วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

อัตราส่วน PE กับผลตอบแทนที่คาดหวัง และแนวทางใช้งาน

หลายคนชอบท่องกันว่าอัตราส่วน PE เท่ากับส่วนกลับของผลตอบแทนที่คาดหวัง วันนี้จะมาพิสูจน์เชิงคณิตศาสตร์กันครับว่ามันมาอย่างไรและมีอะไรอยู่เบื้องหลัง

ทฤษฎีที่ใช้

  • ทฤษฎีเรื่องค่าเสียโอกาส : นักลงทุนมีค่าเสียโอกาสเป็นผลผลตอบแทนที่คาดหวังเท่ากับ k ถ้าโครงการลงทุนให้ผลตอบแทนน้อยกว่าผลตอบแทนที่คาดหวังก็จะไม่ลงทุน นั่งกระดิดตีนรับผลตอบแทนที่แน่นอนเท่ากับ k ดีกว่า
  • มูลค่าของเงินตามเวลา future value, present value
  • การตัดสินในลงทุนด้วย NPV


ถ้าให้บริษัทแห่งหนึ่งมี กำไรคงที่เท่ากับ E ราคาหุ้นวันนี้ซื้อขายที่ P และนักลงทุนมีผลตอบแทนที่คาดหวังเท่ากับ k จะสามารถคิดมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดได้เท่ากับ
..(1)

จากความรู้เรื่องอนุกรมจะได้ว่า
    ..(2)


  • นักลงทุนจะตัดสินใจลงทุนเมื่อ NPV > 0 เพราะจะทำให้ผลตอบแทนจากการลงทุนมากกว่าผลตอบแทนที่คาดหวัง 
  • นักลงทุนจะไม่ตัดสินใจลงทุนเมื่อ NPV < 0  เพราะจะทำให้ผลตอบแทนจากการลงทุนน้อยกว่าผลตอบแทนที่คาดหวัง 
  • นักลงดังนั้นนักลงทุนจะยอมซื้อหุ้นตัวนี้สูงสุดที่ระดับราคาที่ทำให้ NPV = 0
ให้ NPV = 0
..(3)

สมการที่ 3 บอกว่าถ้าบริษัทแห่งหนึ่งมีกำไรคงที่เท่ากับ E ไปตลอดกาล นักลงทุนมีผลตอบแทนที่คาดหวังเท่ากับ k นักลงทุนคนนี้จะยอมซื้อหุ้นตัวนี้ที่ราคาสูงสุดกี่เท่่าของกำไร

วิธีการใช้งาน


  1. ใช้หาหุ้นถูก สมมติตลาดต้องการผลตอบแทนเท่ากับ 10% ดังนั้น PE ที่เหมาะสมของหุ้นตัวใดๆจะเท่ากับ 1/0.1 = 10 เท่าของกำไร เนื่องจากค่า PE เป็นค่าอัตราส่วนทำให้สามารถนำค่านี้มาเปรียบเทียบกันได้ดังนั้นถ้าหุ้นตัวไหนที่ PE < 10 แปลว่าหุ้นตัวนั้นถูกเพราะให้ผลตอบแทนจากการลงทุนมากกว่าที่คาดหวัง (10%) ซึ่งเราสามารถแสกนหุ้นที่ PE < ค่าที่ต้องการได้ที่ เว็ป siamchart.com/stock ครับ
  2. ใช้หาราคาเป้าหมาย ราคาเป้าหมาย = EPS x PE เช่นเราคาดว่าปีนี้หุ้นจะมี EPS = 3 บาท จะได้ราคาเป้าหมายเท่ากับ 3 x 10 = 30 เป็นต้น

ข้อควรระวัง 

  • สมมติฐานของ PE คือกำไรคงที่ดังนั้นการใช้ PE ไปวัดหุ้นวัฎจักรหรือหุ้นที่กำไรผันผวนก็คงไม่เหมาสมนัก ในทางปฎิบัติจะใช้ตัวคูณที่ต่ำไว้ก่อน
  • หรือการใช้วัดหุ้นที่ มี growth ในอนาคตมากๆ ก็คงไม่เหมาะนัก เซียนหลายท่านจึงตัดสินใจลงทุนโดยใช้ PEG ช่วย

วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สนุกกับส่วนของทุน ลดทุน,เพิ่มทุน,ซื้อหุ้นคืน,จ่ายหุ้นปันผล


ความรู้ทางการเงิน การลงทุน และการบัญชี โดย อ.สรรพงศ์ ลิมป์ธำรงกุล [1] [2] เขียนเรื่องการลดทุน,เพิ่มทุน,ซื้อหุ้นคืน,จ่ายหุ้นปันผล ได้เยี่ยมมากพร้อมทั้งผลกระทบที่มีต่อมูลค่าหุ้น

ในด้านการวิเคราะห์กี่ยวกับส่วนของผู้ถือหุ้น มีธุรกรรมเกิดได้หลากหลายรูปแบบ แต่ที่พบในงบการเงินมีธุรกรรมหลักๆ ที่เห็นกันมาก และควรเข้าใจผลกระทบทางด้านการเงินของธุรกิจ ไม่ใช่เพียงผลด้านที่มีต่อผู้ถือหุ้นเท่านั้น เพื่อให้มองภาพเหล่านี้ นักลงทุนควรตั้งต้นจากสมการบัญชีเป็นหลัก จะเห็นภาพและเข้าใจผลกระทบที่เกิดได้ดีกว่า เข้าใจว่าวิธีการทางบัญชีไปมาอย่างไร 
กปป.สินทรัพย์ = กปป. หนี้สิน + กปป ทุน 

1 การลดทุนโดยการตัดขาดทุนสะสมกับหุ้นทุน 

ส่วนผู้ถือหุ้นรวมไม่กระทบ เพราะขาดทุนสะสมก็นำมาหักลดส่วนผู้ถือหุ้นอยู่แล้ว ข้อเสียคือ หุ้นเราหายไปแน่นอน ข้อดีคือ ถ้าปีหน้ามีกำไรจะจ่ายปันผลได้ เพราะถ้ามีขาดทุนสะสมอยู่ต้องเอากำไรไปล้างให้หมดก่อน จึงจ่ายปันผลได้ หลายบริษัทที่ลดทุนเพราะเมื่อปรับโครงสร้างหนี้ นักลงทุนใหม่จะมาเขาไม่มาแบกขาดทุนสะสมหลายๆปีหรอก เขาเข้ามาแล้วถ้ามีกำไร เขาต้องได้ผลอบแทนคืน 
  • กปป.สินทรัพย์ = 0 ไม่ต้องจ่ายเงินสดหรือได้รับเงินสด หรือการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ใดๆ
  • กปป.หนี้สิน = 0 ไม่มีการจ่ายชำระหนี้สินใดๆ หรือเพิ่ม/ลดหนี้สิน
  • กปป ทุน = 0 ส่วนของหุ้นทุนลดลง เท่ากับส่วนของขาดทุนสะสมที่ลดลงในจำนวนเท่าๆกัน
ดังนั้จากสมการบัญชีจึงสรุปได้ว่า ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าอย่างใดในงบการแสดงฐานะการเงิน เพียงแต่ผลภายในส่วนของทุนเท่านั้น ดังนั้น BV เท่าดิมแต่ทุนลดลงเท่ากับขาดทุนที่ลดลง นั่นคือหุ้นหายไป ข้อดีอย่างที่กล่าวคือจ่ายปันผลได้เร็วขึ้น การจ่ายปันผล ในทางกฎหมาย จ่ายได้เมื่อ 
  1. ปีนั้นต้องมีกำไร 
  2. บริษัทต้องมีกำไรสะสม และทุกครั้งที่จ่ายปันผลต้องตั้งสำรองรองอย่างน้อย 5% จนกว่าสำรองตามกฎหมายและส่วนเกินทุน(ถ้ามี) รวมกันมากกว่า 10% ของทุนจดทะเบียนก็ให้หยุดสำรองได้หรือไม่ต้องสำรองต่อได้ ส่วนมากบริษัทท่มีปัญหาขาดทุนสะสมมาก จะตัดลดส่วนเกินทุนก่อน แล้วจึงมาลดหุ้นทุนเป็นลำดับต่อไป

2 การเพิ่มทุน 

บริษัทได้เม็ดเงินเข้าบริษัท แต่ก็จะเกิด dilution effect คือ กำไรต่อหุ้นจะปรับลดลงเพราะจำนวนหุ้นเพิ่มขึ้น (อ่านกำไรต่อหุ้นพื้นฐานและกำไรต่อหุ้นปรับลดประกอบด้วยก็จะดีครับ) ถ้าบริษัททำกำไรเพิ่มได้มากพอกับหุ้นที่เพิ่มก็จะไม่เกิด dilute มาก ดังนั้นถ้ารักษา ROE ได้ก็ไม่กระทบ ดังนั้นถ้าบริษัทประกาศเพิ่มทุน ไม่ว่า PO (public offering ขายให้คนทั่วไป แต่ไม่ใช่การขายครั้งแรก-IPO) PP (private placement-ขายนักลงทุนอื่นแบบเฉพาะเจาะจง) หรือ ขึ้น XR ขายกับผูถือหุ้นเดิม หลักวิเคราะห์ ได้เงินรวมไปเท่าไร กี่พันล้านบาท เอาไปใช้ทำอะไร ลงทุนขยายงานอะไร กำไรที่ได้เพิ่มขึ้นเป็นเท่าไรกับเงินที่เอาไป ใช้หลักคล้ายๆกับเรื่องตัดสินใจ capital expenditure ถ้า return on investment > ROE อันนี้ดี
ในด้านบัญชี งบการเงิน ณ วันที่เพิ่มทุนเป็นดังนี้
  • กปป.สินทรัพย์ = x ได้เงินสดเพิ่มขึ้นเท่าเม็ดเงินที่เพิ่มทุน เช่น เพิ่มทุน 1,000 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 3 บาท รวมได้เงินมา 3,000 ล้านบาท
  • กปป.หนี้สิน = 0 ไม่มีการจ่ายชำระหนี้สินใดๆ หรือเพิ่ม/ลดหนี้สิน
  • กปป ทุน = x ส่วนของหุ้นทุนเพิ่มขึ้น โดยส่วนที่เพิ่มจะเพิ่มในสองส่วนคือ ทุนที่เรียกชำระแล้ว ส่วนนี่จะเพิ่มเท่ากับเม็ดหุ้นคูณกับราคาพาร์ และส่วนที่เหลือ (3,000-หุ้นทุนที่เพิ่มตามราคาพาร์) จะเพิ่มในส่วนเกินมูลค่าหุ้น สมมติราคารพาร์เท่ากับ 1 บาทต่อหุ้น กปป ทุน = 1,000 + 2,000 
  • กปป.สินทรัพย์ = กปป. หนี้สิน + กปป ทุน 3,000 = 0 + 1,000 +2,000 
แต่หลังจากนั้นเมื่อมีกำไร ตัวหารกำไรคือจำนวนหุ้นจะเพิ่มขึ้นดังนั้นกำไรที่เพิ่มขึ้นไม่ใช่เพิ่มเท่าส่วนหุ้นที่เพิ่ม แต่เพื่มควรไม่น้อนกว่า % ของจำนวนหุ้นที่เพิ่ม จึงไม่เกิด dilution ของกำไรต่อหุ้น เช่นดังตัวอย่างเดิม ก่อนเพิ่มทุนมีหุ้นอยู่แล้ว 2,000 ล้านหุ้น ปีที่แล้วมีกำไร 3,600 ล้านบาท สมมติเพิ่มทุนต้นปีพอดี ปีถัดมาจะต้องใช้จำนวนหุ้น (2,000+1,000) หารกำไร ปีที่แล้ว EPS = 3,600/2,000 = 1.80 บาท จำวนหุ้นเพิ่มขึ้น 1,000 ล้านหุ้น เกิด dilution หรือ dilutive effect = 1,000/(2,000+1000) = 1/3 ถ้ากำไรเท่าเดิม EPS จะลดลงเหลือ 1.20 บาท แต่ถ้าจะให้มี EPS เท่าเดิม ต้องมีกำไรเท่ากับ 3,600 / (1-1/3) = 3,600*3/2 = 5,400 EPS จึงจะได้ 5,400/3,000 = 1.80 เท่าเดิม สามารถสรุปเป็นสูตรได้ดังนี้
Dilutive effect (Dilution) = จำนวนหุ้นใหม่ (x) / (จำนวนหุ้นเดิม y + จำนวนหุ้นใหม่ x ) = x /(y+x)
อัตราเพิ่มของกำไรที่จะไม่เกิด dilution = 1/(1-%dilute)

ตย. บริษัทประกาศเพิ่มทุน 5:3 ผู้ถือหุ้นเดิม 5 หุ้นจะสามารถซื้อหุ้นใหม่ได้ 3 หุ้นที่ราคาพาร์ 10 บาท
Dilutive effect (Dilution) = 3/(5=3) = 2/8 = 37.5%
ปีหน้าบริษัทต้องมีกำไรเพิ่ม = 1 /(1-37.5%) = 1/(1-.375) = 1/0.625 = 1.6 หรือเพิ่มขึ้น 60% ก็จะไม่เกิด dilution
ถ้าบริษัทมีกำไร 6,510 ลบ. EPS = 1.24 (หุ้นเดิม 5,250 ล.หุ้น)
ปีหน้าต้องมีกำไร 6,510 x 1.6 = 10,416 ลบ. (หุ้นใหม่หลังเพิ่มทุน 8,400 ล.หุ้น) EPS (fully diluted) จึงได้ 1.24
หมายความว่าถ้าเดิมราคาหุ้นอยู่ที่ 20 บาท P/E = 16.13
หากราคาจะกลับมาที่เดิม 20 บาท ระดับ P/E เดิมที่ 16.13 ต้องมีกำไรเพิ่ม 60%

แต่เนื่องจาก การเพิ่มทุนมักเป็นการให้สิทธิผู้ถือหุ้นเดิม (XR Right Issue) ดังนั้นต้นทุนเฉลี่ยราคา trade ในกระดานจะปรับไปด้วย จากตัวอย่างเดิม ประกาศเพิ่มทุน 5:3 ผู้ถือหุ้นเดิม 5 หุ้นจะสามารถซื้อหุ้นใหม่ได้ 3 หุ้นที่ราคาพาร์ 10 บาท
  • ราคาหุ้นใหม่ = (หุ้นเดิม x ราคาเดิมก่อนเพิ่มทุน + หุ้นใหม่ X ราคาเพิ่มทุน) / (หุ้นเดิม +หุ้นใหม่) 
  • = (5x20+ 3x10) / (5+3) = 16.25
เท่ากับ P/E ใหม่เป็น 16.25/1.24 = 13.10 ดูคล้ายกับ P/E ลดลง ซึ่งไม่ใช่เราต้องคำนวณใหม่ ใช้หุ้นรวมใหม่จาก 5,250 ล.หุ้น เป็น 8,400 ล.หุ้น จะได้ EPS (fully dilute) เป็น 0.775 บาท P/E ใหม่หลังเพิ่มทุนจะเท่ากับ 16.25/0.775 = 20.96 เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ P/E = 16.13 หากตลาดเป็น EMH (Efficiency Market Hypothesis) แล้ว
ถ้าปีหน้ากำไรเพิ่ม 30.3% EPS (fully dilute) เป็น 1.007 ราคาหุ้นจะกลับมาที่ P/E = 16.13 ที่ราคา 16.25 และถ้าจะกลับไปที่ 20 บาทใหม่ที่ P/E = 16.13 ต้องมี EPS ที่ 1.24 กำไรยังคงต้องเพิ่มขึ้น 60% เช่นเดิม

จะเห็นว่าการเพิ่มทุนนั้นหากเราเป็นผู้ถือหุ้นเดิมควรต้องใช้สิทธิเพิ่มทุนเท่านั้นจึงกดดันน้อยกว่า หากจะซื้อหุ้นโดยไม่อยากเพิ่มทุนควรต้องรอ เพราะอัตราส่วนหุ้นเดิม : หุ้นใหม่และราคาเพิ่มทุน มีผลต่อ การปรับลดราคาต้นทุนในกระดานและอัตรากำไรที่ต้องเพิ่มขึ้น เพราะกำไรต้องเพิ่มไม่น้อยกว่า EPSที่ ปรับขึ้นเพราะการเพิ่มทุน (จากตัวอย่างกำไรปีหน้าถ้าเพิ่ม 29.9% P/E จะลดลงจาก 20.96 เป็น 16.13 ราคาจึงเท่าทุน ถ้าจะมีกำไรพิ่มมากกว่านี้ราคาหุ้นจึงจะขึ้นด้วยระดับ P/E เดิม)

ถ้าจ่ายหุ้นปันผล ราคาหุ้นใหม่ คือ 0 บาท จ่ายหุ้นปันผลในอัตรา 8 หุ้นเดิมได้ 1 หุ้นปันผล ราคาปัจจุบัน 30 บาท
ราคาใหม่จะเท่ากับ (8x30 + 0x1) / (8+1) = 240 / 9 = 26.67 บาท 

หากคิดจะลงทุนหุ้นเหิ่มทุนต้องคำนวณเป็นจะได้เข้าใจว่าราคา ณ ตอนนี้ซื้อได้หรือไม่

3 การซื้อหุ้นคืน Treasury stock 

เป็นการสร้างผลตอบแทนให้กิจการแบบหนึ่งแทนที่จะเอาเงินจ่ายปันผล ก็เอามาซื้อหุ้นออกมาจากตลาดเข้าบริษัท วิธีนี้ไม่ใช่การลดทุน เพราะผู้ถือหุ้นไม่เสียหาย เพียงแต่บริษัทเอาหุ้นบางส่วนคืนจากนักลงทุนที่ไม่อยากลงทุนในบริษัทต่อไป แทนที่จะขายทิ้ง (กดราคา) บริษัทรับซื้อกลับ ทำให้จำนวนหุ้นลดลง EPS จะสูงขึ้น (ถ้ากำไรไม่ลดลง) ถ้าระดับ P/E คงเดิม ราคาหุ้นจะเพิ่มขึ้น นักลงทุนก็เปลี่ยนจากหุ้นบางส่วนเป็นเงินได้ (วิธีนี้ช่วยบริหารภาษีให้ผู้ถือหุ้นด้วย) การซื้อหุ้นคืน ส่วนเจ้าของจะลดลงจากหุ้นซื้อคืน ROE จะเพิ่มขึ้น

การที่บริษัทซื้อหุ้นคืนนั้น มองในภาพใหญ่ก็คือ หุ้นที่เหลืออยู่จะมีจำนวนน้อยลง ดังนั้นส่วนแบ่งกำไรของผู้ถือหุ้นแต่ละหุ้นก็จะมากขึ้น ซึ่งราคาหุ้นก็จะสูงขึ้นได้ ผู้ถือหุ้นอยู่ก็จะได้ประโยชน์จากการเพิ่มขึ้นของราคา มองอีกด้านหนึ่ง การซื้อหุ้นคืนนั้น อาจจะเหมือนกับว่าผู้ถือหุ้นบริษัทเห็นว่าหุ้นของบริษัทมีราคาถูกมากอยากจะซื้อหุ้นเพิ่มแต่ไม่มีเงินแล้วหรือคิดว่าไม่อยากจะเสี่ยงเพิ่มอีก แต่ว่าตัวบริษัทเองนั้นมีเงินอยู่ ผู้ถือหุ้นในฐานะที่เป็นเจ้าของบริษัทจึงคิดว่าเราน่าจะใช้เงินบริษัทเข้าไปซื้อหุ้นแทน และถ้าผู้บริหารบริษัทเองก็เห็นพ้องต้องกันว่าหุ้นของบริษัทนั้นมีราคาถูกเกินไปจริง ๆ เมื่อเทียบกับพื้นฐานของบริษัท การซื้อหุ้นบริษัทคืนก็น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีและความเสี่ยงน่าจะมีจำกัด และนี่ก็คือที่มาของการที่บริษัทจะซื้อหุ้นของตนเองคืนจากตลาดหุ้น

โดยการซื้อหุ้นคืนใน "บางครั้ง" จะเกิดขึ้นเมื่อผู้ถือหุ้นบริษัทเห็นว่าหุ้นของบริษัทมีราคาถูกมาก หรือต่ำกว่าพื้นฐานที่ควรจะเป็นเลยอยากจะซื้อหุ้นเพิ่มแต่ไม่มีเงินแล้วหรือไม่อยากจะเสี่ยงเพิ่มอีก แต่ว่าตัวบริษัทเองนั้นมีเงินอยู่ ผู้ถือหุ้นในฐานะที่เป็นเจ้าของบริษัทจึงคิดว่าน่าจะใช้เงินบริษัทเข้าไปซื้อหุ้นแทน ในการประชุมผู้ถือหุ้นจึงมีมติให้มีการซ้อหุ้นคืน 

บริษัทที่ทำการซื้อหุ้นคืนควรมีกำไรสะสมและสภาพคล่องทางการเงินสูง ผลของการซื้อหุ้นคืน ทำให้จำนวนหุ้นลดลง และ EPS เพิ่มขึ้นอีกด้วย

ในด้านบัญชีวิเคราะห์จากสมการบัญชีดั้งนี้
  • กปป.สินทรัพย์ = กปป. หนี้สิน + กปป ทุน
  • การซื้อหุ้นคืน เงินสดลดลง และส่วนทุนลดลง เท่าๆกันเช่น บริษัทมีสินทรัพย์ หนี้สิน และทุน ดังนี้
  • 1,000 = 500 + 500
  • ซื้อหุ้นคืน 200 ลบ (งบการเงินจะแสดงหุ้นซื้อคืนเป็นลบในส่วนของผ้ถือหุ้น)
  • 1,000 -200 = 500 + (500-200)
  • 800 = 500 + 300
จะเห็นว่าส่วนของเจ้าของลดลง ถ้ากำไรเท่าเดิม ROE จะเพิ่มขึ้น EPS ก็จะเพิ่มขึ้นจากจำนวนหุ้นที่ลดลง

ในด้านตลาดทุนเหมือนดี เพราะ Investors ดูจะได้ประโยชน์ แต่ลองมาดูในด้านอื่นๆ และ Corporate financial management อีกมุมหนึ่งของตลาดทุนต้องพิจารณาว่าผู้บริหารกำลังส่งสัญญาณว่า
  1. ราคาหุ้นถูกเกินไป หรือ ราคาต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐาน
  2. ไม่มีโครงการใหม่ที่ลงทุนแล้วได้ผลตอบแทนสูงกว่าต้นทุนเงินทุนของบริษัท บริษัทจึงเอาเงินไปลงทุนในหุ้นตนเองแทน เพราะการลงทุนซื้อหุ้นตนเองได้ผลตอบแทนเท่ากับ ROE ปกติกิจการจะลงทุนเมื่อผลตอบแทนโครงการ IRR > WACC เพราะการลงทุนในโครงการที่ได้ผลตอบแทน > WACC จะทำให้เพิ่มมูลค่ากิจการ (Maximize shareholders’ value) ทางเลือกที่ถูกต้องคือเอาเงินไปลงในโคงการที่ได้ผลตอบแทน > WACC หากกิจการเอาเงินมาซื้อหุ้นตัวเองแสดงว่า ไม่มีโครงการลงทุนใหม่ที่น่าสนใจและให้ผลตอบแทนดีกว่าเดิม
  3. และจากสมการบัญชีพบว่าการซื้อหุ้นคืนทำให้กิจการลดขนาดลง นั่นคือกำลังจะ down sizing ตนเองลงอุตสาหกรรมกำลังชะลอตัวหรือหดตัวลงใช่หรือไม่
  4. การซื้อหุ้นคืนทำให้ ROE สูงขึ้นก็จริง แต่ D/E ก็สูงขึ้นด้วย ค่า D/E ที่เพิ่มขึ้นหมายถึง ความเสี่ยงเพิ่มขึ้น หมายความว่า ต้นทุนเงินทุนเพิ่มขึ้น และทำให้ expected return ของหุ้นทุนสูงขึ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้นการเพิ่มขึ้นของ ROE ไม่ได้สะท้อนว่าราคาหุ้นต้องขึ้น เพราะเมื่อต้นทุน Cost of Capital เพิ่ม Expected Return หรือ Discount rate ใน DCF Model สูงขึ้น มูลค่ารวมจะลดลง เพียงแต่จำนวนหุ้นลดลงมากกว่า ทำให้เมื่อหารให้เป็นราคาต่อหุ้นดูสูงขึ้นดังนั้นในทางทฤษฎีแล้ว การซื้อหุ้นคืนจึงไม่ใช่การ Maximize shareholders’ value แต่เพียงผลทางจิตวิทยาตลาดทุนที่ทำให้หุ้นขึ้นเท่านั้นแต่ไม่เกิด value addedโดยรวมในด้าน corporate financial management
  5. บริษัททำด้วยเหตุผลที่อยากจะให้ราคาหุ้นของตนเองเพิ่มขึ้น เพราะคิดว่าแรงซื้อจากบริษัทจะทำให้ราคาหุ้นปรับตัวขึ้น พูดง่ายๆ คือปั่นหุ้นตนเอง

ในทฤษฎีการเงินเรื่อง capital structure ต้นทุนหุ้นทุนจะผันแปรโดยตรงกับ D/E เมื่อ 
  • rk = ผลตอบแทนหุ้นทุนที่ มี Leverage ที่ D/E
  • r0 = ผลตอบแทนหุ้นทุนที่ ไม่มี Leverage หรือที่ D/E = 0 
  • rd = ผลตอบแทนหุ้นกู้หรือต้นทุนเงินกู้ 
  • rk = r0 + (D/E) * (r0 - rd)

ถ้าพิจารณาที่เบต้า ซึ่งใช้วัดความเสี่ยงเมื่อ D/E เพิ่ม (ไม่ว่าจะจากการก่อหนี้เพิ่มหรือการซื้อหุ้นคืนก็ตาม) ต้นทุนหรือ Required rate of return of Equity ย่อมเพิ่มขึ้นด้วยเสมอ ดังสมการ
beta1 = beta0(1 + D/E) beta0 คือ betaหุ้นที่ไม่ที่หนี้

ดังนั้นเมื่อบรษัทซี้อหุ้นคืนผลระยะยาวทางการเงินที่ตามมาต้องไม่ลืมคือ Risk เพิ่ม Return ที่ต้องการเพิ่มขึ้นตาม

การซื้อหุ้นคืนทำให้ D/E สูงขึ้นและทำให้ผลตอบแทนที่คาดหวัง (Expected return) สูงขึ้น ย้ำให้เข้าใจอีกครับว่า Expected return ไม่ใช่ ผลตอบแทนที่เกิดขึ้น หมายความว่าหากหุ้นใดมี Expected return สูงไม่ใช่ว่าหุ้นจะต้องขึ้น แต่ Expected return หรือผลตอบแทนที่คาดหวังนี้จะหมายถึงอัตราคิดลดใน DCF Model (Discount Cash Flow Model) ที่ใช้ในการประเมินกระแสเงินสดในอนาคตมาเป็นมูลค่าหุ้นในปัจจุบันจะมากขึ้น และเมื่อใดที่ Expected return หรือผลตอบแทนที่คาดหวังสูงขึ้นโดยที่ กระแสเงินสดในอนาคตไม่ได้เพิ่มตามล้ว ราคาหุ้นที่ควรเป็นจะลดลง นี่คือเหตุผลที่เมื่อดอกเบี้ยขึ้น ราคาหุ้นจะลง เพราะดอกเบี้ยที่ขึ้นทำให้ Expected return เพิ่มขึ้นนั่นเอง (ใน CAPM : r = rf + beta(rm - rf) เมื่อ rm คือ market return และ rf คือ risk free rate ดอกเบี้ยจะหมายถึง rf นั่นเอง)
ในที่นี้เอา JAS มาเปนตัวอย่างเพราะมีการซื้อหุ้นคืนชัดเจนในจำนวนมากส่วน BANPUเพิ่งเริ่มและงบจากข้อมูลตลาดเพิ่งแสดงปิดที่ ไตรมาส1/56 ปีที่งบแสดงเครื่องหมาย xxx คือปี่ที่มีการซื้อหุ้นคืน ถ้าสังเกตให้ดี ปีที่มีการซื้อคืน D/E เพิ่มขึ้นอีกกว่าเดิม 0.5 เท่า
JAS (ล้านบาท)
งวดงบการเงิน งบปี 52 งบปี 53 งบปี 54 งบปี 55 ไตรมาส1/56
สินทรัพย์รวม 15,944.25 19,301.75 19,460.07 19,400.47 19,803.55
หนี้สินรวม 9,284.62 11,919.51 11,360.50 9,689.10 8,955.55
ส่วนของผู้ถือหุ้น 5,807.43 6,568.23 7,114.15 8,691.64 9,806.76
มูลค่าหุ้นที่เรียกชำระแล้ว 4,715.81 3,699.75 3,622.13 3,622.13 3,568.70
รายได้รวม 8,590.51 9,836.30 9,582.64 10,501.85 2,717.22
กำไรสุทธิ 203.52 663.29 1,072.50 2,136.50 775.61
กำไรต่อหุ้น (บาท) 0.03 0.1 0.15 0.3 0.11
อัตราส่วนทางการเงิน
D/E 1.60 1.81 1.60 1.11 0.91
ราคาล่าสุด(บาท) 0.49 2 2.06 5.4 8.45
P/E (เท่า) 5.21 37.36 21.9 20.36 24.66
ROE(%) 3.73 10.72 15.68 27.03 28.33
% EPS 233% 50% 100% -63%
% Revenues 15% -3% 10% -12%
*** Q1/56เทียบกับ Q1/55
จากสูตร rk = r0 + (D/E) * (r0 - rd) ในเรื่อง capital structure เราสามารนำมาเขียนใหม่ได้เป็น
rk = (1+D/E)*r0 - (D/E) * rd ถ้าเขียนเป็นสมการความสัมพันธ์การเปลี่ยนแปลง D/E จะได้ดังนี้
กปป rk = (กปปD/E)*(r0 - rd) ดังนั้นถ้า r0 - rd มีส่วนต่างราว 7-8% (risk premium) กปป D/E เท่ากับ 0.5 เท่า rk จะต้องการเพิ่มขึ้น ราว 3.5-4% มูลค่าธุรกิจจะลดลงราว 3-4% เช่นกัน (Zero growth Model) ถ้าคิดที่กระแสเงินสดจากปัจจุบัน

ดงนั้นที่นักลงทุนต้องคิดต่อคือนำเอาแนวคิด PEG มาพิจารณาร่วมกับระดับ P/E ปัจจุบันก็ประเมินได้ว่าในระยะยาวจะเป็นอย่างไร
P/Eปัจจุบัน 24.8 เท่า หมายความว่า EPS Growth ต้องไม่น้อยกว่า 24.8% หรือราว 0.4 บาท

จุดที่ต้องคอยเฝ้าระวังห่างๆ (ระวังความผันผวน) คือ Higher D/E means higher Risk

4 การจ่ายหุ้นปันผล

 คล้ายๆกับ การซื้อหุ้นคืนคือแทนที่จะเอาเงินจ่ายปันผล ก็จ่ายเป็นหุ้นแทน ส่วนใหญ่บริษัทมีกำไรมากและอยากเก็บเงินสสดไว้ใช้ดำเนินงาน ก็จ่ายเป็นหุ้นแทน ให้ผู้ถือหุ้นไปเอาเงินสดจากตลาดแทน หรือใครจะถือต่อก็ได้ การจ่ายหุ้นปันผลไม่กระทบกับส่วนเจ้าของ เพราะย้ายกำไรสะสมขึ้นไปเป็นเป็นหุ้นทุน แต่ผลกระทบคือ เม็ดหุ้นมากขึ้น อาจเกิด dilution effect ได้ แม้จะทำกำไรเท่าเดิม ROE เท่าเดิม แต่โดยรวมๆ wealth ของนักลงทุนคงที่ที่ระดับ P/E นั้น เพราะ EPS ลดลง Price ลดลง แต่จำนวนหุ้นเพิ่มขึ้นชดเชยแทน
จะเห็นว่าแค่ทุน ยังมีวิธีการมากมายในการบริหาร ทุกการกระทำล้วนต้องมีหลักการและเหตุผลที่ดี หลายบริษัท เดี๋ยวซื้อหุ้นคืนกลับ นัยหนึ่งที่ควรพิจารณาคือ การซื้อคืน แสดงว่า เหลือเงิน ไม่มี project ใหม่ขยายออกไปแล้ว หรือโคงการใหม่ๆ มีผลตอบแทนน้อยกว่า existing project เพราะถ้ามีทำไมไม่ลงทุนให้เราเพื่อเพิ่มกำไร ทางทฤษฎ๊การเงิน แสดงว่ากิจการเข้าสู่วงจรชะลอตัวถึงถดถอย คล้ายๆ กับบรฺทที่จ่ายอัตราปันผลมากๆ 60-70% หรือ อาจเกือบ 100% แสดงว่ากาเอาเงินไป reinvest หรือไม่ม๊โครงการที่สร้างผลกำไรเพิ่มได้ การซื้อหุ้นคืนกลับย่อมไม่ช่เรื่องดีนัก เพราะด้านหนึ่ง กิจการแต่ง ROE ด้วย

ส่วนการจ่ายหุ้นปันผล มี 2 นัย คือ กิจการไม่มีเงินสดมากพอ ก่อหนี้ก็ไม่ไหว ในมุมหนึ่งคือมีเงินแต่กิจการเห็นโอกาสลงทุนในโครงการใหม่ว่าให้ประโยชน์มากกว่า (ROCI) หากเป็นเช่นนั้นไม่จ่ายปันผลเลยก็ได้ เพราะการจ่ายหุ้นปันผลทำให้ EPS เกิด dilute ถ้ากำไรไม่มากพอกับหุ้นที่เพิ่มจะทำให้ราคาหุ้นลดลง

การวิเคราะห์ทางบัญชี
  • กปป.สินทรัพย์ = กปป. หนี้สิน + กปป ทุน
  • 0 = 0 + (RE ลดลง) + หุ้นทุนเพิ่ม การจ่ายหุ้นปันผลจึงไม่กระทบกับส่วนเจ้าของ
  • ถ้ากำไรไม่เพิ่ม ราคาหุ้นจะลดลงเพราะเกิด dilution ไม่เช่นนั้น P/E จะสูงขึ้น
วิธีการคิด dilution ใช้หลักการเหมือนเรื่องเพิ่มทุน
[1]https://www.facebook.com/sanpong.limthamrongkul/posts/10200763877957735
[2]https://www.facebook.com/sanpong.limthamrongkul/posts/10200769253332116

วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ปัญหาหนี้สาธารณะในเศรษฐกิจสหรัฐรอวันระเบิด?

หนี้สาธรณะในเศรษฐกิจสหรัฐ จะอยู่หรือไป บทความจาก facebook.com/ThanongFanclub ครับ เขาว่าตั้งแต่ปี 2008 หนี้สาธารณะของสหรัฐก็พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว จนน่ากลัวว่าจะรอดหรือไม่ ลองอ่านกันดูครับ

1.ระบบเศรษฐกิจสหรัฐฯคือระบบหนี้ ที่ไปต่อไม่ไหว


หลังจากเลิกระบบมาตรฐานทองคำปี1971 จะเห็นได้ชัดเจนว่าสหรัฐฯโดนระบบหนี้ เงินกระดาษครอบ จนหนี้ของประเทศโตกว่าจีดีพีไปเรื่อยๆ จนกู่ไม่กลับทุกวันนี้

เมื่อ40 ปีที่แล้ว สหรัฐฯมีหนี้$2ล้านล้าน ทุกวันนี้ หนี้ทั้งหมดเพิ่มเป็น$56ล้านล้าน เส้นสีน้ำเงินแสดงการเติบโตของหนี้ หลังนิกสันเลิกระบบมาตรฐานทองคำ ส่วนเส้นสีแดงคือการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ ขณะนี้จีดีพีอยู่ที่$16ล้านล้านกว่า

เส้นกราฟบอกชัดว่า จีดีพีหรือปัจจัยพื้นฐาน และหนี้ที่ก่อจากเครดิต การใช้เงินอนาคตผ่านระบบเงินกระดาษ นับวันยิ่งถ่างออกไป

กู่ไม่กลับ

ทำให้ดอลล่าร์มีความเสี่ยงในการรักษาความเป็นเงินสกุลหลักของโลก

หนี้รวม กับ GDP


ที่มา http://theeconomiccollapseblog.com/archives/share-this-chart-with-anyone-that-believes-the-u-s-economy-is-not-going-to-crash

2.หนี้รัฐบาลกลางสหรัฐฯเพิ่มขึ้น$11ล้านล้านตั้งแต่ปี2000


เวลาประเทศเริ่มก่อหนี้ ไม่ค่อยจะรู้สึกกัน แต่พอเวลาผ่านไปสักระยะ หนี้มันจะไปในอัตราที่เร่งตัวขึ้นโดยปริยาย เพราะทุกคนมีข้ออ้างในการใช้เงิน

ตั้งแต่ปี2000 หนี้สหรัฐเพิ่ม $11ล้านล้าน จนใกล้$17ล้านล้านในขณะนี้

สัดส่วนหนี้ของรัฐบาลกลางสหรัฐฯต่อจีดีพีอยู่ระดับ60%บวก ลบ แต่พุ่งทะยานอย่างน่ากลัวหลังวิกฤติ2008 เพราะรัฐบาลเข้าไปอุ้มระบบการเงิน เศรษฐกิจทั้งระบบ

ช่วงโอบามารับตำแหน่งประธานาธิบดีปี2009 หนี้รัฐบาลกลางอยู่ที่$10ล้านล้าน โอบามาประกาศจะแก้ปัญหาเศรษฐกิจให้ได้ ประโยคเด็ด Yes, we can.

อยู่มา5ปี หนี้รัฐภายใต้โอบามาพุ่งเกือบ$7ล้านล้านเป็น $17ล้านล้าน ทำให้สัดส่วนหนี้ต่อจีดีพี ทะลุ100%ไปแล้ว

เพราะภาครัฐใส่เงินขาดดุล เข้าไปปีละกว่า$1ล้านล้าน เพื่อทดแทนเงิน $1ล้านล้านที่หายไปจากระบบเศรษฐกิจหลังฟองสบู่แตก

พูดง่ายๆก่อหนี้ เพื่อรักษาจีดีพี แต่การก่อหนี้เช่นนี้เป็นการแก้ไขปัญหาทางการเมือง แต่ทางเศรษฐกิจ มันเป็นหายนะ เพราะประเทศที่ปล่อยให้หนี้ภาครัฐสูงเกิน80%ต่อจีดีพี จะเดินหน้าต่อลำบาก เพราะเศรษฐกิจจะโตช้า เงินที่ได้จากการเก็บภาษีต้องไปใช้หนี้

ขณะนี้สหรัฐฯเลือกที่จะพิมพ์เงินผ่านQEในการแก้ปัญหา
หนี้สาธรณะ


http://theeconomiccollapseblog.com/archives/share-this-chart-with-anyone-that-believes-the-u-s-economy-is-not-going-to-crash

3.หนี้มลรัฐฯและรัฐบาลท้องถิ่นสหรัฐก็เอาไม่อยู่


อาทิตย์ที่ผ่านมามีข่าว ดีทรอยท์ เมืองรถยนต์สหรัฐประกาศล้มละลาย เพราะไม่มีปัญญาจ่ายหนี้$18,000ล้าน

หลายรัฐและเมืองใหญ๋ที่ออกบอนด์Minicipal Bondกู้เงินเป็นว่าเล่น เพื่อสร้างโน่น สร้างนี่กำลังมีฐานะย่ำแย่คล้ายๆกัน

หนี้ของพวกมลรัฐ รัฐบาลท้องถิ่นพุ่งจาก$1.2ล้านล้านเมื่อปี 2000 มาเป็น $3ล้านล้านทุกวันนี้

มีแต่หนี้ทั้งนั้นในระบบทุนนิยมการเงินกระดาษ


หนี้รัฐบาบท้องถิ่น

http://theeconomiccollapseblog.com/archives/share-this-chart-with-anyone-that-believes-the-u-s-economy-is-not-going-to-crash

4.ภาคสรุป


ถ้าเป็นประเทศอื่น ดอกเบี้ยจะต้องพุ่งทะลุหลังคาไปแล้ว ค่าเงินตกรูด

กราฟทั้งสามที่เอามาให้ดู เรื่องหนี้ทั้งหมดในสหรัฐฯ หนี้ภาครัฐ และหนี้ของมลรัฐบอกรัฐบาลท้องถิ่น ชี้ให้เห็นว่าสหรัฐฯเข้าสู่ระบบหนี้เต็มตัวหลังเลิกมาตรฐานทองคำ จะเป็นเหตุปัจจัยหรือเปล่าก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันได้

อย่างไรก็ดี ถ้าเป็นประเทศปกติ ด้วยหนี้ระดับนี้ ดอกเบี้ยต้องพุ่งทะลุเพดาน และค่าเงินต้องอ่อนยำแย่ เงินเฟ้อสูง แต่สหรัฐฯเป็นประเทศมหาอำนาจ มีดอลล่าร์เป็นสกุลหลักของโลก

สหรัฐฯแก้ปัญหาชั่วคราวด้วยการพิมพ์เงินผ่านคิวอี ย่ามใจว่าใครๆก็ยังคงต้องการดอลล่าร์อยู่ ไม่มีตัวเลือกพอ และได้กดดอกเบี้ยลง0%

ประเด็นคือจะประคองสถานการณ์ที่วิกฤตินี้ไปได้นานแค่ใหน

รัสเซีย จีน ยืนมองดูอยู่ เตรียมล้มดอลล่าร์ เมื่อระบบหนี้เดินต่อไปอีกไม่ได้

ในโลกนี้ไม่มีอะไรเป็นอนันตกาลหรือinfinity โดยเฉพาะอย่างยิ่งสร้างหนี้infinityเป็นไปไม่ได้

วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เทคนิคการอ่านงบการเงินให้เข้าใจ

บทความจาก อ.สรรพงศ์ ลิมป์ธำรงกุล [1] เขียนอธิบายเทคนิคการอ่านงบการเงินให้เข้าใจ ได้อ่านง่ายมากครับ เยี่ยมจริงๆ เชิญอ่านโดนพลัน

การอ่านงบการเงินให้เข้าใจต้องมีมุมมองของนักบัญชีเป็นส่วนประกอบด้วย (แต่ไม่ใช่ทั้งหมด) และต้องมองงบการเงินว่ามาจากการทำกิจกรรมเชิงเศรษฐกิจ (Economic Activities) และแบ่งความแตกต่างระหว่างสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของได้ เข้าใจหลักเกณฑ์การรับรู้รายได้ค่าใช้จ่าย เข้าใจถึงหลักสมมติฐานเบื้องต้นของการจัดทำงบการเงินว่าใช้หลักเกณฑ์คงค้างหรือเกณฑ์สิทธิ์และหลักการดำรงอยู่ (Going Concern) สิ่งสำคัญที่ต้องเข้าใจลงลึกในใจคือสมการบัญชีที่เป็นจริงเสมอ อะไรจะโยกย้ายไปด้านไหน สมการบัญชีต้องเป็นจริงเสมอ และงบการเงินไม่ว่าจะนำเสนออย่างใด สมการบัญชีต้องคงที่เสมอ

  • สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ

การเปลี่ยนแปลงรายการในงบดุลระหว่างงวด เป็นผลจากหรือทำให้เกิดงบกำไรขาดทุนตามภาพที่ 1
การเปลี่ยนแปลงรายการในงบดุลระหว่างงวด เป็นผลจากหรือทำให้เกิดงบกำไรขาดทุน


แนวคิดทางบัญชีปัจจุบันนำเสนองบการเงินบนแนวคิด Balance Sheet Approach นั่นคือถ้ามูลค่าหรือการวัดมูลค่างบดุลถูกต้อง งบกำไรขาดทุนก็จะถูกต้อง โดยการรับรู้กำไรขาดทุนระหว่างงวดเป็นไปตามทฤษฎีการรักษาระดับทุน (Capital Maintenance) แต่นั่นไม่ใช่เรื่องใหญ่สำหรับการวิเคราะห์งบการเงิน เพราะในเบื้องต้นนั้นงบการเงินที่จะนำเข้ามาใช้ในการวิเคราะห์ควรต้องน่าเชื่อก่อน นั่นคือต้องผ่านการตรวจสอบหรือผู้ใช้งบการเงินเชื่อมั่นระดับหนึ่งว่า งบการเงินได้มีการจัดเตรียมและนำเสนออย่างถูกต้องตามควรถ้างบนำเสนอไม่ถูกต้อง ผลการวิเคราะห์ก็ไม่ถูกต้อง
เมื่อแนวคิดทางบัญชีนำเสนอบนหลักของ Balance Sheet Approach การอ่านงบดุลจึงให้มุมมองในอีกมิติ ที่งบกำไรขาดทุนไม่สามารถชี้ภาพของธุรกิจได้ทั้งหมด

ข้อสังเกต เดบิตและเครดิตทางบัญชีอาจจะอธิบายได้ยาก บางคนอาจสรุปง่ายๆ ว่า คือ ซ้ายกับขวา ซ้ายเป็นด้านสินทรัพย์และค่าใช้จ่าย ขวาเป็นการบันทึกด้านหนี้ ทุน รายได้ เท่านี้หรือ ไม่ได้ต่อยอดความรู้อะไรเพิ่มขึ้นและเชื่อมโยงกับนิยามตามแม่บทการบัญชีและหลักทางการเงินไม่ได้เลย แต่ถ้าเปลี่ยนใหม่มามองว่า เดบิตและเครดิต คือ ด้านการบันทึกแหล่งที่ใช้ไปของทุนและที่ได้มาของทุน เราจะเห็นภาพเชื่อมโยงทั้งหมดระหว่างบัญชีและการเงิน แม้แต่นิยามสินทรัพย์ หนี้สิน ทุน รายได้ ค่าใช้จ่าย ตามแม่บทการบัญชีก็สอดคล้องด้วยเช่นกัน
เดบิต - เครดิต

ในแง่ของนักลงทุน ไม่ต้องรู้ลึกถึงวิธีการลงบัญชีหรืองมาตรฐานการบัญชีให้ลึกนัก แต่ให้รู้หลัการหลักๆ ว่ากิจกรรมที่เกิดขึ้นนั้นต้องแสดงอย่างไรในงบการเงิน ย้ำนะครับว่าแสดงอย่างไร ดังนั้นรายการนั้นๆ ก็เพียงแต่จัดว่าเป็นสินทรัพย์ หนี้สิน หรือส่วนทุน จึงต้องให้เข้าใจสมการบัญชีให้ลึกซึ้งสำคัญที่สุด รู้ว่ารายการต่างๆที่เกิดขึ้น เป็นอะไร สินทรัพย์ หนี้สิน หรือทุน ส่วนรายได้และค่าใช้จ่าย ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของทุน ส่วนงบกระแสเงินสดก็เป็นส่วนหนึ่งของงบดุลเช่นกัน แสดงรายละเอียดความเคลื่อนไหวของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดที่อยู่ในงบดุล (เดี๋ยวนี้เรียกงบแสดงฐานะการเงินแทน) นั่นคือทำให้ดูว่า งวดๆหนึ่งรายการเงินสดฯ ที่เปลี่ยนแปลงนั้นมันไหลเข้าไหลออกจากบัญชีกลุ่มเงินสดและรายการเทียบเท่าอย่างไร แยกให้เห็นตามลักษณะกิจกรรม

งบกระแสเงินสด

ความเชื่อมโยงงบการเงิน
ที่มา
[1] https://www.facebook.com/sanpong.limthamrongkul/posts/10200687250962108

วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

โครงสร้างประชากรกับวัฏจักเศรษฐกิจและการลงทุน

วัฏจักเศรษฐกิจและการลงทุนมันมีความสัมพันธ์กับโครงสร้างประชากรค่อนข้างสูง จากภาพคือดัชนี Dow Jones ของอเมริกาที่ปรับด้วย Log Scale เทียบกับช่วงชีวิตของยุค Baby Boom ที่เกิดในปี 1950-60 เป็นยุคหลัง สงครามโลกครั้งที่ 2

ทำให้เห็นภาพชัดเลยนะว่า ต่อไปอเมริกาจะเผชิญกับความยากลำบากทางเศรษฐกิจยาวนานแน่ๆ


วัฏจักเศรษฐกิจและการลงทุน
ที่อเมริกา GDP ไม่โต ก็ต้องกู้มาเรื่อยๆ
ที่มา: http://theeconomiccollapseblog.com/archives/share-this-chart-with-anyone-that-believes-the-u-s-economy-is-not-going-to-crash

โครงสร้างประชากรสำหรับประเทศที่เติบโต ส่วนใหญ่จะมีประชากรวัยแรงงานจำนวนมากทำให้ค่าแรงถูกมีความได้เปรียบในการแข่งขัน และมีสัดส่วนประชากรคนชั้นกลางที่เป็นตลาดขนาดใหญ่สำหรับการบริโภคสินค้าครับ ซึ่งตอนนี้โครงสร้างแบบนี้ก็อยู่ในประเทศกลุ่มเอเซียนี่แหละครับ ลองดูภาพโครงสร้างประชากรในประเทศกลุ่มอาเซี่ยน เอื้อเฟื้อข้อมูลจาก Opportunity Day ของ GL ครับ http://www.dcs-digital.com/setweb/downloads/2555q3/20121211_gl.pdf
ประเทศไทย กำลังจะเป็นสังคมผู้สูงอายุในไม่ช้า

ตอนนี้ประเทศในอาเซี่ยนยังวัยแรงงานเพียบ

อีก 40 ปี

วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ข้อพึงระวังในการวิเคราะห์งบการเงิน

บทความจาก อ.สรรพงศ์ ลิมป์ธำรงกุล ข้อพึงระวังในการวิเคราะห์งบการเงิน

  • งบการเงินมีลักษณะหยุดนิ่ง (Static Nature) อัตราส่วนที่ได้จึงแสดงผลของช่วงเวลาของบการเงินช่วงนั้นที่เกิดแล้วในอดีต ซึ่งไม่ใช่ ณ ปัจจุบัน จึงอาจไม่สะท้อนถึงยุทธ์ศาสตร์ของธุรกิจในปัจจุบัน ดังนั้นงบการเงินที่ใช้ควรเป็นข้อมูลที่ update ที่สุดจึงบอกสถานะที่ใกล้จริงมากที่สุด 
  • ความน่าเชื่อถือของงบการเงินหรืออาจมีการทำ Creative Accounting (การตกแต่งงบการเงิน) ทำให้ข้อมูลที่ได้ไม่เป็นจริง อัตราส่วนที่ได้ก็จะไม่ถูกต้องตามที่ควรเป็น 
  • ความสัมพันธ์ของข้อมูลและปัจจัยแวดล้อม สภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป อาจทำให้อัตราส่วนนำมาเปรียบเทียบไม่ได้ เช่น ภาวะเงินเฟ้อผันผวนรุนแรง ภาวะดอกเบี้ยผันผวน หรือการลดค่าเงิน เป็นต้น 


ข้อจำกัด ของการวิเคราะห์งบการเงิน


  1. Estimates ตัวเลขในงบฯหลายรายการเกิดจากการประมาณการ เช่น การประมาณหนี้ที่คาดว่าจะเก็บเงินไม่ได้ การคิดค่าเสื่อมราคา การประมาณการค่าใช้จ่ายและหนี้สินที่เกิดจากการประกันสินค้า เป็นต้น ถ้าการประมาณการไม่ถูกต้อง จะทำให้ตัวเลขในงบการเงินไม่ถูกต้อง และผลการวิเคราะห์ก็จะไม่ถูกต้อง
  2. Atypical Data บางกิจการมีการปิดบัญชีช่วงฤดูกาลที่ขายดี ทำให้สินทรัพย์และหนี้สินมากหรือน้อยกว่าโดยเฉลี่ยทั้งปี
  3. Cost ตัวเลขในงบการเงินจะใช้ราคาทุน ดังนั้นการเปรียบเทียบงบการเงินที่ไม่ได้ปรับอัตราเงินเฟ้อทำให้ตีความผิดได้ เช่น เปรียบเทียบยอดขาย 2 ปี พบว่ามีอัตราการเพิ่มของยอดขาย 5% ถ้าอัตราการเงินเฟ้อ 5% แสดงว่ากิจการมิได้เติบโตเลย หรือการเปรียบเทียบมูลค่าสินทรัพย์2ชิ้น ที่ซื้อในเวลาที่ต่างกัน อาจตีความผิดได้
  4. Diversification ธุรกิจขนาดใหญ่ จะประกอบธุรกิจที่แตกต่างกันอย่างมาก ทำให้หาธุรกิจที่คล้ายกันเพื่อเปรียบเทียบได้ยากใน USA บริษัท Pepsi ประกอบธุรกิจขายน้ำอัดลม และร้านอาหาร เช่น Pizza Hut , Kentucky Fried Chicken ขณะที่บริษัท Coke ประกอบธุรกิจขายน้ำอัดลม และผลิตขวด

    สำหรับในไทย SCCC ทำธุรกิจปูนซีเมนต์อย่างเดียวไม่ควรนำไปเปรียบเทียบกับ SCC ซึ่งประกอบธุรกิจปูนซีเมนต์คิดเป็นรายได้เพียงประมาณร้อยละ 20 ของรายได้รวม แต่ประกอบธุรกิจปิโตรเคมี และกระดาษด้วย
  5. Alternative Accounting Methods เนื่องจากวิธีปฏิบัติทางบัญชีที่ต่างกัน ทำให้กำไรที่รายงานออกมามีคุณภาพที่แตกต่างกันด้วย , มีหลักการบัญชีสำหรับการวัดมูลค่าหรือการนำเสนอหลายวิธี สำหรับเหตุการณ์อย่างเดียวกัน ผู้บริหารมักเลือกหลักการบัญชีที่เป็นประโยชน์กับตัวเลขกำไร ตนเอง หรือกิจการ ส่งผลให้ตัวเลขสินทรัพย์ หนี้สิน รายได้ และค่าใช้จ่าย แตกต่างกัน เช่น การเลือกคิดค่าเสื่อมราคาว่าจะคิดแบบเส้นตรง หรือคิดให้สอดคล้องกับความจริงหากต้องขายสินทรัพย์ที่มีมูลค่ามากอย่างมีนัยสำคัญ การวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไร เพื่อศึกษาว่ากิจการมีผลการดำเนินการอย่างไร ในภาวะเศรษฐกิจรุ่งเรือง และในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ไม่ว่าจะเป็นการที่รายได้เติบโต แต่กำไรไม่เพิ่มอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นควรดูว่ากิจการยังรักษาอัตรากำไรไว้ได้หรือไม่ การศึกษาแนวโน้มของรายได้ และกำไรย้อนหลังไปหลายๆปีจะทำให้เห็นภาพวัฏจักรของธุรกิจและความสม่ำเสมอในการหากำไร ควรพิจารณาหลักการบัญชีที่ผู้บริหารเลือกใช้ในหมายเหตุประกอบงบฯ
    การอ่านรายงานผู้สอบบัญชีถือเป็น ‘the must‘ อ่านเพื่อให้รู้ว่ามีสัญญาณที่ไม่ชอบมาพากลหรือไม่ ถ้าผู้สอบบอกว่าหาสิ่งผิดปกติไม่เจอ ก็ไม่ได้แปลว่าไม่มีขยะซ่อนอยู่ใต้พรม ผู้สอบบัญชีจะไม่บอกตรงๆ (ยกเว้นถ้าพบชัดเจน จะไม่รับรองงบการเงิน)
  6. เหตุที่กระทบต่อความสามารถในการหากำไร และความอยู่รอดของธุรกิจ อาจไม่แสดงในงบการเงิน เช่น ข้อมูลบอกว่า market share ลบติดกันมาหลายไตรมาสแล้ว และมีแนวโน้มลดลงต่อไป การทะเลาะกับลูกค้า การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี การเปลี่ยนระบบบริหาร การเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายระเบียบข้อบังคับกติกาในการค้า การที่สินค้าทดแทนกำลังมาแรง การยกเลิกส่วนงาน ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่แสดงอยู่ในรายงานประจำปีเลยก็เป็นได้
  7. Lagging Indicator การวิเคราะห์งบการเงิน เป็นการวิเคราะห์สิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต เพื่อนำผลของการวิเคราะห์ไปช่วยพยากรณ์อนาคต อย่างไรก็ตามสิ่งที่จะเกิดในอนาคตอาจต่างไปจากอดีต
  8. Account Classification Differences กิจการมักจะจัดประเภทของรายการที่แสดงในงบการเงินแตกต่างกัน เช่น ทั้งในการจัดกลุ่มหรือประเภท อาจกระทบต่อการเปรียบเทียบอัตราส่วนระหว่างกิจการจึงอาจต้องปรับงบการเงินที่จะนำมาเปรียบเทียบให้มีการจัดประเภทเหมือนกันก่อน และถ้าไม่สามารถจัดประเภทให้เหมือนกันได้ ก็ต้องเตือนตัวเองอยู่เสมอในการวิเคราะห์
ที่มา https://www.facebook.com/sanpong.limthamrongkul/posts/10200656533354187

วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

หลักการของ MVA current operations value (COV) และ future growth value (FGV)

บทความจาก อ.Sanpong Limthamrongkul เรือง "หลักการของ MVA COV และ FGV" ซึ่งเป็นการวิเคราะห์โครงสร้างราคาที่ซื้อขายว่า ตลาดให้มูลค่าหรือราคาตลาดที่ซื้อขายอยู่ตอนนี้ มีองค์ประกอบจากกอะไร อิงกับความสามารถในการดำเนินงานที่เกิดจริงหรือฝากความหวังไว้กับอนาคตมากน้อยเพียงใด เขียนลง facebook [1][2][3][4] ละเอียดมากครับ เชิญอ่านโดยพลัน

  • Market Value Added = Market Value – Accounting Equity Booked Value
  • MVA = MV – BV หรือ ราคา - มูลค่าทางบัญชี

หลักการของ MVA เป็นการแตกยอดต่อออกมาจากแนวคิดเรื่อง EVA โดย MVA คิดง่ายๆ ก็คือ ราคาหุ้นในปัจจุบัน ซื้อขายกันมากกว่าหรือต่ำกว่ามีคงค์ประกอบจากอะไร ถ้ามองแบบต่อหุ้น ง่ายๆก็คือ P-BV (ราคหุ้นลบมูลค่าตามบัญชีต่อหุ้นนั่นเอง) ถ้าราคาหุ้นปัจจุบันสูงกว่าราคาตามบัญชี ก็ต้องดูว่า ที่สูงกว่า มากจาก current operations value (COV) และ future growth value (FGV) เวลาดูต้องดูทั้งสองตัว (และถ้าดูต่อเนื่องหลายๆไตรมาสยิ่งดี) และนำมาพิจารณากับองค์ประกอบอื่นๆด้วย คือ

  1. ถ้า COV มีค่าเป็นบวก (ยิ่งมากยิ่งดี) แสดงว่าราคาหุ้นส่วนหนึ่งอยู่บนมูลฐานของกำไรที่เกิดจริงในอดีตที่ผ่านมามาก และถ้า FGV เป็นบวกด้วย แสดงว่า ตลาดมีมุมมองการเติบโตหรืออนาคตของบริษัทในเชิงบวกสูง
  2. ถ้า COV มีค่าเป็นบวก (ยิ่งมากยิ่งดี) แสดงว่าราคาหุ้นส่วนหนึ่งอยู่บนมูลฐานของกำไรที่เกิดจริงในอดีตที่ผ่านมามาก แต่ถ้า FGV เป็นลบ แสดงว่าอาจเกิเด้สองกรณีคือ ตลาดยังไม่ได้ให้ค่าการเติบโตในอนาคต เป็นไปได้ที่ราคาจะขึ้นได้อีกเมื่อตลาดเป็นแนวโน้มขึ้น และหุ้นนี้โดยพื้นฐานทางอุตสาหกรรมดี เช่น SCC มี FGV ติดลบ ทั้งที่ COV เป็นบวก ถ้ามองว่าอุตสาหกรรมก่อสร้าง และอื่นๆ (ปิโตร กระดาษ) ในอนาคตน่าจะยังดีอยู่ อย่างนี้หุ้นน่าจะขึ้นได้อีกพอควร (มากว่กาตลาด) แต่ถ้าติดลบในอีกกรณีที่มองได้คือ แนวโน้มอุตสาหกรรมอาจจะเริ่มลง (วงจรเข้าสู่ recession) กำไรจะลดลง COV อาจจะลดลง แสดงว่าราคาหุ้นอาจจะอิ่มตัวแล้ว (เต็มมูลค่า) 
  3. ถ้า COV มีค่าเป็นลบ แสดงว่าราคาหุ้นส่วนหนึ่งไม่ได้อยู่บนมูลฐานของกำไรที่เกิดจริงในอดีตที่ผ่านมา และหากถ้า FGV เป็นบวกด้วย แสดงว่า ตลาดกำลังให้อนาคตของบริษัทในเชิงบวกสูง เช่น ITD ที่มี COV ติดลบมาตลอด แต่ FGV เป็นบวก อย่างทีกล่าวมาแล้ว FGV เป็นค่าที่บ่งชี้ว่าตอนนี้ตลาดซื้อชายอนาคตกันอย่างไร FGV อาจจะมีหรือไม่มีพื้นฐาน backup เลยก็ได้ ส่วนนี้โดยส่วนตัววผมมองว่ามักจะเป็น market sentiment มากกว่า หุ้นบางตัวเป็นหุ้นข่าว หุ้นการเมือง หุ้นปั่น ถ้ารู้พติกรรมหุ้นก็ประเมินง่ายขึ้น ITD มักจะเป็นหุ้นอิงข่าวมากกว่า เช่นอนาคตได้โครงการนั้นโครงการนี้ และอิงกับนโยบายเมกกะโปรเจค ก็อยู่ที่นักลงทุนว่าจะชอบหุ้นลักษณะนี้หรือไม่ เพราะราคาหุ้นส่วนใหญ่พึ่งพิงกับอนาคตทั้งหมด ราคาอิงกับโครงการทวายในพม่าเป็นส่วนใหญ่ เป็นต้น 
  4. ถ้า COV มีค่าเป็นลบ และ FGV เป็นลบด้วย แสดงว่า ตลาดมีมุมมองการเติบโตหรืออนาคตของบริษัทในทางลบสูง พื้นฐาน (กำไรก็ไม่มี ขาดทุน) หุ้นพวกนี้ P/E เป็น N/A มี PBV ก็ต่ำกว่า 1 มาก หุ้นที่กลุ่ม VI บางคนชอบ มักจะเข้าข่ายแบบนี้โดยไม่รู้ตัว ที่บางคนเรียกว่า turnaround ตลาดมองไม่มีอนาคต แต่เรามองหาเจอ มันอาจพลิกเป็นแบบ 1 หรือ 2 เลยก็ได้ ที่เรียกว่าหลายเด้ง หุ้นกลุ่มนี้ลุ้นอนาคตล้วนๆ งบการเงินก็ไม่บอกอะไร เพราะบอกแต่อดีตที่แสนเศร้า ตาดีได้ตาร้ายเสีย การวิเคราะหุ้นแบบนี้ต้องเน้น qualitative analysis (วิเคราะห์เชิงคุณภาพ เช่น โครงสร้างผู้ถือหุ้น โครงสร้างบริษัท คุณภาพ board ทีมผูบริหาร วัฒนธรรมองค์กร ภาพรวมและแนวโน้มอุตสาหกรรม เป็นต้น) การวิเคราะห์เชิงปริมาณ (quantitative analysis วิเคราะห์ตัวเลขจากงบการเงิน) แทบจะใช้ไม่ได้ดีเท่าไร

สรุป : การวิเคราะห์ MVA ต้องดูทั้ง COV และ FGV อย่าดูค่าเดียวค่าหนึ่งแล้วสรุปทันที COV คือของเห็นๆ กำไรที่เกิดจริง ส่วน FGV เป็นเรื่อง อนาคต market sentiment

ตัวอย่างการคำนวณ MVA COV และ FGV


IVL : EPS 55 = 0.96 price as of 08/07/2556 = 17.10
ถ้าคิดจากงบปี 55 กำไรต่อหุ้นต้องหัก one time gain/(loss) ดังนี้
กำไรจากการต่อรองราคาซื้อ 847.5 MB ต่อหุ้น = 847.5/4,814.3 = 0.18
ผลกระทบจากน้ำท่วม-สุทธิ 1,873 MB ต่อหุ้น = 1,873/4,814.3 = 0.39
Adj EPS = 0.96 – 0.18 – 0.39 = 0.39
ถ้าดูย้อนหลังจะยิ่งเข้าใจชัดเจนว่า ทำไมราคาหุ้นลง เพราะ COV ลดลงทุกปี
ล่าสุด 1Q56 = 0.1 กำไรย้อนหลัง 4 ไตรมาส = 0.7 ปรับย้อนหลังออกจาก onetime ปีก่อน 0.57 x ¾ = 0.4
Adj EPS = 0.3
ถ้า rk = Expected return (Cost of capital) = 18% (Expected Market return)
COV = 0.3/0.18 = 1.16
MVA = 17.5 -11.15 = 6.35
COV = 1.16 ดังนั้น FGV = 5.19 มูลค่าส่วนใหญ่เป็นการคาดหวังอนาคตเกือบทั้งหมด ถ้าดูปี 55 ที่ผ่านมา Adj EPS = 0.96 – 0.18 - 0.39 = 0.39
COV = 0.39/.18 = 2.17 ดังนั้น FGV = 25.25 (price 31 dec 55) – 2.17 = 23.08 ตลาดคาดหวังมูลค่าในอนาคตสูง ซึ่งอาจคาดหวังการฟื้นของราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี แต่ถ้าการฟื้นตัวทอดเวลายาวไป เช่นหลังไตรมาสที่สามปี 56 มูลค่าส่วนเกินก็จะถูก discount ลงเรื่อยๆ ราคาส่วนเกิน MVA ก็ลดลง

ITD EPS 1Q56 = 0.08
มีรายการ one time คือ กลับรายการค่าเผื่อการด้อยค่าเงินลงทุนรับรู้เป็นกำไร 182 MB คิดเป็นต่อหุ้น 0.04 บาท เกิดในไตรมาสสองหักทั้งจำนวน ส่วนปีก่อนไม่มี จึงไม่ต้องนำมาปรับ
กำไร 4 ไตรมาสย้อนหลัง = 0.15 ลบ 0.04 = 0.11
ถ้า rk = Expected return (Cost of capital) = 18% (Expected Market return)
COV = 0.11/0.18 = 0.61
MVA = 4.18 -0.61 = 3.57
COV = 1.16 ดังนั้น FGV = 5.19 มูลค่าส่วนใหญ่เป็นการคาดหวังอนาคตเกือบทั้งหมด ดังนั้นราคาหุ้นจะอ่อนไหวต่อข้อมูลสุง เช่น โครงการทวาย งบป้องกันน้ำท่วม ซื้อหุ้นนี้คือการเล่นกับข่าว ไม่ใช่ปัจจัยพื้นฐาน

ดูอีกตัวหนึ่ง PTTEP EPS 1Q56 = 5.08
มีรายการ one time คือ กำไรจากอนุพันธ์ทางการเงิน 44 MB คิดเป็นต่อหุ้น 0.01 บาท
กำไร 4 ไตรมาสย้อนหลัง = 16.59 ลบ 0.01 = 16.58
ถ้า rk = Expected return (Cost of capital) = 18% (Expected Market return)
COV = 16.59/0.18 = 92.17
MVA = 161.5 – 92.17 = 69.33 หุ้น PTTEP มีสัดส่วน COV มากกว่า FGV แสดงถึงมูลค่าหุ้นมีองค์ประกอบจากการดำเนินงานที่มากกว่า ชี้ว่าหุ้นนี้ค่อนข้างเติบโตจาก real operation


ย้ำนะครับว่า การวิเคราะห์หา MVA COV FGV ไม่ใช่การหามูลค่าหุ้น แต่เป็นการวิเคราะห์โครงสร้างราคาที่ซื้อขายว่า ตลาดให้มูลค่าหรือราคาตลาดที่ซื้อขายอยู่ตอนนี้ มีองค์ประกอบจากกอะไร อิงกับความสามารถในการดำเนินงานที่เกิดจริงหรือฝากความหวังไว้กับอนาคตมากน้อยเพียงใด หุ้นบางตัว P/E สูง แต่ผลการดำเนินงานก็สูง ผลตอบแทนต่างๆ ก็สูง (ROE, ROA สูง) ก็ดูสมเหตุสมผล บางตัว ผลการดำเนินงานต่ำ บางตัวยังขาดทุนแต่ก็อาจมี P/E สูงอยู่ เพราะตลาดเล่นข่าวข้างหน้า เช่นหุ้นกลุ่มรับเหมาก่อสร้างบางตัว เล่นข่าวโครงการทวาย โครงการน้ำท่วม ให้ P/E กันสูง แม้บางครั้งอาจดูยังไม่มาก เช่น 20-30 เท่า แต่เมื่อวิเคราะห์แล้วพบว่า MVA มี FGV เป็นองค์ประกอบเกือบทั้งหมด (> 80%) แสดงว่า ราคาหุ้นได้บวกมุลค่าอนาคตไว้เกือบทั้งหมด ถ้าเกิดความไม่แน่นอนขึ้นราค็จะตกแรงด้วย ขนาดโครงการน้ำท่วมได้ประมูลแล้วยังทำท่าจะแท้งได้เลย ดังนั้นการซื้อขายข่าวอนาคตมากก็เสี่ยงมาก และที่ใช้ EPS 4 ไตรมาสย้อนหลังเพราะว่า เราหารด้วย rk ต่อปี ดังนั้นควรใช้กำไรย้อนหลัง 1 ปี และควรใชข้อมูลจริงที่ใกล้ที่สุด ไม่ใช่ข้อมูลเพียงสิ้นปี เพราะบางคร้งเราวิเราะห์ กลางปี หรือไตรมาสที่สาม การใช้ปลายปีก่อนจะห่างไป

ความสัมพันธ์ MVA กับ PBV และ PE


MVA = Market Capital – Equity Booked Value (1)
MVA per share = Stock price – BV {(1) หารด้วย จำนวนหุ้น}
ดังนั้น PBV 1.2 เท่า แปลว่า หุ้นมี MVA 20% ของมูลค่าทางบัญชี
องค์ประกอบ MVA = COV + FGV = Current Operating Value + Future Growth Value
ถ้าหาคร่าวๆ อาจปรับ one-time gain/loss ออก ได้ adj.EPS แล้วเอา adj.EPS/rk
มาลบออก จะได้ COV ต่อหุ้น MVA – COV = FGV ต่อหุ้น
rk = Cost of Equity อาจหาจากสมการ CAPM หรือประเมินด้วยความเหมาะสม
FGV = P - BV – EPS / rk
ดังนั้น PVB ที่มาก แสดงว่า ตลาดให้ market value added สูง
วิเคราะห์องค์ประกอบว่า MVA ต่อหุ้นที่สูงมาจาก COV หรือ FGV
COV หาจาก P/E ได้โดย เอา Price / PE จะได้ EPS เบื้องต้น
ดูงบล่าสุดว่ามี one-time gain/loss ต่อหุ้นมากน้อย ปรับปรุง
adj. EPS / rk = COV ต่อหุ้น
เอามาลบออกจาก MVA จะได้ FGV
จะเห็นว่าถ้า P/E สูงมาก แสดงว่า EPS จะน้อยเมื่อเทียบกับราคา
ดังนั้น PE ยิ่งสูง COV ยิ่งน้อย
COV ยิ่งน้อย FGV ยิ่งมีสัดส่วนมาก ถ้า PBV มากแปลว่า MVA ยิ่งสูงมาก
ดังนั้นหุ้นที่มี PBV ต่ำ P/E ต่ำ MVA มีสัดส่วน มาจาก COV มาก ดี

  • หุ้นที่มี PBV สูง P/E สูง MVA มีสัดส่วน มาจาก FGV มาก ไม่ดีนัก
  • หุ้นที่มี PBV ต่ำ P/E สูง MVA มีสัดส่วน มาจาก FGV มาก ไม่ดีนัก
  • หุ้นที่มี PBV สูง P/E ต่ำ MVA มีสัดส่วน มาจาก COV/FGV มาก ?

ข้อสรุปจากการคำนวณมูลค่าทางทฤษฎี ด้วย MVA & QE (คุณภาพกำไร)



  1. หุ้นที่มี QE เป็นบวกจะมี จะมีมูลค่า COV เป็นบวกด้วยเช่นกัน เพราะ QE (เกิน 1) แสดงว่ามีกระแสเงินสดเป็นบวกสูง แต่หากค่า QE ผันผวน มาก ค่า COV จะมีแนวโน้มลบเพราะกำไรจะมีโอกาสต่ำกว่าต้นทุนของต้นทุนส่วนของผู้ถือหุ้น 
  2. หุ้นที่มี COV เป็นลบ เป็นหุ้นที่มีความเสี่ยงในการปรับตัวลงระยะยาว หรือให้ผลตอบแทนระยะยาวต่ำกว่าตลาด 
  3. หุ้นที่มี FGV มากๆ แสดงว่ามูลค่าหุ้นซื้อขายบนข้อมูลที่คาดหวังในอนาคตมาก แสงว่ามูลค่าหุ้นในปัจจุบันไม่ได้ยืนหรืออิงจากผลการดำเนินงานที่เกิดจริง เช่น ITD มักขึ้นกับโครงการขนาดใหญ่ในอนาคตว่ามีโอกาสได้หรือไม่ จึงอิงการเมืองมากกว่าเรื่องผลประกอบการจริง 
  4. นักลงทุนควรประเมินค่า FGV ด้วยว่า ขณะนี้ตลาดให้มูลค่าการเติบโตในอนาคตเหมาะสมกับสถานการณ์หรือไม่ มองบวกมากไปหรือน้อยไปค่า FGV เป็นลบแสดงว่าตลาดอาจะมองเหมาะสมแล้ว (ถดถอย) หรือตลาดอาจจะ underestimate ทำให้ราคา undervalue ไปจากที่ควรเป็น


ที่มา
https://www.facebook.com/sanpong.limthamrongkul/posts/10200665876547761
https://www.facebook.com/sanpong.limthamrongkul/posts/10200665879427833
https://www.facebook.com/sanpong.limthamrongkul/posts/10200665891948146
https://www.facebook.com/sanpong.limthamrongkul/posts/10200665895268229

วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สนุกกับอัตราส่วนราคาต่อส่วนของผู้ถือหุ้น PBV

การประเมินมูลค่าหุ้นด้วยมูลค่าทางบัญชีเป็นวิธีหนึ่งที่คนนิยมกันครับ มาดูกันว่าใช้กันอย่างไร

BV (book value) = มูลค่าทางบัญชี = สินทรัพย์ - หนี้สิน = เอาสินทรัพย์ทั้งหมดไปขายหักหนี้แล้วเหลือเงินเท่าไร คิดง่ายๆ ตามสามัญสำนึกคือ ยึ่งเหลือถึงเราเยอะ ก็ยิ่งดี

PBV = อัตราส่วนราคาต่อมูลค่าทางบัญชี เป็นการเปรียบเทียบระหว่างสิ่งที่เราจ่าย (ราคาหุ้น) กับสิ่งที่เราได้รับ (มูลค่าทางบัญชี)

ถ้า PBV ต่ำกว่า 1 แปลว่า เอาสินทรัพย์ทั้งหมดไปขายหักหนี้แล้วเหลือเงินเท่าไร หักกับต้นที่ที่เราซื้อมา (ราคาหุ้น) แล้วเหลือเงินกินหนม ยิ่งต่ำกว่า 1 มากๆ ก็ยิ่งดีครับ

ปกติ PBV จะดูคู่กับ ROE เหมือนดูว่าเราจ่ายซื้อ BV ถูกหรือแพง แล้ว return ที่มาหาเรามากหรือน้อย โดยปกติหุ้นที่ PBV สูงจะมี ROE สูงตามไปด้วย เท่าที่สังเกตุ ปกตติหุ้นที่ PBV ประมาณ 1 เท่าจะมี ROE ประมาณ 10%

ถ้าบริษัทไหนมี ROE สูงต่อเนื่องตลาดก็จะซื้อขายกันที่ PBV สูงไปด้วย เช่น QLT : บริษัท ควอลลีเทค จำกัด (มหาชน) มี ROE ณไตรมาศ 1 ปี 2556 ที่ 26.83% และมีอัตราส่วนPBV ที่ 2.93 เท่า

ดังนั้นหุ้นที่น่าสนใจก็คือหุ้นที่ PBV ต่ำ แต่มี ROE สูง เช่น AKR : บริษัท เอกรัฐวิศวกรรม จำกัด (มหาชน)  มี ROE ณไตรมาศ 1 ปี 2556 ที่ 43.52% และมีอัตราส่วนPBV ที่ 2.87 เท่า ก็ต้องลุ้นกันละครับว่าบริษัทนี้จะสามารถคง ROE ไว้ได้หรือไม่

เห็นไหมครับ PBV ไม่ยากเลย เจริญในการลงทุนทุกท่านครับ