การหามูลค่าหุ้นด้วยการคิดลดเงินปันผล (Dividend discount model) สมการสั้นๆคือ p = d/k-g แต่การคำนวณไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะไม่รู้ว่าจะเอาตัวแปลไหนมาใส่ บทความนี้จะบอกสมมติฐานที่มาที่ไปสูตรการหาราคาเหมาะสม ทำให้นักลงทุนสามารถเลือกตัวแปรที่จะนำมาใช้ในการการประเมินมูลค่าได้ง่ายขึ้นครับ
รู้จักผลตอบแทนที่คาดหวัง k, WACC
ในการประเมินมูลค่าหุ้นวัตถุประสงค์เพื่อบอกว่าราคาหุ้นที่เราสนใจคุ้มค่าที่จะลงทุนหรือไม่ ถ้าไม่คุ้มก็จะบอกว่าแพงไปไม่ซื้อถ้าคุ้มก็ตัดสินใจลงทุน
ความคุ้มหรือไม่คุ้มในทางเศรษฐศาสตร์มองว่า ทุกๆการตัดสินใจมีค่าเสียโอกาสเสมอ เพราะเมื่อคุณเลือกทางใดทางหนึ่งต้องยอมสละทางเลือกหนื่งไป (เพื่อความอินให้เปิดเพลง ได้อย่างเสียอย่าง - อัสนี ; วสันต์ โชติกุล ประกอบ)
ดังนั้นการตัดสินใจที่ดีที่สุดคือ เลือกทางที่ค่าเสียโอกาสต่ำสุดนั่นเอง
เช่นมีสามโครงการ ผลตอบแทน 20 30 10 ตามลำดับ
- ถ้าเลือกโครงการที่ 1 ได้ 20 แต่เสียโอกาสได้ผลตอบแทน 30% จากทางเลือกที่ 2
- ถ้าเลือกโครงการที่ 2 ได้ 30 ค่าเสียโอกาสคือ 0
- ถ้าเลือกโครงการทีี่ 3 ได้ 10 แต่เสียโอกาสได้ผลตอบแทน 30% จากทางเลือกที่ 2
ในทางการเงิน "ผลตอบแทนของทางเลือกที่เราไมได้เลือกนั่นเอง" หรือผลตอบแทนที่เราคาดหวัง มักจะเขียนตัวย่อว่า k หรือถ้าที่มาของเงินมาจากหลายแหล่งก็จะนำแต่ละแหล่งมาเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักกันเป็น WACC
นั่นก็คือถ้าลงทุนแล้วได้ผลตอบแทนไม่คุ้ม k ก็จะไม่ลงทุนนั่นเอง
เข้าใจมูลค่าปัจจุบัน (Present Value)
จุดเริ่มต้นของความอยากรวยเริ่มจากสมการดอกเบี้ยทบต้นและย้อนมาการหามูลค่าปัจจุบัน ทำให้แตกลูกแตกหลานออกมาเป็นวิชาการลงทุน ถ้าเข้าใจเรื่องมูลค่าเงินตามเวลา ก็เหมือนการเข้าใจวิชาการเงินทั้งเล่มนั่นเอง
มูลค่าอนาคต (Future Value)
เริ่มจากการลงทุน สมมติเรามีเงินปัจจุบันเท่าากับ PV บาท เอาเงินไปลงทุนได้ผลตอบแทนทบต้นที่ i ถ้าให้มันทบไปเรื่อยๆเท่ากับ n ปีจะได้เงินอนาคต FV เท่ากับ
มูลค่าปัจจุบัน (Present Value)
คิดมุมกลับสมการนิดเดียวคือ ถ้าเราอยากได้เงินในอนาคตเท่ากับ FV โดยที่เราเอาเงินไปลงทุนได้ผลตอบแทนเท่ากับ i เป็นจำนวน n ปี วันนี้ PV ต้องใช้เงินไปลงทุนกี่บาท
PV จะถูกประยุกต์ไปใช้เป็นสูตรเบื้องหลังในการประเมินมูลค่าหุ้นอีกที่
มูลค่าปัจจุบันสุทธิ Net Present Value และการกำหนดมูลค่าเหมาะสม
ในการตัดสินลงทุนจะตัดสินใจจากมูลจากปัจจุบันของกระแสเงินสดว่าเป็นบวกหรือลบ ถ้าบวกแสดงว่าโครงการที่ลงทุนให้ผลตอบแทนมากกว่าผลตอบแทนที่คาดหวัง ถ้าค่าเป็นลบแสดงว่าโครงการที่จะลงทุนให้ผลตอบแทนน้อยกว่าที่คาดหวังก็จะไม่ตัดสินใจลงทุน
เมื่อคิดจะลงทุนต้องรู้ 3 เรื่องนี้
เมื่อคิดจะลงทุนไม่ว่าโครงการอะไรก็ตามต้องรู้ 3 เรื่องนี้คือ
3.1ได้อะไรมา
ลงทุนเสียกระแสเงินสดออกไปในวันนี้สิ่งที่ได้กลับมาคือกระแสเงินสดในอนาคต สำหรับการลงทุนในหุ้น สิ่งที่ได้มาคือเงินปันผล หลายคนก็มองว่าสิ่งที่ได้มาคือกระแสเงินสดอิสระ (free cash flow)
สำหรับการประเมินมูลค่าหุ้น สมมติให้สิ่งที่ได้มาคือเงินปันผล D ที่จ่ายทุกปี D1 D2 D3 ..... Dn ตามลำดับ
3.2จ่ายอะไรไป
โลกนี้ไม่มีอะไรฟรีๆ ถ้าในธุรกิจสิ่งที่จ่ายคือเงินที่นำไปลงทุนในโครงการทั้ง สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน และเงินทุนหมุนเวียนที่ต้องใช้ในการทำธุรกิจ สำหรับการลงทุนหุ้น เงินที่จ่ายคือราคาหุ้นนั่นเอง
3.1คุ้มหรือไม่
คำว่าคุ้มหรือไม่คุ้มถูกประเมินด้วย NPV เพื่อบอกว่าผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับจากการลงทุนนั้นคุ้มค่ากับผลตอบแทนที่คาดหวัง k หรือไม่นั่นเอง ตามอ่านได้ในหัวข้อต่อไป
NPV Net Present Vaue และการคิดลดเงินปันผล Dividend Discount Model
สำหรับการลงทุนในหุ้น เราจ่ายเงินซื้อหุ้นที่ราคา P บาท โดย "คาดหวัง" ว่าจะได้เงินปันผลในอนาคตเท่ากับ d1 d2 d3 ไปเรื่อยๆ จนถึง dn ตามลำดับโดยที่มีผลตอบแทนที่คาดหวังเท่ากับ k
NPV จะเป็นผลต่างระหว่างเงินที่ต้องใช้ในการซื้อหุ้นคือ P กับเงินที่ต้องใช้ลงทุนในโครงการทางเลือกอื่นว่าใช้เงินลงทุนในวันนี้เท่าไร ซึ่งในสมการก็คือตัวยาวๆที่เหลือนั่นเอง แปลสมการเป็นภาษามนุษย์คือ ถ้าต้องการ ปันผลในอนาคตเท่ากับ d1 d2 d3 ไปเรื่อยๆ จนถึง dn โดยเราสามารถลงทุนได้ผลตอบแทนทบต้นเท่ากับ k (ค่าเสียโอกาสของโครงการที่ไม่ได้เลือก) วันนี้จะต้องใช้เงินลงทุนเท่าไร
ถ้า NPV เป็นบวกแสดงว่าลงทุนหุ้นได้ผลตอบแทนมากกว่าผลตอบแทนที่คาดหวัง หุ้นจะขึ้นเพราะจะถอนการลงทุนจากโครงการที่ให้ผลตอบแทนเท่ากับ K มาซื้อหุ้นแทน
ถ้า NPV เป็นลบแสดงว่าลงทุนหุ้นได้ผลตอบแทนน้อยกว่าที่คาดกวังหุ้นจะลงเพราะคนจะไม่ซื้อเอาเงินไปลงทุนที่อื่นที่ให้ผลตอบแทนเท่ากับ k ดีกว่า
จะเห็นว่าราคาหุ้นจะถูกปรับตัวจากการคาดการกระแสเงินสดในอนาคตของคนนั่นเอง
การกำหนดมูลค่าเหมาะสม
จะเห็นว่าเมื่อราคาหุ้นไม่ได้อยู่ที่จุดดุลยภาพมันก็จะแกว่งตัวอยู่รอบๆราคาเหมาะสมนั่นเอง เพื่อให้การประเมินมูลค่าหุ้นง่ายขึ้น ได้มคนชื่อนายกอร์ดอนได้คิด gordon growth model เพื่อช่วยให้การประเมินมูลค่าง่ายขึ้น โดยใส่สมติฐานเพิ่มเข้าไปคือ
- เงินปันผลเติบโตด้วยอัตราคงที่เท่ากับ g
- ถือหุ้นไปเรื่อยๆไม่มีที่สิ้นสุด ถึงอนาคตอันไกลโพ้น (infinity)
จากความรู้เรื่อง ลำดับและอนุกรมที่เรียนมาตอน ม ปลาย ทำให้รู้ว่า
สมการสั้นลงอีกหน่อย และราคาเหมาะสมก็คือราคาที่ทำให้ NPV = 0 หรือราคาหุ้นที่ทำให้นักลงทุนได้รับผลตอบแทนเท่ากับผลตอบแทนที่คาดหวังนั่นเอง
ให้ NPV = 0 จะได้
แปลเป็นภาษามนุษย์คือ ถ้าบริษัทแห่งหนึ่งมีผลปันผลปีหน้าเท่ากับ D1 ที่เติบโตอย่างไม่มีที่สิ้นสุดในอัตราคงที่ g และนักลงทุนมีผลตอบแทนที่คาดหวังเท่ากับ k ราคาที่เหมาะสมคือราคาหุ้นที่ทำให้นักลงทุนได้รับผลตอบแทนในอนาคตเท่ากับผลตอบแทนที่คาดหวังนั่นเอง
ถ้าราคาตลาดสูงกว่านี้คนก็จะไม่ซื้อเพราะรู้สึกแพง หุ้นจะตก ถ้าราคาต่ำกว่านี้คนจะมาซื้อเพราะรู้สึกว่ามันถูกหุ้นราคาหุ้นจะขึ้น
ชอบคณิตศาสตร์เยอะๆ อ่านทางนี้
http://fahmi.ba.free.fr/docs/Courses/2012%20HEC/FBA_FE_Chap1_time_value_derivation.pdf
D1 ปันผลปีหน้า ถ้าตามสมมติฐาน เงินปันผลที่เห็นในสมการคือเงินปันผลที่เติบโตเรื่อยๆในอัตราคงที่ ดังนั้นการประมาณการตัองดูดีๆว่าปันผลที่เอามาเป็นปันผลจากกำไรปกติ และต่อเนื่องหรือไม่ ถ้าไม่ได้มาจากรายการต่อเนื่องต้องระวัง
g การเติบโต จากสมมติฐานบอกว่าการเติบโต โตด้วยอัตราคงที่ไปไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้นการเติบโตที่จะนำเข้ามาประมาณการจะต้องเป็นการเติบโตที่สะท้อนการเติบโตระยะยาวววววว ไม่ใช่แค่ 1-2 ปี
ส่วนค่า k ไม่ต้องคิดเยอะมันคือผลตอบแทนที่คาดหวังอาจจะกำหนดมาลอยๆ หรือประมาณการด้วย CAPM ก็ได้
จะเห็นว่าการประเมินมูลค่าหุ้นด้วยการคิดลดเงินปันผล เห็นสมการสั้นๆแต่ที่มาไม่ธรรมดาเลยทีเดียว สิ่งที่ต้องระวังในการนำการประเมินมูลค่าหุ้นไปใช้งานคือ ราคาหุ้นที่คำนวณได้จะเป็นราคาหุ้นที่เป็นจริงต่อเมื่อสมติฐานนั้นเป็นจริงครับ เจริญในการลงทุนทุกท่านครับ
ติดตามเราได้ที่ Website : http://www.investidea.in.th
Facebook : http://www.facebook.com/investidea.in.th
Line ID : @investidea.in.th ใส่@นำหน้าด้วย
หรือสอบถามราบละเอียดและลงทะเบียนได้ที่ Line; pat4310, หรือโทร 086-503-5023
http://fahmi.ba.free.fr/docs/Courses/2012%20HEC/FBA_FE_Chap1_time_value_derivation.pdf
หลักการเลือกตัวแปรเข้าคำนวณมูลค่าเหมาะสม
ความสัมพันธ์ระหว่างผลประกอบการและมูลค่าหุ้น กดที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ |
D1 ปันผลปีหน้า ถ้าตามสมมติฐาน เงินปันผลที่เห็นในสมการคือเงินปันผลที่เติบโตเรื่อยๆในอัตราคงที่ ดังนั้นการประมาณการตัองดูดีๆว่าปันผลที่เอามาเป็นปันผลจากกำไรปกติ และต่อเนื่องหรือไม่ ถ้าไม่ได้มาจากรายการต่อเนื่องต้องระวัง
g การเติบโต จากสมมติฐานบอกว่าการเติบโต โตด้วยอัตราคงที่ไปไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้นการเติบโตที่จะนำเข้ามาประมาณการจะต้องเป็นการเติบโตที่สะท้อนการเติบโตระยะยาวววววว ไม่ใช่แค่ 1-2 ปี
ส่วนค่า k ไม่ต้องคิดเยอะมันคือผลตอบแทนที่คาดหวังอาจจะกำหนดมาลอยๆ หรือประมาณการด้วย CAPM ก็ได้
ติดตามเราได้ที่ Website : http://www.investidea.in.th
Facebook : http://www.facebook.com/investidea.in.th
Line ID : @investidea.in.th ใส่@นำหน้าด้วย
สัมมนาวิเคราะห์หุ้นด้วยปัจจัยพื้นฐาน
ดูรายละเอียดและตารางอบรมได้ที่http://www.investidea.in.th/p/value-investor.htmlหรือสอบถามราบละเอียดและลงทะเบียนได้ที่ Line; pat4310, หรือโทร 086-503-5023