วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555

Supply Chain Management คืออะไร

เป็นบทความที่ ด.ร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุลเขียนไว้บน facebook ครับ ขอรวบรวมไว้กันลืม

คนสับสนคำว่า Chain เพราะไปแปลตื้นๆว่า"โซ่/ห่วงโซ่".ที่จริงแล้ว Chain ใน Supply Chain Managementแปลว่า "สัมพันธภาพหรือความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกัน" เช่นเดียวกับการแปล Supply เป็นภาษาเศรษฐศาสตร์ว่า "อุปทาน" ซึ่งกว้างไป ทั้งที่ใน SCM หมายถึง "วัตถุดิบ ชิ้นส่วน/ปัจจัยที่จำเป็นในการผลิต/แปรรูป" ดังนั้น Supply Chain ที่ถูก ควรแปลว่า"สัมพันธภาพ/ความสัมพันธ์เชื่อมโยงของวัตถุดิบ ชิ้นส่วน ปัจจัยที่จำเป็นในการผลิตแปรรูปหรือการดำเนินธุรกิจ โดยความสัมพันธ์เชื่อมโยงด้านซัพพลายนี้ มีผลต่อประสิทธิภาพ ศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขัน และการตอบสนองความต้องการของตลาดของบริษัทหนึ่งๆ

ตัวอย่างน้ำท่วม2554 หลายบริษัทมีปัญหาSupply Chain นั้นก็หมายถึงปัญหาด้านวัตถุดิบ ชิ้นส่วนหรือปัจจัยในการทำธุรกิจที่สัมพันธ์เชื่อมโยงกับบริษัท

อย่างเช่นบริษัทรถญี่่ปุ่น ประสบปัญหา Supply Chain อย่างหนักจากน้ำท่วมโรงงานผลิตชิ้นส่วนในไทย ทำให้ขาดวัตถุดิบ ชิ้นส่วนรถยนต์ป้อมโรงงานต่างๆ

หรืออย่างบริษัท computerทั่วโลก ก็ประสบปัญหา Supply Chain จากน้ำท่วมเช่นกัน เนื่่องจากโรงงานผลิต Harddisk ในไทยถูกน้ำท่วม ทำให้ไม่มีของผลิต

หรือในช่วงที่ของต่างๆตาม Tesco หรือ 7-11 ไม่มี ก็ปัญหาSupply Chainเช่นกัน เนื่องจากโรงงานหรือระบบโลจิสติกส์ถูกน้ำท่วม ทำให้สินค้าขาเข้าไม่มี

สัมพันธภาพหรือความสัมพันธ์เชื่อมโยงทางด้านซัพพลาย ถ้าเป็นเรื่องที่บริษัทจัดการภายในบริษัทได้เองก็จะเรียกเชิงทฤษฎีว่า "Internal Supply Chain" แต่ถ้าบริษัทต้องไปบริหารสิ่งที่เชื่อมโยงหรือมีปัจจัยความสัมพันธ์กับภายนอก ทีี่มาจากซัพพลายเออร์หรือลูกค้า จะเรียกว่า "External Supply Chain"

การบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องซัพพลายซึ่งเชื่อมโยงสัมพันธ์ (วัตถุดิบ ชิ้นส่วนหรือปัจจัยที่ป้อนธุรกิจ) จึงถูกเรียกว่า "Supply Chain Management" จำไว้นะครับ..แวดวงคนรู้จริงและผู้บริหารส่วนมากจะทับศัพท์ "Supply Chain Management" ว่า "การจัดการซัพพลายเชน" น้อยคนจะใช้ "การจัดการโซ่อุปทาน" คนไม่รู้ไม่เคยผ่านงานด้านนี้มา แบบว่า "เปิดพจนานุกรมเอา" ถึงจะใช้คำว่า "การจัดการโซ่หรือห่วงโซ่อุปทาน" เมื่อพูดถึง "Supply Chain Management" ผู้นำองค์กรให้ความสำคัญกับ Supply Chain Management มากขึ้น ทั้งนี้ก็เพราะอิทธิพลของ Global sourcing, Offshore Manufacturing, Business Outsourcing

Global Sourcing เกิดขึ้นเมื่อบริษัท จัดหาวัตถุดิบ ชิ้นส่วน/สินค้าทดแทนต่างๆ จากต่างประเทศเพื่อลดต้นทุนหรือเพิ่มประสิทธิภาพซัพพลายให้ดีขึ้น

Offshore Manufacturing เกิดขึ้นเมื่อบริษัทตัดสินใจไปตั้งโรงงานต่างๆในต่างประเทศ เพื่อลดต้นทุนการผลิตหรือสร้างโอกาสในการเจาะตลาดในต่างประเทศ

Business Outsourcing เกิดขึ้นเมื่อบริษัทตัดสินใจให้ บริษัทภายนอกดูแลหรือบริหารจัดการฟังก์ชันสำคัญๆของธุรกิจเช่น Sales, Procurement, Logistics

Best Practices ทั้ง 3 อย่างนี้ แม้ว่าจะทำให้บริษัทเพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกิจสูงขึ้น แต่ก็ส่งผลอย่างมากต่อการบริหารด้านซัพพลายของธุรกิจ Side Effect หรือผลกระทบกับซัพพลายของการดำเนินการดังกล่าวทั้ง 3 ทำให้บริษัทต้องพึ่งพาซัพพลายเออร์ภายนอกมากขึ้น เกิด Uncertainty&Risk มากขึ้น การพึ่งพาศักยภาพขีดความสามารถภายนอกมากขึ้น แม้ว่าเกิดผลดีในแง่ประสิทธิภาพ แต่ก็ทำให้บริษัท"depend on"ซัพพลายและซัพพลายเออร์มากขึ้นตามไปด้วย

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการบริหารด้านซัพพลายในปัจจุบันเปลี่ยนรูปโฉมไปมาก เมื่อเปรียบเทียบกับในอดีตที่เน้นไปแค่เรื่องการจัดซื้อและการผลิตของบริษัท ขบวนการจัดหาวัตถุดิบ การผลิตและโลจิสติกส์ต่างๆ จำเป็นต้องบูรณาการเข้าด้วยกัน เพื่อสอดรับกับ Global Sourcing, Biz Outsourcing, and Offshoring ซึ่งการบริหารแบบบูรณาการฟังก์ชันสำคัญทั้งสามนี้เข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดกับธุรกิจ ขณะที่ลด Uncertainty&Risk เราเรียกว่า SCM หรือ Supply Chain Management "จึงเกิดขึ้นและตั้งอยู่" บนอิทธิพลของ Global Sourcing, Offshore Manufacturing และBusiness Outsourcingนั้นเอง

วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555

หัวใจการผลิตแบบ just in time 1

เป้าหมายของการทำธุรกิจคือลงทุนไปแล้วมีเงินงอกเงย (Return on investment) การผลิตแบบ just in time หรือการผลิตหรือการส่งมอบ “ สิ่งของที่ต้องการ ในเวลาที่ต้องการ ด้วยจำนวนที่ต้องการ” ก็เป็นกลยุทธ์ที่ Toyota เอาเข้ามาใช้เพื่อให้แข่งกับคู่แข่งด้วย low cost strategy ได้และมีกำไรกลับบ้านด้วย ไม่ใช่ราคาต่ำแล้วเลือดออกซิบๆกลับบ้านด้วยการล้มละลายเหมือนฟอร์ด

ที่ Toyota เอาการผลิตแบบ just in time มาใช้แล้วก็สำเร็จได้ก็เพราะเขากุมหัวใจการผลิตแบบ just in time ซึ่งก็คือ EOQ เริ่มจากสมมติฐานข้อแรกก็ต้องคุมให้ Demand ไม่ผันผวนโดยการบี้ผ่าน Dealer ที่ต้องทำตามเป้าที่วางไว้แบบแปะๆ ที่นี้พอ Toyota เกลี่ยคำสั่งซื้อให้นิ่งลูกค้าเข้าคิวเป็นระเบียบเรียบร้อย ทุกอย่างก็ง่าย คำนวณได้หมดว่าวันนี้ต้องผลิตรถรุ่นอะไร สีอะไร จำนวนกีคัน คำนวณได้แม้กระทั่งชิ้นส่วนชิ้นนี้ต้องเข้า line ประกอบกี่โมง ถ้าทำได้ตามแผนที่วางไว้ได้ก็จะได้รถตามเวลาที่สัญากับลูกค้าไว้
ชิ้นส่วนในการประกอบเป็นรถ 1 คัน
ต่อไปก็มาดูว่าอะไรเป็นปัญหาที่ทำให้ประกอบไม่ทันตามที่วางแผนไว้วิจัยไปวิจัยมาก็สรุปเป็น ความสูญเปล่าอยู่ 8 ประการที่ต้องกำจัดให้ได้ในทั้ง supply chain ประกอบด้วย
1. การผลิตมากเกินพอดี (Over Production)
2. การรอคอยหรือเวลาที่ใช้รอในการปฎิบัติการ (waiting) จ้างมานั่งเฉยๆมีแต่เสียเงินก็ดึงมาสร้าง Value ซะ
3. การเคลื่อนย้ายโดยไม่จำเป็น (Unnecessary Transport) เสียเวลา เสียค่าน้ำมัน เสียตัว ฯลฯ
4. การผลิตโดยใช้ขั้นตอนมากเกินไปหรือวิธีไม่ถุกต้อง (Over processing,Incorrect Processing) เสียคน เครื่องจักร์ ฯลฯ ไปทำเรื่องไร้สาระ
5. สินค้าคงคลังเกินจำเป็น (Excess Inventory) เมื่อรู้อยู่แล้วว่าต้องผลิตอะไรจำนวนเท่าไรจะเก็บอะไรไว้นักหนา
6. การเคลื่อนไหวโดยไม่จำเป็น (Unnecessary Movement) เครื่อนไฟวเยอะเหนื่อย ทำงานได้น้อยลง
**** 7. ความบกพร่องของชิ้นส่วน+สินค้าสำเร็จรูป (Defect) ถ้าชิ้นส่วนผลิตไม่ได้คุณภาพเข้ามาเวลาตรวจเจอว่าสินค้าสำเร็จรูปมีปัญหาก็ต้องรื้อทั้งคันกว่าจะรู้ว่ามีปัญหาจากชิ้นส่วนไหนก็รถคันนั้นก็ตกรุ่นไปแล้ว เสียเงินเสียเวลาเสียความรู้สึก ดังนั้นเพื่อให้ปัญหาน้อยที่สุด มันตบมือข้างเดียวไม่ดังก็ต้องทำ Supplier development จนของที่ส่งมาคุณภาพดีไม่มีปัญหา ประกอบสบายใจ ข้อนี้แหละเกี่ยวกับการลงทุนหุ้นของบริษัทที่อยู่ในหมวดยานยนต์ว่าจะคุมคุณภาพได้ขนาดไหน
8. ความคิดสร้างสรรค์ที่ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ (Unused Employee Creativity)

วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

หัวใจของการผลิตแบบ Just in time 2

สมัยนี้ใครๆก็อยากทำการผลิตแบบ lean หรือ Just in time เพราะเขาโม้ว่าไม่มีสินค้าคงเหลือ จะประหยัดเงินได้นู้นนี่นั้นแล้วเราก็จะกำไร ฟังแล้วก็เกิดกิเลสอยากทำบ้าง แต่ช้าก่อนครับเราต้องก่อนจะลอกเขามาก็ต้องรู้ก่อนนิสนึงว่าอะไรคือหัวใจของการผลิตแบบ Just in time ของ Toyota

ที่ Toyota สามารถทำการผลิตแบบ Just in time ได้เพราะลักษณะธุรกิตของเขาตรงตามสมติฐานของ  ระบบขนาดการสั่งซื้อที่ประหยัด (Economic Order Quantity หรือ EOQ)พอดี ซึ่งทำให้ toyota สามารถผลิตส่งให้ลูกค้าได้ทันเวลาโดยที่ไม่ต้องเสียงเงิน stock สินค้า

สมมติฐานของ EOQ ประกอบด้วย [1]
(1) อุปสงค์ของสินค้าต้องมีค่า่คงที่แีละต่อเนื่องตลอดเวลา*****
(2) ระยะการนำส่งสินค้า (Lead Time) คงที่
(3) ราคาสินค้าและค่าขนส่ง ต้อง มีค่าคงที่โดยไม่เปล่ยีนแปลงไปตามปริมาณในการสั่งซื้อ
(4) อุปสงค์สินค้าต้องได้รับการตอบสนองทั้งหมด ไม่เกิดกรณีสินค้าขาดแคลน
(5) ไม่มีสินค้าคงคลังที่อยู่ในระหว่างการขนส่ง (In-Transit Inventory)
(6) ใช้ได้เฉพาะสินค้าประเภทเดียวเท่านั้น (Single Product)
(7) กรอบเวลาในการพิจารณามีความต่อเนื่องไปในอนาคตไม่มีที่สิ้นสุด
(8) ไม่มีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณ

ขอสมมติฐานข้อ 1 อุปสงค์ของสินค้าต้องมีค่า่คงที่แีละต่อเนื่องตลอดเวลานี่แหละคือหัวใจที่ทำให้ Just in time สำเร็จได้ วิธีการทำให้อุปสงค์ของสินค้าคงที่ของ Toyota ก็คือการเกลี่ยคำสั่งซื้อใครอยากได้รถก็ต้องรอรอไม่ได้ก็ไปซื้อรถเจ้าอื่น ด้วยวิธีอันนี้ทำให้เขารู้ล่วงหน้าว่าจะต้องผลิตรถกี่คัน สีอะไรบ้าง ส่งของวันไหน ล่วงหน้าเป็นเดือนๆ พอได้ข้อมูลนี้มาเขาก็วางแผนให้ supplier จัดส่งวัตถุดิบมาให้ทันเวลาตามตารางการประกอบรถเปะๆห้ามพลาด

อ้างอิง
[1]ดร.สถาพร โอภาสานนท์,"VMI: Vendor Managed Inventory (1)", http://www.jba.tbs.tu.ac.th/files/Jba130/Column/JBA130SathapornC.pdf

วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

ปัญหาที่คนจะเปิดร้านอาหารต้องทำใจ

เดี๋ยวนี้ใครมีเงินหน่อยก็อย่างเปิดร้านอาหาร ร้านกาแฟนั่งชิวๆ แต่โลกความเป็นจริงไม่ได้สวยหรูอย่างที่ฝันหรอกครับ เป็นเจ้าของคนเดียวก็รับปัญหาไปคนเดียว ภาพข้างล่างเป็นกลอนที่เขียนบนเมนูของร้านอาหารแห่งหนึ่ง มีลูกค้ามาอ่านแล้วส่งเข้าเว้ป fail.in.th ถ้าอ่านดูดีๆมันก็คือหลักการบริหารความเสี่ยงนั่นเอง เริ่มจากเขามองว่าปัญหาเหล่านี้เกิดบ่อยๆและส่งผลกระทบมากต่อกิจการ แม่ค้าวิเคราะห์แล้วว่าเป็นปัญหาที่เกิดในขั้นตอนการให้บริการซึ่งมีการเกี่ยวข้องกับลูกค้าจึงได้บริหารความเสี่ยงเพื่อลดผลกระทบจากความเสี่ยงโดยการประกาศเป็นนโยบายลงในเมนูตามรูป

กลอนช่วงแรกๆจะเล่าถึงปัญหาของทางร้านชวนให้คนเห็นอกเห็นใจ และบรรทัดสุดท้ายหน้าแรกก็ขอให้ลูกค้าอย่าต่อราคา เพราะการลดราคาจะทำให้อัตรากำไรขั้นต้นลดลง และถ้าปริมาณขายไม่มากพอครอบคลุม fixed cost เช่นค่าเช่าที่ ค่าน้ำค่าไฟ ค่าแรงพนักงาน ค่านมลูก กระเป๋าหลุยเมียน้อย ฯลฯ ก็จะขาดทุนและอยู่ไม่ได้ นอกจากนั้นอัตรากำไรขั้นต้นที่ต่ำยังสะท้อนถึงสภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมที่สูงด้วย (red ocean)

มาหน้าที่สอง คือเรื่อง  ปัญหาคือเรื่อง lead time คือเวลาคอยตั้งแต่ลูกค้าสั่งยันของมาส่ง ร้านนี้เป็นอาหารตามสั่ง ดังนั้นลูกค้าสั่งมาก็ต้องใช้เวลานิดนึงในการทำ ถ้า lead time ยาวลูกค้ารอนานๆคราวหน้าก็ไม่กลับมาซื้อกินอีก ผลเสียอีกอย่างคืออัตราการ turnover ของโต๊ะก็จะต่ำเพราะร้านแต่ละร้านมีโต๊ะจำกัดถ้าลูกค้าได้ของเร็วก็ิกินเร็วลุกเร็วลูกค้ารายใหม่ก็เข้ามากินได้ ก็เป็นหน้าที่ของร้านที่ต้องปรับปรุงทุกกระบวนการตั้งแต่รับออกเดอร์ผลิตและจัดส่งให้เร็วขึ้น และสิ่งที่กลอนนี้ทำก็คือการสร้างคุณค่าของการรอคอย รอนานหน่อยแต่อร่อยลูกค้าก็ยอมได้

ปัญหาต่อมาคืเรื่องของหาย กระทบอัตรากำไรสุทธิอย่างจัง ร้านอาหารนี่ถ้วย ช้อน ฯลฯหายบ่อยมาก และซื้อแต่ละครั้งไม่ใช่ถูกๆ เพราะต้องซื้อเยอะไหนจะมี fixed cost คอยตามหลอกหลอนเราทุกวันอีก

ปัญหาเรื่องลูกค้าเซ็นเงินเชื่อ ปัญหานี้จะกระทบต่อเงินทุนหมุนเวียน ปกติร้านอาหารเงินจะหมุนทุกวัน ซื้อของตอนเช้า ตอนเย็นกลายเป็นเงิน ยิ่งร้านทุนน้อยๆแล้วปล่อยเ็ซ็นด้วยจบเลยบางทีก็ต้องไปกู้นอกระบบมาเพื่อเอาเงินมาซื้อของ

ที่เห็นนี่ยังเป็นปัญหาเล็กๆน้อยเขาเขียนเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับลูกค้าเท่านั้น ในความจริงยังมีปัญหาอีกหลายเรื่องที่เจ้าของร้านต้องตัดสินใจครับ ตั้งแต่ logistics ขาเข้า-ขาออก ,การจัดซื้อ,การผลิต,การบริการลูกค้า ฯลฯ

วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2555

หุ้น super จะ turnaround


super ทำธุรกิจขายอิฐมวลเบาตั้งแต่เปิดบริษัทมาไม่เคยได้กำไรขาดทุนแม่งทุกพี หนี้เพียบ ต้องไปพึ่งบารมีศาลล้มละลายกลางท่านให้เข้ากระบวนการฟื้นฟูกิจการ ประเด็นการลงทุนง่ายมากคือมันจะฟื้นตัวเป็นหุ้น turnaround ได้หรือไม่และเมื่อไรถ้าจับได้ "รวย"

สาเหตุแห่งความล่มจมของผู้ผลิตอิฐมวลเบา

เริ่มจากคนมีวิสัยทัศน์เห็นว่าอิฐมวลเบาจะเข้ามาแทนที่อิฐมอญได้ในอนาคต เมื่อเห็นดังเงินก็มี มีรึจะปล่อยให้พลาดโอกาสลงทุนซะเลย ปัจจุบันมีผู้ประกอบการผลิตคอนกรีตมวลเบาทั้งรายเล็กรายใหญ่จำนวน 7 ราย แต่สร้างโรงงานเล็กๆไม่ได้ครับไม่คุ้มการลงทุนต้องสร้างใหญ่ๆ พอสร้างใหญ่แต่ตลาดยังไม่บูมก็เกิดภาวะ over supply มีกลยุทธ์การตัดราคากันกำไรขั้นต้นแทบไม่เหลือ red ocean ชัดๆ

สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลงมาเยือน

2 ปีที่ผ่านมาหลังจากปูนใหญ่เข้ามาเทค Q-CON ก็เริ่มทำตลาดอิฐมวลเบาทำให้อิฐมวลเบาได้มีการใช้ที่แพร่หลายมากขึ้น ทำให้ยอดขายของ super โตในอัตรา 2 หลักติดต่อกันตั้งแต่ปี 53 ใน 56-1 ของ super เขียนว่าการใช้ที่แพร่หลายมากขึ้น ด้วยปัจจัย หลัก4 ประการ
1.สภาพเศรษฐกิจ เริ่มฟื้นตัว
2.ผู้ผลิตมากรายทำให้ราคาเกิดการแข่งขันจนผู้ซื้อมีอำนาจเหนือตลาด
3.การกระจายสินค้ามีความทั่วถึงในทุกส่วนของประเทศ
4.ผู้ออกแบบ-ก่อสร้างมีความรู้ความเข้าใจในประโยชน์ของการใช้อิฐมวลเบามากขึ้น

ความหวังเล็กๆเริ่มเกิดขึ้นคือ super มีกำไรขั้นต้นแล้ววววว..

โปรดติดตามไปเรื่อยๆ

===========================================

Update 29/7/2559 จากอิฐมวลเบา มุ่งหน้าสูงโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์


งบแสดงฐาณะการเงิน และงบกำไรขาดทุน

หลังจากผ่านไป 4 ปี สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เลิกทำธุรกิจอิฐมวลเบาและหันมาเอาดีด้วยการเปลี่ยนธุรกิจมาทำไฟฟ้าพลังงานแทน แสงอาทิตย์

จากงบแสดงฐานะการเงิน จะเห็นว่าปี 2558 ส่วนทุนเพิ่มจากการเพิ่มทุน และมีหนี้สินเพิ่ม พร้อมกับแหล่งที่ให้ไปของเงินคือ สินทรัพย์ไม่หมุนเวีนซึ่งคือโรงไฟฟ้านั่นเอง

แต่ในงบกำไรขาดทุนจะเห็นว่าโรงไฟฟ้าที่เพิ่มซื้อกิจการ สร้างเอง ยังไม่สร้างรายได้เท่าไร จะเห็นทิศทางรายได้ยังไม่เพิ่ม เริ่มมาเพิ่มอย่างเห็นได้ชัดในไตรมาศ 1 2559

ตอนนี้ตลาดกำลังวัดใจกันต่อไปว่า ไตรมาศ 2 โรงไฟฟ้าที่ทยอย cod  จะทำให้ผลการดำเนินงานเป็นอย่างไร ไปดูได้ที่ประกาศข่าวของตลาดหลักทรัพย์

การจ่ายไฟเชิงพาณิชย์หุ้น super

สู้ต่อไป super จากอิฐมวลเบาแปลงร่างมาเป็นโรงไฟฟ้าได้มันเยี่ยมไปเลย
===============================================

Update งบ 2559


สรุปงบการเงิน SUPER
ที่มา ตลาดหลักทรัพย์แหล่งประเทศไทย สรุปข้อสนเทสบริษัทจดทะเบียน

 ผ่านมาจนจบปี จะเห็นขนาดสินทรัพย์โตขึ้น พอโรงไฟฟ้าเริ่มเดินเครื่อง จะเห็นระยะเวลาจ่ายหนี้ลดลงเป็น 8 ปีจ่ายหนี้หมด แต่สินทรัพย์ยังสร้างรายได้ไม่มากนัก แสดงว่าปี 2560 หวังว่าจะมีการเปิดมากขึ้น สู้ต่อไป Super

UPDATE Q1 2561


d
งบการเงิน หุ้น SUPER ไตรมาส 1 2561
หลังจากงบการเงินของหุ้น SUPER ในไตรมาส 1 2561 ประกาศ ราคาหุ้นก็ร่วงแบบไม่เป็นถ้า มาดูงบการเงินกันบ้าง จะเห็นว่าสินทรัพัย์ไม่ค่อยเพิ่ม แสดงว่า ลงทุนจบหมดแล้ว หนี้สินก็ค่อยๆทยอยคืนไป

แต่ในงบการเงินไตรมาส 1 กำไรลดลง จากคำอธิบายบอกว่าผลิตไฟได้ลดลง ต้องคอยตามครับว่าไตรมาส 2 จะลงต่อหรือไม่ ถ้ายังลดลงถือเป็นสัญญาณที่ไม่่ดีครับ

ถ้าหุ้นจะไปต่อจะต้องมีโครงการสร้างโรงไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง ต้องลุนกันครับว่าจะหาเงินมาจากไหนเพราะดูแล้วหนี้ก็เริ่มตันๆเหมือนกัน

update ออกกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน


ในวันนี้มีข่าวว่าจะออกกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน พูดง่ายๆก็คือขายโรงไฟฟ้าเอาเงินก้อนมาใช้หนี้ แต่ต้องแลกกับการที่ต้องเสียรายได้ในอนาคตไป ถ้าเอาจริงๆก็เหมือนการกู้ยืมเงินนั่นเอง เพียงแต่เปลี่ยนจากจ่ายดอกเบี้ยเป็นจ่ายค่าเช่าให้กองทุนแทน

การวิเคราะห์ต้องมองว่าเงินก้อนที่เอามาเอาไปทำอะไร ถ้าเอาไปปลดหนี้ก็แสดงว่าเอาเงินไปลงได้ผลตอบแทนเท่ากับดอกเบี้ยที่ประหยัดไป

ถ้าเอาไปลงทุนโรงไฟฟ้าต่อก็แสดงว่าลงทุนได้ผลตอบแทนเท่ากับผลตอบแทนจากโรงไฟฟ้า โดยส่วนตัวชอบเอาไปลงทุนต่อมากกว่า

มาลุ้นกันต่อครับว่า super จะเอาเงินไปลงทุนอะไรต่อไป

วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555

หลักการบริหารความเสี่ยงแบบบ้านๆ

ในการดำเนินชีวิตหรือการทำธุรกิจความเสี่ยง(risk)เป็นสิ่งที่เราไม่อยากเจอแต่ก็หนีไม่ได้เพราะธรรมทั้งปวงล้วนตกอยู่ใต้กฎไตรลักษ์คือไม่เที่ยง(ทุกข์) เปลี่ยนแปลงตามเหตุปัจจัย(อนิจจัง) และบังคับให้เป็นไปตามใจอยากไม่ได้(อนัตตา) แต่ถ้าไม่รับความเสี่ยงก็ไม่ได้ผลตอบแทนทนฝากเงินแบงค์ดอกเบี้ยต่ำๆไปแล้วกัน ดังนั้นเมื่อหลีกหนีไม่ได้ก็ต้องเข้าไปเรียนรู้ความเสี่ยงให้ถ่องแท้แล้วจะอยู่กับความเสี่ยงได้อย่างมีความสุข

กระบวนการจัดการความเสี่ยง
หลักการบริหารความเสี่ยงแบบบ้านๆขั้นแรกก็ต้องระบุความเสี่ยงให้ได้ก่อน ก็ต้องหาเวลาว่างๆมานั่งนึกๆดูว่าแต่ละเหตุการณ์ที่เข้ามาส่งผลกระทบอย่างไรกับเราและเหตุการณ์นั้นมีโอกาสเกิดขึ้นแค่ไหน list มาให้หมด อยากของ ปตท. เขา list รายการความเสี่ยงเกือบ 20,000 รายการ

ขั้นต่อมาคือการวิเคราะห์ความเสี่ยงถ้าขยันหน่อยก็จะทำออกมาเป็น risk matrics  แกนตั้งแสดงโอกาสที่เหตุการนั้นจะเกิดแกนนอนแทนผลกระทบที่เหตุการณ์นันจะเกิดขึ้น ที่เราต้องสนใจมากที่สุดก็คือช่องสีแดงๆครับก็คือเหตุการณ์ที่ผลกระทบสูงและโอกาสที่จะเกิดสูง เหมือนกฎ 80 : 20 ผลกระทบ 80% มาจากเหตุเพียงแค่ 20% ดังนั้นถ้าเราควบคุม 20% นี้ได้ก็ลดปัญหาไปได้เยอะครับ
risk matrics แบบ 2x2
ขั้นตอนต่อไปก็คือการจัดการความเสี่ยงแต่ละเหตุการณ์ที่เข้ามากระทบมีทางเลือกในการจัดการ 3 ทางหลักๆก็คือ
1. รับความเสี่ยง อะไรจะเกิดก็ต้องเกิดวะถ้าเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นก็ปวดหัวเล็กๆ แล้วก็แก้ปัญหาไป
2. ลดความเสี่ยง ก็หาทางป้องกันไม่ให้เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น หรือหาวิธีบรรเทาเมื่อเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นเช่นเข้าไปซื้อประกันหรือใช้ตราสารอนุพันธ์เช่น future
3. กระจายความเสี่ยง ให้นึกเหมือนเอาไข่ไปแบ่งใส่ไว้ในตะกล้าหลายๆใบ มันคงไม่แตกพร้อมกันหรอกน่า

จากนั้นไปก็บริหาร (วางแผน ควบคุม ติดตาม) ตามแผนที่เราวางไว้ไปเรื่อยๆครับ แล้วก็กลับไปข้อ 1 ใหม่

วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2555

ได้สูตรลับเล่นหุ้นพันล้านมาทำไมทำตามไม่ได้ซักที

สำหรับนักลงทุนมือใหม่เวลาอ่านหนังสือก็มักจะมีพวก"สูตรลับเล่นหุ้นพันล้าน", "เล่นหุ้น 5 เด้งใน 7 วัน","เจาะกระโหลกเซียนหุ้น","แก่นแท้ของเซียนหุ้น" แต่ใครที่คิดว่าทำตามสูตรที่ตัวเองได้มารับรองว่ามีโอกาสผิดพลาดสูง เพราะในชีวิตการลงทุนไม่มีอะไรเป๊ะๆครับ คุณหนุ่มเมืองจันท์ได้เขียนเกียวกับการลอกวิธีการทำงานของบุคคลต้นแบบไว้ว่า หลักที่ควรจะเป็นหลังจากมีบุคคลต้นแบบแล้วก็คือ

  1. ดูตัวเองว่ามีบุคลิก นิสัยที่เหมากับวิธีการดังกล่าวหรือเปล่า ไม่ว่าจะเป็นสูตรหุ้น VI หรือ Technical แต่ละสูตรก็จะเหมาะกับแต่ละบุคคลครับ เช่นหุ้น turnaround ก็เหมาะกับคนชอบจิตวิณญาณทางธุรกิจ รับรู้ได้ถึงพลังความมุ่งมั่นของผู้บริหารที่จะพาบริษัทพ้นจากก้นเหว หุ้นปันผลก็จะเหมาะกับคนที่ชอบเสี่ยงน้อยหน่อย Technical ก็มีทั้ง เล่นตามเทรนระยะสั้นกลางยาว day trade ก็มี
  2. ปรับสูตรสำเร็จให้สอดคล้องกับตัวเรา ทุกคนมีข้อจำกัดของตัวเองครับจะยกสูตรมาทั้งดุ้นคงไม่ได้
  3. ต้องเตรียมแก้ปัญหาหน้างาน ในการทำธุรกิจเมื่่อลงเงินลงแรงไปแล้ว ปัญหาหน้างานมีเสมอครับ อย่างหุ้น AKR ผู้บริหารว่าน่าจะจบปัญหาได้ในสิ้นปี 2555 แต่ก็ไม่ลงตัว เช่นกำลังจะขายโรงงานได้ก็ตกลงกันไม่ได้ในนาทีสุดท้าย กู้จากธนาคารมา refinance หนี้ทั้งก้อนก็คุยกันไม่ลง จนต้องเปลี่ยนธนาคาร สุดท้ายมาจบปัญหาที่การเพิ่มทุนในเดือนตุลาคม 2556 ก่อนถึงเส้นตายที่ต้องจ่ายหนี้ก้อนแรกให้ TMB ในต้นปี 2557 พอดี 
  4. ถ้าผิดพลาด อย่าเพิ่งสรุปว่าสูตรที่ได้มาไม่ถูกต้อง บางทีอาจเป็นเพราะ ประสบการณ์ของเราน้อยไป พ่อครัวเก่งๆ เขาไม่ได้ทำอาหารอร่อยตั้งแต่วันแรกที่ทำ รสชาติที่เราลิ้มรสในวันนี้ เกิดจากประสบการหลาย 10 ปีหน้าเตา และประสบการณ์เป็นเรื่องเดียวที่สอนไม่ได้
โชคดีในการลงทุนครับ

วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2555

Ultrabook กับความสามารถในการแข่งขันของ Apple และวัฎจักรอุตสาหกรรม

การวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขันเครื่องมือตัวหนึ่งที่นิยมใช้กันคือ five force ก็คือภัยคุกคามที่กิจการต้องระวังและคอยตรวจสอบตลอดเวลาเวลาในการทำธุรกิจที่ว่าเรามีความสามารถในการแข่งขันก็ไม่ได้มีความสามารถในการแข่งขันตลอดไป

MacbookAir ที่เป็น Ultrabook แบบบางๆก็หนีเรื่องการแข่งขันไม่พ้นครับ ในช่วงแรกที่ Apple ออก MacbookAir มาแทบหาคู่แข่งไม่ได้เลยเพราะเป็นการเปิดตลาดใหม่ ที่สำคัญคือ barrier to entry คือเรื่องต้นทุน เนื่องจากจะทำ Ultrabook ต้องพับ Body ใหม่ทั้งหมดจากโลหะชิ้นเดียวเพื่อลดการใช้น็อต  ซึ่งต้องใช้เครื่องพิเศษและมีcapital investment สูง แต่จากจากการผลิตเป็นจำนวนมากทำให้ต้นทุนต่ำ เจ้าอื่นจะมาแข่งก็ลำบาก ก็ทำให้ Apple ฟันกำไรไปได้ช่วงหนึ่ง

แต่เรื่องปกติของเทคโนโลยีครับเดี๋ยวก็ตามกันทัน จากข่าวของ blognone [CES 2012] อินเทลบอกปี 2012 มี Ultrabook วางขาย 75 รุ่น! ความต้องการมีเราก็ผลิตกันเยอะๆเดี๋ยวก็ตามทันเหอๆ

เคสนี้ก็เหมือนกรณีเราวิเคราะห์หุ้นวัฎจักร (cycle stock) ครับมันจะขึ้นๆลงๆแบบนี้แหละ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นหุ้นที่ทำธุรกิจเกี่ยวข้องกับ commodity ทั้งหลาย ช่วงตกต่ำของอุตสาหกรรมทุกอย่างดูแย่ไปหมดบริษัทไหนที่ทุนไม่หนาพอก็ค่อยๆทยอดปิดกิจการไป supply ก็ค่อยๆหายไป วันดีคืนดี demand มาจากไหนก็ไม่รู้ราคากก็พุ่งเอาๆ คนที่อยู่รอดก็ได้กำไรไปแต่ก็ได้กำไรสูงไม่นานเพราะจะมีคู่แข่งรายใหม่เห็นโอกาสก็เขามาลงทุนและแย่งส่วนแบ่งการตลาดคุณ นี่เป็นเหตุผลที่ Apple ต้องออกสินค้านวัตกรรมใหม่ออกมาตลอดเวลานั่นเองเพื่อให้เป็น s curve สอดรับตัวนึงตกอีกตัวขึ้นกันไปตลอดเวลา

วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2555

ราคาหุ้น cwt จะไปถึงไหน

cwt ชื่อเต็มๆ คือบริษัท ชัยวัฒนา แทนเนอรี่ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) วันนี้ 9/1/12 ราคาปิดอยู่ที่ 8.55 มีเพื่อนเข้าไปติดอยู่เนินเล็กที่ 9 บาทโทรมาถามว่าจะรอดไหนเนี้ย แต่ผมเชื่อมาโดยตลอดว่าเจ้ามือหุ้นรายใหญ่สุดคือผลประกอบการ ถ้าราคาวิ่งมาแต่ผลประกอบการไม่สอดคล้องเดี๋ยก็ตก ก็เลยตอบคำถามเขาไปว่า

1 พื้นฐานกิจการ
  business model ของ cwt ก็คือโรงฟอกหนังมาผลิดเป็นสินค้าคือ เฟอร์นิเจอร์ ของเล่นน้องหมาน้องแมว และของตกแต่งรถจากหนังทำส่งโรงงานประกอบรถต่างๆ สมัยก่อนขาดทุนกระจุยกระจายเนื่องจากหนี้เยอะตั้งแต่สมัยปี 40 ก็สู้ชีวิตมาเรื่อยๆ จนในปี 2553 ชีวิตก็ดีขึ้นได้รับการปรับโครงสร้างหนี้เจ้าหนี้ลดหนี้ให้ ทำให้อัตรา่ส่วนหนี้สินต่อทุนที่สูงถึง 2.94 เท่าในปี 2552 เหลือเพียง 1.14 เท่า[1] ในปัจจุบัน

จุดเด่นในงบการเงินก็คือคุณภาพกำไรครับ วิธีดูง่ายๆก็คือดูอัตราส่วนกระแสเงินสดจากการดำเนินงานต่อกำไรสุทธิครับ ยังมากกว่า 1 แปลว่ากำไรที่บริษัทได้สามารถแปลงเป็นเงินสดได้และมากกว่ากำไรด้วย และไปดูปีก่อนถึงแม้จะขาดทุนสุทธิแต่กระแสเงินสดจากการดำเนินงานยังเป็นบวกได้แปลว่าบริษัทนี้ไม่ตายแน่ๆ


2 การประเมินมูลค่า
  สำหรับหุ้นตัวนี้ถ้าไม่ดูดีๆก็จะโดน PE ปัจจุบันหลอกครับเพราะปีที่แล้วมีกำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ทำให้ PE ต่ำเกินจริง เวลาประเมินมูลค่าให้ใช้ forward PE ครับคือต้องคาดการณ์กำไรในอนาคต (E) แล้วมาคิดเป็น PE สำหรับปีนี้กำไร 9 เดือนของ cwt อยู่ที่ 40.14  ล้าน [1] คิดทั้งปีก็ประมาณ 50 ล้านได้ (เผื่อให้ต่ำไว้ก่อน) มูลค่าตลาดวันที่ 9/1/12 อยู่ที่ 400 ล้าน คิดเป็นค่า forward PE ได้ประมาณ 400/50 = 8 เท่า ถือว่าไม่แพงมากมี MOS พอสมควร ถือแล้วไม่ร้อนใจมาก (ส่วนใหญ่จะให้เป้า PE ที่ 10 เท่าครับ)

ข้อควรระวังอย่างยิ่ง หุ้นตัวนี้ warrant ครับพึ่งหมดอายุ 30 ธ.ค. 2554 ถ้ามีคนใช้สิทธิเยอะๆก็จะทำให้หุ้นราคาตกได้ครับเพราะมีตัวหารมากขึ้น

3 ตัวเร่งให้บริษัทดีกว่าเดิม
  3.1 การเร่งจ่ายหนี้ ดูจากงบกระแสเงินสดจะเห็นว่าบริัษัทจะเอากระแสเงินสดจากการดำเนินงานไปจ่ายหนี้ทำให้หนี้ลดลงตลอด [1] หนี้ลดก็เหมือนยกภูเขาออกจากอกครับ ยิ่งหนี้ลดกำไรยิ่งเพิ่ม
  3.2 การพัฒนาตัวเองให้เข้าไปเป็น supplier ของค่ายรถต่างๆ การเป็น supplier ของค่ายรถต่างๆไม่ใช่เรื่องๆง่ายๆครับ
  3.3 ล้างขาดทุนสะสม บริษัทเพิ่งล้างขาดทุนสะสม ไปเมื่อ 1/11/11โดยการนำโดยโอนทุนสำรองตามกฎหมายจำนวน 4,618,676.81 บาท และส่วนเกินมูลค่าหุ้นจำนวน 307,150,464.76 บาท ตามลำดับ มาลดผลขาดทุนสะสม [2] เมื่อบริษัทไม่มีขาดทุนสะสมก็กลับมาจ่ายปันผลได้ นักลงทุนก็ชอบอกชอบใจ

สรุป แนะนำไปว่าซื้อไปแล้วก็ปิดคอมแล้วก็ทำลืมๆซะ ปล่อยให้ทุนทำงานไป ได้กำไรก็ขาย

ที่มา:
[1]ตลาดหลักทรัพย์, สรุปข้อมูลบริษัทจดทะเบียน , Online: http://www.set.or.th/set/factsheet.do?symbol=CWT&language=th&country=TH  ,สืบค้นวันที่ 10/1/12
[2] ตลาดหลักทรัพย์, ล้างขาดทุนสะสม, Online: http://www.settrade.com/simsImg/news/2011/11045044.t11 ,สืบค้นวันที่ 10/1/12

วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

วิธีคำนวณต้นทุนค่าขนส่ง

ในธุรกิจรับจ้างขนส่งการเสนอราคาเป็นสิ่งสำคัญมากครับเพราะถ้าเสนอราคา ต่ำไปเราก็ขาดทุน เสนอราคาสูงไปเราก็แข่งขันไม่ได้ หรือบางทีเราเสนอราคาไปเหมือนได้กำไรแต่ไปๆมาทำไมหมุนเงินไม่ทันก็ไม่ทราบ

วันนี้ ก็ขอแจกตารางคำนวณต้นทุนค่าขนส่งสามารถเอาไปประยุกต์กับกิจการของท่านได้ เพราะจะคำนวณออกมาเป็นต้นทุนต่อเที่ยวว่ามีค่าใช้จ่ายเท่าไร ถ้าเราเป็นเจ้าของบริษัทก็เอาไปเปรียบเทียบราค่าระหว่างเราขนส่งเองกับจ้าง เขาขน ถ้าจ้างแล้วถูกกว่าก็จ้างเขาขนไปเถอะ

ในแบบจำลองคำนวณต้นทุนค่าขนส่งต้นทุนจะประกอบไปด้วยต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร
ต้นทุนคงที่
ประกอบด้วยค่าเสื่อมราคารถกับค่าแรง


ต้นทุนผันแปร
ประกอบด้วยค่าน้ำมัน และค่าซ่อมบำรุง คิดเป็นต่อกิโลเมตรเขาจ้างวิ่งเท่าไรก็คูณเข้าไป

ที่สำคัญคือกำไรที่คาดหวังครับ ในตารางให้ใส่เป็นร้อยละ ตรงนี้สำคัญมากครับเพราะต้องคิดให้ครอบคุมต้นทุนอีกหลายตัวที่รอเราอยู่ ทั้งค่าเสื่อมราคาของโรงจอดรถ ค่าเช่าที่ ค่าพนักงานแผนกขนส่ง จิปาถะ ค่าน้ำค่าไฟ ค่าคอนโดกระเป๋าแบรนเนมของเมียน้อย ดอกเบี้ยจ่าย ฯลฯ


เข้าไปนั่งจิ้มตัวเลขและโหลดที่ปุ่มโหลดตรงมุมขวาล่างของตาราง ได้เลยครับผม โชคดีครับ

ตัวอย่างการคิดค่าขนส่ง รถ 10 ล้อ



ตัวอย่างการคิดค่าขนส่งของ deliveree
https://www.deliveree.com/th/10-wheel-truck-rental-for-delivery/


มาดูตัวอย่างการคิดค่าขนส่งของ app deliveree กันครับ

จะเห็นว่าเขาแบ่งการตั้งราคาเป็น 2 ส่วนคือ
ค่าใช้จ่ายคงที่ 3200 บาท
ค่าใช้จ่ายผันแปร กิโลละ 18 บาท

เทียบกับที่ผมใช้อยู่
ปกติผมเลี้ยงเป็ดจ้างรถ 10 ล้อจากลพบุรีไป นครปฐม 200 โลเขาคิด 7,000 บาท
คิดตามโมเดลนี้ 3200 + (200*18) = 6,800 บาท ใกล้เคียงกันเลย แบบจำลองนี้ใช้ได้ใกล้เคียงราคาตลาด

ลองคิดในมุมเจ้าของรถ ใช้ได้จริงไหม

สมมติชีวิตนี้อยากทำงาน 20 วันต่อเดือนพอ ที่เหลือจะไปใช้ชีวิต อยู่กับครอบครัว

แสดงว่าเราต้องคุ้มทุนได้ใน 20 วัน
สูตรจุดคุ้มทุนคือ

จุดคุ้มทุน = ต้นทุนคงที่ /( ราคา - ต้นทุนผันแปร)

ต้นทุนมี 2 ประเภทคือ ต้นทุนคงที่ และต้นทุนผันแปร

อยากคุ้มทุนไวก็ต้องทำต้นทุนคงที่ให้ได้ต่ำที่สุด
จุดคุ้มทุนต่ำ ก็สามารถตั้งราคาต่ำกว่าเพื่อนเพื่อเพิ่มปริมาณได้

ต้นทุนคงที่คือทุกเดือนต้องจ่าย


สมมติค่าผ่อนรถ 10 ล้ออยู่ที่ 50,000 บาท
อยากมีรายได้เดือนละ 40,000 บาท

ถ้าทำงาน 20 วัน ต้นทุนคงที่วันละ 90,000/20 = 4500

ถ้าขับวันละเทียวได้มา 3200 และ
ต้องหาอีก 4500-3200 = 1300 บาทต่อ 20 วัน
ที่เหลืออีก 10 วันจะไปหาลูกเมีย

มองอีกมุม
ถ้าขับ 20 วัน
ได้เงิน = 3200 * 20 = 64,000 บาท
ค่าผ่อน 50,000 เหลือ เงินเดือนเรา 14,000 แระ

ต้นทุนผันแปร

ใน app คิดค่าขนส่งกิโลละ 18 บาท
ต้องแพงหน่อยเพราะ ขากลับเราต้องตีรถเที่ยวเปล่า

คิดระยะทาง ต้องคิดจาก
ที่จอด => ลูกค้า
ลูกค้า =>ที่ส่ง  <=== เก็บเงินได้แค่นี้
ที่ส่ง => ที่จอด

จากโจทย์
ถ้าขับวันละเทียวได้มา 3200 และ
ต้องหาอีก 4500-3200 = 1300 บาทต่อ 20 วัน
เหลืออีก 1300 ต้องวิ่งวันละกี่กิโล

น้ำมีตีแพงๆเลย ลิตรละ 40 บาท
สมมติ อัตราสิ้นเปลือง 4 กิโลลิตร

ต้นทุนน้ำมัน กิโลละ
40/4 = 10 บาท

ต้องวิ่ง ขั้นต่ำวันละ 
1300/(18 - 10)= 162 กิโลต่อวัน 


วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2555

สอนวิเคราะห์หุ้นที่ Q-house

วันนี้มีคิวไปสอนวิเคราะห์หุ้น เป็นนักเรียนกลุ่มย่อยๆครับนัดเรียนกันที่สตาร์บัก Q-house สาธร เรียนทฤษฎีมาหลายคาบคาบนี้ก็มาปฎิบัติวิเคราะห์ด้วยตนเอง แต่จะให้วิเคราห์หุ้นธรรมดาก็กระไรอยู่ก็เลยเลือกหุ้นที่พึ่งผ่านการปรับโครงสร้างหนี้บริษัทมีผลประกอบการขาดทุนมาตลอด ถ้านักลงทุนทั่วไปมองผ่านไปแต่เรียนหลักสูตรนี้ไม่ได้ครับเราต้องหาคุณค่าของมันให้ได้ ก็ปริ้นข้อมูลปึกใหญ่ ทั้งงบบการเงิน, 56-1, ข่าว ฯลฯพร้อมด้วยคำถามยาวเป็นหางว่าว 1 หน้า a4 ให้เวลา 2 ชัวโมงอยากทำอะไรก็ทำสงสัยอะไรก็คอยตอบ

เนื้อหาการวิเคราะห์ประกอบด้วย 3 aria ครับ
1 BUSINESS FUNDAMENTALS
กิจการที่ลงทุนมี business model อะไรและมีความสามารถในการแข่งขันที่่ยั่งยื่น?

2 VALUATION
กิจการที่จะลงทุนมีมูลค่าเท่าไร ถูก/แพงไปเมื่อเที่ยบกับราคาตลาด มีMOS หรือไม่?

3 CATALYST FOR CHANGE

กิจการที่จะลงทุนมีตังเร่งอะไรที่ทำให้กิจการดีขึ้นกว่าเดิมบ้าง?

เวลาลงทุนถ้าตอบสามคำถามนี้ได้แม่นๆก็ลดการขาดทุนไปได้เยอะครับ

วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2555

ปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จในการเล่นหุ้น

ผู้ใหญ่ที่นับถือคนหนึ่งบอกผมว่าคนเราจะประสบความสำเร็จเป็นที่ 1 ได้ประกอบด้วยคำสามคำ
O : Opportunity โอกาสต่อให้เก่งแค่ไหนถ้าไม่มีโอกาสแสดงฝีมือชาตินี้ก็ไม่ประสบความสำเร็จ
N : Network คบเยอะๆหลายๆกลุ่มจะช่วยให้โอกาสเข้าหาตัวได้มากขึ้น และช่วยแก้ปัญหาหลายๆอย่างให้เราได้อย่างไม่น่าเชื่อ
E : Expert ถ้าไม่เก่งจริงถึงมีโอกาสและเครื่อข่ายแค่ไหนก็ล้มเหลวครับ

จากปัจจัยของความสู่ความสำเร็จ สำหรับปัจจัยแรก O : Opportunity ,โอกาส สำหรับคนที่คิดจะเป็นเจ้าของธุรกิจ แต่เงินทุนไม่มี หาที่ลงไม่ได้ ขาดแรงงาน ฯลฯ ตลาดหุ้นเป็นสุดสุดยอดของคนที่แสวงหาโอกาสครับเพราะทุกวันที่ตลาดเปิด จะมีคนเสนอขาย (Offer) กิจการให้เราได้เข้าร่วมเป็นเจ้าของตลอดเวลา

โอกาสผ่านเข้ามาในชีวิตตลอดเวลา แต่มันจะเป็นโอกาสหรือแค่สิ่งที่ผ่านไปผ่านมา ก็ขึ้นอยู่กับทัศนคติตัวเราด้วยครับ สมมติมีวิกฤติเข้ามาบางคนมองเป็นโอกาส ในหัวใจเขาจะมีแต่คำว่า "ความหวัง" ในขณะที่บางคนเห็นแต่ปัญหา ในตลาดหุ้นจะมีหุ้นที่กำลังฟื้นตัวหรือหุ้น turnaround ถ้าคนธรรมดาก็จะเห็นแค่เป็นบริษัทเน่าๆแล้วปล่อยผ่านไปในขณะที่จะมีนักลงทุนกลุ่มหนึ่งที่เห็น "ความหวัง" เขาก็เข้าไปศึกษาและลงทุน เมื่อวันใดที่กิจการฟื้นตัวขึ้นมาก็สามารถสร้างผลตอบแทนได้หลายเท่าตัว ในเว็ป thaivi ที่ดังๆเป็นเซียนหุ้น turnaround ก็เช่นคุณ pak

ปัจจัยความสำเร็จตัวที่สอง N : Network หัวใจหลักของการลงทุนคือความเข้าใจธุรกิจ แตว่าแต่ละคนก็มีประสบการชีวิตที่ต่างกันทำให้ความเข้าใจในธุรกิจก็ไม่เท่ากัน ดังนั้นขีดจำกัดของการลงทุนก็คือขอบเขตความรู้ที่คุณมี ปู่วอเร็นเรียกว่า Cycle of knowledge แต่จากกที่ที่ผมเปิดคอร์สสอนลงทุนหุ้นมาก็มีนักเรียนมาเรียนหลายรุ่น สิ่งที่เกิดขึ้นคือมีการแชร์ความรู้กัน หมวดธุรกิจหลายหมวดที่ไม่เคยลงทุนเพราะ Cycle of knowledge คลุมไม่ถึงทำให้ไม่เข้าใจธุรกิจและพลาดโอกาสลงทุนก็เปิดมากขึ้น

ปัจจัยความสำเร็จตัวสุดท้าย E : Expert ถ้าลงทุนโดยไม่มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงหัวใจของการลงทุนอย่างไรก็เจ้งครับ และความเชื่อมโยงระหว่างศาสตร์ต่างๆก็เจ้งครับ หรือไม่ก็ได้แต่ตามคนอื่นอย่างเดียว

วันจันทร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2555

Magic formula กับหาหุ้นเด็ดดดดด ประจำปี 2555

Magic formula  แนวคิดนี้ถูกนำเสนอในหนังสือชื่อ คัมภีร์สุดยอดนักลงทุน (The little book that beats the market) สูตรมหัศจรรย์เพื่อชัยชนะและความมั่งคั่ง ผู้เขียน Joel Greenblatt (โจเอล กรีนแบลตต์) ผู้แปล ชานันท์ อารีย์วัฒนานนท์

สูตรนี้เป็นการคัดกรองหุ้นโดยหาหุ้นดีและถูกโดย อาศัยการผลตอบแทนจากการลงทุนของผู้ถือหุ้น (ROE) เป็นตัวแทนของหุ้นดี  และค่า PE เป็นตัวแทนของหุ้นถูก ไม่ต้องคำนวณเองครับเว็ป siamchart.com/stock/  เขาทำให้เรียบร้อย กรองมา 30 อันดับแรกได้รายชื้อหุ้นดังนี้ สิ้นปีนี้มาดูกันนว่าจะหมู่หรือจ่า
หน้าตาอเฮีย Joel Greenblatt จำหน้าไว้ให้ดีๆ
ข้อมูลวันที่ 2/1/2012
No Name Price P/E ROE%
1
WIN 0.36 1.5 170.23
2 TGPRO 0.2 2.5 536.58
3 GRAND 1.14 1.84 160.23
4 ACAP 7 1.82 65.01
5 EVER 0.65 1.35 48.71
6 PTL 14.9 3.26 52.68
7 BLISS 0.04 4 101.89
8 AJ 14.2 4.13 51.63
9 ASIMAR 1.54 3.95 40.28
10 PT 3.12 4.59 42.6
11 SENA 2.28 3 29.45
13 MCS 8.8 5.37 37.89
12 RASA 1.81 3.85 29.61
14 SST 9.9 3.71 26.02
15 BFIT 6.8 2.68 24.44
16 IVL 29.25 6.69 48.16
17 NOBLE 5.6 2.76 23.43
18 PHATRA 28.75 5.67 28.27
19 FORTH 3.52 6.77 37.43
20 SGP 14 6.42 33.78
21 GL 24 5.29 24.34
22 SMK 219 6.48 32.67
23 BCP 18.9 4.24 22.34
24 AIT 47.25 7.06 38.18
25 QLT 6.55 6.97 36.75
26 KCAR 9 6.47 27.8
27 BANPU 546 6.91 32.44
28 TKS 6.1 6.29 25.66
29 SPALI 14.3 7.33 36.63
30 SVI 3.2 6.96 31.31