วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

5 เครื่องมือทางคณิตศาสตร์การเงินพื้นฐาน ที่ช่วยให้ชีวิตการลงทุนดีขึ้น

ในโลกการเงินการลงทุนต้องใช้เรื่องคณิตศาสตร์และสถิติในการเข้ามาคำนวณแก้ปัญหาต่างๆ แต่วิชาเลขก็เป็นไม้เบื่อไม้เมากับนักลงทุนหลายๆท่าน บทความนี้จะเป็นการทบทวนเครื่องมือที่ใช้บ่อยๆ ครับผม

1.อัตราส่วนร้อยละ


อัตราส่วนคือ เอาตัวเลข 2 ตัวมาหารกัน จะได้ตัวเลข 1 ตัวที่สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ วิธีอ่านคือให้อ่านค่า ส่วน (ตัวหาร) เป็น 1 เศษก็เป็นค่าไป

เช่น pe คืออัตราส่วนราคาต่อกำไร การอ่านคือ ราคาหุ้นปัจจุบันเป็นกี่เท่าของกำไร จากนั้นเราก็นำค่านี้ไปตีความต่ออีกว่า บริษัทมีกำไร 1 บาท เรายอมจ่ายเงินซื้อบริษัทนี้ด้วยราคาเป็นกี่เท่า ดังนั้นถ้าบริษัทมีลักษณะคล้ายๆกัน หุ้นที่ pe ต่ำกว่าก็จะถูกกว่า

การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน idea คือการวัดประสิทธิภาพ Output/Input พอเราจับหารกัน ก็สามารถวิเคราะห์ประสิทธิภาพได้

เช่นอัตรากำไรสุทธิ สูตรคือ กำไรสุทธิ หาร ยอดขาย ก็จะได้ว่า ยอดขาย 1 บาท หักรายจ่ายแล้วเหลือกำไรเท่าไร ทีนี้พอเป็นทศนิยมมันอ่านยาก เขาก็ทำเป็น ร้อยละโดยการจับคูณ 100 เข้าไป การอ่านค่าก็จะเป็นรายได้ 100 บาท หักรายจ่ายแล้วเหลือกำไรเท่าไร

2.การเทียบบรรยัติไตรยาง


คณิตศาสตร ป4 ที่ถูกนำมาใช้บ่อยในการประมาณค่าโดยเชื่อว่า สิ่งที่นำมาเทียบกันยังมีความสัมพันธ์กันในสัดส่วนเดิม การเทียบบรรยัตไตรยางจะทำ 3 ขั้นตอนดังนี้

โจทย์ตัวอย่าง บริษัท BWG มีกำไรงวด 9 เดือนเท่ากับ 234 ล้านบาท ถ้าความสัมพันธ์ยังเหมือนเดิมอยากรู้ว่ากำไร 12 เดือนจะเป็นเท่าไร

1.จับความสัมพันธ์ของ input และ output


input คือ 9 เดือน out put คือ 234 ล้านบาท

2.จับ input ให้เท่ากับ 1


ขั้นตอนนี้ทำเพื่อหาความสัมพันธ์ของ input และ out put

9 เดือนกำไร 234 ล้านบาท
1 เดือนมีกำไร 234/9 ล้านบาท

3.ใส่ค่า input ที่เราต้องการ


9 เดือนกำไร 234 ล้านบาท
1 เดือนมีกำไร 234/9 ล้านบาท
12 เดือนมีกำไร 234 / 9 x 12 = ลองจิ้มเครื่องคิดเลขดูได้ทำเป็น

ยังใช้ได้อีกเยอะครับเช่น
หุ้น pe 10 เท่าราคา 30 บาท ถ้าตลาดปรับ pe เป็น 15 เท่าจะราคาเท่าไร


3.เพิ่มขึ้นหรือลดลงกี่ %


เริ่มจากปัญหาง่ายๆเช่น ปีนี้กำไร 250 ล้าน ถ้าให้ปีหน้าเติบโต 24% สิ้นปีจะมีกำไรเท่าไร ปัญหานี้การแก้ปัญหามาจากการเทียบบรรยัติไตรยางนั่นเองดังนี้

กำไรปีนี้ 100 บาท กำไรปีหน้าเป็น 100+24=124 ล้าน
ถ้า กำไรปีนี้ 1 บาท กำไรปีหน้าจะเป็น 124/100=1.24
ดังนั้น ถ้ากำไรปีนี้ 250 ล้านบาท กำไรปีหน้าจะเป็น 1.24 x 250 = ลองจิ้มเครื่องคิดเลขดูได้ทำเป็น


เราสามารถสรุปสูตรลัดได้เป็น

  • กรณีเพิ่ม ขึ้นให้เอาตัวฐานคูณด้วย 1+%การเติบโต เช่นปีนี้ 300 ปีหน้าโต 30% ก็จะเป็น300 x (1-0.3) = 300 x 1.3 = 390
  • กรณีลดลง ขึ้นให้เอาตัวฐานคูณด้วย 1-%การลดลง เช่นปีนี้ 300 ปีหน้าลดลง 20% ก็จะเป็น 300 x (1-0.2) = 300 x 0.8= 240

เรื่องนี้เป็นพื้นฐานของการคิด ผลอบแทนทบต้น

  • ต้นปีมีเงิน 1 บาท ดอกเบี้ย 2% สิ้นปีที่ 1 มีเงิน 1 x 1.02 = 1.02
  • สิ้นปีที่ 2 มีเงิน 1.02 x 1.02 = 1.02 ^ 2
  • สิ้นนปีที่ 3 มีเงิน 1.02 x 1.02 x 1.02 = 1.02 ^ 3
  • สิ้นนปีที่ 4 มีเงิน 1.02 x 1.02 x 1.02 x 1.02 = 1.02 ^ 4
  • สิ้นนปีที่ 2 มีเงิน 1.02 1.02 x 1.02 x 1.02 x 1.02 = 1.02 ^ 5
  • สิ้นนปีที่ n มีเงิน = 1.02 ^ n

ซื่งก็คือ future value นั่นเอง FV = PV x (1+i)^n เป็นการตอบคำถามว่า ถ้ามีเงินวันนี้เท่ากับ pv บาท ได้ผลตอบแทนทบต้น i% ในสิ้นปีที่ n จะมีเงินกี่บาท

ย้ายข้างกลับก็จะได้ present value คือ PV = FV / (1+i)^n ความหมายคือ ถ้าต้องการเงินอนาคตสิ้นปีที่ n เท่ากับ FV ด้วยผลตอบแทนทบต้น i% วันนี้ต้องลงทุนเท่าไร

ต่อยอดไปเรื่อยๆเป็น วิชาการการประเมินมูลค่า


4.การหาผลตอบแทน หรือการเติบโตเฉลี่ยแบบ CMPR



เริ่มจากอยากรู้ว่า เงินปัจจุบัน 100 บาท อีก 5 ปีกลายเป็นเงิน 400 บาท เงินงอกปีละเท่าไร

จากความรู้เรื่อง future value เรารู้ว่า 400 = 100 (1+i)^5
ย้ายสมการหาคา i จะได้ i = (400/100)^(1/5) - 1 = 0.32 แสดงว่าเงินโตปีละ 32%

สรุปเป็นสูตรทั่วไปคือ i = (FV / PV) ^(1/n) - 1
แปลเป็นภาษามนุษย์คือ เอาเงินอนาคตหารเงินปัจจุบัน ถอดรากจำนวนปี ค่าที่ได้ลบ 1

ส่วนใหญ่จะใช้งานในการหา การเติบโต ในสูตรของการประเมินมูลค่า เพราะเบื้องหลังของสูตรประเมินมูลค่าจะมาจากการคิดผลตอบแทนทบต้น ดังนั้นการหาการเติบโตเฉลี่ยแบบนี้จะเหมาะสมกว่า


5.การหาค่าเฉลี่ย


เวลาดูกราฟแล้วเห็นเส้นค่าเฉลี่ยตัดขึ้นซื้อตัดลงขาย การเข้าใจให้ลึกขึ้นจะต้องมองไปที่ที่มาของเส้นค่าเฉลี่ยว่าคืออะไร

ในเชิงสถิติ ค่าเฉลี่ย พารามิเตอร์ตัวหนึ่งที่ใช้เป็นการอธิบายลักษณะของกลุ่มตัวอย่าง เหมือน นาย ก มีน้ำหนัก 10kg ถ้าเราอยากรู้ว่าทั้งบ้านของนาย ก 15 คนมีน้ำหนักเท่าไรก็จะใช้ค่าเฉลี่ยมาเป็นตัววัด

สูตรง่ายๆ คือ เอาค่าของกลุ่มตัวอยางมาบวกกันแล้วหารด้วยจำนวน

เช่นราคาหุ้น 5 วันย้อนหลังเท่ากับ 39 38 40 39 39.5 ราคาเฉลี่ย เท่ากับ (39 38 40 39 + 39.5) / 5 = 39.1 แปลว่าใน 5 วันที่ผ่านมาราคาหุ้นอยู่แถวๆนี้ละ

คนก็นำมาประยุกต์ได้หลากหลายเช่น เทรดด้วยกราฟของค่าเฉลี่ย ค่าค่าเฉลี่ยเริ่มสูงขึ้น (วันนี้สูงกว่าเมื่อวาน ) แสดงวาทิศทางราคาเริ่มมีการปรับตัวขาขึ้นโดย ใช้ค่าเฉลี่ยเป็นแนวร้บแนวต้านอะไรก็ว่ากันไป

ในการวิเคราะห์งบ ก็เอาค่าตัวบริษัทเอง เปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของตัวเองในอดีต หรือค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม ก็จะเห็นภาพได้ดีขึ้นว่าดีหรือแย่กว่าอุตสาหกรรมอย่างไร

จะเห็นว่าการที่เราเข้าใจที่มาที่ไปของสูตรต่างๆจะทำให้เราสามารถวิเคราะห์ได้ลึกซึ้นมากขึ้น เยี่ยมจริง



ติดตามข่าวสารและสอบถามปัญหาคาใจได้ที่ (ถามได้ทุกเรื่องยกเว้นยืมเงิน)
line@ หยิบมือถือมาจิ้มเบาๆที่ลิงค์
เพิ่มเพื่อน

fanpage investidea.in.th





สัมมนาวิเคราะห์หุ้นด้วยปัจจัยพื้นฐาน ดูรายละเอียดและตารางอบรมได้ที่หน้าหลักสูตร
หรือสอบถามราบละเอียดและลงทะเบียนได้ที่ Line; pat4310, หรือโทร 086-503-5023

วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

10สัญญาณหุ้นมันต้องมีอะไร


จะเป็นนักลงทุนมันต้องหูตาว่องไว อ่านข่าวสารต้องมีสัญชาติญาณนักสืบ ได้กลิ่นผิดปกติต้องอุทานในใจว่า "มันต้องมีอะไร" อุนทานดังไม่ได้เดี๋ยวเจ้ามือรู้ดังนี้

1.เปลี่ยนผู้ถือหุ้น


อ่านจากข่าวประจำวันของตลาดหลักทรัพย์ จะมีรายงาน 59-2  รายการการซื้อขายของผู้บริหารทุกวัน และรายงาน 246-2 สำหรับคนที่ซื้อขายผ่านทุก 5% นักลงทุนที่สายตาว่องไวต้องเข้าไปดูว่าคนที่ขายออกและซื้อเข้าเป็นใคร เอาไปค้น google ให้หมดเราอาจได้เห็นความเชื่อมโยงผู้ถือหุ้นคนนี้กับหุ้นตัวอื่นๆ เพื่อสามารถนำภาพมาปะติดปะต่อได้

http://capital.sec.or.th/webapp/corp_fin2/daily246.php?lang=t&ref_id=0&content_id=1

2.เปลี่ยนกรรมการ


ต่อเนื่องจากข้อ 1 ถ้าผู้ถือหุ้นชุดเดิมออกไปแล้วมีการเปลี่ยนแปลงอำนาจการบริการก็มักจะนำกรรมการที่ไว้ใจเข้ามาด้วย การที่กรรมการเป็นสญญาณว่ามันต้องมีอะไร

3.ซื้อสินทรัพย์


ถ้าบริษัทที่มีการลงทุนใหม่ๆ แบบทางลัดโดยการเข้าไปซื้อกิจการ ถ้าเป็นสินทรัพย์ที่มีสัดส่วนค่อนข้างสูง จะต้องมีการเรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติ

เทคนิคอยู่ที่ใกล้ๆวันประชุมจะมีรายงานที่ปรึกษาการเงินอิสระออกมาเป็น PDF ให้โหลดในหน้าข่าวของตลาดหลักทรัพย์หน้าที่นักลงทุนควรเข้าไปโหลดอ่าน

เทคนิคคือเข้าไปดูตรงที่เขาประมาณการรายได้และกำไร เข้าไปอ่านสมมติฐานการคำนวณว่าสมเหตสมผลหรือไม่ วันเข้าประชุมควรเข้าไปถามด้วยว่าสมมติฐานนั้นมีที่มาที่ไปอย่างไรน่าเชื่อถือหรือไม่

อนาคตถ้ามันไม่ค่อยเป็นไปตามแผนก็เอารายงานชุดนั้นละไปถามผู้บริหารในที่ประชุมว่าทำไมมันห่างจากแผนขนานนั้น

นอกจากนั้นยังต้องพิจารณาร่วมด้วยว่า สินทรัพย์ที่ซื้อมานั้นสอดคล้องกับกลยุทธ์ธุรกิจหรือไม่ เป็นการขยายตัวในแนวดิ่ง หรือขยายตัวในแนวข้าง ซื้อกิจการมาแล้วมีปัญญาบริหารให้มันมีกำไรเติบโตได้หรือไม่

การดูผลว่าสินทรัพย์ที่ซื้อเข้ามาดีหรือไม่ให้ดูว่า ROA ยังเท่าเดิมหรือไม่ ถ้าซื้อมาแล้ว ROA รวมๆลดลงแสดงว่าไม่ค่อยดีเท่าไร สินทรัพย์ที่ซื้อเพิ่มเข้ามาทำกำไรได้น้อยลง

4.การขายสินทรัพย์


ถ้าสินทรัพย์ที่มีมันไม่ทำกำไร อยู่ไปก็รกงบ สมควรเอาออกซะอย่างน้อย ROA ROE ก็จะดีขึ้น ถ้าสินทรัพย์ที่เหลือของบริษัทยังสามารถทำกำไรได้แสดงว่าหุ้นตัวนี้กำลังจะ Turnaround

5.การเรียกประชุมผู้ถือหุ้น


บริษัทที่เรียกประชุมผู้ถือหุ้นมันต้องมีประเด็นอะไร วันไหนว่างๆก็เข้าไปดูปฎิธินหลักทรัพย์ว่าบริษัทไหนมีการประกาศเครื่องหมาย XM บ้าง แล้วเข้าไปดูว่าประชุมเรื่องอะไร

เช่นเพิ่มทุน ต้องไปดูว่าจะเพิ่มทุนไปทำอะไร กิจการจะดีขึ้นในระยะยาวหรือไม่

6.รายได้เพิ่ม


บริษัทที่รายได้เพิ่มถ้าไปอ่านในคำอธิบายผลประกอบการว่าเป็นผลมาจาก กลยุทธ์ธุรกิจที่ถูกที่ ถูกเวลา อุตสาหกรรมกำลังเติบโต แม้ตอนนี้ยังไม่มีกำไรแต่ถ้ารายได้เริ่มถึงจุดคุ้มทุนเมื่อไรกำไรจะโตมาก

โดยเฉพาะบริษัทที่ลงทุนสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนมากๆ ช่วงแรกๆจะกำไรไม่ค่อยดีเพราะต้นทุนคงที่เยอะแต่ลูกค้ยังไม่ติด ถ้าวางกลยุทธ์ถูกทาง ลูกคค้าจะไหลมาเทมา รายได้จะเพิ่มขึ้น อัตราหมุนเวียนสินทรัพย์ (Asset Turnover ) จะมากขึ้น

7.อัตรากำไรขั้นต้นเพิ่ม


อัตรากำไรขึ้นต้นเพิ่มขึ้นไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ถ้ามีเพิ่มขึ้นได้แสดงว่ามันต้องมีอะไร ต้องไปดูสาเหตุว่ามาจากอะไร เช่น รอบวงจรของสินค้าที่ขายเป็นขายขึ้น มีการลดต้นทุนการผลิตได้อย่างเป็นรูปธรรม หรือบริษัทขยับไปขายสินค้าที่มีกำไรมากขึ้น

8.กำไรสุทธิเพิ่ม


กำไรเพิ่มอาจเป็นสัญญาณที่ช้ากว่าข้อ 7 แต่ชัวร์ เราบอกว่าช่วงนี้เศรษฐกิจไม่ค่อยดี แต่ถ้าแสกนมาดีๆ หุ้นหลายตัวก็มีกำไรเติบโตได้ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ ถ้าสังเกตตลาดหุ้นลงๆมา หุ้นที่กำไรยังเติบโตได้ราคาจะไม่ลดลงมาก ชนะตลาดได้สบายๆ เยี่ยมจริง

แต่ต้องระวังหุ้นที่กำไรเพิ่มจากกำไรพิเศษที่มาครั้งเดียว เช่นกำไรจากการขายสินทรัพย์ กำไรจากการเอาสินทรัพย์ไปขายเข้ากองทุน REIT กำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ เดี๋ยวนี้นักลงทุนฉลาดขึ้นหุ้นที่กำไรกระโดดจากกำไรพิเศษไม่ค่อยเล่นกัน แถมราคาลงอีกด้วยออกไม่ทันซวยกันทีเดียว

9.ขาดทุนหนักๆ


คนเราถ้าเจ็บหนักๆ แล้วมันไม่ตายเวลาฟื้นขึ้นมาจะสตองมาก ถ้าขาดทุนเพราะธุรกิจแข่งขันไม่ได้ก็อย่างไปยุ่งกับมัน แต่ถ้าขาดทุนเพราะกรรมเก่า เ่ช่นตั้งสำรองด้อยค่าสินทรัพย์ที่ไม่สร้างรายได้แล้ว ขาดทุนเพราะรายจ่ายที่มาครั้งเดียว เช่นกังวลเศรษฐกิจไม่ดีก็ตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มไว้หน่อย รายจ่ายพวกนี้ส่วนใหญ่เป็นรายจ่ายทางบัญชี ไม่ค่อยกระทบกับเงินสด

จุดสังเกตคือถ้างบขายทุนเยอะๆ แล้วกระแสเงินสดจากการดำเนินงานยังเป็นบวกได้แสดงว่ามันต้องมีอะไร เข้าไปดุว่าขาดทุนจากอะไร มีอะไรเหลืออยู่บ้าง และสิ่งท่เหลือทำกำไรได้หรือไม่ มีความสามารถในการเติบโตได้หรือเปล่า

10.หมายเหตประกอบงบการเงิน


เป็นอะไรที่คนไม่ค่อยอ่านกัน เพราะมันยาวและตัวเลขเยอะๆ แต่ถ้าอ่านดีๆมันจะขยายความรายการในงบได้เยอะเลย เช่นลูกหนี้การค้า เขาก็จะแยกตามอายุลูกหนี้ให้ สินค้าคงเหลือก็จะแยกเป็น วัตถุดิบ งานระหว่างทำ สินค้าสำเร็จรูป ธุรกิจมีหลายกลุ่มก็จะแยกออกเป็นผลประกอบการจำแนกตามส่วนงานให้ อีกหัวข้อที่คนยังไม่รู้คือเหตการณ์วันที่หลังงบการเงิน ถ้างบออกแล้วมีเหตการสำคัญก็จะบอกไว้ เช่นหลักปิดงบ 1 เดือน เอาเงินไปวางมัดจำซื้อที่ก็จะรายงานไว้ในหัวข้อนี้ด้วย

หวังว่าทริคเล็กนี้คงช่วยให้นักลงทุนหูตาว่องไวมากขึ้น ถ้าเจอหุ้นอะไรเด็ดๆ ก็แจ้งผมได้นะครับ

เพื่อไม่ให้พลาดอัพเดทความรู้การลงทุน สามารถกดติดตามได้ที่
line@ โดยการจิ้มเบาๆที่ลิงค์
เพิ่มเพื่อน
fanpage investidea.in.th


สัมมนาวิเคราะห์หุ้นด้วยปัจจัยพื้นฐาน ดูรายละเอียดและตารางอบรมได้ที่หน้าหลักสูตร
หรือสอบถามราบละเอียดที่ Line; pat4310, หรือโทร 086-503-5023

วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ส่องงบการเงิน QTC บริษัท คิวทีซี เอนเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน)

QTC บริษัท คิวทีซี เอนเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) ทำธรุกิจผลิตและจำหน่ายหม้อแปลงไฟฟ้าตามคำสั่งซื้อของลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ ภายใต้เครื่องหมายการค้า QTC และเครื่องหมายการค้าของลูกค้า รวมทั้งการให้บริการเกี่ยวกับหม้อแปลงไฟฟ้า ช่วงนี้ราคาิ่งดี มาส่องงบกันซะหน่อย

งบกำไรขาดทุนและงบกระแสเงินสด
ที่มา สรุปข้อสนเทศบริษัทจดทะเบียน
จะเห็นว่างบกำไรขาดทุนของ QTC ปี 2558 กำไรกระโดดดี ถ้าเทียบกับปี 2557 แต่ยังน้อยกว่าปี 2555 ถ้ากำไรขึ้นๆลงๆ แบบนี้ก็เดายากหน่อยว่าปีต่อไปจะเป็นอย่างไร เพื่อการเจาะลึกมากขึ้นต้องไปดูอัตราส่วนทางการเงิน

อัตราส่วนทาการเงิน
ที่มา สรุปข้อสนเทศบริษัทจดทะเบี้ยน และจากการคำนวณ

ความอยู่รอด

qtc เป็นบริษัทที่มีหนี้น้อย อัตราส่วนหนี้มีดอกเบี้ยต่อทุนต่ำเพียง 0.43 หนี้ส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะสั้น อัตราส่วน หนี้สั่นต่อหนี้รวมอยู่ที่ 0.96 เดาว่ากู้มาทำโปรเจกรอส่งมอบ แต่เงินสดจากการดำเนินงานไม่ค่อยส่วนเท่าไร บางปีลบ บางปีบวกอาจมีปัญหาสภาพคล่องเป็นช่วงๆ แต่โดยรวมๆ ไม่น่ามีปัญหาอะไรเพราะหนี้น้อย

การสร้างเงินสด

วงจรเงินสดยาว 103 วัน บริษัทที่วงจรเงินสดยาวๆ เวลารายได้โตเยอะๆ มักจะมีปัญหาเรื่องกระแสเงินสดดำเนินงาน ที่น่าสนใจคือ ระยะเวลาเก็บหนี้ยาวมาก 91.99 วัน ต้องไปดูว่าทำไมปล่อยเครดิตการค้ายาวเฟื้อยขนาดนั้น
ลูกหนี้การค้าของ QTC
ที่มาหมายเหตประกอบงบการเงิน qtc งบปี 2558

เมื่อเข้าไปดูหมายเหตประกอบงบ qtc มีลูกหนี้ก่อนหักค่าเผืออยู่ที่ 480 ล้าน มีหนี้ในกำหนด 327 ประมาณ 68% และหนี้เกินกำหนดไม่เกิน 3 เดือน อยู่ที่ 128 ล้าน หรือ 26% ที่เหลืออีก 100-68-26 = 6% เป้นหนี้ค้างเกิน 3 เดือน แสดงว่าบริษัทนี้ใจดี ชอบปล่อยหยวนๆ ให้ลูกหนี้เกินกำหนดประมาณ 3 เดือน เยี่ยมจริง

ในปี 2558 สินทรัพย์สามารถสร้างรายได้ได้ดี อัตราหมุนเวียนทรัพย์สินเพิ่มขึ้นเยอะ แสดงว่าสินทรัพย์เท่าเดิมสร้างรายได้ได้ดี

การทำกำไร


รายได้โตถึง 60% กำไรโตถึง 114% กำไรโตมากกว่ารายได้ ส่วนปีก่อนๆรายได้ลดลงนิดเดียวแต่กำไรหดตัวลงมาก ตีความอย่างหนึ่งว่าบริษัทมีต้นทุนคงที่สูงทำให้กำไรผันผวน แสดงว่าถ้าปีนี้รายได้ยังโตได้อีก กำไรจะโตมากเพราะต้นทุนคงที่ก็มีอยู่เท่าเดิม

จากคำอธิบายผลประกอบการ เขาว่า ปีนี้หลายบริษัททำโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนเยอะต้องใช้หม้อแปลงมาก

อัตรากำไรขั้นต้นพอๆกับปีที่แล้ว เนื่องจากรายได้โตแต่ต้นทุนวัตถุดิบหลายตัวเพิ่มทำรวมๆแล้วอัตรากำไรขั้นต้นเท่าเดิม

ที่น่าสนใจคือค่าใช้จ่ายขายและบริหารต่อยอดขายลดลงเยอะจากปีที่ ทั้งที่ดูเป็นตัวเลขแล้วเพิ่มขึ้น แสดงว่าค่าใช้จ่ายขายและบริหารเป็นต้นทุนคงที่ซะมากทำให้รวมๆแล้วค่าใช้จ่ายขึ้นน้อยกว่าการเพิ่มของรายได้

อัตรากำไรจากการดำเนินงาน ( (ยอดขาย - ต้นทุนขาย - ค่าใช้จ่ายขายและบริหาร) / ยอดขาย ) 12% พอๆกับ EBIT margin แสดงว่าปีนี้ไม่ค่อยมี รายได้ รายจ่าย อื่นเท่าไร

อัตรากำไร 9% ก็ปกติดี

โดยรวมก็ต้องวัดใจกันไปว่า ปีนี้จะมีออเดอร์รอส่งมอบอยู่หรือไม่ ที่น่าระวังอีกจุดคือถ้าภาคการก่อสร้างหดตัว การใช้หม้อแปลงก็จะลดลงไปด้วย

ที่มา
คำอธิบายผลประกอบการ http://www.set.or.th/set/newsdetails.do?newsId=14548865302851&language=th&country=TH




ติดตามเราได้ที่ Website : http://www.investidea.in.th
Facebook : http://www.facebook.com/investidea.in.th
Line ID : @investidea.in.th ใส่@นำหน้าด้วย
สัมมนาวิเคราะห์หุ้นด้วยปัจจัยพื้นฐาน ดูรายละเอียดและตารางอบรมได้ที่http://www.investidea.in.th/p/value-investor.html
หรือสอบถามราบละเอียดและลงทะเบียนได้ที่ Line; pat4310, หรือโทร 086-503-5023

วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

กรณีศึกษาการปรับโครงสร้างหนี้ของ THL บริษัท ทุ่งคาฮาเบอร์ จำกัด (มหาชน)

หุ้น THL บริษัท ทุ่งคาฮาเบอร์ จำกัด (มหาชน) ทำธุรกิจเหมืองหินสำหรับทางรถไฟ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจเหมืองทองคำ หุ้นตัวนี้เป็นหุ้นมหากาพย์ตัวหนึ่งตั้งแต่ผมเริ่มเล่นหุ้น ราคาหุ้นขึ้นลงเป็นรถไฟเหาะกับความคาดหวังในประเด็นการลงทุนเหมืองทองคำจะเข้ามาพลิกกิจการให้เติบโต

แต่เหมืองทองคำมีปัญหาไม่สามารถผลิตได้ตามแผน จนทำให้มีปัญหาหนี้สินพะรุงพะรัง จนสุดท้ายมียอดหนี้สุดท้ายที่เจ้าหนี้เรียกร้องรวมๆ ตามแผนฟื้นฟูกิจการรวมเป็นเงินกว่า 2,880 ล้านบาท และส่วนของผู้ถือหุ้นในงบรวมติดลบกว่า 1,213 ล้านบาท ว่าง่ายๆคือเจ้าของเดิมไม่เหลือเงินแล้วตอนนี้

หลังจากเจ็บมานานชีวิตไม่มีอะไรดีขึ้น จุดเปลี่ยนที่น่าสนใจอยู่ที่บริษัท THL ได้ตัดสินใจยื่นตัวเองเข้าฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลาง และศาลรับฟ้องเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2557 และแต่งตั้งบริษัทเป็นผู้บริหารแผน กระบวนการคือเรียกประชุมเจ้าหนี้ ถ้าเจ้าหนี้อนุมัติ ก็เอาแผนปรับโครงสร้างหนี้ไปให้ศาลอนุมัติ จากนั้นก็ชำระหนี้ตามแผนเรื่อยๆ หนี้หมดตามแผนก็ไปขอศาลอนุมัติออกจากแผนฟื้นฟู จบปัญหาหนี้สิน เป็นไท ได้คิดทำงานทำการต่อ

กระบวนการฟื้นฟูกิจการ


กระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ของ THL
หลังจากการประชุมเจ้าหนี้อย่างเคร่งเครียด (เดา) ก็ได้ข้อสรุปและนำข้อสรุปไปให้ศาลสั่งชำระหนี้ โดยในวันที่ 24 ตุลาคม 2558 ที่ผ่านมา

กระบวนการ การปรับโครงสร้างหนี้ จะแบ่งเจ้าหนี้ออกเป็น 7 กลุ่ม แบ่งจ่ายเป็น 5 งวด โดย THL จะชำระหนี้เงินต้นในจำนวน 520 ล้านบาท จากภาระหนี้ที่เจ้าหนี้เรียกร้องมาทั้งหมด 2,880 ล้านบาท

ชำระเงินโดยการเพิ่มทุนจดทะเบียนจากเดิม 756 ล้านบาท โดยเพิ่มทุนจดทะเบียนจากเดิมอีก 23,400 ล้านบาท รวมทุนจดทะเบียน 756+23,400 = 24,156 ล้านบาท บริษัทมีพาร์ 1 บาท ก็มี 24,156 ล้านหุ้นพอดี

จัดสรรให้ นักลงทุนแบบเฉพาะเจาะลง จำนวน 12,135 ล้านหุ้น ได้เงินมา 12,135 x 0.05 = 606 ล้านบาท เพิ่มทุนให้ผู้ถือหุ้นเดิม 4,541 ล้านหุ้น ได้เงินมา 4,541 x 0.05=227  และคงเหลือเงินที่ยังไม่ได้เพิ่มทุนอีก 6,723 ล้านหุ้น เป็นจำนวนเงิน 6,723 x 0.05 = 336 ล้านบาท

ได้เงินเพิ่มทุนมา ก็นำเงิน 100 ล้านไปชำระหนี้ และเงินที่เหลือใช้ไปเป็นเงินทุนหมุนเวียนและนำไปลงทุน ในโครงการต่างของบริษัทเช่น โรงโม่หิน ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และนำไปลงทุนในเหมืองทอง

ผลกระทบกับงบการเงิน


เจ้าหนี้ใจดีลดหนี้ให้จาก 2,880 ล้านบาท เหลือเพียง 520 ล้านบาท ทำให้เกิดกำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ 2,880-520 =2,360 ล้านบาท

ส่วนของผู้ถือหุ้น เพิ่ม1,ทุนจัดสรรให้ นักลงทุนแบบเฉพาะเจาะลง (PP) จำนวน 12,135 ล้านหุ้น ได้เงินมา 12,135 x 0.05 = 606 ล้านบาท เพิ่มทุนให้ผู้ถือหุ้นเดิม (RO) 4,541 ล้านหุ้น ได้เงินมา 4,541 x 0.05=227 รวมทั้ง เพิ่มทุนแบบเฉพาะเจาะจง และเพิ่มทุนให้ผู้ถือหุ้นเดิม ได้ส่วนทุนมา 606 + 227 = 833

เมื่อรวมกำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้และเงินจากการเพิ่มทุน ทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้น จากติดลบ 1,213 ล้านบาท กลายเป็น -1,213 + 833 + 2,360 = 1,980 ล้านบาท

คิดเป็นอัตราส่วน หนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (DE ratio) เท่ากับ 520/1,980 = 0.26 เท่า ต่ำมาก
แต่การหมดหนี้ต้องแลกกันกับ สัดส่วนผู้ถือหุ้นเดิมที่ลดลง ถ้าดูตามจำนวนหุ้นหลังจากเพิ่มทุน 24,156 ล้านหุ้น ถ้าหัก จำนวนหุ้นที่ยังไม่ได้ออกชำระ 6,723 ล้านหุ้น จะเหลือหุ้น 24,156-6,723=17,433 ล้านหุ้น
ผู้ถือหุ้นเดิม (756 + 4,541)/17,433 = 30%
ผู้ถือหุ้นใหม่ 12,135/17,433=70%
และคงเหลือเงินที่ยังไม่ได้เพิ่มทุนอีก 6,723 ล้านหุ้น

อนาคตบริษัทจะเป็นอย่างไร

หุ้น turnaround ที่แท้จริง หลังจากปรับโครงสร้างหนี้และทุนจนปัญหาจบแล้ว กิจการต้องสามารถเติบโตต่อเนื่องได้ไม่กลับมาขาดทุนอีกครั้งให้ต้องปรับโครงสร้างหนี้อีก เมื่อพิจารณาจากสัดส่วนของผู้ถือหุ้นใหม่ที่เข้ามามีสัดส่วนการถือหุ้นกว่า 70% แสดงว่าอนาคตของบริษัทนี้ขึ้นอยู่กับกลุ่มผู้ถือหุ้นชุดใหม่ที่เข้ามา จะวางแผนพาบริษัทไปทิศทางไหน


สำหรับอนาคตที่ผมมอง หลังจากคลายปมเรื่องหนี้สินได้แล้ว ก็ต้องมาจัดการส่วนงานที่มีปัญหาที่สุดคือ บริษัททุ่งคำ ทำธุรกิจเหมืองทองคำ ที่ปัจจุบันบริษัทนี้ยังมีผลการดำเนินงานขาดทุน เหมืองก็ยังขุดไม่ได้ ต้องหาวิธีเอามันออกจากงบให้ได้ ไม่งั้นผลประกอบการก็ยังเจ้งเหมือนเดิม

ในความคิดผมถ้าเป็นผมจะขายทั้งบริษัททิ้ง ขอแค่ 520 ล้านเท่าจำนวนหนี้ที่เคลียให้บริษัททุ่งคำแล้วเอาเหมืองไปเลยยกให้ จุดขายคือคนซื้อก็ได้บริษัทที่ผลประกอบการขาดทุนพร้อมกำไรสะสมไปลดภาษีตัวเองได้ แค่นี้ก็บริษัททุ่งคาก็งบการเงินรวมสะอาดละ จากนั้นอยากทำอะไรก็ทำได้แล้ว เพราะดูธุรกิจที่เหลือก็พอก็อกๆแก็กๆไปได้

โดยสรุปแล้ว หุ้น THL บริษัท ทุ่งคาฮาเบอร์ จำกัด (มหาชน) หลังจากปรับโครงสร้างหนี้ได้สำเร็จ ผมมองว่าเป็นก้าวแรกที่สำคัญของการพลิกฟื้นกิจการ เพราะทำให้ตัวเบาไปได้เยอะ หลังจากนี้คงต้องดูต่อไปละครับว่ากลุ่มเจ้าของใหม่ที่ใส่เงินเพิ่มทุนแบบเฉพาะเจาะจงเข้ามา มองเห็นอะไรและจะพาบริษัทไปในทิศทางไหน สู้ต่อไป THL

ที่มา
 [1] http://www.set.or.th/set/pdfnews.do?newsId=14509124435091&sequence=2015095007

วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

แผนผังการดูความถูกแพงของหุ้นด้วย PE ratio

การประเมินมูลค่าหุ้นด้วย PE เบื้องต้น

การประเมินมูลค่าหุ้นเป็นไม้เบื่อไม้เมาของนักลงทุนหลายๆท่านมาตลอด แต่ถ้าเรามีหลักคิดที่เป็นระบบก็จะสามารถบอกได้อย่างเร็วๆว่าหุ้นที่เรากำลังสนใจถูกหรือแพงไป คุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ บทความนี้จะใช้เครื่งอมือคือ PE ratio ในการคัดกรองหุ้น

เริ่มต้นหยิบหุ้นมา 1 ตัวถ้า PE สูงๆ ให้เดาไว้ก่อนเล่ยว่าราาเล่นอนาคตไปเยอะต้องมาคิดว่า กำไรจะโตทันความคาดหวังหรือไม่ ถ้า PE 100 เท่าแสดง่ว่าตลาดคาดหวังการเติบโต 100% อย่างต่ำ ถ้ามองแผนธุรกิจ แนวโน้มอุตสาหกรรมแล้วไม่น่าทำได้ก็แสดงว่าแพงไป ซื้อไปอาจไม่ได้ผลตอบแทนอะไร เหนื่อยเปล่าๆ เปลี้ยๆ

ถ้า PE ไม่แพงมาก ก็มาดูต่อว่ามีกำไรพิเศษที่มาครั้งเดียว (one time gain) เช่น กำไรจากการขายที่ดิน กำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้หรือไม่ ถ้ามีลองเอากำไรพิเศษออกแล้วดูว่าPE เป็นเท่าไร บางบริษัทเอาออกแล้วขาดทุนก็มี เดี๋ยวนี้ตลาดฉลาดขึ้น หุ้นมีกำไรพิเศษไม่ค่อยเล่นกัน

สำหรับหุ้นพัฒนาอสังหาริมทรัพย์  หรือรับเหมาที่กำไรมาแบบไม่ต่อเนื่อง บางคนก็จัดเป็นกำไรพิเศษเหมือนกัน เพราะงวดต่อไปถ้าไม่มีโครงการโอนต่อ งบก็เน่า

หุ้นที่กำไรพิเศษมาครั้งเดียวอย่าให้ PE เยอะ 3-4 เท่าก็หรูละ

หุ้นกลุ่มวงจร ที่ทำธุรกิจ เกี่ยวกับ ปิโตเคมี สินค้าเกษตร โลหะ เดินเรือ พวกนี้กำไรจะมาเป็นรอบๆ 2-3 ปีครั้งหนึ่ง ช่วงจุดสูงสุดของรอบ จะกำไรเยอะ และ PE ต่ำผิดปกติ หลายคนดูไม่ดีก็เผลอซื้อไปนกว่าจะโตได้ต่อเนื่อง ติดดอยกันไป หุ้นวงจรตลาดมักจะไม่ให้ PE เยอะ 6-7 เท่าก็หรูแล้ว

ถ้า PE ต่ำเพราะตลาดมองว่า กำไรอนาคตจะลดลง เช่นแนวโน้มอุตสาหกรรมกำลังแย่ลง คนรู้ลึกรู้จริงจะขายมาก่อนทำให้ราคาลด และ PE ก็ต่ำลง คนไม่รู้ก็เข้าไปซื้อก็ซวยไป เพราะถ้าอนาคตกำไรลดลงจริง pe จะสูงขึ้น และเราจะซวย

ประเด็นนี้วิเคราะห์ยากหน่อย ต้องอ่านงบ อ่าน ธุรกิจให้ขาด

แต่ถ้ามองแล้ว เป็นกำไรปกติ ธุรกิจพอไปวัดไปวาได้ เติบโตพอสมควรแก่เหต มีปันผล ก็ถือว่า ราคาไม่แพงซื้อลงทุนได้ ปกติ PE รับได้จะอยู่ช่วง 10-15

แต่หุ้นที่ตลาดมักให้ PE สูงขึ้นมีเหตผลเช่น ROE สูงสม่ำเสมอ จ่ายปันผลเยอะๆจากกำไร อยู่ในอุตสาหกรรมมีการเติบโต

แต่ถ้าหุ้น PE = n.a คำนวณไม่ได้ แสดงว่าขาดทุน ต้องไปแคะดูว่าปัญหามาจากไหน และมีแผนธุรกิจในการพลิกฟื้นกิจการอย่างไร ถ้าพลิกฟื้นแล้วจะมีกำไรปกติอย่างไร เติบโตได้ต่อเนื่องหรือไม่ ถ้ามันใจว่าฟื้นได้ก็จัดเลย

หวังว่าแผนผังนี้คงช่วยไปคัดกรองหุ้นเบื้องต้นได้นะครับ โชคดีในการลงทุน