วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556

การใช้อัตราส่วนราคาต่อยอดขาย(P/S ratio) ในการหาหุ้น


อัตราส่วน ราคาต่อยอดขาย(P/S ratio) สามารถคำนวณได้ง่ายๆครับ คือ มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด/ยอดขาย อัตราส่วนนี้ยิ่งต่ำยิ่งดี

ส่วนใหญ่หุ้นที่มีอัตรากำไรสุทธิต่ำ(net profit margin) ต่ำ มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด จะต่ำกว่า ยอดขาย ทำให้ ราคาต่อยอดขาย(P/S ratio) ต่ำ

หุ้นที่ผิดปกติ (อาจจะ under value) คือ มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด  ต่ำกว่า ยอดขายมากๆ แต่มี npm สูง ส่วนจะมากเท่าไหร่ อาจจะต้องใช้ skill คับ

หน้าที่แมวมองคือ หาพวกที่ผิดปกติ หรือกำลังจะผิดปกติ คือ npm กำลังจะดีขึ้น
โดยที่ p/s ยังต่ำ1เยอะๆอยู่ ใช้กรองหุ้นคร่าว แทน pe ได้ดีพอสมควรคับ

วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2556

หุ้นขึ้นแต่เราไม่ได้ซื้อ(ตกรถ)ควรทำอย่างไร


บทความเรื่อง : "ตกรถ" กับ "ไม่รู้จักรถ" 
By pak ThaiVI [1]

ถ้าเรารู้ใน 3 ข้อหลักๆ ว่า...
  1. เราอยู่ที่ไหน?
  2. และเราจะไปไหน?
  3. และรถเมล์แต่ละคันมีเส้นทางการเดินทางอย่างไร?
ผมเชื่อว่าเราจะ "ไม่หลงทาง" ครับ!!!

ผมคือคนที่นั่งอยู่ "บนรถ" ครับ และภาพที่ผมเห็นจนชินตา คือ...

"บางครั้ง...ผู้คนมากมายแย่งยื้อกันเพื่อจะขึ้นรถแต่บางครั้ง...รถกลับโล่ง โหรงเหรง แทบจะไร้ผู้คน ...ทั้งๆที่เป็นบนรถคันเดียวกันแท้ๆ!!!"

มีบ้างครับ...ที่ผมเห็นคน "รีๆรอๆด้อมๆมองๆ" จะขึ้นรถ...แต่ก็ไม่ขึ้น เพราะเค้าไม่แน่ใจครับ ว่าปลายทางของรถที่ผมนั่งอยู่จะไปที่ใด?

มีบ้างครับ...ที่ผมเห็นคนขึ้นๆลงๆเปลี่ยนรถไปเรื่อยๆ น่าจะเป็นเพราะ เค้าไม่มีข้อมูลมากพอเกี่ยวกับเส้นทางการเดินรถครับ ทำให้เค้าไม่มั่นใจ ข้อมูลที่เค้าได้มาจากการถามคนแถวๆนั้น ก็ไม่เพียงพอจะทำให้เค้าเชื่อมั่นได้ครับ

แต่บนรถที่ผมนั่ง มันก็ไม่ได้มีแต่สิ่งที่ผมต้องการหรอกนะครับ บางครั้งรถก็เสียบ้าง ยางแตกบ้าง ความร้อนขึ้นสูงบ้าง ...ก็ต้องซ่อมกันไปตามเรื่องตามราวครับ แต่ผมก็ยังคงนั่งอยู่ "บนรถ" คันนั้นเพราะผมยังมีปลายทางในใจของผม และผมเชื่อว่ารถคันนี้กำลังจะวิ่งไปที่จุดๆนั้น

ผู้โดยสารหลายท่าน ขึ้นมาบนรถ เราได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกัน แล้วก็จากกันไป บางครั้งผมก็รู้สึกว่าเพื่อนเยอะ บางครั้งก็รู้สึกเหงาๆนะ แต่รถคันนี้ มัน "อิสระ" ครับ ใครจะขึ้นหรือลงที่ป้ายไหน...ก็ย่อมได้เสมอ

คำว่า "ตกรถ" สำหรับผมแล้ว...มันไม่ใช่ที่สิ่งน่ากลัวอะไรเลยครับ หากเพียงเรารู้ว่า เราอยู่ที่ไหน? และเราจะไปไหน? และรถแต่ละคันมีเส้นทางอย่างไร? อีกซักพัก รถคันหลังยังจะตามกันมาอีกเยอะแยะมากมายอยู่แล้วครับ

ปัญหาจึงไม่ได้อยู่ที่ว่า "เราตกรถ!!!"
ปัญหาจึงไม่ได้อยู่ที่ว่า "เราอยู่บนรถ" หรือ "เรายังไม่ได้ขึ้นรถ!!!"
ปัญหาที่แท้จริง คือ เรารู้จัก "รถแต่ละคัน" ดีเพียงพอหรือยัง?
...ก็เท่านั้นเองครับ

pak
(^_^)

ภาพตัวอย่างคนตกรถ

ที่มา[1] https://www.facebook.com/photo.php?fbid=322329054550027&set=a.110646835718251.13779.100003188061122&type=1

วันศุกร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2556

การเล่นหุ้นกับการเล่นเกมส์


บทความของคุณ คิม พ่อหมูน้อย โพสไว้ใน facebook[1] เปรียบเทียบการเล่นหุ้นกับเกมส์ต่างๆ ไว้น่าสนใจครับครับ เล่นเกมส์ เล่นไพ่ เตะบอล รวมไปถึงธรรมมะ เชิญอ่านโดยพลัน

ผมมีงานอดิเรกส่วนตัวหลายอย่าง แต่ล่ะอย่างให้ความสุขได้ทั้งนั้น วันก่อนว่าเรื่องเลี้ยงปลา, ปลูกผัก, ท่องเที่ยวและจีบสาวไป วันนี้เรามาว่างานอื่นที่สนุกเช่นกันให้ฟัง

การเล่นหุ้นก็เหมือนการเล่นเกมส์

เกมส์ทุกเกมส์ก็ซ้ำเดิม ๆ ตลอด เป้าหมายคือชนะ หากเราเล่นบ่อยเราก็รู้แนวทาง แต่หากเราไม่ค่อยจะเล่นหรือไม่ใส่ใจ เล่นยังงัยก็แพ้แน่นอน หุ้นก็ไม่ต่างกัน มีแค่ไม่ขึ้นก็ลง ถ้าไม่ขึ้นหรือไม่ลงก็แค่ลากข้าง และก็หมุนเวียนไปเช่นนี้เสมอ เพียงแต่เรารู้จังหวะ เราก็ชนะได้อย่างไม่ยากนัก

การเล่นหุ้นก็เหมือนการเล่นไพ่โป๊กเกอร์

 เกมส์ไหนที่เราชนะได้เราก็สู้สิเกมส์ไหนดูโอกาสชนะมีน้อย เราก็ชิงไม่เล่น และหากเราเล่นไปได้ครึ่งทางรู้ว่าสู้ไม่ได้แน่ก็ชิงยอมแพ้แต่เนิ่น ๆ เสียดีกว่า ในขณะเดียวกันแม้มั่นใจมาก หากเกิดแพ้ขึ้นมาก็ยอมรับว่าแพ้ แล้วก็เริ่มเกมส์ใหม่โดยไม่ติดใจเกมส์เดิม

การเล่นหุ้นก็เหมือนดูฟุตบอล 

นักกีฬาเก่ง ๆ ต้องอ่านดักทางไว้ข้างหน้าแล้วเล่นไปตามเกมส์แค่นี้ก็ไม่เหนื่อย แต่ถ้าเล่นเอาแต่วิ่งไล่ลูกบอล นอกจากเหนื่อย, ไม่ได้บอล ดีไม่ดีอาจหกล้มแผลถลอก งั้นเราก็แค่มอง ๆ วิ่งไปในทางที่มันจะมา ถ้ามาถึงจริง ก็เล่นเต็มที่เลย แค่นั้นก็จบ พอบอลออกขาไป ก็รอโอกาศต่อไป ดูว่าเมื่อไรมันจะมาอีก ก็เท่านั้นเอง

การเล่นหุ้นที่ดีก็ต้องมีการอ่านหนังสือเยอะ ๆ หนังสือตำรากับหุ้นผมมีเยอะไม่น้อยกว่าหนังสือธรรมะ เมื่ออ่านเยอะรู้เยอะเราก็ประยุกต์ให้เข้ากับแนวทางของเรา อันไหนแข็งไปก็ปรับลง อันไหนอ่อนไปก็เสริมหน่อย ส่วนหนังสือธรรมะก็สอนให้เราไม่โลภเกินไป ไม่หลงเกินเหตุ และมองทุกอย่างเป็นสิ่งไม่เที่ยง เมื่อไม่โลภมาก กำไรเท่าไรก็เอา แล้วมันจะขาดทุนได้บ่อยสักแค่ไหน ไม่หลงเกินเหตุทำให้มีเวลาส่วนตัว แค่ด้อม ๆ มอง ๆ ติดตามบ้างก็เหลือเฟือ และทุกสิ่งไม่เที่ยง มันมีขึ้นมีลง และก็มีสวนทางความคิดด้วย จึงไม่ซีเรียสอะไรกับมัน

แม้ว่าผมจะชอบทำบุญสารพัดวิธี แต่ผมไม่ค่อยจะทำบุญโดยการยอมเล่นแพ้เพื่อให้ผู้อื่นได้สตางค์ผมหรอก จึงมีน้อยคนนักที่จะได้กินตังค์ผม เงินผมหามาด้วยยากลำบาก หมูน้อยตัวเล็ก ๆ ร้องขอขนมทุกวัน หากไม่สุดวิสัย ผมคงไม่ทำบุญด้วยเงินค่าขนมของหมูน้อยในตลาดหลักทรัพย์ หวังว่าเพื่อน ๆ คงไม่ว่ากันน่ะคร๊าบ ^^

[1]https://www.facebook.com/groups/modmao/permalink/248957568568492/

วันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2556

ต้นทุนโลจิสติกส์ต่อยอดขายคืออะไร

ต้นทุนโลจิสติกส์ต่อยอดขาย เป็นการวัดประสิทธิภาพต้นทุนในการดำเนินงานของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม โดยอาศัยการเทียบสัดส่วนของต้นทุนในการเคลื่อนย้าย การกระจายสินค้า และการจัดเก็บดูแลสินค้าที่สิ้นเปลืองไปหรือหมดไปเป็นเปอร์เซ็นร้อยละของมูลค่าของสินค้าทั้งหมดที่จัดจำหน่ายหรือขาย เป็นรายได้ของธุรกิจหรืออุตสาหกรรม. 

โดยเปอร์เซ็นร้อยละของต้นทุนโลจิสติกส์ต่อยอดขาย ถ้ามีตัวเลขเปอร์เซ็นที่สูงแสดงถึงประสิทธิภาพของระบบโลจิสติกส์ที่ไม่ดี หรือระบบการบริหารจัดการที่ขาดประสิทธิภาพ มีค่าใช้จ่ายในการขนส่งสูง มีค่าใช้จ่ายในการดูแลจัดเก็บสินค้าหรือสต๊อกสินค้าสูง ทำให้ธุรกิจหรืออุตสาหกรรมมีกำไรน้อยลง สูญเสียความสามารถในการแข่งขันเนื่องจากผลิตภัณฑ์หรือสินค้ามีต้นทุนที่สูง ทำให้ไม่สามารถแข่งขันทางธุรกิจได้ในที่สุด

ที่มา พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล, "อาหารโลจิสติกส์ 001/2556" https://www.facebook.com/Dr.Pongchai/posts/580301828651780

วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556

โครงสร้างทางเศรษฐกิจไทยเปลี่ยนไป ใครได้ประโยชน์

จะเป็นนักลงทุนต้องมองยาวๆครับ มอง trend เศรษฐกิจให้ออกมาดูมุมมองเรื่องเรื่องโครงสร้างทางเศรษฐกิจของของคุณ ฉัตรชัย วงแก้วเจริญ เซียนหุ้น[1] VI อธิบายได้ดีครับดังนี้

"ประเทศไทยมีโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ไม่สมดุล คือ พึงพิงการส่งออกในสัดส่วนที่สูงมาก ทำให้มีความผันผวนและขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจโลกค่อนข้างมากเกินไป เมื่อประเทศใหญ่ๆของโลกมีปัญหา ก็จะกระทบต่อเศรษฐกิจของเรามาก เราต้องสร้างการบริโภคภายในประเทศให้สูงขึ้น เพื่อเป็นกันชนเมื่อสภาพเศรษฐกิจโลกมีปัญหา

ในขณะที่เราก็ต้องถามว่า ค่าแรงที่ต่ำนั้นเป็นรายได้ที่เพียงพอให้แรงงานใช้ดำเนินชีวิตที่เหมาะสมได้หรือไม่

เรายอมให้คนไทยทำงานหนัก แต่ได้รายได้น้อย คุณภาพชีวิตแย่ เพียงเพื่อจะได้มีต้นทุนในการผลิตสินค้าที่ต่ำ ขายสินค้าให้ต่างชาติในราคาถูกๆ ให้ชาวต่างชาติเอาเปรียบเราหรือ

ประเทศไทยมีทางเลือกมากมาย เราคงอุ้มทุกคนไม่ไหว อุตสาหกรรมที่ต้องใช้แรงงานก็ควรที่จะย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่ยังมีค่าแรงถูกอยู่"

การ ขายสินค้าให้ง่ายๆ ด้วยวิธีง่ายๆ ก็คือ ขายถูกๆ ไม่ต้องคิดอะไรใหม่ ไม่ต้องปรับปรุงพัฒนาอะไร แล้วทำอย่างไรให้ขายถูกๆแล้วยังมีกำไร
  • วิธีแรกสำหรับสินค้าส่งออกก็คือ กดค่าเงินบาทให้ต่ำๆ ยิ่งต่ำยิ่งได้กำไรเพิ่มแบบไม่ต้องทำอะไร
  •  อีกวิธี คือ ลดต้นทุนค่าแรง กดค่าแรงให้ต่ำๆ ไม่ต้องพัฒนากระบวนการผลิต ไม่ต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ ไม่ต้องพัฒนาฝีมือแรงงาน
อุตสาหกรรม ใดบ้างที่ออกมาพูด อุตสาหกรรมเหล่านั้นเราก็รู้อยู่แล้วว่ามีอนาคตมากน้อยแค่ไหน นายทุนหลายราย ครั้งมีกำไรก็มักหลบเลี่ยงภาษี กำไรที่ได้ก็นำไปใช้จ่ายเพื่อความสุขอย่างมากมาย ไม่เก็บหอมรอบริบไว้ปรับปรุงกิจการ

ผม คิดว่าอุตสาหกรรมเหล่านั้นไม่ช้าไม่นาน ถ้าไม่มีการปรับตัวก็ต้องเลิกกิจการอยู่ดี เพราะค่าแรงประเทศเพื่อนบ้านถูกกว่ามาก หลายบริษัทก็ปรับตัวย้ายโรงงานไปอยู่ประเทศเพื่อนบ้านหมดแล้ว"

ซึ่งก็สอดคล้องกับที่คุณ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯและรมว.การคลัง ได้ให้มุมมองไว้ในรายการอะไรก็ไม่รู้ดูตอนปีใหม่ที่ผ่านมา ว่า"โครงสร้างเศรษฐกิจไทยตอนนี้พึ่งพิงการส่งออกมากถึง 70% มาจากภายในประเทศเพียง 30% ดังนั้นแนวนโยบายต่อไปก็จะมุ่งเน้นเสริมการบริโภคในประเทศมากขึ้น สัดส่วนในอนาคตจะพลิกจากเป็นพึ่งพิงภายนอก 30% และจากภายใน 70%

โดยภาคการส่งออก น่าจะพลิกไปผลิตสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีมากขึ้น จะได้จ้างงานคนไทยได้ค่าแรงสูงขึ้น"

ถ้าสรุปนโยบายต่างเป็นภาพ ได้ดังนี้ครับ

นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศของรัฐบาล

ขยาย ความก็คือ รัฐกระตุ้น ศก. โดย ทำให้ consumption(C) การบริโภค, investment(I) การลงทุน และ Goverment spending(G) การใช้จ่ายภาครัฐ เพิ่ม ซึ่ง C, I, G ส่วนหนึ่งของ GDP ถ้าตัวแปรเหล่านี้เพิ่ม GDP

ถ้าการบริโภคในประเทศเพิ่มแล้ว  กลุ่มใหน่ที่น่าลงทุน

คุณ DeerFreeDom [2]ให้มุมมองที่น่าสนใจว่า
"เงิน กำลังจะหมุนไป หมุนไปต่างจังหวัด นโยบายของรัฐบาล เป็นนโยบายที่เน้นไปที่การเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ของคนต่างจังหวัด ถ้าสามารถปลุก Demand ของคนต่างจังหวัดขึ้นมาได้ GDP ไทยจะโตอีกเยอะ

สัง เกตุไหม หุ้นค้าปลีก 3-4 ปีที่ผ่านมาขึ้นมา 1,000% ได้อย่างไร เพราะธุรกิจพวกนี้เขาเน้นขยายสาขาไปยึดทำเลงามๆๆ ต่างจังหวัดหมดแล้ว ธุรกิจอสังหาใหญ่ๆๆ เช่น SIRI ตอนนี้รายได้หลักมาจากต่างจังหวัดแล้ว
"
สรุปว่าทำมาหากินในไทยดีสุดแระ หุ้นส่งออกคงแย่หน่อย เจริญในการลงทุนนะครับ
ที่มา 
[1]https://www.facebook.com/DeerFreeDom/posts/2681602775930
[2]https://www.facebook.com/DeerFreeDom/posts/107327592776149

วันพฤหัสบดีที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2556

Magic formula กับหาหุ้นเด็ด ประจำปี 2556

แนวคิด Magic formula นี้ถูกนำเสนอในหนังสือชื่อ คัมภีร์สุดยอดนักลงทุน (The little book that beats the market) สูตรมหัศจรรย์เพื่อชัยชนะและความมั่งคั่ง ผู้เขียน Joel Greenblatt (โจเอล กรีนแบลตต์) ผู้แปล ชานันท์ อารีย์วัฒนานนท์

สูตรนี้เป็นการลงทุนโดยอาศัยตัวกรองคือผลตอบแทนจากการลงทุนของผู้ถือหุ้น (ROE) เป็นตัวแทนของหุ้นดี  และค่า PE เป็นตัวแทนของหุ้นถูก นำมาคำนวณเป็น Magic formula ซึ่งเราก็ไม่ต้องคำนวณเองครับเว็ป siamchart.com/stock/  เขาทำให้เรียบร้อย หัวตาราง magic 1 (PE กับ ROE) เีรียงจากน้อยไปมากเลือกมา 30 อันดับแรก

สำหรับการลงทุนด้วยสูตรนี้เขาว่ามีข้อดีคือ
  • จะได้หุ้นที่ราคาถูก(PE ต่ำ) และหุ้นดี (ROE สูง)
  • มีการกระจายความเสี่ยงไปในหุ้นหลายๆตัว เพราะเลือกมาตั้ง 30 ตัว

สำหรับผลตอบแทนในปี 2555 ที่เคยทดลองกรองหุ้นด้วย Magic formula รายชื่อตามลิงค์นี้  ผ่านไป 1 ปีได้ผลตอบแทนดังนี้ครับ

No Name Price 2/1/2555 Price 2/1/2556 return % Weigh Weighted Return%
1
WIN 0.36 0.83 130.56 0.00 0.04
2 TGPRO 0.2 0.6 200.00 0.00 0.04
3 GRAND 1.14 1.38 21.05 0.00 0.02
4 ACAP 7 6.95 -0.71 0.01 0.00
5 EVER 0.65 0.72 10.77 0.00 0.01
6 PTL 14.9 14.4 -3.36 0.01 -0.05
7 BLISS 0.04 0.04 0.00 0.00 0.00
8 AJ 14.2 15.9 11.97 0.01 0.16
9 ASIMAR 1.54 2.24 45.45 0.00 0.07
10 PT 3.12 6.4 105.13 0.00 0.31
11 SENA 2.28 3.32 45.61 0.00 0.10
13 MCS 8.8 6.4 -27.27 0.01 -0.23
12 RASA 1.81 1.6 -11.60 0.00 -0.02
14 SST 9.9 13.3 34.34 0.01 0.32
15 BFIT 6.8 6.05 -11.03 0.01 -0.07
16 IVL 29.25 26.25 -10.26 0.03 -0.29
17 NOBLE 5.6 6.15 9.82 0.01 0.05
18 PHATRA 28.75 30.64 6.57 0.03 0.18
19 FORTH 3.52 3.72 5.68 0.00 0.02
20 SGP 14 14.1 0.71 0.01 0.01
21 GL 24 73.25 205.21 0.02 4.70
22 SMK 219 347 58.45 0.21 12.21
23 BCP 18.9 31.5 66.67 0.02 1.20
24 AIT 47.25 58.75 24.34 0.05 1.10
25 QLT 6.55 10.1 54.20 0.01 0.34
26 KCAR 9 16.4 82.22 0.01 0.71
27 BANPU 546 422 -22.71 0.52 -11.83
28 TKS 6.1 6.75 10.66 0.01 0.06
29 SPALI 14.3 18.4 28.67 0.01 0.39
30 SVI 3.2 4.1 28.13 0.00 0.09

total 1048.16 average 36.64 1.00 9.64

สำหรับการลงทุนแบบสิ้นคิดผมว่าได้ผลตอบแทนดีเลยทีเดียว ผลตอบแทนเฉลี่ยแบบไม่ถ่วงน้ำหนักอยู่ที่ 36.64% ส่วนผลตอบแทนแบบถ่วงน้ำหนักด้วยราคาอยู่ที่ 9.64% มาตกม้าตายที่ banpu ติดลบไปเยอะมัก
เฮีย Joel Greenblatt จำหน้าไว้ให้ดีๆ

สำหรับรายชื่อหุ้นเด็ดปี 2556 โดยอ. Joel Greenblatt กรองโดยเว็ป siamchart เหมือนเดิมปีหน้าจะหมู่หรือจ่าเดี๋ยวปีหน้ามาลุ้นกันครับ


No. Name Price P/E ROE%
1 AAV 5.35 1.68 113.59
2 NIPPON 3.5 2.87 66.5
3 N-PARK 0.06 6 105.79
4 NEP 1.07 4.46 44.31
5 MDX 7.05 6.08 46.23
6 FOCUS 3.64 6.39 54.56
7 UMI 7.85 5.9 43.62
8 TMW 45 4.33 37.24
9 BROOK 2.82 7.42 45.54
10 SF 7.1 5.11 34.65
11 TTL 80 2.56 30.96
12 KBS 10.6 5.64 33.64
13 UVAN 95.25 8.1 41.73
14 CFRESH 10 8.33 36.2
15 YUASA 10.7 8.99 44.32
16 TRC 7.5 8.52 36.35
17 ACAP 6.95 4.09 24.52
18 QLT 10.1 9.35 36.58
19 IFEC 2.66 6.82 25.52
20 SCP 52.5 9.01 31.82
21 LANNA 23.4 8.54 27.42
22 KMC 0.45 6.43 23.67
23 SRICHA 39 10.8 55.46
24 CCP 6.5 10.83 57.48
25 TWFP 170 7.01 22.49
26 INTUCH 69.5 11.56 97.31
27 AIT 58.75 10.4 30.01
28 TCCC 22 9.44 24.66
29 SPPT 3.92 7.69 20.66
30 UPOIC 11.3 10.97 30.71

วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556

akr จะอยู่หรือไป

akr โดยธุรกิจเดิมเป็นผู้นำเรื่องหม้อแปลงครับ ยอดขายหม้อแปลงอาจดีกว่า qtc trt ด้วยซ้ำ (จุดเด่นที่ connection) ถ้าอยากรู้ว่าดีอย่างไรไปดูที่งบเฉพาะกิจการครับไม่เคยขาดทุน

หม้อแปลงของ akr

ทีนี้เขาอยากโตก็ระดมทุนเข้าตลาดโม้ว่าจะมาทำโรงงานผลิตแผงโซล่าเซลครับ ภายใต้บริษัทย่อยที่ชื่อว่า เอกรัฐโซล่าร์ จำกัด
ภาพโซลาร์ฟาร์ม ขนาด 630 กิโลวัตต์ พื้นที่ 8 ไร่ ลงทุนโดย บริษัท เอกรัฐวิศวกรรม จำกัด (มหาชน) ใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดผลึกเดี่ยวซิลิคอนผลิตโดย บริษัท เอกรัฐโซล่าร์ จำกัด  ผลิตไฟฟ้าได้ปีละประมาณ 870,000 หน่วย มีรายได้ปีละประมาณ 9.5 ล้านบาท เริ่มผลิตไฟฟ้าต้นมีนาคม 2553
ที่มา: http://www.thaisolarfuture.com/product.php?id=12


ทำไปซักพักแข่งขันกับผู้ผลิตจากจีนก็ไม่ได้ รัฐก็ไม่สนับสนุน ตอนนี้ปัญหาคือโรงงานของบริษัทย่อยเป็นสินทรัพย์ที่ไม่สร้างรายได้ และมีหนี้ให้ปวดหัวเล่นที่ 1,320 ล้าน เมื่อ 31 มีนาคมปีที่แล้วปรับโครงสร้างหนี้ไป 1320 ล้านมีเงื่อนไขดังนี้
  • 500 ล้านยกให้ ถ้าจ่าย 2 - 3 หมด
  • 500 ล้านแบ่งจ่าย 7 ปี
  • 300 ล้านขายโรงงานบริษัทย่อยมาใช้หนี้

ตอนนี้ปัญหาคือ 300 ล้านต้องจ่ายภายในเดือน มีนาคม 2556 ยังเร่ขายไม่ออกเบย

ถ้าไม่เอาออกตอนนี้บริษัทแม่ต้องเอาเงินไปเลี้ยงบริษัทย่อยๆผ่านรายการเงินให้กู้ยืมแก่บริษัทย่อย ประมาณ q ละ 20 ล้าน เพื่อเอาไปจ่ายดอกเบี้ย และค่าดำเนินการนิดหน่อยๆครับ

ที่น่าสนใจคือปีที่แล้วบริษัทได้ล้างขาดทุนสะสมโดยการลดทุน + นำส่วนเกินมูลค่าหุ้นมาล้าง ทำให้ตอนนี้งบเฉพาะกิจการไม่มีขายทุนสะสมพร้อมจ่ายปันผล หรือเพิ่มทุนในกรณีเลวร้ายที่สุดครับ

สรุปว่าช่วงปี 2556 นี้ เป็น shot วัดใจครับว่าหวยจะออกแนวทางไหน โดยสรุปจะมีอยู่ 3 แนวทาง ที่จะปลดล็อคได้ คือ


  1. ขาย เอกรัฐโซล่าร์ ให้ได้(หากรัฐบาลมีการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับพลังงานแสงอาทิตย์ที่ชัดเจน โอกาสขายได้ก็มี)
    ผลกระทบ - ถ้าหากผู้ซื้อ ซื้อหุ้นทั้งหมดของ เอกรัฐโซล่าร์ งบการเงินก็จะแสดงแต่งบของ เอกรัฐวิศวกรรม เท่านั้น ซึ่งงบกำไรขาดทุน ก็จะดีขึ้นทันที ,เงินลงทุนในบริษัทย่อย ที่เคยตั้งด้อยค่าไว้ก็จะถูกบวกกลับตามราคาที่ขายได้ ,เงินที่ได้จากการขายเอกรัฐโซล่าร์ ก็นำไปใช้หนี้ตาม สัญญาปรับโครงสร้างหนี้ ทำให้ไม่ต้องเพิ่มทุนมาชำระหนี้ ส่วน 300 ล้านบาท ที่ต้องชำระปี 57(หากขายได้เงินเพียงพอต่อการชำระหนี้)
  2. รีไฟแนนซ์ จาก ธ.ทหารไทย ไป ธ.xxx แล้วดำเนินการปิดกิจการ เอกรัฐโซล่าร์
    คงมีหลายๆคนสงสัยว่า ในเมื่ิอเอกรัฐโซล่าร์ขาดทุน ทำไมไม่ปิดทิ้งไป ค่าใช้จ่ายจะได้ลดลง งบกำไรขาดทุน จะได้ดูดีขึ้น? ส่วนตัวคิดว่า น่าจะมีเหตุผล 2 อย่าง 1. เมื่อมีผู้ซื้อ ผู้ซื้อสามารถดำเนินกิจการต่อได้ทันที 2. (อันนี้สำคัญ)การปิดเอกรัฐโซล่าร์ จะทำให้ต้องบันทึกสินทรัพย์ในมูลค่าที่อาจจำหน่ายได้ แทนที่มูลค่าสินทรัพย์ตามงบดุลในปัจจุบัน เช่น ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ เฉพาะของเอกรัฐโซล่าร์ บันทึกที่ 810 ล้าน ถามว่าถ้าขายจะขายได้ 810 หรือเปล่า คำตอบ คือ ไม่ถึงแน่ๆ แล้วเท่าไหร่หละ สมมติให้มูลค่าที่อาจจำหน่ายได้ เท่ากับ 300 ล้าน มันจะเกิดอะไรขึ้น

    สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ

    ณ ไตรมาส 1/56

    2,255 = 1,830 + 425

    ถ้าหากปิดเอกรัฐโซล่าร์ (เดิมบันทึก ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ 810 ล้าน ต้องบันทึกเป็น 300 ล้าน มูลค่าลดลง 510 ล้าน)
    (2,255 - 510) = 1,830 + (425 - 510)

    ส่วนของเจ้าของ ติดลบทันที อันนี้เรื่องใหญ่

    แต่ปัญหาทุกอย่างมีทางออก ไม่ใช่ว่าบริษัทจะบันทึกสินทรัพย์เกินความเป็นจริงเท่านั้น แต่หนี้สินของบริษัท ก็บันทึกเกินความเป็นจริงเหมือนกัน เพราะยอดหนี้ที่บันทึกไว้ คือ 1,284 แต่จ่ายจริงเพียง 805 ล้าน ส่วนต่าง 479 ล้าน นี่หละสำคัญ การรีไฟแนนซ์ คือทางออก เพื่อที่จะให้มีกำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้เสียก่อน แล้วจึงปิดเอกรัฐโซล่าร์

    2,255 = (1,830 - 479) + (425 + 479)

    2,255 = 1,351 + 904 (*หน้าตางบดุลหลังรีไฟแนนซ์)
    แล้วทำการปิดเอกรัฐโซล่าร์
    (2,255 - 510) = 1,351 + (904 - 510)
    จะเห็นว่าส่วนของเจ้าของเพียงพอแล้ว ไม่ติดลบ
    เมื่อปิดเอกรัฐโซล่าร์แล้ว งบกำไรขาดทุน ก็จะดูดีขึ้นทันที
  3. การเพิ่มทุน แล้วปิดกิจการ เอกรัฐโซล่าร์
    ขั้นตอนก็คล้ายๆกับ แนวทางที่สอง แต่แทนที่จะเพิ่มส่วนของเจ้าของ โดยการรีไฟแนนซ์ เปลี่ยนเป็นการเพิ่มส่วนของเจ้าของโดยการเพิ่มทุนแทน ซึ่งแนวทางนี้น่าจะใช้เมื่อใกล้ถึงกำหนดเวลาชำระหนี้ 300 ล้าน ที่ต้องชำระในปี 57 แล้วยังปฏิบัติตามแนวทางที่ 1 หรือ 2 ไม่ได้