วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2559

แก่นแท้ประเมินมูลค่าหหุ้น

จะซื้อของทั้งทีคงไม่มีใครอยากได้ของดีราคาแพง ในการวัดความถูกแพง ถ้าเข้าใจแก่นก็สามารถต่อยอดไปได้อีกเยอะครับ โดยการประเมินมูลคาแท้จริงเป็นเรื่องเปรียบเทียบ หลักๆจะดูอยู่ 3 เรื่อง

1.ได้อะไรมา


การลงทุนซื้อหุ้นเราได้ตัวบริษัทและกระแสเงินสดที่ผลิตได้ในอนาคต ถ้าเรามองว่าเราซื้อหุ้นแล้วได้กำไรแต่และปีมาเป็นของเรา การอ่านงบเพื่อให้รู้ว่าลักษณะกำไรของบริษัทเป็นอย่างไร เราอาจแบ่งลักษณะกำไรของหุ้นเป็น 6 ประเภทตามแนวของปีเตอร์ลินซ์ มีดังนี้


  • กำไรโตแข็งแกร่ง โตเรื่อยๆตามอุตสาหกรรม รายได้กำไรโตสม่ำเสมอ มีการลงทุนเรื่อยๆ ROE ROA สม่ำเสมอ
  • กำไรโตเร็ว อุตสาหกรรมกำลังเติบโต ลงทุนสูง จะโตได้ไกล กระแสเงินสดควรเป็นบวก ROE ROA สม่ำเสมอ
  • กำไรโตช้า อุตสาหกรรมเริ่มอิ่มตัว คู่แข่งบาน รายได้เริ่มโตช้าลง ลงทุนเยอะกำไรโตน้อย ROA ROE ลดลงเรื่อยๆ 
  • หุ้นวงจรกำไรโตเป็นรอบๆ 
  • หุ้นเทรินอราวด์ พลิกจากขาดทุนมาเป็นกำไร
  • หุ้นสินทรัพย์แฝง ซื้อๆไว้เดี๋ยววันดีคืนดีก็เอาสินทรัพย์ไปขายก็ได้กำไรมาเป็นก้อน


2.จ่ายไปเท่าไร


เราจ่ายเงินซื้อหุ้นที่ราคาตลาด ณ วันนั้น ถ้าไม่เอาราคาตลาดก็ไปต่อรองกันเอง


3.คุ้มหรือไม่


ผลตอบแทนที่ได้คุ้มกับที่เราจ่ายหรือไม่ ถ้าอยู่ตัวคนเดียวไม่สามารถบอกได้ว่าถูกแพงต้องมีตัวเปรียบเทียบ

3.1ประเมินมูลค่าด้วยอัตราส่วน PE PBV PS 

เป็นการเปรียบเทียบเหมือน Apple to Apple
pe pbv ps pcfo เป็นการเอาสิ่งที่จ่ายpเทียบกับสิ่งที้ได้ เช่น eกำไร bv cfo .........
ถ้าสิ่งที่ได้เหมือนๆกัน บริษัทที่จ่ายซื้อน้อยกว่าแสดงว่าจะถูกกว่า

3.1คิดลดกระแสเงินสด DDM 


ตัวเปรียบเทียบคือ ตัวคิดลดที่เอามาหาร
ยกตัวอย่าง คิดลดเงินปันผล p=d/k-gค่าที่ได้บอกว่า
ถ้ากระแสเงินสดในอนาคตที่เราคาดการณ์เท่ากับ เงินปันผลในอนาคตเท่า d ที่โตเรื่อยๆเท่ากับg (ย้ำว่าคาดการณ์)
ตัวเปรียบเทียบถูกแพงคือ ผลตอบแทนที่คาดหวัง(ผลตอบแทนทางเลือกถ้าไม่ซื้อหุ้นตัวนั้น)เท่ากับk
pคือ ใช้เงินลงทุนในปัจจุบัน ที่ทำให้ได้ผลตอบแทนจากการลงทุนเท่ากับk
เอาค่าที่ได้มาเทียบราคาปัจจุบัน

1.ถ้าราคาหุ้นปัจจุบันต่ำกว่าราคาที่คำณวณได้ แสดงว่า เราซื้อของ"ถูก" เพราะได้ผมตอบแทนจากการลงทุนมากกว่า k
2.ราคาปัจจุบัน เท่ากับราคาที่คำนวณได้ แสดงว่า "ไม่ถูกไม่แพง" เพราะได้ผลตอบแทนจากการลงทุนเท่ากับk
3.ถ้าราคาหุ้นปัจจุบันสูงกว่าราคาที่คำณวณได้ แสดงว่า เราซื้อของ"แพง" เพราะได้ผมตอบแทนจากการลงทุนน้อยกว่า k

ส่วนdcfแค่เปลี่ยนรูปแบบกระแสเงินสดกับตัวคิดลด

โดยสรุป การประเมินมูลค่าก็เหมือนการบอกว่า ท่อนไม่สั้นหรือยาว ถ้าเอาไปเทียบกับไม่ที่สั้นกว่ามันก็ยาว เอาไปเทียบกับไม้ที่ยาวกว่ามันก็สั้น นั่นเอง


ติดตามเราได้ที่ Website : http://www.investidea.in.th
Facebook : http://www.facebook.com/investidea.in.th
Line ID : @investidea.in.th ใส่@นำหน้าด้วย
สัมมนาวิเคราะห์หุ้นด้วยปัจจัยพื้นฐาน ดูรายละเอียดและตารางอบรมได้ที่http://www.investidea.in.th/p/value-investor.html
หรือสอบถามราบละเอียดและลงทะเบียนได้ที่ Line; pat4310, หรือโทร 086-503-5023

วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2559

งบการเงินบริษัทร่วมคืออะไรแบบเข้าใจง่ายๆ


การขยายธุรกิจโดยการไปลงทุนในบริษัทร่วมถือเป็นแนวทางหนึ่งในการสร้างการเจริญเติบโต และการสร้างความมั่งคั่งให้ผู้ถือหุ้น บทความนี้จะพาไปวิเคราะห์ว่าเงินที่ลงทุนในบริษัทร่วมอยู่ตรงไหนในงบการเงิน และจะวิเคราะห์อย่างไร

บริษัทร่วมคืออะไร ความหมายและการบันทึกบัญชี


บริษัทร่วมเกิดจากการอยากเติบโต มีโอกาสเข้ามาก็ขอเข้าไปถือหุ้นซะหน่อย 20-50% ขอเกาะความรวยไปด้วย

ในแง่การบริหารก็มีนัยยะพอควรเพราะส่งกรรมการเข้าไปได้ แต่ก็ยังไม่มีอำนาจควบคุมกรรมการที่เข้าประชุมได้แค่รับฟัง โหวดอะไรก็แพ้

จากการที่ไม่มีอำนาจควบคุมการบริหารและการเงิน ดังนั้นในทางบัญชีจึง รับรู้กำไรส่วนแบ่งกำไรตามวิธีส่วนได้ส่วนเสีย

ในงบแสดงฐานะการเงิน จะเห็นรายการชื่อเงินลงทุนในบริษัทร่วม

เมื่อเวลาผ่านไป ฝัั่งทุนเพิ่มขึ้นหรือลดลงจากกำไรสุทธิ ที่มาจากส่วนแบ่งกำไร หรือขาดทุนจากบริษัทร่วมที่รับมาในแต่ละงวดบัญชี

ส่วนทรัพย์เงินลงทุนเพิ่มตามส่วนแบ่งกำไร ถ้ามีปันผลส่วนแบ่งกำไรจะลดลงกลายเป็นเงินสดในงบแสดงฐานะการเงิน

เช่น ต้นงวดมีรายการเงินลงทุนในบริษัทร่วม 100 ล้านบาท (เหมือนเป็นมูลค่าทางบัญชีของบริษัทร่วมที่เราถือ)  สมมติว่าคิดเป็นสัดส่วนถือหุ้น 30%

ถ้าบริษัท มีกำไร 30 ล้าน ก็จะเป็นส่วนของเรา 10 ล้านบาท

เงินลงทุนในบริษัทร่วมในส่วนสินทรัพย์จะเพิ่มเป็น 110 ล้าน และส่วนทุนเพิ่ม 10 ล้านจากกำไรสะสม

ถ้าบริษัทร่วมมีการจ่ายเงินปันผล 5 ล้านบาท เงินลงทุนในบริษัทร่วมจะลดลง 5 ล้าน ไปเพิ่มที่เงินสด 5 ล้านบาท จากเงินปันผล

การวิเคราะห์


เงินลงทุนนบริษัทร่วม ก็เหมือนส่วนทุนตามสัดส่วนของเรา อยากรู้ว่าบริษัทร่วมกำไรเท่าไร ก็ดูส่วนต่างปลายงวดกับต้นงวด

จากตัวอย่างต้นงวด 100 เงินลงทุนในบริษัทร่วมสิ้นงวดเป็น 110 แสดงว่ามีกำไร 10 ล้าน

ผลตอบแทนจากเงินลงทุนจะเท่ากับ 10/100 = 10%

การดูว่าลงทุนแล้วคุ้มหรือไม่ ถ้าก่อนลงทุน และหลังจากที่ลงทุนแล้ว ROA ยังเท่าเดิม แสดงว่าลงทุนแล้วคุ้ม

แต่ถ้าลงทุนแล้ว ROA ลดลงแสดงว่าเงินที่ลงทุนไปไม่โอ เพราะนำเงินไปลงทุนแล้วได้ผลตอบแทนที่ต่ำลง เสียโอกาสในการลงทุนอย่างอื่น

บทความนี้ก็จะช่วยให้นักลงทุนสามารถวิเคราะห์เงินลงทุนในบริษัทร่วมได้ไม่ยากเจริญในการลงทุนทุกท่านครับผม



ติดตามเราได้ที่ Website : http://www.investidea.in.th
Facebook : http://www.facebook.com/investidea.in.th
Line ID : @investidea.in.th ใส่@นำหน้าด้วย
สัมมนาวิเคราะห์หุ้นด้วยปัจจัยพื้นฐาน ดูรายละเอียดและตารางอบรมได้ที่http://www.investidea.in.th/p/value-investor.html
หรือสอบถามราบละเอียดและลงทะเบียนได้ที่ Line; pat4310, หรือโทร 086-503-5023

วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2559

งบการเงินรวมคืออะไร แบบเข้าใจง่าย


งบรวมหลายคนยังงงๆว่ามันรวมกันอย่างไร บทความนี้จะอธิบายความแตกต่างระหว่างงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการอย่างง่ายๆ ครับ

1.มีบริษัทย่อยไปทำไม


ในการทำธุรกิจ หลายๆครั้งต้อง เปิดเป็นบริษัทย่อยๆ หลายบริษัทด้วยหลายเหตผลเช่น ต้องการแยกการจัดการที่ชัดเจน การขยายธุรกิจโดยมีพาร์ทเนอร์เข้ามาร่วมด้วยก็แยกบริษัทกัน หรือมีแผนที่จะนำบริษัทย่อยเข้าจดทะเบียน IPO ในอนาคต

2.การบันทึกบัญชี


พอเราเปิดบริษัทย่อยๆถือหุ้นเยอะๆ ก็มีอำนาจควบคุมในการบริหารงาน และควบคุมทางการเงิน สั่งได้ว่าจะให้บริษัท ลงทุนอะไร กุู้เงินจากไหน จ่ายปันผลเท่าไร

เมื่อสั่งได้ เพื่อให้เห็นภาพรวมของกิจการก็ต้องบันทึกบัญชีโดยเอางบการเงินของบริษัทย่อยเข้ามารวมด้วย

ไอเดียคือเงินลงทุนของเราก็เป็นส่วนหนึ่งของสินทรัพย์สุทธิ (book value) ของบริษัทย่อย เราก็กระจายสินทรัพย์สุทธิออกมาเป็น สินทรัพย์ลบหนี้สิน แล้วก็กระจายสินทรัพย์และหนี้สินของบริษัทย่อยเข้ามารวมร่างกับบริษัทแม่

จะเห็นในฝั่งขวา สินทรัพย์ และหนี้สินของบริษัทย่อยจะจับมารวมกัน ค่อยมาแบ่งกันในส่วนของทุน

ถ้าบริษัทที่เราสนใจมีบริษัทย่อย ในงบการเงินส่วนของทุนจะเห็นรายการ ส่วนได้สียที่ไม่มีอำนาจควบคุม หรือคือส่วนทุนของบุคคลภายนอกที่ถือหุ้นอยู่ในบริษัทย่อย มีกำไรก็แบ่งให้เขาไป

ส่วนในงบกำไรขาดทุน รายได้และรายจ่ายของทั้งเราและย่อยจะจับมารวมกันแล้วค่อยหักกำไรไปให้ ส่วนของผู้ถือหุ้นที่ไม่มีอำนาจคุวบคุมไป จึงเหลือกำไรเป็นของเรา

3.การวิเคราะห์งบรวม


งบการเงินรวมก็เหมือนรวมๆทั้งสาขาใหญ่และย่อยเข้าด้วยการ รายการที่เห็นในงบจะหักรายการระหว่างกันออก

ดังนั้นแสดงว่า รายการที่เห็นในงบการเงินจะเป็นรายการที่เกิดกับบุคคลภายนอกเท่านั้น การวิเคราะห์ก็วิเคราะห์ไปตามปกติ

4.การคำนวณอัตราส่วนทางการเงิน


ที่มีปัญหาคือเวลาคำนวณอัตราส่วนทางการเงิน โดยเฉพาะ อัตราส่วนที่มีส่วนของทุนและกำไรสุทธิเข้ามาร่วมด้วย ต้องคิดว่าจะเอาอะไรมาคำนวณ

ROE


ROE ใช้ = กำไรสุทธิส่วนของบริษัทใหญ๋ / ส่วนของผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่เฉลี่ย

อัตรากำไรสุทธิ


ถ้าจะดูภาพรวม = กำไรก่อนหักส่วนได้เสียไม่มีอำนาจควบคุม /รายได้รวม
คำนวณแบบตลาดหลักทรัพย์ set = กำไรสุทธิส่วนของบริษัทใหญ๋ /รายได้รวม

อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน


ถ้าจะดูภาพรวม = รวมหนี้สิน / รวมส่วนของผู้ถือหุ้น
คำนวณแบบตลาดหลักทรัพย์ set = รวมหนี้สิน / ส่วนของผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่

5.ค่าความนิยมและกำไรจากการต่อรองราคาซื้อ


เวลาไปซื้อกิจการบริษัทย่อย ในบางครั้งชอบซื้อในราคาแพงกว่ามูลค่าสินทรัพย์สุทธิ (book value) ของบริษัทย่อย ส่วนที่เกินเขาเรียกว่าค่าความนิยม จะบันทกอยู่ในรายการสินทรัพย์ค้างเติ่งอยู่ในงบตลาดกาลจนกว่าบริษัทย่อยจะไม่นิยม ก็ตั้งเป็นรายจ่ายไป

ในทางกลับกันถ้าเราไปซื้อกิจการในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าสินทรัพย์สุทธิ (book value) ของบริษัทย่อย ส่วนที่ต่ำกว่า จะกลายมาเป็นกำไรจากการต่อรองราคาซื้อกิจการ

เหตที่ ต้องบันทึกกำไรในงวดนั้นเนื่องจากการต่อรองได้สินทรัพย์มาถูกก็เป็นฝีมือของผู้บริหารในงวดนั้น ก็เลยต้องบันทึกงวดนั้นไปเลยให้เครดิตไป

ในบางคนก็บอกว่า ถ้ากิจการมันดีจริงแล้วคนขายจะขายให้ในราคาถูกทำไม

สรุปหวังว่าบทความนี้คงให้ความรู้ในการลงทุนไม่มากก็น้อยนะครับผม เจริญในการลงทุนทุกท่านครับผม




ติดตามเราได้ที่ Website : http://www.investidea.in.th
Facebook : http://www.facebook.com/investidea.in.th
Line ID : @investidea.in.th ใส่@นำหน้าด้วย
สัมมนาวิเคราะห์หุ้นด้วยปัจจัยพื้นฐาน ดูรายละเอียดและตารางอบรมได้ที่http://www.investidea.in.th/p/value-investor.html
หรือสอบถามราบละเอียดและลงทะเบียนได้ที่ Line; pat4310, หรือโทร 086-503-5023