วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การใช้ PEG กับตลาดหุ้นไทย

บทความเรื่อง PEG โดย อาจารย์  ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา ครับ เขียนไว้ 2 ตอน [1][2]

ระยะนี้เป็นฤดูการประกาศผลประกอบการปี2556ของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์
หลายบริษัทมีผลประกอบการที่ดี
หลายบริษัทไม่ดีนัก บางบริษัทออกไปทางแย่มากๆ

ผมเลยถือโอกาสเสนอแนะวิธีการดูว่าราคาหุ้นของบริษัทต่างๆ ถูกหรือแพง ครับ

ผลประกอบการมีผลต่อราคาหุ้นครับ
แม้ว่าที่ประกาศออกมาจะเป็นผลงานในอดีต
และผลงานที่คาดว่าจะเกิดในอนาคตจึงจะเป็นพระเอกตัวจริงที่มีผลต่อราคาหุ้น
แต่ผลงานในอดีตก็มักจะสะท้อนการคาดการณ์ไปในอนาคต

เมื่อมีผลประกอบการ
เราก็จะรู้ อัตรา PE หรือ ราคาต่อกำไรต่อหุ้น ว่าสูงหรือต่ำ
โดยปกติ หากสูง ก็ถือว่าหุ้นราคาแพง หากต่ำก็ถูก
แต่นักลงทุนที่ลึกซึ้งลงไปอีกนิดนั้น นอกจากจะมอง PE แล้ว ก็จะมองเอาอัตราการเติบโตของกำไรต่อหุ้น—G---มาดูด้วย
หรือที่เรียกกันว่า peg
โดยเอาราคาต่อกำไรต่อหุ้น (PE) มาเปรียบเทียบกับการเติบโต (G) ว่าเป็นอย่างไร
ปกติก็จะใช้ระดับที่ PE กับอัตราการเติบโต พอๆกัน หรือ PEG ประมาณ 1 เป็นเกณฑ์มาตรฐาน

หาก PE สูงกว่าอัตราการเติบโตมากๆ หรือ PEG สูงกว่า 1 มากๆ ก็ถือว่าราคาหุ้นแพง
หาก PEG ต่อกว่า 1 ก็ถือว่าราคาถูก
เป็นเกณฑ์มาตรที่ใช้ได้ง่ายๆ และมีผลงานวิจัยรับรองว่าใช้ได้ผลครับ

ว่างๆพอมีเวลา ก็ลองเอากำไรกับการเติบโตของหุ้นที่ถืออยู่มาคิดกันดูเล่นๆนะครับ

เมื่อวานนี้ ผมได้พูดถึงการเอา PEG มาใช้
โดยการดูว่าหุ้นนั้นๆ มี peg สูงหรือต่ำ
เกณฑ์คร่าวๆคือประมาณ 1
หากมากกว่า1 ประมาณว่าราคาแพง หากน้อยกว่า1 ก็ถูก
ตารางผลตอบแทน

กราฟแสดงผลตอบแทน

วันนี้เลยเอาผลงานวิจัยที่ทำมา 2-3ปีแล้ว
มาเล่าสั้นๆอีกที (เคยเล่ามาครั้งหนึ่งแล้วครับ)

ผลการเลือกหุ้นโดยใช้ peg
เลือกหุ้นที่ peg ต่ำที่สุด 10 ตัว ในตลาดหุ้นไทย
ซื้อต้นปีขายปลายปี ทุกปี ตั้งแต่ 1999-2010
ได้ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปี 36.30% ต่อปี
เทียบกับตลาดรวมที่ได้ 12.72 ต่อปี

และสมมุติเอาเงิน 1 ล้านบาทลงทุนตามนี้
ใน12ปีจะได้ตามรูปครับ

ทั้งนี้เป็นงานวิจัยที่มีข้อสมมุติแยะนะครับ
เช่นสามารถซื้อหุ้นที่มี peg ต่ำๆ ได้ตามจำนวนที่ต้องการ
และอื่นๆอีก
หากจะเอาไปใช้เป็นแนวทางการลงทุน ต้องประยุกต์อีกแยะครับ
ที่บอกได้คือ peg เอาไปใช้เป็นแนวทางการลงทุนได้ครับ

[1]https://www.facebook.com/MoneyTalkTV/posts/611319358938886?stream_ref=10
[2]https://www.facebook.com/MoneyTalkTV/posts/611760262228129?stream_ref=10

วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เงิน 10 บาทหายไปไหน

มีคนถามว่าเด็กน้อยคนนี้เงินหายไปไหน 10 บาท

ในฐานะนักลงทุนก็ต้องมองแบบบัญชี (เดบิต = แหล่งที่มาของเงิน เครดิต = แหล่งที่ใช้ไปของเงิน)

1ยืมพ่อ500
  • เดบิตเงินสด500
    • เครดิตหนี้สิน500

2ยืมแม่500
  • เดบิตเงินสด500
    • เครดิตหนี้สิน500


งบดุลเริิ่มต้น
  • สินทรัพย์
    • เงินสด1000
  • หนี้สิน
    • หนี้พ่อ500
    • หนี้แม่500
  • ทุน
  • เงินทุน 0


3ซื้อของ970

  • เดบิตค่าใช้จ่าย970 
    • เครดิตเงินสด970


4คืนหนี้พ่อแม่คนละ10บาท
  • เดบิต หนี้พ่อ10บาท
  • เดบิต หนี้แม่ 10บาท
    • เครดิต เงินสด20บาท


งบกำไรขาดทุน
  • รายได้0
  • คชจ970
  • ขาดทุนสุทธิ 970


งบดุล

  • สินทรัพย์
    • เงินสด10บาท
  • หนี้สิน
    • หนี้พ่อ490
    • หนี้แม่490
  • ส่วนทุน
    • ขาดทุนสะสม970
    • เงินทุน 0
  • รวมหนี้และทุน 10
สรุปว่าเงิน 10 บาทเด็กเอาไปนั่นเอง

วันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สนุกกับอุตสาหกรรมเหล็ก

สนุกกับอุตสาหกรรมเหล็ก Cr มิตรสหายท่านหนึ่งโพสใน line

เหล็กเป็นอุตสาหกรรมหนัก

อุตสาหะ = ใช้ความพยายามมาก, หนัก = ยากที่จะยกขึ้น และด้วยความหนักเวลาวางจึงควรปล่อยให้ลงตามแรงดึงดูด

ถ้าเอามีสาระหน่อยก็คือ อุตสาหกรรมเหล็กบ้านเราลำบากครับ เนื่องจากมีเต็มที่ก็คือกลางน้ำ - ปลายน้ำ ยิ่งสมัยก่อนเป็นปลายน้ำล้วน

คือเราไม่มีเหมืองแร่เหล็ก ทำให้เวลาเอาวัตถุดิบมาทำต้องส่งทางเรือเข้ามาซึ่งต้องใข้เวลา1-2 เดือน ทำให้ ราคาเหล็กที่ซื้อมาผลิต พอมา quote ราคาขาย อาจต้องตั้งให้ต่ำลง กรนีราคาเหล็กโลก ณ ตอนผลิตเกิดลง

หรือไม่ก็ซื้อเศษเหล็กมาหลอมใหม่ แต่เศษเหล็กก็น้อยอยู่ดี เราเลยต้องสั่งเป็นเหล็กแปรรูปมา แล้วเอามารีดร้อน-เย็น ทำเป็นแผ่นเป็นเส้นก็ว่ากันไป

SSI เลยแก้ด้วยการไปซื้อโรงถลุงที่  UK  แต่ผลก็อย่างที่เห็นๆคับ จะบอกเป็นวิธีแก้ได้มั้ยนี่ก็ไม่รู้ แต่ที่รู้ๆ โรงเหล็กที่ UK ที่เค้าไปซื้อ ปิดมานานแล้ว พอพี่ไทยไปซื้อ เจ้าฟ้าชาย Charles แห่ง UK ก้เลยต้องรีบไปเพื่อเป็นเกียรติที่พี่ไทยมาช่วยจ้างงานใน  UK อ่ะคับ

อ้อ นอกจาก  UK แล้ว ไทยเราก็ TSTH ขนาดเจ้าใหญ่ระดับโลกมาไทยยังไม่รอดถึวขั้นต้องปิด run โรงเหล็กที่ไปซื้อมา แล้วยังมี TSSI ที่ MILL จะไปซื้อมาโรงนี้ก็หยุดผลิตแต่เดินเครื่องเพื่ออุ่นเตา

ถ้าใครเขื่อมือเจ้าใหญ่ระดับโลกก้ TSTH ก่อนหน้าขาดทุน แต่ปีนี้กำไร เนื่องจากไม่มีรายการค่าใช้จ่ายการปิดโรงเหล็ก แต่ดูดีๆแล้วกันนะคับ

สำหรับผุ้ผลิต อยากมีกำไร ก็ลุ้นราคาเหล็กโลกทะยานอย่างเดียว

ที่กล่าวมาเป็นปลายน้ำหมดล่ะคับ ยกเว้นพวก trader เช่น TMT แล้วก้อีก 3-4 ตัวลองหาดูคับจำชื่อไม่ได้ พวกนี้พอไปได้ ลืมบอกคับ trader ก็ดูดีๆนะคับ gross and net margin เปนไง เพราะที่ผ่านมา trader พอไปได้ตามเศรษฐกิจ แต่ปีนี้ของเราน่าเปนห่วง เกิด volume หายไม่คุ้ม fixed cost ก็อาจลำบากแต่คงไม่ถึงกับแย่

ส่วนภาพสั้นๆ โครงการเงินกู้ 2ล้านๆ ก็ต้องรอถนนลูกรังหมดไปก่อน คงไม่ดีกะเหล็กเส้น ส่วนอุตสาหกรรมรถยนต์หดตัวจากยอดซื้อรถยนต์หาย เช่นเดียวกันกับการบริโภคสินค้าคงทน ก็น่าจะลดลง คงไม่ดีกะเหล็กแผ่น

วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

LVT จะ turnaround

LVT ส่งงบ Q3 แล้วขาดทุนเป็นปกติ คนอื่นบอกว่ามันเป็นหุ้นเน่า (มันก็เน่าจริงๆนั่นแหละ55)
ประเด็นที่น่าสนใจในงบการเงิน
1. งานก่อสร้างตามสัญญาระหว่างก่อสร้าง ลดลงจากงบปีที่ 430 ล้านเหลือแค่ 38 ล้านแปลว่าส่งมอบงานใกล้เสร็จหมดละ จะหมดเวรหมดกรรมแระ

2. เงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่กิจการอื่น 285 ล้านตามหมายเหตุ 20 เขาว่าเป็นการออกหุ้นกู้แปลงสภาพให้บริษัทย่อยที่ทำโรงงานปูนซีเมนต์ที่พม่า แปลว่ามุ่งมั่นเปลี่ยนธุรกิจให้ได้ เยี่ยมจริง

สรุปว่าใกล้หมดเวรหมดกรรมละตอนนี้ไป focus โรงปูนที่พม่า

ถ้า max1+max2 ปรับปรุงเสร็จ มีคนคำนวณกำไรไว้ใน Pantip[1] ดังนี้

  • กำลังการผลิตต่อวัน (max1 + max2) 4,200.00 Tonnes
  • ราคาขาย/ตัน(ในพม่า) 95.00 USD
  • รายได้ต่อวัน 399,000.00 USD
  • อัตราแลกเปลี่ยน 30.00 บาท
  • รายได้ต่อวัน 11,970,000.00 บาท
  • จำนวนวันที่ผลิต/ปี (ประมาณ) 320.00 วัน
  • รายได้ต่อปี 3,830,400,000.00 บาท
  • ส่วนแบ่งใน max (MMC) 30% 
  • รายได้ต่อปี ของ lvt ในmax ต่อปี 2558 (เต็มกำลังการผลิต) 1,149,120,000.00 บาท
  • ถ้า margin อยู่ที่ 40% กำไรโดยประมาณก็จะอยู่ที่ 460 ล้านบาท ส่วนแบ่งของ lvt 58% ใน Cemintor ก็จะได้ประมาณ 266 ล้านบาท ถ้าจะรวมส่วนแบ่งกำไรที่ lvt ถือหุ้น GCCP อีก 20% ที่ถือใน KBZI และในเขมร อีกปีละอย่างน้อย 50 ล้านบาท รวมกันก็ได้อย่างน้อยประมาณ 316 ล้านบาท ในปี 2558 ที่สามารถผลิตได้เต็มกำลังการผลิต 

สรุปว่าถ้าสำเร็จจะพลิกชีวิตบริษัทจากหลังตีนเป็นหน้ามือกันเลยทีเดียว

ปัญหาคือแหล่งที่มาของเงินที่จะเอามาปรับปรุงโรงปูนแห่งที่สอง ที่วางแผนไว้ว่าจะมาจากการใส่สิทธิของ  LVT-W3 แต่จากวันใช้สิทธิวันสุดท้าย 14 กพ  2557 ที่ผ่านมา ปรากฎว่ามีคนมาใช้สิทธืเพียง 23,205.00 หน่วย ได้เงินมา 29,006.25 บาท คงเหลือใบสาคัญแสดงสิทธิ ที่ยังไม่ได้ใช้สิทธิ 172,135,775.00 หน่วยก็หายไปในอากาศ

บริษัทก็แก้เกมส์ด้วยการเพิ่มทุนจำนวนหุ้นที่จัดสรร 538,469,695 หุ้น คิดเป็นอัตราส่วน  อัตราส่วน (เดิม : ใหม่)   1.2853 : 1 เพื่อหาเงินมาปรับปรุงโรงปูนโรงที่สอง ต่อไป จะเพิ่มทุนสำเร็จหรือไม่มาดูกัน

สู้ต่อไป LVT เราติดตามนายอยู่


ที่มา
[1]http://pantip.com/topic/30613871

วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การจัดประเภทค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน

การจัดประเภทค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน บทความโดย ดร. ภาพร เอกอรรถพร [1]

คำถาม
ค่าใช้จ่ายที่หักทันทีเมื่อขายสินค้าหรือบริการนั้นๆได้ เช่น โรงแรมบางแห่งอาจต้องเสียค่าคอมมิสชั่น (ค่าน้ำ) ให้แก่บริษัททัวร์ เป็นจำนวนกี่เปอร์เซ็นต์ เมื่อขายห้องพักได้ เป็นต้น ทั้งนี้อาจมองส่วนค่าคอมมิสชั่น เป็นต้นทุนที่ต้องหักทันที (ค่าใช้จ่ายทางตรง) หรืออาจจะมองว่าเป็น ค่าใช้จ่ายในการขาย ก็ได้

ผมสงสัยว่า ค่าคอม ที่มันต้องหักจากการห้องพัก เนี่ย มันเป็นต้นทุนขาย หรือค่าใช้จ่ายในการขาย กันแน่ครับและอีกอย่างครับ พนักงานโรงแรม นี่เรามองเป็นต้นทุนขาย หรือ ค่าใช้จ่ายในการบริหารครับ
ค่าใช้จ่ายการบริหาร มันรวมเรื่อง ค่าจ้างการทำบัญชีของบริษัท และเอกสารทางกฎหมายต่างๆ หรือเปล่าครับ หรือไอ้นี่ต้องไปใส่อยู่หมวดอื่นๆ

และไอ้ตัวค่าเช่าพื้นที่ของโรงแรม เช่น พื้นที่แถวสยาม
ค่าเช่าอาคาร
ค่าประกันภัย
จัดเป็นต้นทุนขาย หรือจัดเป็น ต้นทุนทางการเงินครับ

คำตอบ
เอาหลักการไปก่อนนะคะ... ต้นทุนขายคือค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับต้นทุนของสินค้า ประกอบด้วยวัตถุดิบทางตรง ค่าแรงทางตรง และโสหุ้ยการผลิต เช่น วัตถุดิบทางอ้อม ค่าน้ำไฟที่เกี่ยวกับการผลิต ค่าเสื่อมราคาอาคารที่ใช้ทำการผลิต ฯลฯ

สำหรับธุรกิจบริการ ต้นทุนบริการอาจจะไม่มีวัตถุดิบทางตรงและค่าแรงทางตรง (บางคนอาจจัดให้มีหรือไม่มี แล้วแต่มุมมอง แต่จะจัดเป็นทางตรงหรือทางอ้อม ย่อมต้องรวมเป็นต้นทุนบริการ) แต่มีวัตถุดิบทางอ้อม มีค่าแรงทางอัอม มีค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ถือเป็นโสหุ้ย เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเสื่อมราคาในส่วนที่เกี่ยวกับการให้บริการลูกค้าโดยตรง ฯลฯ

ในงบกำไรขาดทุน ค่าใช้จ่ายจะแบ่งเป็น ต้นทุนขาย (หรือต้นทุนบริการ) ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ดอกเบี้ยจ่าย และภาษีเงินได้

ถ้าเรามองการจัดประเภทค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนได้ชัดเจน เราก็จะสามารถจัดประเภทค่าใช้จ่ายอย่างเป็นธรรมได้ (แต่เนื่องจากเป็นเรื่องต้องใช้ดุลยพินิจ เลยมีข้อถกเถียงมาก)

ค่าจ้างพนักงานโรงแรมต้องดูว่าคนๆ นั้นทำหน้าที่อะไร ให้แยกตัดเป็นค่าใช้จ่ายตามงานที่ทำ อาจเป็นต้นทุนขายหรือค่าใช้จ่ายในการขายหรือบริหาร

ค่าทำบัญชีตามปกติถือเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหาร

ค่าเช่าไม่ใช่ต้นทุนทางการเงินแน่นอน เพราะต้นทุนทางการเงินคือดอกเบี้ย แต่ค่าเช่าอาจถือเป็นต้นทุนขายหรือคชจในการขายหรือบริหารขึ้นอยู่กับว่าเช่าไปใช้งานอะไร

การจัดประเภทค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนที่เห็น เรียกว่าเป็นการจัดประเภทตาม function แต่งบกำไรขาดทุน (ที่เปิดเผยในหมายเหตุฯ) อาจจัดประเภทตามลักษณะ เช่นค่าเสื่อมคือค่าเสื่อม ไม่ต้องนำมาแยกว่าทำหน้าที่อะไร อย่าลืมว่าค่าใช้จ่ายทุกประเภทต้องนำมาหักจากรายได้ทั้งสิ้น แม้ว่าจะมีฐานันดรที่ไม่เท่ากันแต่ในที่สุดมันก็คือค่าใช้จ่าย

[1]https://www.facebook.com/parporna/posts/520526924733459?stream_ref=10

วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ตลาดหุ้น การพนัก เทคนิคการเอาชนะเจ้ามือ

ถ้ามองตลาดหุ้นเป็นการพนัน
- วัตถุพนันคือ ผลประกอบการในอนาคต ซึ่งเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ตามเหตุปัจจัย และไม่อยู่ในอำนาจบังคับ
- ผลต่างหระว่างราคาหุ้นวันนี้ กับมูลค่ายุติธรรม ถ้าผลประกอบการเป็นจริงตามที่คิด คืออัตราต่อรอง
- เวลาตลาดเปิดนายบ่อนก็จะเปิดไพ่ (ราคาหุ้น) เรื่อยๆ
- เมื่อความเห็นเกี่ยวกับผลประกอบการในอนาคตต่างกัน การพนันจึงเกิดขึ้น

  • ฝั่งที่เห็นว่าผลประกอบการจะแย่ลงราคานี้สูงกว่ามูลค่ายุติธรรม ก็จะขาย 
  • ฝั่งที่เห็นว่าผลประกอบการจะดีขึ้นราคาตลาดต่ำกว่ามูลค่ายุติธรรมก็จะมารับซื้อ 
  • นายบ่อนได้ค่าคอมมิสชัน

- คนที่รวยคือฝั่งเจ้ามือ เลือกที่จะซื้อหุ้นที่มีแต้มต่อสูง คือราคายังไม่สะท้อนมูลค่ายุติธรรม และมันใจว่าผลประกอบการในอนาคตดีชัวร์ ถ้าพลาดจะเจ็บตัวน้อยแต่ถ้าได้จะได้เยอะ ถ้าเป็นสุดยอดโอกาสต้องลงไม้หนักๆ (ตีแตก) ถ้าไม่ก็ปล่อยผ่าน
- แมงเม่า(ลูกค้าของเจ้ามือ) จะชอบซื้อหุ้นที่แต้มต่อต่ำ คือราคาใกล้ๆมูลค่า หรือสูงกว่า และ ผลประกอบการในอนาคตดีขึ้นได้อีกไม่มาก(โตช้า หรือใกล้ตกต่ำ) ถ้าพลาดจะเจ็บตัวเยอะแต่ถ้าได้จะได้น้อย

วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การวิเคราะห์หุ้นแบบเข้าประเด็น

การเข้าประเด็นคืออัลไล คุณ Silence Trader-z เขียนไว้บน facebook[1]

"ครั้งหนึ่งอับราฮัม ลินคอล์นต้องเป็นทนายในการว่าความคดีบริษัทรถไฟกับสิทธิเหนือลำน้ำสายหนึ่ง ทนายฝ่ายตรงข้ามเป็นคนพูดเก่งมาก พูดดีมาก พูดแม่งเกือบ3ชั่วโมง คนฟังเคลิบเคลิ้มและเออออห่อหมกด้วย แต่ไม่มีใครจำเนื้อหาสาระที่ทนายคนนี้พูดได้เลย

อับราฮัม ลินคอล์นพูดแค่เพียงว่า "ประเด็นที่ต้องคุยกันมีแค่สิทธิของบริษัทรถไฟมีเหนือสิทธิของผู้คนที่อาศัยอยู่เหนือลำน้ำหรือไม่"

หุ้นก็เหมือนกัน ต่อให้คุณจะอารัมภบทสตอรี่มาขนาดไหน เอาแม้แต่รายละเอียดจุ๊กจิ๊กมาสร้างความน่าเชื่อถือ ประเด็นหลักคือบริษัทมีปัญญารบกับคนอื่นบนความคาดหวังที่สูงๆมั้ย เปรียบเทียบกับคาดหวังว่ากองทัพที่มี100คนจะชนะ1หมื่นคนและให้ราคาว่าจะชนะไปแล้ว แต่ความเป็นจริงสามารถชนะได้ไหม นี่คือหัวใจหลัก ไม่ใช่เอารายละเอียดที่ไม่จำเป็นมาประกอบมั่วไปหมด "จะชนะหรือไม่ชนะ" ไม่ใช่ทหารใส่เกราะสวยกว่าข้าศึก ทหารหล่อกว่า ไม่ใช่ละ"

สรุปว่าเราต้องหาประเด็นสำคัญในการลงทุนของหุ้นแต่ละตัวให้เจอ จะช่วยให้การลงทุนงายขึ้น สำหรับการลงทุนประเด็นสำคัญคือ "การเปลี่ยนแปลงของกำไร" วิเคราะห์กันแทบตายสุดท้ายจบที่กำไร นักลงทุนระยะยาวต้องการปันผลจากส่วนแบ่งของกำไรกำไรอยากให้กำไรโตเรื่อยๆ นักเก็งกำไรก็เข้าซื้อบริษัทที่คาดว่าจะกำไรกระโดด นักเทคนิคก็เข้าซื้อบริษัทที่มีกำไร

เวลาวิเคราะห์ต้องจับข้อมูลที่ได้รับมาประมวลว่ากระทบกำไรอย่างไร โดยประเด็นหลักที่จะกระทบกำไรมีดังนี้

  • ยอดขาย
  • ต้นทุน
  • ลงทุนสินทรัพย์ ขายสินทรัพย์ -> ลงทุนเพิ่มยอดขายพิ่มแต่ก็มีค่าเสื่อมราคากวนใจนิดหน่อย คุ้มค่าเสื่อมก็มีกำไร 
  • เพิ่มหนี้ ลดหนี้ -> ดอกเบี้ย
  • เพิ่มทุนลดทุุน 


การวิเคราะห์ว่าอะไรสำคัญ จุดตัดสินใจคือประเด็นนั้นต้องมีผลกระทบกับกำไรอย่างมีนัยสำคัญทำให้กำไรเพิ่มขึ้นหรือลดลง 20-30% ขึ้นไป พวกรายละเอียดเล็กๆน้อยกระทำกำไรไม่เยอะปล่อยผ่านบ้างก็ได้

[1] https://www.facebook.com/week.nip/posts/10153839737875078?stream_ref=10

วันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ขั้นตอนการลงทุนหุ้น turnaround

หุ้น turnaround เป็นหุ้นกลุ่มที่ให้ผลตอบแทนสูงแต่ความเสี่ยงก็สูงตามไปด้วย และส่วนใหญจะไม่ Turn ซะด้วย มาดูขั้นตอนการหาหุ้นที่มีโอกาส turnaround สูงกันครับ


1 หาหุ้นที่ไร้คนสนใจ มาร์ไม่รู้จัก,thaiviไม่คุย,เคยเป็นหุ้นปั่น, ราคาตกลงมาเยอะ ราคาsideway แต่มีvolumeซื้อขายทุกวัน(มีเพื่อนคุยกันผ่าน bid offer ไม่เหงา)  jas kamart malee เป็นหุ่นเน่า VI และเม่าร้องยี้ มาก่อนทั่งนั้น

2 เป็นหุ้นเน่าที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่เติบโตจะturnง่าย

3 หาเหตุของปัญหาให้เจอ สังเคราะห์ข้อมูลจากการอ่านงบ คำอธิบายงบ ถามir คุยกับยาม ไปดูที่จริง ถามเพื่อนทำงานบริษัทคู่แข่ง หรือเป็นsupplier

4 ดูเป้าหมายและแผนการของผบว่าจะทำอะไรดูจากข่าว ถามผู้บริหารในagm โทรหา IR การวิเคราะห์ต้องมองข้ามปัญหาให้เห็นภาพชัดเจนว่าปัญหาจบแล้วสถานะทางการเงินจะเป็นอย่างไรประเมินกำไรและหา valuation ใช้ forward pe หรือ pbv

5 พิจารณาแผนของผบว่าน่าเชื่อถือ? แผนต้องชัดมีsteps ชัดเจน และช่วงเวลาว่าจะสำเร็จตามแผนเมื่อไร

6 แต่ละไตรมาศก็ตามความคืบหน้าไปเรื่อยๆ เห็นความเปลี่ยนแปลงในงบการเงิน เช่นขาดทุนน้อยลง ไปดูสถานที่จริงให้มั่นใจว่าผบไม่โม้ หลายตัวอาจต้องตามไปหลายปีกว่าจะแก้ปัญหาได้

7 เมื่อเชื่อว่าปัญหาใกล้จบใน2-3ไตรมาสแน่ๆให้ขายบ้านขายรถมาจัดเต็ม จะได้ไม่ต้องรอนาน

8 ถ้าธุรกิจมีกำไรตามคาดหุ้นจะวิ่งถึง valuation ที่คำนวณ จะถือหรือขายให่ดูธุรกิจถ้าโตต่อได้ก็ถือ ถ้าไม่โตก็ขายให้vi หรือเม่ารับไป

อีกสิ่งที่นักลงทุนยังสับสนกันอยู่คือ แยกความแตกต่างระหว่างหุ้น turnaround (หุ้นพลิกฟื้น) กับหุ้น cycle (หุ้นวัฎจักร)ไม่ออก โดยที่หุ้นพลิกฟื้นจะฟื้นตัวได้ต้องมีแผนธุรกิจที่ชัดเจนจับต้องได้ ไม่ลมๆแล้งๆ ส่วนหุ้นวัฎจักรไม่ต้องทำอะไรประคองตัวให้รอดเมื่อวัฎจักรมา กำไรจะโตเอง

วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

VI 4 ประเภท

VI ในเมืองไทยมีหลายกลุ่มครับ เท่าที่เห็นก็มี
  1. VI หัวใจเทคนิค คือเล่น daytrade ในหุ้น VI สมารถเปลี่ยนสถานะได้หลากหลาย ถ้าได้กำไรก็ขาย ถ้าติดดอยก็บอกเป็น VI ถือยาว
  2. VI ตามกระแส ซื้อแล้วถือตามเซียนที่ชอบพูดตามงานสัมมนา ธุรกิจง่ายๆไม่ซับซ้อนเห็นได้ในชีวิตประจำวัน ชอบซื้อหุ้น PE 20 up ซื้อแล้วกลับไปทำงานต่อ
  3. VI นักค้นหา   แต่ขยัน ความรู้แน่น ชอบหาหุ้นดีเติบโตได้ งบสวย ราคาต่ำ แต่จะเริ่มคุยกับคนอื่นไม่รู้เรื่องเพราะธุรกิจเริ่มดูยากขึ้นไกลตัว เช่นบริการตรวจสอบแบบไม่ทำลาย ขายสายไฟ สาย lan ปรับปรุงกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์ หม้อแปลงไฟฟ้า ลูกถ้วยไฟฟ้า ฯลฯ
  4. VI indy เป็นชนกลุ่มน้อยของตลาด ชอบไปขุดหุ้นนอกกระแสที่ไม่มีใครสนใจ ผลประกอบการขาดทุน ที่แอบๆทำโครงการลับ(ประกาศใน SET) ชอบซื้อหุ้นช่วงราคา sideways แย่งเก็บของกับเจ้ามือ รอลุ้นผลประกอบการถ้าโครงการลับได้กำไร พอธุรกิจเริ่มมีกำไร กลุ่ม 3 ก็จะมาซื้อ พอกำไรต่อเนื่อง นักวิเคราะห์เริ่มเชียร์ กลุ่ม 2 ก็จะมาซื้อ และสุดท้ายถ้าเป็นหุ้นติดตลาด กลุ่ม 1 จะเข้ามาเทรดทั้งวัน ตัวอย่างเช่น JAS CPALL KTC KAMART MALEE

ไม่น่าเชื่อว่าทั้ง 4 กลุ่มเรียนตำราการวิเคราะห์หุ้นมาเล่มเดียวกัน ทั้งการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน และ การดูกราฟ จุดแตกต่างคือ"ใจ"ครับ กล้าที่จะแหวกกระแสสังคมออกมาซื้อหุ้นที่ใครๆก็ไม่รู้จัก