วันพุธที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ส่องหุ้น IPO บริษัท โรงพยาบาล ลาดพร้าว จำกัด (มหาชน) (LPH)

ส่องหุ้น IPO บริษัท โรงพยาบาล ลาดพร้าว จำกัด (มหาชน) (LPH) เป็นหุ้นที่เพิ่งเข้าใหม่วันนี้ มาดูพื้นฐานกันว่าน่าถือยาวววววววววหรือไม่


ข้อมูลทั่วไป


ชื่อบริษัท : บริษัทโรงพยาบาลลาดพร้าวจำกัด(มหาชน)
ชื่อย่อหลักทรัพย์ : LPH
ตลาดรอง : SET
กลุ่มอุตสาหกรรม : บริการ
หมวดธุรกิจ : การแพทย์
วันที่เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน : 28 ต.ค. 2558
วันที่เริ่มทำการซื้อขาย : 28 ต.ค. 2558
จำนวนหุ้นจดทะเบียนกับตลท. (หุ้นสามัญ)(หุ้น) :
จำนวนหุ้นชำระแล้ว (หุ้นสามัญ)(หุ้น) :
ราคา Par (บาทต่อหุ้น) : 0.50
ทุนชำระแล้ว (บาท) :
ราคา IPO (บาท) : 5.00
ผู้ประกันการจัดจำหน่าย : บจ.เคจีไอ
● วัตถุประสงค์ในการระดมทุน:
1. ลงทุนก่อสร้างอาคารศูนย์การแพทย์ประกันสังคมลาดพร้าว จำนวน 150 ล้านบาท (ระยะเวลาใช้เงิน ภายในปี 2560)
2. ลงทุนก่อสร้างสถานพักฟื้นและดูแลผู้สูงอายุลาดพร้าว จำนวน 157 ล้านบาท (ระยะเวลาใช้เงิน ภายในปี 2561)
3. ลงทุนในการก่อสร้างโรงพยาบาลแห่งใหม่ และ/หรือลงทุนในหุ้นสามัญของโรงพยาบาลอื่น จำนวน 300 ล้านบาท (ระยะเวลาใช้เงิน ภายในปี 2562)
4. ชำระคืนเงินกู้ยืม จำนวน 360 ล้านบาท (ระยะเวลาใช้เงิน ภายในปี 2559)
5. เงินทุนหมุนเวียน ส่วนที่เหลือข้อ 1 - 4 (ระยะเวลาใช้เงิน ภายในปี 2562)

ส่องงบการเงิน

จากไฟล์ ข้อมูลทางการเงินที่สำคัญ เพื่อความรวดเร็วก็ดูตรงอัตราส่วนทางการเงิน เลยว่าเป็นอย่างไร
อัตราส่วนทางการเงินของ LPH
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่
อัตราส่วนทางการเงินของ LPH 2
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่
เรื่องหนี้สินเป็นบริษัทที่หนี้น้อยอัตรส่วนหนี้ต่อทุนเพียง 1.31 เท่า และ อัตราส่วนความสามารถในการชำระหนี้ (DSCR คำอธิบายอยุ่ในภาพ) สูงแปลว่า EBITDA เพียงพอกับการจ่ายดอกเบี้ย เงินต้น และปันผล เยี่ยมไปเลย

เรื่องการใช้สินทรัพย์ อัตราหมุนเวียนทรัพย์สินคงที่ แปลว่าสินทรัพย์ยังสร้างรายได้ ได้ตามปกติไม่มีปัญหาอะไร

ที่น่าสนใจคือ จากการมีลูกค้าประกันสังคมเพิ่มขึ้นทำให้ ระยะเวลาเก็บหนี้สูงขึ้น รายละเอียดมาจาก สำนักงานประกันสังคมเปลี่ยนกฎระเบียบทำให้เงินค้างเยอะขึ้นลูกหนี้การค้าเพิ่มขึ้น ในงบดุลตัวที่เพิ่มผิดสังเกตอีกตัวคือ รายได้ค่าบริการค้างรับเพิ่มจาก 10 ล้านในปี 2555 เป็นกว่า 100 ล้านในปี 2558
รายได้ค่าบริการทางการแพทย์ค้างรับ
การที่ระยะเวลาเก็บหนี้รวมๆสูงขึ้น ทำให้กระแสเงินสดจากการดำเนินงานลดลง และทำให้อัตราส่วนสภาพคล่องกระแสเงินสดลดลงไปด้วย

เท่าที่ดูปัญหาอยู่ที่การทำกำไรเนื่องจากอัตรากำไรขั้นต้น และอัตรากำไรสุทธิลดลงมาก
ลองไปเปิดคำอธิบายของฝ่ายจัดการ พบว่าต้นทุนการรักษาพญาบาล 30%เป็นค่าตัวหมอ 17% เป็นค่าตัวพญาบาล และที่สำคัญคือมีลูกค้าประกันสังคมมากขึ้น และมีการส่งต่อผู้ป่วยไปรพเฉพาะทางเพิ่ม ดูๆไปก็ปกตินะ

ส่วนกำไรจากการดำเนินงานลดลงเพราะมีค่าโฆษณามากขึ้น 20% ต้องตามติดว่าโฆษณาไปได้ผลดีหรือไม่จากการเติบโตของรายได้ ควรจะล้อกัน ถ้าลงโฆษณาไปรายได้ไม่ขึ้นก็แปลว่าตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ

ราคานี้ถุูกหรือแพง

ราคาคาบาทคิดเป็น PE 38 เท่า ผมว่าแพงนะ แต่เขาว่าไม่แพงเพราะถูกกว่ากลุ่มที่ PE 41 เท่า ใครจะซื้อก็ลุ้นอนาคตเอา ว่าศูนย์การแพทย์เฉพาะทาง รพใหม่ ฯลฯ จะดีหรือไม่กว่าจะเป็นก็ปี 59-60 รอประมาณ 2 ปี

สู้ต่อไป LPH

วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2558

4ปัจจัยกำหนดอัตราส่วนราคาต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (pbv)


อัตราส่วนราคาต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (PBV) เป็นวิธีการประเมินมูลค่าที่คนนิยมใช้กันเยอะ คำนวณง่ายๆจาก ราคาหารด้วยส่วนของผู้ถือหุ้น หรือเรียกว่ามูลค่าทางบัญชี (ฺBook Value) ก็ได้ การรู้ว่ามีปัจจัยอะไรที่ส่งผลกระทบกับอัตราส่วนราคาต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (pbv) จะทำให้เวลาเราวิเคราะห์หุ้นอ่านข้อมูลไปเรื่อย จะรู้ว่าหุ้นตั้วนี้ควรให้ราคาสูงๆ เป็นหลายเท่าของมูลค่าทางบัญชี BV หรือไม่ควรให้ค่าดี

PBV = P/BV
เอา กำไร (E)ใส่ไปในสมการจะได้ PBV ประกอบด้วย PE และ ROE ดังนี้
=P/E x E/BV
=PE x ROE
จะเห็นว่าคนที่มอง PV จะมองแยกเป็นสองส่วนคือ

1.คุณภาพของบริษัท 


ว่าบริษัทนั้นสามารถทำกำไรกลับมาให้ผู้ถือหุ้นเท่าไร ดูจาก ROE จาก Dupont system อัตราส่วน ROE สามารถแยกส่วนประกอบ ออกได้เป็น อัตรากำไรสุทธิ (NPM) อัตราหมุนเวียนสินทรัพย์ (Asset turnover : AT) และ Financial leverage หรือ สินทรัพย์รวม(TA)/ส่วนของผู้ถือหุ้น(TE)
=PE x NPM x AT x (TA/TE)
=PE x NPM x AT x ((Debt+TE)/TE)
=PE x NPM x AT x (DE ratio + 1)...(1)

2.การให้ค่าของตลาด


 หุ้นแต่ละตัวตลาดให้ค่าไม่เท่ากัน ยิ่งตลาดชอบใจ เป็นกระแสนิยมตลาดก็ให้ค่าสูง ดูได้จากอัตราส่วน PE ว่าในปัจจุบันราคาเทรดเป็นกี่เท่าของกำไร ยิ่ง PE สูงแปลว่าตลาดให้ค่ามากๆ

จากองค์ประกอบทั้งสองส่วนหลัก สามารถแย่งเป็นปัจจัยที่มากระทบได้ดัังนี้ ส่วนใครเกลียดสมการคณิตสาสตร์ ก็อ่านข้ามมาตรงส่วนอธิยายได้เลย

1.ความสามารภในการทำกำไร


จากงบกำไรขาดทุนเรารู้ว่า
กำไรสุทธิ = กำไรขั้นต้น - ค่าใช้จ่ายขายและบริหาร - ดอกเบี้ยภาษี
ดังนั้นอัตรากำไรสุทธิ (NPM) เท่ากับ
NPM = กำไรสุทธิ / รายได้ (กำไรขั้นต้น - ค่าใช้จ่ายขายและบริหาร - ดอกเบี้ยภาษี)/รายได้
กระจายรายได้เข้าไปในวงเล็บจะได้
GPM - %ค่าใช้จ่ายขายและบริหารต่อรายได้ -%ดอกเบี้ยและภาษีต่อรายได้
โดยที่ GPM คืออัตรากำไรขั้นต้น

แทนค่าเข้าไปในสมการที่ 1 ให้งงเล่นจะได้
PBV = PE x (GPM- %ค่าใช้จ่ายขายและบริหารต่อรายได้ -%ดอกเบี้ยและภาษีต่อรายได้ ) x asset turnover x (1+de)........(2)

แสดงว่าบริษัทที่มีอัตรากำไรขั้นต้นสูงๆ และคุมค่าใช้จ่ายให้เป็นสัดส่วนคงที่จะทำให้อัตรากำไรสูง และส่งผลให้อัตรากำไรขั้นต้นสูงขึ้น

บริษัทที่อัตราขั้นต้นสม่ำเสมอได้ ต้องมีความสามารถในการแข่งขั้นระดับหนึ่ง ตลาดไม่แข่งกันลดราคา ไม่ผลิตหรือขายสินค้าที่เป็น Commodity เพราะราคาขายจะขึ้นๆลงๆตามตลาด สินค้าพวกแฟชั่นก็ต้องระวังเพราะถ้าจัดการสต็อกไม่ดี อาจต้องมาขายเลหลังราคาถูกๆ หรือต้องตั้งสำรองขาดทุนสินค้าคงเหลือทำให้อัตรากำไรขั้นต้นต่ำลงอีก

บริษัทที่มีอัตราดอกเบี้ยต่อรายได้คงที่ แสดงว่ารายได้เพิ่มขึ้น และดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นในสัดส่วนเดียวกัน แสดงว่าบริษัทนี้ต้องมีอัตราส่วนหนี้ต่อทุนที่ค่อนข้างคงที่ คือมีกำไรทำให้ทุนเพิ่มก็กู้เงินมาเพิ่มในสัดส่วนเดียวกัน เอาเงินไปลงทุนแล้วสร้างรายได้เพิ่มทันดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น

สรุปง่ายๆว่าถ้าอ่านงบแล้วเห็นว่าอัตรากำไรสม่ำเสมอก็แปลว่าตลาดชอบ ให้มูลค่าสูง

2.ความสามารถในการสร้างเงินสด


บริษัทที่มีสินทรัพย์ที่สร้างกระแสเงินสดออกาสม่ำเสมอ ไม่ใช่ซื้อมากองๆไว้ไม่ใช้งานตลาดไม่ชอบ
จาก
asset turnover = ยอดขาย / สินทรัพย์
ให้
สินทรัพย์ = เงินสด + ลูกหนี้ + สินค้าคงเหลือ + ที่ดินอาคารอุปกรณ์
ดังนั้น
asset turnover = ยอดขาย / (เงินสด + ลูกหนี้ + สินค้าคงเหลือ + ที่ดินอาคารอุปกรณ์)
= 1 / (เงินสด + ลูกหนี้ + สินค้าคงเหลือ + ที่ดินอาคารอุปกรณ์)/ยอดขาย
= 1/(เงินสด/ยอดขาย + ลูกหนี้/ยอดขาย + สินค้าคงเหลือ/ยอดขาย + ที่ดินอาคารอุปกรณ์/ยอดขาย)
ให้

  • อัตราหมุนเวียนลูกหนีี้การค้า = ยอดขาย/ลูกหนี้การค้า
  • อัตราหมุนเวียนสินค้าคงเหลือ = ต้นทุนขาย/สินค้าคงเหลือ
    = (ยอดขาย x (1-GPM)) / สินค้าคงเหลือ
    ดังนั้น ยอดขาย / สินค้าคงเหลือ
    = ((ยอดขาย x (1-GPM)) / สินค้าคงเหลือ) x (1/(1-GPM))
    = อัตราหมุนเวียนสินค้าคงเหลือ x (1/(1-GPM))
  • อัตราหมุนเวียนสินทรัพย์ถาวร = ยอดขาย/ที่ดินอาคารอุปกรณ์

=1/ (เงินสด/ยอดขาย) + (1/อัตราหมุนเวียนลูกหนี้การค้า) + ((1-GPM)/อัตราหมุนเวียนสินค้าคงเหลือ) + (1/อัตราหมุนเวียนสินทรัพย์ถาวร)
ดังนั้น

แทนค่าเข้าไปในสมการที่ 2 ให้งงเล่นจะได้
PBV = PE x (GPM- %ค่าใช้จ่ายขายและบริหารต่อรายได้ -%ดอกเบี้ยและภาษีต่อรายได้ ) x (1/ (เงินสด/ยอดขาย) + (1/อัตราหมุนเวียนลูกหนี้การค้า) + ((1-GPM)/อัตราหมุนเวียนสินค้าคงเหลือ) + (1/อัตราหมุนเวียนสินทรัพย์ถาวร)) x (1+de)........(3)

จากสมการแสดงว่า บริษัทที่มี PBV สูงๆ สินทรัพย์จะต้องถูกใช้งานทั้งหมด ไม่มีสินทรัพย์ไหนที่กองๆไว้โดยไม่ใช้ประโยชน์ ตั้งแต่ลูกหนี้ต้องเก็บเงินได้ไม่มีลูกหนี้ค้างจนทำให้ระยะเวลาเก็บหนี้สูงขึ้น

สินค้าคงเหลือต้องขายออกไม่ค้างสต็อกโดยสินค้าพวกแฟชั่น หรือสินค้าเทคโนโลยีก็ต้องระวังเพราะถ้าจัดการสต็อกไม่ดี อาจต้องมาขายเลหลังราคาถูกๆ หรือต้องตั้งสำรองขาดทุนสินค้าคงเหลือทำให้อัตรากำไรขั้นต้นต่ำลงอีก

ส่วนอัตราหมุนเวียนสินทรัพย์ถาวร สูงๆดีแปลว่าสินทรัพย์ที่ลงทุนไปสร้างรายได้ได้เยอะ ถ้าเทียบกันบริษัทที่มีอัตราหมุนเวียนสินทรัพย์ถาวรสูงๆ ถ้าต้องการเพิ่มยอดขายเท่ากันเวลาลงทุนจะใช้เงินน้อยกว่า เมื่อใช้เงินน้อยกว่าก็แปลว่่าค่าเสื่อม ค่าดำเนินงานต่างๆก็จะต่ำกว่า จุดคุ้มทุนก็จะต่ำกว่าบริษัทที่อัตราหมุนเวียนสินทรัพย์ถาวรต่ำๆ โดยเปรียบเทียบ

3.เรื่องของหนี้สิน


จากสมการที่ 1 =PE x NPM x AT x (DE ratio + 1)...(1)
จะเห็นว่า บริษัทที่ DE สูงๆ ทำให้ ROE สูง และตลาดจะให้ค่า PBV ของหุ้นตัวนั้นสูงขึ้น เพราะเหมือนรวยด้วยเงินคนอื่น แต่ข้อควรระวังคือถ้าเพิ่มหนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ บริษัทก็จะมีความเสี่ยงที่จะล้มละลายสูงขึ้นเนื่องจาก ดอกเบี้ยจ่ายสูง และบริษัทไม่สามารถสร้างกำไรจากการดำเนินงานมาเลี้ยงดอกเบี้ยได้ทัน แล้วก็เจ้งไป

ยิ่งบริษัทหนี้สินเยอะๆ ความเสี่ยงบริษัทก็ยิ่งสูง ค่า beta หรือความผันผวนของราคาก็ยิ่งเยอะ ไปกระทบทำให้บริษัทเทรดใน PE ที่ต่ำลง PBV ก็ต่ำลงด้วย

4.PE ratio กับ PBV


หุ้น PE สูงแปลว่าตลาดให้ค่ากับบริษัทนั้นมาก เมื่อลองแยกองค์ประกอบจะพบว่า
จาก ทฤษฎีการประเมินมูลค่าด้วยการคิดลดกระแสเงินสด (Dividend discount model)
P = เงินปันผล/(k-g)

  • K คือผลตอบแทนที่คาดหวัง
  • g คือการเติบโต

P = (อัตราปันผลจากกำไรxกำไร)/(k-g)
P/กำไร = อัตราปันผลจากกำไร/(k-g)
ดังนั้น
pe = อัตราปันผลจากกำไร / (k-g)

แทนค่าเข้าไปในสมการที่สามให้งงเล่น เพิ่มเติม

PBV = (อัตราปันผลจากกำไร / (k-g)) x (GPM- %ค่าใช้จ่ายขายและบริหารต่อรายได้ -%ดอกเบี้ยและภาษีต่อรายได้ ) x (1/ (เงินสด/ยอดขาย) + (1/อัตราหมุนเวียนลูกหนี้การค้า) + ((1-GPM)/อัตราหมุนเวียนสินค้าคงเหลือ) + (1/อัตราหมุนเวียนสินทรัพย์ถาวร)) x (1+de)........(4)

บริษัทที่ตลาดให้ค่า PE สูงๆ ค่า PBV ก็จะสูงด้วยโดยปัจจัยที่ทำให้ PE สูงประกอบด้วย

บริษัทจ่ายปันผลจากกำไรได้เยอะๆ บริษัทที่จะสามารถจ่ายปันผลจากกำไรได้สูงและสม่ำเสมอจะต้อง มีกำไรสม่ำเสมอ และมีคุณภาพกำไรคือ กำไรสุทธิในงบกำไรขาดทุนใกล้เคียงกับ เงินสดจากการดำเนินงาน (CFO) และบริษัทไม่ต้องมีโครงการลงทุน CAPEX มาก และรักษาระดับหนี้สินให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ก็จะมีเงินเหลือมาจ่ายปันผลได้เยอะ และเสม่ำเสมอ

การเติบโต บริษัทที่เติบโตสูง PE ก็จะสูง แต่ก็ต้องคอยดูบ่อยๆว่ายังโตได้แค่ไหน ตอนนี้อยู่ช่วงไหนของอุตสาหกรรมแล้ว กำลังโตช้าลงหรือเปล่า อยู่ที่ vision ของนักลงทุน และความสามารถในการจัดการของผู้บริหาร

ผลตอบแทนที่คาดหวัง k ถ้าลงทถนแล้วให้ผลตอบแทนน้อยกว่า k ก็ไม่ลงทุนอยู่บ้านนอนเกาพุงดีกว่า ให้ k = riskfree + reskpremium risk free คือผลตอบแทนที่ปราศจากความเสี่ยงมองเป็นผลตอบแทนขั้นต่ำคือ พัธบัตรรัฐบาท 1 ปีเป็นฐาน และบวกด้วย ความเสี่ยงส่วนเพิ่มเข้าไปเพราะเล่นหุ้นมันเสี่ยงกว่าซื้อพันธบัตรรัฐบาลอยู่แล้ว

risk premium ที่บวกเพิ่ม อาจมาจาก ค่าเบต้า (beta) เป็นความผันผวนของราคาหุ้นเทียบกับ set หรือ อุตสาหกรรม ก็ว่ากันไป และยิ่ง บริษัทเติบโตสูง หรือมีหนี้มาก ๆ ความเสี่ยงก็ยิ่งเพิ่ม risk premium ก็ยิ่งเพิ่ม ทำให้ k เพิ่ม และ PE ก็จะต่ำลง พา PBV ต่ำลงไปด้วย

สรุปว่าบริษัทที่ ดูดี งบสวย มีอนาคตไกลเติบโตดี มูลค่ากิจการจะดี จบ

วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2558

หลักคิดเรื่องกำไรขาดทุนของภาครัฐ

โครงการนี้ทำไปทำไมทำแล้วก็ขาดทุนทำรัฐเสียหาย มาดูกันว่านักเศรษฐศาสตร์มีแนวคิดเรื่องกำไรขาดทุนของภาครัฐอย่างไร ต่างกับ นักรัฐศาสตร์ และนักกฎหมายอย่างไร

ในทางเศรษฐศาสตร์รัฐมีหน้าที่ "จัดสรรสินค้าสาธรณะ" ซึ่งเป็นสินค้าที่ไม่สามารถจัดสรรผ่านระบบตลาด เนื่องจาก แบ่งแยกไม่ได้ กีดกันชาวบ้านมาใช้ไม่ได้ เอกชนลงทุนไปก็ไม่คุ้ม แต่สังคมต้องใช้ เช่นถนน ปะปา การป้องกันประเทศ นโยบายต่างประเทศ ฯลฯ

มองทางการเงิน
ที่ใช้ไปของเงิน = ที่มาของเงิน
การใช้จ่ายภาครัฐ = หนี้สาธารณะ+ภาษี

ในมุมมองภาครัฐไม่มองกำไรขาดทุนเหมือนเอกชน ที่มองว่า
กำไร =รายได้-รายจ่าย
แต่มองที่ อรรถประโยชน์ของสังคม
อรรถประโยชน์ของสังคม =รายได้-รายจ่าย+social cost+social benefit

โครงการรัฐเกือบทุกโครงการเจ้งขาดทุนเช่น ทำถนน ไม่เคยเก็บเงินคนใช้งาน แต่การมีถนนทำให้การขนส่งดีขึ้น เร็วขึ้น ความเจริญเข้าถึง ฯลฯ รวมๆแล้ว อรรถประโยชน์ของสังคมดีขึ้น แม้จะทำแล้วขาดทุนก็ตาม

ส่วนตัวเห็นหลายคนชอบวิจารณ์ว่าโครงการนู้นนี้นั้นรัฐเสียหายเปลืองงบ เพราะเราไม่ได้ประโยชน์จากโครงการนั้นทางตรง ได้แบบอ้อมๆก็เป็นได้ อันไหนได้ประโยชน์ตรงๆก็สนับสนุนเย้วๆอยู่

ส่วนเรืองโกงนี่เสียหายจริงเพราะทำให้อรรถประโยชนสังคมลดลง ดังนั้นการบิจารยนโยบายรัฐควรแยกกัน ระหว่างโกงก็ว่าตาม กฎหมาย ส่วนผลกระทบนโยบายว่าตามเศรษฐศาสตร์

สรุปคือในมุมมองนักเศรฐศาสตร์ ไม่มองแค่กำไรขาดทุนเพราะทำโครงการอะไรรัฐเสียหายหมดละ แต่ดูว่าทำแล้วอรรถประโยชน์สังคมดีขึ้นหรือไม่

วันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2558

6 จุดสำคัญดูงบกระแสเงินสดและการเชีอมโยงกับกระแสเงินสดอิสระ (Free cashflow)



การอ่านงบกระแสเงิสดช่วยให้เข้าใจที่มาที่ไปของเงินในกิจการว่า มาจากไหนและถูกใช้ไปที่ใหนบ้าง หลายคนอ่านแล้วก็งงๆ สับสนกับชีวิต อะไรก็ไม่รู้บวกๆลบๆ เต็มไปหมด บทความนี้ก็เป็นการเล่าที่มาถึงแก่นว่างบกระแสเงินสดมีที่มาจากอะไร เพื่อให้ทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น

ความสัมพันธ์ระหว่างงบกระแสเงินสดและ Discount Cash Flow

ในการประเมินมูลค่ากิจการ วิธีการประเมินมูลค่าด้วยการคิดลดกระแสเงินสดหรือ  Discount Cash Flow
เป็นวิธีที่ดูดีในเชิงทฤษฎี แต่ยากในเชิงปฎิบัติ เพราะตัวแปรเยอะมึนไปหมด

  • มูลค่ากิจการ = กระแสเงินสดอิสระ / ต้นทุนเงินทุนเฉลี่ย (WACC) - g
  • กระแสเงินสดอิสระ = EBIT + DA - การเปลี่ยนแปลงในเงินทุนหมุนเวียน(Net Working Capital) -ภาษี - เงินลงทุนในสินทรัพย์ฐาวร (CAPital EXpenditure CAPEX)
  • wacc คือต้นทุนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของเงินทุน ระหว่างเงินกู้และเงินทุน
เวลาประมาณการก็ใช้ตัวเลขจากงบการเงินมาปรับให้เข้ากับแนวคิดทางการเงินซึ่งมันไม่ค่อยลงรอยๆกันเท่าไร เลยออกมาเป็นงบกระแสเงินสด โดยจะแบ่งเป็น 6 จุดหลักๆ ดังนี้

1.EBIT


บรรทัดแรกของงบกระแสเงินสด จะยก EBIT เป็นตัวตั้ง บางบริษัทก็ยกกำไรสุทธ์ บางบริษัทก็ ยกกำไรก่อนภาษีเข้ามา สรุปจะเอาอะไรมาก็คือบรรทัดแรกที่เป็นตัวตั้งนั่นและ

2.EBITDA


ในตำราเรียนงบการเงินมันไม่มีตัวปรับปรุงทางบัญชีที่เป็นรายได้หรือรายจ่ายอะไรที่ไม่ใช่เงินสดนอกจากค่าเสื่อม ดังนั้นแค่เอา EBIT + ค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่าย (DA) ก็ได้ EBITDA หรือเงินสดจากการดำเนินงานก่อน การเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์และหนี้สินดำเนินงานแล้ว (NWC) แต่จริงๆ แล้ว สินทรัพย์หรือหนี้สินทุกตัว สามารถตั้งด้อยค่า หรือตีค่าเพิ่มได้หมด ดังนั้นทำให้งบกำไรขาดทุนมีรายการปรับปรุงทางบัญชีมากกว่าแค่ ค่าเสื่อม นักบัญชีเลยทำง่ายๆ โดย
  • รายได้ที่ไม่เป็นเงินสด ที่เกิดจากมูลค่าสินทรัพย์เพิ่มขึ้นหรือหนี้สินลดลง นำมาหักออก
  • รายจ่ายที่ไม่เป็นเงินสด ที่เกิดจากมูลค่าสินทรัพย์ลดลงหรือหนี้สินเพิ่มขึ้น นำมาบวกกลับ

บริษัทที่ดีๆ รายการปรับปรุงทางบัญชีเหล่านี้ควรยอดน้อยๆ ทำให้การวิเคราะห์อัตรา กำไรขั้นต้น EBIT และอัตรากำไรสุทธิ น่่าเชื่อถือขึ้น

ACC


รายการปรับปรุงทางบัญชีของ ACC
กดที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่

ตัวอย่างรายการปรับปรุงทางบัญชีของ ACC  บริษัท แอ็ดวานซ์ คอนเนคชั่นคอร์เปอเรชั่นจากด (มหาชน) (ADVANCED CONNECTION CORPORATION PUBLIC COMPANY LIMITED) หรือ CEI เก่า แปลงร่างมา

ส่วนที่ทำไฮไลท์เหลืองๆไว้จะเป็น รายจ่ายที่ไม่ใช่เงินสด ก็เอามาบวกกลับ จะเห็นว่าจากขาดทุนทางบัญชี 135 ล้าน เหลือกำไรที่เป็นเงินสดๆ อยู่ 13 ล้าน

THAI


งบกระแสเงินสดของ THAI Q1 2560
ตัวอย่างของงบการเงิน THAI ในไตรมาส 1 2560จะเห็นว่ามีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ 1700 ล้าน ในขณะที่สินทรัพย์ด้อยค่าเป็นรายจ่าย ทั้งการด้อยค่าสินทรัพย์ถาวร สินทรัพย์อื่น ที่เห็นเป็นค่าบวก แสดงว่าเป็นรายจ่ายในงบกระแสเงินสด

3.การเปลี่ยนแปลงในเงินทุนหมุนเวียน Net Working Capital


การเปลี่ยนแปลงในเงินทุนหมุนเวียน Net Working Capital ก็คือ การเปลี่ยนแปลงใน สินทรัพย์หมุนเวียน และหนี้สินหมุนเวียน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับ การดำเนินงาน ยอดขายเพิ่ม ลูกหนี้ สินค้าคงเหลือ เจ้าหนี้การค้าก็จะเพิ่ม แต่ ในทางปฎิบัต สินทรัพย์และหนี้หมุนมีมากกว่่า 3 ตัวหลักนี้ ก็นำมารวมด้วย แต่ส่วนใหญ่ค่าจะไม่มาก

ACC


การเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์และหนี้สินดำเนินงานของ ACC
กดที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่

ACC เงินสดหายไปกับ (ค่าลบ) ลูกหนี้การค้า  สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น เจ้าหนี้การค้า

การดูว่าการเปลี่ยนแปลงของสินทรัพย์และหนี้สินดำเนินงานเป็นปกติหรือไม่ให้ดูที่ อัตราส่วนทางการเงิน วงจรเงินสด ถ้าวงจรเงินสดยังปกติแสดงว่า การเปลี่ยนแปลงในงบกระแสเงินสดเป็นปกติ


จากงบผมว่าไม่ค่อยปกติเท่าไรเพราะ ระยะเวลาเก็บหนี้ ขายสินค้า และชำระเจ้าหนี้ลดลงหมด แสดงว่าเหมือนไม่ค่อยอยากทำธุรกิจเดิมเท่าไร ล้างบางธุรกิจเก่าไปเรื่อย

THAI


การเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์และหนี้สินของ THAI

กรณีศึกษาหุ้น THAI เงินได้มาจากหนี้สินก็นำไปจมกับสินทรัพย์ ส่วนใหญ่จมกับลูกหนี้การค้า

4.หักภาษีได้ เงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน CFO


เอาตัวเลขจากข้อ 3 มาหัก ภาษีก็จะได้ CFO หรือเงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน บางบริษัทจะเอาดอกเบี้ยมาหักตรงนี้ด้วยก็ได้ มาตรฐานบัญชีไมได้ห้าม

การวิเคราะห์ส่วนใหญ่จะเอาไปเปรียบเทียบกับงบกำไรขาดทุน บริษัททีดี ควรมี CFO กับกำไรสุทธิทางบัญชีใกล้เคียงกัน

ACC


CFO ของ ACC

จาก CFO ของ ACC จะเห็นว่าในปี 2558 ACC ทำมาหากิน แล้วไม่มีเงินจากการดำเนินงาน เงินออกไป 43 ล้านบาท

THAI


CFO ของ THAI


5.เงินสดสุทธิจากกิจกรรมลงทุน CFI


เงินสดสุทธิจากกิจกรรมลงทุน CFI จะแสดงเงินที่ลงทุนกับสินทรัพยไม่หมุนเวียน ส่วนใหญ่ลงทุนเพื่อสร้างอนาคตการเติบโตของบริษัท หรือซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ

CAPEX ไม่ใช่ CFI ทั้งจำนวน ให้เราพยายามดู เงินลงทุนที่สามารถเอาไปสร้างรายได้ให้กิจการในอนาคต อย่างในปี 2557 เงินที่เอาไปซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน (คุ้มขันโตก) ทีี่มองเป็น CAPEX เพราะตอนนี้แทบจะเป็นรายได้หลักของกิจการ

ถ้าจะใช้ตัวเลขนี้ในการประมาณ FCF ต้องดูว่ารายการนี้จะเป็นการลงทุนปกติที่ต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปีหรือไม่ ถ้าไม่ก็ไม่ควรนำรายการนี้มาใช้เพราะบริษัทไม่ได้ลงทุนรายการนี้ทุกปีจะเห็นว่า ในปี 2558 ก็ลงทุนซื้อที่อสังหาเพื่อการลงทุนเพียง 11 ล้าน

ส่วนเงินลงทุนใน เงินลงทุนชั่วคราว เป็นการหมุนเงินเพื่อบริหารเงินเท่านั้น ไม่ได้ทำทุกปี

การวิเคราะห์ บริษัทที่ดีควรมีการลงทุนใน CAPEX ทุกปีและ ROE ROA ควรสม่ำเสมอ ทุกปีแปลว่าลงทุนแล้วคุ้มทำให้ผลประกอบการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง

เพราะถ้าลงทุนแล้วไม่สามารถสร้างรายได้ได้คุ้มค่าเสื่อมค่าดำเนินงานที่เพิ่มขึ้น หรืออุตสาหกรรมเริ่มอิ่มตัว ยิ่งขยายการลงทุนกำไรยิ่งโตช้าลง สิ่งที่เห็นในงบคือมีการลงทุนเพิ่มขึ้นทุกปี แต่ ROA ROE ค่อยๆลดลง

ACC



CFI ของ ACC

จะเห็นว่า ACC ไม่ค่อยได้ลงทุนอะไรเท่าไร ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในบริษัร่วม ต้องไปตามว่าลงทุนอะไร แต่ต่อนนี้ปี 2560 แล้วก็ยังไม่เห็นอะไรงอกงามเท่าไรตามต่อไปครับ

THAI



มาดูของหุ้น THAI ไตรมาส 1 ยังไม่เห็นการลงทุนอะไรมากมาย ซื้อที่ดินอาคารอุปกรณ์ไป 700 ล้าน เมื่อนไปเทียบกับค่าเสื่อมราคาที่ยอด 4000 กว่าล้าน ถือว่าในไตรมาสนี้ลงทุนไปน้อยมาก

6.เงินสดสุทธิจากกิจกรรมจัดหาเงิน CFF


เงินสดสุทธิจากกิจกรรมจัดหาเงิน จะแสดงการเปลี่ยนแปลงในหนี้ และทุน บริษัทที่ดีควรมีโครงสร้างหนี้และทุที่เหมาะสม หนี้น้อยไปคนก็ว่าโง่ เพราะไม่รู้จักรวยได้เงินคนอื่น แต่ถ้าหนี้มากเกินไป ต้นทุนทาการเงินก็สูง ดอกเบี้ยเยอะ กำไรลดลงลงอีก แถมมีความเสี่ยงที่จะล้มละลายสูงขึ้นด้วย

ACC



CFF ของ ACC
จะเห็นว่า เงินสดสุทธิจากกิจกรรมจัดหาเงินของ ACC มีเงินเข้าแค่ทางเดียวคือ จากการเพิ่มทุนมาก 216 ล้านบาทไม่มีหนี้สิน

THAI

CFF ของ THAI

จะเห็นว่ากระแสเงินสดจัดหาเงินของ THAI ส่วนใหญ่ใช้กับการคืนหนี้และดอกเบี้ย จะเห็นว่า CFO 7000 กว่าล้าน จ่ายหนี้จ่ายดอกเบี้ยไป 6000 ล้านก็เงินหมดละ

ภาพรวม ของกระแสเงินสด
กดที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่

สรุป การอ่านงบกระแสเงินสด ก็เหมือนเป็นการดูกระแสเงินสดอิสระของกิจการว่าในปีนั้น บริษัทสามารถสร้างเงินสดมาได้เท่าไร เราสามารถใช้งบกระแสเงินสดเป็นสมมติฐานตั้งต้นของการประเมินกระแสเงินสดอิสระได้ โดยเลือกตัวเลขที่ดูว่าเป็นกิจกรรมปกติของธุรกิจ ส่วนรายการที่ดูแล้วไม่ใช่กิจกรรมปกติมาแค่ครั้งเดียวก็ไม่ควรนำเข้ามาในสมมติฐาน



☀หลักสูตรวิเคราะห์หุ้นด้วยปัจจัยพื้นฐาน☀


✅เจาะลึกหุ้นอย่างเซียน เห็นผลจริง100% สไตร์ อ.ภัทร
✅Workshop !! ทำจริง เห็นผลจริง พิสูจน์ได้
✅เรียนคลาสเล็ก ถามได้ทุกคำถามคาใจ

☀เรียนแล้วได้อะไร☀


✅10 จุุดสำคัญอ่านงบการเงิน วิเคราะห์ธุรกิจไม่เสียเวลา
✅ปัจจัยเร่ง ให้หุ้นวิ่ง และสัญญาณยืนยันในงบการเงิน
✅ประมาณราคาเหมาะสม เห็นเป้าราคาหุ้นตั้งแต่วันที่ซื้อ
✅เคล็ดลับสแกนหุ้น ถูก ดี กำไรโต

🔈สอนโดย อ ภัทรธร ช่อวิชิต
นักลงทุนอิสระ เจ้าของผลงานหนังสือ คุ้ยแคะแกะหุ้นเด้ง และเจาะหุ้นร้อนสแกนหุ้นเด้ง

=======================================

🔈รายละเอียดหลักสูตร วันเวลา

www.investidea.in.th/p/value-investor.html

=======================================

☎ติดต่อสอบถามและลงทะเบียน (รับจำนวนจำกัด)

มือถือ: 0865035023

ข้อความ; www.facebook.com/messages/investidea.in.th/

line id; pat4310

=======================================

☀เนื้อหาหลักสูตร☀


✅แหล่งข้อมูลการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน งบการเงิน คำอธิบายงบ ตัวเลขเศรษฐกิจ
✅วิเคราะห์ ปัจจัยเชิงคุณภาพ ผลกระทบต่องบการเงิน และแนวโน้มราคา
✅โครงสร้างงบดุล และลักษณะธุรกิจ จุดสำคัญที่ต้องดูในงบการเงิน
✅งบกำไรขาดทุน ลักษณะงบการเงินที่ดี
✅งบกระแสเงินสด และความสัมพันธ์กับวงจรธุรกิจ
✅การค้นปัญหาธุรกิจใน 1 นาที ด้วยอัตราส่วนทางการเงิน
✅ปัจจัยทางการเงินที่มีผลต่อทิศทางราคาหุ้น
✅การประเมินมูลค่าหุ้นด้วย PE ratio เทคนิคการใช้งานกับแต่ละอุตสาหกรรม
✅ดูความเห็นของนักลงทุนส่วนใหญ่ผ่านการเคลื่อนไหวของราคา

=======================================

☎ติดต่อสอบถามและลงทะเบียน (รับจำนวนจำกัด)

มือถือ: 0865035023

ข้อความ; www.facebook.com/messages/investidea.in.th/

line id; pat4310

วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2558

3กลยุทธ์ธุรกิจและผลกระทบต่องบการเงิน

อ่านงบการเงินต้องรวมทั้งการวิคราะห์เชิงคุณภาพและปริมาณ เมื่อวิเคราะห์ว่าธรุกิจทำมาหากินอย่างไร ใช้กลยุทธ์อะไรเพื่อทำให้ได้เปรียบในการแข่งขัน ก็ต้องมาดูว่ากลยุทธ์ที่วางไว้ ให้ผลอย่างไร ก็สามารถสืบหาร่องรอยได้จากงบการเงินครับ บทความนี้เป็นการรวบรวมจาก บทความของอาจารย์ Sanpong Limthamrongkul  [1][2][3]แบ่งมาเป็น 3 ตอน อ่านแล้วมีประโยช์มากจริงๆครับ กลัวหายต้องจับมารวมกันไว้ก่อน เชิญอ่านโดยพลัน

"วันนี้มาทำความเข้าใจเบื้องต้นด้านกลยุทธ์สักหน่อย ในการเลือกลงทุนนอกจากการวิเคราะห์เชิงปริมาณ (quantitative Analysis) คือการอ่านงบการเงินละวิเคราะห์อัตราส่วนแล้ว หากเรามองให้ออกว่าลักษณะธุรกิจจะต้องเป็นแบบใด (แม้ว่าหลายบริษัทอยากทำ Blue Ocean Strategy ก็ใช่ว่าจะทำได้ง่าย เพราะลักษณะอุตสาหกรรม และรูปแบบตลาดบังคับไปในตัวว่าหนีไม่พ้น แม้อยากจะฉีกตัวก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย

1. Red Ocean Strategy


กลยุทธ์ทะเลสีแดง (Red Ocean Strategy: ROS) ในตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (Perfect Market) หรือลักษณะตลาดคู่แข่งขันมากราย (Monopolistic Market) มักหนีไม่พ้นที่ธุรกิจต้องพบกับการใช้กลยุทธ์นี้ ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่มุ่งเน้นเพื่อเอาชนะคู่แข่ง และการแย่งส่วนแบ่งตลาดเพียง หรือหาทุกวิถีทางที่จะลดต้นทุนให้ต่ำที่สุด พูดง่ายๆคือ ใช่กลยุทธ์ราคาเป็นหลัก ส่วนใหญ่แล้วจะนำไปสู่การแข่งขันและการตอบโต้อย่างรุนแรงจนทำให้เกิดการแข่งขันในอุตสาหกรรมมากขึ้น จนกระทั่งสินค้าที่แข่งขันกันในตลาดมีมากจนไม่มีความแตกต่างกัน ทำให้องค์กรต้องแข่งขันด้านราคา ซึ่งทำให้เกิดการบาดเจ็บทางธุรกิจทั้งสองฝ่าย ด้วยกลวิธีนี้ทำให้เป็นที่มาของการแข่งขันแบบทะเลสีแดง ในด้านการตลาดคือ Exiting Product in Exiting Market

ตัวอย่างลักษณะอุตสาหกรรม


ธุรกิจผลิตโทรศัพท์มือถือจะมีการแย่งลูกค้าทางการตลาดกันมาก ใช้กลยุทธ์ราคา เมื่อคู่แข่งออกแบบโทรศัพท์ที่มีฟังก์ชั่นไหนมาใหม่แล้วขายดีหรือเป็นที่ต้องการของตลาด ก็จะแข่งกันผลิตขึ้นมาและกลายเป็นว่ามีการแข่งขันทางการตลาดสูง ทำให้สินค้าล้าสมัยเร็ว รุ่นเก่าๆ ราคาตกเร็ว ขายไม่ได้และผู้ประกอบการก็ไม่ได้ประโยชน์อะไรนอกจากขาดทุน ผู้ผลิตจะเสี่ยงสูง ผู้ขายก็จะเสี่ยงด้วย การบริหารสินค้าคงคลังจะสำคัญมาก แม้หลาย brand จะพยายามหนีโดยการสร้างความแตกต่าง แต่การเลียนแบบจะเร็วมาก ธุรกิจนี้จึงไม่มี Moat ทางตลาดและลักษณะผลิตภัณฑ์

อุตสาหกรรมสินค้าโภคภัณฑ์ commodity product สินค้าเกษตร เช่น ข้าว ยางพารา ถั่วเหลือง ไก่ หมู ไข่ น้ำตาล ปลาทูน่า เป็นต้น หรือพวกโลหะมีค่า (Precious Metal) เช่น เหล็ก อลูมิเนียม ทองแดง ทองคำ เป็นต้น หรือสินค้าวัฏจักรต่างๆ เช่น พลาสติก สินค้าปิโตรเคมี สินค้าพวกโลหะมีค่าก็มีลักษณะเป็นสินค้าวัฏจักรเช่นกัน ราคาจะขึ้นลงตามกัน ดีมานด์-ซัพพลาย (Demand & Supply) คือตัวผลักดันที่แท้จริง ลักษณะตลาดสินค้าเหล่านี้เกือบเป็นตลาดสมบูรณ์ 100% สินค้าแทบไม่แตกต่างกันเลย ธุรกิจนี้จึงไม่มี Moat ทางตลาดและลักษณะผลิตภัณฑ์ การสร้าง Moat จึงมักเน้นที่ size หรือ Economy of scale
บางธุรกิจอยู่รอดได้ต้องเน้นไปในเรื่องการสร้าง Differentiation หรือการสร้างความแตกต่าง ซึ่งบางครั้งก็กลายเป็น BOS (Blue Ocean Strategy) ได้เช่นกัน นั่นคือสร้าง New Product in Exiting Market

ในการเลือกอุตสาหกรรมลงทุนจึงควรดูลักษณะให้ออกว่าเป็นธุรกิจตลาดใดและใช้กลยุทธ์ได้เหมาะสมไหม บางบริษัทพยายามแสดงว่ากำลังใช้ Blue Ocean Strategy แต่ในความเป็นจริงแล้วสินค้าจะถูกเลียนแบบได้เร็ว ง่าย ไม่สามารถสร้าง growth ได้เลยนอกจากการเติบโตจากอุตสาหกรรม ผลกระทบที่เห็นชัดเจนคือ

  1. GM อัตรากำไรขั้นต้นจะอยู่สูงได้ช่วงสั้นๆ สินค้าวัฏจักรอัตรากำไรขั้นต้นจะเพิ่มสูงมากในช่วงขาขึ้นของราคา และเมื่อวงจรราคาขาขึ้นหมดไป อัตรากำไรขั้นต้นก็จะลดลง ธุรกิจที่ต้องเผชิญ Red Ocean Strategy ยากจะคง GM สูงๆได้นานๆ จึงมักผันผวน หรือมีระดับที่ต่ำ จึงเน้นขายให้มากเพื่อความอยู่รอด
  2. AT เนื่องจากธุรกิจนี้บางอุตสาหกรรมต้องใช้ขนาดการลงทุนเป็น Moat ดังนั้น AT จึงต่ำ ธุรกิจที่แกร่งได้ในกลยุทธ์ ROS คือการพิจารณาที่ AT ว่ารักษาระดับได้มั่นคงดีหรือไม่ 
  3. ROA ผลมาจากทั้งข้อ 1 และ 2 ROA จึงมักไม่สูง และผันผวน ธุรกิจที่แกร่งและสามารถเติบโตแบบ Organic growth จะมี ROA สูงและไม่ผันผวน (ธุรกิจที่เติบโตด้วย Organic growth จะมี D/E ไม่สูง)
  4. Inventory Turnover (IT) สำหรับธุรกิจที่ต้องใช้กลยุทธ์นี้ควรหมุนเร็ว เพราะราคาลดลงเร็วจากการแข่งขันราคา ถ้าถือยาวมีโอกาสเกิดการขาดทุนในมูลค่าสินค้าได้


2. Blue Ocean Strategy


หรือเรียกว่ากลยุทธ์ทะเลสีน้ำเงิน (Blue Ocean Strategy: BOS) เป็นกลยุทธ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันแบบดั้งเดิมที่แข่งขันด้านราคา ผู้ประกอบการต้องพยายามพัฒนาสินค้าให้มีความแตกต่าง หรือต้องสร้างความต้องการใหม่ ๆ (New Demand) ขึ้นมาเสมอ หรือ New Product in Exiting Market or New product in New Market ผู้ประกอบการจะสร้าง ความต้องการใหม่ๆ โดยใช้นวัตกรรม (Innovation) ใหม่ๆ หรือเป็นทะเลใหม่ๆ ซึ่งเป็นทะเลสีน้ำเงิน หรือเป็นตลาดที่ยังไม่มีผู้เล่น (Player) และกลยุทธ์ทะเลสีน้ำเงินจะได้รับการตอบรับที่ดีเนื่องมาจากมีเครื่องมือสนับสนุนที่มีความเป็นปัจจุบัน (ไม่ต้องสร้างกลยุทธ์ทางการตลาดใหม่ๆ)

ดังนั้น หากผู้ประกอบการจะสร้างกลยุทธ์ขององค์กรให้เป็นกลยุทธ์แบบ “ทะเลสีน้ำเงิน” เพื่อสร้างโอกาสให้ธุรกิจ ธุรกิจควรต้องพิจารณาก่อนว่าลูกค้าในอุตสาหกรรมของตนเอง ในเวลานี้ซื้อสินค้าหรือบริการด้วยเหตุผลด้วยราคาที่ต่ำ หรือซื้อที่ความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ หากลูกค้ามีความต้องการความแปลกใหม่ก็เป็นโอกาส แต่ถ้าลูกค้าไม่ได้ต้องการความแตกต่างแล้ว บางครั้งถึงจะแปลกไป ลูกค้าก็ไม่ได้ต้องการซื้อ การสร้างความแตกต่างก็ไม่มีผล เช่น ไฟฟ้า ต้องการสินค้าแบบเดียวเท่านั้น ราคาจึงต้องต่ำสุดหรือมีราคาเดียว คนอยู่รอดต้องบริหารและคุมเรื่องต้นทุนให้ได้เท่านั้น เมื่อหาได้แล้วว่าลูกค้าต้องการความแตกต่าง หลังจากนั้นจึงเริ่มมาวิเคราะห์ว่าใครคือผู้ที่ไม่ใช่ลูกค้าของธุรกิจเรา? (Non-Customer) หรือต้องมาทำ Customer Segment ให้ละเอียดขึ้น

ตัวอย่างอุตสาหกรรม


ธุรกิจผลิตโทรศัพท์มือถือในคราวก่อน ให้ตัวอย่างเป็น ROS หากผู้ประกอบการจะหนีจากตลาด ROS ไป BOS ก็ต้องสร้างนวัตกรรม (Innovation) แต่ก็จะพบว่าเกิดการเลียนแบบได้เร็วและง่าย เมื่อดูไปแล้ว จึงสร้าง BOS ได้ไม่นาน Moat ของ BOS คือการมีเครื่องมือป้องกันนวัตกรรมนั่นเอง และนวัตกรรมนั้นจะเป็นปราการที่ดีให้ธุรกิจ ไม่เช่นนั้นแล้วการมีนวัตกรรมจะไม่ได้ช่วยอะไร ยกเว้นต้องกลายเป็นผู้นำนวัตกรรมจึงจะอยู่รอดในระยะยาวได้โดดเด่น

ตัวอย่างต่อมาที่ใช้และเห็นภาพอย่างชัดเจนคือตลาดเครื่องสำอาง เช่น Body Shop ตลาดเครื่องสำอางเป็นตลาดผู้แข่งขันมากราย (Monopolistic) ลักษณธตลาดแบบนี้เน้นการเป็น Differentiation ในช่วงแรกๆ ที่ออกตัวมา กระแสความตื่นตัว ไปกับแนวคิดของ Body Shop รวมทั้งความสำเร็จของ Body Shop ได้รับการพูดถึงมาก ทั้งนี้เนื่องจาก Body Shop ได้ใช้กลยุทธ์ Blue Ocean กล่าวคือในการขายเครื่องสำอาง คือแทนที่จะมุ่งเน้นทำเหมือนคู่แข่งขันรายเดิมๆ ที่อยู่ในธุรกิจเครื่องสำอาง ซึ่งมักจะเป็นการเน้นการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม หรือ การใช้ดาราหรือนางแบบชื่อดังมาโฆษณาสินค้า หรือ การสร้างภาพลักษณ์ของเทคโนโลยีชั้นสูง หรือ การตั้งราคาที่สูง สิ่งที่ Body Shop นำเสนอคือคุณค่าที่แตกต่างจากผู้เล่นรายอื่นๆ ในตลาดเครื่องสำอาง นั้นคือไม่เน้นในเรื่องของบรรจุภัณฑ์และหีบห่อที่สวยงาม (ไม่ใช่สิ่งที่ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายมองหา) ไม่เน้นเป็นผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชั้นสูง ไม่เน้นภาพลักษณ์ที่หรูหรา แต่เน้นการใช้ส่วนผสมตามธรรมชาติ และการดำรงชีวิตแบบมีสุขภาพที่ดี ที่สมบูรณ์ (Healthy Living) Body Shop ไม่ได้เน้นในการแข่งขันกับผู้ผลิตรายเดิมๆ ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง แต่พยายามนำเสนอคุณค่าใหม่ๆ ให้ลูกค้า เป็นการสร้าง Blue Ocean ขึ้นมา (สร้าง New Market – New Demand) แทนที่จะมุ่งเน้นแต่ Red Ocean แบบเดิมๆ

อย่างไรก็ดีข้อคิดที่สำคัญประการหนึ่งก็คือเมื่อสร้าง Blue Ocean มาได้แล้ว ไม่ช้าไม่นาน ก็จะมีคู่แข่งที่อยากจะเข้ามาในทะเลสีฟ้านี้ด้วยเช่นกัน Body Shop ก็หนีไม่พ้น และเมื่อคู่แข่งเข้ามามากขึ้น และกลยุทธ์ที่ใช้ก็จะไม่หนีกัน ดังนั้นทะเลที่เคยเป็นสีฟ้าของ Body Shop ก็กลายเป็นสีแดงไป และส่งผลต่อการดำเนินงานของ Body Shop ที่ในระยะหลังไม่ประสบความสำเร็จเท่าในอดีต ทำสร้าง Blue Ocean ขึ้นมาได้ ไม่ช้าไม่นานคู่แข่งขันใหม่ๆ ก็อยากจะเข้ามา และถ้าไม่ระวังสุดท้ายก็จะเป็น Red Ocean เหมือนเดิม ดังนั้นถ้าต้องการประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง คงต้องคิดหาทางสร้าง Blue Ocean ขึ้นมาใหม่เรื่อยๆ หรือไม่ก็ต้องสร้าง Moat ขึ้น ในตลาดผู้แข่งมากราย Moat นี้คือ Brand Loyalty ใครสร้างได้เข้มแข็งก็อยู่ได้นาน ถูกเจาะส่วนแบ่งการตลาด (Market Penetration) ได้ยาก

3. White Ocean Strategy


เป็นแนวคิดใหม่ในการทำธุรกิจอย่างยั่งยืน เพราะไม่ว่าธุรกิจจะอยู่ในตลาดน่านน้ำทะเลสีแดงหรือทะเลสีน้ำเงินก็ตาม หากองค์กรมีความยึดมั่นอยู่บนหลักการดำเนินธุรกิจบนความถูกต้อง (Integrity) มีศีลธรรม (Moral) และปรับมุมมองจากที่คอยตักตวงผลประโยชน์จากสังคม มาเป็นการช่วยเหลือ แบ่งปัน และเป็นส่วนหนึ่งของส่วนรวม ซึ่งเราจะเห็นการทำ CSR (Corporate Social Responsibility) แต่อย่าเข้าใจผิดว่าใครทำ CSR กำลังทำกลยุทธ์ White Ocean Strategy แต่ธุรกิจที่ใช้กลยุทธ์ White Ocean Strategy จะเกิด CSR เสมอ ธุรกิจที่ทำ White Ocean Strategy ตั้งแต่พันธะกิจ วิสัยทัศน์ นโยบาย การผลิต การบริหาร การตลาด การสื่อสาร การบริหารงานบุคคล ฯลฯ จะวางบนหลักของความมี integrity มี Corporate Governance ที่เด่นชัด กิจการใดที่ขาดเรื่อง Integrity มักจะล้มเหลวในระยะยาว

ตัวอย่าง


ตัวอย่างกรณีของ ‘เอนรอน’ ที่ตกแต่งตัวเลขทางบัญชี ให้ข้อมูลที่ผิดพลาดกับนักลงทุนทั้งหลาย กลายเป็นรอยด่าง ให้กับมาตรการกำกับดูแล ของแวดวงตลาดทุนทั่วโลก ล้มละลายในเวลาต่อมา
เวิลด์คอม แสดงกระแสเงินสดสูงเกินจริงจำนวน $3,800 ล้าน โดยนำค่าใช้จ่ายดำเนินงานไปบันทึกเป็นสินทรัพย์

บริษัทให้เงินกู้จำนวน $400 ล้าน แก่นาย Bernard Ebbers ผู้ก่อตั้งบริษัทโดยไม่แสดงในงบดุล และอีกหลายแห่งที่ทำลายความน่าเชื่อถือของตลาดทุน โดยละเมิดต่อบรรษัทภิบาลไม่หยุดหย่อน
เมอร์ลินซ์ ลินช์ และ เลแมน บราเธอร์ วาณิชธนกิจยักษ์ใหญ่ต้นตอของวิกฤตการเงินครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา ที่มีประวัติเป็นมาร้อยๆ ปีต้องล่มสลายลงไป เพราะเนื่องจากบรรดาสถาบันการเงินยักษ์ใหญ่เหล่านี้ มองแต่ความพยายามสร้างการเติบโต พยายามสร้างผลกำไรแบบกล้าได้กล้าเสีย หากเปลี่ยนมายึดมั่นกับแนวทาง ‘กลยุทธ์น่านน้ำสีขาว’ อาจไม่สร้างความบอบช้ำให้กับเศรษฐกิจโลกถึงเพียงนี้

Tesco ลงบัญชีขายเป็นเท็จ สำหรับรายนี้ วอร์เร็นบัฟเฟตต์เองก็โดนหลอกซื้อหุ้นด้วยล่าสุดก็บริษัทโฟล์กสวาเกน ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของเยอรมนีกับกรณีการโกงการตรวจวัดการปล่อยไอเสียแล้ว ในไทยก็มีมากมาย เช่น หุ้นอื้อฉาวอย่าง PICNIC BBC ธนาคารกรุงเทพพาณิชยการ ช่วงแรกๆ ของตลาดทุนไทย ก็คือ ราชาเงินทุน ที่ล้มละลายไปอย่างแคลิฟลอเนียว๊าว เป็นต้น
ทุกบริษัทที่กล่าวมาจะมีสิ่งหนึ่งที่ทำเหมือนๆกันคือการทำ Creative Accounting และระยะยาวไม่ยั่งยืนเลย

ผลกระทบทางบัญชีจะเห็นได้จากการใช้กลยุทธ์ต่างๆ แต่ละไว้เพราะมีมาก แต่หากวิเคราะห์ให้ดีจะพบและเห็นชัดเจนว่าทำกลยุทธ์ถูกทางหรือไม่ ส่งผลดีกับบริษัทหรือไม่"

จะเห็นว่าอ่านงบถ้าเอาเรื่องกลยุทธ์เข้ามาประกบจะช่วยให้อ่านได้เข้าใจมากขึ้น ลงทุนยาวๆ ก็รู้ว่าควรซื้อหรือขาย เยี่ยมจริงๆ

ที่มา
[1]https://www.facebook.com/sanpong.limthamrongkul/posts/10206206337855831
[2]https://www.facebook.com/sanpong.limthamrongkul/posts/10206206343215965
[3]https://www.facebook.com/sanpong.limthamrongkul/posts/10206206347216065

วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การวิเคราะห์หวยหุ้น


หวยหุ้นนี่เป็นเรื่องชักพาให้รู้จักกับตลาดหุ้น เกิดความสนใจและเข้าสู่วงการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์มาจนถึงปัจจุบัน เด็กเวลาเรียนดนตรีไทยพอใกล้ๆ สี่โมงครึ่งอาจารย์ก็พักสอนไปเปิดช่อง 9 ลุ้นตลาดปิดแป้บนึงแล้วก็มาสอนต่อ มาดูกันว่าเราสามารถวิเคราะห์ราคาปิดได้หรือไม่

1.รู้จักดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์


(ราคาหุ้น Update ล่าสุด)

หรือเข้าไปตรวจดูดัชนีได้ที่ http://www.settrade.com/login.jsp?txtBrokerId=IPO

ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ (SET) เป็นการคำนวณดัชนี เป็นค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักด้วยมูลค่าหุ้นของแต่ละตัว เทียบกับปีฐานคือวันแรกที่เปิดตลาดที่ให้ค่าเท่ากับ 100 ถ้าวันนี้ดัชนีปิดที่ 1600.45 แสดงว่าภาพรวมราคาหุ้นโดยรวมขึ้นมาจากวันแรก เฉลี่ยแล้ว 1600%

เปิดเช้า 10.00น. ปิดเที่ยง 12.30น. เปิดบ่าย 14.30น. และปิดตลาดเย็นตอน 16.30น.

2.ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์เป็นเลขสุ่ม

การคำนวณดัชนีตลาดหลักทรัพย์ จะคำนวณจากราคาปิดของหุ้นทั้งตลาดที่มีกว่า 500 ตัว เป็นไปไม่ได้ที่จะมีใครสามารถกำหนดราคาปิดของหุ้นทั้งตลาดให้เป็นไปอย่างที่คาดหวังได้เพราะต้องใช้เงินมหาศาล

ดังนั้นแสดงว่าทศนิยม 2 หลักสุดท้าย ของดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์เป็นเลขสุ่มอย่างแท้จริงๆ ไม่มีเจ้ามือคอยกำหนด

3.ผลตอบแทนและความเสี่ยงของหวยหุ้น

ในการลงทุนทุกครั้งเราต้องรู้ ผลตอบแทนและความเสี่ยง

เมื่อทศนิยม 2 หลักสุดท้ายเป็นเลขสุ่ม ดังนั้นโอกาศที่จะถูกเท่ากับ 1/100 หรือ 0.01 โอกาสที่จะผิดเท่ากับ 1 -1/100 ถ้าถูกจ่าย 60 เท่า ผิด เสียเงินที่ลงดังนั้นผลตอบแทนเฉลี่ยจะเท่ากับ

ผลตอบแทนเฉลี่ย = โอกาสที่จะถุก x ผลตอบแทนถ้าถูก + โอกาศที่จะผิด x ผลตอบแทนถ้าผิด
= (0.01 x 60) + ((1-0.01) x 0)
= 0.60
แสดงว่าการลงทุนในหวยหุ้น 1 บาท มีค่าคาดหวังที่จะได้เงิน 0.6 บาท แสดงว่าในระยะยาว เล่นได้บ้าง เสียบ้าง เราเสียเปรียบคนรับแทงอยู่อยู่ 1-0.6 = 0.4 บาท

4.กลยุทธ์การเล่นหวยหุ้นที่เหมาะสม

ในระยะยาวถ้าเล่นไปนานๆ แล้วเราจะเสียเปรียบ ในโลกของการลงทุุน กลยุทธ์ที่เหมาะสมกับสถานการณ์นี้คือ ไม่เล่น ถ้าจะเล่นก็ต้องเล่นด้วยจำนวนเงินที่ไม่กระทบกับชีวิตประจำวัน ลุ้นให้ชีวิตมีสีสันขำๆไป

เงินที่เหลือเอาไปซื้อหุ้นในตลาดจริงๆ เลยดีกว่าครับ เดี๋ยวนี้ตลาดหุ้นไม่ใช่เรื่องของคนรวยเหมือนสมัยก่อนอีกแล้ว เพราะการเปิดบัญชีซื้อขายก็ไม่มีจำนวนเงินขั้นต่ำ มีเงิน 500 บาทก็ซื้อหุ้นได้ ผลตอบแทนอาจไม่เป็นเท่าตัวเหมือนอย่าอื่น แต่ดีกว่าฝากแบงค์ และให้ผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว

สามารถเข้าไปดูวิธีการเปิดพอร์ทหุ้น การซื้อหุ้น ได้ที่ http://www.settrade.com/C00_BeginnerRedirect.jsp?txtPage=beginnerZone/th/main.html

โดยสรุปหวยหุ้น ก็เป็นการพนันชนิดหนึ่งที่ใช้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์เป็น วัตถุพนัน ซื่งจากการคำนวณคนที่ได้เปรียบคือ เจ้ามือ กลยุทธ์ี่เหมาะสมคือไม่เล่น เอาเงินที่จะเล่นไปลงทุนหุ้นจริงๆจะเหมาะสมที่สุด

วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ส่อง IPO หุ้น ORI : บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน)


มีคนถามเรื่อง IPO ORI ว่าเป็นอย่างไรบ้าง จะซื้อดีไหม หรือจะถือยาวๆดี บทความนี้ก็จะมาส่องพื้นฐานของ ori ครับว่าเป็นอย่างไร มีอะไรน่าสนใจบ้าง

ก่อนอื่น เข้าไปโหลดเอกสาร filing ที่ส่งให้ กลต ได้ที่ลิงค์นี้ http://capital.sec.or.th/webapp/corp_fin2/cgi-bin/final69.php?txt_compid=1555&txt_offerid=001327&txt_secuid=01&txt_offertypeid=01&txt_language=T&txt_applydate=2014-11-24&start_date=2015-09-30

1.ดูผลประกอบการ


ORI : บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) ประเภทธุรกิจ ประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทคอนโดมิเนียม ผลประกอบการสามารถเข้าไปดูได้ 2 ที่ตรงหัวข้อ ข้อมูลสรุป (Executive Summary) และดูรายละเอียดที่ ส่วนที่ 2.4 ฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน บริษัทนี้ดีอย่างหนึ่งคือในคำอธิบายแยกรายได้และต้นทุนเป็นรายโครงการให้เลย เยี่ยมมากหวังว่าจะหลัง IPO แล้วจะแยกต้นทุนแบบนี้ให้ดูอีกนะครับ
รายได้ของ ORI
กดที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่
รายได้โตไวมาก ดูแล้วเตรียมตัวบริษัทนี้เพื่อเข้าตลาดจริงๆ จากรายได้ปี 2554 มีแค่ 4 หมื่นบาท รายได้ 6 เดือนแรกปี 2558 ยอดขายขยับไปถึง 1 พันล้าน ดูแล้วน่าจะเป็นการเอาบริษัทอสังหาอีกบริษัทเข้ามาสวมเพื่อเอา ori เข้าตลาด

อัตราส่วนทางการเงินของ ORI
กดที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่

ดูสภาพคล่อง


หุ้นที่ทำธุรกิจพัฒนาอสังหาสินทรัพย์หลักๆคือ สินค้าคงเหลือ ในงบการเงินจะเขียนว่าต้นทุนพัฒนาอสังริมทรัพย์ ถ้าเข้าไปดูในหมายเหตประกอบงบเขาจะแยกออกมาเป็น ที่ดิน ต้นทุนก่อสร้าง และดอกเบี้ย

การวัดสภาพคล่อง อัตราส่วนสภาพคล่อง current ratio ดูดี แต่เมื่อเอาสินค้าคงเหลือออก อัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเร็ว (Quick ratio) เหลือนิดเดียวแสดงว่าถ้าบ้านขายไม่ออกหรือเศรษฐกิจเริ่มเป็นขาลงเมื่อไรก็ซวย อัตราส่วนสภาพคล่องแระแสเงินสด บางตำราเรียก modify current ratio = cfo / หนี้สินหมุนเวียน มีค่าเป็นลบทุกปีแปลว่า เป็นปกติของอสังหาที่จะไม่ค่อยมีสภาพคล่องเท่าไร เพราะเงินเอาไปลงทุนโครงการใหม่เพื่อการเติบโต แต่ถ้าเป็นอุตสาหกรรมอื่นต้องระวัง

ที่น่าสนใจคือระยะเวลาขายสินค้า เพิ่มขึ้นติดๆกันหลายปีและดฮวบก่อนเข้าตลาด แสดงว่าโครงการเก่าโอนไปเยอะแล้ว โครงการใหม่ที่รอโอนเพิ่มไม่มากต้องวัดในเอาว่าเข้าตลาดแล้วจะเอาเงินมาทำโครงการใหม่ๆอะไรบ้าง

การทำกำไร


ปีก่อนเข้าตลาาด อัตรากำไรสุทธิ เยอะจนน่าแปลกใน จากปกติ 14-16% ช่วงก่อนเข้าตลาดขึ้นไปถึง 26% เป็นปกติของหุ้นอสังหาช่วงมีโอนเยอะๆ ถ้าไม่ได้เปิดโครงการอะไรใหม่ๆ สัดส่วนของค่าใช้จ่ายจะดูน้อย ต้องทำใจนิดนึงตอนเข้าตลาดอัตรากำไรจะต่ำลงเพราะถ้าสร้างโครงการใหม่ ยังไม่รับรู้รายได้เพราะจะรับรู้เมื่อโอน แต่รายจ่ายต่างๆ รับรู้ทันที

ร้อยละ การโอนของแต่ละโครงการ งวด 6 เดือน 2558
กดที่ภาพเพื่อดูขนาดเต็ม
ช่วง  6 เดือน 2558 ที่ผ่านมา โครงการในมือโอนไปเกือบหมดละคร้าบ ต้องตามไปดูว่าครึ่งปีหลังจะมีโครงการเหลือโอนอีกเท่าไร

โครงสร้างต้นทุนขาย
กดที่ภาพเพื่อดูขนาดเต็ม
โครงสร้างต้นทุนขายส่วนใหญ่เป็นค่าที่ดินกับค่าก่อสร้าง รู้สึกหลังๆสัดส่วนค่าที่ดินสูงขึ้น จาก 15 เป็น 19%


อัตรากำไรขั้นต้นโครงการที่โอนใหม่ๆ ลดลงบริษัทเขาว่าเป็นโปรช่วงเปิดตัว แต่ดูจากยอดโอนสะสมตารางข้างบน ก็โอนไปเยอะพอสมควร แสดงว่าเร่งสร้างยอดช่วงครึ่งปีแรกสุดๆ ด้วยการออกโปรโมชั่นจัดเต็ม

ค่าใช้จ่ายในการขาย

ค่าใช้จ่ายในการขาย ส่วนใหญ่เป็นค่าโฆษณา กับค่าโอนห้องชุด จะเห็นว่าช่วงที่ยังไม่โอนสัดส่วนค่าใช้จ่ายพวกนี้จะเยอะ แต่จะน้อยลงวันที่โอน


ค่าใช้จ่ายในการบริหาร
ค่าใช้จ่ายบริหารส่วนใหญ่เป็นต้นทุนคงที่ พวกเงินเดือน ค่าจ้างยาม แต่จะเห็นปี 2558 เงินเดือนพนักงานและผู้บริหารสูงขึ้นเท่าตัว มองได้สองอย่างคือ รับคนเพิมก็เพิ่มเงินเดือน

หนี้สิน


หนี้เยอะเพราะมุ่งเอาเงินไปอัดโครงการมากมาย ดูตรงอัตราจ่ายปันผล จะเห็นว่า 120% ของกำไรแสดงว่าเจ้าของเดิมเอากำไรสะสมถอนทุนไปแล้ว เข้าตลาด
กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน
สำหรับหุ้นอสังหา ความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยต้องไปดูที่งบกระแสเงินสดว่าจ่ายดอกเบี้ยเป็นเงินสดจริงๆเท่าไร ในปี 2558 ดอกเบี้ยจ่ายในงบกำไรขาดทุนอยู่ที่ 10 ล้าน แต่เงินสดจ่ายดอกเบี้ย 52 ล้าน แสดงวาอีก 40 ล้านเป็นค่าใช้จ่ายซุกไว้ในต้นทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (มาตรฐานบัญชีอณุญาติให้บันทึกดอกเบี้ยที่กู้มาก่อสร้ามาเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนการก่อสร้างได้) และดูเงินสดจากการดำเนินงานงาน ติดลบ 68 ล้าน เอาดอกเบี้ยมาบวกกลับก็เป็น 68-52 = -16 ล้าน แสดงว่ากระแสเงินจากการดำเนินงานยังไม่พอจ่ายดอกเบี้ยนะครัส

จะเห็นว่าแต่ละปีเงินจมไปกับต้นทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ค่อนข้างเยอะ ดังนั้นธุรกิจอสังหา ถ้ายอดขายบ้านเริ่มโอนช้าลง ต้องระวังเรื่องสภาพคล่อง และการชำระหนี้เป็นอย่างมาก

2.ดูโครงการในอนาคต


โครงการที่กำลังสร้างจะอยู่ในต้นทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
รายละเอียดต้นทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แยกตามโครงการ
ส่วนโครงการในอนาคตหลัง IPO มี 5 โครงการมูลค่า 3,370 ล้าน มีเยอะพอสมควร

3.ดูราคาขาย IPO

ที่มาของการกำหนดราคาหลักทรัพย์ที่เสนอขาย
ราคาเสนอขายคิดจากวิธีประมูล ได้ราคา 9 บาท คิดเป็น PE 18.4 เท่า สำหรับอสังหาผมว่าแพงไปนะ ถ้าเอาไปเทียบกับ SPALI ที PE แค่ 6 เท่า PS PE 9 เท่า

ถ้า PE ขนาดนี้แสดงว่า ตลาดหวัง GROWTH อนาคตที่สูงมาก อย่างน้อยต้องโต 20% ขึ้นไป

บทความนี้ก็เป็นการพาทัวร์บริษัท ORI : บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน)  ผ่านเอกสาร filling ที่ส่งให้ประชาชนทั่วไปดู

วันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2558

อัตราหมุนเวียนทรัพย์สิน(asset turnover)กับวงจรธุรกิจ

อัตราหมุนเวียนทรัพย์สิน(at) สามารถบอกรอบวงจรธุรกิจได้ ถ้าเราดูเป็นจะสามารถใช้เป็นสัญาณการลงทุนได้

ช่วงเริ่มต้น ลงทุนไปเยอะแต่นั่งตบยุง เพราะลงสินทรัพย์ไปแล้วแต่คนยังไม่มาใช้บริการทำให้ at ช่วงนี้จะต่ำ ช่วงเริ่มต้นนี้จะบอกไม่ได้ว่าใช้เวลานานเท่าไร เพราะบางที่เรามาก่อนชาวบ้าน ตลาดยังไม่บูม เราคงบังคับลุกค้าให้มาซื้อของไม่ได้ ใครvisionยาว สายป่านเยอะได้เปรียบ

ช่วงใกล้ๆเติบโต เริ่มปรับกลยุทธถูกทางคนเริ่มติด รายได้เริ่มมา รายได้โตไวกว่าสินทรัพย์ ถ้าใกล้ๆคุ้มทุนเมื่อไรกำไรจะโตมากให้มีบ้านขายบ้านมีรถขายรถมาซื้อหุ้น(ถ้ามองถูกจะรวยนับเงินไม่ทัน)

ช่วงเติบโตสินค้าติดตลาด ถ้าไม่ได้ลงทุนอะไรเพิ่มatจะเพิ่มเรื่อยๆ หรือถ้าลงทุนเพิ่มatควรรักษาระดับเดิม โตเรื่อยๆชิวๆ หุ้นจะวิ่งแรงช่วงนี้เพราะงบเริ่มสวย กำไรโตไว vi ชอบ นักเทคนิคเทรดสบาย

ช่วงอิ่มตัว มีคู่แข่งเข้ามา ลูกค้าเริ่มตัน ขยายสินทรัพย์ไปยอดขายตามไม่ทัน atเริ่มลดลง ดูกำไรรวมอาจยังโตเพราะขยายสาขาเรื่อยๆ แต่จะเห็นroaเริ่มลดลง

ช่วงตกต่ำ รายได้ไม่เข้า แต่สินทรัพย์ลงไปแล้ว atจะลด กำไรลด ต่ำมากๆไม่คุ้มทุนก็ต้องขายสินทรัพย์กินเปลี่ยนธุรกืจturnaroundอีกรอบ

จะเห็นว่าอัตราส่วนหมุนเวียนทรัพย์สินเป็นอัตราที่ช่วยบอกอะไรนักลงทุนได้เยอะมาก ทั้งการบอกรอบของธุรกิจว่ากำลังขึ้นหรือเริ่มชลอตัว

วันเสาร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2558

5ขั้นตอนวิเคราะห์หุ้น IPO กรณีศึกษา TFG

ได้หุ้น IPO ก็เหมือนถูกหวย คนพอร์ทเล็ก เทรดน้อยนานๆ เจ้าหน้าที่การตลาด (มาร์) จะกรุณาให้ซักที หุ้น IPO เป็นหุ้นที่ข้อมูลน้อย บทความนี้ก็จะชื้แหล่งข้อมูลในการวิเคราะห์ว่าหาจากไหน และจะประเมินมูลค่าอยางไร เป็นข้อมูลในการตัดสินใจว่าได้มาแล้วถือหรือจะปล่อยไปวันแรกดี บทความนี้จะเป็นตัวอย่างของหุ้น ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (TFG ) ครับผม

1.โหลด FILNG

Filling เป็นข้อมูลที่ ผู้ทำ IPO ต้องจัดทำและส่งข้อมูลให้ กลต พิจารณาว่าจะให้ผ่านเข้าซื้อขายในตลาดได้หรือไม่ มีด่านอรหันต์ หลายด่านเช่น การควบคุมภายใน ระบบบัญชีมาตรฐาน IFRS การขจัดความขัดแย้งเชิงผลประโยชน์ การเปิดเผยรายการระหว่างกัน ฯลฯ


ข้อมูล IPO ของ SET
กดที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่
ข้อมูล Filing ของบริษัทที่จะ IPO เข้าทำการซื้อขายที่ตลาดสามารถเข้าไปโหลดได้ที่
เข้าไปก็จะเจอข้อมูลประมาณนี้ เหมือนอ่าน 56-1 กันเลยทีเดียว ผมว่าไหนๆ จะเสียเงินแล้วก็อ่านซะหน่อยดีกว่า FA กลต จะได้ไม่เสียใจ โดยหัวข้อหลักๆ ที่อย่างน้อยควรอาน ก็ที่ผมทำสีเหลืองๆ เอาไว้

หัวข้อในเอกสาร Filing ที่ส่งให้ กลต

2.ดูลักษณะธุรกิจ

จากไฟล์ลักษณะการประกอบธุรกิจ ก็เป็นเศรษฐกิจพอเพียง เลี้ยงไก่ หมู ทำอาหารสัตรว์ ยอดขายหลักๆ มาจากธุรกิจไก่ ดังนั้นจะวิเคราะห์ก็เน้นไก่เป็นหลักเพราะกระทบรายได้มากกว่า
โครงสร้างรายได้
กดที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่
นอกจากโครงสร้างรายได้แล้ว เอกสารส่วนนี้ก็เหมือนรายงาน 56-1 ที่มีข้อมูลสภาพการแข่งขัน ว่าเป็นอย่างไร มีคู่แข่งใครบ้าง เราอยู่อันดับที่เท่าไร ใช้วิเคราะห์เชิงคุณภาพได้ ปัจจัยความเสี่ยง

ถ้าอยากรู้ว่ามีสินทรัพย์อะไรซุกๆไว้บ้างก็เข้าไปดูที่สินทรพัย์ที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ ก็จะมีที่ดินว่ามีกี่แปลง ราคาประเมินเท่าไร


3.ดูผลประกอบการ 

งบการเงินอ่านให้เข้าไปดูที่ไฟล์ "ข้อมูลทางการเงินที่สำคัญ" ดูเร็วๆ ให้ดูตรงอัตราส่วนทางการเงิน อยากเจาะลึกงบการเงินก็มีข้อมูลงบการเงินแต่ละปีให้โหลดได้ (ถ้าขยันอ่านนะ)
สรุปงบการเงิน
กดที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่

อัตราส่วนทางการเงิน
กดที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่

เรื่องหนี้สินจะเห็นว่า TFG เป็นบริษัทที่หี้สินเยอะๆ DE 3 เท่ากว่า

ในส่วนของการสร้างเงินสด สภาพคล่องก็พอใช้ได้ แต่ไม่ค่อยแกร่งมากเท่าไร เพราะอัตราส่วนสภาพคล่องกระแสเงินสด ติดลบหลายปี แสดงว่ากระแสเงินสดจากการดำเนินงานเป็นลบ

ส่วนเรื่องวงจรเงินสดก็พอใช้ได้้อนข้างสม่ำเสมอที่น่าสนใจคือในปี 2554 ลูกหนี้การค้าค้างกับบริษัทเยอะ ระยะเวลาเก็บหนี้ 54 วัน แล้วก็ลดมากที่่ระดับ 7-8 วันปกติได้

ในส่วนของการทำกำไร TFG เป็นตามปกติของธุรกิจเกษตรคือบางปีดีบางปีก็ไม่ดี หลักๆให้ดูอัตรกำไรขั้นต้น เคยขาดทุนหนักๆมาตอน 2556 หลังน้ำท่วมราคาไก่ตกมากเพราะเกร็งกันว่ายุโรปจะกลับมานำเข้าไก่สดแช่เข็งจากไทย แต่ดันมาช้ากว่าที่คาดทำให้ไก่ล้นตลาด กว่าจะปกติก็ผ่านไป 1 ปี กับ 2558 ช่วงเข้าตลาดพอดี ช่วงนี้ก็ไก่ล้นตลาดเพราะค่าเงินเราอ่านสู้ชาวบ้านเขาไม่ได้ ก็เลยไปนำเข้าจากที่อื่่นดีกว่า

การจ่ายปันผล ปกติของบริษัทช่วงก่อนเข้าตลาดกำไรมาเท่าไรก็ต้องเร่งปันผลออกไปก่อน เหมือนล้างไพ่ให้คนซื้อ IPO มาเริ่มต้นชีวิตกันใหม่

4.ดูว่าบริษัทเอาเงินไปทำอะไร

หุ้น IPO เข้ามาก็ต้องเอามาพัฒนาธุรกิจ สวนที่บอกว่าจะเอาเงินที่ได้ไปทำอะไร อยู่ตรง รายการโครงการในอนาคต กับส่วนของข้อมูลสรุปก็มีนิดหน่อย ตามตาราง
วัตถุประสงค์การใช้เงิน
กดที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่
ดูจากการใช้เงินส่นใหญ่ก็เอาไปใช้ขยายธุรกิจ ใช้หนี้ และเป็นเงินทุนหมุนเวียน อันนี้แล้วแต่มุมมองใครมุมมองมันละครับว่าเงินที่เอาไปลงทุนดูมีอนาคตหรือเปล่า ทั้งการขยายโรงเลี้ยง อาหาร และการแปรรูป

5.วิเคราะห์ราคา IPO ว่าแพงไปหรือไม่

หลักๆจะใช้ PE ครับ ว่าหลังจากที่ IPO มีหุ้นเข้ามาเพิ่มแล้ว PE จะเป็นเท่าไร ถ้าเหลือประมาณ 20 เท่าก็ยังพอมีหวัง ลุ้น Upside จากราคา IPO ซัก 50-100% ได้ สำหรับ IPO หุ้นตัวนี้อยู่ ที่ 1.95 บาทมีวิธีการคิดหา PE ดังนี้

ข้อมูลรายชื่อผู้ถือหุ้นและจำนวนหุ้นี่จะ IPO
กดที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่

  • ปัจจุบันมี 4000 ล้านหุ้น หลังจาก IPO แล้วจะมี 5100 ล้านหุ้น
  • ราคา IPO 1.95 บาท
  • คิดเป็นมูลค่าตลาด 1.95 x 5100 = 9945 ล้านบาท
  • หุ้นตัวนี้เข้าทำการซื้อขายด้วยเกณฑ์ มูลค่าตลาดมากกว่า 5000 ล้าน
  • PE หลัง IPO = มูลค่าตลาด / กำไร 4 ไตรมาศย้อนหลัง
    = มูลค่าตลาด / (กำไรปี 2557 - กำไร 6 เดือนแรกปี 2557 + กำไร 6 เดือนแรกปี 2558)
    = 9,945 / (916.157 - 395.394 + (- 928.939))
    =  9,945 / -408.176
    = -24 = n.a
  • PE คำนวณไม่ได้ เพราะกำไร 6 ไตรมาศย้อนหลังมันติดลบ
  • ถ้าลองมโนว่าถ้ารอบวงจรเป็นปกติ ย้อนไปดูปี 2556 กำไร 1000 ล้านบาท
  • PE หลัง IPO แบบจิตนาการ = มูลค่าตลาด / กำไร 4 ไตรมาศย้อนหลัง
  • 9,945 / 1,000
    = 9.945 เท่า
ดูแล้ว PE ที่ราคา IPO กรณีดีที่สุดคือ 9.945 เท่า เลวขายคือขาดทุน สำหรับคนที่จะซื้อก็วัดใจกันหน่อยครับ ถ้ามันใจว่าปีหน้ารอบมาแน่ก็ซื้อได้ ถ้ายังไม่ชัวก็ไม่ซื้อ 


จะเห็นว่าแค่รู้ว่าข้อมูลอะไรอยู่ตรงไหน ก็ช่วยให้ชีวิตการลงทุนงายขึ้นเยอะครับ เดี๋ยววันซื้อขายแล้วจะมา update อีกที่ว่าผลจะเป็นอยางไร สู้ต่อไป TFG

อัพเดทผลประกอบการปี 2559



สรุปงบหุ้น TFG
กดที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่
 หลังจากปี 2558 ขาดทุนระเนระนาด ปี 2559 เขากลับมา ทุนสูงขึ้นหนี้ใกล้ๆเดิมไม่น่าห่วงมาก สินทรัพย์เพิ่มจาการลงทุนและสามารถหารายได้ได้เพิ่มขึ้น เหตที่กลับมทำกำไรได้มจากรอบของไก่เริ่มมาอัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นขณะที่ค่าใช้จ่ายขายและบริการใกล้ๆเดิมทำให้กำไรปรับตัวสูงขึ้นพร้อมราคาที่วิ่งยังกะอะไรดี

วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558

หลักสูตรเจาะลึกหุ้น Turnaround


หุ้น Turnaround เป็นหุ้นกลุ่มหนึ่งที่ให้ผลตอบแทนสูงในการลงทุน แต่ในทางกลับกัน หุ้นกลุ่มนี้ก็มีความเสี่ยงในการลงทุนสูงมากเช่นกัน เนื่องจากหุ้น Turnaround ส่วนใหญ่มักไม่ Turnaround จริงๆ หรือ Turnaround แล้วธุรกิจไม่สามารถเติบโตต่อไปได้ สุดท้ายผู้ลงทุนก็ได้ผลตอบแทนไม่มากตาที่คาดหวัง

การลงทุนในหุ้น กลุ่มนี้ให้ได้กำไร นักลงทุนต้อง พิจารณาแผนธุรกิจของผู้บริหารในการพลิกฟื้นกิจการ ว่าเป็นไปได้แค่ไหน ทำแล้วปัญหาจะหมดไปหรือไม่ และเมื่อปัญหาจบหมดแล้ว หุ้นพลิกฟื้นนั้นสามารถ เติบโตต่อเนื่องได้อีกหรือไม่

การมองให้ขาดจำต้องอาศัยความรู้ที่จะตีปัญหาของธุรกิจให้แตกว่ามาจากอะไรกันแน่ และจิตนาการภาพอนาคตให้ชัดเจน โดยหลักสูตรนี้จะ ปู้พื้นการวิเคราะห์ปัญหาธุรกิจผ่านงบการเงิน การวิเคราะห์แผน Turnaround รวมถึงการประเมินมูลค่าหุ้นว่ามูลค่ายุติธรรมของบริษัทนี้ควรอยู่ที่เท่าไร ณ ระดับราคานี้กิจการสามารถทำกำไรตามทันได้หรือไม่

เรียนแล้วได้อะไร


  • รู้แหล่งค้นหาหุ้น turnaround 
  • เจาะปัญหาธุรกิจอย่างลึกซึ้งผ่านงบการเงิน
  • เข้าใจแผนการ Turnaround ของธุรกิจ และสามารถประเมินผลกระทบที่มีต่อผลประกอบการได้
  • ประเมินราคาเป้าหมาย

รายละเอียดการสมัคร

วันที่ : วันเสาร์ที่ 31 และ อาทิตย์ที่ 1 พฤษจิกายน 2558
เวลา : 09.00 - 17.00
สถานที่ : biz-concierge (www.biz-concierge.com) สุขุมวิท 13 MRT อโศก ฺBTS นานา
ราคา : 3,000 บาท ต่อท่าน
ลงทะเบียนที่ Line id ; pat4310

เนื้อหา

เทคนิคการค้นหาหุ้น Turnaround
การวิเคราะห์ปัญหาุธุรกิจผ่านงบการเงิน

  • ปัญหาสภาพการแข่งขัน
  • ปัญหาต้นทุนสินค้า และกระบวนการผลิต
  • ปัญหาคุมต้นทุนไม่ได้
  • ปัญหาใช้สินทรัพย์ไม่คุ้มค่า
  • ปัญหาสภาพคล่อง
  • ปัญหาหนี้สิน
การสังเคราะห์ข้อมูล กลยุธ์การ Turnaround จากข่าวตลาดหลักทรัพย์
การดูผลลัพภ์ของแผนผ่านงบการเงิน
กลยุทธ์ทางบัญชีต่างที่น่าสนใจ และผลกระทบที่มีต่องบการเงิน
  • การเพิ่มทุน
  • การลดทุน
  • การแปลงหนี้เป็นทุน
  • กำไรจากการออกกอง reit
  • กำไรจากการต่อรองราคาซื้อ
  • กำไรจากการขายสินทรัพย์

การประเมินมูลค่าหุ้น
กรณีศึกษาหุ้น Turnaround