วันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2558

Excel การประเมินมูลค่าเหมาะสมด้วยการคิดลดเงินปันผล (Dividend discount model)

การประเมินมูลค่าเหมาะสมด้วยการคิดลดเงินปันผล (Dividend discount model) เป็นรากของตำรา Valuation ทั้งเล่มครับ ทั้ง ตราสารหนี้ ตราสารทุน อนุพันธ์ ฯลฯ การรู้ที่มาของสูตรการประเมินมูลค่าเหมาะสมด้วยการคิดลดเงินปันผล (Dividend discount model) จะทำให้เราเข้าใจแบบจำลองได้มากขึ้นและเลือกตัวแปรที่เหมะสมเข้ามาคำนวณได้ครับผม ท้ายบทความผมทำไฟล์ EXCEL ไว้ให้ลองนั่งจิ้มตัวเลขบนเว็ปหรือจะโหลดไปลงเครื่องก็ได้ครับผม



1.ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง


หาอ่านได้ตามเว็บทั่วไปครับผม มูลค่าเงินตามเวลา Future value, Present value, ทฤษฎีค่าเสียโอกาส, NPV, Gordon growth model

2.การตัดสินใจลงทุนด้วย NPV


NPV หรือ Net present value เป็นการเปรียบเทียบว่าถ้าสองโครงการให้ผลตอบแทนในอนาคตเท่ากัน นำมาคิดลดเป็น เงินลงทุนในปัจจุบันที่ต้องใช้ (PV) ว่าทางเลือกไหนใช้เงินต่ำกว่าก็ตัดสินใจลงทุนทางเลือกนั้นเพราะเป็นทางเลือกทีี่ให้ผลตอบแทนสูงที่สุด

3.สมมติฐานของแบบจำลอง


ตัดสินใจลงทุน ในหุ้นด้วยราคาเสนอขาย P0 สิ่งที่ได้รับคือ เงินปันผลในอนาคต ที่เติบโตเรื่อยๆ ด้วยอัตราผลตอบแทนทบต้น g ไปไม่มีที่สิ้นสุด โดยมีค่าเสียโอกาสคือ k เป็นตัวแทนของผลตอบแทนทบต้นของทางเลือกที่เราสละไป ว่าซื้อหุ้นให้ผลตอบแทนคุ้มค่าเสียโอกาสหรือไม่

3.1เงินลงทุนและผลตอบแทนของโครงการที่เราสนใจ


ลงทุน ที่ราคาปัจจุบันเท่ากับ P0
สิ่งที่ได้ D1 + D1*(1+g) + D1*(1+g)^2 + ..... + บวกไปเรื่อยๆถึงอนาคตอันไกลโพ้นไม่มีที่สิ้นสุด

3.2เปรียบเทียบกับโครงการทางเลือก


ถ้าต้องการผลตอบแทนเท่ากับกระแสเงินสดในอนาคต ที่เท่ากับข้อ 3.1 มีลักษณะคือเติบโตเรื่อยๆ ด้วยอัตราผลตอบแทนทบต้น g ไปไม่มีที่สิ้นสุด ด้วยผลตอบแทนเท่ากับ k ต้องใช้เงินลงทุนในปัจจุบันเท่ากับ
PV = D1/(1+k)^1 + (D1*(1+g))/(1+k)^2 + (D1*(1+g)^2)/(1+k)^3 + ...........+ บวกไปเรื่อยๆถึงอนาคตอันไกลโพ้นไม่มีที่สิ้นสุด
จาก Gordon growth model จะได้
PV = D1/(k-g)

3.3ตัดสินใจลงทุน


ตัดสินใจลงทุน โดยการเปรียบเทียบเงินที่จ่ายในการซื้อหุ้นที่ P0 เที่ยบกับมูลค่าของเงินในปัจจุบันถ้าต้องการกระแสเงินสดในอนาคตเท่ากับกระแสเงินสดจากการซื้อหุ้น
NPV = PV - P0
NPV = D1/(k-g) - P0

กรณีที่ 1 NPV > 0

D1/(k-g) > P0
แสดงว่าให้เงินอานาคตเท่ากับ การลงทุนทางเลือกใช้เงินมากกว่าซื้อหุ้น แสดงลงทุนหุ้นคุ้มกว่า คนจะแห่กันมาซื้อหุ้น หุ้นจะปรับตัวขึ้น

กรณีที่ 2 NPV < 0

D1/(k-g) < P0
แสดงว่าให้เงินอานาคตเท่ากับ การลงทุนทางเลือกใช้เงินน้อยกว่าซื้อหุ้น แสดงลงทุนหุ้นไม่คุ้ม คนจะแห่กันมาขายหุ้น เอาเงินมาลงทุนโครงการที่ให้ผลตอบแทนเท่ากับ k หุ้นจะปรับตัวลง

4.การกำหนดมูลค่ายุดิธรรม


มูลค่ายุติธรรม หรือราคาเหมาะสม คือราคาที่ทำให้ NPV = 0 หรือเป็นจุดที่ลงทุนได้ผลตอบแทนภายใน (Internal Rate of Return : IRR) = k นั่นเอง
NPV = 0 = PV - Pเหมาะสม
Pเหมาะสม = D1/(k-g)

5.การใช้งาน


ถ้า P0 < Pเหมาะสม ซื้อเพราะซื้อหุ้นให้ผลตอบแทนมากกว่าคาดหวัง
ถ้า P0 > Pเหมาะสม ขายเพราะซื้อหุ้นให้ผลตอบแทนน้อยกว่าคาดหวัง

6.ข้อควรระวัง


ราคาที่คำนวณได้จะเป็นจริงก็ต่อเมื่อสมมติฐานเป็นจริง คือเงินปันผลโตเรื่อยๆเท่ากับ g ไม่มีที่สิ้นสุด ถ้าบริษัทที่เราจะวัดมูลค่าลักษณะของผลประกอบการไม่เหมือนสมมติฐานแบบจำลองยังไงก็วัดไม่แม่น

ค่า g และค่า k ควรประมาณการด้วยผลตอบแทนแบบทบต้นจะเหมาะสมกว่า


7.การใช้งาน ไฟล EXCEL ประเมินมูลค่าหุ้นด้วยแบบจำลองคิดลดเงินปันผล


ไฟล์ EXCEL ช่วยประมาณการราคาเหมาะสมด้วย วิธีคิดลดเงินปันผล (Dividend discount model)

สูตรง่ายๆคือ

P = D1/(k - g) ประมาณการดังนี้

D1 ปันผลปีหน้า


ถูกประมาณการด้วย ปันผลปีนี้ D0 x การเติบโต g


K ประมาณการด้วย ทฤษฎี CAPM 

k = Rf + Beta(RM - Rf)

Rf Risk free ประมาณการด้วย ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 1 ปี ดูได้ที่หน้าแรกของ www.set.or.th จะมีบอกอยู่

ฺBeta แสดงความสัมพันธ์ระห่วาง set กับ ราคาหุ้นที่เราสนใจ ดูข้อมูลที่ facet sheet ของตลาดหลักทรัพย์ เปลียนตรง URL symbol=PB เป็นหุ้นทีต้องการ
http://www.set.or.th/set/factsheet.do?symbol=PB&ssoPageId=3&language=th&country=TH

RM เป็นผลตอบแทนตลาด

ใช้ดัชนีผลตอบแทนรวม SET TRI เข้าไปดูได้ที่ http://www.set.or.th/th/market/tri.html คำนวณจากสูตร ((ปลาย/ต้น)ู^(1/จำนวนปี))-1

จากตารางใส่แค่ เริ่มต้น กับ วันปัจจุบัน จะคำนวณผลตอบแทนมาให้อัตโนมัติ

สมติฐานการเติบโต


ผมทำตารางให้สามารถคำนวณแบบ Two-Stage Divident Discunt Model
แบบการเติบโตเป็น สองช่วง

การเติบโตช่วงแรก กำหนดการเติบโต และจำนวนปีว่าจะให้โตกี่ปี
การเติบโตช่วงที่สอง จะเป็นการเติบโตปีต่อจากช่วงแรกไปถึง ไม่มีที่สิ้นสุด

ถ้าอยากให้โตเป็นช่วงเดียว ก็กำหนดการเติบโตทั้งสองช่วงให้เท่ากัน

ความยากคือ การเติบโตต้องเป็นการเติบโตของปันผลในระยะยาว

การคำนวณราคาเหมาะสม


ตารางจะนำสมมติฐานที่เรากำหนดมาเป็นราคาเหมาะสมให้เยี่ยมจริง
P = D1/k-g

โชคดีในการลงทุนทุกท่านครับผม

วันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2558

เจาะงบการเงินหุ้นค้าปลีก

หุ้นกลุ่มค้าปลีกเป็นหุ้นกระแสในช่วงที่ผ่านมา ใครๆก็พูดถึงมาดูกันครับว่าถ้าเอางบการเงินมาเปรียบเทียบกันแต่ละคนจะเป็นอย่างไร บทความนี้ก็จะพาส่องงบแบบง่ายๆโดยใช้อัตราส่วนทางการเงินไม่กี่ตัว ก็มองเห็นภาพธุรกิจได้

ทิศทางราคา


แนวโน้มราคา
ในบทความนี้ได้เลือกหุ้นมา 5 ตัวเนื่องจากระบบของ SETSMART เขาให้เปรียบเทียบได้แค่นี่ จะเห็นว่าในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาทิศทางราคาก็ไม่ได้ไปไหนไกล มี robins ที่ราคาสารวันเตี้ยลงกว่าเพื่อน

ผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE)


สาเหตหนึ่งที่หุ้นกลุ่มนี้ราคาไม่ขยับ ส่วนหนึ่งมาจาก ทิศทางของ ROE มีแนวโน้มขาลง แปลว่า บริษัทสามารถทำกำไรกลับมาให้ส่วนทุนลดลง

ผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ROA)


ROA การคำนวณคือ EBIT/สินทรัพย์รวมเฉลี่ย การตีความจะต่างกับ ROE ตรงที่ ROA จะวัดความสามารถในการทำกำไรของสินทรัพย์อย่างเดียวโดยที่ไม่คำนึงถึงโครงสร้างทาการเงิน ROE = ROA x (1+อัตราส่วนหนี้ต่อทุน) จากสมการจะเห็นว่าบริษัทที่หนี้สินมากก็จะ ROE สูงขึ้น

จะเห็นว่าแนวโน้ม ROA ของทั้งกลุ่มเป็นขาลง แสดงว่าสาขาที่ขยายไปใหม่ๆไม่ค่อยสร้างกำไรกลับมาเหมือนเดิม มี BIGC ที่รักษา ROA ให้สม่ำเสมอได้ กับ CPALL ที่ ROA ลดฮวบหลังจากไปควบรวมกับ MAKRO ที่ขายสินค้าเป็นค้าส่ง แสดงว่า ROE ของ CPALL ที่เห็นสูงๆ มากจากการกู้หนี้ยืมสินนี่เอง

แยกองค์ประกอบ ROE


ในการวิเคราะห์ ROE แยกออกได้ดังนี้
ROE = กำไรสุทธิ / ส่วนผู้ถือหุ้น
= (กำไรสุทธิ / ยอดขาย) x(ยอดขาย/สินทรัพย์)x(สินทรัพย์/ส่วนของผู้ถือหุ้น)
= (กำไรสุทธิ / ยอดขาย) x(ยอดขาย/สินทรัพย์)x(1+หนี้สิน/ส่วนของผู้ถือหุ้น)
= อัตรากำไรสุทธิ x อัตราหมุนเวียนทรัพย์สิน x (1+หนี้สิน/ส่วนของผู้ถือหุ้น)

การทำกำไร


งบกาไรขาดทุนแยกออกเป็น กำไรขั้นต้น EBITmargn และกำไรสุทธิ โดยมองแยกได้ดังนี้

อัตรากำไรขั้นต้น


อัตรากำไรขั้นต้นสูงต่ำตามลักษณะสินค้าที่ขาย HMPRO ขายสองแต่งบ้าน อัตรากำไรขั้นต้น สูงสุด รองลงมาคือ ROBINS ที่เป็นห้าง HISO รองลงมาเป็น CPALL แต่ช่วงหลังๆ อัตรากำไรขั้นต้น ลดลงหลังจากไปควบรวมกับ MAKRO ที่เน้นขายส่ง รองลงมาเป็น BIGC ต่ำสุดเป็น GLOBAL ที่ขายวัสดุก่อสร้าง

อัตรากำไรขั้นต้นมีแนวโน้มสม่ำเสมอ น่าสนใจคือ GLOBAL ที่มีแนวโน้มอัตรากำไรขั้นต้นที่สูงขึ้นหลังจากรวมกับ SCC น่าไปตามต่อว่าไปทำอะไรมา อีกตัวคือ BIGC ที่อัตรากำไรขั้นต้นแกว่งมากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ต้องมีอะไร ออกโปรโมชั่นอะไรแปลกๆ หรือไม่

EBIT margin


EBIT margin หรืออัตรากำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี อยู่ในช่วง 5-10% ทิศทางนิ่งๆ แสดงว่าคุมรายจ่ายได้ดีเยี่ยมจริง

อัตรากำไรสุทธิ NPM



อัตรากำไรสุทธิ HMPRO มีแนวโน้มลดลงเขาว่ามาจากการไปเป็นสาขาใหม่ที่มาเลย์ และไปขายวัสดุก่อสร้างที่อัตรากำไรต่ำลง CPALL หลังจากไปรวมกับ MAKRO อัตรากำไรตก แต่ก็ไปปรับปรุงกระบวนการทำงานทำให้อัตรากำไรดีขี้น GLOBAL ก็ดีขี้น

อัตราหมุนเวียนสินทรัพย์


อัตราหมุนเวียนสินทรัพย์ส่วนใหญ่จะมีค่าลดลงเป็นสัญญาณไม่ดีเท่าไร แสดงว่า มีการขยายสาขาสินทรัพย์เพิ่มขึนแต่รายได้โตน้อยกว่าสินทรัพย์ที่เพิ่ม CPALL อัตราหมุนเวียนสินทรัพย์ลดลงมาหลังจากไปซื้อ MAKRO มา

อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน



จุดเด่นของ CPALL อยที่หนี้สินนี่เอง ขณะที่คนอื่นนิ่งๆ พี่เขาวิ่งไปเกือบ 10 เท่าเยี่ยมจริง


โดยภาพรวมกลุมนี้ก็คงยังไปได้เรื่อยๆ ไม่เหมาะเป็นหุ้นพลิกชีวิตเพราะไม่โตหวือหวาเหมือนช่วงสมัยที่เริ่มต้นใหม่ เนื่องจากทิศทางของ ROA ROE เริ่มลดต่ำลง จากสาขาที่ขยายใหม่สร้างรายได้ได้น้อยลง(อัตราหมุนเวียนทรัพย์สินต่ำลง)เหมาะถือกินปันผลเป็นเสือนอนกินมากกว่า

วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2558

การด้อยค่าของสินทรัพย์

การด้อยค่าของสินทรัพย์ เป็นรายการขาดทุนทางบัญชีที่ เกิดจากสินทรัพย์ของกิจการ ที่ลงทุนไปแล้ว เช่นที่ดินอาคารอุปกรณ์ สินค้า ลูกหนี้ เงินลงทุนบริษัทย่อย บริษัทร่วม มองไปข้างหน้าแล้วไม่เห็นอนาคต เช่น เศรษฐกิจไม่ดีรายได้ลดลง ลงของไปขายไม่ออกกองค้างๆอยู่ในโกดัง หรือซื้อมาแล้วราคาตลาดตก ลูกหนี้มีแนวโน้มเก็บเงินไม่ได้ พอมาดูแล้วมูลค่าแย่ลง ทำให้ด้อยค่าสินทรัพย์นั้นเป็นรายจ่ายไป กระทบงบการเงินทำให้ขาดทุน และส่วนทุนลดลง 

หรือสรุปสั้นๆว่าเจ็บแต่จบ ถ้าเขาไม่รักเราแล้วจะยื้อไว้ทำไม

บทความด้านล่างนี้รวมจากโพสของ sanpong.limthamrongkul [1][2] อธิบายเรื่อง เหตของการด้อยค่า ผลต่องบการเงิน และการวิเคราะห์ได้ยอดมาก เอาไอเดียเมื่อกี้มาอธิบายให้ยาวขึ้น ถ้าว่างๆ ก็เชิญอ่านโดยพลัน


ไม่กี่วันที่ผ่านมา PTTEP มีการบันทึกขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์กว่า 50,000 ล้านบาท ส่งผลให้กำไรไตรมาสสามขาดทุนกว่า 46,000 ลบ. ขาดทุน 9 เดือนกว่า 36,000 ลบ. 

แต่ถ้าสังเกตให้ดี งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จมีกำไรจากผลต่างของอัตราแลกเปลี่ยนจากการแปลงค่างบการเงินกว่า 41,000 ลบ.
สินทรัพย์เก้าเดือนลดลงรวม 35,000 ลบ. เป็นสินทรัพย์หมุนเวียนราว 18,000 ลบ. และ สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนราว 17,000 ลบ. 

ในส่วนสินทรัพย์หมุนเวียนหลักๆ ลดในเงินสด เงินลงทุนระยะสั้น และลูกหนี้จากบริษัทใหญ่รวมกว่า 18,000 ลบ. ส่วนและ สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนหลักๆ 

โดยสรุป ลดใน PPE 10,000 สท. ไม่มีตัวตน12,000 เพิ่มใน สท.อนุพันธ์ ภาษีรอตัด และอื่นๆ รวม 5,000 ลบ. หากดูในรายการ PPE + Intangible = (22,000) โดย PPE ซื้อเพิ่ม 19,000 เกิดด้อยค่าราว (50,000) ผลต่างสุทธิใกล้เคียงกัน ถือว่ากระทบยอดออกมาใกล้กัน OK ดังนั้นการลดลงของสินทรัพย์โดยรวมหากมองในด้าน operation ยอดรายได้หรือกระแสเงินสดเข้ามาจากราคาขายและปริมาณก๊าซปิโตรเลียม ลูกหนี้จึงลดลง (ราคารับซื้อลดลง) ภาพใหญ่เป็นไปตามวัฏจักร การฟื้นตัวอยู่ที่ราคาก๊าซธรรมชาติจะปรับขึ้นมาที่ระดับเดิมได้เร็วหรือไม่ หรืออยู่ในรับต่ำนี้ยาวนาน

มีหลายคน (และเห็นบางเว็ปด้านการลงทุน) ไปเขียนทำนองว่า ขาดทุนจากการด้อยค่าเป็นโอกาสในวิกฤต ขาดทุนนี้สามารถเกิดการโอนกลับ ในภายหลังได้ ซึ่งก็ถูกและผิดในตัว สิ่งที่ต้องเข้าใจคือการเกิดการขาดทุนด้อยค่านั้นกลับรายการได้ แต่ไม่จำเป็นต้องกลับทั้งหมด และไม่ต้องเกิดในงวดถัดไปเสมอ อาจเกิดแล้วเกิดเลยก็ได้ ถ้าการด้อยค่ายังมีอยู่ งวดต่อๆไปถ้ามูลค่าจะได้รับสูงขึ้นก็กลับได้แต่ไม่เกินกว่ามูลค่าที่ได้รับที่ประเมินใหม่ ทยอยโอนกลับได้ แต่รวมแล้วไม่เกินจำนวนด้อยค่าที่รับรู้ไปแล้ว และไม่เกินมูลค่าราคาทุนหักค่าเสื่อมสะสม (ค่าเสื่อมเพิ่มทุกปีอย่าลืมนะครับ หากค่อยๆฟื้นตัวก็ไม่เกินกว่าทุนเดิมหักค่าเสื่อมสะสม) 

สมมติราคาบัญชี PPE ก่อนด้อยค่าอยู่ที่ 150 ลบ. เกิดด้อยค่าขึ้น 50 ลบ. ปีนั้นขาดทุนจากด้อยค่า 50 ลบ. PPE เหลืออายุ อีก 5 ปี ตัดค่าเสื่อมใหม่ปีละ 20 ลบ. BV PPE ปีต่อมาเหลือ 80 ถัดมาเหลือ 60 ถ้าปีนั้นการด้อยค่าหมดไป แต่มูลค่าที่ได้รับใหม่ไม่เกิน 90 ลบ. การโอนกลับก็ได้เพียง 30 ลบ. ไม่ใช่ 50 ลบ. วันแต่มูลค่าที่จะได้รับคืนเกินกว่า 110 ลบ. จึงกลับขาดทุนได้ทั้งหมด 50 ลบ.

ประเด็นสำคัญเรื่องการด้อยค่าของสินทรัพย์



  • 1. การด้อยค่าคือรายการที่ปรับมูลค่าสินทรัพย์ ไม่ใช่ค่าเสื่อมราคา แต่ผลที่เกิดขึ้นกระทบกำไรขาดทุนท่อนบนเหมือนกัน
  • 2. การด้อยค่าของสินทรัพย์คือค่าใช้จ่ายไปอยู่ในส่วนค่าใช้จ่ายในการบริหาร แต่แยกแสดงให้ชัดเจนแยกออกมา แต่ค่าเสื่อมราคา บางส่วนที่เกี่ยวข้องการผลิต เช่นเครื่องจักร โรงงาน ค่าเสื่อมราคาไปต้นทุนผลิต ตัดเป็นค่าใช้จ่ายเมื่อขายสิค้า อยู่ในต้นทุนขาย
  • 3. บังคับใช้กับสินทรัพย์ทุกประเภท ยกเว้น ลูกหนี้การค้า เงินลงทุน สินทรัพย์ทางการเงินต่างๆ สินค้าคงเหลือ สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน สินทรัพย์ชีวภาพ (สินค้าเกษตร) เป็นต้น
  • 4. ต้องปฏิบัติเมื่อมีข้อบ่งชี้ ซึ่งข้อบ่งชี้แบ่งได้สองส่วนคือ ปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอกดังนี้

    1.แหล่งข้อมูลภายนอก เช่น

    1.1 ราคาตลาดของสินทรัพย์ลดลงอย่างเป็นสาระสำคัญในระหว่างงวด โดยจำนวนที่ลดนั้นสูงกว่าจำนวนที่คาดว่าจะลดลงตามเวลาที่ผ่านไป หรือการใช้งานตามปกติ

    1.2 มีการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลกระทบทางลบต่อกิจการ ในระหว่างงวดหรือในอนาคตอันใกล้อย่างเป็นสาระสำคัญ

    1.3 อัตราดอกเบี้ยในตลาดหรืออัตราผลตอบแทนอื่นในตลาด จากการลงทุนของงวดนั้นเพิ่มขึ้นจนน่าจะมีผลกระทบต่ออัตราคิดลดที่จะใช้ในการคำนวณ มูลค่าจากการใช้สินทรัพย์ ทำให้มูลค่าจากการใช้สินทรัพย์ และทำให้มูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนของสินทรัพย์ นั้นลดลงอย่างเป็นสาระสำคัญ

    2.แหล่งข้อมูลภายในเช่น

    2.1 มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าสินทรัพย์นั้นล้าสมัยหรือชำรุดเสียหาย

    2.2 มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับลักษณะที่กิจการใช้หรือคาดว่าจะใช้สินทรัพย์ ซึ่งส่งผลกระทบทางลบต่อกิจการในระหว่างงวดหรืออนาคตอันใกล้อย่างเป็นสาระสำคัญ หากสินทรัพย์ของกิจการมีข้อบ่งชี้ว่าจะด้อยค่า กิจการต้องรับรู้รายการขาดทุนจากการด้อยค่าเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนทันที และบันทึกลดราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ให้เท่ากับมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน
  • 5. ประเมินการด้อยค่าจากจำนวนที่สูงกว่าระหว่าง ราคาขายสุทธิ หรือ มูลค่าจากการใช้
  • 6. ไม่ได้ระบุให้ต้องประเมินโดยผู้ประเมินอิสระกิจการอาจสามารถประเมินได้ด้วยตนเอง
  • 7. พิจารณาการด้อยค่าสินทรัพย์แต่ละรายการหรือ เป็นหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสด (หน่วยสินทรัพย์ฯ) ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าสินทรัพย์นั้นสามารถก่อให้เกิดกระแสเงินสดได้ด้วยตัวเองหรือไม่
  • 8. การบันทึกบัญชี Dr. ผลขาดทุนจากการด้อยค่า และ Cr. ค่าเผื่อการด้อยค่า กรณีรับรู้ผลขาดทุนของหน่วย
  • 9. การตีราคาสินทรัพย์ใหม่แต่ละรายการแล้วพบว่า ราคาที่ประเมินใหม่มีราคาต่ำกว่าราคาตามบัญชีแล้วบริษัทไม่ต้องรับรู้ขาดทุนเกี่ยวกับการตีราคาของสินทรัพย์หรือรับรู้เป็นขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ การตีราคาใหม่ไม่ใช่การด้อยค่า บริษัทอาจแสดงที่ราคาทุนตลอดไปก็ได้ แต่หากเลือกแสดงการตีราคาใหม่แล้วต้องทำโดยสม่ำเสมอกรณีนี้อาจเกิดขาดทุนได้ (ปกติบริษัทไม่นิยมตีราคาใหม่ เว้นแต่ตีราคาเพื่อให้ D/E ดีขึ้น) อย่าสับสนระหว่างการตีราคาตามมาตรฐานบัญชีฉบับที่ 32 กับการด้อยค่าของสินทรัพย์ตามมาตรฐานบัญชีฉบับที่ 36 
  • 10. ขาดทุนจากการตีราคาของสินทรัพย์ กับ ขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์แตกต่างกันอย่างไร ต่างกันคือกรณีตีราคาใหม่ ถ้าเราเคยตีราคาเพิ่ม ส่วนที่ตีเพิ่มครั้งแรกจะไปแสดงในกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น (ท่อนสอง) งวดต่อมาสินทรัพย์นั้นราคาลดลง ส่วนที่ลดลงจะไปหักส่วนที่ที่เพิ่มในท่อนสองของงวดก่อน ลดออกจนหมดเมื่อลดจนหมดแล้วจึงบันทึกขาดทุนในท่อนบน ต่างกับขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ลงเป็นขาดทุนทั้งก้อนในงบกำไรขาดทุนท่อนแรกทันที
  • 11. เมื่อจะพิจารณาว่าสินทรัพย์มีการด้อยค่าหรือไม่แล้ว ต่อมาการตีราคาสินทรัพย์นั้นๆ พบว่าราคาที่ตีใหม่ สูงกว่าราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ จะต้องรับรู้เป็นส่วนเกินทุนจากการตีราคาทรัพย์สินหรือไม่ ไม่จำเป็นเสมอ แต่ต้องประเมินการด้อยค่าของหน่วยสินทรัพย์ฯ นั้นใหม่ว่ายังด้อยค่าอยู่หรือไม่ ง่ายๆ เช่น

    หน่วยสินทรัพย์มี อาคารและเครื่องจักร ด้อยค่าลงรวม 100 ลบ. ทำให้ราคาตามบัญชีหลังการด้อยค่าเป็น 300 ลบ. โดยแยกเป็นอาคารแสดง 200 ลบ. และเครื่องจักรแสดง 100ลบ. ปีต่อมาหลังหักค่าเสื่อมราคา อาคารเป็น 270 ลบ. และเครื่องจักรเป็น 150 ลบ. ประเมินมูลค่าที่ได้รับใหม่ (RECOVERABLE AMOUNT = RA) เท่ากับ 480 ลบ. ถือว่าหน่วยสินทรัพย์ฯนี้ไม่ด้อยค่า (BV = 270+150 = 420 ลบ.) แต่อาคารมีราคาประเมินใหม่เป็น 300 ลบ. บริษัทอาจไม่ต้องลงอะไรก็ได้ถ้าเลือกแสดง PPE ด้วยราคาทุน แต่ถ้าเลือกตีใหม่ก็ลงส่วนเกินมูลค่าอาคารจากการตีราคา 30 ลบ. ในท่อนสอง จะเห็นว่า BV ของหน่วยสินทรัพย์ยังแสดงไม่เกิน RA ก็ไม่ด้อยค่า แต่อาจมีการกลับรายการด้อยค่าได้ แต่ไม่เกิน RA โดยกลับได้เพียง 30 ลบ. (BV หลังตีใหม่ 300+150 = 450 RA = 480) เหตุผลง่าย ถ้ากลับขาดทุน 100 ลบ. ส/ท ก็จะมี BV เป็น 450 + 100 = 550 RA = 480 ลบ. ก็ต้องด้อยค่ากลับ 70 ลบ. เท่ากับเกิดกำไรเพียง 30 (100-70) ลบ. อยู่ดี


การพิจารณาหน่วยสินทรัพย์ฯที่ก่อให้เกิดเงินสด (Cash Generating Unit ; หน่วยสินทรัพย์ฯ)


หน่วยสินทรัพย์ฯ คือ สินทรัพย์กลุ่มเล็กที่สุดที่ก่อให้เกิดกระแสเงินสดรับเป็นอิสระจากกระแส
เงินสดที่เกิดจากสินทรัพย์อื่นหรือกลุ่มสินทรัพย์อื่น
ในการพิจารณาเพื่อรับรู้การด้อยค่าของสินทรัพย์ กิจการควรพิจารณาเป็นลำดับ ดังนี้

1) พิจารณาสินทรัพย์แต่ละรายการที่สงสัยว่าเกิดการด้อยค่า เช่น ที่ดินด้อยค่า
2) พิจารณาว่าสินทรัพย์ที่สงสัยว่าเกิดการด้อยค่านั้น สามารถก่อให้เกิดกระแสเงินสดเป็นอิสระจาก สินทรัพย์ อื่นหรือไม่ เช่น ที่ดินที่ใช้เป็นที่ตั้งอาคารโรงงานไม่สามารถก่อให้เกิดกระแสเงินสดได้ด้วยตนเอง แต่ที่ดินที่ว่างเปล่าหรือสินทรัพย์รอการขาย อาจสามารถก่อให้เกิดกระแสเงินสดได้ด้วยตัวเอง เพราะถ้าขายก็จะมีราคาขาย ซึ่งใกล้เคียงกับมูลค่าจากการใช้ จึงพิจารณาการด้อยค่าเป็นแต่ละรายการได้เลย
3) หากพบว่าสินทรัพย์ตาม 2) ไม่สามารถก่อให้เกิดกระแสเงินสดได้ด้วยตัวเอง ก็ต้องนำไปรวมกับ สินทรัพย์ตัวอื่นเป็นหน่วยสินทรัพย์ฯ เพื่อหามูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน
4) ให้พิจารณาจากงบประมาณรายจ่ายฝ่ายทุน (capital budgeting) ของกิจการ โดยอาจพิจารณาว่ามีการทำประมาณการกระแสเงินสดก่อนเริ่มต้นโครงการหรือสาขานั้น
5) ในกรณีสาขา ให้พิจารณาการบริหารงานว่าเป็นแบบรวมอำนาจ หรือ กระจายอำนาจ
- ถ้าเป็นการบริหารงานแบบรวมอำนาจ ควรพิจารณารวมสาขาทุกสาขาเป็นหน่วยสินทรัพย์ฯ เดียวกัน
- ถ้าเป็นการบริหารงานแบบกระจายอำนาจ และแต่ละสาขามีอำนาจในการตัดสินใจเอง และทำกำไรองควรพิจารณาแต่ละสาขาเป็นหน่วยสินทรัพย์ฯ
6) กลยุทธ์ของกิจการอาจเป็นข้อบ่งชี้อย่างหนึ่งว่าหน่วยสินทรัพย์ฯ ประกอบด้วยอะไรบ้าง เช่น กิจการเปิดสาขาพร้อมกันหลายสาขา เนื่องจากถือเป็นกลยุทธ์การแข่งขัน ทั้ง ๆ ที่ทราบล่วงหน้าว่าบางสาขาอาจขาดทุนแต่ก็จำเป็นต้องเปิดเพื่อการแข่งขันในตลาด ในกรณีนี้พิจารณาได้ว่าสาขาทั้งหมดที่เปิดในคราวเดียวกันเป็นหน่วยสินทรัพย์ฯ เดียวกัน
ในการหามูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน (Recoverable Amount) คือการประมาณกระแสเงินสดในอนาคต
1. อาศัยข้อสมมติที่สมเหตุสมผลที่มีหลักฐานจากภายนอกสนับสนุน
2. อาศัยประมาณการทางการเงินล่าสุดจากฝ่ายบริหารครอบคลุมระยะเวลาอย่างมากที่สุด 5 ปี
3. ประมาณการกระแสเงินสดหลังจากช่วงเวลาในข้อ 2 ให้ปรับด้วยอัตราการเติบโตที่ คงที่หรือลดลง ยกเว้น มีเหตุผลสนับสนุนว่ามีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น (อัตราการเติบโตของกิจการ ต้องไม่สูงกว่า อัตราการเติบโตถัวเฉลี่ยระยะยาวของผลิตภัณฑ์ของอุตสาหกรรมหรือประเทศที่กิจการนั้นดำเนินอยู่)
4. ต้องพิจารณาจากสภาพสินทรัพย์ในปัจจุบัน
ประมาณกระแสเงินสดในอนาคต รวมถึง
1. การคาดการณ์กระแสเงินสดรับจากการใช้สินทรัพย์อย่างต่อเนื่อง
2. การคาดการณ์กระแสเงินสดจ่ายที่จำเป็นต่อการเกิดกระแสเงินสดรับจากการใช้สินทรัพย์นั้น
3. การคาดการณ์กระแสเงินสดที่จะรับ (จ่าย) จากการจำหน่ายสินทรัพย์นั้น เมื่อสิ้นสุดอายุการใช้งาน (Terminal Value of Assets)
ประมาณกระแสเงินสดในอนาคต ไม่รวมถึง
1. การปรับโครงสร้างในอนาคตที่ยังไม่ตัดสินใจเป็นที่แน่นอน
2. การขยายงานในอนาคต เช่น หากกิจการจะขยายสาขาเพิ่มในอนาคต กิจการต้องไม่เอาส่วนที่เพิ่มมารวมคำนวณ เอาเฉพาะสินทรัพย์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน หรือกรณีที่กิจการมีที่ดินว่างเปล่าที่มีโครงการจะพัฒนาในอนาคต กิจการก็ต้องประเมินมูลค่าจากการใช้ในฐานะเป็นที่ดินเปล่าหากยังไม่มีแผนการที่แน่นอนสำหรับโครงการพัฒนานั้น และที่ต้องระวังคือ กิจการอาจไม่สามารถใช้ประมาณการยอดขายจากฝ่ายบริหารมาประมาณกระแสเงินสดได้โดยตรงเพราะประมาณการของฝ่ายบริหารมักจะรวมการขยายตัวในอนาคตไว้ด้วย (เน้นย้ำครับว่า ประเมินจากสภาพปัจจุบัน กลยุทธ์ปัจจุบัน สินทรัพย์ปัจจุบัน)
3. รายจ่ายฝ่ายทุนในอนาคตที่ทำให้สินทรัพย์ดีขึ้น
4. กระแสเงินสดรับหรือจ่ายจากกิจกรรมจัดหาเงิน เช่น ดอกเบี้ยจ่าย เงินกู้ยืม (ไม่เอาดอกเบี้ยมาหักออก)
5. ภาษีเงินได้ที่รับหรือจ่ายไป (ไม่รวมรายจ่ายทางภาษี)
6. สรุปง่ายๆ คือ EBITDA นั่นเอง ไม่ต้องคิดถึงการเปลี่ยนแปลงใน Net Working Capital, CAPEX
การหาอัตราคิดลด
การหาอัตราคิดลดต้องพิจารณาถึง
1. ต้นทุนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของเงินทุนของกิจการ
2. อัตราการกู้ยืมส่วนเพิ่มที่กิจการต้องจ่าย
3. อัตราการกู้ยืมอื่นในตลาด
4. ปรับปรุงอัตราข้างต้น เพื่อให้อัตราคิดลดของสินทรัพย์หรือหน่วยสินทรัพย์ฯ ภายใต้การพิจารณาสะท้อนถึงความคาดการณ์ของตลาดและความเสี่ยงเฉพาะของสินทรัพย์นั้น หรือปรับปรุงอัตราข้างต้นให้สะท้อนถึงผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนต้องการ อีกนัยหนึ่ง อัตราคิดลดต้องสะท้อนถึง IRR ของโครงการหรือของหน่วยสินทรัพย์ฯ นั้น สรุปคือใช้ WACC (Weighted Average Cost of Capital)

ที่มา
[1]https://www.facebook.com/sanpong.limthamrongkul/posts/10206290091509620
[2]https://www.facebook.com/sanpong.limthamrongkul/posts/10206290093549671

วันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2558

วิธีการประเมินมูลค่าด้วยสูตรของ เบนจามิน เกรแฮม

วิธีการประเมินมูลค่าหุ้นด้วยสูตรของ เบนจามิน เกรแฮม เป็นสูตรฮิตที่นิยมใช้กันเยอะ เพราะงานดีจับตัวเลขใส่สูตรจบ แต่เป็นตัวเลขที่เกิดจากตลาดสมัย 1962 ช่วงที่หนังสือออก ซึ่งมีความแตกต่างจากตลาดปัจจุบันมาก บาทความนี้ก็จะทดลองปรัับให้เป้นปัจจุบันครับ

สูตรเริ่มต้นคือตามภาพ


ที่มามาจากการใช้ PE ง่ายๆคือ PE = P/E ย้ายข้างหาราคาหุ้นจะได้ P = EPS x PE โดย PE จะถูกประมาณการโดยสูตร 8.5 x 2g โดยที่ 8.5 คือ ผลค่า PE ของหุ้นที่การเติบโตเท่ากับ 0 และ g คือการเติบโตระยะยาวของ 7-10 ปีข้างหน้า

ต่อมาเล่มปรับปรุงหลังๆ ก็ปรับปรุงสูตรโดยการ เพิ่มผลตอบแทนที่คาดหวังเพิ่มไปอีกลายเป็นสูตรนี้


โดยที่ 4.4 คือ ผลตอบแทนขั้นต่ำที่คาดหวัง (minimum required rate of return) หรือ risk free ในช่วงปี 1964 ซึ่งเป็นช่วงที่หนังสือตีพิมพ์ และ Y คือ ผลตอบแทนของหุ้นกู้เอกชนที่ได้อันดับเครดิต AAA 20 ปี

ข้อควระวัง EPS ที่คิดควรเป็น กำไรต่อหุ้นที่มาจากกำไรปกติเท่านั้น กำไรพิเศษอย่าไปเอามา มีขาดทุนพิเศษก็เอาออกไป

ที่มาของสูตร จากบทความของเบจจามินเอง ตามลิงค์นี้ครับhttp://www.grahamanddoddsville.net/wordpress/Files/Gurus/Benjamin%20Graham/Formula%2520Valuations%2520of%2520Common%2520Stocks.pdf

ทดลองปรับสูตรของ เบนจามิน เกรแฮม ให้เป็นแบบไทยๆ


ตามสูตรที่น่าปรับคือ 8.5 ที่เป็น PE ที่เหมาะสมถ้าบริษัทไม่เติบโต กับ 4.4 ที่เป็น risk free บทความนี้ก็ลองเสนอ idea มาในการปรับ ผิดถูกอย่างไรนำไปปรับได้ตามสะดวกครับ






1.risk free


สมัยนั้น risk free อยู่ที่ 4.4 ส่วนปัจจุบันอยากรู้ว่าเท่าไร เข้าไปดูที่ http://www.thaibma.or.th/yieldcurve/YieldTTM.aspx แล้วเลือก ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล 1 ปี เท่ากับ 1.5 เป็นตัวแทนของ risk free เนื่องจาก ไม่มี ความเสี่ยงด้านเครดิต หรือ ความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ (Credit Risk หรือ Default Risk)

ซึ่ง risk free ไม่ได้บอกว่าจะไม่เจ้งเลย เพราะยังไม่รวมอีกหลายความเสียงเช่น

  • ความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Risk or Market Risk or Price Risk)
  • ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยในการลงทุนต่อ (Reinvestment Risk)
  • ความเสี่ยงจากผลกระทบของเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด (Event Risk)
  • ความเสี่ยงจากตราสารหนี้ขาดสภาพคล่องในการซื้อขาย (Liquidity Risk)
แต่หลายท่านก็เลือก risk free หลายแบบเช่น 5 ปี 10 ปี ก็มี ทุกคนก็มีเหตผลกันหมด เช่นเลือกยาวเพราะเท่ากับอายุการลงทุน เป็นต้น

2.PE ที่เหมาะสมเมื่อ g = 0

สูตรคำนวณ PE คือ b/k-g ถ้า g = 0 จะได้ PE = b/k 

โดยที่ b คืออัตราการจ่ายปันผลต่อกำไร ใช้ตัวเลข 50% มาจากการเดาว่าบริษัทจ่ายปันผล 50% น่าจะดี หลายบริษัทก็ตั้งนโยบายจ่ายปันผลที่ 50% แต่จริงๆแล้วอาจจะ มากกว่าหรือน้อยกว่านี้ได้

 k คือผลตอบแทนที่คาดหวัง โดยถูกประมาณการด้วย CAPM = Rf + beta ( Rm-Rf) 

โดยที่Rf คือ risk free , beta ให้เท่ากับ 1 เนื่องจากหุ้นทั่วๆไปให้ผลตอบแทนใกล้ๆเคียงตลาดน่าจะดี 

Rm คือผลตอบแทนของตลาด ในที่นี้จะใช้การเปลี่ยนแปลงของ SET Tri http://www.set.or.th/th/market/tri.html ที่เป็นดัชนีผลตอบแทนรวม คือรวมทั้ง capital gain และปันผลเข้าไปแล้ว เริ่มต้น 2/1/2545 ที่ 1000 จุด  จนถึงปัจจุบันที่ 12/12/2558 อยู่ที่ 72724  ผ่านมาแล้ว 13.951 ปี มีผลตอบแทนเฉลี่ยคำนวณด้วยสูตร ((72724/1000)^(1/13.951))-1 = 15.28% ต่อปี

จะได้ PE เหมาะสมเท่ากับ 50/(1.5 + 1*(15.28-1.5) = 3.27 เท่า

3.ผลตอบแทนตราสารหนี้ที่ AAA


บทความจาก TIF (https://www.facebook.com/notes/10150629323290763/) เขาประมาณ ผลตอบแทนตราสารหนี้เอกชน โดยเอา Government Bond Yield ส่วนบวกเพิ่มที่เกิดจากความเสี่ยงด้านความน่าเชื่อถือ (Credit Spread Curve) เข้าไปตามลิงค์ในบทความเขา lock ไม่ใช้เข้าละ ที่มีกราฟคล้ายๆกันก็ http://www.thaibma.or.th/compositerpt/dailyreport.aspx  แต่ก็ไม่มีตัวเลขเหมือนในบทความ

เลยเข้าไปที่ Yield curve ของตราสารหนี้แทน เข้าไปที่ http://www.thaibma.or.th/yieldcurve/CorpYieldCurvestat.aspx ตามบทความเขาใช้ ผลตอบแทนตราสารหนี้ภาคเอกชนที่ 20 ปี ผมก็ ที่มากกว่า 5 ปีว่า เสปรดเท่าไร แล้วก็บวกเพิ่มไป จริงๆต้องบวกเพิ่มกับ Government Bond Yield ที่อายุเดียวกัน แต่เริ่มขี้เกียจละ เลยบวกเพิ่มไปกับ risk free ซะเลย

4.กำหนด growth ยาวๆ


ข้อนี้ละยาก ปัญหา การเติบโตใน 7-10 ปี จริงๆต้องวิเคราะห์ว่า อนาคตอุตสาหกรรมจะ เข้าช่วงใหน เติบโต อิ่มตัว หรือถดถอย หรือโตแค่ปีสองปีแล้วจบ จากนั้นไม่โต ตามตัวอย่างสมมติให้ growth ประมาณ 8 เท่า (มาจากการเดา เปลี่ยนได้ตามหุ้นของท่าน)

5.คำนวณราคาเหมาะสม


นำค่าที่ได้จากข้อ 1-4 มาคำนวณเข้าสูตร

EPS x [((3.27+2x8)*1.5)/1.95]

คิดเป็น PE ประมาณ 14.82 เท่า จับคูณ EPS ก็ได้ราคาเหมาะสม

บทความนี้เป็นการทดลองใช้สูตรของเกรแฮมมาปรับให้เป็นตัวเลขแบบไทยๆว่าจะเป็นอย่างไร ผู้อ่านสามารถประยุกต์ได้ตามสะดวกครับผม


http://www.oldschoolvalue.com/blog/valuation-methods/value-stocks-benjamin-graham-formula/

วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2558

วิธีอยู่กับตลาดหุ้นแบบไม่ทุกข์ด้วยสติ

อยู่ให้เหมือนลิ้นงูในปากงู
พุธทาส

ธรรมชาติของมนุษย์มีกิเลสกันทุกคน ไม่งั้นจะมาลงทุนไปทำไม บางคนมาลงทุนเพราะ กลัวแก่แบบไม่มีเงิน ตายแบบจนๆ บางคนก็เข้ามาลงทุนเพราะเบื่องาน ดังนั้นในการวิเคราะห์หุ้นหรือตัดสินใจลงทุนก็หนีเรื่องกิเลศไม่พ้น ดังนั้นเพื่อความอยู่รอดในตลาดหุ้นแบบไม่ทุกข์ ก็ต้องพยายามมีสติรู้ทันกิเลศต่างๆ ให้ทัน ลดอคติต่างๆที่เกิดขึ้นเพื่อให้เห็นภาพของกิจการตามความเป็นจริงได้ ไม่อย่างงั้นการตัดสินใจจะเต็มไปด้วย อารมณ์ มากกว่า เหตผล หรือซื้อหุ้นไปแล้วอยู่ในตลาดแบบทุกข์ใจไปวันๆ

ในทางตะวันตกเรื่องอารมณ์เป็นขัวข้อหนึ่งที่สำคัญในการอยู่รอดในตลาดเงินและตลาดทุนแบบไม่ทุกข์ ก็พัฒนาเครื่องมือต่างๆ ในการจัดการเช่น การท่องคาถา เล่นตามระบบ หรือหลายท่านก็ประยุกต์ศาสตร์ NLP เข้ามาใช้ในการลงทุน

ในทางพระพุทธ์ศาสนา เป้าหมายสูงสุดคือไม่ทุกข์ โดยวิธีการคือ เข้าไปศึกษา กาย ใจ จนมองเห็นตามความเป็นจริงๆ  จนเห็นไตรลักษณ์ของรูปนามว่า เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ตามเหตปัจจัย และไม่อยู่ในอนาจบังคับ เมือเข้าใจอย่างถ่องแท้จะเห็น ทุกข์มีอยู่ แต่ไม่มีตัวเขาเข้าไปจับ โดยเครื่องมือในการศึกษากายใจก็คือสตินี่เอง ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการลงทุนได้

สติแปล่ว่าความระลึกได้ ไม่หลง เมื่อวิเคราะห์หุ้นอย่างมี "สติ" จะเห็น ผู้รู้ กับ สิ่งที่ถูกรู้ แยกออกจากกัน สิ่งที่ถูกรู้คือข้อเท็จจริงและความคิดเห็น

ข้อเท็จจริงๆ


ข้อเท็จจริง คือข้อมูลข่าวสารต่างๆที่เข้ามา ทั้งงบการเงินที่ประกาศทุก ๆ ไตรมาศ ข่าวที่ประกาศทุกวัน ราคาหุ้นที่ขยับทุกวินาที ซึ่งมีทั้งข้อมูลที่เป็นเท็จและจริงปะปนกันไป เราต้องมีระบบในการคัดกรองข้อมูลเบื้องต้นก่อน เช่น แหล่งที่มาน่าเชื่อถือหรือไม่ เช่นข้อมูลที่ประกาศในตลาดหลักทรัพย์ ก็น่าเชื่อถือกว่าข้อมูลเขาว่า ที่ส่งต่อๆกันมาในไลน์ หรือ facebook

ความคิดเห็น


ความคิดเห็นเป็นกรบวนการภายในสมอง ถ้ามีสัมมาสติจะเห็นรูปนามแยกออกจากกันตามหลัก ขันธ์ 5 เป็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รูปแยกออกไปได้อีก เป็นธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ส่วนจิตใจ ก็แยกได้เป็นขันธ์อีก ๔ ขันธ์ เป็นเวทนาขันธ์ คือความรู้สึกสุขทุกข์ สัญญาขันธ์ (คือ) ความจำได้หมายรู้ สังขารขันธ์ (คือ) ความปรุงดีปรุงชั่ว วิญญาณขันธ์ (คือ) ความรับรู้อารมณ์ ทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ

รูปขันธ์


ข้อเท็จริงๆต่างๆ เข้ามากระทบรูป

สัญญาขันธ์


สัญญา ความจำได้หมายรุ้ พอข้อเท็จจริงเข้ามา ก็ต้องระลึกได้ว่า หุ้นตัวนั้นทำมาหากินอะไร ทฤษฎีต่างๆที่ต้องนำมาใช้วิเคราะห์ ทั้ง เรื่องงบการเงิน การเงินธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ การประเมินมูลค่า รวมไปถึงวีรกรรมที่หุ้นตัวนี้เคยสร้างไว้ จุดสูงสุด จุดต่ำสุด ทุบลาก bid offer

เวทนาขันธ์


เวทนาขันธ์ คือความรู้สึกสุขทุกข์เฉยๆ หุ้นขึ้นก็ดีใจ หุ้นลงก็เสียใจ ถ้ามีสติรู้ทันก็ไม่เป็นไรถ้าขาดสติใจก็จะไปปรุงแต่งต่อใน สังขารขันธ์

สังขารขันธ์


สังขารขันธ์ (คือ) ความปรุงดีปรุงชั่ว มีความโลภ โกรธ หลง ผุดมาในใจเกิดมีตัวกูขึ้นมา ทำให้การตัดสินใจ ไปตามอารมณ์มากกว่าเหตผล

มีข้อมูลเข้ามาก็ต้องคิดนำข้อเท็จจริง มาผ่านกระบวนการ วิเคราะห์ (แตกภาพใหญ่เป็นภาพย่อย) และ สังเคราะห์ (รวมข้อมูลย่อยๆเป็นภาพใหญ่) ซึ่งกระบวนการสังเคราะห์ ผู้วิเคราะห์ต้องมีหลักการทฤษฎีและแนวคิดที่ชัดเจน อธิบายได้ว่าทำไมจึงเลือกทฤษฎีแนวคิดนี้มาอธิบาย


ถ้าขาดสติก็จะตัดสินใจซื้อ ถือ ขายแบบมี อคติ  โดยอคติมีสาเหตุหลักๆ 4 ประการคือ

  1. ฉันทาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะรัก หรือเพราะความพอใจ วิเคราะห์แล้วชอบใจก็อยากซื้อ
  2. โทสาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะโกรธหรือเกลียด เห็นหุ้นตัวแดงๆก็อยากขาย
  3. โมหาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะความเขลา โดยไม่พิจารณาให้ถ่องแท้ว่าอะไรถูก,อะไรผิด,อะไรควร,หรืออะไรไม่ควร
  4. ภยาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะกลัวหรือเพราะเกรงใจ มาร์โทรมาอ้อนหน่อยก็ใจอ่อนซื้อๆไป

หรือเกิดเวทนาขันธ์ คือความรู้สึกสุขทุกข์เฉยๆ หุ้นขึ้นก็ดีใจ หุ้นลงก็เสียใจ ถ้ามีสติรู้ทันก็ไม่เป็นไรถ้าขาดสติใจก็จะไปปรุงแต่งต่อ  วิเคราะห์ไปจะได้ข้อสรุป มาว่าหุ้นตัวนี้ดีหรือไม่ดี แนวโน้มในอนาคตเป็นอย่างไร ถ้าแนวโน้มหุ้นดี เริ่มทุกข์เพราะอยากซื้อเพิ่ม แนวโน้มแย่ลงก็ก็ทุกข์อยากขาย หรือไม่เป็นหุ้นตัวอื่นน่าสนใจกว่าก็ทุกข์เพราะอยาก หรือบางครั้งหุ้นลง แต่เราไม่ได้เปิดพอร์ทดูก็เฉยๆไม่รู้สึกอะไร

วิญญาณ คือความคิดเกิดขึ้นรู้ไม่ทันก็ปรุงแต่งได้อีก เช่นซื้อหุ้นแล้วติดดอยขายขาดทุนไปรอบนั้นจบไปแล้ว พอระลึกได้ว่าเคยขาดทุน สติตามรู้ไม่ทันก็ปรุงแต่งต่อตีโพยตีพายกันไป

วิญญาณขันธ์


หรือตัว จิต ทำหน้าที่รู้ สิ่งที่ถูกรู้คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร จบหน้าที่มีเท่านี้แหละ

โดยปกติการบวนการทำงาน จะเป็นกระบวนการแบบนี้วนไปวนมาเรื่อยๆ

ข่าว กราฟกระทบรูป  โสตวิญญาณ ผัสสะ สัญญาจำ   ทุกขเวทนา   สัญญาหมายรู้   สังขารขันธ์ ปรุง ความคิด โลภะ โทสะ โมหะ 

ถ้าจิตไปรู้เข้า แล้วจิตไม่รู้ทัน ขาดสติ สิ่งที่จิตปรุงขึ้นมา คือ ความโลภความโกรธความหลงนั่นแหล่ะ จะกลับเข้ามาปรุงแต่งจิตอีกทีนึง จิตปรุงแต่งกิเลสขึ้นมาก่อน แล้วสุดท้ายกิเลส กลับมาปรุงแต่งจิตได้อีก พอกิเลสมาปรุงแต่งจิตนะ ก็คือ ขันธ์มันกลับมารวมกันนะ มันมีกูขึ้นมาอีกแล้ว มีตัวเรา ของเรา ขึ้นมาอีก

การเจริญสติ


สติแปล่ว่าความระลึกได้ ไม่หลง ตรงข้าม กับ โมหะ ความหลง
กิเลศอีกสองตัว โลภะ กับ โทสะมาพร้อมความ หลง
ดังนั้นถ้ามีสติ กิเลศก็เข้ามาปรุงแต่งไม่ได้

แต่ในโลกของการลงทุน จิตปรุงแต่งทั้งวัน เพราะเราเฝ้าหน้าจอทั้งวัน ก็มีอะไรมากระทบ ทั้งวัน ราคาเปลี่ยนแปลงที่ตลาด แต่สุขทุกข์เกิดที่จิต

เรา รู้ เพื่อเข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริงด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลางว่า สิ่งทั้งหลายที่เกิดมานั้น มันต้องดับไปในที่สุด และไม่เป็นไปตามความอยากของเรา แต่เป็นไปตามเหตุของมัน

หุ้นขึ้นเพราะมีเหตุให้ขึ้นไม่อยู่ในอำนาจบังคับ
หุ้นลงเพราะมีเหตให้ลงไม่อยู่ในอำนาจบังคับ

กำไรบริษัทที่เราลงทุนเพิ่มเพราะมีเหตให้เพิ่มไม่อยู่ในอำนาจบังคับ
กำไรบริษัทที่เราลงทุนลดลงเพราะมีเหตให้ลงไม่อยู่ในอำนาจบังคับ

เมื่อจิตรู้ความจริง จิตก็ปล่อยวาง ไม่เข้าไปแทรกแซงสิ่งใด คือพอเห็นอารมณ์ใดเกิดขึ้น ก็รู้ว่า "มันก็เท่านั้นเอง" "มันเป็นอย่างนั้นเอง" เมื่อจิตรู้จักปล่อยวาง จิตก็ไม่ทุกข์ เหมือนอยู่ในปากงูที่มีพิษเหลือร้าย แต่ไม่โดนมันกัดเอา เหมือนภาพของท่านพุทธทาสด้านบน เท่านี้แหละครับ

"เขี้ยวของโลกที่ขบขย้ำคนอยู่ คือ โลกธรรม ๘ ประการ กลุ่มแรก คือ ลาภ, ยศ, สุข, สรรเสริญ. กลุ่มหลัง คือ เสื่อมลาภ, เสื่อมยศ, ทุกข์, นินทา. นั่นคือการได้และการเสีย, หรือบวกกับลบ นั่นเอง, ซึ่งเป็นเพียง “มายา” ปรากฏการณ์ชั่วคราว ตามเหตุและปัจจัยปรุงแต่งขึ้น.

 เห็นความ “เกิด-ดับ” ของมายานี้แล้ว “ไม่ถือมั่น” ไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรม จึงอยู่ในโลก ไม่ต้องหนีไปไหน แต่ก็ไม่ถูกเขี้ยวของโลก; เหมือนลิ้นของงูอยู่ในปากงู ชิดเขี้ยวอันเต็มไปด้วยน้ำพิษ แต่ไม่เคยถูกพิษนั้นเลย. สำหรับโลกนอกตัวเราสมัยนี้ ก็นับว่าเต็มไปด้วยพิษงู เราจะอยู่อย่างฉลาดโดยไม่ถูกเข้ากับพิษเหล่านั้น มีผลเท่ากับอยู่กันคนละโลกทีเดียว."


“นั่นลูกตามองเห็นไม่เป็นหมัน       เขาใช้มันเล็งแลแก้ปัญหา
อยู่ในโลกอย่างไรไม่ทรมาน         พิจารณาตรองไปให้จงดี
อยู่ให้เหมือนลิ้นงูในปากงู             ไม่เคยถูกเขี้ยวงูอยู่สุขศรี
อยู่ในโลกไม่เคยถูกเขี้ยวโลกีย์    เป็นเช่นนี้อุปมาอย่าฟั่นเฟือน
คิดดูบ้างนั่งได้ในปากงู                  ไม่เคยถูกเขี้ยวงูอยู่เสมือน
นั่งในห้องแสนสบายภายในเรือน   มีเค้าเงื่อนเหมือนพระภควันต์
อยู่ในโลกไม่กระทบโลกธรรม      อยู่เหนือกรรมเหนือทุกข์เป็นสุขสันต์
ใครมีตารีบเคารพนอบนบพลัน      รีบพากันทำตามยามนี้เอย ฯ .”

จบ เจริญในการลงทุนทุกท่านครับ

วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2558

กลยุทธ์การลงทุนแบบนักธุรกิจหุ้น

นักธุรกิจหุ้น เป็นกลยุทธ์การลงทุนแบบหนึ่งมองหุ้นในพอร์ทเหมือนเปิดร้านค้า สินค้าคือ หุ้น ลูกค้าคือกลุ่มนักลงทุนและนักเก็งกำไร วิธีทำมาหากิจคือเข้าป่าไปตามหาช้างเผือก คุณภาพดี แต่ราคาไม่แพงเข้าร้านรอลูกค้ามาซื้อ

1.กลุ่มลูกค้านักลงทุน


ชอบธุรกิจที่มีความสามารถในการแข่งขัน ธุรกิจเติบโตได้ยาวๆ ราคาเหมาะสม สะท้อนการเติบโตระยะยาวและอัตราผลตอบแทนปันผล

เราอาจซื้อตั้งแต่ช่วงเริ่มเติบโตงบอาจยังไม่สวย ปันผลไม่เยอะ เดี๋ยวธุรกิจอยู่ตัวลูกค้ากลุ่มนี้ก็มาซื้อต่อเอง

2.กลุ่มลูกค้านักเกร็งกำไร


หุ้นดีแค่ไหนก็ยังไม่ซื้อถ้ายังไม่ขึ้น ทางร้านหุ้นต้องหาสินค้ามาใหม่เรื่อยๆ

ถ้าหุ้นในคลังของเราถูกตลาดปั่นขึ้นไปจนเกินมูลค่ามาก PE สูงๆ อนาคตมองไม่เห็นว่ากำไรจะโตไปสะท้อนราคานั้นได้อย่างไร ก็ควรขายให้ลูกค้ากลุ่มนี้ เพราะเขาเอากำไรไม่มาก 2 ช่องออก

3.การจัดการสินค้าคงเหลือ


ถ้าตุนสินค้าไว้และไม่มีคนมาซื้อต่อ (ติดดอย) กรณีที่เราเลือกบริษัทที่ดีตั้งแต่ต้น มันจะโตขึ้นเรื่อยๆ
ทิ้งไว้นานราคายิ่งแพง ในทางกลับกันถ้าถือหุ้นเน่าไว้ แล้วมันไม่ตีจริงอาจต้องตังสำรองด้อยค่าขาดทุนกันไป

4.การจัดหาเงินทุน


แหล่งเงินทุนมาจากสองแหล่งคือเงินกู้และส่วนทุน

4.1แหล่งเงินกู้


ส่วนใหญ่เป็นบัญชีแบบมาร์จิ้นพอร์ทใหญ่ๆ หน่อยก็ไปขอมาร์เปิดได้ ข้อดีคือเป็นการเพิ่มผลตอบแทนให้สูงขึ้น

4.2ส่วนทุน


เงินทุนมาจากการเพิ่มทุนจากรายได้หักร่ายจ่ายเหลือก็เติมพอร์ทเรื่อยๆ กับอีกทางคือกำไรสะสม จากปันผลและสวนต่างราคา มาลงทุนซ้ำเรื่อยๆ

นี่ก็เป็นแนวทางหนึ่งในการทำมาหากินในตลาดหุ้นครับผม นอกจากนี้ยังมีแนวทางอีกเยอะตามจิตนาการของแต่ละบุคคลอีก

วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ทำไม ROE น้อยกว่า ROA

มีคนถามทำไมหุ้นบางตัว ROE ถึงน้อยกว่า ROA ทั้งๆที่ปกติ ROE มักจะมากกว่า ROA เนื่องจากผลของ Leverage จากหนี้สิน เป็นที่มาของบทความนี้ครับ เพื่อหาคำตอบว่ามันเกิดอะไรขึ้น

เมื่อลองนั่งไล่สมการที่ตลาดหลกทรัพย์ใช้คำนวณพบว่า

roa = ebit/สินทรัพย์
roe=กำไรสุทธิ/ส่วนทุน
= (ebit-i-t-กำไรของส่วนได้เสียไม่มีอำนาจควบคุม)/(สินทรัพย์-หนี้-ส่วนได้เสียไม่มีอำนาจควบคุม)

จาสมการพบว่า จาก EBIT มาเป็น กำไรสุทธิ จะผ่านสามส่วนคือ ดอกเบี้ย ภาษี และส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมดังนี้

1.เรื่องของหนี้สิน


โดยปกติหนี้สิจะทำหน้าที่ Leverage ให้ ROE สูงขึ้น แต่ในทางกลับกันถ้าบริษัทมีหนี้สินเยอะเกินไป ก็จะทำให้ดอกเบี้ยเยอะ แต่บริษัทไม่สามารถสร้าง กำไรจากการดำเนินงาน (ebit) ได้น้อยเกินไปไม่พอกับการจ่ายดอกเบี้ยก็จะทำให้กำไรของบริษัทน้อยลง และ ROE ก็จะต่ำลง

ดังนั้นทางแก้คือต้องพยายามทำให้ ROA สูงขึ้น เมื่อแยกส่วน ROA ออกมาจะพบว่า

ROA = อัตราหมุนเวียนสินทรัพย (Asset turnover) x Ebit margin

จากสมการ การที่บริษัทจะสามารถเพิ่ม ROA  ได้นั้นต้องทำโดยการเพิ่ม อัตราหมุนเวียนสินทรัพย์โดยสินทรัพย์เท่าเดิมต้องหาวิธีสร้างรายได้ให้เพิ่มขึ้น และพยายามลดรายจ่ายเพื่อให้ Ebit margin แต่บางที่ก็ต้องชั่งน้ำหนักดีๆ เพราะการหารายได้เพิ่มขึ้นถ้าคุมไม่ดี ค่าใช้จ่ายในการขายจะเพิ่มขึ้นอาจทำให้ Ebit margin ลดลงได้

แต่ในปีต่อๆไป ถ้าบริษัทเริ่มคืนหนี้ไปเรื่อยๆ และ ROA ยังเท่าเดิมได้ ROE จะค่อยๆเพิ่มขึ้น

2.ส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม


ส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม คือส่วนของผู้ถือหุ้นรายอื่นที่ไม่ใช่เราที่อยู่ในบริษัทย่อย งบการเงินที่เราอ่านคืองบรวม เขาจะเอาสินทรัพย์ หนี้สิน รายได้ และรายจ่ายมารวมกันทั้งก้อน ได้กำไรมาเท่าไรก็หักให้ส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมไป กำไรสะสมก็จะแบ่งเข้าสองส่วนคือ ส่วนทุนของบริษัทใหญ่ และส่วนไ้ด้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม

ดังนั้นถ้าบริษัทย่อยดีแต่บริษัทแม่ผลประกอบการไม่ค่อยดีนัก เวลาได้ EBIT มาแล้วแบ่งให้ส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมไป กำไรจะไปหักจาก ebit เยอะ ทำให้กำไรเหลือน้อยและ ROE ต่ำได้

ปัญหานี้จะแก้ยากหน่อย เพราะเป็นเรื่องของอัตราส่วนการถือหุ้นที่ตกลงกันกับ partner ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งบริษัท ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำคือไปทำผลประกอบการของบริษัทแม่ให้ดีขึ้น ROE ก็จะเพิ่มขึ้นได้

3.ภาษี


รายได้รายจ่ายบางตัวกรมสรรพากรก็ไม่มองเป็นรายได้รายจ่ายเอาแน่เอานอนอะไรไม่ค่อยได้ บางทีภาษีอาจเยอะก็ได้ ค่าใช้จ่ายภาษีจะไปหักจาก ebit เยอะ ทำให้กำไรเหลือน้อยและ ROE ต่ำได้

โดยสรุปบริษัทที่ ROA มากกว่า ROE สามารถอธิบายได้จากสามส่วนคือ ดอกเบี้ย ภาษี และส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมนั่นเอง