วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556

วิธีการอ่านงบกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน

มีมิตรสหายท่านหนึ่งส่ง รูปงบกระแสเงินสดจากการดำเนินงานมาให้ แล้วถามสั้นๆ ว่าช่วยอธิบายหน่อยเพราะงง เขาถามมาเราก็จัดให้ครับ

กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน(cash flow from operation) เรียกสั้นๆว่า CFO เป็นงบการเงินที่แสดงการเคลื่อนไหวของ "เงินสด" ของบริษัทที่เกี่ยวกับการดำเนินงาน งบกระแสเงินสดจะเป็นงบกระแสเงินสดทางอ้อมครับ คืออ้อมไปงบอื่นก่อนแล้วมาเป็นเงินสด สำหรับ CFO อ้อมมาจาก 2 งบครับคืองบกำไรขาดทุน และงบดุล คือสีฟ้าๆ ตามภาพนั่นเอง

ส่วนแรก อ้อมจากงบกำไรขาดทุน 

เป็นการเปลี่ยนแปลงจากกำไรทางบัญชีให้เป็นเงินสด

  • จากงบกำไรขาดทุน  รายได้ - รายจ่าย = กำไร
  • งบกำไรขาดทุนบัญทึกบัญชีด้วยเกณฑ์คงค้าง ทำให้มีรายได้บางรายการที่ไม่ใช่เงินสด และรายจ่ายหลายรายการก้ไม่ได้จ่ายออกไปเป็นเงินสด
  • กระแสเงินสดต้องการแสดงเฉพาะรายการที่เป็นเงินสด นักบัญชีจึงแปลงกำไรให้เป็นเงินสด โดย เอากำไรทางบัญชีเป็นตัวตั้ง และค่าใช้จ่ายไหนที่เป็นเงินสดก็นำมาบวกกลับ รับไดไหนที่ไม่ได้รับมาเป็นเงินสดก็เอามาหักออกจากกำไรทางบัญชี สรุปเป็นสูตรง่ายๆว่า
    • ค่าบวก แปลว่ารายการนั้นไม่ได้จ่ายเป็นเงินสด
    • ค่าลบ แปลว่ารายการนั้นไม่ได้รับมาเป็นเงินสด
ภาพที่ 1 การเปลี่ยนแปลงในงบกำไรชาดทุน
จากภาพที่ 1

  • กำไรสุทธิ 229 ล้านจากงบกำไรขาดทุน เป็นตัวตั้ง ปรับปรุงด้วย
    • ค่าเสื่อม 68 ล้าน ไม่ได้จ่ายเป็นเงินสดก็เอามาบวกกลับ
    • หนี้สูญ 179 ล้าน ไม่ได้จ่ายเป็นเงินสดก็เอามาบวกกลับ เพราะเงินจ่ายไปตั้งแต่วันที่ให้เขากู้แล้วบัญทึกไว้เป็นลูกหนี้ในงบงบดุล พึ่งมาตัดจ่ายเป็นหนี้สูญในงบกำไรขาดทุนในไตรมาศนี้
    • กำไรจากการจำหน่ายอุปกรณ์ 6.34 ล้าน อันนี้นักบัญชีเขาต้องการย้ายให้มันอยู่ใน CFI กระแสเงินสดจากการลงทุน เขาเลยเอากำไรจากการจำหน่ายอุปกรณ์มาหักออกใน CFO และมาบวกกลับใน CFI
    • ที่เหลือคิดเองฝึกสมองบ้าง
  • จะได้กำไรจากการดำเนินงานก่อนการเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์และหนี้สินดำเนินงานเท่ากับ 486 ล้านแปลว่าทำมาหากินบริษัทนี้ได้กำไรที่เป็นเงินสดออกมา 486 ล้านบาน

ส่วนที่ 2 อ้อมมาจากงบดุล

งบดุลเป็นการบันทึกรายการ สินทรัพย์ หนี้สิน และทุน ณ จุดใดจุดหนึ่งของเวลา ผลต่างของแต่ละจุดเวลาก็คือ flow ในช่วงเวลานั้นๆ (เพิ่มขึ้น, ลดลง) โดยการ เพิ่มขึ้นหรือลดลงในงบดุลมีความหมายดังนี้

  • สินทรัพย์
    • สินทรัพย์เพิ่ม แปลว่าเงินลดไปซื้อสินทรัพย์นั้น บันทึกค่าลบในงบกระแสเงินสด
    • สินทรัพย์ลด แปลว่าขายสินทรัพย์ออกมาได้เงิน บันทึกค่าบวกในงบกระแสเงินสด
  • หนี้สิน
    • หนี้สินเพิ่ม แปลว่าเงินเพิ่ม(ไปกู้เขามา) บันทึกค่าบวกในงบกระแสเงินสด
    • หนี้สินลด แปลว่าเงินลด(ใช้หนี้) บันทึกค่าลบในงบกระแสเงินสด
  • ทุน
    • ทุนเพิ่ม แปลว่าเงินเพิ่ม(ไปเพิ่มทุน) บันทึกค่าบวกในงบกระแสเงินสด
    • ทุนลด แปลว่าเงินลด(ลดทุน) บันทึกค่าลบในงบกระแสเงินสด
การอ่านให้อ่านจากหลังไปหน้าคือดูเครื่องหมายตัวเลขตามสูตร
  • ครื่องหมายลบ เงินหาย ตีความว่า
    • สินทรัพย์เพิ่ม
    • หนี้ลด
    • ทุนลด
  • เครื่องหมายบวก เงินเพิ่ม ตีความว่า
    • สินทรัพย์ลด
    • หนี้เพิ่ม
    • ทุนเพิ่ม
ภาพที่ 2 การเปลี่ยนแปลงในงบดุล


สินทรัพย์ดำเนินงาน

  • ลูกหนี้การค้า เพิ่มขึ้น 1000 ล้าน (เอาเงินให้เขากู้)
  • จ่ายล่วงหน้า เพิ่มขึ้น 38 ล้าน
  • สินค้าคงเหลือลดลง 22 ล้าน (ขายออก)
  • ที่เหลือลองอ่านเอา
หนี้สินดำเดินงาน
  • เจ้าหนี้การค้า ลดลง 12 ล้าน (คืนหนี้)
  • ภาษีค้างจ่าย เพิ่มขึ้น 12 ล้าน (ค้างภาษี)
  • ที่เหลืออ่านเอาเอง

ส่วนที่ 3 เงินสดสทุธิจากกิจกรรมดำเนินงาน

ค่าติดลบ 552 ล้าน ดูเผินเหมือนร้อนเงินแต่ส่วนใหญ่มาจาก เอาเงินไปใช้เขาก็ ซึ่งจะได้รายได้มาเป็นดอกเบี้ยในอนาคต ถ้าดูแลเรื่องส่วนต่างดอกเบี้ยระหว่างเงินที่กู้มากับเงินที่ปล่อยต่อ และหนี้สูญดีๆ บริษัทจะมีกำไรครับ


ตั้งสติดีๆ จะไม่งงครับ เจริญในการลงทุนทุกท่าน

วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

การตั้งสำรองหนี้สูญและการวิเคราะห์

บทความเรื่องการตั้งสำรองหนี้สูญของ อ.สรรพงศ์ ลิมป์ธำรงกุล[1] เขียนดีมากครับ ทั้งวิธีคิดหนี้สูญ และการดูว่าตั้งสำรองน้อยหรือมากไปโดยเทียบกับ ระยะเวลาเก็บหนี้เฉลี่ย เชิญอ่านโดยพลัน

เมื่อกิจการทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นซื้อมาขายไป ผลิตเพื่อขาย ให้บริการ เมื่อเกิดรายได้ขึ้นจะบันทึกลูกหนี้การค้า (ให้เครดิตการจ่ายเงิน) และบันทึกรายได้จากการขายหรือให้บริการ ซึ่งจะใช้กับรายการที่เป็นรายได้หลัก ส่วนรายได้อื่นๆ ที่ไม่ใช่รายการหลัก จะบันทึกเป็นรายได้ค้างรับหรือลูกนี้อื่น ดังนั้นเมื่อเห็นสองรายการนี้ในงบแสดงฐานะการเงินต้องเข้าใจว่าต่างกันอย่างไร รายได้ค้างรับเช่น ดอกเบี้ยหรือเงินปันผลเป็นต้น ส่วนลูกหนี้อื่นอาจเกิดจากการขายสินทรัพย์อื่นๆ ที่ไม่ใช่สินค้า เช่นขายเครื่องจักรเก่า เศษซากวัตถุดิบ เป็นต้น

การตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญนี้จะตั้งจากรายการลูกหนี้การค้าเท่านั้น โดยทั่วไปกิจการจะตั้งโดยใช้วิจารณญาณของผู้บริหารว่า ลูกหนี่ที่เหลืออยู่ในวันที่แสดงรายงาน จะเก็บเงินได้หรือไม่ได้เท่าไร โดยมักอิงกับอายุลุกหนี้ที่ค้างชำระอยู่ และคูณกับ % ที่คิดว่าจะสูญ เช่น
อายุที่ค้างชำระนับจาก
วันครบกำหนดชำระ จำนวนเงิน(พันบาท) อัตราหนี้สูญ สำรองหนี้สงสัย
ยังไม่ถึงวันชำระ--------------245,900-------------1%-----------2,459
0-30 วัน------------------------97,050-------------2%-----------1,941
30-60 วัน----------------------21,000--------------5%----------1,050
60-90 วัน------------------------8,600------------20%----------1,720
90-120 วัน----------------------2,340------------50%----------1,170
เกินกว่า 120 วัน----------------3,700-----------100%---------3,700
รวม----------------------------378,590--------------------------12,040
หักหนี้สงสัยจะสูญ------------12,040
ลูกหนี้การค้าสุทธิ------------366,550
ในหมายเหตุฯ เราจะเห็นแค่ 2 แถวแรกเท่านั้น เราะบางบริษัทก็อาจตั้งโดยดูรายลูกหนี้ก็ได้ แต่วิธีหลังนี้ใช้กับกร๊ที่มีจำนวนลูกหนี้น้อยที่มีอยู่จริงไม่กี่สิบราย แต่ทั่วไป ลูกหนี้การค้าอาจมีเป็นร้อยเป็นพันราย การดูรายลูกนี้แล้วตั้งค่าว่ารายใดจะสูญหรือไม่มักไม่ทำกัน นิยมการใช้แนวทางที่ทำให้ดู ปัญหาก็คือตัว % ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญนี่แหละ ในธุรกิจทั่วไปไม่ได้มีอัตรามาตรฐานกำหนดไว้ ให้ขึ้นกับวิจารณญาณของผู้บริหารเอง ต่างกับธนาคารที่ธนคารแห่งประเทศไทยกำหนดขั้นต่ำไว้ให้ ดังนั้นธนาคารใดที่สำรองไว้มากๆ ก็ conservative กว่า (ไว้มีเวลาจะบอกวิธีการดูว่ามีนัยใดหรือไม่กับการตั้งสำรองสูงหรือต่ำเมื่อพิจรณากับภาวะเศรษฐกิจ)

อย่างที่กล่าวไว้ สำหรับบริษัททั่วไปใช้หลักตามวิจารณญาณ (บางทีผมชอบใช้แบบประชดเวลาบรรยายว่าตามอำเภอใจ) ของผู้บริหาร เพราะการตั้งมากๆ ไม่ได้ประโยชน์ใดๆต่อธรุกิจเลย คือด้านภาษีก็หักไม่ได้ ต้องบวกค่าใช้จ่ายนี้กลับในการคำนวณจ่ายภาษีจริงทำให้เกิดสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดขึ้น แต่ในแง่นักลงทุนดูกำไรสุทธิเป็นหลัก หนี้สงสัยจะสูญทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในงวด แต่เงินสดจ่ายภาษีจริงมากกว่าภาษีทางบัญชีก็ไม่ดีต่อกระแสเงินสดการดำเนินงาน ดังตัวอย่างสมมติมีรายการหนี้สงสัยจะสูญขึ้นทำให้ต้องบวกกลับการคำนวณกำไรทางภาษี ทำให้การจ่ายภาษีจริงเป็น 100 แต่ภาษีทางบัญชีอาจเกิดเพียง 90
เดบิต ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้____________90
สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี___10
เครดิต เงินสด______100
สมมติว่ามีกำไรทางบัญชี 360 (tax rate 25%) แต่กำไรทางภาษีเท่ากับ 400 เกิดจากการบวกกลับค่าใช้จ่ายจากหนี้สงสัยจะสูญ 40 กำไรที่หายไปนี้ทำให้ราคาหุ้นลงมากกว่าสินทรัพย์ที่งอกออกมาจากสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัด จึงทำให้หลายบริษัทมีแนวโน้มที่จะตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญน้อยกว่าที่ควร

ปัญหาของนักลงทุนคือแล้วจะทราบได้อย่างไร? เราคงไม่สามารถไปลงรายละเอียดได้ แต่อาจประเมินจากภาพรวมได้ โดยการใช้ อัตราส่วนการหมุนเวียนลูกหนี้การค้า (Accounts Receivable Turnover) แล้วกลับสัดส่วนคูณ 365 หรือ 360 เพื่อแปลงเป็นจำนวนวันระยะเวลาอายุหนี้เฉลี่ยหรือระยะเวลาเก็บเงินลูกหนี้เฉลี่ย

A/R Turnover = Sales / A/R เฉลี่ย
ระยะเวลาอายุหนี้เฉลี่ย = 360 / A/R Turnover
ถ้ายอดขาย 1 ปี ใช้ 360 ถ้ายอดขายครึ่งปี ใช้ 180 ถ้า 1 ไตรมาสใช้ 90 หลายคนเอางบไตรมาสมาทำ ratio แล้วใช้ 360 เพื่อหาระยะเวลาอายุหนี้เฉลี่ย ปรากฎว่าผิดเพี้ยนมาก เลยคิดว่าทำผิดหรือพาลเอาว่าสูตรผิดแล้ว้ลยเลิกใช้ก็มี

สมมติจากตัวอย่าง ลูกหนี้การค้าสุทธิ 366,550 งวดก่อนหน้า ปีที่แล้ว 293,240 ยอดขายทั้งปีเท่ากับ 1,649,475 หน่วยทั้งหมดคือพันบาทเราอาจใช้ที่หน่วยล้านบาทก็ได้
A/R Turnover=1,649.5/{(366.6+293.2)/2}= 1,649.5/329.9= 5
ระยะเวลาอายุหนี้เฉลี่ย = 360/A/R Turnover= 360/5 = 72 วัน

จากอัตรส่วนที่ได้แสดงว่ายอดลูกหนี้สุทธิมียอดลูกหนี้อายุเฉลี่ยราว 72 วัน เราต้องพิจารณาว่านานเกินเหมาะสมไหม ถ้าปกติจะให้เครดิต 30 วัน แสดงว่ามียอดค้างชำระเกินเฉลี่ย 42 วัน ยอดลูกหนี้สุทธินี้ได้หักสำรองแล้วเมื่อคิดเป็นระยะเวลายังอยู่ที 42 วัน ถ้าเราคิดว่ายังมากไป แสดงว่าตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญน้อยกว่าที่ควร

หากเราจะปรับปรุงเองว่าน่าจะมีอายุลูกหนี้ราว 60 วันหรือ มียอดค้างชำระเกินเฉลี่ย 30 วัน จ่ายหนี้เกินกว่าเครดิตที่ให้ 2 รอบ
ลูกหนี้สุทธิปลายงวดควรเป็นดังนี้ หาได้โดยการคำนวณย้อนกลับ
60 = 360 / A/R Turnover --- > A/R Turnover = 6
A/R Turnover = Sales / A/R เฉลี่ย
A/R เฉลี่ย = Sales/A/R Turnover
A/R เฉลี่ย = 1,649.5 / 6 = 274.9
A/R เฉลี่ย = (A/R ต้นงวด + A/R ปลายงวด)/2
A/R เฉลี่ย = (293.2 + A/R ปลายงวด)/2
A/R ปลายงวด = 274.9*2 – 293.2 = 256.6
ต้องสำรองเพิ่มอีก 366.6 - 256.6 = 110 ล้านบาท
แต่ถ้าเราให้รอบการเก็บเงินเท่ากับ 5.5 รอบหรือราว 65.5 วัน (หรือระยะเวลาอายุหนี้เฉลี่ย)
ต้องสำรองเพิ่มอีกราว 60 ล้านบาท {366.6 – [2*(1,649.5 / 5.5) – 293.2]}
ยิ่งเรา conservative มากเท่าไร ก็ต้องสำรองมากขึ้น แต่โดยทั่วไป เราใช้พิจารณาคร่าวๆ ว่าตั้งเพียงพอไหม กำไรสูงไปไหม เพราะไม่ค่อยมีใครมาคำนาณให้ยุ่งยาก แค่เห็นว่าตั้งน้อยไป เราก็ไม่ไล่ราคาหุ้นแล้ว แต่ถ้าหาราคาแท้จริง (Intrinsic Value) ก็ต้องใช้คำนวณ

ที่มา
[1]https://www.facebook.com/sanpong.limthamrongkul/posts/10201084853421921

วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556

วิธีคัดหุ้นเด่นลงทุนอย่างง่ายๆ

งานวิจัยของอาจารย์ไพบูรณ์ เสรีวิวัฒนาครับ จากงานวิจัยเรื่อง Common Financial Ratios and Value Investing in Thailand เป็นวิธีการเลือกหุ้นแบบง่ายๆ โดยเลือกหุ้นด้วยตัวเลขทางการเงิน 5 ตัว  ประกอบด้วย

  • p/e คือ ราคาหารด้วยกำไรต่อหุ้น
  • p/b คือ ราคาหารด้วยมูลค่าทางบัญชี
  • d/p คือ อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล
  • ROE คืออัตราผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้น
  • ROA คืออัตราผลตอลแทนต่อทรัพย์สิน
  • ตัวเลขการเงินทั้ง5ตัว มีอยู่ใน website set.or.th ครับ
เลือกมาต้นปีพอสิ้นปีก็ขาย แล้วก็เลือกใหม่
สรุปสั้นๆ ว่า p/e ใช้ได้ดีที่สุดครับ
……………
p/e ยิ่งต่ำยิ่งดี ผลตอบแทน 38.96% ต่อปี
ตามด้วย p/b ยิ่งต่ำยิ่งดี ผลตอบแทน 33.47% ต่อปี
และ ROE ยิ่งสูงยิ่งดี ผลตอบแทน 30.23% ต่อปี
ส่วน ROA นั้นถือว่าทับซ้อนกับ ROE และสู้ ROE ไม่ได้ ผลตอบแทน 22.02% ต่อปี
และ d/p หรือผลตอบแทนจากปันผล ซึ่งยิ่งสูงยิ่งดี ผลตอบแทน 20.38% ต่อปี
โดยสรุปแล้ว
หากต้องใช้อัตราส่วนทางการเงินตัวเดียว
เรียงตามลำดับตัวที่ทำให้ผลตอบแทนสูงสุดคือ
P/e p/b ROE d/p ครับ

ข้อมูลตามตารางครับ
ผลตอบแทนเทียบกับผลตอบแทนตลาด
เมื่อเที่ยบจำนวนหุ้นในพอร์ทพบว่า 10 ตัว work สุด
เลือกหุ้นมา 10 20 30 ตัว
คราวนี้เอาหลาย ratio มาช่วยเลือก
 2  ratio มาช่วยกัน
3 ratio มาช่วยกัน
มายกแพ๊ก 4 ratio รวด
คราวนี้ลองจัดพอร์ทว่าหุ้นกีตัวดี
หุ้นยิ่งน้อยยิ่งดี

......
พวกเราที่ต้องการอ่านงานวิจัยล่วงหน้า ไปที่นี่นะครับ
............................
http://www.scienpress.com/journal_focus.asp?main_id=69&Sub_id=IV&Issue=822


วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556

ปัญหาเรื่อง CAPEX และ CWC ในการคิด DCF

มีมิตรสหายท่านหนึ่งอยากลองหามูลค่าหุ้นด้วยวิธี DCF แต่ติดปัญหาเรื่อง CAPEX และ CWC ได้โพสถามใน http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=1&t=56411 และได้คำตอบอันทรงคุณค่าดังนี้ครับ

1. CAPEX (Capital Expenditure)


ผมเลือกรายการที่อยู่ใน "กระแสเงินสดจากกิจกรรมการลงทุน" ในบรรทัดสีแดงมาคิด CAPEX
ผมสงสัยว่า "เงินสดจ่ายสำหรับการซื้อเงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขาย" ต้องเอามาคิดด้วยหรือเปล่าครับ ?ผมเลือกถูกแล้วใช่ไหมครับ ?


  • เงินฝากธนาคารที่ติดภาระค้ำประกันลดลง (เพิ่มขึ้น)
  • เงินสดรับจากการจำหน่ายเงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขาย
  • ดอกเบี้ยรับ
  • เงินปันผลรับ
  • เงินสดรับจาก (จ่ายสำหรับ) การลงทุนในเงินลงทุนระยะสั้น
  • เงินสดจ่ายสำหรับการซื้อเงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขาย
  • เงินสดรับจากการจำหน่ายสินทรัพย์ถาวร
  • เงินสดจ่ายซื้อสินทรัพย์ถาวร
  • เงินสดจ่ายซื้อสินทรัพย์ไม่มีตัวตน


2. CWC (Changes in Working Capital)


ผมเลือกรายการที่อยู่ใน "สินทรัพย์" ในบรรทัดสีแดงมาคิด CWC
ผมสงสัยว่า "ภาษีเงินได้นิติบุคคลค้างจ่าย" ต้องเอามาคิดด้วยหรือเปล่าครับ ?
ผมเลือกถูกแล้วใช่ไหมครับ ?
สินทรัพย์หมุนเวียน

  • เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
  • เงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขาย
  • ลูกหนี้การค้า
  • กิจการที่เกี่ยวข้องกัน
  • กิจการที่ไม่เกี่ยวข้องกัน
  • ลูกหนี้จากการขายผ่อนชำระที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี
  • สินค้าคงเหลือ
  • สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น
หนี้สินหมุนเวียน

  • เจ้าหนี้การค้า
  • กิจการที่เกี่ยวข้องกัน
  • กิจการที่ไม่เกี่ยวข้องกัน
  • เจ้าหนี้ค่าซื้อสินทรัพย์
  • ภาษีเงินได้นิติบุคคลค้างจ่าย
  • หนี้สินหมุนเวียนอื่น

ขอบคุณครับ

มิตรสหายอีกท่านตอบว่า

1. CAPEX (Capital Expenditure)


"เงินสดจ่ายสำหรับการซื้อเงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขาย" ต้องเอามาคิด CAPEX ด้วยหรือเปล่าครับ ?

สมมติว่าเป็นธุรกิจประเภท Manufacturing ซึ่งไม่ใช่ธุรกิจที่ต้องค้าเงิน
(ธุรกิจที่ต้องค้าเงิน เช่น ธนาคาร โบรกเกอร์ ประกัน กองทุนรวม)
ตอบ ไม่ต้องเอามาคิดใน CAPEX ครับ

ขออธิบายเพิ่มครับ
ขอโยงไปงบกระแสเงินสด หมวด Cash Flows from Investing Activities (CFI)
This section of the cash flow statement shows the amount of cash firms spend on investments. Investments are usually classified as either capital expenditures--money spent on items such as new equipment or anything else needed to keep the business running--or monetary investments such as the purchase or sale of government bonds. The most important parts of this section for investors are typically the capital expenditures line item and the line item for acquisitions of other businesses.
สรุป จะเห็นว่า "เงินสดจ่ายสำหรับการซื้อเงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขาย" อยู่ใน CFI เหมือน Cap. Ex.
แต่เป็นอีกกลุ่มนึง กล่าวคือไม่ต้องเอามาคำนวณเพื่อหา Cap. Ex. นั่นเอง
อย่าลืมว่า Cap. Ex. คือเงินลงทุนที่บริษัทจำเป็นต้องจ่าย เพื่อรักษา capacity ในการผลิตให้เท่าเดิม
เมื่อเรานำ Cap. Ex. ไปคำนวณหา Free Cash Flow to Firm ได้แล้ว จึงขึ้นอยู่กับผู้บริหารว่าจะนำกระแสเงินสดอิสระส่วนนี้ ไปใช้ชำระหนี้ ใช้จ่ายปันผล หรือจะใช้ขยายกำลังการผลิต อย่างละเท่าไหร่ดี
ขณะที่ "เงินสดจ่ายสำหรับการซื้อเงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขาย" ไม่ได้มีความจำเป็นที่บริษัทจะต้องนำ Operating Cash Flow มาใช้กับเรื่องนี้ แต่ "เงินสดจ่ายสำหรับการซื้อเงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขาย" เกิดขึ้นเพราะเป็นการบริหารสภาพคล่องระยะสั้นด้วยการเอาเงินสดไปซื้อสินทรัพย์ดังกล่าว

แต่ "เงินสดรับจากการจำหน่ายสินทรัพย์ถาวร(ที่ไม่ใช่พวกอสังหาฯเพื่อการลงทุน)" ควรเอามาใช้คำนวณ Cap. Ex . ด้วยครับ เพราะรายการนี้อยู่ใน CFI ในกลุ่ม Cap. Ex.
โดยรายการ"เงินสดรับจากการจำหน่ายสินทรัพย์ถาวร" ดังกล่าวต้องมีเครื่องหมายบวกหรือลบตรงข้ามกับ
"เงินสดจ่ายซื้อสินทรัพย์ถาวร & เงินสดจ่ายซื้อสินทรัพย์ไม่มีตัวตน"

ส่วน "เงินสดจ่ายซื้อสินทรัพย์ถาวร" และ "เงินสดจ่ายซื้อสินทรัพย์ไม่มีตัวตน" ต้องเอามาคิดใน Cap. Ex. ด้วย ถูกต้องแล้วครับผม

2. CWC (Changes in Working Capital)

"ภาษีเงินได้นิติบุคคลค้างจ่าย" ต้องเอามาคิดด้วยหรือเปล่าครับ ?

ถ้าหมายถึง Deferred Tax Assets and Liabilities
ตอบ ไม่ต้องเอามาคิดครับ
อ้างอิงยาวเลยครับ
Net working capital is supposed to represent those assets and liabilities that are expected to have a short-term impact on cash and equity. Current assets are generally those that are expected to generate cash within twelve months. Current liabilities are generally those that are expected to use cash within the same time frame.

Looking at the name alone, most people think that deferred tax assets and liabilities refer to expected tax refunds or taxes due. Deferred tax assets and liabilities, however, are not the actual taxes, but simply an accounting concept. They refer to “timing differences,” an accounting term used to describe a situation in which certain revenue and expenses are recognized differently for tax purposes and book purposes, and are non-cash in nature. Even though they may be classified as short-term on the balance sheet, the calculation is derived from the classification of the underlying asset or liability that has the timing difference for tax purposes. It does not necessarily follow that the deferred tax asset or liability will have any impact on cash within twelve months, or ever.

SRS recommends that the parties to a merger go line by line through the target company’s chart of accounts to determine which items impact the value of the business, and therefore should be included in working capital calculations, and which do not. Non-cash items, such as deferred tax assets and liabilities, often should be specifically excluded from the definition of working capital in merger agreements. If they are not excluded in your transaction, pay special attention to their anticipated impact on determining the estimated balance sheet or any target level of net working capital. Otherwise, one of the parties might find the economic deal changed for reasons that do not make sense. We have seen large adjustments made to the purchase price for reasons that will never affect the combined company’s actual cash position or value. This result can be hard for selling shareholders or the buyer to countenance, especially if they realize the impact after it is too late to change.
https://www.shareholderrep.com/beware-o ... abilities/


สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น, หนี้สินหมุนเวียนอื่น, เจ้าหนี้ค่าซื้อสินทรัพย์

ตอบ
"สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น"
>>ถ้ารายการนั้นมีสถานะเสมือนเงินสดหรือหลักทรัพย์เทียบเท่าเงินสด ก็ไม่ต้องนำมาคำนวณใน changes in working capital
>>แต่ถ้ารายการนั้นมีสถานะเหมือนลูกหนี้การค้า หรือไม่ก็ สินค้าคงคลัง ก็ต้องนำมาคำนวณใน changes in working capital
เหตุผลที่เป็นเช่นนั้นเพราะ CHANGES in working capital แท้จริงแล้วก็คือวัดการเปลี่ยนแปลงของ "ลูกหนี้การค้า, สินค้าคงคลัง, เจ้าหนี้การค้า" ว่ากลายเป็น "เงินสดและหลักทรัพย์เทียบเท่าเงินสด" เท่าไร นั่นเอง
พูดง่ายๆคือการเปลี่ยนแปลงของสองกลุ่มในเครื่องหมาย "" สองบรรทัดข้างบน ต้องมีค่าเป็นจำนวนเงินเท่ากัน
เช่น ลูกหนี้การค้ารวมถึงสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้น 10 บาท ทำให้ สิ้นปีนั้นเงินสดและหลักทรัพย์เทียบเท่าเงินสด ก็จะมีค่าลดลง 10 บาทไปด้วยเพราะเงิน 10 บาทถูกนำไปแปลงเป็นลูกหนี้รวมถึงสินค้าคงคลังดังกล่าว ฉะนั้นคิดด้านเดียวคือด้านการเปลี่ยนแปลงของ"ลูกหนี้การค้า, สินค้าคงคลัง, เจ้าหนี้การค้า"ก็พอแล้ว ถ้าเอาไปรวมกับการเปลี่ยนแปลงของเงินสดด้วย ก็จะเป็นการนับซ้ำ

"หนี้สินหมุนเวียนอื่น, เจ้าหนี้ค่าซื้อสินทรัพย์"
ถ้าบริษัทต้องเอาเงินสดไปจ่ายคืนเค้าภายใน 12 เดือน ยกตัวอย่างเช่น wage payable
ก็ต้องเอา changes ของรายการพวกนี้มาคิดใน changes in working capital ด้วย
เพราะเนื้อหาสาระของรายการพวกนี้เหมือน เจ้าหนี้การค้า ในแง่ที่ว่าเป็นรายการที่เป็นแหล่งใช้ไปของเงินสดในรอบ 12 เดือนเหมือนกันนั่นเอง

แนะนำให้ไปอ่านเรื่องการคำนวณ "Operating Cash Flow แบบ indirect method" เพิ่มเติมครับ

Free Cash Flow to Firm

Capital Expenditure

http://www.investopedia.com/video/play/what-is-capex/

Working Capital

วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556

การวิเคราะห์หุ้น turnaround ว่าจะ turn ได้หรือไม่

หุ้น turnaround คือหุ้นที่กำลังจะพลิกจากขาดทุนเป็นกำไร เปรียบเหมือนคนที่ ชัวหนที่ 7 กำลังมาดีอีก 7 หน หุ้นบางตัวก็ turn แล้วจบเลยไม่ growth บางตัวก็ไม่ turn เน่าเหมือนเดิมแก้ไม่หาย บางตัว turn แล้ว growth ต่อ วิธีวิเคราะห์และลงทุนก็ไม่ยาก ตามหลักอริยสัจ 4

1 "ทุกข์ ให้รู้" ในทางพระพุทธศาสนาทุกข์คือความเปลี่ยนแปลง หุ้นที่เข้าข่าย turnaround คือมันเปลี่ยนแปลงในทางไม่ดีนั่นเอง ผลประกอบการขาดทุน จ่ายปันผลไม่ได้ หรือใครๆก็เรียกกันว่าหุ้นเน่านั่นเอง เน่าก็ให้รู้ว่าเน่าไม่เห็นต้องไปตกอกตกใจอะไร ดูมันด้วยใจที่เป็นกลางไปเรือย

ข้อผิดพลาดของนักลงทุนส่วนใหญ่ที่ไม่สามารถมองปัญหาด้วยใจที่เป็นกลางได้ เพราะทชอบทำตัวเหมือนคนวงในถ้าปรียบเหมือนการชกมวยนักมวยที่ชกกันไม่ค่อยรู้หรอกเมาหมัดไปเรื่อย แต่คนดูรู้ทุก short บอกได้หมด แก้เกมส์ยังไง ดังนั้นเพื่อให้เราเห็นปัญหาให้เราทำตัวเหมือนคนวงนอก เป็นกรรมการห้ามมวยที่เที่ยงธรรมเป็นกลางไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง นี่จึงเป็นเหตุผลที่อาชีพที่ปรึกษาธุรกิจยังไงก็ไม่ตายเพราะเขาเป็นคนวงนอกครับ

2 "สมุหทัย ให้ละ" เหตุแห่งทุกข์ หุ้นแต่ละตัวมีสาเหตุให้ขาดทุนไม่เหมือนกัน ต้องคิด วิเคราะห์ แยกแยะให้ออกว่าปัญหาเกิดจากอะไร ที่พบบ่อยๆก็เช่น
2.1 ขาดทุนชั่วคราว เช่นปี 2554 มีน้ำท่วมหลายบริษัทขาดทุนจากน้ำท่วม บางบริษัทก็ตัดด้อยค่าทรัพย์สินมากมาย
2.2 หุ้นวัฎจักร อยู่ในช่วงตกต่ำ
3.3 ธุรกิจยังมีลูกค้าไม่ถึงจุดคุ้มทุน เช่น simat ลงทุนไปเยอะแต่กำลังทยอยหาลูกค้ามาใช้บริการอยู่เขาว่า 2 ปีน่าจะถึงจุดคุ้มทุน, bch สร้างโรงพญาบาลใหม่ ลูกค้ายังน้อยกำไรก็หดกันไป
4.4 หนี้ท่วมดอกเบี้ยบาน ธรุกกิจเริ่มมีปัญหาอยากรักษาก็กู้มาหมุนเรื่อยๆ ถ้ามันไม่ดีขึ้นก็หนี้เหลือบาน
5.5 แข่งขันไม่ได้ อันนี้ปัญหาหนัก

3 "นิโรธ ให้แจ้ง" เห็นภาพว่าถ้าเหตุของปัญหาดับไป ปัญหาก็จะดับ ธุรกิจก็จะมีกำไร ล้างขาดทุนสะสม และแมงเม่ามาแย่งกันซื้อ

4 "มรรค ให้เจริญ" วิเคราะห์แนวทางแก้ปัญหาของผู้บริหารว่ามีโอกาสสำเร็จหรือไม่ สมเหตุสมผลหรือเปล่า เราจะซื้อหุ้นที่ผู้บริหารกำลังมุ่งมั่นทำให้เหตุแห่งปัญหากำลังหมดไป เท่านั้น
4.1 ขาดทุนชั่วคราวหรือหุ้นวัฎจักร บางทีไม่ต้องทำอะไรทนๆไป เดี๋ยววัฎจักรก็มา
4.2 วางแผนหาลูกค้ามากขึ้นให้ถึงจุดคุ้มทุน
4.3 ปรับโครงสร้างหนี้
4.4 ตัดขายธุรกิจที่ไม่ทำกำไร หาวิธีลดต้นทุน หรือหันทำธุรกิจใหม่แม่ง
หุ้นที่กำลังจะ turnaround 

วิเคราะห์ได้ตาม 4 ขั้นคือ รู้ทุกข์ ละสมุหทัย แจ้งนิโรธ เจริญมรรค ท่านจะลงทุนหุ้น turnaround อย่างไม่ทุกข์ และไม่ต้องส่งข้อความมาถามเซียนที่ไหนครับ

วันเสาร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2556

ประเภทหุ้นกับดาราซุปตาร์

ประเภทหุ้นกับดาราซุปตาร์นะครับลองดูกันครับใช่หรือไม่ใช่ ผมว่าฮาดี
  1. หุ้นปันผล เป็นธุรกิจเก่าแก่ ในอดีตเคยเป็นหุ้นโตเร็วมาก่อน (แอน ทองประสม)
  2. หุ้นยักษ์ใหญ่ดาวค้างฟ้า ไม่ว่าเศรษฐกิจตกต่ำยังไงก็ยังอยู่ได้ (อั๊ม พัชราภา)
  3. หุ้นโตไว (Growth Stock) ยังไปได้อีกไกลเลย ขวัญใจผม (ญ่าญา อุรัสยา สเปอร์ปันด์)
  4. หุ้นสินทรัพย์ กินบุญเก่า มีทรัพย์สินอร้าอร่ามที่ซ่อนเอาไว้เป็นทุนอยู่เดิม (ตั๊ก บงกช หวานใจ เจ้าสัวบุญชัย) 
  5. หุ้นตีกลับ (Turnaround) เป็นหุ้นที่ย่ำแย่มาก่อน และพลิกกับมาได้ (ญาญ่า หญิง)
  6. หุ้นวงจร (Cycle) ขึ้นลงเป็นรอบๆ เดี๋ยวดีเดี๋ยวแย่ตามวงจรอุตสาหกรรม (เจนนี่ เทียนโพธิ์สุวรรณ)

หุ้น 6 ประเภทกับดารา


ที่สุดของที่สุดยอดนักปั๊น VI ในตำนานสายตาแหลมคม ระดับท่านดร.นิเวศน์ คือสุดยอดแมวมอง เอ ศุภชัย ศรีวิจิตร นั่นเอง ตรงกับคำพูดของคุณ นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์ ที่ว่า "นักลงทุนที่ดีต้องทำตัวเหมือนคนที่ยึดอาชีพเป็น “แมวมอง” แมวมองเลือกที่จะทุ่มให้กับคนที่ยังไม่ดังแต่มีแววว่าจะดังเท่านั้น เมื่อคนนั้นกลายเป็นคนดังขึ้นมาชั่วข้ามคืน แมวมองก็จะได้รับผลตอบแทนอย่างมหาศาลจากความ “ตาถึง” ของเขา ในขณะที่ 'คนดู' สนใจกันแต่ดาราที่ดังแล้ว ยิ่งดังเท่าไรยิ่งชอบ คนดูจึงต้องเป็นฝ่ายเสียเงินตลอด (ค่าบัตรคอนเสิร์ต ค่าตั๋วหนัง ฯลฯ)"

ดังนั้นมาเป็นแมวมองกันเถอะ

วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556

กลยุทธ์การเล่น Poker กับการลงทุนหุ้น

เป็นบทความเปรียบเทียบระหว่างการเล่น Poker กับการเล่นหุ้นให้สำเร็จครับ บทความต้นฉบับยาวมากแต่เขียนสรุปได้ดีครับ พูดถึงการควบคุมอารมณ์ในการลงทุน และการกล้าที่จะเสี่ยงถ้ามีโอกาศชนะมากๆ ดร. นิเวศเรียกว่า "ตีแตกกกกก..."

  1. โต๊ะเดิมพันที่ใหญ่ที่สุดของ Poker คือ ตลาดหลักทรัพย์
  2. กลยุทธ์สำคัญในการเอาชนะ Poker กับ หุ้น คือเหตุผลเดียวกัน คือ โอกาสชนะมีเท่าไร
  3. ในตลาดหุ้นมี การทบต้นทบดอก ใน Poker ก็มี ทบต้นทบดอก เช่นเดียวกันในตลาดหุ้นถ้าคุณไม่สามารถทบต้นทบดอกได้ เมื่อเวลาผ่านไป เงินที่ลงทุนจะด้อยค่าลงไปเรื่อย ๆ
  4. ในเกมส์ Poker ต้องมีวางแผนจัดการทางการเงิน money management อยู่ตลอดเวลา ไม่เล่นข้ามรุ่น เหมือนหุ้นคุณต้องไม่คิดยืมเงินคนอื่นมาเล่น
  5. นอกจากคุณจะมีกลยุทธ์ที่ดี คุณต้องมีสติในการควบคุมอารมณ์ ให้ยึดมั่นในกลยุทธ์ที่วางไว้ เพราะตลอดเวลาที่คุณเล่น คุณจะถูกยั่วยุอยู่ตลอดเวลา
  6. เงินเดิมพันใน Poker เหมือนกับเงินที่คุณจะลงทุนในหุ้นแต่ละตัว ถ้าคุณมีโอกาสชนะมากให้เดิมพันหรือลงทุนในปริมาณที่มากตามโอกาสที่จะชนะ
  7. ทุกอย่างเป็นไปอย่างที่ปิเตอร์ลินช์ กล่าวในหนังสือ เหนือกว่าวอลสตรีท ว่า "การลงทุนคือการพนันที่่จัดโอกาสชนะให้เอียงมาอยู่ด้านคุณ"
  8. ผมถือว่าเกมส์นี้เป็น การทดสอบ การคัดคน ในเรื่องการควบคุมอารมณ์ได้ เป็นอย่างดี ถ้าคุณเล่นแล้วหมดตลอด มีแนวโน้มว่าคุณก็จะเล่นหุ้นได้ไม่ดี  เพราะคุณไม่สามารถควบคุมสติคุณได้  แม้ว่าคุณจะรู้กลยุทธ์ที่สำคัญ  ในการทำเงินในตลาดหุ้นก็ตาม

โดยย่อก็คือ ถ้อโอกาสมาถึงให้รีบคว้าให้เยอะที่สุด สำหรับในตลาดหุ้น มี 600 ตัวเราไม่จำเป็นต้องเข้าไปเล่นมันทุกตัวก็ได้ครับตลาดหุ้นเปิดทุกวัน ตกรถตัวนี้ก็ไปตัวอื่นที่ยังไม่วิ่งได้ ปีนึงขอแค่เจ๋งๆ ซัก 1-2 ตัว และลงทุนหนักๆ ก็ทำผลตอบแทนได้ชนะตลาดแล้วครับ โดยส่วนตัวคิดว่าหุ้นที่น่าตีแตกมีดังนี้ครับโอกาสได้ได้เยอะ ถ้าพลาดก็เจ๊บตัวนิดหน่อย

  1. ราคา side way มานาน แต่มี volume ซื้อขายทุกวัน
  2. กิจการพื้นฐานดีงบสวย
  3. คาดว่าธุรกิจจะมีกำไรเพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดดอนาคต เช่นจะขยายโรงงานใหม่ จำนวนลูกค้าเข้าใกล้จุดคุ้มทุน วัฎจักรอุตสาหกรรมเป็นขาขึ้น มีโครงการลดต้นทุน หรือถ้าขาดทุนก็คิดว่าจะกลับมาดี
  4. จากข้อสามท่านสามารถคำนวณเป้าหมายราคามี upside สูงมากถ้าทำสำเร็จ
  5. ให้ท่านศึกษาในข้อ 2 3 4 ซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนท่านมั่นใจในตัวธุรกิจ ท่านแค่ซื้อแล้วถือให้ กำไรมาจริงตามที่ท่านคาด


ส่วนอันนี้จากคุณ Niran Pravithana [2] ผู้พัฒนา App AVA ชื่อดังครับ


การเล่นโป๊กเกอร์ช่วยให้ผมเข้าใจโลกมากขึ้น

- Bad Beat

สอนเราให้เข้าใจว่า แม้คุณจะตัดสินใจเลือกทางที่ดีที่สุดแล้ว ทุกอย่างก็อาจไม่ได้เป็นไปอย่างที่หวัง การบริหารความเสี่ยงจึงเป็นสิ่งจำเป็นเสมอ

- Bluff

สอนให้เราเข้าใจว่า สิ่งที่ฝ่ายตรงข้ามแสดงออก มักไม่ตรงกับสิ่งที่เค้าคิดจริงๆ

- Fold

สอนให้เราเข้าใจว่า บางครั้ง การดื้อดึงฝืนทั้งที่สถานการณ์ไม่เอื้ออำนวยอาจจะทำให้เสียหายหนักกว่าการยอมแพ้แล้วเริ่มใหม่ ตราบใดที่หน้าตักยังเหลือ เราเริ่มต้นใหม่ได้เสมอ

- All-in

สอนให้เราเข้าใจว่า การต่อสู้แบบทุบหม้อข้าวใส่ทั้งชีวิต บางครั้งก็ให้ผลคุ้มค่า แต่ต้องเลือกจังหวะทุ่มด้วยสมอง ไม่ใช่ด้วยอารมณ์

- ความอดทนให้ผลลัพธ์ที่คุ้มค่าเสมอ การใช้อารมณ์มีแต่จะทำให้ทุกอย่างพังเร็วไปกว่าเดิม

- วางแผนการระยะยาว มองให้ไกลถึง River อย่าเอาแต่แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เพราะเมื่อสถานการณ์เปลี่ยน คุณจะรับมือมันไม่ไหว คิดเผื่อ Plan B,C,D เอาไว้เสมอ

- การประเมินคู่ต่อสู้เป็นเรื่องสำคัญ ถ้าอยากได้ประสบการณ์ ขึ้นชั้นไปสู้กับคนเก่งๆ แน่นอนคุณต้องจ่ายค่าเทอมแพง เลี่ยงไม่ได้ แต่ถ้าผ่านไปได้ คุณจะทำเงินได้ในอีกระดับ

- แต่ถ้าอยากแค่ได้เงิน ลงสู้กับคนที่อ่อนกว่า แต่คุณจะทำเงินได้แค่ระดับนั้นแหละไม่ก้าวไปไหน และก็จะไม่ได้เก่งอะไรขึ้นมาเลย ต้องเลือกเอาว่าจะไปทางไหน เงิน หรือประสบการณ์ (เหมือนชีวิตการทำงานนั่นแหละ)

จงมีความสุข หากคุณเล่นได้ดี แม้ว่าผลจะออกมาไม่สวยดังหวัง
พยายามต่อไป ด้วยกฏ law of large number คุณจะชนะเกมส์ไม่ว่าจะบนโต๊ะโป๊กเกอร์หรือในชีวิตจริงในที่สุด

เจริญในการลงทุนทุกท่านครับ
ที่มา:
[1]http://www.kid-vi.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539377538&Ntype=7
[2]https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10217881677806322