วันศุกร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2566

cisa ตราสารหนี้ 3 การวิเคราะห์ตราสารหนี้จากการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ securitization

การเปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ Securitization


Securitization คือรูปแบบการออกตราสารหนี้ประเภทหนี้ที่นำกระแสเินสดในอนาคตของสินทรัพย์กลุ่มหนึ่งมาแปลงเป็นหลักทรัพย์เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถซื้อขาย พร้อมกับมีวิธิการป้องการความเสี่ยงด้าน credit risk ให้แก่ผู้ลงทุนอย่างมีนัยสำคัญ เพื่อส่งเสริมอันดับความน่าเชื่อถือ

ลักษณะสำคัญของ Securitization คือ การแบ่งแยกความเสี่ยง segregation of risk โดยความเสี่ยงของหลักทรัพย์ที่ออกให้นักลงทุนจะขึ้นอยู่กับกระแสเงินสดในอนาคตของสินทรัพย์กลุ่มนั้ อันไม่เกี่ยวข้องกับเจ้าของสินทรัพัย์เดิมแต่อย่างใด

เจ้าของทรัพย์สินเดิมจะขายสินทรัพย์ให้แก spacial purpose vehicle spv และ spv จะเป็นผู้จัดการ และบริหารการนำสินทรัพย์จากเจ้าของเดิมมาเป็นหลักประกันการออกหุ้นกู้เพื่อใช้ระดมทุน

ความเสี่ยงของเจ้าของสินทรัพย์เดิมจากการดำเนินงานล้มละลาย จะไม่กระทบหรือถูกนำสินทรัพย์นั้นกลับมาขายทอดตลาดเพื่อเฉลี่ยทรัพย์ที่ขายให้แก spv ไปแล้ว หรือเรียกว่า bankruptcy remote อันเป็นการจัดโครงสร้างเพื่อคุ้มคลองความเสี่ยงให้แก่นักลงทุนที่ทำการลงทุนในสินทรัพย์ที่แปลงโครงสร้างในรูปแบบ Securitization

ความแตกต่างระห่ว่างหุ้นกู้ทั่วไปและการทำ Securitization



ปัจจัยที่พิจารณา หุ้นกู้ทั่วไป การทำSecuritization
ที่มาของกระแสรายได้ การดำเนินงานของผู้ออกหุ้นกู้ pools of Securitized asset
สิทธิเรียกร้อง claim ชั้นของสินทรััพย์ เฉพาะผู้ลงทุนในSecuritized asset 
ความเสี่ยง     การดำเนินงานของผู้ออก กระแสรายได้จาก Securitized asset
การจัดอันดับความน่าเชื่อถือ การดำเนินงานของผู้ออก pools of Securitized asset
กระบวนการจัดทำ ระยะสั้นๆ ไม่ซับซ้อน ใช้เวลานานและซับซ้อน
กรอบของกฎหมาย สินทรัพย์ที่นำมาคั้ำประกันการออกหุ้นกู้ยังอยู่ที่เจ้าของสินทรัพย์ที่เป็นผู้ออก Securitized asset จะถูกกรอบของกฑหมายแยกความเป็นเจ้าของจากเจ้าของสินทรัพย์มาอยู่ที่ spv

Bankruptcy remote


คือ ความห่างไกลจากการล้มละลายของบริษัทที่เป็นลูกหนี้เดิม การณีหากเกิดการล้มละลายของบริษัทที่เป็นลูกหนี้เดิมที่เป็นผู้สร้างสินทรัพย์ จะไม่มีผลใดๆ ในการกฎหมายต่อสินทรัพย์ที่ spv ซื้อมา หรือไม่มีการเฉลี่ยสินทรัพย์นั้น กับเจ้าหนี้อื่น นอกเหนือจากเจ้าหนี้ที่เป็นผู้ลงทุนในตราสารSecuritized bond เท่านั้น

การบวนการทำ Securitization


กลุ่มธุรกิจที่สามารถทำ Securitization ควรเป็นธุรกิจที่สร้างการแสเงินสดในอนาคตที่ชัดเจน และสามารถคาดคะเนได้
บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ จะวิเคราะห์ความมั่นคงของกระแสรายได้ที่มารวมกลุ่มกัน ทดสอบจาก stress test
คนเกี่ยวข้องได้แก่

นิติบุคคลที่เกี่ยวข้อง บทบาท
originator ขายทรัพย์ให้ spv
spv ติดต่อ trustee เพื่อดูแลกอง
หาอันดับความน่าเชื่อถือเพื่อประเมินความเสี่ยง
จ้าง underwriter เพื่อจำหน่ายตราสารให้นักลงทุน
servicer ให้บริการจัดเก็บและเรียกชำระเงิน โดยคิด service fee

สินทรัพย์ที่สามารถนำมาแปลงเป็นหลักทรัพย์


สินทรัพย์ที่สามารถมาแปลงเป็นหลักทรัพย์ได้แก่

  • ลูกหน้เงินกู้ที่อยู่อาศัย
  • ลูกหนี้เช่าซื้อรถยนต์
  • ลูกหนี้บัตรเครดิต
  • ลูกหนี้บิลเรียกเก็บเงินค่าสาธารณูปโภค
  • ลูกหนี้อื่นๆท่ีสามารถประเมินกระแสเงินสดได้ในอนาาคต

securitized bonds มีความน่าสนใจลงทุนเนื่องจาก

  • สามารถจัด investmentprofile ที่ต้องการได้ หากมี asset tranche ที่หลากหลาย สามารถให้ผลตอบแทนที่หลายหลายเช่นกัน
  • อัตราผลตอบแทนสูงกว่า ขณะที่ความผันผวนต่ำกว่าหุ้นกู้ทั่วไป
  • มีความมั่นคงของ credit rating มากกว่าหุ้นกู้
  • credit risk ของ securitized bond แยกต่างหากจาก credit risk ของ organizer
  • ประโยชน์ด้าน diversification เพราะมี correlation ต่างจากตราสารหนี้ประเภทอื่น
คุณลักษณะของสินทรัพย์ที่นำมาทำ Securitization ได้
  • มีรูปแบบการชำระเงินที่ชัดเจนและสามารถประมาณการกระแสเงินสดได้
  • มีกระแสรายได้ที่สามมารถคาดการล่วงหน้าได้ เช่นการชำระหนี้คืนก่อนกำหนด
  • มีลักษณะพื้นฐานของสินทรัพย์ที่ใกล้เคียงกัน เช่นระยะเวลาการชำระหนี้ หรืออายุไถ่ถอนควรใกล้เคียงหรือเหมือนกัน


ผู้เกี่ยวข้อง บทบาทและความสำคัญ
ลูกหนี้เงินกู้ borrower ชำระ ต้นและดอก
เจ้าของสินทรัพย์ originator/ seller
  • เจ้าของทรัพย์ขายให้ SPV
  • ควรมีลูกหนี้มากพอ
นิติบุคคลเฉพาะกิจ SPV รับซื้อทรัพย์มารวมกันเป็นกองสินทรัพย์ pool แล้วออกตราสาร
ผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้ servicer และตัวแทนสำรองเรียกเก็บหนี้ back up servicer เรียกเก็บ ต้นและดอก เพื่อนำมาให้ผู้ลงทุน
ที่ปรึกษาด้านต้างเช่นการเงิน กฎหมาย advisors ให้คำแนะนำ
สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ จัดอันดับก่อนขาย
  • ความเป็นไปได้ของการผิดนัดชำระหนี้ของผู้ออกตราสาร probabilly of default
  • ลักษณะและข้อกำหนดของหนี้ covenants
  • ความสัมพันธ์ของหนี้หากมีการล้มละลาย
ผู้แทนถือหุ้นกู้ bondholder's representative ดูแลประโยชน์ทั่วไปให้แก่นักลงทุน
ดูแลไม่ให้ผู้ออกหุ้นกู้กระทำการใดๆ อนเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน
เรียกร้องค่าเสียหายให้แก่ผู้ถือหุ้นกู้ กรณีผิดนัดชำระหนี้
ผู้รับประกันการจัดกำหน่าย under writer จัดจำหน่ายตราสารให้นักลงทุน
ทรัสตี trustee หรือผดู้ดูแลทรัพย์ รับฝากทรัพย์ที่แปลงสภาพแล้ว


ประเภทของตราสารที่สำคัญจากการทำ securitization


mortgage backed securitization MBS

  • Mortgage Pass Through MPT
  • Collateralized mortgage obligation CMO
  • Covered bond

Asset  backed securitization ABS

  • เงินกู้ต่อเติมบ้าน
  • ลูกหนี้บัตรเครดิต
  • เงินกู้ซื้อรถยนต์
  • เงินกู้เพื่อการศึกษา
  • เงินกู้เช่าซื้อเครื่องมือเครื่องใช้
  • เงินกู้เพื่อซื้อรถซื้อบ้าน
  • เงินกู้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ

mortgage backed securitization MBS



MBS สินทรัพย์นำมาแปลงคือ กลุ่มของสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ ที่มาจากการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินต่างๆ 
  • Mortgage Pass Through MPT
    • นำสินเชื่อบ้านมามัดรวม และนำเงินผ่านมาจ่ายคืนนักลงทุนโดยตรง
    • วัตถุประสงค์คือรวมให้ได้ขนาด
    • ปีแรก มาจากดอกเบี้ย ปีต่อไปมาจากเงินต้น (ลดต้นลดดอก)
    • มี prepayment risk กระแสเงินสดไม่มาตามนัด เช่นดอกลงคนคืนหนี้ก่อนกำหนด 
  • Collateralized mortgage obligation CMO
    • นำเงินกู้ที่อยู่อาศัย หรือ MPT มาจัดกลุ่มเป็นหลาย class หรือ tranche อีกที
    • แต่ละ tranche มี prepayment risk ต่างกัน
    • ถ้าต้องการผลตอบแทนสูงก็ไปลงใน tranche ที่ มี credit risk และ prepayment risk สูงวัดดวงเอา  
  • Covered bond
    • เอาลูกหนี้ชั้นดีมาทำ
    • สามารถเอาหนี้สาธารณะ public sector debt มาทำได้ด้วย
    • ส่วนใหญ่  AA AAA
ลักษณะกระแสเงินสดของ cmo

กระแสเงินสดของตราสาร cmo

ชำระคืนแบบเป็นลำดับ sequantial retirement ตั้งแต่อายุสั้นไปหายาว
ถ้าเงินเหลือ เช่นมาจาก prepayment ของลูกหนี้ จะไปจ่าย tranche แรกก่อนที่รับ prepayment ได้สูงสุด

Asset backed securities ABS


securitization แยกเป็น 2 ส่วนหลัก
Mortgage backed securities ใช้สินเชื่อบ้านมาทำ
Non Mortgage backed securities ไม่ใช้ 

Asset backed securities ABS เป็น Non Mortgage backed securities ที่มีสภาพคล่องในการเปลี่ยนมือต่ำแต่มีกระแสเงินสดสม่ำเสมอมาทำ เช่น
  • เงินกู้ต่อเติมบ้าน Home Equity Loans
    • การกู้แบบนี้ใช้มูลค่าสินทรัพย์เมื่อเทียบกับมูลค่าคงค้างของผู้กู้
    • จำนวนที่กู้ได้ = ราคาประเมินบ้านและที่ดิน - ยอดคงค้าง
  • ลูกหนี้บัตรเครดิต Credit Card Receivables
    • จ่ายเป็นงวดๆ
    • ไม่มีความเสี่ยงด้าน prepayment risk
  • เงินกู้ซื้อรถยนต์ Automobile Loans
    • ให้กู้โดยมอง จำนวนเงินกู้ต่อมูลค่าสินทรัพย์ ประวัติการชำระเงิน
  • เงินกู้เพื่อการศึกษา Student Loans
    • ทยอยจ่ายหนี้หลังจบ แต่ดอกเดินตั้งแต่วันกู้เงิน
  • เงินกู้เช่าซื้อเครื่องมือเครื่องใช้ Equipment Leases
    • จ่ายดี
  • เงินกู้เพื่อซื้อรถบ้าน Manufacturing Housing
    • ไม่นิยม
    • มักอยู่กลุ่ม sub prime
  • เงินกู้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ

คุณภาพของสินทรัพย์ที่มาทำ securitization ขึ้นอยู่กับ


สินเชื่อที่อยู่อาศัย
  • มูลหนี้ต่อหลักประกัน
  • มูลค่าตลาดของหลักประกันเมื่อบังคับขาย
  • ลักษณะเชิงคุณภาพ เช่น การกระจุกตัว วัตถุประสงค์ผู้กู้ ภาระหนี้ จำนวนปีที่ผ่อน ประวัติการผิดนัด
สินเชื่ออื่น
  • ประวัติการผิดนัด
  • อัตราความสูญเสียที่เกิดจากการผิดนัดชำระหนี้

การลดความเสี่ยงด้านเครดิต ด้วยการเพิ่มความน่าเชื่อถือ


ภายนอก
  • ใช้ letter of credit จากธนาคารที่มีอันดับเครดิตสูง
  • วงเงินกู้ยืม
  • ค้ำประกันเงินต้นและดอกเบี้ยโดยสถาบันการเงินที่มีอันดับเครดิตสูง
  • ค้ำประกันเงินต้นและดอกเบี้ยโดยบริษัทแม่ที่มีอันดับเครดิตสูงกว่า

ภายใน
  • ตั้งบัญชีเงินสำรองล่วงหน้า
  • การทำ over collaterization สินทรัพย์ค้ำมูลค่าสูงกว่าตราสาร
  • ขายสินทรัพย์ให้ spv ต่ำกว่ามูลหนี้ ให้ spv มีทรัพยสินมากกว่าจำนวนเงินที่ชำระเป็นค่าซื้อ
  • ออกหลักทรัพย์ขายเป็น class

การประเมินมูลค่า


ใช้มูลค่าปัจจุบันเหมือนตราสารหนี้ปกติ อัตราคิดลดคือ ผลตอบแทนเมื่อถือจนครบกำหนดอายุด yield to maturity ytm

อัตราคิดลดประกอบด้ว ผลตอบแทนแบบไร้ความเสี่ยง และส่วนชดเชยความเสี่ยง

มีความเสี่ยงสูงเพราะกระแสเงินสดขึ้นกับหลายปัจจัย เช่นภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ ลูกหน้เฉพาะตัว

แบบจำลองที่ใช้ประเมินมูลค่า


static prepaymentmodel


ประมาณความเร็วของการชำระหนี้ก่อนกำหนด prepayment speed โดยไม่ได้รวมผลกระทบของอัตรา refinance rate
มักพัฒนาจากสถิติในอดีต
CPR model จำลองที่สมมติให้การชำรระหนี้มีอัตราคงที่
PSA model กำหนดโดย public securities association สะท้อนการชำระหนี้ก่อนกำหนดที่เกิดจากฤูดการ และอายุ

dynamic 

ใช้ปัจจัยมหภาค
ชำระหนี้ก่อนเป็นสิทธ์ option

ความสัมพันธ์ระหว่าง securitized bond และอัตราดอกเบี้ย


ดอกเบี้ยสูง MBS มี price yield relation เหมือนราคาสารหนี้ปกติที่เป็น non callable bond (straight bond) กล่าวคือเป็น positive convexity
ดอกเบี้ยขาลง มีโอกาสผู้กู้ชำระหนี้คืนก่อนกำหนด เหมือนกับ callable bond เป็น negative convexity
เมื่อเทียบกับตราสารที่เป็น non callable bond แล้ว ราคาของ securitzed bond จะเพิ่มน้อยกว่าในขาที่อัตราดอกเบี้ยปรับตัวลดลงจากความสัมพันธ์

price of callable bond = price of option free bond - price of embedded call option

สรุปคือ เอาลูกหนี้มาทำตราสาร จ่ายตรงก็ดีไป จ่ายไม่ไหวก็เป็นแบบที่ อเมริกาตอน 2008 เกิดวิกฤติเศรษฐกิจกันลยทีเดียว
=======================================

อ่านหนังสือมาเยอะแต่ยังจับต้นชนปลายไม่ถูก


รวม 3 หลักสูตร Online ในคอรสเดียว เรียนจบวิเคราะห์หุ้นได้ทุกตัวในตลาด


✅เเจาะงบราย sector + ประเมินมูลค่า + แกะงบทุกตัวในตลาด(ปีละครั้ง) และสรุปงบ ทุกไตรมาส
✅เรียนOnlineผ่านวิดิโอในfacebookกลุ่มปิด ความยาวกว่า 60 ชั่วโมง
✅ดูได้ตลอดชีพ ไม่มีลบคลิป และไลฟอัพเดทเนื้อหาให้ทันสมัยตลอดเวลา
✅สงสัยถามได้ตลอดเวลา

☀เรียนแล้วได้อะไร☀


✅ดูการ เกิดขึ้นตั้งอยู่และถดถอย ของธุรกิจผ่านงบการเงิน
✅แต่ละช่วงเศรษฐกิจ sector ไหนไป sector ไหนมา และเครื่องมือดูแบบ real time
✅การวิเคราะห์หุ้นกลุ่มการเงิน คุณภาพลูกหนี้ดูตรงไหน
✅กลุ่มธุรกิจบริการ การเติบโต จุดคุ้มทุนดูอย่างไร
✅โรงแรม สื่อสาร ค้าปลีก
✅การวิเคราะห์ธุรกิจผลิต เทคนิคดูกำลังการผลิตของโรงงาน เมื่อไรจะต้องขยายโรงงานใหม่
✅ประสิทธิภาพโรงงานเป็นอย่างไร ใครดีใครด้อย เผยชัดๆ
✅การวิเคราะห์ธุรกิจ ซื้อมาขายไป สิ้นค้าค้างสต็อก เก็บเงินไม่ได้ดูอย่างไร
✅การวิเคราะห์หุ้นกลุ่มรับเหมา
✅การวิเคราะห์หุ้นกลุ่ม อสังหาริมทรัพย์ แบบไวๆ จะโอนได้เมื่อไร
✅การวิเคราะห์หุ้น วงจร รอบมา รอบไป สัญญาณในงบการเงิน
✅หุ้น turn around เจ้ากำลังแอบทำโปรเจกอะไรในงบการเงิน
✅การประมเนมูลค่าของแต่ละ sector ว่ามมีความเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร

🔈สอนโดย อ ภัทรธร ช่อวิชิต
นักลงทุนอิสระ เจ้าของผลงานหนังสือ คุ้ยแคะแกะหุ้นเด้ง และเจาะหุ้นร้อนสแกนหุ้นเด้ง

=======================================
แคปรูปตรงนี้มาได้ส่วนลดพิเศษจากปกติ 5000 บาท เหลือเพียง 2,800 บาทเท่านั้น
☎ติดต่อสอบถามและลงทะเบียน (รับจำนวนจำกัด)
line id; pat4310

เพิ่มเพื่อน
=======================================

วันอังคารที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2566

กรณีศึกษาหุ้นที่มีปัญหาตกแต่งงบการเงิน CAWOW, CIRKIT, EARTH, GL, IFEC, PICNIC, POLAR, ROYNET, SECC, STARK, EA, SABUY

Case Studies หุ้นที่มีปัญหาตกแต่งงบการเงิน ACAP, CAWOW, CIRKIT, EARTH, GL, IFEC, PICNIC, POLAR, ROYNET, SECC, STARK EA SABUY

ปล่อยกู้หละหลวม ตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตน้อยไป

ธรรมชาติของหุ้นสินเชื่อ เพราะธุรกิจนี้จะกำไรโตก็ต้องเร่งปล่อยสินเชื่อ แต่ถ้าปล่อยสินเชื่อไม่ดี npl จะเริ่มมา แล้วก็ต้องตั้งสำรองหนี้เสียเยอะแยะมากมาย

แต่ก็เป็นโอกาส ในการลงทุนเหมือนกัน ถ้าวันไหนเขาแก้หนี้เสียจบแล้วเริ่มปล่อยกู้รอบใหม่เดี๋ยวกำไรก็มาและพลิกกำไรเติบโตอีกรอบ

ธนาคารใหญ่ๆจะใช้วิธีลดความเสี่ยงด้วยการปล่อยกู้ให้กระจายๆเยอะหลายกลุ่ม คงไม่เจ้งพร้อมกันหมดหรอก 

และทำกำไรให้สม่ำเสมอไม่รถไฟเหาะด้วยเทคนิค cookie in the jar  ช่วงไหนกำไรดีก็เอามาตั้งสำรองเผื่อไว้เยอะๆ เผื่อต่อไปnplมากำไรแย่ได้ไม่ต้องตั้งสำรองเยอะ กำไรได้สม่ำเสมอ 

ACAP มันใจมากกว่าหลักประกันเกินมูลหนี้ไม่ตั้งสำรองหนี้เสีย สุดท้ายเละ


ให้สินเชื่อจริงลูกหนี้จริงแต่สายมั่นใจตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตน้อย เพราะบอกว่ามูลค่าหลักประกันเกินมูลหนี้  
อย่างในปี 61 จะมีรายการ เงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่บริษัทอื่นที่ผิดนัดชำระหนี้ ถ้าตั้งสำรองหนี้เสียตามปกติจะขาดทุนเยอะมาก
สุดท้ายยึดหลักประกันมาขายไม่ทันก็ต้องบันทึกผลขาดทุนด้านเครดิตกันไปวันนี้ยังนั่งตามทวงหนี้เก่าอยู่
acap ปล่อยกู้เพิ่ม กำไรเพิ่ม

acap ปล่อยกู้ซักพักเก็บเงินไม่ได้

GL 


เคยเป็นหุ้น growth มาก่อน ปล่อยกู้ให้บริษัทเกี่ยวข้องกันเอาไปปล่อยกู้ต่อ ที่กำพูชา มีหุ้น gl เป็นหลักประกันพอ gl ขึ้น หลักประกันขึ้นก็กู้จาก gl ได้อีก



มีปัญหาสภาพคล่อง


วงจรเงินสดยาว ระยะเวลาเก็บหนี้ ขายสินค้า เพิ่มขึ้นผิดสังเกต กระแสเงินสดดำเนินงานติดลบ 
งบแบบนี้เจ้าของต้องหาเงินหมุนเยอะ วันไหนหมุนไม่ทันชีวิตวิบัติ

cirkit ขายเก็บเงินไม่ได้ ระยะเวลาเก็บหนี้ยาว


CIRKIT ขายของแล้วเก็บเงินไม่ได้ แต่ก็ไมตั้งสำรอผลขาดทุนด้านเครดิต แต่พอตั้งสำรองขาดทุนเป็น 1,000 ล้านเลย


ระยะเวลาเก็บหนี้ยาวแท้

เก็บเงินไม่ได้ซักบาท ลูกหนี้หายไปเป็น 1000 ล้าน 


ที่มา
https://market.sec.or.th/public/idisc/th/Viewmore/fs-norm?uniqueIDReference=0000001101

ปี 2558 เปลี่ยนเจ้าของ เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท เวนเจอร์ อินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ทำธุรกิจเป็น รับทวงหนี้


STARK ยอดขายเทียม ทำให้เกิดลูกหนี้เทียม ระยะเวลาเก็บหนี้ยาว 


รายได้ทิพย์ ลูกหนี้ทิพย์ ระยะเวลาเก็บหนี้ยาว กระแสเงินสดดำเนินงานติดลบ
ในรูปเป็นงบปี 2564 มีกำไรแต่กระแสเงินสดดำเนินงานติดลบ และระยะเวลาเก็บหนี้ยาว
เอาจริงก็ไม่รู้หรอกว่าเขาสร้างยอดขายเทียม ได้แต่ตั้งข้อสงสัยว่าขายของใจดีจังให้เครดิตเขายาวเชียว จนตัวเองขาดสภาพคล่องกระแสเงินสดดำเนินงานติดลบ

stark มีกำไรแต่ไม่มีเงินสด

ยอดขายเทียม เกิดลูกหนี้เทียม ทำให้ระยะเวลาเก็บหนี้ยาว

สุดท้ายผุ้สอบมาเจอว่าสร้างยอดขายเทียมมาตั้งแต่ปี 2564 ล่ะ
จากเพจ cpa solution เอารายงานผู้สอบมาทำกระดาษทำการ จะเห็นว่าเวลาสร้างยอดขายเทียม ก็ต้องบันทึกลูกหนี้เทียมมาด้วย ถ้าไม่ทำอะไร ลูกหนี้เทียมก็จะโป่งในงบจนผิดปกติ

stark ใช้วิธีจ่ายล่วงหน้าค่าของไปก่อน แล้ววนเงินมาล้างลูกหนี้

รายการปรับปรุงทางบัญชีของ stark


EA ใช้มิตรสหายมาเป็นลูกค้าเพื่อสร้างรายได้จากการขายรถ EV


EA พอ adder โรงไฟฟ้าใกล้หมดก็ต้องหาอะไรทำ ก็ไปทำรถยนต์ EV เจาะตลาดรถบัส รถบรรทุก

ตัวละครประกอบด้วย
1. โรงงานผลิตแบตและประกอบรถ EA 51%  NEX 49%
2. NEX ทำหน้าที่ขายรถ และพอขายได้ก็รับรู้ส่วนแบ่งกำไรจากโรงงานผลิตแบตและประกอบรถ
3. BYD เป็นโบรกเกอร์ ถือหุ้นนิดหน่อยใน บริษัทรถเมล์ไฟฟ้า thai smile bus ที่ไม่รู้ทำไงเหมารถเมล์มาได้ทุกสายใน กทม และเป็นลูกค้าซื้อรถเมล์ไฟฟ้าของ NEX

ปี 2566 ส่งมอบรถไฟฟ้า EV ให้ thai smile bus

NEX รับรู้กำไรจากการขายรถให้ thai smile bus และส่วนแบ่งกำไรจาก โรงงานผลิตแบตและประกอบรถ

EA ทำงบรวมกับโรงงานผลิตแบตและประกอบ รับรู้กำไรจากการขายรถ และ ยังไม่ได้เก็บเงินลูกค้า ลูกหนี้การค้าบวมเบ่งเลย 13,000 ล้านบาท

BYDเหตุผลที่ไม่เอางบ thai smile bus มารวมถือหุ้นอยู่นิดๆ ดันให้อยู่เป็นวงนอกเพราะขาดทุนบักโกรกเอามารวมก็เละสิ รถเมล์เที่ยวละ 15 บาทจะเอากำไรมาจากไหน 
งบปี 66 สินทรัพย์ 13,500 หนี้ 14,200 ส่วนทุน -700 ขาดทุน -1,200 

EARTH เงินหมดไปกับรายจ่ายล่วงหน้า ทำให้กระแสเงินสดดำเนินงานติดลบ 


ขยันกู้และเพิ่มทุน ไปลงทุนเหมืองทิพย์ สิทธ์ในเหมือง สินค้า เงินจ่ายล่วงหน้าค่าสินค้าเยอะ 
ทำให้กระแสเงินสดจากการดำเนินงานติดลบ จะโตต้องหาเงินมาหมุนให้ได้
ปัญหาเกิดวันที่หมุนเงินไม่ทัน อีกวันเจ้าหนี้ไม่ปล่อยกู้ต่อชีวิตมีปัญหาทันที

ไปอ่านต่อได้ที่


เอาเงินออกด้วยการลงทุนทิพย์ และค่าใช้จ่ายทิพย์ตอนนี้ตามหาผู้บริหารไม่เจอ

เวลาระดมเงินมาได้แล้ว จะเอาเงินออก 
ทางบัญชีแหล่งที่ไปของเงินประกอบด้วย สินทรัพย์ และ รายจ่าย
ถ้าขยันเอาออกไม่ดี ROA จะลดลงเรื่อยๆ เพราะซื้อสินทรัย์ราคาแพงกว่าปกติ และรายจ่ายสูงกว่าปกติ

ถ้าซื้อสินค้าคงเหลือแพง กำไรขั้นต้นจะต่ำ
ซื้อสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนแพงสินทรัพย์จะโป่งแต่ผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ต่ำ  เช่น เช่นที่ดินอาคารอุปกรณ์แพง ไปซื้อกิจการแพงๆจะมีมีค่าความนิยม บริษัทร่วมแพง 

SECC กับสต็อกรถทิพย์


 เอาเงินไปซื้อสต็อกรถหรูทิพย์ ตอนนั้นมีสตอรี่จะไปประมูลรถเมล์ NGV แล้วใช้วิชาหายตัวไปเลย
รถหรูทิพย์จะไม่มีการขายออก สินค้าคงเหลือก็จะกองๆเป็นตัวเลขอยู่ในบริษัท ระยะเวลาขายสินค้าจะยายขึ้นเรื่อยๆจนน่าสงสัย

secc stock บวมเป่ง
https://market.sec.or.th/public/idisc/th/FinancialReport/ALL-0000005904?ref_id=0&content_id=1



CAWOW ผู้บริหารขยันดึงเงินจากบริษัท ปปง ตามตัวอยู่ 


เก็บค่าสมาชิตตลอดชีพ ได้เงินพออยู่พอกินก็ชิ่งเลย ผมยังเคยซื้อสมาชิคตลอดชีพเลย55
CAWOW ขาดทุนมันทุกปี

มีกำไรปีแรกปีเดียว นอกนั้นขาดทุนทุกปี งบย้อนหลัง ไปโหลดดูได้ที่
https://market.sec.or.th/public/idisc/th/FinancialReport/ALL-0000005324?ref_id=0&content_id=1

ปปง พบกว่า 10 ปีโยกเงินไปแล้ว 1,600 ล้านบาท
https://pantip.com/topic/30579530


IEC ดึงเงินออกเก่ง กลตตามตัว 


ผู้บริหารวิสัยทัศน์ไกล แผนสวยงามรายย่อยชอบ ทำให้ระดมทุนมาได้เยอะ สุดท้ายลงทุนไม่ได้กำไร งบก็ไม่ส่ง ตอนนี้ผู้ถือหุ้นรวมตัวกันบริหารเองล่ะ

  • กลตกล่าวโทษผู้บริหาร IEC ยักยอกเงิน
  • ซื้อโรงไฟฟ้ากินเงินทอน
  • ของดีก็ให้บริษัทสละและซื้อเอง
  • สร้างลูกหนี้เทียม
  • ไปซื้อโรงไฟฟ้าที่กำลังล้มละลาย
  • สร้างโรงงาน ซื้อเครื่องจักรแพงเกินจริง สร้างไม่เสร็จโอนเงินให้เลย
https://www.sec.or.th/TH/Pages/News_Detail.aspx?SECID=6831

เงินออกไปกับ รายจ่ายเกินจริง และสินทรัพย์สูงเกินจริง
ROA จะต่ำกว่าเพื่อนโดยเปรียบเทียบ

IFEC 

เครื่องถ่ายเอกสาร ระดมทุนไปทำ solar ทิพย์ โรงแรมทิพย์ หาช่องเอาเงินออกไปเรื่อย ตอนนี้ผู้ถือหุ้นรวมตัวกันบริหารเองเหมือน IEC

กลต เจอก็กล่าวโทษกันไป
https://www.sec.or.th/TH/Pages/News_Detail.aspx?SECID=9213

POLAR 


ชอบให้รายย่อยเพิ่มทุน อาศัยช่องว่าบริษัทไม่มีผู้ถือหุ้นใหญ่ เรียกประชุมครั้งแรกคนเข้าประชุมไม่ถึง 33% เรียกประชุมครั้งที่ 2 ใช้เสียงไม่เยอะก็โหวดมิติเพิ่มทุนผ่าน เอาไปซื้อกิจการแปลกๆที่ไม่ค่อยสร้างกำไร

กลต ไปเจอว่าปี 2560 ผู้บริหารสร้างเจ้าหนี้เทียม 3600 ล้าน แล้วให้ polar ล้มละลาย ดีที่เจอก่อน
https://thaipublica.org/2018/04/sec-polar-17-4-2561/

polar ขยันลงทุนมาก



SABUY ผู้บริหารบอกว่าจะเป็น warren buffet เมืองไทย


ทำส่วนทุนให้ใหญ่ด้วยการเพิ่มทุนซื้อกิจการแลกหุ้นราคาสูงๆ ให้ส่วนทุนใหญ่
พอส่วนทุนใหญ่ DE ต่ำก็กู้เงินได้เยอะ ออกหุ้นกู้ ระดมทุนได้เยอะ
มีเงินก็ขยันลงทุนใหญ่ ไปซื้อหุ้น AS AIT TSR แถมซื้อยอดดอยซะด้วยบอกอนาคตใกล
ผิดพลาดหน่อยตรงผลตอบแทนจากการลงทุนไม่มาตามนัด
สุดท้ายหมุนเงินไม่ทัน จ่ายหุ้นกู้ไม่ไหว
พังยาว 
สรุปหุ้น DE ต่ำก็อย่าพึ่งดีใจไป 
.

บันทึกบัญชีผิด


PICNIC บันทึกรายได้จากการเช่าถังแกสเป็นการขายทำให้กำไรเกินจริง พอกลตเจอ ก็กลับมาขาดทุน

  • ปล่อยกู้ทิพย์ 500 ล้าน
  • เปลี่ยนค่าเช่าถังแกสจากบันทึกเป็นหนี้สิน ลงบันทึกเป็นรายได้ 178 ล้าน
https://mgronline.com/daily/detail/9480000174624

ROYNET สร้างรายได้เทียมโดยพอเอาบัตรเติมเงินอินเตอร์เน็ตไปฝากขายตามร้าน ขายไม่ได้ก็ยังไม่เก็บเงิน แต่บริษัทบันทึกเป็นรายได้เลย พอ กลตเจอ จากกำไรพลิกเป็นขาดทุน
สินค้าคงเหลือบวมเป่งเชียว

ขาดทุนต่อเนื่อง

ระยะเวลาขายสินค้ายาว



จุดร่วมของหุ้นเหล่านี้คืองบมักจะอ่านยาก บรรทัดแปลกตกเต็มไปหมด ROA ROE ผันผวน กระแสเงินสดดำเนินงานติดลบ แต่สตอรี่อนาคตเด่นมาก แต่พอเริ่มลงทุนแล้วไม่เห็นกำไรซักที
=======================================

อ่านหนังสือมาเยอะแต่ยังจับต้นชนปลายไม่ถูก


รวม 3 หลักสูตร Online ในคอรสเดียว เรียนจบวิเคราะห์หุ้นได้ทุกตัวในตลาด


✅เเจาะงบราย sector + ประเมินมูลค่า + แกะงบทุกตัวในตลาด(ปีละครั้ง) และสรุปงบ ทุกไตรมาส
✅เรียนOnlineผ่านวิดิโอในfacebookกลุ่มปิด ความยาวกว่า 60 ชั่วโมง
✅ดูได้ตลอดชีพ ไม่มีลบคลิป และไลฟอัพเดทเนื้อหาให้ทันสมัยตลอดเวลา
✅สงสัยถามได้ตลอดเวลา

☀เรียนแล้วได้อะไร☀


✅ดูการ เกิดขึ้นตั้งอยู่และถดถอย ของธุรกิจผ่านงบการเงิน
✅แต่ละช่วงเศรษฐกิจ sector ไหนไป sector ไหนมา และเครื่องมือดูแบบ real time
✅การวิเคราะห์หุ้นกลุ่มการเงิน คุณภาพลูกหนี้ดูตรงไหน
✅กลุ่มธุรกิจบริการ การเติบโต จุดคุ้มทุนดูอย่างไร
✅โรงแรม สื่อสาร ค้าปลีก
✅การวิเคราะห์ธุรกิจผลิต เทคนิคดูกำลังการผลิตของโรงงาน เมื่อไรจะต้องขยายโรงงานใหม่
✅ประสิทธิภาพโรงงานเป็นอย่างไร ใครดีใครด้อย เผยชัดๆ
✅การวิเคราะห์ธุรกิจ ซื้อมาขายไป สิ้นค้าค้างสต็อก เก็บเงินไม่ได้ดูอย่างไร
✅การวิเคราะห์หุ้นกลุ่มรับเหมา
✅การวิเคราะห์หุ้นกลุ่ม อสังหาริมทรัพย์ แบบไวๆ จะโอนได้เมื่อไร
✅การวิเคราะห์หุ้น วงจร รอบมา รอบไป สัญญาณในงบการเงิน
✅หุ้น turn around เจ้ากำลังแอบทำโปรเจกอะไรในงบการเงิน
✅การประมเนมูลค่าของแต่ละ sector ว่ามมีความเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร

🔈สอนโดย อ ภัทรธร ช่อวิชิต
นักลงทุนอิสระ เจ้าของผลงานหนังสือ คุ้ยแคะแกะหุ้นเด้ง และเจาะหุ้นร้อนสแกนหุ้นเด้ง

=======================================
แคปรูปตรงนี้มาได้ส่วนลดพิเศษจากปกติ 5000 บาท เหลือเพียง 2,800 บาทเท่านั้น
☎ติดต่อสอบถามและลงทะเบียน (รับจำนวนจำกัด)
line id; pat4310

เพิ่มเพื่อน
=======================================

วันพุธที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2566

CISA ตราสารหนี้ 2 การวิเคราะห์ตราสารหนี้ที่มีความซับซ้อนอันเกิดจากการมีอนุพันธ์แฝง

1. ความแตกต่างระหว่าง Simple Embedded Options และ Complex Embedded Options


Simple embedded option

  • ตราสารหนี้ที่ให้สิทธ์บริษัทผู้ออกตราสารในการไถ่ถอนก่อนวันครบกำหนด Callable bonds
  • ตราสารหนี้ที่ให้สิทธ์แก่ผู้ซื้อในการไถ่ถอนก่อนครบกำหนดได้ putable bonds

complex embedded option

  • ตราสารหนี้ที่ให้สิทธ์ทายาทของผู้ถือขายคืนให้แก่ผู้ออก estate put
  • ตราสารหนี้ที่มีการไถ่ถอนคืนเป็นบางส่วน sinking fund bonds ซึ่งผู้ออกตราสาร issuer จะทำการ สำรองเงินไว้จำนวนหนึ่ง dedicated fund เพื่อนำไปชำระคืนเงินต้นในวันที่กำหนดไว้ล่วงหน้าตามสัดส่วนที่ระบุไว้

2. แนวคิดของ Callable Bond และ Puttable Bond


Callable Bond

  • Callable bonds คือ หุ้นกู้ที่ให้สิทธ์บริษัทผู้ออกตราสาร ในการไถ่ถอนก่อนกำหนด ปริมาณการออก callable bonds มีความสัมพันธ์กับทิศทางอัตราดอกเบี้ยในตลาด โดยการออก callable bonds เพิ่มขึ้นช่วงอัตราดอกเบี้ยนโยบายปรับตัวลดลง 
  • การลงทุนใน callable bonds มีความเสี่ยงกว่าหุ้นกู้ปกติ เราะมีโอกาสถูกเรียกไถ่ถอนก่อนกำหนด call risk ทำให้นักลงทุนอาจได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนใหม่ที่ต่ำกว่าเดิม reimvestment risk ดังนั้น callable bond จะมีอั ตราดอกเบี้ยสูงกว่า
  • จากมุมมองผู้ลงทุนในตราสารหนี้ value of callable bond ช value of option free bonds - value of embedded call option

Puttable Bond


puttable bond คือหุ้นกู้ที่ผู้ถือมีสิทธ์ไถ่ถอนก่อนกำหนด เนื่องจากเป็นตราสารที่มาพร้อม put option ซึ่งให้สิทธ์แก่ผู้ถือในการขอไถ่ถอนตราสารหนี้ได้บางส่วนหรือทั้งหมดก่อนครบกำหนดอายุ ซึ่งผู้ออกต้องรับไถ่ถอนตามมูลค่าหน้าตั๋วรวมกับดอกเบี้ยค้างรับ

แม้ดอกเบี้ยจะปรับเพิ่มขึ้น ราคาของ puttable bond ไม่มีทางต่ำกว่าราคาไถ่ถอน put price ซึ่งปกติกำหนดที่ราคาพาร์ นอกจากนั้นยามดอกเบี้ยขยับขึ้น ก็สามารถใช้สิทธ์ไถ่ถอนก่อนกำหนดกับบริษัทผู้ออกตราสาร และนำไปลงทุนตราสารที่ดอกสูงขึ้น

การได้สิทธ์ put option ต้องแลกมากับอัตราคูปองที่ต่ำกว่าตาสารหนี้ที่เหมือนกันแต่ไม่มี put option
มุมมองผู้ลงทุน value of putable = value of option free bond + value of embedded put option

3. Binomial Interest Rate Tree vs Monte Carlo Simulation 


Binomial Interest Rate Tree การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในแต่ละช่วงเวลาขึ้นอยู่กับความผันผวนของอัตราดอกเบี้ย โดยรูปแบบการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยในหนึ่งงวดเวลาข้างหน้าจะเปลี่ยนแปลงได้ 2 ทาง คือเพิ่มขึ้นหรือลดลง โดยความเป็นไปได้ที่อัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้นและลดลงอยู่ที่ 50 50 

อย่างไรก็ตาม แนวคิดของ binomial interest rate tree ทำได้ยากในทางปฎิบัติส่วนใหญ่ใช้ monte carlo simmulation

การจำลองทิศทางการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยโดยใช้  Monte Carlo Simulation สามารถจำลอง scenario ของทิศทางและการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยได้หลากหลายรูปแบบ โดยมีการใส่ความน่าจะเป็นของแต่ละสถานการณ์ในการเปลี่ยนแปลงและทิศทางของอัตราดอกเบี้ยในอนาคตประกอบ

4. Duration และ Convexity และการประยุกต์ใช้


Duration


มาตรวัดการเปลี่ยนแปลงของราคาตราสารหนี้ price change เมื่ออัตราดอกเบี้ยมีการเปลี่ยนแปลงไม่มาก จำง่ายๆคือความชั่นนั่นเอง

แบ่งออกได้เป็น modified duration และ effective duration

modified dulation หรือ effective dulation แล้วแต่กรณี สามารถวัดการเปลี่ยนแปลงของราคาตราสารหนี้ เมื่ออัตราดอกเบี้ยมีการเปลี่ยแปลงเล็กน้อยเช่น 50 bps (1% แบ่งย่อยเป็น 100 bps) 

ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงเยอะๆ ต้องใช้ modified conveniently หรือ effective convexity

 \[duration = \frac{V_{-} - V_{+}}{2V_{0}\Delta y} \] 

V- คือ มูลค่าของตราสารหนี้ที่เพิ่มขึ้นเมื่อดอกเบี้ยลดลง
V+ คือมูลค่าของตราสารหนี้ ที่ลดลงเมื่อดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น
V0 คือ มูลค่าของตราสารหนี้ในปัจจุบบัน
delta y คือการเปลี่ยนแปลงองผลตอบแทน หน่วยเป็น bps 

ถ้า dulation 2 คือ ดอกเบี้ยเปลี่ยนเพิ่มขึ้น 100 bps มูลค่าตราสารหนี้จะลดลง 2%

Convexity


เป็นมาตรวัดความโค้งนูนของเส้นราคาผลตอบแทน ยิ่งโค้งนูนมากค่า convexity ยิ่งสูง
เส้นตรงมี convexity = 0

ราคาใหม่ของหุ้นกู้ที่คิดจาก dulation น้อยกว่าราคาใหม่ที่แท้จริง ราคาใหม่ของหุ้นกู้ที่คิดจาก dulation จะถูกต้อก็ต่อเมื่อConvexity =0

ยิ่ง convexity สูงเท่าไร dulation ยิ่งเพี้ยนเท่านั้น ดังนั้นการประเมินมูลค่าต้องใช้ทั้ง dulation และ convexity ประกอบกัน

convexity ประกอบด้วย modified convexity และ effective convexity
การเปลี่ยนแปลงของราคาตราสารหนี้คำนวณได้จาก

\[ [[-dulation\times\Delta y]+[convexity \times (\Delta y)^{2}]]\times 100   \]

5. Effective Duration และ Effective Convexity และการประยุกต์ใช้


modified dulation และ modified convexity เหมาะสำหรับใช้ประเมินการเปลี่ยนแปลงราคาตราสารหนี้ price change เมื่ออัตราดอกเบี้ยมีการเปลี่ยนแปลง สำหรับ option free bond เนื่องจากกระแสเงินสดในอนาคตของ option free bond ไม่มีการเปลีี่ยนแปลงเมื่ออัตราดอกเบี้ยมีการเปลี่ยนแปลง

สำหรับ bond with embedded option ซึ่งกระแสเงินสดในอนาคตอาจมีการเปลี่ยนแปลงเมื่ออัตราดอกเบี้ยเปลี่ยนแปลง ารใช้ modified dulation และ midified convexity ในการวัดการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าตราสารหนี้ อาจไม่เหมาะสม 

การวัดการเปลี่ยนแปลงมูลค่าของ callable bond และ puttable bond ควรใช้ Effective Duration และ Effective Convexity

เมื่ออัตราผลตอบแทนมีการเปลี่ยนแปลงเล้กน้อย การใช้ Effective Duration ก็พอ แต่ถ้าเปลี่ยนเยอะต้องใช้ Effective Duration และ Effective Convexity


6. Yield Spread, Credit Spread และ Option-Adjusted Spread (OAS)


yield spead คือส่วนต่างระหว่างอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ที่นำมาพิจารณาและระดับอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ที่ใช้เทียบกันช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่ง 
โดยทั่วไปตราสารหนี้ที่ใช้เปรียบเทียบ คือพันธบัตรรัฐบาทที่เป็น ไม่มีความเสี่ยงด้านเครดิต credit risk หรือมีความสี่ยงเรื่องการผิดนัดชำระหนี้ default risk ต่ำสุด

ปัจจัยกระทบ yield spread 


1ลักษณะทางธุรกิจของผู้ออก issuer
2อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ออก
3สภาพคล่อง
4สิทธิแฝงของตราสารหนี้ Embedded Option ที่มีต่อ Option-Adjusted Spread (OAS) ของตราสารหนี้ 

Embedded Option
ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ลงทุน
Embedded Option
ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ออกตราสารหนี้
เช่น putoptin และ conversion option
ทำให้ oas แคบลง
เช่น call option
ทำให้ oas กว่างขึ้น

5อายุคงเหลือของตราสาร


7. หุ้นกู้แปลงสภาพ (Convertible Bond)


จากมุมมองของผู้ลงทุน
มูลค่าหุ้นกู้แปลงสภาพ = มูลค่าของ option free bond + มูลค่าของ conversion option
โดย coversion option คือ สิทธ์ที่ให้แก่ผู้ลงทุนใน convertibale bond ในการแปลงสภาพตราสารหนี้เป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทในราคา convertable price ที่กำหนดไว้เป็นการลล่วงหน้า

หุ้นสามัญstraight bondหุ้นกู้แปลงสภาพ
ลักษณะของผู้ลงทุนเจ้าของเจ้าหนี้เจ้าหนี้
ผลตอบแทนจากการลงทุนเงินปันผล และส่วนต่างราคาดอกเบี้ยตามหน้าตั๋วไม่ขึ้นกับผลประกอบการดอกเบี้ยต่ำกว่าปกติและส่วนต่างราคากับเงินปันผลถ้ามีการแปลงสภาพ
ความผันผวนสูงต่ำต่ำ แต่ราคาจะสูงขึ้นหากหุ้นขึ้น


8. การประเมินมูลค่าโดยอ้างอิงหลักการออปชัน


มุมมองผู้ลงทุน bondholder

มูลค่าของ convertible bond = มูลค่าของ option free bond + มูลค่าของ call option บนหุ้นสามัญ

มุมมองของผู้ลงทุน bondholder

มูลค่าของ convertible bond ที่ผู้ออกตราสารมีสิทธ์ไถ่ถอนคืนก่อนกำหนด
= มูลค่าของ option free bond
 + มูลค่า call option บนหุ้นสามัญ ออปชั่นการแปลงสภาพ
 - มูลค่าของ call option ในการไถ่ถอนคืนก่อนกำหนดที่เป็นสิทธ์ของผู้ออกตราสาร

มุมมองของผู้ลงทุน bondholder

มูลค่าของ convertible bond ที่ผู้ออกตราสารมีสิทธ์ไถ่ถอนคืนก่อนกำหนด และผู้ออกตราสารมีสิทธ์ขายคืนก่อนกำหนด
= มูลค่าของ option free bond 
+ มูลค่า call option บนหุ้นสามัญ ออปชั่นการแปลงสภาพ
- มูลค่าของ call option ในการไถ่ถอนคืนก่อนกำหนดที่เป็นสิทธ์ของผู้ออกตราสาร
+มูลค่าของ put option ในการขายคืนตราสารหนี้ก่อนกำหนดที่เป็นสิทธ์ของผู้ลงทุนในตราสาร


9. COCO Bonds


Contingent Convertible Bonds (COCO Bonds หรือ COCOs) เป็นตราสารหนี้ที่อยู่ในกลุ่มของ convertible bond โดย COCO มีลักษณะพิเศษสามารถแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญของผู้ออกตราสารได้ทันทีเมื่อเกิดเหตุการณ์ trigger event ตามเงื่อนไขของตราสาร

สามารถแปลงได้อัตโนมัติเมื่อเข้าเงื่อนไขโดยไม่ต้องเจรจากับเจ้าหนี้

  • ผุ้ถือจะได้ดอกเบี้ยสูงกว่าตราสารหนี้ทั่วไป แลกกับ
  • เป็นเจ้าหนี้โดยไม่มีระยะเวลาสิ้นสุด หรือรอลูกหนี้ของคืนืนหลัง 5-10 ปี
  • โอาสไม่ได้คืนถ้าแบงค์ย่ำแย่ 2023 แบงค์อเมริกาล้มไปหลายแบงค์จากปัญหาสภาพคล่อง เห็น coco bond แปลงเป็นทุน แล้วมันก็ยังเจ้งเหลือ 0 ใน วันเดียว
  • โอกาสถูกเปลี่ยนจากเจ้าหนี้เป็นผู้ถือหุ้นโดยอัตโนมัติ เมื่อเข้าเงื่อนไขทีี่สถาบันการเงินนั้นๆ กำหนดไว้ล่วงหน้า หรือโดยคำสั่งทางการ

=======================================

อ่านหนังสือมาเยอะแต่ยังจับต้นชนปลายไม่ถูก


รวม 3 หลักสูตร Online ในคอรสเดียว เรียนจบวิเคราะห์หุ้นได้ทุกตัวในตลาด


✅เเจาะงบราย sector + ประเมินมูลค่า + แกะงบทุกตัวในตลาด(ปีละครั้ง) และสรุปงบ ทุกไตรมาส
✅เรียนOnlineผ่านวิดิโอในfacebookกลุ่มปิด ความยาวกว่า 60 ชั่วโมง
✅ดูได้ตลอดชีพ ไม่มีลบคลิป และไลฟอัพเดทเนื้อหาให้ทันสมัยตลอดเวลา
✅สงสัยถามได้ตลอดเวลา

☀เรียนแล้วได้อะไร☀


✅ดูการ เกิดขึ้นตั้งอยู่และถดถอย ของธุรกิจผ่านงบการเงิน
✅แต่ละช่วงเศรษฐกิจ sector ไหนไป sector ไหนมา และเครื่องมือดูแบบ real time
✅การวิเคราะห์หุ้นกลุ่มการเงิน คุณภาพลูกหนี้ดูตรงไหน
✅กลุ่มธุรกิจบริการ การเติบโต จุดคุ้มทุนดูอย่างไร
✅โรงแรม สื่อสาร ค้าปลีก
✅การวิเคราะห์ธุรกิจผลิต เทคนิคดูกำลังการผลิตของโรงงาน เมื่อไรจะต้องขยายโรงงานใหม่
✅ประสิทธิภาพโรงงานเป็นอย่างไร ใครดีใครด้อย เผยชัดๆ
✅การวิเคราะห์ธุรกิจ ซื้อมาขายไป สิ้นค้าค้างสต็อก เก็บเงินไม่ได้ดูอย่างไร
✅การวิเคราะห์หุ้นกลุ่มรับเหมา
✅การวิเคราะห์หุ้นกลุ่ม อสังหาริมทรัพย์ แบบไวๆ จะโอนได้เมื่อไร
✅การวิเคราะห์หุ้น วงจร รอบมา รอบไป สัญญาณในงบการเงิน
✅หุ้น turn around เจ้ากำลังแอบทำโปรเจกอะไรในงบการเงิน
✅การประมเนมูลค่าของแต่ละ sector ว่ามมีความเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร

🔈สอนโดย อ ภัทรธร ช่อวิชิต
นักลงทุนอิสระ เจ้าของผลงานหนังสือ คุ้ยแคะแกะหุ้นเด้ง และเจาะหุ้นร้อนสแกนหุ้นเด้ง

=======================================
แคปรูปตรงนี้มาได้ส่วนลดพิเศษจากปกติ 5000 บาท เหลือเพียง 2,800 บาทเท่านั้น
☎ติดต่อสอบถามและลงทะเบียน (รับจำนวนจำกัด)
line id; pat4310

เพิ่มเพื่อน
=======================================

วันพฤหัสบดีที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2566

CISA ตราสารหนี้ 1.3 ตราสารหนี้ที่มีความซับซ้อนอันเกิดจากการมีอนุพันธ์แฝง ตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงสูง

1.3.1 หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง structured note


เรียกสั้นๆว่าหุ้นกู้อนุพันธ์ structured note = หุ้นกู้ + อนุพันธ์
ตามพรบหลักทรัพย์ ไม่รวม callable putable covertable bond

หุ้นกู้อนุพันธ์มีลักษณะเป็น yield enhancement product ผลตอบแทนจาก 2 องค์ประกอบหลัก
  • ผลตอบแทนจากตราสารหนี้หลัก
  • ผลตอบแทนส่วนเพิ่ม แล้วแต่ว่าจะไปอ้างอิงกับอะไร
ผลตอบแทนขึ้นกับโครงสร้าง
  • คุ้มครองเงินต้น capital protected products
  • กำหนดอัตราการมีส่วนร่วม participation product

1.3.2 Equity link note


อ้างอิงราคาหุ้น
ขายคนที่ไม่อยากลงทุนหุ้นโดยตรงแต่อย่างได้ผลตอบแทนอ้างตามหุ้น และไม่อยากเสียเงินต้น

shark fin bull note = หุ้นกู้อนุพันธ์ที่ผสมระหว่างหุ้นกู้ และตราสารอนุพันธ์ capital protection จายผลตอบแทนขึ้นกับราคาหุ้นอ้างอิง 
ไว้ขายคนที่อยากได้ผลตอบแทนตามหุ้นแต่ไม่อยากเสียเงนต้น 

ex ตราสารหนี้คุ้มครองเงินต้น / ดอก 1.65% ต่อปี / ได้ผลตอบแทนส่วนเพิ่มถ้าราคา AOT เกิน 56.76 บาท/ อัตราการมีส่วนร่วม 1.5%

จำนวนเงินต้นชำระคืน = เงินต้น + ดอกเบี้ยขึ้นต่ำ 1.65% ต่อปี + ผลตอบแทนส่วนเพิ่ม
ผลตอบแทนส่วนเพิ่ม = max[  ((ราคาหุ้นอ้างอิง/56.75)-1)*1.5%, 0]

ผลตอบแทน

  • ผลตอบแทนรูปดอกเบี้ยคงที่ขัั้นต่ำ กำหนดไว้ค่อนข้างต่ำ โดยผลตอบแทนหลัก core return มาจากการเปลี่ยนแปลงของดัชนีอ้างอิง
  • ผลตอบแทนจากการเปลี่ยนแปลงของดัชนีตลาดหุ้นอ้างอิง
ความเสี่ยง
  • ความเสี่ยงด้านเครดิตของผู้ออก credit risk
  • ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงราคาตลาดของหลักทรัพย์อ้างอิง market risk
  • ความเสี่ยงเหตุการณ์ที่เกี่ยวของกับบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์อ้างอิง
  • ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง

1.3.3 interest rate linked notes


ลักษณะพื้นฐาน

คล้ายหุ้นกู้จ่ายดอกเบี้ยลอยตัว แต่กำหนดอะไรแปลกๆได้ตามจิตนาการ

ผลตอบแทน

  • ตามดอกเบี้ยอ้างอิง

ความเสี่ยง

  • ความผันผวนของอัตราดอกเบี้ย
  • ความเสี่ยงของผู้ออก
  • ความเสี่ยงสภาพคล่อง

ตัวอย่าง ผลตอบแทนคงที่ 1 ส่วนเพิ่มถ้าต่ำกว่า 8

จำนวนเงินที่จะได้รับคืน = มูลค่าที่ตราไว้ +[มูลค่าที่ตราไว้ x [max(1%, (9%- mlr))]

ถ้า mlr มากกว่าเท่ากับ 8 จะได้ 1% น้อยกว่า 8 จะมีส่วนเพิ่ม สูงสุดที่ 9%

1.3.4 foreign exchange linked notes


ผลตอบแทนขึ้นกับค่าเงิน

ความเสี่ยงขึ้นกับความผันผวนของค่าเงิน


ตัวอย่าง foreign exchange linked notes อ้างอิงเงินดอล ตราไว้ 5000000 บาท ขายที่ราคาคิดลด 99.4870% ของมูลค่าที่ตราไว้ กำหนด strike price ที่ 34.7
แข็งมากกว่า strike price ได้เงินต้น
อ่อนค่า ผู้ออกตราสารหนี้จะส่งมองสกลุดอลเท่ากับ
มูลค่าที่ตราไว้/strike price = 5,000,000/34.7 = 144,092.22usd

กรณีดอลแข็งค่า ได้ 5,000,0000

ราคาทุน 5,000,000 * 99.4870% = 4,974,350
ผลตอบแทน = (5,000,0000 - 4,974,350)/4,974,350 = 0.52%

กรณีดอลอ่อนค่า ได้กลับคืนเป็นบาทลดลง ขาดทุน

อ่อนค่า ผู้ออกตราสารหนี้จะส่งมองสกลุดอลเท่ากับ
มูลค่าที่ตราไว้/strike price = 5,000,000/34.7 = 144,092.22usd
แลกเงินไทย ที่ 34.4 thb/usd = 144,092.22*34.4 = 4,956,772.368 บาท

ผลตอบแทน (4,956,772.368 - 4,974,350)/4,974,350 = -0.35%

1.3.5 commodity linked note


ขึ้นกับ commodity
commodity linked bull bear bonds
  • bull tranche เพิ่มเมื่อคอมโมเพิ่ม
  • bear tranche ลดเมื่อคอมโมลง
ผลตอบแทนขึ้นกับ ราคาสินค้า ขึ้นกับ demand supply เศรษฐกิจ ฯลฯ
ความเสี่ยง
  • ความเสี่ยงด้านราคา
  • ความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน เพราะ commodity ส่วนใหญ่ซื้อขายในเงินต่างประเทศ

1.3.6 bond link note


ผลตอบแทนขึ้นลงตามตราสารหนี้อ้างอิง

1.3.7 fund linked note


ผลตอบแทนขึ้นกับ กองทุนอื่น

1.3.8 credit linked note


ผลตอบแทนขึ้นกับ credit

1.4 ตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงสูง


ชอบเสี่ยงสูงก็ลุ้นๆเอาหน่อย
ปี 2023 เศรษฐกิจไม่ค่อยดีมีหุ้นกู้เจ้งไปหลายตัว ALL
หนักสุดคือ STARK สร้างรายได้เทียมทำกำไรดูดี ระดมทุนมาแล้วปล่อยจอย

 
=======================================

อ่านหนังสือมาเยอะแต่ยังจับต้นชนปลายไม่ถูก


รวม 3 หลักสูตร Online ในคอรสเดียว เรียนจบวิเคราะห์หุ้นได้ทุกตัวในตลาด


✅เเจาะงบราย sector + ประเมินมูลค่า + แกะงบทุกตัวในตลาด(ปีละครั้ง) และสรุปงบ ทุกไตรมาส
✅เรียนOnlineผ่านวิดิโอในfacebookกลุ่มปิด ความยาวกว่า 60 ชั่วโมง
✅ดูได้ตลอดชีพ ไม่มีลบคลิป และไลฟอัพเดทเนื้อหาให้ทันสมัยตลอดเวลา
✅สงสัยถามได้ตลอดเวลา

☀เรียนแล้วได้อะไร☀


✅ดูการ เกิดขึ้นตั้งอยู่และถดถอย ของธุรกิจผ่านงบการเงิน
✅แต่ละช่วงเศรษฐกิจ sector ไหนไป sector ไหนมา และเครื่องมือดูแบบ real time
✅การวิเคราะห์หุ้นกลุ่มการเงิน คุณภาพลูกหนี้ดูตรงไหน
✅กลุ่มธุรกิจบริการ การเติบโต จุดคุ้มทุนดูอย่างไร
✅โรงแรม สื่อสาร ค้าปลีก
✅การวิเคราะห์ธุรกิจผลิต เทคนิคดูกำลังการผลิตของโรงงาน เมื่อไรจะต้องขยายโรงงานใหม่
✅ประสิทธิภาพโรงงานเป็นอย่างไร ใครดีใครด้อย เผยชัดๆ
✅การวิเคราะห์ธุรกิจ ซื้อมาขายไป สิ้นค้าค้างสต็อก เก็บเงินไม่ได้ดูอย่างไร
✅การวิเคราะห์หุ้นกลุ่มรับเหมา
✅การวิเคราะห์หุ้นกลุ่ม อสังหาริมทรัพย์ แบบไวๆ จะโอนได้เมื่อไร
✅การวิเคราะห์หุ้น วงจร รอบมา รอบไป สัญญาณในงบการเงิน
✅หุ้น turn around เจ้ากำลังแอบทำโปรเจกอะไรในงบการเงิน
✅การประมเนมูลค่าของแต่ละ sector ว่ามมีความเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร

🔈สอนโดย อ ภัทรธร ช่อวิชิต
นักลงทุนอิสระ เจ้าของผลงานหนังสือ คุ้ยแคะแกะหุ้นเด้ง และเจาะหุ้นร้อนสแกนหุ้นเด้ง

=======================================
แคปรูปตรงนี้มาได้ส่วนลดพิเศษจากปกติ 5000 บาท เหลือเพียง 2,800 บาทเท่านั้น
☎ติดต่อสอบถามและลงทะเบียน (รับจำนวนจำกัด)
line id; pat4310

เพิ่มเพื่อน
=======================================

CISA ตราสารหนี้ 1.2 ตราสารหนี้ที่มีความซับซ้อนอันเกิดจากการมีลักษณะคล้ายทุน

ตราสารหนี้ที่มีความซับซ้อนอันเกิดจากการมีลักษณะคล้ายทุนประกอบด้วย
  • ตราสารที่ผู้ถือตราสารด้อยสิทธ์ในการได้รับชำระคืนกว่าเจ้านี้สามัญทั่วไป
  • ตราสาร basel III
  • ตราารหนี้ที่ผู้ออกตราสารมิสิทธ์เลื่อนการจ่ายดอกเบี้ย
  • ตราสารหนี้ที่ครบกำหนดไถ่ถอนเมื่อเลิกบริษัท

1.2.1ตราสารด้อยสิทธ์เพื่อนับเป็นเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์หรือ  basel III


เป็นตราสารด้อยสิทธ์ที่นับเป็นเงินกองทุน
รู้จักกันในชื่อ contingent convertible bond หรือ coco bond
เรียงลำดับ ตราสารหนี้ที่เป็นกองทุนชั้นที่ 2 > ตราสารที่ที่เป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 > หุ้นสามัญ

ลักษณะที่แตกต่างBaswl III Tier 2Basel III Tier 1
ลำดับชั้นในการชำระหนี้หาธนาคารมีปัญหาทางการเงินเป็นตราสารหนี้ด้อยสิทธ์ที่จะถูกลดมูลกค่าหรือถูกตัดเป็นหนี้สูญและมีสิทธ์เรียกร้องการชำระคืนหนี้สินภายหลังเจ้าหนี้สามัญและผู้ฝากเงินเป็นตราสารหนี้ด้อยสิทธ์ที่จะถูกลดมูลค่าหรือถูกตัดเป็นหนี้สูญและมีสิทธ์เรียกร้องการชำระหนี้คืนภายหลัง Baswl III Tier 2
อายุส่วนใหญ๋มากกว่า 5 ปี   เป็น perpetual bond ไม่กำหนดอายุ
ผลตอบแทน  จ่ายดอกเบี้ยตามที่กำหนดไว้หรือยกเลิกการจ่ายหากธนาคารพาณิชย์ประสบปัญหาการเงินสามารถเลื่อนจ่ายดอกเบี้ยได้โดยไม่มีเงื่อนไขและไม่สะสมดอกเบี้ย
การไถ่ถอนมีโอกาสถูกไถ่ถอนคืนก่อนกำหนดมีโอกาสถูกไถ่ถอนคืนก่อนกำหนดส่วนใหญ่ภายหลัง 5 ปีนับจากวันออก

คนออกมีต้นทุนต่ำกว่าเพิ่มทุน เพราะเอาดอกกเบี้ยเป็นรายจ่ายลดภาษี
คนซื้อได้ดอกสูงกว่าทั่วไป
ถ้าธนาคารเจ้งมีโอกาสตัดหนี้สูญทั้งจำนวน

ผลตอบแทนและความเสี่ยงจากการลงทุนในตราสาร Basel III


  • ผลตอบแทนจากการลงทุน
        • ดอกเบี้ยรับสูงกว่าเพราะมีความเสี่ยงมากกว่า
  • ความเสี่ยงในการลงทุน
    • ความเสี่ยงด้านดอกเบี้ย 
      • ลอยตัวเสี่ยงน้อยกว่าคงที่
      • เทียบคงที่ด้วยกัน เสี่ยงดอกเบี้ยน้อยกว่า เพราะจ่ายดอกแพงกว่า
    • ความเสี่ยงสภาพคล่อง
    • สภาพคล่องน้อย
    • ความเสี่ยงจากการถูกไถ่ถอนก่อนกำหนด
      • ส่วนใหญ่ไถ่ถอนหลัง 5 ปี
    • ความเสี่ยงด้านเครดิต
    • มีความเสี่ยงไม่ได้ดอกตามกำหนด และเสียเงินต้น

1.2.2 ตราสารหนี้ที่ครบกำหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกบริษัท

ลักษณะและเงื่อนไขสำคัญของตราสาร


  • ไม่กำหนดระยะเวลาไถ่ถอน
  • ซื้อคืนได้ก่อนกำหนด ส่วนใหญ่หลัง 5 ปี
  • ด้อยสิทธ์ ได้หลังเจ้าหนี้
  • เลื่อนการจ่ายดอกได้ สะสมดอกเบี้ยไปจ่ายวันไหนก็ได้
  • บันทึกเป็นทุนถ้า (tas32)
    • ไม่มีกำหนดชำระคืน
    • เลื่อนจ่ายดอกเบี้ยได้
  • บันทึกเป็นทุนทำให้ทุนเพิ่มขึ้นโดยไม่มี dilution effect

ผลตอบแทนและความเสี่ยง

  • ผลตอบแทน
    • ดอกเบี้ย คงที่ ลอยตัว ผสม
    • ไถ่ถอนได้ ดอกเยอะกว่า
  • ความเสี่ยง
    • ได้รับชำระหลังเจ้าหนี้
    • เวลามีปัญหาไม่ถูกจัดกลุ่มในเจ้าหนี้ ต้องรอเจ้าหนี้อื่นได้รับก่อน
    • ความเสี่ยงสภาพคล่อง
    • โดนไถ่ถอนช่วงดอกต่ำ มีความเสี่ยงลงทุนต่อแล้วไม่ได้ดอกเท่าเดิม reinvestment risk
    • โดนเลื่อนจ่ายดอก ได้รับผลตอบแทนที่แท้จริงลดลง
    • ไม่มีCross-Default หากผู้ออกตราสารมีการผิดนัดชำระหนี้หุ้นกู้รุ่นอื่นหรือเจ้าหนี้อื่น จะไม่ทำให้ผู้ออกเข้าเงื่อนไขของการผิดนัดชำระหนี้หุ้นกู้ภายใต้Perpetual Bond

1.2.3 ตราสารหนี้ที่กำหนดเงื่อนไขการให้ผู้ออกตราสารมีสิทธ์เลื่อนการจ่ายดอกเบี้ย


ลักษณะเงื่อนไขสำคัญ


เลื่อนแล้วห้าม
  • จ่ายปันผล
  • จ่ายดอก ให้ตราสารที่มีสถานะเท่ากันหรือต่ำว่า
  • ไถ่ถอน ลด ยกเลิก ซื้อคืน ตราสารที่มีสถานะเท่ากันหรือต่ำว่า
ผลตอบแทนและความเสี่ยง
  • ผลตอบแทน
    • ดอกคงที่ ลอยตัว ผสม
    • เลื่อนได้ เสี่ยงมากกว่า ดอกสูงกว่า
  • ความเสี่ยง
    • ไม่ได้ดอกตามวันที่กำหนด
    • ได้รับชำระหลังเจ้าหนี้อื่น


=======================================

อ่านหนังสือมาเยอะแต่ยังจับต้นชนปลายไม่ถูก


รวม 3 หลักสูตร Online ในคอรสเดียว เรียนจบวิเคราะห์หุ้นได้ทุกตัวในตลาด


✅เเจาะงบราย sector + ประเมินมูลค่า + แกะงบทุกตัวในตลาด(ปีละครั้ง) และสรุปงบ ทุกไตรมาส
✅เรียนOnlineผ่านวิดิโอในfacebookกลุ่มปิด ความยาวกว่า 60 ชั่วโมง
✅ดูได้ตลอดชีพ ไม่มีลบคลิป และไลฟอัพเดทเนื้อหาให้ทันสมัยตลอดเวลา
✅สงสัยถามได้ตลอดเวลา

☀เรียนแล้วได้อะไร☀


✅ดูการ เกิดขึ้นตั้งอยู่และถดถอย ของธุรกิจผ่านงบการเงิน
✅แต่ละช่วงเศรษฐกิจ sector ไหนไป sector ไหนมา และเครื่องมือดูแบบ real time
✅การวิเคราะห์หุ้นกลุ่มการเงิน คุณภาพลูกหนี้ดูตรงไหน
✅กลุ่มธุรกิจบริการ การเติบโต จุดคุ้มทุนดูอย่างไร
✅โรงแรม สื่อสาร ค้าปลีก
✅การวิเคราะห์ธุรกิจผลิต เทคนิคดูกำลังการผลิตของโรงงาน เมื่อไรจะต้องขยายโรงงานใหม่
✅ประสิทธิภาพโรงงานเป็นอย่างไร ใครดีใครด้อย เผยชัดๆ
✅การวิเคราะห์ธุรกิจ ซื้อมาขายไป สิ้นค้าค้างสต็อก เก็บเงินไม่ได้ดูอย่างไร
✅การวิเคราะห์หุ้นกลุ่มรับเหมา
✅การวิเคราะห์หุ้นกลุ่ม อสังหาริมทรัพย์ แบบไวๆ จะโอนได้เมื่อไร
✅การวิเคราะห์หุ้น วงจร รอบมา รอบไป สัญญาณในงบการเงิน
✅หุ้น turn around เจ้ากำลังแอบทำโปรเจกอะไรในงบการเงิน
✅การประมเนมูลค่าของแต่ละ sector ว่ามมีความเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร

🔈สอนโดย อ ภัทรธร ช่อวิชิต
นักลงทุนอิสระ เจ้าของผลงานหนังสือ คุ้ยแคะแกะหุ้นเด้ง และเจาะหุ้นร้อนสแกนหุ้นเด้ง

=======================================
แคปรูปตรงนี้มาได้ส่วนลดพิเศษจากปกติ 5000 บาท เหลือเพียง 2,800 บาทเท่านั้น
☎ติดต่อสอบถามและลงทะเบียน (รับจำนวนจำกัด)
line id; pat4310

เพิ่มเพื่อน
=======================================

ทำสอบ latex สูตรคณิตศาสตร์กับbloger

เอามาจากอันนี้
https://kk-sinha.blogspot.com/2019/09/how-to-use-latex-codes-in-html.html

\[ i\hbar \frac{d \Psi(x,t)}{dt} = - \frac{\hbar^{2}}{2m} \nabla^{2} \Psi(x,t) + V(x) \Psi(x,t)\]
มันทำงานได้จริงด้วย เยี่ยมๆ
อันนี้เครื่องมือไว้เขียน สูตร latex แล้วค่อยก็อปโคตมา
https://latexeditor.lagrida.com/
=======================================

อ่านหนังสือมาเยอะแต่ยังจับต้นชนปลายไม่ถูก


รวม 3 หลักสูตร Online ในคอรสเดียว เรียนจบวิเคราะห์หุ้นได้ทุกตัวในตลาด


✅เเจาะงบราย sector + ประเมินมูลค่า + แกะงบทุกตัวในตลาด(ปีละครั้ง) และสรุปงบ ทุกไตรมาส
✅เรียนOnlineผ่านวิดิโอในfacebookกลุ่มปิด ความยาวกว่า 60 ชั่วโมง
✅ดูได้ตลอดชีพ ไม่มีลบคลิป และไลฟอัพเดทเนื้อหาให้ทันสมัยตลอดเวลา
✅สงสัยถามได้ตลอดเวลา

☀เรียนแล้วได้อะไร☀


✅ดูการ เกิดขึ้นตั้งอยู่และถดถอย ของธุรกิจผ่านงบการเงิน
✅แต่ละช่วงเศรษฐกิจ sector ไหนไป sector ไหนมา และเครื่องมือดูแบบ real time
✅การวิเคราะห์หุ้นกลุ่มการเงิน คุณภาพลูกหนี้ดูตรงไหน
✅กลุ่มธุรกิจบริการ การเติบโต จุดคุ้มทุนดูอย่างไร
✅โรงแรม สื่อสาร ค้าปลีก
✅การวิเคราะห์ธุรกิจผลิต เทคนิคดูกำลังการผลิตของโรงงาน เมื่อไรจะต้องขยายโรงงานใหม่
✅ประสิทธิภาพโรงงานเป็นอย่างไร ใครดีใครด้อย เผยชัดๆ
✅การวิเคราะห์ธุรกิจ ซื้อมาขายไป สิ้นค้าค้างสต็อก เก็บเงินไม่ได้ดูอย่างไร
✅การวิเคราะห์หุ้นกลุ่มรับเหมา
✅การวิเคราะห์หุ้นกลุ่ม อสังหาริมทรัพย์ แบบไวๆ จะโอนได้เมื่อไร
✅การวิเคราะห์หุ้น วงจร รอบมา รอบไป สัญญาณในงบการเงิน
✅หุ้น turn around เจ้ากำลังแอบทำโปรเจกอะไรในงบการเงิน
✅การประมเนมูลค่าของแต่ละ sector ว่ามมีความเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร

🔈สอนโดย อ ภัทรธร ช่อวิชิต
นักลงทุนอิสระ เจ้าของผลงานหนังสือ คุ้ยแคะแกะหุ้นเด้ง และเจาะหุ้นร้อนสแกนหุ้นเด้ง

=======================================
แคปรูปตรงนี้มาได้ส่วนลดพิเศษจากปกติ 5000 บาท เหลือเพียง 2,800 บาทเท่านั้น
☎ติดต่อสอบถามและลงทะเบียน (รับจำนวนจำกัด)
line id; pat4310

เพิ่มเพื่อน
=======================================