วันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2564

บัญชีต้นทุนและการจัดการ loss

ปัญหาเรื่องการจัดการต้นทุนในการผลิต เราอยากรู้ว่าต้นทุนจริงๆเอาอยู่ตรงเท่าไร คุณ ศราวุธ  สุ เขียนบทความเรืองนี้ไว้เยี่ยมมาก หลักคือกำหนดต้นทุนมาตรฐานไว้อันนึง ผลิตสินค้า 1 ชิ้นก็เบิกตามต้นทุนมาตรฐาน ถ้าเบิกเกินแสดงว่ามี loss ต้องอธิบายได้ว่าเกินจากอะไร ทำรหัสบัญชีไว้รอตามหลัก 4M บันทึกเวลา และน้ำหนัก ด้วยก็ได้การวัด loss เพิ่มอีก 

ผมทำงานกับโรงงานอุตสาหกรรมมาเกือบตลอดชีวิตการทำงาน มีแค่บางช่วงในระยะเวลาสั้นๆ ที่เข้าไปทำงานกับกิจการโทรคมนาคมโดยยอมทิ้งเงินเดือนดีๆ และตำแหน่งงานระดับผู้จัดการไปทำหน้าที่แค่ระดับพนักงานอาวุโส แต่ยังไม่ถึงระดับผู้จัดการ เพียงเพราะว่าต้องการตอบแทนบุญคุณของคุณลุงที่เคยช่วยเหลือครอบครัวผมมาในสมัยที่ท่านยังอยู่ และช่วยเหลือมาตั้งแต่ก่อนผมจะเกิดเสียด้วยซ้ำ อีกอย่างคุณลุงกับพ่อผมก็เป็นเพื่อนสนิทกัน เมื่อลูกคุณลุงเปิดบริษัท ผมที่เชื่อมั่นในฝีมือตัวเองว่ามีอยู่บ้างก็สมัครเข้าไปทำงานด้วย แต่แค่เวลาเพียงไม่กี่ปี แค่ระยะเวลาสั้นๆ ความรู้ที่ผมกอบโกยได้จากที่นั่น ทำให้ผมเอามาประยุกต์กับงานในโรงงานอุตสาหกรรมได้มากมายอย่างเหลือเชื่อ

ศาสตร์ที่ผมเก่งที่สุดคือเรื่องต้นทุน แต่ผมยังเก่งเรื่องการวางระบบ และการออกแบบโครงสร้างของงานที่ทำอยู่ แล้วปรับเปลี่ยนโครงสร้างเดิมให้กลายเป็นโครงสร้างใหม่เพื่อให้ลดต้นทุน ลดขั้นตอน แล้วจะทำให้เกิดผลประโยชน์ตอบแทนกลับมาได้อย่างยั่งยืน แต่ในกิจการโทรคมนาคมทำให้ผมได้ทดลองใช้เครื่องมือทางอิเลคโทรนิคส์เอามาบริหารข้อมูลที่มีอย่างมหาศาลในอุตสาหกรรม แล้วเปลี่ยนข้อมูลพวกนั้นให้เป็นรายงานเชิงวิเคราะห์ที่บอกให้เห็นจุดอ่อน สาเหตุที่ทำให้มีจุดอ่อน และวิธีการแก้ไขจุดอ่อน
ในอุตสาหกรรม ปัญหาเรื่องของเสีย หรือ loss ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระบบเป็นเรื่องที่ยุ่งยากมากที่จะแก้ไข ผมซึ่งรู้เรื่องระบบต้นทุนอยู่แล้วว่าต้องใช้ข้อมูลจากฝ่ายผลิตที่มีวิศวกรควบคุมอยู่มาเป็นวัตถุดิบในการทำงานด้านต้นทุน และผมก็รู้ว่าวิศวกรต้องการข้อมูลอะไรบ้างจากระบบต้นทุนที่ผมควบคุมอยู่

วิศวกรต้องการคุณภาพการทำงานที่สูงขึ้น มีต้นทุนที่ต่ำลง ต้องการรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกเวลาที่ต้องการ เพราะถ้ารู้ปัญหาเร็วก็จะแก้ไขปัญหาได้เร็ว ผมก็สนองความต้องการแบบนี้ให้
ผมเสนอไปว่า ก่อนที่เราจะรู้ว่าอะไรที่ดีขึ้นหรือแย่ลง เราก็ต้องสร้างมาตรฐานของสิ่งที่เราจะใช้เป็นพื้นฐานมาก่อน แล้วค่อยเอาสิ่งที่เกิดขึ้นจริงมาวัดกับมาตรฐาน นั่นแหละเราถึงจะรู้ว่าอะไรที่ดีหรือไม่ดี ถ้ายังไม่ได้ทำมาตรฐาน ก็เอาที่ทำอยู่ในปัจจุบันนี่แหละสร้างเป็นมาตรฐานขึ้นมา
และถ้าต้องการจะรู้ว่าที่ดีหรือไม่ดีนั้นเกิดขึ้นจากสาเหตุอะไร เราก็ต้องมาวิเคราะห์ว่าเราต้องการอะไรจากความจริงที่เกิดขึ้น

อุตสาหกรรมคือการเปลี่ยนวัตถุดิบให้กลายเป็นสินค้า โดยมีกระบวนการต่างๆ มีเครื่องมือต่างๆ ที่อาจจะใช้แรงงานคนหรือเครื่องจักรในการเปลี่ยนสภาพจากวัตถุดิบให้กลายเป็นสินค้า ผมจึงเสนอให้มีการปรับปรุงกระบวนการทำงานที่เคยทำกันเหมือนประเพณี แล้วเปลี่ยนวิธีการทำงานเสียใหม่
การเบิกวัตถุดิบ จากเดิมที่เคยเบิกมากองๆ เอาไว้ กลายเป็นให้เบิกได้เท่าที่มาตรฐานกำหนดว่าจะต้องใช้เท่าไหร่แล้วเท่านั้น และมาตรฐานก็บวกเผื่อสำหรับของเสียปกติเอาไว้แล้ว แต่ถ้าไม่พอใช้และต้องเบิกเพิ่ม ก็ต้องระบุเหตุผลด้วยว่าเป็นเพราะอะไรถึงต้องเบิกเพิ่ม
ผมเสนอให้ออกแบบรหัสของการให้เหตุผลออกมาเป็นตัวเลข เพื่อให้คอมพิวเตอร์มันอ่านรหัสแล้วแปลไปเป็นความหมายในรายงานทางการเงินได้แบบอัตโนมัติ รหัสของเหตุผลแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มหลักๆ คือ 
  • --> 1 หมายถึง วัตถุดิบ (Material) เป็นการบอกปัญหาที่เกิดในการผลิตว่าเป็นเพราะวัตถุดิบมีปัญหา เช่น สเปคไม่ได้ คุณภาพไม่ดี ฯลฯ ซึ่งรหัสย่อยก็อาจจะแยกออกเป็น 11x หมายถึงคุณภาพไม่เป็นไปตามที่กำหนด หรือ 12x หมายถึงสเปคของวัตถุดิบไม่เป็นไปตามมาตรฐาน (ส่วนจะแยกรหัสย่อยๆ อะไรออกไปอีกก็ไปเพิ่มเติมกันเอาเองแล้วแต่กิจการของท่าน)
  • --> 2 หมายถึง คนงาน (Man) เป็นการบอกว่าปัญหาที่เกิดขึ้นมันเกิดจากคน เช่น ความรู้ไม่เพียงพอ หรือไม่ปฏิบัติไปตามข้อกำหนดในการทำงาน ฯลฯ
  • --> 3 หมายถึง เครื่องจักร (Machine) เป็นการบอกว่าปัญหาเกิดจากเครื่องจักร เช่น เครื่องจักรเสีย หรือไม่พร้อมสำหรับการทำงาน ฯลฯ
  • --> 4 หมายถึง ขั้นตอนการทำงาน (Method) บอกให้ทราบว่าเป็นเพราะขั้นตอนการทำงานต่างๆ ออกแบบไว้ไม่ถูกต้อง จึงทำให้เกิดความเสียหาย  และ
  • --> 9 หมายถึง ปัญหาอื่นๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น (Others) เช่น ไฟฟ้าดับ พนักงานมาทำงานไม่ทันเพราะปัญหาการเดินทาง น้ำท่วม ไฟไหม้ ฯลฯ
ทั้งหมดนี้รวมๆ เรียกว่า 4M ที่วิศวกรทุกคนรู้จักอย่างขึ้นใจ แต่ผมไม่ได้ให้ทำแค่นี้ ผมยังเอาไปบันทึกเวลาการทำงานจริงเทียบกับเวลามาตรฐาน แล้วบอกให้รู้ว่าประสิทธิภาพการทำงานที่เสียไปแล้วทำให้ต้องใช้เวลาการทำงานเพิ่มขึ้นนั้น มันมีมูลค่ามากแค่ไหนในแต่ละเหตุผล
ที่เคยทำการวิเคราะห์ปัญหาแบบก้างปลา ก็ไม่ต้องทำเองด้วยมืออีกแล้ว ก็สร้างรายงานที่ดึงเอาข้อมูลพวกนี้มาวางไว้ได้เลยโดยอัตโนมัติ ลดทั้งงาน เพิ่มทั้งประสิทธิภาพการทำงานที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องสามารถดึงเอาไปใช้ได้ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายทรัพยากรบุคคล ฝ่ายตรวจสอบคุณภาพสินค้า และทุกแผนกที่ต้องการทราบ

และผมก็ยังออกแบบระบบบัญชีต้นทุนให้เป็นระบบ Activity Base Costing (ABC) ที่ทุกๆ กระบวนการผลิตมันจะต้องผ่านขั้นตอนต่างๆ และการบันทึกบัญชีก็จะเป็นไปตามความจริงที่เกิดขึ้น
เมื่อมีการเบิกวัตถุดิบ หรือบันทึกการทำงานเมื่องานเสร็จในแต่ละขั้นตอน ปัญหาที่เกิดขึ้นจะมีการคำนวณทั้งเชิงปริมาณ และราคาต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากมาตรฐานออกมาให้เห็นได้ตลอดเวลา 
ระบบ ABC จะบอกให้เห็นว่าขั้นตอนไหนใช้วัตถุดิบตัวใด ใช้เครื่องจักรตัวไหน ถ้ามีปัญหาเกิดขึ้นแล้ววิเคราะห์ว่าเกิดเพราะวัตถุดิบ หรือชิ้นส่วนตัวใด การแก้ไขปัญหาก็จะทำได้อย่างตรงจุด และแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว

คนที่ไม่ได้ทำงานฝ่ายบัญชีคงไม่รู้ว่าแผนกนี้รู้ต้นทุนของวัตถุดิบ หรือค่าแรงงานต่างๆ รวมถึงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมด ผมแค่ออกแบบระบบให้ฝ่ายวิศวกรและฝ่ายบัญชีต้นทุนทำงานร่วมกันได้แค่นั้น โดยดึงเอาแผนก IT ให้มาช่วยออกแบบระบบเพื่อลดเวลาในการบันทึกข้อมูลจากการใช้คนงานบันทึก มาเปลี่ยนเป็นบาร์โค๊ดช่วยบันทึกแทน ซึ่งช่วยลดต้นทุนได้มากกว่า และมีข้อมูลที่ถูกต้องมากกว่า
งานของวิศวกรดีขึ้น ก็หมายถึงมาตรฐานในการทำงานสูงขึ้น ก็ปรับมาตรฐานการผลิตให้สูงขึ้น สูงขึ้น และสูงขึ้นเรื่อยๆ เท่าที่สามารถทำได้ในประสิทธิภาพสูงสุดที่ทำได้ และทำแบบนี้ได้ต้นทุนก็จะต่ำลงๆ แล้วมีผลกำไรมากขึ้น มีคำสั่งซื้อมากขึ้นเพราะสามารถควบคุมคุณภาพได้ ควบคุมต้นทุนได้ และสามารถใช้ระบบต้นทุนเอาไปวางแผนด้านการตลาดได้แบบซับซ้อน

ถ้าปัญหาการทำงานที่เกิดจากคนมันยุ่งยากนัก ถ้าจะเปลี่ยนจากแรงงานคนมาเป็นเครื่องจักรอัตโนมัติล่ะ วิศวกรก็ไปหาสเปคมา หาราคามา หาความสามารถในการผลิตมาในระดับต่างๆ เช่น ระดับที่จะผลิตได้สูงสุด หรือต่ำสุด จากนั้นนักบัญชีต้นทุนจะเอามาคำนวณหาต้นทุน คำนวณหากำไร คำนวณหาจุดคุ้มทุนให้ และคำนวณหาผลตอบแทนจากการลงทุนให้ 

สองอาชีพนี้ไม่ใช่ไม้เบื่อไม้เมากันอย่างที่หลายๆ คนคิด แต่มันเป็นเรื่องที่เสริมกันต่างหาก ส่วนใครจะใช้งานของสองสาขาวิชานี้เป็นหรือไม่ก็อยู่ที่ความรู้ ประสบการณ์ และทัศนคติที่มีต่อกันหรือเปล่า
ไม่ใช่แค่สองสาขาวิชานี้นะที่มีปัญหา มันมีเกือบทุกสาขาวิชานั่นแหละ ไม่เว้นแม้แต่สาขาวิชาเดียวกัน
ทำงานเป็นทีมซิครับถ้าไม่อยากมีปัญหา หรืออยากมีผลงานให้เป็นที่เชิดหน้าชูตาแก่วงศ์ตระกูล และการทำงานมันไม่ได้มีอะไรง่ายแบบสิ้นคิด แต่มันสามารถทำให้ง่ายได้โดยใช้สมองคิด และระดมสมองร่วมกันแบบนักคิดแล้วเอาไปปฏิบัติจริงให้ได้

ผู้บริหารเขาใช้สมองคิดเพื่อหาวิธีใช้กำลังความสามารถของคนอื่นให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด ไม่ได้ใช้ปากเห่าไปวันๆ หรอกนะครับ
ด้วยความเคารพ
ศราวุธ  สุ
6/6/2560

loss เพิ่มเติม

มี loss หลายๆ ตัวที่ไม่ได้อยู่ในกรณีที่เขียนนี้ เช่น การซื้อวัตถุดิบที่ไม่เหมาะสมกับการผลิต ทำให้มีปริมาณงานที่ดี (yield) ต่ำกว่ามาตรฐานที่ควรจะเป็น แบบนี้ก็เอามากำหนดมาตรฐานให้แผนกจัดซื้อให้จัดหาวัตถุดิบที่เหมาะสมก็ได้ครับ ต้นทุนวัตถุดิบจะต่ำลงอีกมากมาย

ระบบที่ช่วยบันทึกการทำงาน เช่น การบันทึกน้ำหนักของ Input จะต้องได้เท่ากับ Output ที่ดี + Scrap เสมอ การบันทึกเรื่องนี้ทำให้ควบคุม Scrap ไม่ให้เกิดการสูญหายได้ง่ายมาก โรงงานอุตสาหกรรมที่มีวัตถุดิบที่มีราคาแพงๆ เช่น ทองเหลือง ทองแดง หรือทองคำ พวกนี้ถ้าทำแบบนี้ได้ ก็จะช่วยลดความเสียหายอันเกิดจากการขโมยจากพนักงานได้อย่างเห็นผลเลยทีเดียว




☀หลักสูตรวิเคราะห์หุ้นด้วยปัจจัยพื้นฐาน☀


✅เจาะลึกหุ้นอย่างเซียน เห็นผลจริง100% สไตร์ อ.ภัทร
✅Workshop !! ทำจริง เห็นผลจริง พิสูจน์ได้
✅เรียนคลาสเล็ก ถามได้ทุกคำถามคาใจ

☀เรียนแล้วได้อะไร☀


✅10 จุุดสำคัญอ่านงบการเงิน วิเคราะห์ธุรกิจไม่เสียเวลา
✅ปัจจัยเร่ง ให้หุ้นวิ่ง และสัญญาณยืนยันในงบการเงิน
✅ประมาณราคาเหมาะสม เห็นเป้าราคาหุ้นตั้งแต่วันที่ซื้อ
✅เคล็ดลับสแกนหุ้น ถูก ดี กำไรโต

🔈สอนโดย อ ภัทรธร ช่อวิชิต
นักลงทุนอิสระ เจ้าของผลงานหนังสือ คุ้ยแคะแกะหุ้นเด้ง และเจาะหุ้นร้อนสแกนหุ้นเด้ง

=======================================

🔈รายละเอียดหลักสูตร วันเวลา

investidea.in.th/p/value-investor

=======================================

☎ติดต่อสอบถามและลงทะเบียน (รับจำนวนจำกัด)

มือถือ: 0865035023

ข้อความ; www.facebook.com/messages/investidea.in.th/

line id; pat4310

เพิ่มเพื่อน
=======================================

☀เนื้อหาหลักสูตร☀


✅แหล่งข้อมูลการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน งบการเงิน คำอธิบายงบ ตัวเลขเศรษฐกิจ
✅วิเคราะห์ ปัจจัยเชิงคุณภาพ ผลกระทบต่องบการเงิน และแนวโน้มราคา
✅โครงสร้างงบดุล และลักษณะธุรกิจ จุดสำคัญที่ต้องดูในงบการเงิน
✅งบกำไรขาดทุน ลักษณะงบการเงินที่ดี
✅งบกระแสเงินสด และความสัมพันธ์กับวงจรธุรกิจ
✅การค้นปัญหาธุรกิจใน 1 นาที ด้วยอัตราส่วนทางการเงิน
✅ปัจจัยทางการเงินที่มีผลต่อทิศทางราคาหุ้น
✅การประเมินมูลค่าหุ้นด้วย PE ratio เทคนิคการใช้งานกับแต่ละอุตสาหกรรม
✅ดูความเห็นของนักลงทุนส่วนใหญ่ผ่านการเคลื่อนไหวของราคา

=======================================

☎ติดต่อสอบถามและลงทะเบียน (รับจำนวนจำกัด)

มือถือ: 0865035023

ข้อความ; www.facebook.com/messages/investidea.in.th/

line id; pat4310

เพิ่มเพื่อน