธ์จะเกิดตรงข้มกับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนของสินทรัพย์หรือหนี้สินชดเชยกันไป หมดหรือไม่ก็อยู่ที่ทำครอบคลุมไว้เท่าไร

ส่วนกรณีที่เป็นการป้องกันความเสี่ยงจากกระแสเงินสด - เกิดจากมูลค่ายุติธรรมที่จะเปลี่ยนแปลงในอนาคตของกระแสเงินสด และกระแสเงินสดนั้นเกี่ยวข้องกับสินทรัพย์หรือหนี้สินที่รับรู้ในงบดล เช่น ดอกเบี้ยจ่ายของหนี้สินแบบอัตราลอยตัว การเปลี่ยนแปลงมูลค่าของอนุพันธ์จะบันทึกในกำไรขาอทุนเบ็ดเสร็จอื่น (ดูตัวอย่างจริงจากงบของ PTTEP จะเห็นการแสดงรายการในงบชัดเจน)
ที่มา https://www.facebook.com/sanpong.limthamrongkul/posts/10201426531723665

วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

กลยุทธ์การลงทุน กรณีเริ่มต้นเงินทุนน้อยๆ

บนโลกนี้คนส่วนใหญ่ก็ไม่ได้รวยมาตั้งแต่เกิดครับ แต่ถึงแม้ว่าจุดเริ่มต้นจะไม่เท่ากัน บางคนแต่เส้นทางที่เลือกเดินเราเลือกได้ครับ สำหรับผมตลาดหุ้นเป็นตลาดแห่งโอกาสครับ เพราะด้วยเงินออมน้อยนิดแต่ไม่กี่พันก็สามารถเป็นเจ้าของโรงไฟฟ้า ร้านกาแฟและอาหารสุดหรูกลางห้างดัง โรงแรมห้าดาวกลางกรุง คอนโดสุดหรูกลางใจเมือง โรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ ฯลฯ แต่เงินน้อยๆจะทำอย่างไรต้องมีกลยุทธ์ครับ ขอนำเสนอบทความ "กลยุทธ์การลงทุน กรณีเริ่มต้นเงินทุนน้อยๆ"  โดยพี่โจ ลูกอีสานเขียนไว้ใน Thaivi [1] ครับมันยอดมาก

ผมมองผ่านภาพใหญ่ 2 ประเด็นคือ ควรจะเพิ่มเงินลงทุนให้มากที่สุด และต้องทำให้เงินลงทุนได้ผลตอบแทนมากที่สุด

1. ควรจะเพิ่มเงินลงทุนให้มากที่สุด

สามารถแยกเป็นภาพย่อยๆได้อีกคือ ควรเพิ่มรายได้ เพิ่มจำนวนเงินให้มากที่สุด และลดรายจ่ายให้มากที่สุด เพื่อเพิ่มเงินออม ที่จะนำมาลงทุน
  • เพิ่มรายได้ ผมมองในแง่คนทั่วไปที่ทำงานกินเงินเดือนไม่สูงมาก การเพิ่มรายได้สามารถทำได้โดยการหารายได้เสริม การย้ายงานใหม่ การเพิ่มความรู้เพื่อเพิ่มค่าจ้าง การแต่งงานที่คู่ชีวิตมีรายได้ด้วย (ถ้าโชคดีได้แฟนรวยจะดีมาก ) การหยิบยืมเงินจากพ่อแม่หรือญาติในระดับที่หากเสียหายก็ไม่ทำให้เดือนร้อนมาก ที่สำคัญไม่ควรกู้เงินที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยเพื่อมาลงทุน เพราะจะมีแรงกดดันจากที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยตลอดเวลา
  •  การลดรายจ่าย รายจ่ายที่หนักที่สุดสำหรับมนุษย์เงินเดือนส่วนใหญ่คือการผ่อนรถ-ผ่อนบ้าน คุณสุวภา ผู้เขียนหนังสือ show me the money เคยพูดไว้ว่าตัวอย่างการใช้เงินที่เลวที่สุดของหนุ่มสาวที่กำลังสร้างอนาคตคือการซื้อรถ  แต่ประเด็นนี้มีการถกเถียงกันพอสมควร หลายท่านอาจจะบอกว่าทั้งบ้านและรถเป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้ หรือต้องใช้ประกอบการทำงาน ซึ่งผมก็เห็นด้วยในบางประเด็น แต่ถ้ามองรอบด้าน เราอาจจะพบว่ามีทางเลือกอื่นๆอีก ที่ทำให้สามารถประหยัดรายจ่ายส่วนนี้ได้ เช่น 
    • แทนที่จะผ่อนบ้าน เราอาจจะอดทนอาศัยอยู่กับพ่อแม่ พี่น้อง ญาติ เพื่อนที่สนิท หรือแม้แต่การเช่าบ้านที่ค่าเช่าไม่สูงมาก เหล่านี้แม้จะไม่สะดวกสบายเท่า แต่สามารถประหยัดทั้งดอกเบี้ยผ่อนและยังสามารถนำเงินต้นไปหาดอกผลจากการลงทุน 
    • แทนที่จะผ่อนรถ เสียทั้งเงินต้นและดอกและยังมีค่าใช้จ่ายน้ำมัน ทางด่วน ซ่อมแซม ค่าประกัน เหล่านี้เป็นเงินจำนวนมากที่เราคาดไม่ถึง เราอาจจะใช้บริการขนส่งสาธารณะ เช่น รถเมล์ รถไฟฟ้า รถแท็กซี่ หรือกระทั่งซื้อรถมือสองที่ราคาถูกกว่ามาก หรือหากยังมีค่าใช้จ่ายสูง ก็อาจจะต้องเปลี่ยนงาน หรือย้ายบ้าน ย้ายที่พักซะเลย ให้ที่ทำงานกับที่พักอยู่ใกล้ๆกันเพื่อประหยัดค่าเดินทาง
    • รายจ่ายอื่นๆที่พอจะประหยัดได้เช่น ค่าใช้จ่ายโทรศัพท์มือถือ ที่เราต้องจ่ายทุกเดือน ถ้าคิดเป็นรายจ่ายทั้งปีเราอาจจะตกใจ ทางเลือกคือ เราอาจะโทรน้อยลง หรือไม่โทรเลย (ไม่โทรไม่ตายซักหน่อย )เปลี่ยนเครื่องนานๆครั้ง ใช้เครื่องถูกๆ 
ข้างต้นที่เขียนมาคงทำได้ไม่ง่ายครับ เพราะรายจ่ายเหล่านี้ คนปกติทั่วไปในสังคมเค้าทำกัน เรียกว่าบินก่อน ผ่อนทีหลัง เอาสบายไว้ก่อน เรื่องอืนค่อยว่ากัน แต่หากเราต้องการที่จะแตกต่างจากคนอืนๆ(อยากรวย  ) เราควรจะทำให้ได้ อาจจะในรูปแบบหรือวิธีที่ต่างกันออกไปตามฐานะ ความจำเป็นของแต่ละคน

ประเด็นแรกการหากเงินมาลงทุนให้มากที่สุด ผมคงไม่เน้นมากครับ แต่จะไปเน้นในประเด็นที่สองคือทำอย่างไรให้เงินลงทุนได้ผลตอบแทนมากที่สุด

2. ทำอย่างไรให้เงินลงทุนได้ผลตอบแทนสูงสุด


ประเด็นนี้เชื่อว่านักลงทุนทุกคนต่างต้องการ และยิ่งหากมีเงินลงทุนไม่มาก การทำผลตอบแทนให้สูงๆยิ่งมีความสำคัญ การมีเงินลงทุนน้อยๆและทำผลตอบแทนในระดับปกติ เช่น 10-15% ต่อปี กว่าที่เงินลงทุนจะเติบโตสมมุติ 1 เท่าตัว อาจใช้เวลา 5-6 ปี ซึ่งอาจจะน่าพอใจหากเปรียบเทียบกับผลตอบแทนกับเงินฝาก แต่อาจจะน้อยไปเมื่อเทียบกับเวลาที่ใช้ในการศึกษาการลงทุน นอกจากนั้นแม้เงินทุนจะเพิ่มขึ้นมาระดับนี้ แต่ด้วยเงินเริ่มต้นที่น้อย กำไรที่ทำได้ก็น้อยไปด้วย  และสุดท้ายจะพาลทำให้นักลงทุนหมดกำลังใจ เพราะดูเหมือนการลงทุนอย่างนี้ทำให้รวยช้า  อาจหันเหไปเก็งกำไร หรือไปเสี่ยงโชคกับการธุรกิจอื่นๆ ที่เห็นว่าจะทำให้รวยเร็วกว่า


การเพิ่มเทคนิค กลยุทธ์เพียงเล็กๆน้อยๆ สำหรับพอร์ตการลงทุนเล็กๆ อาจจะเพิ่มผลตอบแทนได้อย่างน่าพอใจ ที่จริงกลยุทธิ์เหล่านี้เพื่อนๆหลายท่านก็ทราบกันดีจากที่โพสต์มา แต่หากนำมาเรียบเรียงรวมกันเป็นหมวดหมู่ จะเป็นประโชน์กับเพื่อนๆได้พิจารณาเป็นทางเลือกใหม่ครับ :D



กลยุทธ์ที่ผมพอจะคิดออก หรือท่านใดจะเสริม มีดังนี้ครับ



  • 1. การทำการบ้าน(หุ้น) ไม่แน่ใจว่าเป็นกลยุทธ์หรือเปล่า แต่ผมเชื่อว่านี่เป็นการแปรเปลี่ยนจุดอ่อนให้เป็นพลัง-เป็นแรงบันดาลใจที่ชัดเจนที่สุด ยิ่งหากเราพอร์ตเล็กเท่าไหร่ เราก็ควรจะทำการบ้าน ศึกษาหาข้อมูลหุ้นให้มากขึ้นเท่านั้น มีเพียงสิ่งนี้สิ่งเดียวที่เราควบคุมได้โดยตรง ทำให้ทุกเวลา ทุกนาที โดยไม่ขึ้นอยู่กับคนอื่น  หากเราไม่มีความรู้ที่จะหาหุ้น ไม่มีความรู้ด้านบัญชี ด้านการเงิน วิธีทีดีที่สุด  ก็คือต้องไปเรียน หาหนังสือมาอ่าน หากไม่มีเวลา ไม่ค่อยมีเงิน ผมแนะนำให้ลงเรียนที่ม.รามคำแหง บัญชีเบื้องต้น หรือการวิเคราะห์ทางด้านการเงิน ไม่ต้องเสียเวลาไปเรียน ซื้อหนังสือซื้อชีทมาอ่าน ก็เข้าใจได้ครับ
  • 2. ไปหาปลาตรงที่มีปลา เนื่องจากเราตั้งโจทย์ว่าเราต้องการผลตอบแทนสูงๆ ดังนั้นเราก็ต้องหาประเภทของหุ้นที่มีโอกาสให้ผลตอบแทนสูงๆ เสมือนไปหาปลาตรงที่ๆมีปลา ข้อสังเกตุของผมหุ้นที่ให้ผลตอบแทนสูงๆ มักเป็นหุ้นขนาดกลางถึงขนาดเล็ก หุ้นเหล่านี้แม้มีความเสี่ยงทางธุรกิจบ้าง แต่การเพิ่มยอดขายหรือผลกำไรจะทำใด้เร็วกว่าหุ้นมั่นคงขนาดใหญ่มาก ธุรกิจที่มีกำไรเพิ่มขึ้น ราคาหุ้นก็จะเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน   นอกจากนั้นหุ้นเหล่านี้ไม่คอ่ยมีนักวิเคราะห์คอยติดตาม ทำให้โอกาสที่จะเจอหุ้นที่ต่ำกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็นมีสูง

    หลักทรัพย์บางประเภทเช่นวอร์แรนต์ที่นักลงทุนมักหลีกเลี่ยงเพราะมีความเสี่ยงสูง ทั้งที่ในความเป็นจริงวอร์แรนต์เหล่านี้ในอนาคตก็คือหุ้นสามัญนั่นเอง ดังนั้นเราควรใช้บรรทัดฐานในการประเมินมูลค่าวอร์แรนต์ในทำนองเดียวกับที่เราประเมินมูลค่าหุ้น หากมูลค่าวอร์แรนต์ต่ำกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็น ก็ไม่มีเหตุผลที่เราจะหลีกเลี่ยงการลงทุนในวอร์แรนต์ และที่จริงการลงทุนในวอร์แรนต์โดยปกติจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าหุ้นสามัญ เพราะคุณสมบัติจากอัตราทวีผลหรือ Gearing นั่นเอง นักลงทุนที่แสวงหากำไรสูงๆ ไม่ควรมองข้ามการลงทุนในวอร์แรนต์ครับ
  • 3. มองหาตัวเร่งเร้า(ที่รุนแรง) หมายถึงมองหาปัจจัยที่จะเร่งให้กำไรของกิจการเพิ่มสูงขึ้นมาก ซึ่งจะหมายถึงราคาหุ้นที่เพิ่มสูงขึ้นมากด้วย ตัวเร่งในที่นี้อาจจะเป็นอะไรก็ตาม ที่จะทำให้กำไรของกิจการเพิ่มขึ้นทั้งโดยตัวพื้นฐาน เช่น การขยาย ปรับปรุงกำลังการผลิต การขยายตลาด รวมถึงการเจริญเติบโตปกติของกิจการ การกลับตัวของดีมาน-ซัพพลายของอุตสาหกรรม การซื้อกิจการ การเพิ่มปันผล  กำไรพิเศษ นอกจากนั้นยังอาจเป็นตัวเร่งทางปัจจัยจิตวิทยา เช่น การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้น หรือผู้บริหาร การแตกหุ้น การแจกวอร์แรนต์

    หากเปรียบเทียบการลงทุนในหุ้น 2 ตัว ที่มีปัจจัยทางด้านอื่นๆเหมือนๆกันหรือคุณภาพพอๆกัน หุ้นตัวที่มีตัวเร่ง มีแนวโน้มที่จะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า
  • 4. เริ่มต้นลงทุนให้เร็วที่สุด เพราะการที่พอร์ตการลงทุนจะโตมากๆ ต้องอาศัยการทบต้นหรือการนำกำไรไปลงทุนต่อ ดังนั้นในปีหลังๆพอร์ตการลงทุนจะเพิ่มขึ้นเร็วมากเพราะเงินต้นมากกว่า แม้จะทำผลตอบแทนได้เท่าเดิม  การลงทุนให้เร็วที่สุด จะทำให้เราไปถึงจุดที่เงินลงทุนออกดอกออกผลได้เร็ว นอกจากนั้น การที่เราเริ่มลงทุนเร็ว เท่ากับว่าเราได้เริ่มเรียนรู้เร็วไปด้วย ซึ่งความรู้จะพอกพูนไปตามวันเวลา และประสบการณ์ที่เพิ่มขึ้น

    เคยมีผลการวิจัยศึกษา พบว่านักลงทุนที่เริ่มต้นลงทุนด้วยเงินเท่าๆกัน ทำผลตอบแทนได้เท่าๆกัน ต่างกันตรงที่เริ่มลงทุนห่างกันหลายปี เมื่อเวลาผ่านไป ผลตอบแทนของทั้งสองคนจะห่างออกจากกันมากขึ้น เสมือนเส้น 2 เส้นที่ลากออกจากจุดเดียวกัน เส้นทั้ง 2 ทำมุมกันเพียงเล็กน้อย ถ้าลากเส้นยาวขึ้นเรื่อยๆ เส้นทั้งสองจะออกห่างกันมากขึ้นทุกที
  • 5. ผู้บริหารในฝัน เพราะผู้บริหารที่ดีจะทำให้ผู้ถือหุ้นได้รับผลตอบแทนมากกว่าปกติ ผู้บริหารที่นักลงทุนควรมองหาคือ มีความรู้ซึ้งในธุรกิจที่ทำ มีความซื่อสัตย์ มีความโปร่งใสในการเปิดเผยข้อมูล  มี passtion ในงานที่ทำ มีความกระหายที่จะทำให้บริษัทเติบโตและที่สำคัญต้องมองผลประโยชน์ในมุมมองเดียวกับผู้ถือหุ้นรายย่อย

    ถ้าเจอผู้บริหารที่มีคุณสมบัติข้างต้น ช่วยสะกิดบอกผมด้วย เพราะนี่เป็นสัญญานที่ดีที่จะเจอหุ้นดีๆ การศึกษาปัจจัยพื้นฐานด้านอื่นๆประกอบเป็นสิ่งจำเป็นก่อนที่เราจะตัดสินใจลงทุนต่อไป

    (เทคนิคไม่ยากที่เราอาจจะพบผู้บริหารอย่างนี้ สังเกตุจากบริษัทที่เข้าร่วมงาน oppurtunity day บ่อยๆ เพราะนั่นแสดงว่าผู้บริหารบริษัทเหล่านี้ กล้าที่จะเปิดเผยต่อนักลงทุนรายย่อย แสดงว่าผู้บริหารอาจจะมั่นใจว่าบริษัทดีจริง)
  • 6. ถือหุ้นน้อยตัว หากเรามีเงินทุนน้อย การกระจายการถือหุ้นหลายๆตัว อาจทำให้เรารู้สึกปลอดภัยมากขึ้น แต่ผลตอบแทนที่ได้จะหักล้างกันทำให้ผลตอบแทนไม่สูงเท่าที่ควร การเลือกที่จะถือหุ้นน้อยตัวเช่น 2-5 ตัว จะทำให้เรามีความรอบคอบ พิถีพิถันที่จะเลือกถือหุ้นในกลุ่มที่ดีที่สุด ให้ผลตอบแทนสูงที่สุด (ภายใต้ความเสี่ยงที่รับได้) และหากเราวิเคราะห์ได้ถูกต้อง ผลตอบแทนที่ได้รับจะคุ้มค่า

    ตัวเลข 2-5 ตัวอาจจะปรับเปลี่ยนได้ตามระดับความมั่นใจในพื้นฐานของหุ้นที่เราจะลงทุน
  • 7. คาดหวังผลลัพธ์ 100% เลือกลงทุนในหุ้นที่มีโอกาสได้กำไรสูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับความเสี่ยง แม้หุ้นเหล่านี้อาจจะมีความไม่แน่นอนอยู่บ้าง แต่เป็นหน้าที่ของนักลงทุนที่จะศึกษาให้มากที่สุด เพื่อลดความเสี่ยงนี้ แน่นอนว่าในการลงทุนทุกอย่าง เราไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงความเสี่ยงได้ หากเราลงทุนในหุ้นที่แพ้ เราจะแพ้ หากเราเลือกลงทุนในหุ้นที่มีโอกาสทั้งชนะและแพ้ เราจะมีโอกาสทั้งชนะและแพ้ ขึ้นอยู่กับว่าเราศึกษามากน้อยแค่ไหน และบางทีก็เป็น โชคชะตา..
  • 8. Growth always better ถ้าหากหลายท่านจำกันได้ กระทู้ของคุณริวกะเมื่อไม่นานมานี้ TVI Index ที่จริงอาจจะมีเพื่อนๆเอะใจว่า คำตอบการลงทุนที่เราค้นหามานาน อาจจะซ่อนอยู่ในกระทู้ที่ว่านี้ก็ได้ คำตอบที่ผมหมายถึงคือหากเราดูผลตอบแทนย้อนหลังของหุ้นหลายๆตัวที่ทำกำไรสูงๆ ในกระทู้นั้น สิ่งที่เหมือนกันอยู่อย่างหนึ่งคือ ทุกบริษัทเป็นหุ้นเติบโตสูงหรือ growth stock ทั้งสิ้น คำอธิบายแบบเรียบง่ายคือราคาหุ้นขึ้นอยู่กับกำไรที่กิจการทำได้ ถ้ากำไรเพิ่ม ราคาหุ้นก็เพิ่ม คนที่ถือไว้ก็ได้กำไร นักลงทุนทั่วโลกที่ประสบความสำเร็จทั้งในอดีตและปัจจุบัน จะมีหุ้นเติบโตสูงอยู่ในพอร์ตเสมอๆ  ...เวลาจะเป็นเพื่อนที่ดีเสมอ หากเราลงทุนในหุ้นโกรท...
กลยุทธ์สำหรับนักลงทุนเบี้ยน้อยหอยน้อย คงมีแค่นี้ครับเท่าที่คิดออก :lol:  ถ้าเพื่อนๆมีความเห็นอื่นจะเสริมก็จะเป็นประโยชน์ครับ และที่ต้องขอย้ำคือกลยุทธ์ส่วนใหญ่ คงเหมาะสมกับนักลงทุนที่มีความรู้การลงทุนในระดับนึงแล้ว และจะไม่เหมาะกับนักลงทุนมือใหม่ ถ้าถามว่ากลยุทธ์ข้อไหนที่สำคัญและจำเป็นที่สุดคงเป็นข้อแรก ถ้าไม่มีข้อแรก ประเด็นอื่นๆก็จะไม่ตามมา

ผมและเพื่อนท่านอื่นๆอาจจะเป็นผู้ชี้ทางเท่านั้น แต่นักลงทุนต้องเดินทางด้วยตัวเองครับ ระหว่างทางอาจจะมีความยากลำบาก มีอุปสรรค มีเพียงทัศนคติที่ถูกต้อง ความตั้งใจ และกำลังใจ จะทำให้เราไปถึงจุดหมายครับ มีบทกวีบทหนึ่ง นำมาฝากเป็นกำลังใจด้วยครับ


เมื่อเริ่มสู้นั้น มันมืดยิ่งกว่ามืด...
ครั้นยืนหยัดยาวยืด มืดค่อยหาย...
พอมองเห็นรางราง อยู่ทางปลาย...
ชัยชนะ ขั้นสุดท้าย ไม่เกินรอ...
ที่มา
[1]http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=35&t=26058

วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

แนวทางวิเคราะห์หุ้นบริษัทประกันชีวิต

ธุรกิจประกันชีวิตเขาว่ากำลังเติบโตในเมืองไทย แต่ปัญหาคือมันวิเคราะห์ยากครับสินค้าเขาจับต้องไม่ได้เล่นกับความเสี่ยงอย่างเดี๋ยว ใครยังไม่รู้วิเคราะห์อย่างไร วันนี้ของเจอบทความของ อ.สรรพงษ์ [1] ที่ได้รวบรวมจากแหล่งต่างๆ ทั้งตัดทอนและเสริมในที่ส่วนที่วิเคราะห์เพิ่มเติมในมุมที่ขาดให้สมบูรณ์ตามหลักวิชาการ มันยอดมาก เชิญอ่านโดยพลัน

1. ธุรกิจประกันชีวิตในปัจจุบันมีทั้งสิ้น 25 บริษัท (ณ กย. 56) จดทะเบียนใน ตลาดหุ้นมีแค่ 2 ตัวคือ SCBLIF และ BLA ซึ่งในภาพรวมทั้งอุตสาหกรรม เบี้ยประกันชีวิตรับรวม 12 เดือน ตั้งแต่มกราคม-ธันวาคม 2555 มีทั้งสิ้น 391,358.01 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนในระยะเวลาเดียวกันคิดเป็นร้อยละ 19.1 บริษัทประกันชีวิตที่มีเบี้ยประกันชีวิตรับรวมสูงสุด 10 อันดับแรก คือ

  • อันดับที่ 1 บจ.เอ.ไอ.เอ. จำนวน 103,023.22 ล้านบาท ซึ่งมีสัดส่วนการตลาดร้อยละ 26.32 
  • อันดับที่ 2 บมจ.เมืองไทยประกันชีวิต 48,867.79 ล้านบาท ส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 12.49 
  • อันดับที่ 3 บมจ.ไทยประกันชีวิต 48,846.8 ล้านบาทส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 12.48 
  • อันดับที่ 4 บมจ.ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต 41,909.44 ล้านบาท ส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 10.71 
  • อันดับที่ 5 บมจ.กรุงเทพประกันชีวิต 34,640.2 ล้านบาท ส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 8.85 
  • อันดับ 6 บมจ.กรุงไทยแอกซ่าประกันชีวิต 28,923.66 ล้านบาท ส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 7.39 
  • อันดับ 7 บมจ.อลิอันซ์อยุธยาประกันชีวิต 22,689.61 ล้านบาท ส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 5.8 
  • อันดับ 8 บมจ.ไทยสมุทรประกันชีวิต 14,800.92 ล้านบาท ส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 3.78 
  • อันดับ 9 บมจ.ไอเอ็นจีประกันชีวิต 11,401.12 ล้านบาท ส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 2.91 
  • และอันดับ 10 บมจ.ธนชาต ประกันชีวิต 10,148.37 ล้านบาท


2. ธุรกิจประกันชีวิตนั้นโดยธรรมชาติแล้วถ้าพิจารณาให้ดี จะเติบโตโดยอาศัยเงินจากผู้เอาประกันมาลงทุนนั่นเอง โดยสุดท้ายแล้วต้องคืนพร้อมดอกผล (จึงต้องมีการตั้งสำรองประกันชีวิตในด้านหนี้สินไงครับ) โดยทาวไป มี ROI ราวๆ 5-6% หรืออาจจะน้อยกว่าด้วย หลายคนคงถามว่าแล้ว จะคุ้มหรือ ลองมาพิจารณาตุ๊กตาง่ายดูว่า สมมติว่า

  • - ถ้ามีเงิน 1 ล้านบาท ถ้าลงทุนเองต้องการผลตอบแทน 20% ต่อปี สิ้นปีจะได้รวม (เงินต้น+ดอกเบี้ย) 1.2 ล้านบาท
  • - ถ้าในเงิน 1 ล้านบาท ยืมคนอื่นมาลงทุนเพิ่มอีก 99 ล้านบาท รวมเป็น 100 ล้านบาท คนให้เงินมาลงทุนบอกว่าคิดดอกเบี้ย 4% นะ เอาเงิน 100 ล้านบาท ไปซื้อพันธบัตร หรืออะไรก็ตามได้ผลตอบแทน 5% โดยให้มีความเสี่ยงต่ำเพื่อมั่นใจจะมีเงินต้นคืน ซึ่ง 5% ของ 100 ล้านบาท ก็คือ 5 ล้านบาท แต่เนื่อจากสัญยาว่าจะต้องคืน 99 ล้านบาทรวมกับดอกเบี้ย 4% คือ 3.96 ล้านบาท

สิ้นปีมีเงิน 105 ล้านบาทจากการลงทุน ต้องคืนเงินรวมดอกเบี้ย 99+3.96 = 102.96 ล้านบาท เมื่อนำมาหักออกจากเงินที่ได้มารวม 105 ล้านบาทจะเหลือ 105 – 102.96 = 2.04 ล้านบาท จะเห็นว่าเมื่อเทียบกับลงทุนเองในตอนแรกจะได้ผลตอบแทนสูงกว่า 2.04 – 1.2 ล้านบาท = 840,000 บาท หรือได้ผลตอบแทนมากกว่า 20% นี่ขนาดปีเดียวนะครับ

3. ธุรกิจประกันชีวิตเมื่อลูกค้าซื้อแล้วต้องจ่ายเบี้ยต่อเนื่อง เพราะถ้าจ่ายไม่ครบเสียผลประโยชน์ เอาคืนก่อนเสียผลประโยชน์
ในแง่คนทำประกันนอกจากได้ผลประโยชน์และความคุ้มครอง ในด้านภาษีก็ได้ผลประโยชน์ทางภาษี เป็นทางเลือกสำหรับคนออมระยะยาวแบบความเสี่ยงต่ำ

4. ธุรกิจประกันชีวิตโดยหลักแล้ว ไม่ต้องลงทุนอะไรเพิ่มมาก อาศัยความน่าเชื่อถือ ทั้งในตัวบริษัท ตัวแทน (บุคคล) เดี๋ยวนี้ก็อาศัยช่องทาง Banksurrance (ผ่านธนาคาร) จึงเห็นว่างบการเงินของธุรกิจนี้จึงเป็นเงินลงทุนในหลักทรัพย์ล้วนๆเสียส่วนมาก และเน้นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล

5. ไม่มีหนี้สิน ไม่ต้องกู้ หนี้สินหลักๆมีแต่เงินที่ต้องคืนผู้ถือกรมธรรม์ ก็คือสำรองประกันชีวิต โอกาสเจ๊งน้อยมากๆ เพราะอายุขัยคนยาวขึ้น (เว้นแต่คนตายเป็นเบือจริงๆ แต่ต้องเป็นคนที่ทำประกัน) บริษัทประกันชีวิตจึงไม่นิยมรับคนที่มีโอกาสตายเร็ว ทำให้ไม่ต้องสนใจหนี้สินมาก ดังนั้นในแง่การวิเคราะห์จึงไม่สนในเรื่อง D/E เท่าไร

6. สำหรับในประเทศไทยตลาดประกันชีวิตยังมีโอกาสในการเติบโตอีกมาก ปัจจุบันประกันชีวิตมีอัตราถือครองหรือ penetration rate อยู่ที่ 28% เทียบกับประเทศที่เจริญแล้วเค้าถือกันเกือบ 100% หรือบางที่อย่างญี่ปุ่นถือกันเกือบ 300%
แต่ทั้งนี้แม้ดูเหมือนว่าจะมี room อีกมากแต่ก็ต้องพิจารณา GDP per capita ด้วยเพราะประกันคือฃอการออม ที่คนจะมีกำลังออมได้เมื่อมีรายได้เพียงพอ เพราะคนจนยังมีอีกมากจึงไม่แน่ว่า จะมี roomได้มากหรือไม่ ดังนั้นธุรกิจนี้จึงเติบโตไปได้ดีเมื่อเศรษฐกิจเติบโตต่อเนื่องและประชาชนมีความรู้เรื่องประกันชีวิต

7.การดู FYP(first year premium) = เบี้ยรับปีแรก ซึ่งจะบ่งถึงการเจริญเติบโต ซึ่งควรจะโตทุกปี ข้อมูลเหล่านี้สามารถหาได้จากสมาคมประกันชีวิต จะเปิดเผยดีกว่าการดูตจากงบการเงิน ต่อมาคือดู RYP(renewal year premium) = เบี้ยต่อ คือเอา TP (Total premium) ของปีก่อน หักเบี้ยจ่ายครั้งเดียว (single premium) คูณอัตราคงอยู่ของกรมธรรม์ (เช่นเดียวกันสามารถหาได้จากสมาคมประกันชีวิต

TP (Total premium) = เบี้ยรับรวม คือ FYP + RYP 
ไม่ควรดูเพียง TP เพราะมันควรจะโตทุกปีอยุ่แล้วเนื่องจากมีการชำระเบี้ยประกันต่อเนื่อง ไม่ควรเอา TP มาวัดการเติบโตของธุรกิจ (ถ้า TP ไม่เติบโต แสดงว่า FYP = ส่วนต่างของ TP ปีก่อนลบ RYP ปีนี้ ซึ่ง แสดงว่าไม่มีลูกค้าใหม่หรือลูกค้าเดิมทิ้งประกันมากขึ้นอัตราคงอยู่ของกรมธรรม์ลดลงนั่นเอง

การประกันชีวิต มีรูปแบบประกัน 2 แบบคือ Endowment และNon- endowment

  • ประกันชีวิตแบบ endowment ก็คือแบบสะสมทรัพย์ที่นิยมขายกันอญู่ทั่วไป ประกันแบบนี้ต้องตั้งสำรองประกันชีวิตเพื่อคืนหลังการหมดอายุกรมธรรม์
  • ประกันชีวิตแบบ Non-endowment คือแบบไม่สะสมทรัพย์ ไม่ต้องจ่ายเงินคืนจ่ายแต่ค่าสินไหมทดแทน คล้ายๆกับประกันวินาศภัย จึงมีแต่สำรองค่าสินไหมทดแทนและค่าสินไหมทดแทนค้างจ่าย

ซึ่งถ้าบริษัทไหนขายแบบ endowment มาก แม้รายได้จะสูงในช่วงแรก แต่กำไรในอนาคตปีหลังๆมันจะต่ำครับ(เพราะเงินจ่ายคืนตามกรมธรรม์จะสูงขึ้นมาก) เพราะได้มาก็ต้องคืนเค้าไป

การประกันชีวิตจึงต้องแยกเป็นสองแบบคือประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์หรือเพื่อการออม (ที่พ่วงการคุ้มครอง) กับการประกันชีวิตแบบคุ้มครองอย่างเดียวไม่มีการออม ที่ภาษาประกันเรียกว่า PA คือคุ้มครองอุบัติเหตุ ประกันแบบนี้เหมือนวินาศภัยคือจ่ายชดเชยให่เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ถ้าตายจ่ายเต็ม ไม่ตายก็จ่ายชดเชยให้ตามสัญญา แขนหัก นอนโรงพยาบาล นิ้วขาด แขนขาด ทุพลภาพ ถ้าอยู่ในช่วงสัญญาจ่ายให้ ถ้าหมออายุสัญญาก็เลิกเหมือนวินาศภัย มักคุ้มครองปีต่อปี มีบ้างที่คุ้มครองสามปีห้าปี และแบบใหม่เพิ่มมาคือประกันสุขภาพ (PH) แบบนี้คุ้มครองเรื่องเจ็บป่วย เช่น มะเร็ง โรคหัวใจ ความดันโลหิต ถ้าเข้าโรงพยาบาลหรือไปรักษาเพราะป่วยไข้ บริษัทประกันก็จะจ่ายชดเชยให้

ปัจจุบันธุรกิจประกันชีวิตจะเน้นด้าน Non-endowment คือแบบไม่สะสมทรัพย์ มากขึ้น ในงบแสดงฐานะการเงินด้านหนี้สินจะเห็นสำรองค่าสินไหมทดแทนและค่าสินไหมทดแทนค้างจ่ายมีสัดส่วนมากขึ้น

8. ROI และ ROA ธุรกิจประกันชีวิตไม่สูงมาก ราว 5-6% (หรือบางบริษัทอาจจะน้อยกว่านั้น) ส่วนมากลงทุนในพันธบัตร (ระยะยาว) และตราสารหนี้รวมๆกันกว่า 80-90% ที่เหลือกระจายเป็นหุ้น เงินลงทุนระยะสั้น ส่วนน้อยมากๆก็จะเป็นเงินให้กู้ยืม (ปล่อยกู้สินเชื่อบ้าน)

9. ธุรกิจประกันชีวิตเปรียบเทียบธุรกิจเหมือนเขื่อนเก็บน้ำ แล้วน้ำที่ปล่อยออกจากเขื่อนคือเงินกำไรให้ผู้ถือหุ้น ถ้าบริษัทเลือกเก็บน้ำไว้ในปีแรกๆ ไม่ปล่อยน้ำออก น้ำในเขื่อนก็จะเต็มเร็ว เขื่อนกักน้ำก็คือการตั้งสำรองประกันชีวิต ถ้าตั้งสูงมากๆในช่วงแรกๆ ผู้ถือหุ้นก็จะไม่ได้อะไร แต่ปีต่อๆ มาเมื่อน้ำเต็มก็ต้องปล่อยออกมา เพราะ ไม่มีจำเป็นต้องสำรองแล้ว ซึ่งบริษัทประกันชีวิตในไทยส่วนใหญ่จะเป็นแบบนื้ เพราะอัตราการมีชีวิตยังไม่มาก เมื่ออัตราการมีชีวิตยาวขึ้นอัตรการตั้งจะลดลง

10. บริษัทประกันชีวิตทั่วไปมีสินค้าเป็น Active Life Reserve ซึ่งระยะจ่ายเบี้ยสั้นกว่าระยะเวลาคุ้มครอง ดังนั้น การตั้งสำรองจะมีการคิดเผื่อไว้สำหรับปีที่จะไม่มีเบี้ยจ่ายเข้ามา ดังนั้น จะนำ Loss Ratio มาคำนวณความสามารถของบริษัทไม่ได้เลย ต้องเข้าใจ Reserve Pattern ของบริษัทเสียก่อน บริษัทประกันชีวิตจึงไม่ควรใช้ Loss Ratio แบบประกันวินาศภัยมาใช้ (Loss Ratio = ค่าใช้จ่ายค่าสินไหมทดแทนและผลประโยชน์ต่างๆหารเบี้ยประกันรับสุทธิ)

11. เบี้ยรับในแต่ละปีก็มีความสำคัญไม่มากต่อกำไรของบริษัท เพราะสามารถเร่งเบี้ยได้ไม่ยาก แค่ออกสินค้าที่มี Margin น้อยขายง่ายๆ ขายได้ (เบี้ยประกันต่ำๆ) ขายได้เยอะแต่กำไรน้อย แค่นี้เบี้ยก็พุ่งแล้ว เป็นการทำในเชิงสัญลักษณ์มากกว่าว่ามี Market share เพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงต้องดูคุณภาพของเบี้ยว่าสินค้านั้นๆ มี Profit Margin เท่าไรโดยดูจากกำไรจากการรับประกันภัยหารเบี้ยประกันภัยรับสุทธิ

12. การประเมินมูลค่าของบริษัทชีวิตจึงต้องใช้ค่า Embedded Value + Value of New Business (ซึ่งค่าต่างๆ นี้คงต้องถามจากบริษัทอย่างเดียว คำนวณจากงบไม่ได้เลย) ซึ่งในแง่ของการวิเคราะห์เป็นปัญหาหลักทีเดียว คนที่จะลงทุนในธุรกิจประกันชีวิตต้องแยกให้ชัดเจนก่อนว่า การหา มูลค่าธุรกิจ โดยดู EB + VoNB กับการวิเคราะห์งบการเงินโดยดูอัตราสาวนต่างๆ ไม่ใช่เรื่องเดียวกัน ราคาหุ้นที่เท่ากับหรือใกล้เคียงกับ EB+VoNB อาจไม่ใช่หุ้นที่น่าซื้อเสมอ การเลือกหุ้นไม่ใช่การดูราคา แต่เป็นการเลือกเมล็ดพันธุ์ เราต้องหาเมล็ดพันธุ์ที่ดีก่อน แล้วจึงมาดูเรื่องราคา ไม่ควรดูจากราคาโดยไม่สนใจคุณภาพเมล็ดพันธุ์ (หุ้น)

13. Embedded Value ประกอบด้วยสองส่วน คือ

  1. 1. Value of In-force Business (เงินสดหรือเบี้ยปีต่อที่บริษัทจะรับเข้ามาในอนาคต โดยไม่รวมกับเบี้ยที่ขายใหม่ แล้วคิดเป็น Present Value) บวกกับ 
  2. 2. Adjusted net worth (ส่วนต่างระหว่างมูลค่าตลาดของทรัพย์สินของบริษัท ลบกับ ภาระผูกพันต่างๆ ของบริษัททั้งหมด) สรุป Embedded Value (EV) = Net Asset Value (NAV) + Value In Force (VIF) ย้ำอีกทีว่าเลขพวกนี้เราไม่มีปัญญาคิดครับ ต้องดูว่าบริษัทเปิดเผยเท่าไร ปีละครั้ง


14. Value of New Business คือ กำไรของสินค้าใหม่ที่ขายในปีนั้นแล้วคิดแบบ Cash Flow projection แล้วคิดย้อนกลับมากเป็น Present Value

15. ประกันชีวิต ควรดูอะไรบ้าง

  • 1. Earning Smooth หรอไม่ (เกี่ยวกับวิธีการตั้งสำรองและการจ่ายคืนทุนประกัน)
  • 2. Growth of VoNB
  • 3. SWOT
  • 4. Distribution Channel
  • 5. Asset Liability Management
  • 6. อัตราเติบโตเบี้ยรับ FYP
  • 7. บริษัทเก่งประกันอะไร
  • 8. Net Premium Margin



ที่มา
[1]https://www.facebook.com/sanpong.limthamrongkul/posts/10201392493192723

วันศุกร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

คณิตศาสตร์การเงิน การเทียบบัญญัติไตรยางค์

ในเรื่องการเงินและการลงทุนวิชาคณิตศาสตร์เป็นเรื่องสำคัญครับ โชคดีที่เรื่องหุ้นให้แค่คณิตศาสตร์ ป 4 ครับแต่บางคนพื้นฐานคณิตศาสตร์ ป4 ไม่แน่นทำให้งงๆ เวลาอ่านหนังสือวิชาการลงทุนหลายเรื่อง วันนี้ขอนำเรื่องบัญญัติไตรยางค์มาให้อ่านกันครับ

คำว่า บัญญัติไตรยางค์ แปลง่าย ๆว่า เขียน 3 บรรทัด เปนเรื่องเกี่ยวกับข้อมูลหรือสิ่งของสองกลุ่ม ที่มันอาจมีสัมพันธ์ไปทิศทางเดียวกันหรือผกผันกันก็ได้ หลัการคือเราเที่ยบความสัมพันธ์ให้เป็น 1 หน่วยก่อน แล้วค่อยแปลงเป็นค่าที่ต้องการ เพื่อให้หายงง ก็มาดูตัวอย่างกันเลย

1 หุ้น TPOLY ซื้อมาราคา 2.8 บาท ปี 2557 ได้รับปันผล 0.2 บาท คิดเป็นผลตอบแทนร้อยละเท่าไร

  • ลงทุน 2.8 บาท ได้ปันผล 0.2 บาท
  • ลงทุน 1 บาท ได้ปันผล 0.2/2.8 =0.071 บาท
  • ลงทุน 100 บาท ได้ปันผล 0.071x100 = 7.1 บาท

2 ซื้อ KTC ที่ 35 บาท ขายออกไปที่ราคา 40 ได้กำไรร้อยละเท่าไร
  • ซื้อที่ราคา 35 ขายที่ 40 ได้กำไร 40-35=5 บาท
  • ซื้อที่ 1 บาท ได้กำไร 5/35 = 0.14 บาท
  • ซื้อ 100 บาท ได้กำไร 0.14 x 100 = 14
สูตรลัดจำง่ายๆว่า ถ้าเราอยากรู้ผลตอบแทน จำง่ายๆว่า (ราคาขาย - ราคาซื้อ)/ราคาซื้อ x 100 ก็จะได้คำตอบ


3 บริษัท GRAND คาดว่าปี 2557 จะมีรายได้จากการโอน HYDE คอนโดมิเนี่ยม 4000 ล้านบาท ถ้าบริษัทนี้มีอัตรากำไร 15% จงหากำไรสุทธิ
  • ยอดขาย 100 บาท มีกำไร 15 บาท
  • ยอดขาย 1 บาท มีกำไร 15/100 = 0.15
  • ยอดขาย 4000 ล้านบาท จะมีกำไร 0.15 x 4000 = 600 ล้านบาท
สูตรลัด ถ้าต้องการรู้ว่า xxx% ของ YYY มีค่าเท่าไร ก็เอา xxx/100 มาคูณได้เลย อย่างข้อนี้ 15% ของยอดขายก็เอา 15/100 = 0.15 มาคูณ

4 บริษัท AKR ปี 2556 มียอดขาย 2300 ล้านผู้บริหารตั้งเป้าเติบโต 20% ปี 2557 จะมียอดขายเท่าไร

  • ยอดขายปีที่แล้ว 100 บาท สิ้นปีจะมียอดขาย 100+20=120 บาท
  • ยอดขายปีที่แล้ว 1 บาท สิ้นปีจะมียอดขาย 120/100 = 1.2 บาท
  • ยอดขายปีที่แล้ว 2300 ล้านบาท สิ้นปีจะมียอดขาย 1.2 x 2300 = 2760 ล้านบาท
สูตรลัด ถ้าอยากรู้ว่าบวกเพิ่ม xxx% ก็ให้เอา 1.xxx มาจับคูณได้เลย จากโจทย์บวกเพิ่ม 20% ก็เอา 1.2 มาคูณ

5 หุ้น CI คำนวณทางโหราศาสตร์ไทเทเนี่ยม ได้ราคาเป้าหมายที่ 4 บาท ถ้านักลงทุนท่านนี้ต้องการ ส่วนเผื่อความปลอดภัย (MOS) จากราคาเป้าหมาย 30% นักลงทุนท่านนี้ควรซื้อหุ้นที่ราคาเท่าไร
  • ราคาเป้าหมาย 100 บาท ซื้อที่ราคาส่วนลดร้อยละ 30 จะซื้อที่ราคา 100 -30=70 บาท
  • ราคาเป้าหมาย 1 บาท จะซื้อที่ราคา 70/100 = 0.7
  • ราคาเป้าหมาย 4 บาทจะซื้อที่ราคา 4 x 0.7 = 2.8 บาท ลงไป
สูตรลัด ถ้าอยากรู้ว่าลดลง xxx% จะมีค่าเท่าไร ก็ใช้สูตร (1- (xxx/100)) มาคูณได้เลย จากโจทย์บอกว่าลดลง 30% ก็เอา 1-(30/100) = 1-0.3 = 0.7 มาคูณ

6 หุ้น JAS ทำมาหากิน 3 ไตรมาศ มีกำไรต่อหุ้น 0.31 บาท ทั้งปีจะมีกำไรเท่าไร 
  • ทำมาหากิน 3 ไตรมาศ มีกำไรต่อหุ้น 0.31 บาท 
  • ทำมาหากิน 1 ไตรมาศ มีกำไรต่อหุ้น 0.31/3=0.103 บาท 
  • ทำมาหากิน 4 ไตรมาศ มีกำไรต่อหุ้น เท่ากับ 0.41 บาท
7  GEN ให้สิทธ์เพิ่มทุน 1 หุ้นเดิม ต่อ 5 หุ้นใหม่ ถ้าตอนนี้มี 30,000 หุ้น จะมีสิทธ์ซื้อหุ้นเพิ่มทุนกี่หุ้น
  • สิทธ์เพิ่มทุน 1 หุ้นเดิม ต่อ 5 หุ้นใหม่ 
  • ตอนนี้มี 30000 หุ้น จะมีสิทธ์ซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่ 30,000 x 5 = 150,000 หุ้น


สรุปว่าการเทียบบรรยัติไตรยางค์ - อัตราส่วน - การแปรผัน คล้ายๆ จะเป็นเรื่องเดียวกัน นะเนี้ยเจริญในการลงทุนทุกท่านครับ