วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2559

ส่องงบหุ้นสายการบิน AAV BA NOK THAI 2/2559 ใครจะอยู่ใครจะไป


เขาว่าธุรกิจการบินเป็นธุรกิจที่มีการเติบโตสูงจากตัวเลขนักท่องเที่ยวที่นิยมเข้ามาเที่ยวในประเทศไทย ธุรกิจสายการบินมันต้องได้ประโยชน์บ้างละน่า ฟังเขาว่ามาแล้วก็ลองมาส่องงบการเงินดูซะหน่อยว่า ใครดีใครด้อยครงไหน
จำนวนตัวเลขนักท่องเที่ยว

ความอยู่รอด



ความอยู่รอด
ยกแรกมาดูกันที่ความอยู่รอด ใครมีหนี้มากๆและความสามารถในการชำระหนี้ต่ำๆ จะมีความเสี่ยงทางการเงินสูง หุ้นจะไม่ค่อยไปไหน

ถ้าเรียงตาม DE ratio จะเห็นว่า THAI มีหนี้ที่มีดอกเบี้ยต่อทุนมากสุดที่ 4.96 เท่า AAV BA พอๆกันที่ 0.4 กว่าๆ NOK ไม่มีหนี้เลย และหนี้ส่วนใหญ่จะเป็นหนี้ระยะยาวดูจากสัดส่วนหนี้สัดต่อหนี้รวมที่ต่ำก็ถือว่าจัดโครงสร้างหนี้ได้เหมาะสม เพราะเครื่องบินอายุการใช้งานยาวก็ควรกู้ยาวมาใช้

ดูที่ความสามารถในการชำระหนี้กันบ้าง AAV ความสามารถในการชำระหนี้สูงสุด Interest coverage สูงสุดที่ 7.31 เท่า รองลงมาเป็น BA ส่วน THAI NOK เสี่ยวหน่อยเพราะงบขาดทุน

แต่ถ้าดูว่ากระแสเงินสดพอจ่ายดอกไหมจากอัตราส่วน Modified interest coverage ที่เอากระแสเงินสดจากการดำเนินงานก่อนจ่ายดอกเบี้ยเทียบกับดอกเบี้ยจ่ายยังมีค่าเป็นบวกอยู่แสดงว่ายังพอจ่ายไหว

และหลังจากจ่ายดอกเบี้ยดู Payback Period AAV ดีสุด 2.41 ปีจ่ายหมด รองลงมาเป็น BA และยาวสุดคือ THAI ที่ 6.18 ปี AAV จ่ายหนี้หมดไวกว่าก็แสดงว่าขยายกิจการได้ไวว่า BA

ตอนแรกว่า THAI น่าเป็นห่วงแต่ยงมีเงินสดจากการดำเนินงานมาช่วยทำให้จ่ายได้ทั้ง เงินต้นและดอกเบี้ย ดูแล้วปัญหาที่สุดคือ NOK ถึงหนี้น้อยแต่กระแสเงินสดจากการดำเนินงานติบลบสภาพคล่องจะไม่ค่อยดีเท่าไร

การสร้างเงินสด


การสร้างเงินสด 

มาดูการจัดการภายในกันบ้าง ว่าใครนำสินทรัพย์ไปสร้างรายได้ได้ดีกว่ากัน จากอัตราส่วนหมุนเวียนสินทรัพย์ (Asset turnover) คนที่นำสินทรัพย์ไปสร้างรายได้ได้มากที่สุดคือ NOK เนื่องจากส่วนใหญ่เครื่องบินไม่ค่อยมีเป็นของตัวเอง ถ้าไปดูในงบการเงินที่ดินอาคารอุปกรณ์น้อยมากส่วนใหญ่เป็นเงินสดและเงินลงทุน รองลงมาเป็น THA AAV ถัดมาเป็น BA

ถ้าเทียบผลตอบแทนในรูปเงินสด BA สูงสุดที่ 27% รองลงมาเป็น NOK ถัดมาเป็น AAV และสุดท้ายคือ THAI จะเห็น ว่าสินทรัพย์ของ AAV THAI ไม่ได้แย่สร้างรายได้ได้พอๆกันแต่จุดตางคือ ผลตอบแทนในรูปเงินสดที่สินทรัพย์สร้างได้ AAV สูงกว่า THAI มาก แต่ก็ยังน้อยกว่าพวกเช่าเครื่องบินเช่น BA NOK

กำไรทำกำไร

การทำกำไร
มาดูการทำกำไรกันบ้าง ในด้านการเติบโตของรายได้เมื่อเทียบปีนี้กับปีที่แล้ว YoY ก็เติบโตดี NOK โตสุดรองลงมาเป็น AAV ถัดมาเป็น BA และท้ายสุด THAI แต่ถ้าดูแบบ QoQจะลดลงเพราะเป็นช่วง low season ของภาคท่องเที่ยว

รายได้โตยังไม่สำคัญเท่ากำไรโต คนที่รายได้โตสุดมีสองเจ้าคือ AAV กับ THAI เติบโตเมื่อเที่ยบแบบ YoY ถึงเท่าตัวเลยทีเดียว

สำหรับอัตรากำไรขั้นต้น BA THAI พอๆกันที่ 18% กว่า AAV เป็น lowcost ต่ำหน่อยที่ 15% NOK ไม่ต้องพูดถึงขาดทุนตั้งแต่กำไรขั้นต้นกันเลยทีเดียว

มาดูด้านการจัดการค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ฺBA สูงสุดที่ 17% ของยอดขาย รองลงมาคือ AAV ต่ำสุดคือ THAI ถ้าคิดเฉพาะกำไรจากการดำเนินงาน BA ต่ำมาก เพราะ กำไรขั้นต้น 18% โดนค่าใช้จ่ายขายและบริหารไปอี17% เหลือจริงๆไม่เท่าไรเอง

มาดูกันที่ EBIT margin BA กลายเป็นสูงสุดที่ 14% เนื่องจากมีรายได้จากกองทุนสนามบินที่เขาไปถือหุ้นมารวมอยู่ด้วย และส่วนหนึ่งที่ไปถือหุ้น BDMS อยู่ 6% พอได้ปันผลก็บันทึกเข้ามารวมเป็นรายได้อื่นด้วย AAV มี EBIT ที่ 10% ใช้ได้อยู่

ส่วนอัตรากำไรสุทธิ BA ไปโดนค่าใช้จ่ายพิเศษจากภาษีที่มาเป็นรายจ่ายครั้งเดียวทำให้อัตรากำไรในไตรมาศต่ำผิดปกติ

ในแง่ของคุณภาพกำไร BA AAV ค่าใกล้ๆ 1 แสดงว่าเงินสดจากการดำเนินงานใกล้เคียงกับกำไรสุทธิ ส่วน THAI กระแสเงินสดล้ำกำไรสุทธิไปกว่า 9 เท่า แสดงว่า กำไรที่เห็นโดนค่าใช้จ่ายที่ไม่เป็นเงินสดกินไปเยอะเงินสดล้นบริษัทแต่ไม่สามารถปันผลออกไปได้

UPDATE งบการเงินไตรมาส 1 2017

งบการเงิน AAV

งบ AAV ผ่านไป 1 ปี ด้านโครงสร้างเงินทุนก็ปกติ สัดส่วนของหนี้กับทุนใกล้ๆเดิมไม่น่ากลัวอะไร สินทรัพย์ส่วนใหญ่เป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน หนี้ส่วนใหญ่ก็เป็นหนี้ไม่หมุนเวียน

ด้านการใช้สินทรัพย์ สินทรัพย์โต รายได้โตปกติดี

การทำกำไร รายได้โตกำไรโต แต่จะเห็นว่าอัตรากำไรขั้นต้นขึ้นๆลงๆตามราคาน้ำมัน ในไจรมาส สี่ ปี 2559 โดนเรื่องทัวร์จีน ไตรมาส 1 โดนเรื่องราคาน้ำมันเป็นขาขึ้น และการเพิ่มภาษีน้ำมัน

งบการเงิน BA
งบคล้าย AAV คำอธิบายเดียวกันแต่เปลี่ยนชื่น

งบ NOK

NOK นี่ชีวิตบัตซบมาก รายได้โต แต่งบขาดทุนกระจุยกระจาย ในไตรมาส 1 รายได้เพิ่ม อัตรากำไรขั้นต้นเริ่มเป็นบวก แต่ก็ยังไม่พอค่าใช้จ่ายขายและบริหารรอต่อไปนะครัส


ติดตามเราได้ที่ Website : http://www.investidea.in.th
Facebook : http://www.facebook.com/investidea.in.th
Line ID : @investidea.in.th ใส่@นำหน้าด้วย

สัมมนาวิเคราะห์หุ้นด้วยปัจจัยพื้นฐาน 

ดูรายละเอียดและตารางอบรมได้ที่http://www.investidea.in.th/p/value-investor.html
หรือสอบถามราบละเอียดและลงทะเบียนได้ที่ Line; pat4310, หรือโทร 086-503-5023 เพิ่มเพื่อน

วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2559

วิเคราะห์งานประจำด้วย 5 force

งานประจำก็คือ ธุรกิจให้เช่าแรงงานของเราเพื่อแก้ปัญหาให้องค์กรนั่นเอง สาเหตที่คนเบื่องานประจำเพราะเป็นธุรกิจที่การแข่งขันสูงนั่นเอง มาวิเคราะห์ตามหลัก 5 force กัน

1.การแข่งขัน


งานประจำมีการแข่งขันสูง ทั้งในองค์กรด้วยกัน และเด็กใหม่ที่เข้ามา ไม่พอมีเครื่องจักรเข้ามาทดแทนอีก จะเด็นว่าเงินเดือนเริ่มต้น 10 ปีที่แล้วกับวันนี้ก็ยัง 15,000 เท่าเดิม

2.การเข้ามาของคู่แข่งรายใหม่


เด็กจบใหมเพี่ยบ ยอมเริ่มต้นด้วยค่าแรงถูกๆ ฟิตกว่า ค่าแรงต่ำกว่า หรืองานที่ต้องใช้ประสพการณ์ก็ซื้อตัวมาจากบริษัทคู่แข่ง

3.สินค้าทดแทน


เดี๋ยวนี้งานประจำกำลังลดลง เพราะบริษัทสามารถนำทั้ง software และ hardware มาทดแทนได้ หรือเด็กใหม่เข้ามาก็พร้อมที่จะเขี่ยเราออก

4.อำนาจต่อรองลูกค้า


ลูกค้าคือนายจ้างเรานี่เอง อำนาจสูงอยู่เพราะกำหนดระเบียบบริษัทเต็มไปหมด บางทีทำล่วงเวลากลับบ้านดึกๆดื่นเงินก็เ่ท่าเดิม ไม่พอใจไล่ออก หรือตำแหน่งไม่ขึ้น

5.อำนาจต่อรอง supplier


ต้นทุนพนักงานประจำคือค่าเสื้อผ้าหน้าผม ค่าเดินทาง ค่าพาลูกน้องไปเลี้ยงหมูกระทะ ภาษีสังคมต่างๆ คอร์สพัฒนาตัวเอง ฯลฯ ก็ต่อได้บ้างต่อไม่ได้บ้าง


แม้จะเป็นธุรกิจแข่งขันสูงแต่ข้อดีคือมีรายได้ประจำ ถ้าเราเป็นลูกจ้างมืออาชีพ แก้ปัญหายากๆให้ลูกค้าได้ จะเติบโตในสายงานได้ มีทุนตั้งต้นในการเริ่มเป็นนายตัวเอง หรือหาช่องทางลงทุนใหม่ๆ ได้เรียนรู้วิชาการจัดการแบบมืออาชีพบ้างไม่มืออาชีพบ้างแล้วแต่ดวงว่าจะเจอองค์กรแบบไหนมา โดยส่วนตัวเป็นคนทำงานไม่เก่งเลยหันไปรุ่งทางด้านขยายกิจการด้วยการลงทุนแทน




ติดตามเราได้ที่ Website : http://www.investidea.in.th
Facebook : http://www.facebook.com/investidea.in.th
Line ID : @investidea.in.th ใส่@นำหน้าด้วย

สัมมนาวิเคราะห์หุ้นด้วยปัจจัยพื้นฐาน 

ดูรายละเอียดและตารางอบรมได้ที่http://www.investidea.in.th/p/value-investor.html
หรือสอบถามราบละเอียดและลงทะเบียนได้ที่ Line; pat4310, หรือโทร 086-503-5023 เพิ่มเพื่อน