วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556

มะเร็งร้ายของธุรกิจ วิกฤตทางการเงิน 4 ระยะ

บทความดีๆจาก อ.Sanpong Limthamrongkul เขียนเรื่อง  วิกฤตทางการเงิน ของบริษัทได้ชัดเจน พร้อมทั้งเครื่องมือสังเกตุปัญหาแต่ละขั้น เชิญอ่านโดยพลัน

ในการลงทุนการวิเคราะห์บริษัทส่วนมากเน้นการดูกำไร การเติบโตซึ่งก็เป็นสิ่งที่ถูกต้อง เพราะการซื้อหุ้นก็คือการซื้ออนาคต แต่บางครั้งการมองหน้าแต่ไม่ระวังหลังบ้างเลย ก็จะประมาทเกินไป เหมือนกับการขับรถ เรามีกระจกมองหลัง กระจกข้างเพื่อเวลาจะเร่งเครื่องฉวงออกซ้ายหรือขวาจะได้ปลอดภัย ถ้ามองแต่ด้านหน้าก็อาจเกิดอันตรายได้ เช่นกัน หุ้นหลายตัวผู้บริหารหรือแม้แต่นักวิเคราะห์ทั่วไป มักเชียร์ตัวเองหรือเข้าข้างสิ่งที่ตนสนใจ ให้แต่ข้อมูลเชิงดี ในภาวะตลาดดีอะไรก็ดีหมด หุ้นแย่ก็ยังขึ้น ไม่ได้สนใจว่าหากเกิดภาวะพลิกผันแล้วจะเป็นอย่างไร บางีตัวเลขจากงบการเงิน จากการวิเคราะห์แบบยาวๆ หรือข่าวสารที่เกิดขึ้น ก็มีสัญญาณบ่งชี้ว่าควรระวัง บางที่ปัญหาก็ไม่ได้เกิดให้เห็นทันที แต่เหมือนกับโรคมะเร็ง ที่กว่าจะรู้ก็ใกล้ตาย หรือระยะที่สามระยะที่สี่ ที่แก้ยากลำบากหรือทำอะไรไม่ได้แล้ว หุ้นหรือบริษัทที่อาจต้องระวังเพราะมีพฤติกรรมบ่งชี้แนวโน้มว่าอาจก่อมะเร็งร้ายถ้าจะลงทุนในภาวะกระทิงก็อาจไม่มีอะไร แต่ถ้าเหตุการณ์ตลาดเริ่มไม่ปกติ จะลดมูลค่าค่อนข้างแรง ผันผวนมากของแบ่งภาวะการก่อวิกฤตทางการเงินดังนี้ (ผู้บริหารสามารถนำไปพิจรณาบริษัทตนเองได้ว่า มีอาการใดเกิดขึ้น ส่วนนักลงทุน อาจไม่ได้ทุกข้อแต่หากมีข้องบ่งชี้ใดที่เทียบเคียงได้ ก็ต้องระมัระวัง บางครั้งก็มาเห็นตอนเข้าระยะสามเลยก็ได้)
มะเร็งร้ายของธุรกิจ วิกฤตทางการเงิน 4 ระยะ

มะเร็งระยะที่ 1 ระยะฟักตัว Earning Fluctuation or Non-quality of Earning 


  • ขยายธุรกิจอย่างหลับหูหลับตา
  • ทำการตลาดผิดพลาด
  • ระบบบริหารไม่มีประสิทฝิภาพ
  • ขาดระบบการบริหารวิกฤต
  • ใช้ทรัพยากรไม่เหมาะสม
  • ละเลยต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพธุรกิจ

ในแง่อัตราส่วน แนวโน้ม Asset Turnover (AT) มักจะลดลงต่อเนื่อง ไม่ใช่ขายไม่เติบโต ยอดขายยังเติบโต แต่สินทรัพย์เติบโตเร็วกว่า ผลตามมาคือ ROA จะลดลง และมีแนวโน้ม D/E เพิ่มขึ้นแม้ระดับ D/E จะไม่สูงก็ตาม แต่ถ้ายิ่งยอดขายเติบโตลดลงแล้ว ชัดเลย

มะเร็งระยะที่ 2 ระยะสำแดงอาการ Start Financial Crisis or Liquidity Problems 


  • เงินทุนไม่เพียงพอ /ขาดแหล่งเงินทุนสนับสนุน
  • พึ่งพาเงินกู้มากเกินไป ภาระดอกเบี้ยสูง
  • ขาดฐานข้อมูลและระบบบัญชีบัญชีที่มีประสิทธิภาพ
  • กระแสเงินสดการดำเนินงานติดลบต่อเนื่อง
  • มีการยืดเวลาชำระหนี้ ผัดผ่อนการจ่ายหนี้
  • ขาดความสามารถคาดการณ์อนาคตจากข้อมูล

อาการทางอัตราส่วนที่เห็นชัดตือ D/E ที่สูงมากๆ ICR (Interest Coverage Ratio) กว่า 1.2 หรือใกล้ 1หรือ ต่ำกว่า 1 (ปกติ ICR < 1.3 สากลให้เป็น Junk Bond แล้ว) CFO ติดลบ QE ติดลบ CC (Cash cycle) ยาวกว่า 60-90 วัน

มะเร็งระยะที่ 3 ระยะรุนแรง Temporary Bankruptcy or Liquidity Problem 


  • ผู้บริหารเสียเวลากับการจัดการปัญหาสภาพคล่อง
  • เงินทุนขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง
  • ถูกลดหรือตัดเครดิตทางการค้าหรือการกู้ยืม
  • หนี้เมื่อถึงกำหนดชำระไม่สามารถชำระได้

CR (Current Ratio) จะน้อยกว่า 1 ยาวมากกว่า 90 วัน CFO ติดลบ QE ติดลบ มีหนี้ระยะสั้นสูง ถ้าเทียบหนี้ระยะสั้น (หนี้สถาบันการเงิน หนี้สัญญาเช่าทางการเงิน) กับหนี้ทั้งหมด (หนี้ที่กู้มา เช่นจากธนาคาร หุ้นกู้ สัญญาเช่าการเงิน) เกินกว่า 40% จะถือว่าไม่ดี ICR<1หรือ MICR (Modified Interest Coverage Ratio = CFO+I / I) <1

มะเร็งระยะที่ 4 ระยะปรากฏเป็นจริง หรือสุดท้าย Permanent Bankruptcy 


  • หนี้สินสูงกว่าสินทรัพย์ ปิดกิจการ ล้มละลาย

สั้นๆ ง่ายๆ คือ Equity ติดลบ อัตาส่วนเลวร้ายทั้งหมดปรากฎพร้อมกันทั้งหมด ถ้าถือหุ้นที่อาการเข้าระยะที่สี่ ก็โอกาสน้อยมาก อาจทำครีโมแล้วหายก็ได้ (Turn around) สมมติว่าถ้าท่านเป็นบริษัทประกัน จะรับประกันไหม ถ้าหายก็ได้เบี้ยยาว ถ้าไม่ก็จ่ายสินไหมทดแทน

ที่มา
https://www.facebook.com/sanpong.limthamrongkul/posts/10200530938614397

วันอาทิตย์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ทำไม ROE จึงเป็นเครื่องมือหลักในการเลือกหุ้น (2)

ทำไม ROE จึงเป็นเครื่องมือหลักในการเลือกหุ้น บทความดีฯ จากอ. sanpong limthamrongkul [1] ครับ มาสนุกกับตอนที่ 2 กัน
ตอนที่ 1 http://www.investidea.in.th/2013/05/ROE1.html
ตอนที่ 2 http://www.investidea.in.th/2013/05/ROE2.html

สมมติว่าลดทุนหรือซื้อหุ้นคืนล่ะ Equity ลดลงแน่ เพราะทั้งสองรายการส่วนทุนลดลง การลดทุนเพราะมีขาดทุนสะสมไม่กระทบเพราะมักลดทุนลงโดยตัดขาดทุนสะสมกับทุนหุ้นสามัญที่ออก แล้ว ROE ไม่ดีหรือ คำตอบคือไม่ เพราะการที่บริษัทมีขาดทุนสะสมมาแสดงว่า อัตรากำไรที่ผ่านมาติดลบจึงขาดทุนดังนั้น ROE ย่อยไม่ดีคือต่ำหรือติดลบ ดังนั้น แม้จะลดทุนก็ไม่ได้เปลี่ยนโครงสร้าง D/E จึงไม่มีอะไรดีขึ้นจากเดิม ดังนั้นการดู ROE ก็ยังคัดกรองได้

ส่วนการซื้อหุ้นคืน (Treasury Stock) เงินสดลด ทุนลด (เอาหุ้นซื้อคืนมาลบส่วนทุน) ดูแล้วน่าจะดีเพราะสินทรัพย์ก็ลด ทุนก็ลด บริษัทกยังมีกำไรดีอยู่เหมือนเดิม โดยคร่าวๆ วิธีนี้จะทำให้มูลค่าหุ้นส่วนมากเพิ่มขึ้น แต่หากพิจารณาให้ดีทางตรรกะ ก็ยังพบว่า ROE ยังใช้คัดกรองได้เช่นกัน การซื้อหุ้นคืนนี้บริษัทต้องเอาเงินสดบริษัทไปซื้อหุ้นบริษัมกลับ และอาจนำออกไปขายใหม่ (คล้ายกับระดมทุน แต่ใช้หุ้นเดิม) วิธีการบัญชีจะอย่างไรก็เถอะ ในแง่ที่ไม่ได้เป็นนักบัญชีอาจรู้สึกงงว่า มันจะไปมาอย่างไร ผมนักบัญชีรู้ครับแต่นักลงทุนรู้แล้วอาจยิ่งมีคำถามยิ่งมาก และอาจไม่เกิเประโยชน์ต่อการตัดสินใจลงทุนในสิ่งที่อยากจะรู้นัก มาดูผลภาพกว้างจาก ROE ว่าสะท้อนอย่างไร โดยปรกติ บริษัทควรนำสินทรัพย์ไปลงทุนต่อเพื่อให้เดิดประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้น หากบริษัทมีเงินเหลือ และถ้าสามารถเอาเงินไปลงทุนให้เกิดกำไรในอัตราที่มากกว่าเดิม (ROA) ก็ไม่ควรเอามาซื้อคืน เช่น ทุกสินทรัพย์ 100 บาท บริษัททำให้เกิดรายได้ขึ้น 120 บาท และมีกำไร 10% = 12 บาท ถ้าสมมติขณะนั้นมีสินทรัพย์ 1,000 บาท มี หนี้ 200 ส่วนทุน 800 เดิมมีกำไร 120 บาท บริษัทจะเอาเงิน 200 ไปซื้อหุ้นคืน จะเหลือสิทรัพย์ 800 หนี้ 200 ทุน 600 การเอาเงินสดออกไปซื้อหุ้นคืนทำให้บริษัทเสียโอกาสหารายได้ เช่นซื้อสินค้ามาขาย จ่ายค่าโฆษณาและอื่นๆ กระตุ้นยอดขาย แต่ยังคงอัตราการสร้างรายได้ที่ AT 1.2 เท่า และอัตรากำไรที่ 10% การซื้อหุ้นคืนนี้ทำให้บริษัมยังมีกำไร 9.6 บาท ROE (คิดง่ายๆไม่ถัวเฌฉลี่ย) ก่อนซื้อ 15% (120/800) หลังซื้อ 15% (9.6/600) ดังนั้นถ้าบริษัทคงความสามารถทำกำไร (อัตรากำไร) และประสิทธิภาพการใช้สินทรัพย์ (AT Asset Turnover) คงเดิม ราคาก็จะคงเดิม แต่ถ้าการเอาเงินมาซื้อหุ้นคืนแล้วบริษัทสูญเสียโอกาสจากการใช้สินทรัพย์ในการสร้างรายได้ ROE จะลดลง โดย AT ลดลงหรือ อัตรากำไรลด หรืดลดทั้งคู๋ EPS จะลดลง หุ้นจะลง ดังนั้นบริษัทจะทำอะไรก็ตามสุดท้ายวัดที่ ROE และการดู ROE นี้ต้องดูยาวๆครับใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่นที่วัดสัก 5 ปีขึ้นไปจะเห็นแนวโน้มชัดเจนมากกว่าดูแบบปี ต่อปี

บางครั้งแม้จะไม่รู้บัญชีลึกซึ้งมากมาย มาตรฐานการบัญชีจะเปลี่ยนโน่นเปลี่ยนนี่ แต่หลักการดู ROE เป็นเกณฑ์เบื้องต้นก็ยังใช้คัดกรองเบื้องต้นได้ ย้ำครับว่าคัดกรองเบื้องต้นได้ ที่เหลือก็ต้องดูเรื่องอื่นๆ ประกอบ เช่น P/E, P/BV, Expectation Earning growth เป็นต้น บางใช้แค่ 3-4 ตัว ก็ได้หุ้นมาวิเคราะห์ต่อได้แล้วจากหุ้นที่มีหลายร้อยตัวในตลาด

เช่นภาษีเงินได้รอตัดบัญชี ในด้านนักบัญชีอาจดูน่าตื่นเต้นเพราะมีผลกระทบต่อกำไร เช่นบริษัทที่มีสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัด เมื่อลดภาษีลงก็จะทำให้ภาษีทางบัญชีต้องบันทึกค่าใช้จ่ายภาษีมากขึ้น ในแง่นักลงทุนเราจะลงทุนบริษัทที่มี ROE ดีๆ สูงๆ ดังนั้นในแง่การคัดกรองหุ้น พวกนี้ตกรอบแรกแล้วถ้ากระทบต่อกำไรอย่างมีสาระสำคัญ แล้วก่อนหน้าล่ะ ถ้าบริษัทมีสินทรัพย์ภาษีรอตัดมากๆ AT จะไม่ดีอยู่แล้วเพราะสินทรัพย์จะไม่ได้ generate รายได้ พวกนี้ก็มักตกรอบคัดเลือกด้วยหลักคัดกรอง จึงไม่น่าพลาดมาลงทุนในบริษัทที่มีสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชีมากๆ เล็ดรอดก็มีสัดส่วนน้อยจนไม่น่ากังวล แต่ปกติสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชีมักจะมีสัดส่วนไม่มากจนเป็นสาระสำคัญต่อ AT ในการวิเคราะห์จริงผมไม่ค่อยสนใจเท่าไรนัก

ส่วนหนี้สินผลประโยชน์พนักงานก็เช่นกัน พวกนี้มักมีสัดส่วนไม่มากจนกระทบโครงสร้างทุน ถ้ามากส่วนทุนก็จะลดเยอะ แต่ละปีก็อาจจะตั้งค่าใช้จ่ายมาก อัตรากำไรก็กระทบ ROE ก็แย่ พวกที่มีรายการนี้มากๆ อย่างมีสาระสำคัญก็มักตกรอบการคัดกรอง ที่ผ่านได้ ก็แสดงว่าจะไม่มีผลกระทบอย่างมีสาระสำคัญ

โดยสรุป ROE, จะสามารถใช้เป็นตัวคัดกรองได้ดีโดยดูร่วมกับ P/E และหรือ P/BV ว่าจะไม่ซื้อหุ้นราคาแพงไป และอาจดู Gross margin, Net margin, Asset turnover, D/E ประกอบด้วย แต่ผมจะเพิ่มเรื่องคุณภาพกำไรประกอบด้วย QE (Quality of Earning) = CFO/NI ควรมากกว่า > 1 อย่าลืมที่ว่ามาคือการคัดกรอง เลือกหุ้นต้องเอาพวกผ่านเข้าประกวดรอบตัดสินอีกทีนะครับ

ที่มา
[1]https://www.facebook.com/sanpong.limthamrongkul/posts/10200384943564612