วันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2558

Excel การประเมินมูลค่าเหมาะสมด้วยการคิดลดเงินปันผล (Dividend discount model)

การประเมินมูลค่าเหมาะสมด้วยการคิดลดเงินปันผล (Dividend discount model) เป็นรากของตำรา Valuation ทั้งเล่มครับ ทั้ง ตราสารหนี้ ตราสารทุน อนุพันธ์ ฯลฯ การรู้ที่มาของสูตรการประเมินมูลค่าเหมาะสมด้วยการคิดลดเงินปันผล (Dividend discount model) จะทำให้เราเข้าใจแบบจำลองได้มากขึ้นและเลือกตัวแปรที่เหมะสมเข้ามาคำนวณได้ครับผม ท้ายบทความผมทำไฟล์ EXCEL ไว้ให้ลองนั่งจิ้มตัวเลขบนเว็ปหรือจะโหลดไปลงเครื่องก็ได้ครับผม



1.ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง


หาอ่านได้ตามเว็บทั่วไปครับผม มูลค่าเงินตามเวลา Future value, Present value, ทฤษฎีค่าเสียโอกาส, NPV, Gordon growth model

2.การตัดสินใจลงทุนด้วย NPV


NPV หรือ Net present value เป็นการเปรียบเทียบว่าถ้าสองโครงการให้ผลตอบแทนในอนาคตเท่ากัน นำมาคิดลดเป็น เงินลงทุนในปัจจุบันที่ต้องใช้ (PV) ว่าทางเลือกไหนใช้เงินต่ำกว่าก็ตัดสินใจลงทุนทางเลือกนั้นเพราะเป็นทางเลือกทีี่ให้ผลตอบแทนสูงที่สุด

3.สมมติฐานของแบบจำลอง


ตัดสินใจลงทุน ในหุ้นด้วยราคาเสนอขาย P0 สิ่งที่ได้รับคือ เงินปันผลในอนาคต ที่เติบโตเรื่อยๆ ด้วยอัตราผลตอบแทนทบต้น g ไปไม่มีที่สิ้นสุด โดยมีค่าเสียโอกาสคือ k เป็นตัวแทนของผลตอบแทนทบต้นของทางเลือกที่เราสละไป ว่าซื้อหุ้นให้ผลตอบแทนคุ้มค่าเสียโอกาสหรือไม่

3.1เงินลงทุนและผลตอบแทนของโครงการที่เราสนใจ


ลงทุน ที่ราคาปัจจุบันเท่ากับ P0
สิ่งที่ได้ D1 + D1*(1+g) + D1*(1+g)^2 + ..... + บวกไปเรื่อยๆถึงอนาคตอันไกลโพ้นไม่มีที่สิ้นสุด

3.2เปรียบเทียบกับโครงการทางเลือก


ถ้าต้องการผลตอบแทนเท่ากับกระแสเงินสดในอนาคต ที่เท่ากับข้อ 3.1 มีลักษณะคือเติบโตเรื่อยๆ ด้วยอัตราผลตอบแทนทบต้น g ไปไม่มีที่สิ้นสุด ด้วยผลตอบแทนเท่ากับ k ต้องใช้เงินลงทุนในปัจจุบันเท่ากับ
PV = D1/(1+k)^1 + (D1*(1+g))/(1+k)^2 + (D1*(1+g)^2)/(1+k)^3 + ...........+ บวกไปเรื่อยๆถึงอนาคตอันไกลโพ้นไม่มีที่สิ้นสุด
จาก Gordon growth model จะได้
PV = D1/(k-g)

3.3ตัดสินใจลงทุน


ตัดสินใจลงทุน โดยการเปรียบเทียบเงินที่จ่ายในการซื้อหุ้นที่ P0 เที่ยบกับมูลค่าของเงินในปัจจุบันถ้าต้องการกระแสเงินสดในอนาคตเท่ากับกระแสเงินสดจากการซื้อหุ้น
NPV = PV - P0
NPV = D1/(k-g) - P0

กรณีที่ 1 NPV > 0

D1/(k-g) > P0
แสดงว่าให้เงินอานาคตเท่ากับ การลงทุนทางเลือกใช้เงินมากกว่าซื้อหุ้น แสดงลงทุนหุ้นคุ้มกว่า คนจะแห่กันมาซื้อหุ้น หุ้นจะปรับตัวขึ้น

กรณีที่ 2 NPV < 0

D1/(k-g) < P0
แสดงว่าให้เงินอานาคตเท่ากับ การลงทุนทางเลือกใช้เงินน้อยกว่าซื้อหุ้น แสดงลงทุนหุ้นไม่คุ้ม คนจะแห่กันมาขายหุ้น เอาเงินมาลงทุนโครงการที่ให้ผลตอบแทนเท่ากับ k หุ้นจะปรับตัวลง

4.การกำหนดมูลค่ายุดิธรรม


มูลค่ายุติธรรม หรือราคาเหมาะสม คือราคาที่ทำให้ NPV = 0 หรือเป็นจุดที่ลงทุนได้ผลตอบแทนภายใน (Internal Rate of Return : IRR) = k นั่นเอง
NPV = 0 = PV - Pเหมาะสม
Pเหมาะสม = D1/(k-g)

5.การใช้งาน


ถ้า P0 < Pเหมาะสม ซื้อเพราะซื้อหุ้นให้ผลตอบแทนมากกว่าคาดหวัง
ถ้า P0 > Pเหมาะสม ขายเพราะซื้อหุ้นให้ผลตอบแทนน้อยกว่าคาดหวัง

6.ข้อควรระวัง


ราคาที่คำนวณได้จะเป็นจริงก็ต่อเมื่อสมมติฐานเป็นจริง คือเงินปันผลโตเรื่อยๆเท่ากับ g ไม่มีที่สิ้นสุด ถ้าบริษัทที่เราจะวัดมูลค่าลักษณะของผลประกอบการไม่เหมือนสมมติฐานแบบจำลองยังไงก็วัดไม่แม่น

ค่า g และค่า k ควรประมาณการด้วยผลตอบแทนแบบทบต้นจะเหมาะสมกว่า


7.การใช้งาน ไฟล EXCEL ประเมินมูลค่าหุ้นด้วยแบบจำลองคิดลดเงินปันผล


ไฟล์ EXCEL ช่วยประมาณการราคาเหมาะสมด้วย วิธีคิดลดเงินปันผล (Dividend discount model)

สูตรง่ายๆคือ

P = D1/(k - g) ประมาณการดังนี้

D1 ปันผลปีหน้า


ถูกประมาณการด้วย ปันผลปีนี้ D0 x การเติบโต g


K ประมาณการด้วย ทฤษฎี CAPM 

k = Rf + Beta(RM - Rf)

Rf Risk free ประมาณการด้วย ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 1 ปี ดูได้ที่หน้าแรกของ www.set.or.th จะมีบอกอยู่

ฺBeta แสดงความสัมพันธ์ระห่วาง set กับ ราคาหุ้นที่เราสนใจ ดูข้อมูลที่ facet sheet ของตลาดหลักทรัพย์ เปลียนตรง URL symbol=PB เป็นหุ้นทีต้องการ
http://www.set.or.th/set/factsheet.do?symbol=PB&ssoPageId=3&language=th&country=TH

RM เป็นผลตอบแทนตลาด

ใช้ดัชนีผลตอบแทนรวม SET TRI เข้าไปดูได้ที่ http://www.set.or.th/th/market/tri.html คำนวณจากสูตร ((ปลาย/ต้น)ู^(1/จำนวนปี))-1

จากตารางใส่แค่ เริ่มต้น กับ วันปัจจุบัน จะคำนวณผลตอบแทนมาให้อัตโนมัติ

สมติฐานการเติบโต


ผมทำตารางให้สามารถคำนวณแบบ Two-Stage Divident Discunt Model
แบบการเติบโตเป็น สองช่วง

การเติบโตช่วงแรก กำหนดการเติบโต และจำนวนปีว่าจะให้โตกี่ปี
การเติบโตช่วงที่สอง จะเป็นการเติบโตปีต่อจากช่วงแรกไปถึง ไม่มีที่สิ้นสุด

ถ้าอยากให้โตเป็นช่วงเดียว ก็กำหนดการเติบโตทั้งสองช่วงให้เท่ากัน

ความยากคือ การเติบโตต้องเป็นการเติบโตของปันผลในระยะยาว

การคำนวณราคาเหมาะสม


ตารางจะนำสมมติฐานที่เรากำหนดมาเป็นราคาเหมาะสมให้เยี่ยมจริง
P = D1/k-g

โชคดีในการลงทุนทุกท่านครับผม

วันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2558

เจาะงบการเงินหุ้นค้าปลีก

หุ้นกลุ่มค้าปลีกเป็นหุ้นกระแสในช่วงที่ผ่านมา ใครๆก็พูดถึงมาดูกันครับว่าถ้าเอางบการเงินมาเปรียบเทียบกันแต่ละคนจะเป็นอย่างไร บทความนี้ก็จะพาส่องงบแบบง่ายๆโดยใช้อัตราส่วนทางการเงินไม่กี่ตัว ก็มองเห็นภาพธุรกิจได้

ทิศทางราคา


แนวโน้มราคา
ในบทความนี้ได้เลือกหุ้นมา 5 ตัวเนื่องจากระบบของ SETSMART เขาให้เปรียบเทียบได้แค่นี่ จะเห็นว่าในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาทิศทางราคาก็ไม่ได้ไปไหนไกล มี robins ที่ราคาสารวันเตี้ยลงกว่าเพื่อน

ผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE)


สาเหตหนึ่งที่หุ้นกลุ่มนี้ราคาไม่ขยับ ส่วนหนึ่งมาจาก ทิศทางของ ROE มีแนวโน้มขาลง แปลว่า บริษัทสามารถทำกำไรกลับมาให้ส่วนทุนลดลง

ผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ROA)


ROA การคำนวณคือ EBIT/สินทรัพย์รวมเฉลี่ย การตีความจะต่างกับ ROE ตรงที่ ROA จะวัดความสามารถในการทำกำไรของสินทรัพย์อย่างเดียวโดยที่ไม่คำนึงถึงโครงสร้างทาการเงิน ROE = ROA x (1+อัตราส่วนหนี้ต่อทุน) จากสมการจะเห็นว่าบริษัทที่หนี้สินมากก็จะ ROE สูงขึ้น

จะเห็นว่าแนวโน้ม ROA ของทั้งกลุ่มเป็นขาลง แสดงว่าสาขาที่ขยายไปใหม่ๆไม่ค่อยสร้างกำไรกลับมาเหมือนเดิม มี BIGC ที่รักษา ROA ให้สม่ำเสมอได้ กับ CPALL ที่ ROA ลดฮวบหลังจากไปควบรวมกับ MAKRO ที่ขายสินค้าเป็นค้าส่ง แสดงว่า ROE ของ CPALL ที่เห็นสูงๆ มากจากการกู้หนี้ยืมสินนี่เอง

แยกองค์ประกอบ ROE


ในการวิเคราะห์ ROE แยกออกได้ดังนี้
ROE = กำไรสุทธิ / ส่วนผู้ถือหุ้น
= (กำไรสุทธิ / ยอดขาย) x(ยอดขาย/สินทรัพย์)x(สินทรัพย์/ส่วนของผู้ถือหุ้น)
= (กำไรสุทธิ / ยอดขาย) x(ยอดขาย/สินทรัพย์)x(1+หนี้สิน/ส่วนของผู้ถือหุ้น)
= อัตรากำไรสุทธิ x อัตราหมุนเวียนทรัพย์สิน x (1+หนี้สิน/ส่วนของผู้ถือหุ้น)

การทำกำไร


งบกาไรขาดทุนแยกออกเป็น กำไรขั้นต้น EBITmargn และกำไรสุทธิ โดยมองแยกได้ดังนี้

อัตรากำไรขั้นต้น


อัตรากำไรขั้นต้นสูงต่ำตามลักษณะสินค้าที่ขาย HMPRO ขายสองแต่งบ้าน อัตรากำไรขั้นต้น สูงสุด รองลงมาคือ ROBINS ที่เป็นห้าง HISO รองลงมาเป็น CPALL แต่ช่วงหลังๆ อัตรากำไรขั้นต้น ลดลงหลังจากไปควบรวมกับ MAKRO ที่เน้นขายส่ง รองลงมาเป็น BIGC ต่ำสุดเป็น GLOBAL ที่ขายวัสดุก่อสร้าง

อัตรากำไรขั้นต้นมีแนวโน้มสม่ำเสมอ น่าสนใจคือ GLOBAL ที่มีแนวโน้มอัตรากำไรขั้นต้นที่สูงขึ้นหลังจากรวมกับ SCC น่าไปตามต่อว่าไปทำอะไรมา อีกตัวคือ BIGC ที่อัตรากำไรขั้นต้นแกว่งมากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ต้องมีอะไร ออกโปรโมชั่นอะไรแปลกๆ หรือไม่

EBIT margin


EBIT margin หรืออัตรากำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี อยู่ในช่วง 5-10% ทิศทางนิ่งๆ แสดงว่าคุมรายจ่ายได้ดีเยี่ยมจริง

อัตรากำไรสุทธิ NPM



อัตรากำไรสุทธิ HMPRO มีแนวโน้มลดลงเขาว่ามาจากการไปเป็นสาขาใหม่ที่มาเลย์ และไปขายวัสดุก่อสร้างที่อัตรากำไรต่ำลง CPALL หลังจากไปรวมกับ MAKRO อัตรากำไรตก แต่ก็ไปปรับปรุงกระบวนการทำงานทำให้อัตรากำไรดีขี้น GLOBAL ก็ดีขี้น

อัตราหมุนเวียนสินทรัพย์


อัตราหมุนเวียนสินทรัพย์ส่วนใหญ่จะมีค่าลดลงเป็นสัญญาณไม่ดีเท่าไร แสดงว่า มีการขยายสาขาสินทรัพย์เพิ่มขึนแต่รายได้โตน้อยกว่าสินทรัพย์ที่เพิ่ม CPALL อัตราหมุนเวียนสินทรัพย์ลดลงมาหลังจากไปซื้อ MAKRO มา

อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน



จุดเด่นของ CPALL อยที่หนี้สินนี่เอง ขณะที่คนอื่นนิ่งๆ พี่เขาวิ่งไปเกือบ 10 เท่าเยี่ยมจริง


โดยภาพรวมกลุมนี้ก็คงยังไปได้เรื่อยๆ ไม่เหมาะเป็นหุ้นพลิกชีวิตเพราะไม่โตหวือหวาเหมือนช่วงสมัยที่เริ่มต้นใหม่ เนื่องจากทิศทางของ ROA ROE เริ่มลดต่ำลง จากสาขาที่ขยายใหม่สร้างรายได้ได้น้อยลง(อัตราหมุนเวียนทรัพย์สินต่ำลง)เหมาะถือกินปันผลเป็นเสือนอนกินมากกว่า

วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2558

การด้อยค่าของสินทรัพย์

การด้อยค่าของสินทรัพย์ เป็นรายการขาดทุนทางบัญชีที่ เกิดจากสินทรัพย์ของกิจการ ที่ลงทุนไปแล้ว เช่นที่ดินอาคารอุปกรณ์ สินค้า ลูกหนี้ เงินลงทุนบริษัทย่อย บริษัทร่วม มองไปข้างหน้าแล้วไม่เห็นอนาคต เช่น เศรษฐกิจไม่ดีรายได้ลดลง ลงของไปขายไม่ออกกองค้างๆอยู่ในโกดัง หรือซื้อมาแล้วราคาตลาดตก ลูกหนี้มีแนวโน้มเก็บเงินไม่ได้ พอมาดูแล้วมูลค่าแย่ลง ทำให้ด้อยค่าสินทรัพย์นั้นเป็นรายจ่ายไป กระทบงบการเงินทำให้ขาดทุน และส่วนทุนลดลง 

หรือสรุปสั้นๆว่าเจ็บแต่จบ ถ้าเขาไม่รักเราแล้วจะยื้อไว้ทำไม

บทความด้านล่างนี้รวมจากโพสของ sanpong.limthamrongkul [1][2] อธิบายเรื่อง เหตของการด้อยค่า ผลต่องบการเงิน และการวิเคราะห์ได้ยอดมาก เอาไอเดียเมื่อกี้มาอธิบายให้ยาวขึ้น ถ้าว่างๆ ก็เชิญอ่านโดยพลัน


ไม่กี่วันที่ผ่านมา PTTEP มีการบันทึกขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์กว่า 50,000 ล้านบาท ส่งผลให้กำไรไตรมาสสามขาดทุนกว่า 46,000 ลบ. ขาดทุน 9 เดือนกว่า 36,000 ลบ. 

แต่ถ้าสังเกตให้ดี งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จมีกำไรจากผลต่างของอัตราแลกเปลี่ยนจากการแปลงค่างบการเงินกว่า 41,000 ลบ.
สินทรัพย์เก้าเดือนลดลงรวม 35,000 ลบ. เป็นสินทรัพย์หมุนเวียนราว 18,000 ลบ. และ สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนราว 17,000 ลบ. 

ในส่วนสินทรัพย์หมุนเวียนหลักๆ ลดในเงินสด เงินลงทุนระยะสั้น และลูกหนี้จากบริษัทใหญ่รวมกว่า 18,000 ลบ. ส่วนและ สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนหลักๆ 

โดยสรุป ลดใน PPE 10,000 สท. ไม่มีตัวตน12,000 เพิ่มใน สท.อนุพันธ์ ภาษีรอตัด และอื่นๆ รวม 5,000 ลบ. หากดูในรายการ PPE + Intangible = (22,000) โดย PPE ซื้อเพิ่ม 19,000 เกิดด้อยค่าราว (50,000) ผลต่างสุทธิใกล้เคียงกัน ถือว่ากระทบยอดออกมาใกล้กัน OK ดังนั้นการลดลงของสินทรัพย์โดยรวมหากมองในด้าน operation ยอดรายได้หรือกระแสเงินสดเข้ามาจากราคาขายและปริมาณก๊าซปิโตรเลียม ลูกหนี้จึงลดลง (ราคารับซื้อลดลง) ภาพใหญ่เป็นไปตามวัฏจักร การฟื้นตัวอยู่ที่ราคาก๊าซธรรมชาติจะปรับขึ้นมาที่ระดับเดิมได้เร็วหรือไม่ หรืออยู่ในรับต่ำนี้ยาวนาน

มีหลายคน (และเห็นบางเว็ปด้านการลงทุน) ไปเขียนทำนองว่า ขาดทุนจากการด้อยค่าเป็นโอกาสในวิกฤต ขาดทุนนี้สามารถเกิดการโอนกลับ ในภายหลังได้ ซึ่งก็ถูกและผิดในตัว สิ่งที่ต้องเข้าใจคือการเกิดการขาดทุนด้อยค่านั้นกลับรายการได้ แต่ไม่จำเป็นต้องกลับทั้งหมด และไม่ต้องเกิดในงวดถัดไปเสมอ อาจเกิดแล้วเกิดเลยก็ได้ ถ้าการด้อยค่ายังมีอยู่ งวดต่อๆไปถ้ามูลค่าจะได้รับสูงขึ้นก็กลับได้แต่ไม่เกินกว่ามูลค่าที่ได้รับที่ประเมินใหม่ ทยอยโอนกลับได้ แต่รวมแล้วไม่เกินจำนวนด้อยค่าที่รับรู้ไปแล้ว และไม่เกินมูลค่าราคาทุนหักค่าเสื่อมสะสม (ค่าเสื่อมเพิ่มทุกปีอย่าลืมนะครับ หากค่อยๆฟื้นตัวก็ไม่เกินกว่าทุนเดิมหักค่าเสื่อมสะสม) 

สมมติราคาบัญชี PPE ก่อนด้อยค่าอยู่ที่ 150 ลบ. เกิดด้อยค่าขึ้น 50 ลบ. ปีนั้นขาดทุนจากด้อยค่า 50 ลบ. PPE เหลืออายุ อีก 5 ปี ตัดค่าเสื่อมใหม่ปีละ 20 ลบ. BV PPE ปีต่อมาเหลือ 80 ถัดมาเหลือ 60 ถ้าปีนั้นการด้อยค่าหมดไป แต่มูลค่าที่ได้รับใหม่ไม่เกิน 90 ลบ. การโอนกลับก็ได้เพียง 30 ลบ. ไม่ใช่ 50 ลบ. วันแต่มูลค่าที่จะได้รับคืนเกินกว่า 110 ลบ. จึงกลับขาดทุนได้ทั้งหมด 50 ลบ.

ประเด็นสำคัญเรื่องการด้อยค่าของสินทรัพย์



  • 1. การด้อยค่าคือรายการที่ปรับมูลค่าสินทรัพย์ ไม่ใช่ค่าเสื่อมราคา แต่ผลที่เกิดขึ้นกระทบกำไรขาดทุนท่อนบนเหมือนกัน
  • 2. การด้อยค่าของสินทรัพย์คือค่าใช้จ่ายไปอยู่ในส่วนค่าใช้จ่ายในการบริหาร แต่แยกแสดงให้ชัดเจนแยกออกมา แต่ค่าเสื่อมราคา บางส่วนที่เกี่ยวข้องการผลิต เช่นเครื่องจักร โรงงาน ค่าเสื่อมราคาไปต้นทุนผลิต ตัดเป็นค่าใช้จ่ายเมื่อขายสิค้า อยู่ในต้นทุนขาย
  • 3. บังคับใช้กับสินทรัพย์ทุกประเภท ยกเว้น ลูกหนี้การค้า เงินลงทุน สินทรัพย์ทางการเงินต่างๆ สินค้าคงเหลือ สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน สินทรัพย์ชีวภาพ (สินค้าเกษตร) เป็นต้น
  • 4. ต้องปฏิบัติเมื่อมีข้อบ่งชี้ ซึ่งข้อบ่งชี้แบ่งได้สองส่วนคือ ปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอกดังนี้

    1.แหล่งข้อมูลภายนอก เช่น

    1.1 ราคาตลาดของสินทรัพย์ลดลงอย่างเป็นสาระสำคัญในระหว่างงวด โดยจำนวนที่ลดนั้นสูงกว่าจำนวนที่คาดว่าจะลดลงตามเวลาที่ผ่านไป หรือการใช้งานตามปกติ

    1.2 มีการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลกระทบทางลบต่อกิจการ ในระหว่างงวดหรือในอนาคตอันใกล้อย่างเป็นสาระสำคัญ

    1.3 อัตราดอกเบี้ยในตลาดหรืออัตราผลตอบแทนอื่นในตลาด จากการลงทุนของงวดนั้นเพิ่มขึ้นจนน่าจะมีผลกระทบต่ออัตราคิดลดที่จะใช้ในการคำนวณ มูลค่าจากการใช้สินทรัพย์ ทำให้มูลค่าจากการใช้สินทรัพย์ และทำให้มูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนของสินทรัพย์ นั้นลดลงอย่างเป็นสาระสำคัญ

    2.แหล่งข้อมูลภายในเช่น

    2.1 มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าสินทรัพย์นั้นล้าสมัยหรือชำรุดเสียหาย

    2.2 มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับลักษณะที่กิจการใช้หรือคาดว่าจะใช้สินทรัพย์ ซึ่งส่งผลกระทบทางลบต่อกิจการในระหว่างงวดหรืออนาคตอันใกล้อย่างเป็นสาระสำคัญ หากสินทรัพย์ของกิจการมีข้อบ่งชี้ว่าจะด้อยค่า กิจการต้องรับรู้รายการขาดทุนจากการด้อยค่าเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนทันที และบันทึกลดราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ให้เท่ากับมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน
  • 5. ประเมินการด้อยค่าจากจำนวนที่สูงกว่าระหว่าง ราคาขายสุทธิ หรือ มูลค่าจากการใช้
  • 6. ไม่ได้ระบุให้ต้องประเมินโดยผู้ประเมินอิสระกิจการอาจสามารถประเมินได้ด้วยตนเอง
  • 7. พิจารณาการด้อยค่าสินทรัพย์แต่ละรายการหรือ เป็นหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสด (หน่วยสินทรัพย์ฯ) ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าสินทรัพย์นั้นสามารถก่อให้เกิดกระแสเงินสดได้ด้วยตัวเองหรือไม่
  • 8. การบันทึกบัญชี Dr. ผลขาดทุนจากการด้อยค่า และ Cr. ค่าเผื่อการด้อยค่า กรณีรับรู้ผลขาดทุนของหน่วย
  • 9. การตีราคาสินทรัพย์ใหม่แต่ละรายการแล้วพบว่า ราคาที่ประเมินใหม่มีราคาต่ำกว่าราคาตามบัญชีแล้วบริษัทไม่ต้องรับรู้ขาดทุนเกี่ยวกับการตีราคาของสินทรัพย์หรือรับรู้เป็นขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ การตีราคาใหม่ไม่ใช่การด้อยค่า บริษัทอาจแสดงที่ราคาทุนตลอดไปก็ได้ แต่หากเลือกแสดงการตีราคาใหม่แล้วต้องทำโดยสม่ำเสมอกรณีนี้อาจเกิดขาดทุนได้ (ปกติบริษัทไม่นิยมตีราคาใหม่ เว้นแต่ตีราคาเพื่อให้ D/E ดีขึ้น) อย่าสับสนระหว่างการตีราคาตามมาตรฐานบัญชีฉบับที่ 32 กับการด้อยค่าของสินทรัพย์ตามมาตรฐานบัญชีฉบับที่ 36 
  • 10. ขาดทุนจากการตีราคาของสินทรัพย์ กับ ขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์แตกต่างกันอย่างไร ต่างกันคือกรณีตีราคาใหม่ ถ้าเราเคยตีราคาเพิ่ม ส่วนที่ตีเพิ่มครั้งแรกจะไปแสดงในกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น (ท่อนสอง) งวดต่อมาสินทรัพย์นั้นราคาลดลง ส่วนที่ลดลงจะไปหักส่วนที่ที่เพิ่มในท่อนสองของงวดก่อน ลดออกจนหมดเมื่อลดจนหมดแล้วจึงบันทึกขาดทุนในท่อนบน ต่างกับขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ลงเป็นขาดทุนทั้งก้อนในงบกำไรขาดทุนท่อนแรกทันที
  • 11. เมื่อจะพิจารณาว่าสินทรัพย์มีการด้อยค่าหรือไม่แล้ว ต่อมาการตีราคาสินทรัพย์นั้นๆ พบว่าราคาที่ตีใหม่ สูงกว่าราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ จะต้องรับรู้เป็นส่วนเกินทุนจากการตีราคาทรัพย์สินหรือไม่ ไม่จำเป็นเสมอ แต่ต้องประเมินการด้อยค่าของหน่วยสินทรัพย์ฯ นั้นใหม่ว่ายังด้อยค่าอยู่หรือไม่ ง่ายๆ เช่น

    หน่วยสินทรัพย์มี อาคารและเครื่องจักร ด้อยค่าลงรวม 100 ลบ. ทำให้ราคาตามบัญชีหลังการด้อยค่าเป็น 300 ลบ. โดยแยกเป็นอาคารแสดง 200 ลบ. และเครื่องจักรแสดง 100ลบ. ปีต่อมาหลังหักค่าเสื่อมราคา อาคารเป็น 270 ลบ. และเครื่องจักรเป็น 150 ลบ. ประเมินมูลค่าที่ได้รับใหม่ (RECOVERABLE AMOUNT = RA) เท่ากับ 480 ลบ. ถือว่าหน่วยสินทรัพย์ฯนี้ไม่ด้อยค่า (BV = 270+150 = 420 ลบ.) แต่อาคารมีราคาประเมินใหม่เป็น 300 ลบ. บริษัทอาจไม่ต้องลงอะไรก็ได้ถ้าเลือกแสดง PPE ด้วยราคาทุน แต่ถ้าเลือกตีใหม่ก็ลงส่วนเกินมูลค่าอาคารจากการตีราคา 30 ลบ. ในท่อนสอง จะเห็นว่า BV ของหน่วยสินทรัพย์ยังแสดงไม่เกิน RA ก็ไม่ด้อยค่า แต่อาจมีการกลับรายการด้อยค่าได้ แต่ไม่เกิน RA โดยกลับได้เพียง 30 ลบ. (BV หลังตีใหม่ 300+150 = 450 RA = 480) เหตุผลง่าย ถ้ากลับขาดทุน 100 ลบ. ส/ท ก็จะมี BV เป็น 450 + 100 = 550 RA = 480 ลบ. ก็ต้องด้อยค่ากลับ 70 ลบ. เท่ากับเกิดกำไรเพียง 30 (100-70) ลบ. อยู่ดี


การพิจารณาหน่วยสินทรัพย์ฯที่ก่อให้เกิดเงินสด (Cash Generating Unit ; หน่วยสินทรัพย์ฯ)


หน่วยสินทรัพย์ฯ คือ สินทรัพย์กลุ่มเล็กที่สุดที่ก่อให้เกิดกระแสเงินสดรับเป็นอิสระจากกระแส
เงินสดที่เกิดจากสินทรัพย์อื่นหรือกลุ่มสินทรัพย์อื่น
ในการพิจารณาเพื่อรับรู้การด้อยค่าของสินทรัพย์ กิจการควรพิจารณาเป็นลำดับ ดังนี้

1) พิจารณาสินทรัพย์แต่ละรายการที่สงสัยว่าเกิดการด้อยค่า เช่น ที่ดินด้อยค่า
2) พิจารณาว่าสินทรัพย์ที่สงสัยว่าเกิดการด้อยค่านั้น สามารถก่อให้เกิดกระแสเงินสดเป็นอิสระจาก สินทรัพย์ อื่นหรือไม่ เช่น ที่ดินที่ใช้เป็นที่ตั้งอาคารโรงงานไม่สามารถก่อให้เกิดกระแสเงินสดได้ด้วยตนเอง แต่ที่ดินที่ว่างเปล่าหรือสินทรัพย์รอการขาย อาจสามารถก่อให้เกิดกระแสเงินสดได้ด้วยตัวเอง เพราะถ้าขายก็จะมีราคาขาย ซึ่งใกล้เคียงกับมูลค่าจากการใช้ จึงพิจารณาการด้อยค่าเป็นแต่ละรายการได้เลย
3) หากพบว่าสินทรัพย์ตาม 2) ไม่สามารถก่อให้เกิดกระแสเงินสดได้ด้วยตัวเอง ก็ต้องนำไปรวมกับ สินทรัพย์ตัวอื่นเป็นหน่วยสินทรัพย์ฯ เพื่อหามูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน
4) ให้พิจารณาจากงบประมาณรายจ่ายฝ่ายทุน (capital budgeting) ของกิจการ โดยอาจพิจารณาว่ามีการทำประมาณการกระแสเงินสดก่อนเริ่มต้นโครงการหรือสาขานั้น
5) ในกรณีสาขา ให้พิจารณาการบริหารงานว่าเป็นแบบรวมอำนาจ หรือ กระจายอำนาจ
- ถ้าเป็นการบริหารงานแบบรวมอำนาจ ควรพิจารณารวมสาขาทุกสาขาเป็นหน่วยสินทรัพย์ฯ เดียวกัน
- ถ้าเป็นการบริหารงานแบบกระจายอำนาจ และแต่ละสาขามีอำนาจในการตัดสินใจเอง และทำกำไรองควรพิจารณาแต่ละสาขาเป็นหน่วยสินทรัพย์ฯ
6) กลยุทธ์ของกิจการอาจเป็นข้อบ่งชี้อย่างหนึ่งว่าหน่วยสินทรัพย์ฯ ประกอบด้วยอะไรบ้าง เช่น กิจการเปิดสาขาพร้อมกันหลายสาขา เนื่องจากถือเป็นกลยุทธ์การแข่งขัน ทั้ง ๆ ที่ทราบล่วงหน้าว่าบางสาขาอาจขาดทุนแต่ก็จำเป็นต้องเปิดเพื่อการแข่งขันในตลาด ในกรณีนี้พิจารณาได้ว่าสาขาทั้งหมดที่เปิดในคราวเดียวกันเป็นหน่วยสินทรัพย์ฯ เดียวกัน
ในการหามูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน (Recoverable Amount) คือการประมาณกระแสเงินสดในอนาคต
1. อาศัยข้อสมมติที่สมเหตุสมผลที่มีหลักฐานจากภายนอกสนับสนุน
2. อาศัยประมาณการทางการเงินล่าสุดจากฝ่ายบริหารครอบคลุมระยะเวลาอย่างมากที่สุด 5 ปี
3. ประมาณการกระแสเงินสดหลังจากช่วงเวลาในข้อ 2 ให้ปรับด้วยอัตราการเติบโตที่ คงที่หรือลดลง ยกเว้น มีเหตุผลสนับสนุนว่ามีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น (อัตราการเติบโตของกิจการ ต้องไม่สูงกว่า อัตราการเติบโตถัวเฉลี่ยระยะยาวของผลิตภัณฑ์ของอุตสาหกรรมหรือประเทศที่กิจการนั้นดำเนินอยู่)
4. ต้องพิจารณาจากสภาพสินทรัพย์ในปัจจุบัน
ประมาณกระแสเงินสดในอนาคต รวมถึง
1. การคาดการณ์กระแสเงินสดรับจากการใช้สินทรัพย์อย่างต่อเนื่อง
2. การคาดการณ์กระแสเงินสดจ่ายที่จำเป็นต่อการเกิดกระแสเงินสดรับจากการใช้สินทรัพย์นั้น
3. การคาดการณ์กระแสเงินสดที่จะรับ (จ่าย) จากการจำหน่ายสินทรัพย์นั้น เมื่อสิ้นสุดอายุการใช้งาน (Terminal Value of Assets)
ประมาณกระแสเงินสดในอนาคต ไม่รวมถึง
1. การปรับโครงสร้างในอนาคตที่ยังไม่ตัดสินใจเป็นที่แน่นอน
2. การขยายงานในอนาคต เช่น หากกิจการจะขยายสาขาเพิ่มในอนาคต กิจการต้องไม่เอาส่วนที่เพิ่มมารวมคำนวณ เอาเฉพาะสินทรัพย์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน หรือกรณีที่กิจการมีที่ดินว่างเปล่าที่มีโครงการจะพัฒนาในอนาคต กิจการก็ต้องประเมินมูลค่าจากการใช้ในฐานะเป็นที่ดินเปล่าหากยังไม่มีแผนการที่แน่นอนสำหรับโครงการพัฒนานั้น และที่ต้องระวังคือ กิจการอาจไม่สามารถใช้ประมาณการยอดขายจากฝ่ายบริหารมาประมาณกระแสเงินสดได้โดยตรงเพราะประมาณการของฝ่ายบริหารมักจะรวมการขยายตัวในอนาคตไว้ด้วย (เน้นย้ำครับว่า ประเมินจากสภาพปัจจุบัน กลยุทธ์ปัจจุบัน สินทรัพย์ปัจจุบัน)
3. รายจ่ายฝ่ายทุนในอนาคตที่ทำให้สินทรัพย์ดีขึ้น
4. กระแสเงินสดรับหรือจ่ายจากกิจกรรมจัดหาเงิน เช่น ดอกเบี้ยจ่าย เงินกู้ยืม (ไม่เอาดอกเบี้ยมาหักออก)
5. ภาษีเงินได้ที่รับหรือจ่ายไป (ไม่รวมรายจ่ายทางภาษี)
6. สรุปง่ายๆ คือ EBITDA นั่นเอง ไม่ต้องคิดถึงการเปลี่ยนแปลงใน Net Working Capital, CAPEX
การหาอัตราคิดลด
การหาอัตราคิดลดต้องพิจารณาถึง
1. ต้นทุนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของเงินทุนของกิจการ
2. อัตราการกู้ยืมส่วนเพิ่มที่กิจการต้องจ่าย
3. อัตราการกู้ยืมอื่นในตลาด
4. ปรับปรุงอัตราข้างต้น เพื่อให้อัตราคิดลดของสินทรัพย์หรือหน่วยสินทรัพย์ฯ ภายใต้การพิจารณาสะท้อนถึงความคาดการณ์ของตลาดและความเสี่ยงเฉพาะของสินทรัพย์นั้น หรือปรับปรุงอัตราข้างต้นให้สะท้อนถึงผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนต้องการ อีกนัยหนึ่ง อัตราคิดลดต้องสะท้อนถึง IRR ของโครงการหรือของหน่วยสินทรัพย์ฯ นั้น สรุปคือใช้ WACC (Weighted Average Cost of Capital)

ที่มา
[1]https://www.facebook.com/sanpong.limthamrongkul/posts/10206290091509620
[2]https://www.facebook.com/sanpong.limthamrongkul/posts/10206290093549671

วันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2558

วิธีการประเมินมูลค่าด้วยสูตรของ เบนจามิน เกรแฮม

วิธีการประเมินมูลค่าหุ้นด้วยสูตรของ เบนจามิน เกรแฮม เป็นสูตรฮิตที่นิยมใช้กันเยอะ เพราะงานดีจับตัวเลขใส่สูตรจบ แต่เป็นตัวเลขที่เกิดจากตลาดสมัย 1962 ช่วงที่หนังสือออก ซึ่งมีความแตกต่างจากตลาดปัจจุบันมาก บาทความนี้ก็จะทดลองปรัับให้เป้นปัจจุบันครับ

สูตรเริ่มต้นคือตามภาพ


ที่มามาจากการใช้ PE ง่ายๆคือ PE = P/E ย้ายข้างหาราคาหุ้นจะได้ P = EPS x PE โดย PE จะถูกประมาณการโดยสูตร 8.5 x 2g โดยที่ 8.5 คือ ผลค่า PE ของหุ้นที่การเติบโตเท่ากับ 0 และ g คือการเติบโตระยะยาวของ 7-10 ปีข้างหน้า

ต่อมาเล่มปรับปรุงหลังๆ ก็ปรับปรุงสูตรโดยการ เพิ่มผลตอบแทนที่คาดหวังเพิ่มไปอีกลายเป็นสูตรนี้


โดยที่ 4.4 คือ ผลตอบแทนขั้นต่ำที่คาดหวัง (minimum required rate of return) หรือ risk free ในช่วงปี 1964 ซึ่งเป็นช่วงที่หนังสือตีพิมพ์ และ Y คือ ผลตอบแทนของหุ้นกู้เอกชนที่ได้อันดับเครดิต AAA 20 ปี

ข้อควระวัง EPS ที่คิดควรเป็น กำไรต่อหุ้นที่มาจากกำไรปกติเท่านั้น กำไรพิเศษอย่าไปเอามา มีขาดทุนพิเศษก็เอาออกไป

ที่มาของสูตร จากบทความของเบจจามินเอง ตามลิงค์นี้ครับhttp://www.grahamanddoddsville.net/wordpress/Files/Gurus/Benjamin%20Graham/Formula%2520Valuations%2520of%2520Common%2520Stocks.pdf

ทดลองปรับสูตรของ เบนจามิน เกรแฮม ให้เป็นแบบไทยๆ


ตามสูตรที่น่าปรับคือ 8.5 ที่เป็น PE ที่เหมาะสมถ้าบริษัทไม่เติบโต กับ 4.4 ที่เป็น risk free บทความนี้ก็ลองเสนอ idea มาในการปรับ ผิดถูกอย่างไรนำไปปรับได้ตามสะดวกครับ






1.risk free


สมัยนั้น risk free อยู่ที่ 4.4 ส่วนปัจจุบันอยากรู้ว่าเท่าไร เข้าไปดูที่ http://www.thaibma.or.th/yieldcurve/YieldTTM.aspx แล้วเลือก ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล 1 ปี เท่ากับ 1.5 เป็นตัวแทนของ risk free เนื่องจาก ไม่มี ความเสี่ยงด้านเครดิต หรือ ความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ (Credit Risk หรือ Default Risk)

ซึ่ง risk free ไม่ได้บอกว่าจะไม่เจ้งเลย เพราะยังไม่รวมอีกหลายความเสียงเช่น

  • ความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Risk or Market Risk or Price Risk)
  • ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยในการลงทุนต่อ (Reinvestment Risk)
  • ความเสี่ยงจากผลกระทบของเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด (Event Risk)
  • ความเสี่ยงจากตราสารหนี้ขาดสภาพคล่องในการซื้อขาย (Liquidity Risk)
แต่หลายท่านก็เลือก risk free หลายแบบเช่น 5 ปี 10 ปี ก็มี ทุกคนก็มีเหตผลกันหมด เช่นเลือกยาวเพราะเท่ากับอายุการลงทุน เป็นต้น

2.PE ที่เหมาะสมเมื่อ g = 0

สูตรคำนวณ PE คือ b/k-g ถ้า g = 0 จะได้ PE = b/k 

โดยที่ b คืออัตราการจ่ายปันผลต่อกำไร ใช้ตัวเลข 50% มาจากการเดาว่าบริษัทจ่ายปันผล 50% น่าจะดี หลายบริษัทก็ตั้งนโยบายจ่ายปันผลที่ 50% แต่จริงๆแล้วอาจจะ มากกว่าหรือน้อยกว่านี้ได้

 k คือผลตอบแทนที่คาดหวัง โดยถูกประมาณการด้วย CAPM = Rf + beta ( Rm-Rf) 

โดยที่Rf คือ risk free , beta ให้เท่ากับ 1 เนื่องจากหุ้นทั่วๆไปให้ผลตอบแทนใกล้ๆเคียงตลาดน่าจะดี 

Rm คือผลตอบแทนของตลาด ในที่นี้จะใช้การเปลี่ยนแปลงของ SET Tri http://www.set.or.th/th/market/tri.html ที่เป็นดัชนีผลตอบแทนรวม คือรวมทั้ง capital gain และปันผลเข้าไปแล้ว เริ่มต้น 2/1/2545 ที่ 1000 จุด  จนถึงปัจจุบันที่ 12/12/2558 อยู่ที่ 72724  ผ่านมาแล้ว 13.951 ปี มีผลตอบแทนเฉลี่ยคำนวณด้วยสูตร ((72724/1000)^(1/13.951))-1 = 15.28% ต่อปี

จะได้ PE เหมาะสมเท่ากับ 50/(1.5 + 1*(15.28-1.5) = 3.27 เท่า

3.ผลตอบแทนตราสารหนี้ที่ AAA


บทความจาก TIF (https://www.facebook.com/notes/10150629323290763/) เขาประมาณ ผลตอบแทนตราสารหนี้เอกชน โดยเอา Government Bond Yield ส่วนบวกเพิ่มที่เกิดจากความเสี่ยงด้านความน่าเชื่อถือ (Credit Spread Curve) เข้าไปตามลิงค์ในบทความเขา lock ไม่ใช้เข้าละ ที่มีกราฟคล้ายๆกันก็ http://www.thaibma.or.th/compositerpt/dailyreport.aspx  แต่ก็ไม่มีตัวเลขเหมือนในบทความ

เลยเข้าไปที่ Yield curve ของตราสารหนี้แทน เข้าไปที่ http://www.thaibma.or.th/yieldcurve/CorpYieldCurvestat.aspx ตามบทความเขาใช้ ผลตอบแทนตราสารหนี้ภาคเอกชนที่ 20 ปี ผมก็ ที่มากกว่า 5 ปีว่า เสปรดเท่าไร แล้วก็บวกเพิ่มไป จริงๆต้องบวกเพิ่มกับ Government Bond Yield ที่อายุเดียวกัน แต่เริ่มขี้เกียจละ เลยบวกเพิ่มไปกับ risk free ซะเลย

4.กำหนด growth ยาวๆ


ข้อนี้ละยาก ปัญหา การเติบโตใน 7-10 ปี จริงๆต้องวิเคราะห์ว่า อนาคตอุตสาหกรรมจะ เข้าช่วงใหน เติบโต อิ่มตัว หรือถดถอย หรือโตแค่ปีสองปีแล้วจบ จากนั้นไม่โต ตามตัวอย่างสมมติให้ growth ประมาณ 8 เท่า (มาจากการเดา เปลี่ยนได้ตามหุ้นของท่าน)

5.คำนวณราคาเหมาะสม


นำค่าที่ได้จากข้อ 1-4 มาคำนวณเข้าสูตร

EPS x [((3.27+2x8)*1.5)/1.95]

คิดเป็น PE ประมาณ 14.82 เท่า จับคูณ EPS ก็ได้ราคาเหมาะสม

บทความนี้เป็นการทดลองใช้สูตรของเกรแฮมมาปรับให้เป็นตัวเลขแบบไทยๆว่าจะเป็นอย่างไร ผู้อ่านสามารถประยุกต์ได้ตามสะดวกครับผม


http://www.oldschoolvalue.com/blog/valuation-methods/value-stocks-benjamin-graham-formula/

วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2558

วิธีอยู่กับตลาดหุ้นแบบไม่ทุกข์ด้วยสติ

อยู่ให้เหมือนลิ้นงูในปากงู
พุธทาส

ธรรมชาติของมนุษย์มีกิเลสกันทุกคน ไม่งั้นจะมาลงทุนไปทำไม บางคนมาลงทุนเพราะ กลัวแก่แบบไม่มีเงิน ตายแบบจนๆ บางคนก็เข้ามาลงทุนเพราะเบื่องาน ดังนั้นในการวิเคราะห์หุ้นหรือตัดสินใจลงทุนก็หนีเรื่องกิเลศไม่พ้น ดังนั้นเพื่อความอยู่รอดในตลาดหุ้นแบบไม่ทุกข์ ก็ต้องพยายามมีสติรู้ทันกิเลศต่างๆ ให้ทัน ลดอคติต่างๆที่เกิดขึ้นเพื่อให้เห็นภาพของกิจการตามความเป็นจริงได้ ไม่อย่างงั้นการตัดสินใจจะเต็มไปด้วย อารมณ์ มากกว่า เหตผล หรือซื้อหุ้นไปแล้วอยู่ในตลาดแบบทุกข์ใจไปวันๆ

ในทางตะวันตกเรื่องอารมณ์เป็นขัวข้อหนึ่งที่สำคัญในการอยู่รอดในตลาดเงินและตลาดทุนแบบไม่ทุกข์ ก็พัฒนาเครื่องมือต่างๆ ในการจัดการเช่น การท่องคาถา เล่นตามระบบ หรือหลายท่านก็ประยุกต์ศาสตร์ NLP เข้ามาใช้ในการลงทุน

ในทางพระพุทธ์ศาสนา เป้าหมายสูงสุดคือไม่ทุกข์ โดยวิธีการคือ เข้าไปศึกษา กาย ใจ จนมองเห็นตามความเป็นจริงๆ  จนเห็นไตรลักษณ์ของรูปนามว่า เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ตามเหตปัจจัย และไม่อยู่ในอนาจบังคับ เมือเข้าใจอย่างถ่องแท้จะเห็น ทุกข์มีอยู่ แต่ไม่มีตัวเขาเข้าไปจับ โดยเครื่องมือในการศึกษากายใจก็คือสตินี่เอง ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการลงทุนได้

สติแปล่ว่าความระลึกได้ ไม่หลง เมื่อวิเคราะห์หุ้นอย่างมี "สติ" จะเห็น ผู้รู้ กับ สิ่งที่ถูกรู้ แยกออกจากกัน สิ่งที่ถูกรู้คือข้อเท็จจริงและความคิดเห็น

ข้อเท็จจริงๆ


ข้อเท็จจริง คือข้อมูลข่าวสารต่างๆที่เข้ามา ทั้งงบการเงินที่ประกาศทุก ๆ ไตรมาศ ข่าวที่ประกาศทุกวัน ราคาหุ้นที่ขยับทุกวินาที ซึ่งมีทั้งข้อมูลที่เป็นเท็จและจริงปะปนกันไป เราต้องมีระบบในการคัดกรองข้อมูลเบื้องต้นก่อน เช่น แหล่งที่มาน่าเชื่อถือหรือไม่ เช่นข้อมูลที่ประกาศในตลาดหลักทรัพย์ ก็น่าเชื่อถือกว่าข้อมูลเขาว่า ที่ส่งต่อๆกันมาในไลน์ หรือ facebook

ความคิดเห็น


ความคิดเห็นเป็นกรบวนการภายในสมอง ถ้ามีสัมมาสติจะเห็นรูปนามแยกออกจากกันตามหลัก ขันธ์ 5 เป็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รูปแยกออกไปได้อีก เป็นธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ส่วนจิตใจ ก็แยกได้เป็นขันธ์อีก ๔ ขันธ์ เป็นเวทนาขันธ์ คือความรู้สึกสุขทุกข์ สัญญาขันธ์ (คือ) ความจำได้หมายรู้ สังขารขันธ์ (คือ) ความปรุงดีปรุงชั่ว วิญญาณขันธ์ (คือ) ความรับรู้อารมณ์ ทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ

รูปขันธ์


ข้อเท็จริงๆต่างๆ เข้ามากระทบรูป

สัญญาขันธ์


สัญญา ความจำได้หมายรุ้ พอข้อเท็จจริงเข้ามา ก็ต้องระลึกได้ว่า หุ้นตัวนั้นทำมาหากินอะไร ทฤษฎีต่างๆที่ต้องนำมาใช้วิเคราะห์ ทั้ง เรื่องงบการเงิน การเงินธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ การประเมินมูลค่า รวมไปถึงวีรกรรมที่หุ้นตัวนี้เคยสร้างไว้ จุดสูงสุด จุดต่ำสุด ทุบลาก bid offer

เวทนาขันธ์


เวทนาขันธ์ คือความรู้สึกสุขทุกข์เฉยๆ หุ้นขึ้นก็ดีใจ หุ้นลงก็เสียใจ ถ้ามีสติรู้ทันก็ไม่เป็นไรถ้าขาดสติใจก็จะไปปรุงแต่งต่อใน สังขารขันธ์

สังขารขันธ์


สังขารขันธ์ (คือ) ความปรุงดีปรุงชั่ว มีความโลภ โกรธ หลง ผุดมาในใจเกิดมีตัวกูขึ้นมา ทำให้การตัดสินใจ ไปตามอารมณ์มากกว่าเหตผล

มีข้อมูลเข้ามาก็ต้องคิดนำข้อเท็จจริง มาผ่านกระบวนการ วิเคราะห์ (แตกภาพใหญ่เป็นภาพย่อย) และ สังเคราะห์ (รวมข้อมูลย่อยๆเป็นภาพใหญ่) ซึ่งกระบวนการสังเคราะห์ ผู้วิเคราะห์ต้องมีหลักการทฤษฎีและแนวคิดที่ชัดเจน อธิบายได้ว่าทำไมจึงเลือกทฤษฎีแนวคิดนี้มาอธิบาย


ถ้าขาดสติก็จะตัดสินใจซื้อ ถือ ขายแบบมี อคติ  โดยอคติมีสาเหตุหลักๆ 4 ประการคือ

  1. ฉันทาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะรัก หรือเพราะความพอใจ วิเคราะห์แล้วชอบใจก็อยากซื้อ
  2. โทสาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะโกรธหรือเกลียด เห็นหุ้นตัวแดงๆก็อยากขาย
  3. โมหาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะความเขลา โดยไม่พิจารณาให้ถ่องแท้ว่าอะไรถูก,อะไรผิด,อะไรควร,หรืออะไรไม่ควร
  4. ภยาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะกลัวหรือเพราะเกรงใจ มาร์โทรมาอ้อนหน่อยก็ใจอ่อนซื้อๆไป

หรือเกิดเวทนาขันธ์ คือความรู้สึกสุขทุกข์เฉยๆ หุ้นขึ้นก็ดีใจ หุ้นลงก็เสียใจ ถ้ามีสติรู้ทันก็ไม่เป็นไรถ้าขาดสติใจก็จะไปปรุงแต่งต่อ  วิเคราะห์ไปจะได้ข้อสรุป มาว่าหุ้นตัวนี้ดีหรือไม่ดี แนวโน้มในอนาคตเป็นอย่างไร ถ้าแนวโน้มหุ้นดี เริ่มทุกข์เพราะอยากซื้อเพิ่ม แนวโน้มแย่ลงก็ก็ทุกข์อยากขาย หรือไม่เป็นหุ้นตัวอื่นน่าสนใจกว่าก็ทุกข์เพราะอยาก หรือบางครั้งหุ้นลง แต่เราไม่ได้เปิดพอร์ทดูก็เฉยๆไม่รู้สึกอะไร

วิญญาณ คือความคิดเกิดขึ้นรู้ไม่ทันก็ปรุงแต่งได้อีก เช่นซื้อหุ้นแล้วติดดอยขายขาดทุนไปรอบนั้นจบไปแล้ว พอระลึกได้ว่าเคยขาดทุน สติตามรู้ไม่ทันก็ปรุงแต่งต่อตีโพยตีพายกันไป

วิญญาณขันธ์


หรือตัว จิต ทำหน้าที่รู้ สิ่งที่ถูกรู้คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร จบหน้าที่มีเท่านี้แหละ

โดยปกติการบวนการทำงาน จะเป็นกระบวนการแบบนี้วนไปวนมาเรื่อยๆ

ข่าว กราฟกระทบรูป  โสตวิญญาณ ผัสสะ สัญญาจำ   ทุกขเวทนา   สัญญาหมายรู้   สังขารขันธ์ ปรุง ความคิด โลภะ โทสะ โมหะ 

ถ้าจิตไปรู้เข้า แล้วจิตไม่รู้ทัน ขาดสติ สิ่งที่จิตปรุงขึ้นมา คือ ความโลภความโกรธความหลงนั่นแหล่ะ จะกลับเข้ามาปรุงแต่งจิตอีกทีนึง จิตปรุงแต่งกิเลสขึ้นมาก่อน แล้วสุดท้ายกิเลส กลับมาปรุงแต่งจิตได้อีก พอกิเลสมาปรุงแต่งจิตนะ ก็คือ ขันธ์มันกลับมารวมกันนะ มันมีกูขึ้นมาอีกแล้ว มีตัวเรา ของเรา ขึ้นมาอีก

การเจริญสติ


สติแปล่ว่าความระลึกได้ ไม่หลง ตรงข้าม กับ โมหะ ความหลง
กิเลศอีกสองตัว โลภะ กับ โทสะมาพร้อมความ หลง
ดังนั้นถ้ามีสติ กิเลศก็เข้ามาปรุงแต่งไม่ได้

แต่ในโลกของการลงทุน จิตปรุงแต่งทั้งวัน เพราะเราเฝ้าหน้าจอทั้งวัน ก็มีอะไรมากระทบ ทั้งวัน ราคาเปลี่ยนแปลงที่ตลาด แต่สุขทุกข์เกิดที่จิต

เรา รู้ เพื่อเข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริงด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลางว่า สิ่งทั้งหลายที่เกิดมานั้น มันต้องดับไปในที่สุด และไม่เป็นไปตามความอยากของเรา แต่เป็นไปตามเหตุของมัน

หุ้นขึ้นเพราะมีเหตุให้ขึ้นไม่อยู่ในอำนาจบังคับ
หุ้นลงเพราะมีเหตให้ลงไม่อยู่ในอำนาจบังคับ

กำไรบริษัทที่เราลงทุนเพิ่มเพราะมีเหตให้เพิ่มไม่อยู่ในอำนาจบังคับ
กำไรบริษัทที่เราลงทุนลดลงเพราะมีเหตให้ลงไม่อยู่ในอำนาจบังคับ

เมื่อจิตรู้ความจริง จิตก็ปล่อยวาง ไม่เข้าไปแทรกแซงสิ่งใด คือพอเห็นอารมณ์ใดเกิดขึ้น ก็รู้ว่า "มันก็เท่านั้นเอง" "มันเป็นอย่างนั้นเอง" เมื่อจิตรู้จักปล่อยวาง จิตก็ไม่ทุกข์ เหมือนอยู่ในปากงูที่มีพิษเหลือร้าย แต่ไม่โดนมันกัดเอา เหมือนภาพของท่านพุทธทาสด้านบน เท่านี้แหละครับ

"เขี้ยวของโลกที่ขบขย้ำคนอยู่ คือ โลกธรรม ๘ ประการ กลุ่มแรก คือ ลาภ, ยศ, สุข, สรรเสริญ. กลุ่มหลัง คือ เสื่อมลาภ, เสื่อมยศ, ทุกข์, นินทา. นั่นคือการได้และการเสีย, หรือบวกกับลบ นั่นเอง, ซึ่งเป็นเพียง “มายา” ปรากฏการณ์ชั่วคราว ตามเหตุและปัจจัยปรุงแต่งขึ้น.

 เห็นความ “เกิด-ดับ” ของมายานี้แล้ว “ไม่ถือมั่น” ไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรม จึงอยู่ในโลก ไม่ต้องหนีไปไหน แต่ก็ไม่ถูกเขี้ยวของโลก; เหมือนลิ้นของงูอยู่ในปากงู ชิดเขี้ยวอันเต็มไปด้วยน้ำพิษ แต่ไม่เคยถูกพิษนั้นเลย. สำหรับโลกนอกตัวเราสมัยนี้ ก็นับว่าเต็มไปด้วยพิษงู เราจะอยู่อย่างฉลาดโดยไม่ถูกเข้ากับพิษเหล่านั้น มีผลเท่ากับอยู่กันคนละโลกทีเดียว."


“นั่นลูกตามองเห็นไม่เป็นหมัน       เขาใช้มันเล็งแลแก้ปัญหา
อยู่ในโลกอย่างไรไม่ทรมาน         พิจารณาตรองไปให้จงดี
อยู่ให้เหมือนลิ้นงูในปากงู             ไม่เคยถูกเขี้ยวงูอยู่สุขศรี
อยู่ในโลกไม่เคยถูกเขี้ยวโลกีย์    เป็นเช่นนี้อุปมาอย่าฟั่นเฟือน
คิดดูบ้างนั่งได้ในปากงู                  ไม่เคยถูกเขี้ยวงูอยู่เสมือน
นั่งในห้องแสนสบายภายในเรือน   มีเค้าเงื่อนเหมือนพระภควันต์
อยู่ในโลกไม่กระทบโลกธรรม      อยู่เหนือกรรมเหนือทุกข์เป็นสุขสันต์
ใครมีตารีบเคารพนอบนบพลัน      รีบพากันทำตามยามนี้เอย ฯ .”

จบ เจริญในการลงทุนทุกท่านครับ

วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2558

กลยุทธ์การลงทุนแบบนักธุรกิจหุ้น

นักธุรกิจหุ้น เป็นกลยุทธ์การลงทุนแบบหนึ่งมองหุ้นในพอร์ทเหมือนเปิดร้านค้า สินค้าคือ หุ้น ลูกค้าคือกลุ่มนักลงทุนและนักเก็งกำไร วิธีทำมาหากิจคือเข้าป่าไปตามหาช้างเผือก คุณภาพดี แต่ราคาไม่แพงเข้าร้านรอลูกค้ามาซื้อ

1.กลุ่มลูกค้านักลงทุน


ชอบธุรกิจที่มีความสามารถในการแข่งขัน ธุรกิจเติบโตได้ยาวๆ ราคาเหมาะสม สะท้อนการเติบโตระยะยาวและอัตราผลตอบแทนปันผล

เราอาจซื้อตั้งแต่ช่วงเริ่มเติบโตงบอาจยังไม่สวย ปันผลไม่เยอะ เดี๋ยวธุรกิจอยู่ตัวลูกค้ากลุ่มนี้ก็มาซื้อต่อเอง

2.กลุ่มลูกค้านักเกร็งกำไร


หุ้นดีแค่ไหนก็ยังไม่ซื้อถ้ายังไม่ขึ้น ทางร้านหุ้นต้องหาสินค้ามาใหม่เรื่อยๆ

ถ้าหุ้นในคลังของเราถูกตลาดปั่นขึ้นไปจนเกินมูลค่ามาก PE สูงๆ อนาคตมองไม่เห็นว่ากำไรจะโตไปสะท้อนราคานั้นได้อย่างไร ก็ควรขายให้ลูกค้ากลุ่มนี้ เพราะเขาเอากำไรไม่มาก 2 ช่องออก

3.การจัดการสินค้าคงเหลือ


ถ้าตุนสินค้าไว้และไม่มีคนมาซื้อต่อ (ติดดอย) กรณีที่เราเลือกบริษัทที่ดีตั้งแต่ต้น มันจะโตขึ้นเรื่อยๆ
ทิ้งไว้นานราคายิ่งแพง ในทางกลับกันถ้าถือหุ้นเน่าไว้ แล้วมันไม่ตีจริงอาจต้องตังสำรองด้อยค่าขาดทุนกันไป

4.การจัดหาเงินทุน


แหล่งเงินทุนมาจากสองแหล่งคือเงินกู้และส่วนทุน

4.1แหล่งเงินกู้


ส่วนใหญ่เป็นบัญชีแบบมาร์จิ้นพอร์ทใหญ่ๆ หน่อยก็ไปขอมาร์เปิดได้ ข้อดีคือเป็นการเพิ่มผลตอบแทนให้สูงขึ้น

4.2ส่วนทุน


เงินทุนมาจากการเพิ่มทุนจากรายได้หักร่ายจ่ายเหลือก็เติมพอร์ทเรื่อยๆ กับอีกทางคือกำไรสะสม จากปันผลและสวนต่างราคา มาลงทุนซ้ำเรื่อยๆ

นี่ก็เป็นแนวทางหนึ่งในการทำมาหากินในตลาดหุ้นครับผม นอกจากนี้ยังมีแนวทางอีกเยอะตามจิตนาการของแต่ละบุคคลอีก

วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ทำไม ROE น้อยกว่า ROA

มีคนถามทำไมหุ้นบางตัว ROE ถึงน้อยกว่า ROA ทั้งๆที่ปกติ ROE มักจะมากกว่า ROA เนื่องจากผลของ Leverage จากหนี้สิน เป็นที่มาของบทความนี้ครับ เพื่อหาคำตอบว่ามันเกิดอะไรขึ้น

เมื่อลองนั่งไล่สมการที่ตลาดหลกทรัพย์ใช้คำนวณพบว่า

roa = ebit/สินทรัพย์
roe=กำไรสุทธิ/ส่วนทุน
= (ebit-i-t-กำไรของส่วนได้เสียไม่มีอำนาจควบคุม)/(สินทรัพย์-หนี้-ส่วนได้เสียไม่มีอำนาจควบคุม)

จาสมการพบว่า จาก EBIT มาเป็น กำไรสุทธิ จะผ่านสามส่วนคือ ดอกเบี้ย ภาษี และส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมดังนี้

1.เรื่องของหนี้สิน


โดยปกติหนี้สิจะทำหน้าที่ Leverage ให้ ROE สูงขึ้น แต่ในทางกลับกันถ้าบริษัทมีหนี้สินเยอะเกินไป ก็จะทำให้ดอกเบี้ยเยอะ แต่บริษัทไม่สามารถสร้าง กำไรจากการดำเนินงาน (ebit) ได้น้อยเกินไปไม่พอกับการจ่ายดอกเบี้ยก็จะทำให้กำไรของบริษัทน้อยลง และ ROE ก็จะต่ำลง

ดังนั้นทางแก้คือต้องพยายามทำให้ ROA สูงขึ้น เมื่อแยกส่วน ROA ออกมาจะพบว่า

ROA = อัตราหมุนเวียนสินทรัพย (Asset turnover) x Ebit margin

จากสมการ การที่บริษัทจะสามารถเพิ่ม ROA  ได้นั้นต้องทำโดยการเพิ่ม อัตราหมุนเวียนสินทรัพย์โดยสินทรัพย์เท่าเดิมต้องหาวิธีสร้างรายได้ให้เพิ่มขึ้น และพยายามลดรายจ่ายเพื่อให้ Ebit margin แต่บางที่ก็ต้องชั่งน้ำหนักดีๆ เพราะการหารายได้เพิ่มขึ้นถ้าคุมไม่ดี ค่าใช้จ่ายในการขายจะเพิ่มขึ้นอาจทำให้ Ebit margin ลดลงได้

แต่ในปีต่อๆไป ถ้าบริษัทเริ่มคืนหนี้ไปเรื่อยๆ และ ROA ยังเท่าเดิมได้ ROE จะค่อยๆเพิ่มขึ้น

2.ส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม


ส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม คือส่วนของผู้ถือหุ้นรายอื่นที่ไม่ใช่เราที่อยู่ในบริษัทย่อย งบการเงินที่เราอ่านคืองบรวม เขาจะเอาสินทรัพย์ หนี้สิน รายได้ และรายจ่ายมารวมกันทั้งก้อน ได้กำไรมาเท่าไรก็หักให้ส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมไป กำไรสะสมก็จะแบ่งเข้าสองส่วนคือ ส่วนทุนของบริษัทใหญ่ และส่วนไ้ด้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม

ดังนั้นถ้าบริษัทย่อยดีแต่บริษัทแม่ผลประกอบการไม่ค่อยดีนัก เวลาได้ EBIT มาแล้วแบ่งให้ส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมไป กำไรจะไปหักจาก ebit เยอะ ทำให้กำไรเหลือน้อยและ ROE ต่ำได้

ปัญหานี้จะแก้ยากหน่อย เพราะเป็นเรื่องของอัตราส่วนการถือหุ้นที่ตกลงกันกับ partner ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งบริษัท ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำคือไปทำผลประกอบการของบริษัทแม่ให้ดีขึ้น ROE ก็จะเพิ่มขึ้นได้

3.ภาษี


รายได้รายจ่ายบางตัวกรมสรรพากรก็ไม่มองเป็นรายได้รายจ่ายเอาแน่เอานอนอะไรไม่ค่อยได้ บางทีภาษีอาจเยอะก็ได้ ค่าใช้จ่ายภาษีจะไปหักจาก ebit เยอะ ทำให้กำไรเหลือน้อยและ ROE ต่ำได้

โดยสรุปบริษัทที่ ROA มากกว่า ROE สามารถอธิบายได้จากสามส่วนคือ ดอกเบี้ย ภาษี และส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมนั่นเอง

วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ตารางประมาณการราคาเหมาะสมอย่างง่ายด้วย PE ratio


การลงทุนโดยใช้ปัจจัยพื้นฐาน เราต้องการหาหุ้นที่ดีและราคาเหมาะสม การประเมินมูลค่าหุ้นด้วย PE เป็นวิธีการประเมินมูลค่าที่ง่ายและรวดเร็ววิธีหนึ่ง บทความนี้เป็นการแจกตาราง excel ที่ช่วยประมาณการราคาเหมาะสมอย่างง่าย ด้วย PE ratio สามารถจิ้มตัวเลขบนเว็ปได้เลย หรือจะโหลดเป็นตาราง excel ก็จิ้มเบาๆตรงมุมขวาล่างได้ครับผม โดยแยกเป็นการประมาณการณ์ได้ 5 วิธี โดยจะใช้วิธีไหนก็ได้ ข้อสำคัญไม่ได้อยู่ที่วิธีการคำนวณว่าต้องซับซ้อนสมมติฐานเยอะ แต่อยู่ที่สมมติฐานของตัวเลขที่เอามาใส่ตารางว่ามีตรรกะหรือไม่ดังนี้



1.ประมาณการราคาเหมาะสมจากการเติบโต


ถ้าเรารู้กำไรปีนี้ และพอเดาได้ว่าปีต่อๆไปกำไรจะโตเท่าไร โดยให้เหตุผลจาก การเติบโตในอดีต ทิศทางอุตสาหกรรม ลอกนักวิเคราะห์ ฯลฯ

เริ่มจากกำหนดกำไรต่อหุ้นในปีปัจจุบัน แล้วประมาณการกำไรต่อหุ้นในปีหน้าโดยใส่ตัวเลขการเติบโตตารางจะคูณให้เอง ปีต่อๆไปสามาถกำหนดการเติบโตแยกได้

ได้กำไรต่อหุ้นปีต่อไป จับคูณ PE ที่กำหนดไว้จะได้ราคาที่เหมาะสม

2.ประมาณการราคาเหมาะสมจากการเติบโตของยอดขาย


เริ่มต้นจากเดาแบบมีหลักการว่ายอดขายในแต่ละปีว่าจะโตเท่าไร จับคูณอัตรากำไรจะได้กำไร จับหารจำนวนหุ้นจะได้กำไรต่อหุ้น นำกำไรต่อหุ้นมาคูณ PE จะได้ราคาที่เหมาะสม

3.ประมาณการช่วงของ PE ที่เหมาะสม


ราคาหุ้นมักจะวิ่งอยู่ในกรอบที่เป็นไปได้ ไปอ่านเพิ่มเติมได้จากบทความของ อ.สรรพงษ์ การหา-pe-ที่เหมาะสมทางทฤษฎีเพื่อกำหนดกรอบราคาในการลงทุน แบ่งเป็นกรอบบนและกรอบล่าง

กรอบบน PE ไม่ควรเกิน การเติบโต หรือ PEG=1

กรอบล่าง PE คำนวณจาก PE=อัตราจ่ายปันผลต่อกำไร /k - g ประมาณการด้วย อัตราจ่ายปันผลต่อกำไร / riskfree + beta หรือตีความง่ายๆคือ PE ที่เหมาะสมเป็น PE ที่ที่ทำให้ผู้ลงทุนได้รับผลตอบแทนเงินปันผลเท่ากับ riskfree + beta

riskfree จะใช้ผลตอบแทนพันธบัตร 1 ปี beta และ ราจ่ายปันผลต่อกำไร หาได้ที่ fact sheet

4.หา forward PE


เป็นการมองว่าถ้ากำไรโต PE ในอนาคตจะเหลือเท่าไร สมมติว่าถ้ากำไรโตไปเรื่อยๆ อีก 3 ปี ถ้าซื้อที่ราคานี้ PE จะเหลือ 5 เท่าถ้ามองว่า PE ที่เหมาะสมของหุ้นตัวนั้นอยู่ที่ 10 เท่า แสดงว่า 3 ปีจะมี อัพไซต์ 100% หรือเฉลี่ยปีละ 26% ทบต้น

ตารางสามารถประมาณการเป็นกำไรต่อหุ้น หรือมูลค่าตลาดก็ได้

5.มูลค่าตลาดขนาดนี้ต้องทำกำไรเท่าไร


เทคนิคนี้ถ้าเราไม่รู้อะไรเลย เป็นคล้ายๆบริษัทเปล่า เราอยากรู้ว่าต้องทำกำไรเท่าไรจึงคุ้ม

สมมติบริษัทมีมูลค่าตลาด 1500 ล้านถ้า ถ้า PE เหมาะสมอยู่ที่ 15 เท่า แสดงว่าต้องทำกำไร 100 ล้าน แล้วก็มาดูว่าบริษัททำกำไรได้เท่าไรสมมติ 50 ล้าน แสดงว่าบริษัทต้องทำกำไรเติบโตปีละ  26% ทบต้น แล้วค่อยมาดูว่าบริษัทมีสักยภาพทำกำไรได้หรือไม่ ถ้าทำได้ก็ซื้อจบ

6.ประมาณการกำไรแบบ Advanc 



สำหรับคนที่อยากใส่สมการให้ซับซ้อนขึ้น ผมก็ทำตารางเพิ่มเติมให้ครับผม



ยอดขายปีหน้า = ยอดขายปีนี้ x (1+การเติบโต) , ให้โตเท่าไรประมาณการด้วยสมมติฐานของใครของมัน
ต้นทุนขาย = ยอดขาย x (1-GPM) , GPM คืออัตรากำไรขั้นต้น
กำไรขั้นต้น = ยอดขาย x GPM
ค่าใช้จ่ายขายและบริหาร = ค่าใช้จ่ายขายบริหารปีที่แล้ว x การเติบโตของค่าใช้จ่าย, ปรับตัวเลขได้ตามใจชอบ
กำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี = กำไรขั้นต้น - ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร
ต้นทุนทางการเงิน(ดอกเบี้ย) = ต้นทุนทางการเงินปีที่แล้ว x การเติบโตของยอดขาย, ให้โตเท่ากับยอดขายเพราะว่าถ้าบริษัทโต น่าจะ กู้เงินเพิ่มในอัตราส่วนเดียวกันเพื่อรักษา DE ratio ให้คงที่
กำไรก่อนภาษี = กำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี - ต้นทุนทางการเงิน
ภาษี = กำไรก่อนภาษี x 0.2, ภาษี 20%
กำไรสุทธิ = กำไรก่อนภาษี - ภาษี
กำไรต่อหุ้น = กำไรสุทธิ / จำนวนหุ้น
ราคาเป้าหมาย = กำไรต่อหุ้น x PE
คำแนะนำแบ่งเป็น 3 ช่วง ถ้าราคาเป้าหมาย > ราคาตลาดให้ซื้อ, ราคาเป้าหมายเท่ากับราคาตลาดให้ถือ, ราคาเป้าหมายน้อยกว่าราคาตลาดให้ขาย


บทความนี้ก็จะเป็นการนำเสนอเครื่องมือที่ช่วยให้การประเมินมูลค่าที่เหมาะสมง่ายขึ้นครับ



วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ลงทุนใน start up คุ้มหรือไม่

กระแสการลงทุนใน start up กำลังดังช่วงนี้ จากข่าวความสำเร็จของการระดมทุน บางบริษัทยังไม่มีสินค้าและบริการอะไร แค่ขายไอเดียก็สามารถระดมทุนได้เป็น 100 ล้าน สำหรับการวิเคราะห์การลงทุนว่าคุ้มหรือไม่คุ้ม มีประเด็นน่าคิดดังนี้

สินทรัพย์ = หนี้ + ทุน + รายได้ - รายจ่าย

ระดมทุนได้คือ สินทรัพย์เพิ่ม ทุนเพิ่ม
ความมั่งคั่งเจ้าของเดิมยังไม่เพิ่ม
เพราะโดน dilute จากกลุ่มทุนใหม่ที่ไปเอาเงินเขามา

ความมั่งคั่งจะเพิ่มก็ต่อเมื่อ รายได้ > รายจ่าย
คิดเป็น ROE คือ  (รายได้ - รายจ่าย) / ทุน

ที่น่าสนใจคือลงทุน start up แล้วคุ้มแค่ไหน
เงินถูกใช้แบบมีประสิทธ์ภาพ ไปอยู่ในสินทรัพย์ที่มีประโยชน์สร้างรายได้ได้หรือไม่ หรือไปจมกับรายจ่ายที่ไม่เกิดประโยชน์
การควบคุมรายได้รายจ่ายเป็นอย่างไร
สุดท้ายจะกลับมาในรูปของ ROE ว่าอยู่ในระดับที่สูงพอหรือไม่

ROE วันนี้อาจไม่เยอะ แต่เรื่องเล่าความเติบโต อนาคตดี ROE สูงแน่ ก็ยังเป็นประเด็น เพราะบริการทางเทคโนโลยีคู่แข่งเกิดใหม่เยอะ และกระแสผู้ใช้บริการเปลี่ยนไวมาก

สุดท้ายก็อยู่ที่นักลงทุนละครับว่าจะเลือกบริษัทที่สามารถจับปลาให้เรากินได้ หรือบริษัทที่วาดรูปปลาให้เราดู

วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

5 ประเด็นสำคัญในการวิเคราะห์ MOAT ของธุรกิจ

การวิเคราะห์ Moat (คูเมือง) หรือแนวป้องกันธรกิจ เป็นสิ่งสำคัญที่นักลงทุนต้องให้ความสำคัญในการวิเคราะห์ เชิงคุณภาพ เพราะเกี่ยวข้องกับความได้เปรียบการแข่งขันระยะยาว และทำให้มูลค่ากิจการ เพิ่มสูงขึ้น บทความนี้จะเป็นบทความของ อ.สรรพงษ์ [1] เขียนประเด็นนี้ได้ละเอียดมาก เชิญอ่านโดยพลัน

"Charlie Munger ได้บอกว่าการบ่งบอกว่ากิจการใดเป็น a good business หรือ a bad business นั้น ให้พิจารณาว่า กิจการนั้นมี Moat (คูเมือง) หรือแนวป้องกันธรกิจหรือไม่ ซึ่งตัว Moat นี้ทาง Michael Porter เรียกว่า “sustainable competitive advantage” ความได้เปรียบการแข่งขันในระยะยาว

ในหลักการลงทุน Charlie Munger บอกว่าควรเลือกลงทุนในบริษัทที่ มี 4 ด้านคือ


  1. ธุรกิจที่มีปราการหรือคูเมืองที่ปกป้อง - A business with a moat,
  2. ธุรกิจที่นักลงทุนเข้าใจได้ง่าย - A business that can be understood by the investor,
  3. ฝ่ายบริหารที่มีความซื่อสัตย์ มีจริยธรรม - Management in place with integrity and talent, and
  4. ลงทุนในราคาที่เหมาะสม มีราคาที่มีส่วนต่างความปลอดภัย - A business that can be bought at an attractive price that gives an attractive margin of safety. 


หรือหากพิจารณาในด้านเป้ามายธุรกิจที่เคยกล่าวก่อนหน้าว่า เป้าหมายธุรกิจคือ Sustainable Shareholders’ Value Creation ซึ่งต้องมุ่งสู่สามเรื่องพร้อมๆ กันคือ 1. Make Profit 2. Generate Cash Flow 3. Stay Solvency ทั้งสามเรื่องนี้จึงลงทุนในธุรกิจที่มีลักษณะดังนี้


  1. มีความได้เปรียบการแข่งขันในระยะยาว (Long-term Competitive Advantage) – Generate Cash Flows
  2. มีความสามารถในการทำกำไรและรักษาความสามารถในการทำกำไรในระยะยาวได้ (Sustainable Profitability) – Make Profit
  3. มีความแข็งแกร่งทางการเงิน (Strong Financial Survival Structure) ทั้งระยะสั้นระยะยาว – Stay Solvency


ซึ่งสิ่งที่เหมือนกันคือ ธุรกิจที่มีปราการหรือคูเมืองที่ปกป้อง - A business with a moat ย่อมหมายถึงการมีมีความได้เปรียบการแข่งขันในระยะยาว (Long-term Competitive Advantage) นั่นเอง และในข้อนี้ย่อมทำให้บรรลุเป้าหมายอื่นๆ ได้ไม่ยาก ผู้บริหารที่มีความซื่อสัตย์ มีจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ ย่อยเน้นที่จะทำ White Ocean Strategy (WOS) ซึ่งเคยกล่าวมาก่อนหน้าแล้ว (Red Ocean Strategy ROS, Blue Ocean Strategy BOS และ White Ocean Strategy WOS) และการที่มี Integrity และมี Moat ย่อมมีความสามารถในการทำกำไรและรักษาความสามารถในการทำกำไรในระยะยาวได้ดี ดังนั้นไม่ว่าจะพิจารณามิติใด จะสอดคล้องกันเสมอ

ในการสร้าง Moat นั้น Charlie Munger บอกว่ามีอยู่ 5 ด้านหลักๆ คือ

1.การประหยัดต่อขนาดในแง่ผู้ผลิต - Supply-Side Economies of Scale


กิจการขนาดใหญ่ย่อมได้เปรียบกว่าเพราะสามารถสร้างจุดแข็งในด้านต้นทุน หรือเป็นผู้นำตลาด Low Cost Leadership ขนาดการลงทุนที่มาก แนะต้นทุนต่ำย่อมทำให้ผู้เข้าใหม่ต้องคิดหนักในการเข้ามาแข่งขัน เมื่อคู่แข่งน้อยลง ในด้าน 5 forces – Rival Competition – ก็กดดันน้อยลง

2.สินค้าธุรกิจสามารถนำไปใช้ได้กว้าง หลากหลายหรือมี Demand-side Economies of Scale (Network Effects) 


Demand Side Economies of Scale exists in those industries where the value of a product or service increases in accordance with the number of users of that product or service. ยิ่งมีผู้ใช้มากคุณค่าสินค้าหรือบริการยิ่งมากขึ้น หรือบางครั้งเรียกว่า Network Effects - is the effect that one user of a good or service has on the value of that product to other people. When a network effect is present, the value of a product or service is dependent on the number of others using it. ยิ่งใช้ยิ่งเพิ่มปริมาณผู้บริโภคไปเรื่อยๆ ที่เห็นชัดเช่น facebook เหมือนกับว่าใครๆ ก็ต้องใช้ ถ้าไม่ใช้ก็ตกเทรนด์ เป็นต้น

3.Brand แบรนด์ 


สินค้าที่มี Brand Loyalty หรือความภักดีต่อสินค้าสูง ย่อมทำให้ผู้เข้าใหม่แย่งชิงส่วนแบ่งตลาดยากซึ่งการสร้าง Brand Loyalty นี้สำคัญมากทีเดียวสำหรับธุรกิจผู้แข่งขันมากราย (Monopolistic Market) หรือต้องใช้กลยุทธ์แบบ Red Ocean Strategy ROS

4.Regulation กฎระเบียบ ข้อบังคับ 


บางอุตสาหกรรมผู้ที่จะเข้ามาประกอบธุรกิจ ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ซึ่งมักกำหนดโดยรัฐ ซึ่งกลายเป็นเงื่อนไขปกป้องคนที่เข้ามาอยู่ก่อนในอุตสาหกรรม

5.Patents and Intellectual Property สิทธิบัตร สินทรัพย์ทางปัญญา นวัตกรรม (Innovation) 


สิทธิบัตร สินทรัพย์ทางปัญญา นวัตกรรม (Innovation)  ก็เป็นสิ่งปกป้องธุรกิจได้ดีอีกทางหนึ่ง ธุรกิจที่มุ่งสู่การหา ทะเลน้ำเงิน Blue Ocean Strategy BOS นับว่าเป็นสิ่งสำคัญ องค์กรใดใช้ BOS แต่ขาดการสร้าง Patents and Intellectual ก็จะไม่มีปราการปกป้องธุรกิจในระยะยาว

จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะอยู่ในทะเลใด ทุกอุตสาหกรรมสามารถสร้างปราการหรือคูเมือง (Moat) ได้ทั้งนั้น อยู่ที่ใช้วิธีและการสร้างคูเมืองที่เหมาะกับรูปแบบธุรกิจด้วยหรือไม่

ในการสร้างแบรนด์นั้นมี เหตุผล 3 ข้อ ที่ลูกค้าจะเลือกแบรนด์ของคุณ Brand Warfare โดย David F. D Alessandro ได้สรุปประโยชน์ของแบรนด์ต่อลูกค้าไว้ได้น่าสนใจ 3 ประการ คือ


  1. ช่วยประหยัดเวลา 
  2. สร้างภาพลักษณ์ที่เหมาะสม 
  3. สร้างความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน 


การสร้าง Brand เป็นเรื่องที่กว้างใหญ่มาก เขียนกันได้เป็นๆ ทีเดียว ซึ่งในประเด็นนี้คือการพิจารณาใน Business Model เรื่อง Value Proposition เวลาผมเห็นวิเคราะห์กันหรือที่สอนๆ ในหมู่คนลงทุน ชอบที่จะพูดกันในเรื่อง Business Model พอเห็นวิเคราะห์ข้อแรกกันก็รู้ว่าผิดทางแล้ว เพราะมักจะสรุปแค่ขายอะไร บริษัทนี้ทำอะไร ผลิตอะไร ซึ่งไม่ใช่ความหมายที่แท้จริงการวิเคราะห์ด้วย Business Model เช่น ธุรกิจที่ขายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับความงาม ข้อแรกไม่ใช่สรุปว่า ขายผลิตภัณฑ์ความงาม เครื่องสำอางอะไร แต่ต้องบอกให้ได้ว่าธุรกิจนั้นนำเสนอคุณค่าใดที่แตกต่างหรือไม่ (อะไรคือ Value Proposition) ถ้าเรามองว่าไม่มี ไม่ชัด หรือคู่แข่งชัดกว่า ก็แสดงว่าไม่ใช่ธุรกิจเด่นแล้ว"

จากบทความจะเห็นว่า บริษัทที่มี MOAT หรือคูเมืองที่เข้มแข็ง ชีวิตการลงทุนก็จะดี้ดี ถือยาวได้สบายใจ โชคดีในการลงทุนครับ

ที่มา
[1] https://www.facebook.com/sanpong.limthamrongkul/posts/10206382243333358

วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เจาะลึกสินค้าคงเหลือของ MC (บริษัท แม็คกรุ๊ป จำกัด (มหาชน))


สำหรับธุรกิจประเภทซื้อมาขายไปโดยเฉพาะธุรกิจแฟชั่นที่มีการตกรุ่นเร็ว ถ้าบริหารสินค้าคงเหลือไม่ดีจะกระทบกับสภาพคล่องของกิจการ ขายของไปเงินไปจมกับสินค้าหมด มาดูตัวอย่่างกรณีศึกษาที่น่าสนใจของ MC กันครับ

2.ดูงบการเงิน


งบการเงินของ MC
กดที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่

ที่มา:  สรุปข้อสนเทศบริษัทจดทะเบียน http://www.set.or.th/set/factsheet.do?symbol=mc&ssoPageId=3&language=th&country=TH


ดูจากงบแสดงฐานะการเงินจะเห็นว่า MC มีสินทรัพย์ส่วนใหญ่เป็นสินค้าคงเหลือ 2300 ล้าน จากสินทรัพย์รวม 4700 ล้าน รองลงมาเป็นลูกหนี้การค้า ส่วนที่ดินอาคารอุปกรณ์มีไม่มาก

แปลว่าการวิเคราะห์ต้องดูสินค้าคงเหลือดีๆว่าขายออกหรือเปล่า ที่น่าสนใจคือสินค้าคงเหลือเพิ่มจาก 1000 กว่าล้าน มาเป็น 2000 กว่าล้านมากขึ้นเยอะ การดูว่าปกติหรือเปล่าต้องดูระยะเวลาขายสินค้าประกอบถ้าจำนวนวันเพิ่มขึ้นก็ต้องเฝ้าระวัง

หนี้สินมี 900 ล้าน เป็นเจ้าหนี้การค้าซะ 600 ล้าน แสดงว่าเป็นบริษัทที่ไม่ค่อยมีหนี้เท่าไร เยี่ยมจริง

ในงบกำไรขาดทุน รายได้โตเรื่อยๆ แต่งวด 9 เดือนปีนี้ไม่ค่อยโตเท่าไร

ส่วนงบกระแสเงินสด เงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงานติดลบ แปลว่าทำมาหากินมีกำไรไร แต่กำไรไม่มาเป็นเงินสดต้องตามไปเจาะว่าลบจากอะไร แต่เดาว่าน่าจะมาจากสินค้าคงเหลือที่เพ่ิมขึ้น

2.แคะอัตราส่วนทางการเงิน


อัตราส่วนการเงินของ MC
กดที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่

1.ความอยู่รอด


อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นไม่สูง อยู่ที่ 0.8 และส่วนใหญ่เป็นเจ้าหนี้การค้า ก็ถือว่าหนี้น้อย ไม่ต้องไปกังวลอะไรมนมาก

2.การสร้างเงินสด


ในแงการสร้างเงินสด จุดที่น่าสนใจคือ จากงบดุลเราเห็นสินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้น ทำให้ระยะเวลาขายสินค้าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น จาก334 วัน มาเป็น 429 วัน เกิน 1 ปีซะอีก ทำให้วงจรเงินสดยาวขึ้น  แต่สินทรัพย์ยังสร้างรายได้ได้ปกติอยู่เลยทำให้อัตราหมุนเวียนทรัพย์สินไม่ตก

3.การทำกำไร


สำหรับการทำกำไร อัตรากำไรขั้นต้นยังดีอยู่ แต่ EBITmargin ทิศทางลดลงเรื่อยๆ แสดงว่าสัดส่วนของค่าใช้จ่ายในการขายและบริการเพิ่มขึ้น ดูไม่น่าปลื้มใจเท่าไรนัก ทำให้โดยรวมๆแล้วอัตรากำไรสุทธิของ MC ลดลงไปด้วย

3.แคะสินค้าคงเหลือ


พอสัยเรื่องสินค้าคงเหลือ ก็มาเปิดหมายเหตดูว่าเป็นอะไร แต่งบไตรมาศแสดงแค่ตั้งสำรองการลดลงมูลค่าสินค้าไม่ได้แยกมาให้ว่าเป็นอะไร เลยเข้าไปโหลดงบประจำปีมา

ดูจากงบปี จะเห็นว่าสินค้าคงเหลือส่วนใหญ่ของ MC จะเป็น สินค้าสำเร็จรูป แสดงว่าในงบ 9 เดือน ที่เห็นเยอะๆ น่่าจะเป็นสินค้าสำเร็จรูปเหมือนกัน

คำถามคือ จะตุนไปเยอะๆ เพื่ออะไร ก็ลองไปค้นข่าวดูกลยุทธ์ผู้บริหาร ไปค้นๆ ใน google ได้ความจาก หนังสือพิมพ์ทันหุ้นว่า

5 กลยุทธ์หลักผลักดันการเติบโตของยอดขายในอนาคต

  • 1.ขยายสาขาเพิ่ม Time Decoที่ 10 สาขา  และสาขาของ MC อีก 50 สาขา โดยจะเปิดในรูปแบบ Free Standing Shop
  • 2.การปรับเพิ่มผลิตภัณฑ์ขายสินค้าใหม่ๆ  เช่น การเปิดตัวขายกระเป๋าเดินทาง
  • 3.การปรับสัดส่วนสินค้าขายในระยะสั้น โดยเน้นการขายเสื้อผ้าชิ้นบนมากขึ้น ซึ่ง MC ปรับเป้าสัดส่วนสินค้าเสื้อผ้าชิ้นบนต่อกางเกงยีนส์อยู่ที่ 1:1 ในแผน 2-3 ปีข้างหน้า
  • 4.การขยายสาขาไปยังต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง
  • 5.การขยายจุดจำหน่ายไปยังสถานีปั๊มน้ำมัน ปตท. 

ที่มา ทันหุ้น http://www.thunhoon.com/colum/24383/24383.html

โดยรวมๆคือ เปิดสาขาเพิ่ม เพิ่มสินค้าใหม่ ก็ต้องตุนของมากขึ้น ปัญหาคือ ตุนสินค้าสำเร้จรูปเพิ่มขึ้นเยอะ ขายไม่ทันทำให้ระยะเวลาขายสินค้าเพิ่มขึ้น ต้องคอยตามต่อไปว่าจะเป็นอย่างไร ถ้ายังไม่ดีขึ้นก็ไม่น่าพิศมัยเท่าไรนัก

สรุปคือ บริษัทที่มีสัดส่วนสินค้าคงเหลือเยอะๆ เมื่อเทียบกับสินทรัพย์รวม ก็ต้องเข้าไปเจาะลึกเรื่องสินค้าคงเหลือกันหน่อย เพราะถ้าขายไม่ออกขึ้นมา จะซวยเอา ถ้าไม่มาเลหลังถูกๆ ก็ต้องขาดทุนด้อยค่าสินค้าคงเหลือ


วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เทคนิคการปรับเป้าราคาแบบนักวิเคราะห์และการอ่านบทวิเคราะห์ให้ได้ประโยชน์

เป็นนักวิเคราะห์บางทีก็มีเรื่องปวดหัว เพราะหุ้นมันแพงแต่มีคนอยากซื้อก็ต้องหาวิธีทำให้ราคามันเหมาะสมพอซื้อได้ โดยมีเทคนิคการปรับสมมติฐานนิดหน่อยดังนี้

1.ข้อมูลที่สำคัญของบทวิเคราะห์คือ สมมติฐานการประมาณการ และข้อเท็จจริงต่างๆ ที่เขาไปคุยมา บางข้อมูลเราก็ยากเข้าถึง
2.บทวิเคราะห์ที่เราอ่านกันเป็นราคาสิ้นปี ไม่ใช้ราคาระยะยาว
3.การหาราคาเบื้องตัน p = pe x eps
4.ถ้าปีนี้กำไรน้อย ปีหน้ามีโครงการให้กำไรเยอะ ให้รีบซื้อไปไม่ดีเดี๋ยวดอยนานลูกค้าด่าเอา ให้ใช้ eps ปีนี้ที่กำไรน้อย คูณราคาจะได้เป้าราคาต่ำ แนะนำขาย
5.จะเริ่มเชียร์ซื้อ ให้ใช้กำไรปีหน้าที่เยอะ แต่ใช้ตัวคูณไม่มาก ได้เป้าไม่ไกล upside ประมาณ20% เพราถ้าให้ upside สูงมาก กลต จะโทรหา
6.เมื่อราคาใกล้ถึงเป้าให้ปรับประมาณการ โดยให้ pe สูงขึ้นเรื่อยๆ
7.ตัวคูณpe สูงสุดคือ peg ใช้ค่าประมาณ 20-30 เท่า
8.ถ้าหุ้นติดตลาด คำนวณราคาโดยใช้ กำไรอันไกลโพ้นไปหลายๆปี อาจใช้dcf ช่วยโดยให้wacc ต่ำ g สูง nwc capexต่ำๆ
9.เมื่อราคาหลุดโลก พื้นฐานอธิบายไม่ได้แล้ว หาคำอธิบายไม่ได้จริง ๆ ก็ต้องอาศัยกราฟช่วยละ

ข้างบนเป็นมุกขำๆนะครับ แต่บนวิเคราะห์ก็ไม่ได้มั่วไปทั้งหมด เพราะเขามีโอกาสเข้าพบผู้บริหารได้ข้อมมูลมากกว่า ดังนั้นเวลาอ่านบทวิเคราะห์ ของนักวิเคราะห์ให้ได้ประโยชน์นั้น นักลงทุนควรมองให้เห็นออกว่า

1. ปัจจัยต่าง ๆ ที่เขาอ้างอิงนั้นมีเหตุมีผลเพียงไร
2. ภาวะเศรษฐกิจ การเงิน การเมือง และ สังคม ที่เขาอ้างอิงถึง ในขณะนั้น เป็นอย่างไร
3. การเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมือง การเงิน สังคม มีการเปลี่ยนแปลงมากน้อยเพียงใดหลังการวิเคราะห์
4. นักลงทุนมักต้องการให้ นักวิเคราะห์ พูดในสิ่งที่ดี กับตัวเอง กับหุ้นที่ตังเองถืออยู่ เท่านั้น เมื่อ ไม่ได้ดังต้องการ มักจะกลับมาหา "แพะ" หรือ หาคนรับผิดชอบ
5. ต้องยอมรับว่า ปัจจัยต่าง ๆ มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่มีนักวิเคราะห์ คนไหน สามารถควบคุมปัจจัยภายนอกได้
6. นักลงทุนต้องติดตาม การเปลี่ยนแปลง ของปัจจัย ต่าง ๆ เพื่อให้ปรับตัว ปรับพอร์ต ให้ทักการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
7. ปัจจัยต่าง ๆ ที่เขาอ้างอิงนั้นมีเหตุมีผลเพียงไรีหลักการ อย่างมีเหตุผล เท่านั้น แต่ไม่ได้รับรอง 100 % ว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง
8. แต่มีนักวเคราะห์บางพวก บางคน ที่วิเคราะห์ แล้วทำให้หุ้นขึ้นทันที หลังจากนั้น คนที่เข้าไปขึ้นตาม ก็จะถุกปล่อยเกาะ นี่ต่างหากที่ กลต ควรเข้าไปควบคุมให้ดี

ขอบคุณครับ
เจริญในหุ้นทุกท่านครับ


วันอาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ส่องหุ้นเด็ดอสังหารับมาตรการกระตุ้นรัฐบาล

ช่วงนี้รัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นอสังหา ตั้งการลดภาษีค่าโอน ฯลฯ เชื่อว่าทำให้กลุ่มอุตสาหกรรมพัฒนาอสังหาริมทรัพย์น่าจะได้ประโยชน์ หุ้นกลุ่มนี้ก็มีหลายตัวตัวไหนมีโอกาสเราต้องตามขุดกันต่อไป

ไอเดียการค้นหาคือ เมื่อมีมาตรการกระตุ้นอสังหา บริษัทที่มีโครงการรอโอนเยอะๆ ทั้งกำลังจะโอนและขายไม่ออก น่าจะได้ประโยชน์มากสุด และด้วยประสา VI ชอบหาของถูก จึงเอาสินทรัพย์มาเทียบกับมูลค่าตลาด ถ้าบริษัทไหนมีมูลค่าสินทรัพย์มากกว่ามูลค่าตลาดเหมือนได้ซื้อของถูก เพราะถ้าขายสินทรัพย์นั้นได้เมื่อไร กำไรก็จะกระโดดมากมาย และถ้ามีโครงการที่ได้ประโยชน์จากนโยบายด้วยก็จะเป็นส่วนเสริมเข้าไปอีก

ข้อมูลนำมาจากเว็บ www.siamchart.com/stock ก็อบปี้มาลง excel มีมูลค่าตลาด แต่ไม่มีสินทรัพย์ เลยต้องคำนวณแบบอ้อมๆหน่อยโดยคำนวณจาก DE และ PBV ดังนี้
PBV = มูลค่าตลาด / ทุน
ทุน = PBV x มูลค่าตลาด
จาก
ทุน = สินทรัพย์ - หนี้
ดังนั้น
สินทรัพย์ - หนี้ = (PBV x มูลค่าตลาด)
สินทรัพย์ = (PBV x มูลค่าตลาด) + หนี้
สินทรัพย์ = (PBV x มูลค่าตลาด) + (DE x ทุน)
สินทรัพย์ = (PBV x มูลค่าตลาด) + (DE x (PBV x มูลค่าตลาด))
สินทรัพย์ = (PBV x มูลค่าตลาด) x (DE + 1)



เมื่อนำเรียงลำดับตามค่าสินทรัพย์ต่อสินทรัพย์ หุ้นที่น่าสนใจคือหุ้นที่ สินทรัพย์.มูลค่าตลาด มากกว่า 100% แปลว่าเป็นหุ้นที่ มีสินทรัพย์มากกว่ามูลค่าตลาด หรือเงินที่เราจ่ายซื้อไป เช่นอันดับ 1 Polar มีสินทรัพย์มากกว่ามูลค่าตลาดถือ 600% ถ้าขายออกได้น่าจะกำไรมากมาย

ปัญหาของการกรองแบบนี้คือ ต้องไปศึกษาต่อว่า สินทรัพย์เป็นอะไร ถ้าเป็นพวกโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ คอนโด บ้าน ก็จะอยู่ในรายการต้นทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โดยงบการเงินจะรายละเอียดในหมายเหตประกอบงบการเงินเป็นสามส่วนคือ ที่ดิน ค่าใช้จ่ายที่พัฒนา และดอกเบี้ยที่กู้ยืมมาสร้างโครงการนั้น

จากนั้นไปศึกษาต่อว่าบริษัทนั้นมีโครงการอะไร และสร้างเสร็จพร้อมโอนได้เมื่อไร เพราะอสังหาริมรัพย์จะรับรู้รายได้เมื่อโอน ถ้าบริษัทไม่โอน สินทรัพย์ที่เห็นก็ไม่สามารถแปลงเป็นรายได้และกำไรได้

ที่สำคัญต้องไปดูด้วยว่าโครงการของบริษัทนั้นๆ มูลค่าบ้าน คอนโด ราคาเท่าไร ได้ผลประโยชน์จากนโยบายรัฐที่เน้นอสังหาที่ราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท

แต่ถ้าสินทรัพย์ที่ไม่เกี่ยวกับ บ้านคอนโด เยอะเช่น PF ที่มีส่วนที่เป็นโรงแรมด้วยจากโรงแรมของ GRAND ที่ซื้อมา และโรงแรมที่ญี่ปุ่นของ PF เอง จะอยู่ในรายที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ การรับรู้รายได้จะเป็นรูปค่าเช่าต่อคืนเป็นน้ำซึมบ่อทรายไม่ได้ทำให้กำไรกระโดดมากมาย

อีกจุดทีี่ต้องระวังคือ เรื่องหนี้สิน ปกติธุรกิจประเภทนี้มักรวยด้วยเงินคนอื่น กู้เงินมาพัฒนาโครงการ พอโอนก็รับรู้กำไร ถ้าบริษัทไหนโอนได้ช้าจะเริ่มมีปัญหาเรื่องหนี้สิน เพราะจะไม่มีเงินมาจ่ายเงินต้นและดอกเบี้ย ซึ่งดอกเบี้ยจะวิ่งทุกวันบันทึกอยู่ในต้นทุนพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์นั่นเอง (ถ้าโครงการโอนได้ช้า ต้นทุนพัฒนาอสังริมทรัพย์จะสูงขึ้น ทำระเวลาคำนวณระยะเวลาขายสินค้าจะสูงขึ้นด้วย) ในตารางจะมีช่อง DE ratio ให้ด้วยครับ

โชคดีในการลงทุนทุกท่าน

ป.ล. เอากลุ่มนิคมมาด้วย เพราะเดี๋ยวซักวันมันก็ต้องโอน

วันพุธที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ส่องหุ้น IPO บริษัท โรงพยาบาล ลาดพร้าว จำกัด (มหาชน) (LPH)

ส่องหุ้น IPO บริษัท โรงพยาบาล ลาดพร้าว จำกัด (มหาชน) (LPH) เป็นหุ้นที่เพิ่งเข้าใหม่วันนี้ มาดูพื้นฐานกันว่าน่าถือยาวววววววววหรือไม่


ข้อมูลทั่วไป


ชื่อบริษัท : บริษัทโรงพยาบาลลาดพร้าวจำกัด(มหาชน)
ชื่อย่อหลักทรัพย์ : LPH
ตลาดรอง : SET
กลุ่มอุตสาหกรรม : บริการ
หมวดธุรกิจ : การแพทย์
วันที่เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน : 28 ต.ค. 2558
วันที่เริ่มทำการซื้อขาย : 28 ต.ค. 2558
จำนวนหุ้นจดทะเบียนกับตลท. (หุ้นสามัญ)(หุ้น) :
จำนวนหุ้นชำระแล้ว (หุ้นสามัญ)(หุ้น) :
ราคา Par (บาทต่อหุ้น) : 0.50
ทุนชำระแล้ว (บาท) :
ราคา IPO (บาท) : 5.00
ผู้ประกันการจัดจำหน่าย : บจ.เคจีไอ
● วัตถุประสงค์ในการระดมทุน:
1. ลงทุนก่อสร้างอาคารศูนย์การแพทย์ประกันสังคมลาดพร้าว จำนวน 150 ล้านบาท (ระยะเวลาใช้เงิน ภายในปี 2560)
2. ลงทุนก่อสร้างสถานพักฟื้นและดูแลผู้สูงอายุลาดพร้าว จำนวน 157 ล้านบาท (ระยะเวลาใช้เงิน ภายในปี 2561)
3. ลงทุนในการก่อสร้างโรงพยาบาลแห่งใหม่ และ/หรือลงทุนในหุ้นสามัญของโรงพยาบาลอื่น จำนวน 300 ล้านบาท (ระยะเวลาใช้เงิน ภายในปี 2562)
4. ชำระคืนเงินกู้ยืม จำนวน 360 ล้านบาท (ระยะเวลาใช้เงิน ภายในปี 2559)
5. เงินทุนหมุนเวียน ส่วนที่เหลือข้อ 1 - 4 (ระยะเวลาใช้เงิน ภายในปี 2562)

ส่องงบการเงิน

จากไฟล์ ข้อมูลทางการเงินที่สำคัญ เพื่อความรวดเร็วก็ดูตรงอัตราส่วนทางการเงิน เลยว่าเป็นอย่างไร
อัตราส่วนทางการเงินของ LPH
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่
อัตราส่วนทางการเงินของ LPH 2
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่
เรื่องหนี้สินเป็นบริษัทที่หนี้น้อยอัตรส่วนหนี้ต่อทุนเพียง 1.31 เท่า และ อัตราส่วนความสามารถในการชำระหนี้ (DSCR คำอธิบายอยุ่ในภาพ) สูงแปลว่า EBITDA เพียงพอกับการจ่ายดอกเบี้ย เงินต้น และปันผล เยี่ยมไปเลย

เรื่องการใช้สินทรัพย์ อัตราหมุนเวียนทรัพย์สินคงที่ แปลว่าสินทรัพย์ยังสร้างรายได้ ได้ตามปกติไม่มีปัญหาอะไร

ที่น่าสนใจคือ จากการมีลูกค้าประกันสังคมเพิ่มขึ้นทำให้ ระยะเวลาเก็บหนี้สูงขึ้น รายละเอียดมาจาก สำนักงานประกันสังคมเปลี่ยนกฎระเบียบทำให้เงินค้างเยอะขึ้นลูกหนี้การค้าเพิ่มขึ้น ในงบดุลตัวที่เพิ่มผิดสังเกตอีกตัวคือ รายได้ค่าบริการค้างรับเพิ่มจาก 10 ล้านในปี 2555 เป็นกว่า 100 ล้านในปี 2558
รายได้ค่าบริการทางการแพทย์ค้างรับ
การที่ระยะเวลาเก็บหนี้รวมๆสูงขึ้น ทำให้กระแสเงินสดจากการดำเนินงานลดลง และทำให้อัตราส่วนสภาพคล่องกระแสเงินสดลดลงไปด้วย

เท่าที่ดูปัญหาอยู่ที่การทำกำไรเนื่องจากอัตรากำไรขั้นต้น และอัตรากำไรสุทธิลดลงมาก
ลองไปเปิดคำอธิบายของฝ่ายจัดการ พบว่าต้นทุนการรักษาพญาบาล 30%เป็นค่าตัวหมอ 17% เป็นค่าตัวพญาบาล และที่สำคัญคือมีลูกค้าประกันสังคมมากขึ้น และมีการส่งต่อผู้ป่วยไปรพเฉพาะทางเพิ่ม ดูๆไปก็ปกตินะ

ส่วนกำไรจากการดำเนินงานลดลงเพราะมีค่าโฆษณามากขึ้น 20% ต้องตามติดว่าโฆษณาไปได้ผลดีหรือไม่จากการเติบโตของรายได้ ควรจะล้อกัน ถ้าลงโฆษณาไปรายได้ไม่ขึ้นก็แปลว่าตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ

ราคานี้ถุูกหรือแพง

ราคาคาบาทคิดเป็น PE 38 เท่า ผมว่าแพงนะ แต่เขาว่าไม่แพงเพราะถูกกว่ากลุ่มที่ PE 41 เท่า ใครจะซื้อก็ลุ้นอนาคตเอา ว่าศูนย์การแพทย์เฉพาะทาง รพใหม่ ฯลฯ จะดีหรือไม่กว่าจะเป็นก็ปี 59-60 รอประมาณ 2 ปี

สู้ต่อไป LPH

วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2558

4ปัจจัยกำหนดอัตราส่วนราคาต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (pbv)


อัตราส่วนราคาต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (PBV) เป็นวิธีการประเมินมูลค่าที่คนนิยมใช้กันเยอะ คำนวณง่ายๆจาก ราคาหารด้วยส่วนของผู้ถือหุ้น หรือเรียกว่ามูลค่าทางบัญชี (ฺBook Value) ก็ได้ การรู้ว่ามีปัจจัยอะไรที่ส่งผลกระทบกับอัตราส่วนราคาต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (pbv) จะทำให้เวลาเราวิเคราะห์หุ้นอ่านข้อมูลไปเรื่อย จะรู้ว่าหุ้นตั้วนี้ควรให้ราคาสูงๆ เป็นหลายเท่าของมูลค่าทางบัญชี BV หรือไม่ควรให้ค่าดี

PBV = P/BV
เอา กำไร (E)ใส่ไปในสมการจะได้ PBV ประกอบด้วย PE และ ROE ดังนี้
=P/E x E/BV
=PE x ROE
จะเห็นว่าคนที่มอง PV จะมองแยกเป็นสองส่วนคือ

1.คุณภาพของบริษัท 


ว่าบริษัทนั้นสามารถทำกำไรกลับมาให้ผู้ถือหุ้นเท่าไร ดูจาก ROE จาก Dupont system อัตราส่วน ROE สามารถแยกส่วนประกอบ ออกได้เป็น อัตรากำไรสุทธิ (NPM) อัตราหมุนเวียนสินทรัพย์ (Asset turnover : AT) และ Financial leverage หรือ สินทรัพย์รวม(TA)/ส่วนของผู้ถือหุ้น(TE)
=PE x NPM x AT x (TA/TE)
=PE x NPM x AT x ((Debt+TE)/TE)
=PE x NPM x AT x (DE ratio + 1)...(1)

2.การให้ค่าของตลาด


 หุ้นแต่ละตัวตลาดให้ค่าไม่เท่ากัน ยิ่งตลาดชอบใจ เป็นกระแสนิยมตลาดก็ให้ค่าสูง ดูได้จากอัตราส่วน PE ว่าในปัจจุบันราคาเทรดเป็นกี่เท่าของกำไร ยิ่ง PE สูงแปลว่าตลาดให้ค่ามากๆ

จากองค์ประกอบทั้งสองส่วนหลัก สามารถแย่งเป็นปัจจัยที่มากระทบได้ดัังนี้ ส่วนใครเกลียดสมการคณิตสาสตร์ ก็อ่านข้ามมาตรงส่วนอธิยายได้เลย

1.ความสามารภในการทำกำไร


จากงบกำไรขาดทุนเรารู้ว่า
กำไรสุทธิ = กำไรขั้นต้น - ค่าใช้จ่ายขายและบริหาร - ดอกเบี้ยภาษี
ดังนั้นอัตรากำไรสุทธิ (NPM) เท่ากับ
NPM = กำไรสุทธิ / รายได้ (กำไรขั้นต้น - ค่าใช้จ่ายขายและบริหาร - ดอกเบี้ยภาษี)/รายได้
กระจายรายได้เข้าไปในวงเล็บจะได้
GPM - %ค่าใช้จ่ายขายและบริหารต่อรายได้ -%ดอกเบี้ยและภาษีต่อรายได้
โดยที่ GPM คืออัตรากำไรขั้นต้น

แทนค่าเข้าไปในสมการที่ 1 ให้งงเล่นจะได้
PBV = PE x (GPM- %ค่าใช้จ่ายขายและบริหารต่อรายได้ -%ดอกเบี้ยและภาษีต่อรายได้ ) x asset turnover x (1+de)........(2)

แสดงว่าบริษัทที่มีอัตรากำไรขั้นต้นสูงๆ และคุมค่าใช้จ่ายให้เป็นสัดส่วนคงที่จะทำให้อัตรากำไรสูง และส่งผลให้อัตรากำไรขั้นต้นสูงขึ้น

บริษัทที่อัตราขั้นต้นสม่ำเสมอได้ ต้องมีความสามารถในการแข่งขั้นระดับหนึ่ง ตลาดไม่แข่งกันลดราคา ไม่ผลิตหรือขายสินค้าที่เป็น Commodity เพราะราคาขายจะขึ้นๆลงๆตามตลาด สินค้าพวกแฟชั่นก็ต้องระวังเพราะถ้าจัดการสต็อกไม่ดี อาจต้องมาขายเลหลังราคาถูกๆ หรือต้องตั้งสำรองขาดทุนสินค้าคงเหลือทำให้อัตรากำไรขั้นต้นต่ำลงอีก

บริษัทที่มีอัตราดอกเบี้ยต่อรายได้คงที่ แสดงว่ารายได้เพิ่มขึ้น และดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นในสัดส่วนเดียวกัน แสดงว่าบริษัทนี้ต้องมีอัตราส่วนหนี้ต่อทุนที่ค่อนข้างคงที่ คือมีกำไรทำให้ทุนเพิ่มก็กู้เงินมาเพิ่มในสัดส่วนเดียวกัน เอาเงินไปลงทุนแล้วสร้างรายได้เพิ่มทันดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น

สรุปง่ายๆว่าถ้าอ่านงบแล้วเห็นว่าอัตรากำไรสม่ำเสมอก็แปลว่าตลาดชอบ ให้มูลค่าสูง

2.ความสามารถในการสร้างเงินสด


บริษัทที่มีสินทรัพย์ที่สร้างกระแสเงินสดออกาสม่ำเสมอ ไม่ใช่ซื้อมากองๆไว้ไม่ใช้งานตลาดไม่ชอบ
จาก
asset turnover = ยอดขาย / สินทรัพย์
ให้
สินทรัพย์ = เงินสด + ลูกหนี้ + สินค้าคงเหลือ + ที่ดินอาคารอุปกรณ์
ดังนั้น
asset turnover = ยอดขาย / (เงินสด + ลูกหนี้ + สินค้าคงเหลือ + ที่ดินอาคารอุปกรณ์)
= 1 / (เงินสด + ลูกหนี้ + สินค้าคงเหลือ + ที่ดินอาคารอุปกรณ์)/ยอดขาย
= 1/(เงินสด/ยอดขาย + ลูกหนี้/ยอดขาย + สินค้าคงเหลือ/ยอดขาย + ที่ดินอาคารอุปกรณ์/ยอดขาย)
ให้

  • อัตราหมุนเวียนลูกหนีี้การค้า = ยอดขาย/ลูกหนี้การค้า
  • อัตราหมุนเวียนสินค้าคงเหลือ = ต้นทุนขาย/สินค้าคงเหลือ
    = (ยอดขาย x (1-GPM)) / สินค้าคงเหลือ
    ดังนั้น ยอดขาย / สินค้าคงเหลือ
    = ((ยอดขาย x (1-GPM)) / สินค้าคงเหลือ) x (1/(1-GPM))
    = อัตราหมุนเวียนสินค้าคงเหลือ x (1/(1-GPM))
  • อัตราหมุนเวียนสินทรัพย์ถาวร = ยอดขาย/ที่ดินอาคารอุปกรณ์

=1/ (เงินสด/ยอดขาย) + (1/อัตราหมุนเวียนลูกหนี้การค้า) + ((1-GPM)/อัตราหมุนเวียนสินค้าคงเหลือ) + (1/อัตราหมุนเวียนสินทรัพย์ถาวร)
ดังนั้น

แทนค่าเข้าไปในสมการที่ 2 ให้งงเล่นจะได้
PBV = PE x (GPM- %ค่าใช้จ่ายขายและบริหารต่อรายได้ -%ดอกเบี้ยและภาษีต่อรายได้ ) x (1/ (เงินสด/ยอดขาย) + (1/อัตราหมุนเวียนลูกหนี้การค้า) + ((1-GPM)/อัตราหมุนเวียนสินค้าคงเหลือ) + (1/อัตราหมุนเวียนสินทรัพย์ถาวร)) x (1+de)........(3)

จากสมการแสดงว่า บริษัทที่มี PBV สูงๆ สินทรัพย์จะต้องถูกใช้งานทั้งหมด ไม่มีสินทรัพย์ไหนที่กองๆไว้โดยไม่ใช้ประโยชน์ ตั้งแต่ลูกหนี้ต้องเก็บเงินได้ไม่มีลูกหนี้ค้างจนทำให้ระยะเวลาเก็บหนี้สูงขึ้น

สินค้าคงเหลือต้องขายออกไม่ค้างสต็อกโดยสินค้าพวกแฟชั่น หรือสินค้าเทคโนโลยีก็ต้องระวังเพราะถ้าจัดการสต็อกไม่ดี อาจต้องมาขายเลหลังราคาถูกๆ หรือต้องตั้งสำรองขาดทุนสินค้าคงเหลือทำให้อัตรากำไรขั้นต้นต่ำลงอีก

ส่วนอัตราหมุนเวียนสินทรัพย์ถาวร สูงๆดีแปลว่าสินทรัพย์ที่ลงทุนไปสร้างรายได้ได้เยอะ ถ้าเทียบกันบริษัทที่มีอัตราหมุนเวียนสินทรัพย์ถาวรสูงๆ ถ้าต้องการเพิ่มยอดขายเท่ากันเวลาลงทุนจะใช้เงินน้อยกว่า เมื่อใช้เงินน้อยกว่าก็แปลว่่าค่าเสื่อม ค่าดำเนินงานต่างๆก็จะต่ำกว่า จุดคุ้มทุนก็จะต่ำกว่าบริษัทที่อัตราหมุนเวียนสินทรัพย์ถาวรต่ำๆ โดยเปรียบเทียบ

3.เรื่องของหนี้สิน


จากสมการที่ 1 =PE x NPM x AT x (DE ratio + 1)...(1)
จะเห็นว่า บริษัทที่ DE สูงๆ ทำให้ ROE สูง และตลาดจะให้ค่า PBV ของหุ้นตัวนั้นสูงขึ้น เพราะเหมือนรวยด้วยเงินคนอื่น แต่ข้อควรระวังคือถ้าเพิ่มหนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ บริษัทก็จะมีความเสี่ยงที่จะล้มละลายสูงขึ้นเนื่องจาก ดอกเบี้ยจ่ายสูง และบริษัทไม่สามารถสร้างกำไรจากการดำเนินงานมาเลี้ยงดอกเบี้ยได้ทัน แล้วก็เจ้งไป

ยิ่งบริษัทหนี้สินเยอะๆ ความเสี่ยงบริษัทก็ยิ่งสูง ค่า beta หรือความผันผวนของราคาก็ยิ่งเยอะ ไปกระทบทำให้บริษัทเทรดใน PE ที่ต่ำลง PBV ก็ต่ำลงด้วย

4.PE ratio กับ PBV


หุ้น PE สูงแปลว่าตลาดให้ค่ากับบริษัทนั้นมาก เมื่อลองแยกองค์ประกอบจะพบว่า
จาก ทฤษฎีการประเมินมูลค่าด้วยการคิดลดกระแสเงินสด (Dividend discount model)
P = เงินปันผล/(k-g)

  • K คือผลตอบแทนที่คาดหวัง
  • g คือการเติบโต

P = (อัตราปันผลจากกำไรxกำไร)/(k-g)
P/กำไร = อัตราปันผลจากกำไร/(k-g)
ดังนั้น
pe = อัตราปันผลจากกำไร / (k-g)

แทนค่าเข้าไปในสมการที่สามให้งงเล่น เพิ่มเติม

PBV = (อัตราปันผลจากกำไร / (k-g)) x (GPM- %ค่าใช้จ่ายขายและบริหารต่อรายได้ -%ดอกเบี้ยและภาษีต่อรายได้ ) x (1/ (เงินสด/ยอดขาย) + (1/อัตราหมุนเวียนลูกหนี้การค้า) + ((1-GPM)/อัตราหมุนเวียนสินค้าคงเหลือ) + (1/อัตราหมุนเวียนสินทรัพย์ถาวร)) x (1+de)........(4)

บริษัทที่ตลาดให้ค่า PE สูงๆ ค่า PBV ก็จะสูงด้วยโดยปัจจัยที่ทำให้ PE สูงประกอบด้วย

บริษัทจ่ายปันผลจากกำไรได้เยอะๆ บริษัทที่จะสามารถจ่ายปันผลจากกำไรได้สูงและสม่ำเสมอจะต้อง มีกำไรสม่ำเสมอ และมีคุณภาพกำไรคือ กำไรสุทธิในงบกำไรขาดทุนใกล้เคียงกับ เงินสดจากการดำเนินงาน (CFO) และบริษัทไม่ต้องมีโครงการลงทุน CAPEX มาก และรักษาระดับหนี้สินให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ก็จะมีเงินเหลือมาจ่ายปันผลได้เยอะ และเสม่ำเสมอ

การเติบโต บริษัทที่เติบโตสูง PE ก็จะสูง แต่ก็ต้องคอยดูบ่อยๆว่ายังโตได้แค่ไหน ตอนนี้อยู่ช่วงไหนของอุตสาหกรรมแล้ว กำลังโตช้าลงหรือเปล่า อยู่ที่ vision ของนักลงทุน และความสามารถในการจัดการของผู้บริหาร

ผลตอบแทนที่คาดหวัง k ถ้าลงทถนแล้วให้ผลตอบแทนน้อยกว่า k ก็ไม่ลงทุนอยู่บ้านนอนเกาพุงดีกว่า ให้ k = riskfree + reskpremium risk free คือผลตอบแทนที่ปราศจากความเสี่ยงมองเป็นผลตอบแทนขั้นต่ำคือ พัธบัตรรัฐบาท 1 ปีเป็นฐาน และบวกด้วย ความเสี่ยงส่วนเพิ่มเข้าไปเพราะเล่นหุ้นมันเสี่ยงกว่าซื้อพันธบัตรรัฐบาลอยู่แล้ว

risk premium ที่บวกเพิ่ม อาจมาจาก ค่าเบต้า (beta) เป็นความผันผวนของราคาหุ้นเทียบกับ set หรือ อุตสาหกรรม ก็ว่ากันไป และยิ่ง บริษัทเติบโตสูง หรือมีหนี้มาก ๆ ความเสี่ยงก็ยิ่งเพิ่ม risk premium ก็ยิ่งเพิ่ม ทำให้ k เพิ่ม และ PE ก็จะต่ำลง พา PBV ต่ำลงไปด้วย

สรุปว่าบริษัทที่ ดูดี งบสวย มีอนาคตไกลเติบโตดี มูลค่ากิจการจะดี จบ

วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2558

หลักคิดเรื่องกำไรขาดทุนของภาครัฐ

โครงการนี้ทำไปทำไมทำแล้วก็ขาดทุนทำรัฐเสียหาย มาดูกันว่านักเศรษฐศาสตร์มีแนวคิดเรื่องกำไรขาดทุนของภาครัฐอย่างไร ต่างกับ นักรัฐศาสตร์ และนักกฎหมายอย่างไร

ในทางเศรษฐศาสตร์รัฐมีหน้าที่ "จัดสรรสินค้าสาธรณะ" ซึ่งเป็นสินค้าที่ไม่สามารถจัดสรรผ่านระบบตลาด เนื่องจาก แบ่งแยกไม่ได้ กีดกันชาวบ้านมาใช้ไม่ได้ เอกชนลงทุนไปก็ไม่คุ้ม แต่สังคมต้องใช้ เช่นถนน ปะปา การป้องกันประเทศ นโยบายต่างประเทศ ฯลฯ

มองทางการเงิน
ที่ใช้ไปของเงิน = ที่มาของเงิน
การใช้จ่ายภาครัฐ = หนี้สาธารณะ+ภาษี

ในมุมมองภาครัฐไม่มองกำไรขาดทุนเหมือนเอกชน ที่มองว่า
กำไร =รายได้-รายจ่าย
แต่มองที่ อรรถประโยชน์ของสังคม
อรรถประโยชน์ของสังคม =รายได้-รายจ่าย+social cost+social benefit

โครงการรัฐเกือบทุกโครงการเจ้งขาดทุนเช่น ทำถนน ไม่เคยเก็บเงินคนใช้งาน แต่การมีถนนทำให้การขนส่งดีขึ้น เร็วขึ้น ความเจริญเข้าถึง ฯลฯ รวมๆแล้ว อรรถประโยชน์ของสังคมดีขึ้น แม้จะทำแล้วขาดทุนก็ตาม

ส่วนตัวเห็นหลายคนชอบวิจารณ์ว่าโครงการนู้นนี้นั้นรัฐเสียหายเปลืองงบ เพราะเราไม่ได้ประโยชน์จากโครงการนั้นทางตรง ได้แบบอ้อมๆก็เป็นได้ อันไหนได้ประโยชน์ตรงๆก็สนับสนุนเย้วๆอยู่

ส่วนเรืองโกงนี่เสียหายจริงเพราะทำให้อรรถประโยชนสังคมลดลง ดังนั้นการบิจารยนโยบายรัฐควรแยกกัน ระหว่างโกงก็ว่าตาม กฎหมาย ส่วนผลกระทบนโยบายว่าตามเศรษฐศาสตร์

สรุปคือในมุมมองนักเศรฐศาสตร์ ไม่มองแค่กำไรขาดทุนเพราะทำโครงการอะไรรัฐเสียหายหมดละ แต่ดูว่าทำแล้วอรรถประโยชน์สังคมดีขึ้นหรือไม่

วันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2558

6 จุดสำคัญดูงบกระแสเงินสดและการเชีอมโยงกับกระแสเงินสดอิสระ (Free cashflow)



การอ่านงบกระแสเงิสดช่วยให้เข้าใจที่มาที่ไปของเงินในกิจการว่า มาจากไหนและถูกใช้ไปที่ใหนบ้าง หลายคนอ่านแล้วก็งงๆ สับสนกับชีวิต อะไรก็ไม่รู้บวกๆลบๆ เต็มไปหมด บทความนี้ก็เป็นการเล่าที่มาถึงแก่นว่างบกระแสเงินสดมีที่มาจากอะไร เพื่อให้ทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น

ความสัมพันธ์ระหว่างงบกระแสเงินสดและ Discount Cash Flow

ในการประเมินมูลค่ากิจการ วิธีการประเมินมูลค่าด้วยการคิดลดกระแสเงินสดหรือ  Discount Cash Flow
เป็นวิธีที่ดูดีในเชิงทฤษฎี แต่ยากในเชิงปฎิบัติ เพราะตัวแปรเยอะมึนไปหมด

  • มูลค่ากิจการ = กระแสเงินสดอิสระ / ต้นทุนเงินทุนเฉลี่ย (WACC) - g
  • กระแสเงินสดอิสระ = EBIT + DA - การเปลี่ยนแปลงในเงินทุนหมุนเวียน(Net Working Capital) -ภาษี - เงินลงทุนในสินทรัพย์ฐาวร (CAPital EXpenditure CAPEX)
  • wacc คือต้นทุนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของเงินทุน ระหว่างเงินกู้และเงินทุน
เวลาประมาณการก็ใช้ตัวเลขจากงบการเงินมาปรับให้เข้ากับแนวคิดทางการเงินซึ่งมันไม่ค่อยลงรอยๆกันเท่าไร เลยออกมาเป็นงบกระแสเงินสด โดยจะแบ่งเป็น 6 จุดหลักๆ ดังนี้

1.EBIT


บรรทัดแรกของงบกระแสเงินสด จะยก EBIT เป็นตัวตั้ง บางบริษัทก็ยกกำไรสุทธ์ บางบริษัทก็ ยกกำไรก่อนภาษีเข้ามา สรุปจะเอาอะไรมาก็คือบรรทัดแรกที่เป็นตัวตั้งนั่นและ

2.EBITDA


ในตำราเรียนงบการเงินมันไม่มีตัวปรับปรุงทางบัญชีที่เป็นรายได้หรือรายจ่ายอะไรที่ไม่ใช่เงินสดนอกจากค่าเสื่อม ดังนั้นแค่เอา EBIT + ค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่าย (DA) ก็ได้ EBITDA หรือเงินสดจากการดำเนินงานก่อน การเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์และหนี้สินดำเนินงานแล้ว (NWC) แต่จริงๆ แล้ว สินทรัพย์หรือหนี้สินทุกตัว สามารถตั้งด้อยค่า หรือตีค่าเพิ่มได้หมด ดังนั้นทำให้งบกำไรขาดทุนมีรายการปรับปรุงทางบัญชีมากกว่าแค่ ค่าเสื่อม นักบัญชีเลยทำง่ายๆ โดย
  • รายได้ที่ไม่เป็นเงินสด ที่เกิดจากมูลค่าสินทรัพย์เพิ่มขึ้นหรือหนี้สินลดลง นำมาหักออก
  • รายจ่ายที่ไม่เป็นเงินสด ที่เกิดจากมูลค่าสินทรัพย์ลดลงหรือหนี้สินเพิ่มขึ้น นำมาบวกกลับ

บริษัทที่ดีๆ รายการปรับปรุงทางบัญชีเหล่านี้ควรยอดน้อยๆ ทำให้การวิเคราะห์อัตรา กำไรขั้นต้น EBIT และอัตรากำไรสุทธิ น่่าเชื่อถือขึ้น

ACC


รายการปรับปรุงทางบัญชีของ ACC
กดที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่

ตัวอย่างรายการปรับปรุงทางบัญชีของ ACC  บริษัท แอ็ดวานซ์ คอนเนคชั่นคอร์เปอเรชั่นจากด (มหาชน) (ADVANCED CONNECTION CORPORATION PUBLIC COMPANY LIMITED) หรือ CEI เก่า แปลงร่างมา

ส่วนที่ทำไฮไลท์เหลืองๆไว้จะเป็น รายจ่ายที่ไม่ใช่เงินสด ก็เอามาบวกกลับ จะเห็นว่าจากขาดทุนทางบัญชี 135 ล้าน เหลือกำไรที่เป็นเงินสดๆ อยู่ 13 ล้าน

THAI


งบกระแสเงินสดของ THAI Q1 2560
ตัวอย่างของงบการเงิน THAI ในไตรมาส 1 2560จะเห็นว่ามีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ 1700 ล้าน ในขณะที่สินทรัพย์ด้อยค่าเป็นรายจ่าย ทั้งการด้อยค่าสินทรัพย์ถาวร สินทรัพย์อื่น ที่เห็นเป็นค่าบวก แสดงว่าเป็นรายจ่ายในงบกระแสเงินสด

3.การเปลี่ยนแปลงในเงินทุนหมุนเวียน Net Working Capital


การเปลี่ยนแปลงในเงินทุนหมุนเวียน Net Working Capital ก็คือ การเปลี่ยนแปลงใน สินทรัพย์หมุนเวียน และหนี้สินหมุนเวียน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับ การดำเนินงาน ยอดขายเพิ่ม ลูกหนี้ สินค้าคงเหลือ เจ้าหนี้การค้าก็จะเพิ่ม แต่ ในทางปฎิบัต สินทรัพย์และหนี้หมุนมีมากกว่่า 3 ตัวหลักนี้ ก็นำมารวมด้วย แต่ส่วนใหญ่ค่าจะไม่มาก

ACC


การเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์และหนี้สินดำเนินงานของ ACC
กดที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่

ACC เงินสดหายไปกับ (ค่าลบ) ลูกหนี้การค้า  สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น เจ้าหนี้การค้า

การดูว่าการเปลี่ยนแปลงของสินทรัพย์และหนี้สินดำเนินงานเป็นปกติหรือไม่ให้ดูที่ อัตราส่วนทางการเงิน วงจรเงินสด ถ้าวงจรเงินสดยังปกติแสดงว่า การเปลี่ยนแปลงในงบกระแสเงินสดเป็นปกติ


จากงบผมว่าไม่ค่อยปกติเท่าไรเพราะ ระยะเวลาเก็บหนี้ ขายสินค้า และชำระเจ้าหนี้ลดลงหมด แสดงว่าเหมือนไม่ค่อยอยากทำธุรกิจเดิมเท่าไร ล้างบางธุรกิจเก่าไปเรื่อย

THAI


การเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์และหนี้สินของ THAI

กรณีศึกษาหุ้น THAI เงินได้มาจากหนี้สินก็นำไปจมกับสินทรัพย์ ส่วนใหญ่จมกับลูกหนี้การค้า

4.หักภาษีได้ เงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน CFO


เอาตัวเลขจากข้อ 3 มาหัก ภาษีก็จะได้ CFO หรือเงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน บางบริษัทจะเอาดอกเบี้ยมาหักตรงนี้ด้วยก็ได้ มาตรฐานบัญชีไมได้ห้าม

การวิเคราะห์ส่วนใหญ่จะเอาไปเปรียบเทียบกับงบกำไรขาดทุน บริษัททีดี ควรมี CFO กับกำไรสุทธิทางบัญชีใกล้เคียงกัน

ACC


CFO ของ ACC

จาก CFO ของ ACC จะเห็นว่าในปี 2558 ACC ทำมาหากิน แล้วไม่มีเงินจากการดำเนินงาน เงินออกไป 43 ล้านบาท

THAI


CFO ของ THAI


5.เงินสดสุทธิจากกิจกรรมลงทุน CFI


เงินสดสุทธิจากกิจกรรมลงทุน CFI จะแสดงเงินที่ลงทุนกับสินทรัพยไม่หมุนเวียน ส่วนใหญ่ลงทุนเพื่อสร้างอนาคตการเติบโตของบริษัท หรือซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ

CAPEX ไม่ใช่ CFI ทั้งจำนวน ให้เราพยายามดู เงินลงทุนที่สามารถเอาไปสร้างรายได้ให้กิจการในอนาคต อย่างในปี 2557 เงินที่เอาไปซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน (คุ้มขันโตก) ทีี่มองเป็น CAPEX เพราะตอนนี้แทบจะเป็นรายได้หลักของกิจการ

ถ้าจะใช้ตัวเลขนี้ในการประมาณ FCF ต้องดูว่ารายการนี้จะเป็นการลงทุนปกติที่ต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปีหรือไม่ ถ้าไม่ก็ไม่ควรนำรายการนี้มาใช้เพราะบริษัทไม่ได้ลงทุนรายการนี้ทุกปีจะเห็นว่า ในปี 2558 ก็ลงทุนซื้อที่อสังหาเพื่อการลงทุนเพียง 11 ล้าน

ส่วนเงินลงทุนใน เงินลงทุนชั่วคราว เป็นการหมุนเงินเพื่อบริหารเงินเท่านั้น ไม่ได้ทำทุกปี

การวิเคราะห์ บริษัทที่ดีควรมีการลงทุนใน CAPEX ทุกปีและ ROE ROA ควรสม่ำเสมอ ทุกปีแปลว่าลงทุนแล้วคุ้มทำให้ผลประกอบการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง

เพราะถ้าลงทุนแล้วไม่สามารถสร้างรายได้ได้คุ้มค่าเสื่อมค่าดำเนินงานที่เพิ่มขึ้น หรืออุตสาหกรรมเริ่มอิ่มตัว ยิ่งขยายการลงทุนกำไรยิ่งโตช้าลง สิ่งที่เห็นในงบคือมีการลงทุนเพิ่มขึ้นทุกปี แต่ ROA ROE ค่อยๆลดลง

ACC



CFI ของ ACC

จะเห็นว่า ACC ไม่ค่อยได้ลงทุนอะไรเท่าไร ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในบริษัร่วม ต้องไปตามว่าลงทุนอะไร แต่ต่อนนี้ปี 2560 แล้วก็ยังไม่เห็นอะไรงอกงามเท่าไรตามต่อไปครับ

THAI



มาดูของหุ้น THAI ไตรมาส 1 ยังไม่เห็นการลงทุนอะไรมากมาย ซื้อที่ดินอาคารอุปกรณ์ไป 700 ล้าน เมื่อนไปเทียบกับค่าเสื่อมราคาที่ยอด 4000 กว่าล้าน ถือว่าในไตรมาสนี้ลงทุนไปน้อยมาก

6.เงินสดสุทธิจากกิจกรรมจัดหาเงิน CFF


เงินสดสุทธิจากกิจกรรมจัดหาเงิน จะแสดงการเปลี่ยนแปลงในหนี้ และทุน บริษัทที่ดีควรมีโครงสร้างหนี้และทุที่เหมาะสม หนี้น้อยไปคนก็ว่าโง่ เพราะไม่รู้จักรวยได้เงินคนอื่น แต่ถ้าหนี้มากเกินไป ต้นทุนทาการเงินก็สูง ดอกเบี้ยเยอะ กำไรลดลงลงอีก แถมมีความเสี่ยงที่จะล้มละลายสูงขึ้นด้วย

ACC



CFF ของ ACC
จะเห็นว่า เงินสดสุทธิจากกิจกรรมจัดหาเงินของ ACC มีเงินเข้าแค่ทางเดียวคือ จากการเพิ่มทุนมาก 216 ล้านบาทไม่มีหนี้สิน

THAI

CFF ของ THAI

จะเห็นว่ากระแสเงินสดจัดหาเงินของ THAI ส่วนใหญ่ใช้กับการคืนหนี้และดอกเบี้ย จะเห็นว่า CFO 7000 กว่าล้าน จ่ายหนี้จ่ายดอกเบี้ยไป 6000 ล้านก็เงินหมดละ

ภาพรวม ของกระแสเงินสด
กดที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่

สรุป การอ่านงบกระแสเงินสด ก็เหมือนเป็นการดูกระแสเงินสดอิสระของกิจการว่าในปีนั้น บริษัทสามารถสร้างเงินสดมาได้เท่าไร เราสามารถใช้งบกระแสเงินสดเป็นสมมติฐานตั้งต้นของการประเมินกระแสเงินสดอิสระได้ โดยเลือกตัวเลขที่ดูว่าเป็นกิจกรรมปกติของธุรกิจ ส่วนรายการที่ดูแล้วไม่ใช่กิจกรรมปกติมาแค่ครั้งเดียวก็ไม่ควรนำเข้ามาในสมมติฐาน



☀หลักสูตรวิเคราะห์หุ้นด้วยปัจจัยพื้นฐาน☀


✅เจาะลึกหุ้นอย่างเซียน เห็นผลจริง100% สไตร์ อ.ภัทร
✅Workshop !! ทำจริง เห็นผลจริง พิสูจน์ได้
✅เรียนคลาสเล็ก ถามได้ทุกคำถามคาใจ

☀เรียนแล้วได้อะไร☀


✅10 จุุดสำคัญอ่านงบการเงิน วิเคราะห์ธุรกิจไม่เสียเวลา
✅ปัจจัยเร่ง ให้หุ้นวิ่ง และสัญญาณยืนยันในงบการเงิน
✅ประมาณราคาเหมาะสม เห็นเป้าราคาหุ้นตั้งแต่วันที่ซื้อ
✅เคล็ดลับสแกนหุ้น ถูก ดี กำไรโต

🔈สอนโดย อ ภัทรธร ช่อวิชิต
นักลงทุนอิสระ เจ้าของผลงานหนังสือ คุ้ยแคะแกะหุ้นเด้ง และเจาะหุ้นร้อนสแกนหุ้นเด้ง

=======================================

🔈รายละเอียดหลักสูตร วันเวลา

www.investidea.in.th/p/value-investor.html

=======================================

☎ติดต่อสอบถามและลงทะเบียน (รับจำนวนจำกัด)

มือถือ: 0865035023

ข้อความ; www.facebook.com/messages/investidea.in.th/

line id; pat4310

=======================================

☀เนื้อหาหลักสูตร☀


✅แหล่งข้อมูลการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน งบการเงิน คำอธิบายงบ ตัวเลขเศรษฐกิจ
✅วิเคราะห์ ปัจจัยเชิงคุณภาพ ผลกระทบต่องบการเงิน และแนวโน้มราคา
✅โครงสร้างงบดุล และลักษณะธุรกิจ จุดสำคัญที่ต้องดูในงบการเงิน
✅งบกำไรขาดทุน ลักษณะงบการเงินที่ดี
✅งบกระแสเงินสด และความสัมพันธ์กับวงจรธุรกิจ
✅การค้นปัญหาธุรกิจใน 1 นาที ด้วยอัตราส่วนทางการเงิน
✅ปัจจัยทางการเงินที่มีผลต่อทิศทางราคาหุ้น
✅การประเมินมูลค่าหุ้นด้วย PE ratio เทคนิคการใช้งานกับแต่ละอุตสาหกรรม
✅ดูความเห็นของนักลงทุนส่วนใหญ่ผ่านการเคลื่อนไหวของราคา

=======================================

☎ติดต่อสอบถามและลงทะเบียน (รับจำนวนจำกัด)

มือถือ: 0865035023

ข้อความ; www.facebook.com/messages/investidea.in.th/

line id; pat4310