วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556

มะเร็งร้ายของธุรกิจ วิกฤตทางการเงิน 4 ระยะ

บทความดีๆจาก อ.Sanpong Limthamrongkul เขียนเรื่อง  วิกฤตทางการเงิน ของบริษัทได้ชัดเจน พร้อมทั้งเครื่องมือสังเกตุปัญหาแต่ละขั้น เชิญอ่านโดยพลัน

ในการลงทุนการวิเคราะห์บริษัทส่วนมากเน้นการดูกำไร การเติบโตซึ่งก็เป็นสิ่งที่ถูกต้อง เพราะการซื้อหุ้นก็คือการซื้ออนาคต แต่บางครั้งการมองหน้าแต่ไม่ระวังหลังบ้างเลย ก็จะประมาทเกินไป เหมือนกับการขับรถ เรามีกระจกมองหลัง กระจกข้างเพื่อเวลาจะเร่งเครื่องฉวงออกซ้ายหรือขวาจะได้ปลอดภัย ถ้ามองแต่ด้านหน้าก็อาจเกิดอันตรายได้ เช่นกัน หุ้นหลายตัวผู้บริหารหรือแม้แต่นักวิเคราะห์ทั่วไป มักเชียร์ตัวเองหรือเข้าข้างสิ่งที่ตนสนใจ ให้แต่ข้อมูลเชิงดี ในภาวะตลาดดีอะไรก็ดีหมด หุ้นแย่ก็ยังขึ้น ไม่ได้สนใจว่าหากเกิดภาวะพลิกผันแล้วจะเป็นอย่างไร บางีตัวเลขจากงบการเงิน จากการวิเคราะห์แบบยาวๆ หรือข่าวสารที่เกิดขึ้น ก็มีสัญญาณบ่งชี้ว่าควรระวัง บางที่ปัญหาก็ไม่ได้เกิดให้เห็นทันที แต่เหมือนกับโรคมะเร็ง ที่กว่าจะรู้ก็ใกล้ตาย หรือระยะที่สามระยะที่สี่ ที่แก้ยากลำบากหรือทำอะไรไม่ได้แล้ว หุ้นหรือบริษัทที่อาจต้องระวังเพราะมีพฤติกรรมบ่งชี้แนวโน้มว่าอาจก่อมะเร็งร้ายถ้าจะลงทุนในภาวะกระทิงก็อาจไม่มีอะไร แต่ถ้าเหตุการณ์ตลาดเริ่มไม่ปกติ จะลดมูลค่าค่อนข้างแรง ผันผวนมากของแบ่งภาวะการก่อวิกฤตทางการเงินดังนี้ (ผู้บริหารสามารถนำไปพิจรณาบริษัทตนเองได้ว่า มีอาการใดเกิดขึ้น ส่วนนักลงทุน อาจไม่ได้ทุกข้อแต่หากมีข้องบ่งชี้ใดที่เทียบเคียงได้ ก็ต้องระมัระวัง บางครั้งก็มาเห็นตอนเข้าระยะสามเลยก็ได้)
มะเร็งร้ายของธุรกิจ วิกฤตทางการเงิน 4 ระยะ

มะเร็งระยะที่ 1 ระยะฟักตัว Earning Fluctuation or Non-quality of Earning 


  • ขยายธุรกิจอย่างหลับหูหลับตา
  • ทำการตลาดผิดพลาด
  • ระบบบริหารไม่มีประสิทฝิภาพ
  • ขาดระบบการบริหารวิกฤต
  • ใช้ทรัพยากรไม่เหมาะสม
  • ละเลยต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพธุรกิจ

ในแง่อัตราส่วน แนวโน้ม Asset Turnover (AT) มักจะลดลงต่อเนื่อง ไม่ใช่ขายไม่เติบโต ยอดขายยังเติบโต แต่สินทรัพย์เติบโตเร็วกว่า ผลตามมาคือ ROA จะลดลง และมีแนวโน้ม D/E เพิ่มขึ้นแม้ระดับ D/E จะไม่สูงก็ตาม แต่ถ้ายิ่งยอดขายเติบโตลดลงแล้ว ชัดเลย

มะเร็งระยะที่ 2 ระยะสำแดงอาการ Start Financial Crisis or Liquidity Problems 


  • เงินทุนไม่เพียงพอ /ขาดแหล่งเงินทุนสนับสนุน
  • พึ่งพาเงินกู้มากเกินไป ภาระดอกเบี้ยสูง
  • ขาดฐานข้อมูลและระบบบัญชีบัญชีที่มีประสิทธิภาพ
  • กระแสเงินสดการดำเนินงานติดลบต่อเนื่อง
  • มีการยืดเวลาชำระหนี้ ผัดผ่อนการจ่ายหนี้
  • ขาดความสามารถคาดการณ์อนาคตจากข้อมูล

อาการทางอัตราส่วนที่เห็นชัดตือ D/E ที่สูงมากๆ ICR (Interest Coverage Ratio) กว่า 1.2 หรือใกล้ 1หรือ ต่ำกว่า 1 (ปกติ ICR < 1.3 สากลให้เป็น Junk Bond แล้ว) CFO ติดลบ QE ติดลบ CC (Cash cycle) ยาวกว่า 60-90 วัน

มะเร็งระยะที่ 3 ระยะรุนแรง Temporary Bankruptcy or Liquidity Problem 


  • ผู้บริหารเสียเวลากับการจัดการปัญหาสภาพคล่อง
  • เงินทุนขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง
  • ถูกลดหรือตัดเครดิตทางการค้าหรือการกู้ยืม
  • หนี้เมื่อถึงกำหนดชำระไม่สามารถชำระได้

CR (Current Ratio) จะน้อยกว่า 1 ยาวมากกว่า 90 วัน CFO ติดลบ QE ติดลบ มีหนี้ระยะสั้นสูง ถ้าเทียบหนี้ระยะสั้น (หนี้สถาบันการเงิน หนี้สัญญาเช่าทางการเงิน) กับหนี้ทั้งหมด (หนี้ที่กู้มา เช่นจากธนาคาร หุ้นกู้ สัญญาเช่าการเงิน) เกินกว่า 40% จะถือว่าไม่ดี ICR<1หรือ MICR (Modified Interest Coverage Ratio = CFO+I / I) <1

มะเร็งระยะที่ 4 ระยะปรากฏเป็นจริง หรือสุดท้าย Permanent Bankruptcy 


  • หนี้สินสูงกว่าสินทรัพย์ ปิดกิจการ ล้มละลาย

สั้นๆ ง่ายๆ คือ Equity ติดลบ อัตาส่วนเลวร้ายทั้งหมดปรากฎพร้อมกันทั้งหมด ถ้าถือหุ้นที่อาการเข้าระยะที่สี่ ก็โอกาสน้อยมาก อาจทำครีโมแล้วหายก็ได้ (Turn around) สมมติว่าถ้าท่านเป็นบริษัทประกัน จะรับประกันไหม ถ้าหายก็ได้เบี้ยยาว ถ้าไม่ก็จ่ายสินไหมทดแทน

ที่มา
https://www.facebook.com/sanpong.limthamrongkul/posts/10200530938614397

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น

สงสัยอะไรถามได้ครับผม