รูปแบบการตกแต่งงบกระแสเงินสดในไทย
- รวมรายการเงินเบิกเกินบัญชีธนาคารไว้เป็นส่วนหนึ่งในกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน
- จัดจำแนกรายการเงินให้กู้ยืมกรรมการและบำเหน็จไว้เป็นกระแสเงินสดจากการจัดหาเงิน
- แสดงรายการส่วนเกินจากการตีราคาทรัพย์สิน ขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นของหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด(เงินลงทุนระยะยาว) และผลสะสมของการเปลี่ยนแปลงหลักการบัญชี(การเปลี่ยนแปลงวิธีบันทึกเงินลงทุนในบริษัทร่วมและย่อย จากวิธีราคาทุนเป็นวิธีส่วนได้เสีย) โดยปรับกับกำไรสุทธิ ทั้งๆ ที่รายการดังกล่าวจัดเป็นรายการที่ไม่เกี่ยวกับเงินสด( Noncash Items)
- นำรายการกำไรจากการลงทุนในบริษัทร่วมและบริษัทย่อย หรือกำไรจากการขายเงินลงทุน มาบวกกับกำไรสุทธิ
- นำรายการเปลี่ยนแปลงในลูกหนี้ค่าหุ้นซึ่งเกิดจากการจัดหาเงินมาปรับกับกำไรสุทธิ
- นำรายการเปลี่ยนแปลงในบัญชีเจ้าหนี้การค้าที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการลงทุน (เช่น การซื้อเครื่องจักรโดยการก่อหนี้) มาปรับกับกำไรสุทธิ
- ไม่บันทึกกำไรจากการขายสินทรัพย์ กำไรจากการลงทุนในบริษัทร่วมและบริษัทย่อย ออกจากการคำนวณกระแสเงินสดจากการดำเนินงานตามวิธีทางอ้อม
- แสดงกำไรสุทธิในงบกระแสเงินสดแตกต่างไปจากกำไรสุทธิที่แสดงไว้ในงบกำไรขาดทุนหรือ แสดงค่าเสื่อมราคาในงบฯต่างไปจากที่เปิดเผยไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ทั้งๆ ที่เป็นรายการเดียวกัน
- ไม่แยกแสดงเงินสดที่ไม่มีสภาพคล่อง ( เช่น เงินสดที่นำไปใช้ค้ำประกัน เงินเบิกเกินบัญชี และการออกหนังสือค้ำประกันต่างๆ) ออกจากรายการเงินสด และรายการเทียบเท่าเงินสด
- รวมรายการเงินเบิกเกินบัญชีธนาคารไว้เป็นส่วนหนึ่งของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
- รวมเงินปันผลรับจากการลงทุนในบริษัทอื่นๆ ไว้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมดำเนินงาน ในขณะที่บันทึกเงินปันผลรับจากการลงทุนในบริษัทร่วมและบริษัทย่อยไว้ในกิจกรรมลงทุน
- รายการต่างๆ ที่รวมอยู่ในการคำนวณกระแสเงินสดสุทธิจากการดำเนินงาน เมื่อตรวจสอบการคำนวณใหม่ จะได้ยอดที่ไม่ตรงกับกระแสเงินสดสุทธิจากการดำเนินงานตามที่แจ้งในงบกระแสเงินสด
ที่มา http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=35&t=3497
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น
สงสัยอะไรถามได้ครับผม