PE ratio เป็นเครื่องมือในการประเมินมูลค่าที่ง่ายใจการใช้งาน แต่ในความง่ายถ้าคนที่เข้าใจก็สามารถพลิกแพลงได้ไม่จำกัด
ในบทความนี้พลิกแพลงมาให้ 10 วิธี จะมีอะไรบ้างมาดูกันครับ
1.เทียบกับอุตสาหกรรม
ค่า PE อุตสาหกรรมดูได้ที่ factsheet ครับ ถ้าหุ้นเรา PE ต่ำกว่าอุตสาหกรรมก็แปลว่าถูก
https://www.set.or.th/set/factsheet.do…
ถ้าอยากรู้ราคาถ้า PE เท่ากับอุตสาหกรรมก็ง่ายๆครับใช้การเทียบบัญติไตรยางค์เอา
หุ้น x PE 20 เท่า ราคา 25 บาท
หุ้น x PE 1 เท่า ราคา 25/20 = 1.25 บาท
หุ้น x PE 30 เท่า เท่ากับอุสาหกรรม ราคา 25/20*30 = 37.5 บาท
2.เทียบกับค่าเฉลี่ย
วิธีการคิดเหมือนข้อ 1 เพียงแต่เปลี่ยนจาก PE อุตสาหกรรมเป็น PE เฉลี่ย ใน factsheet จะมี PE ย้อนหลังให้ 3 ปี ก็นำมาหาค่าเฉลี่ยครับ ถ้า PE ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยก็ถือว่าถูก เรามีความเชื่อว่าค่าเฉลี่ยคือ PE เหมาะสมของหุ้นตัวนั้น
แต่สิ่งที่ต้องระวังคือถ้าหุ้นกำไรมีแนวโน้มลดลง PE เหมาะสมอาจลดลงก็ได้ใช้ค่าเฉลี่ยที่สูงๆอาจติดดอย
3.เทียบกับค่าคงที่
หลายคนอาจมีค่าในใจเช่น PE เหมาะสมของหุ้นทุกตัวไม่ควรเกิน 15 ก็จะใช้เลข 15 เป็น PE เหมาะสม หุ้นตัวไหน PE มากกว่าค่าเหมาะสมก็แปลว่าแพง
4.เทียบกับค่าPE ที่เหมาะสมทางทฎษฎี
ส่วนใหญจะคิดมาจาก dividend discount model
p=d/k-g
ราคา เท่ากับ เงินปันผล d หาร ผลตอบแทนที่คาดหวังk หักด้วยการเติบโตg
จากบทความ อสรรพงษ์เรื่อง การหา-pe-ที่เหมาะสมทางทฤษฎีเพื่อกำหนดกรอบราคาในการลงทุน
https://www.facebook.com/notes/sanpong-limthamrongkul/การหา-pe-ที่เหมาะสมทางทฤษฎีเพื่อกำหนดกรอบราคาในการลงทุน/10202892649375690
PE ได้ถูกประมาณการจาก b/k-g
b คือ อัตราจ่ายปันผลต่อกำไร
และเพื่อให้ง่ายขึ้น k-gถูกประมาณการจาก ผลตอบแทนเงินปันผล ซึ่งสามารถประมาณการผลตอบแทนเงินปันผลที่คาดหวังได้จาก rf+beta
ค่า beta ค่า b อยู่ใน factsheet มีค่าเดียวที่ต้องกำหนดคือ rf
แต่เพื่อให้ง่ายส่วนใหญ่ผมก็ประมาณการ k-g ด้วยเงินปันผลไปเลย โดยเงินปันผลผมใช้ค่าเฉลี่ยเอา
pe= b/dy
เช่นหุ้น x ปันผล 50% ของกำไร ปันผลเฉลี่ยอยู่ที่ 2% แสดงว่า PE เหมาะสมออยู่ 50/2 = 25 เท่า
PE ที่ได้สะท้อนเงินปันผล ส่วนการเติบโตไปหาเอาข้างหน้า
ตัวอย่างการคำนวณ PE เหมาะสมของ CPN
หุ้น CPN PE ปัจจุบัน 30.85 เท่า ราคา 67.5 บาท
ถ้าคำนวณPE ด้วย b/dy จะได้ 28 เท่า
ใกล้ๆกับ PE เฉลี่ยตามข้อ 2 ที่ 28.81 เท่า
คำนวณตามทฤษฎี b/rf+beta จะได้ 11.13เท่า
แต่ถ้าคำนวณ PE =g ตามสูตรข้อ 7 จะได้เพียง 10.36 เท่า
จะเห็น PE เหมาะสมของ หุ้น CPN จะวิ่งอยู่ระหว่าง 10 - 28 เท่า
ถ้าจะซื้อตาม ทฤษฎี อาจไม่ได้ซื้อแต่ถ้าจะซื้อก็ต้องซื้อแพงหน่อย
แต่ก็ต้องระวังเพราะซื้อ PE แพงๆถ้าหุ้นไม่เติบโตอาจราคาลดลงได้อีก
5.หาเป้าราคาปีหน้า
ย้ายข้างสมการ PE นิดหน่อยจะได้
P = PE x E
ค่า PE ถ้าประมาณการข้อ 1-4 ได้ก็เลือกเอาซักตัว
แล้วประมาณการกำไรปีหน้ามาแล้วจับคูณก็จะได้ราคาหุ้น ปีหน้า
เช่นหุ้นตัวหนึ่งกำไรต่อหุ้น 1 บาท เติบโตเฉลี่ยปีละ 10% กำไรปีหน้าก็จะเป็น 1.1 สมมติ PE เหมาะสมที่ 20 เท่า ราคาเหมาะสมคือ 1.1*20= 22 บาท
6.หา PE ปีหน้า
บาทคนยอมซื้อแพงเพราะรู้ว่าปีหน้าจะ PE ลดลงจากกำไรที่เติบโตขึ้น ถ้า PE ปีหน้าลงไปเยอะมากจนเหลือน้อยๆแปลว่าถูก
เช่น PE ปีนี้ 25 เท่า ราคา 10 บาท เท่าแต่เรารู้ว่ากำไรต่อหุ้นปีหน้าจะเติบโตเท่าตัวจาก 0.4 บาทเป็น 0.8 บาท PE ปีหน้าจะเหลือเพียง 10/0.8 = 12.5 เท่า
ถ้าเรามองว่า PE เหมาะสมหุ้นตัวนี้คือ 20 เท่าแปลว่าหุ้นตัวนี้ยังถูก
ต้วอย่างการหา PE CPN ปีหน้า ข้อ 5, 6
ถ้ากำหนดได้ กำไรโตเท่ากับค่าเฉลี่ยที่ประมาณ 10% จะได้ราคาปีหน้าที่ระดับ PE 28.73 เท่า อยู่ที่ 62 69 76 83 ตามลำดับ
ในขณะที่ PE จะลดลงเรื่อยๆจนเหลือ 23.2 ในอีก 3 ปีข้างหน้า
7.เทียบกับ growth
หุ้นที่ growth แรงเราก็ยอมซื้อแพงได้ ในแนวคิดของ ปีเตอร์ ลินช์ (Peter Lynch) มองว่าจะซื้อหุ้นที่ PE เที่ยบกับ growth น้อยกว่า 1 และ PE ไม่เกิน 30 เท่า จะถือว่าหุ้นตัวนั้นยังไม่แพง
8.คิด PE แบบย้อนกลับ
อันนี้มองว่า ถ้ามีเป้าราคาในใจจะต้องทำกำไรปีหน้ากี่บาทแล้วไปดูว่าบริษัทสามารถทำได้หรือไม่
สมมติวันหนี้หุ้นราคา 10 บาท กำไรต่อหุ้น 0.5 เราเชื่อว่าอนาคตมันจะไป 15 บาท PE เหมาะสมที่ 20 แสดงว่าบริษัทต้องทำกำไรเท่ากับ E = p / pe = 15/20 = 0.75 บาท
แล้วเราก็มโนเอาว่าจะทำได้หรือไป ถ้ามองว่าได้แน่ๆ เพราะกำไรโตแค่จาก 0.5 ไป 0.75 เท่านั้นเอง บริษัทน่าจะทำได้
9.PE หุ้นเติบโต
หุ้นเติบโตมักจะ PE แพงหน่อย แบบนี้ไม่ต้องคิดมาก ราคาจะมีโมเมนตั้มึ้นเรื่อยๆจนกระทังกำไรเริมโตชะลอตัวลง อันนี้ต้องตัวใครตัวมันครับ
10.PEหุ้นวงจร
หุ้นวงจรส่วนใหญ่มักขายสินค้า commodity เช่นสินค้าเกษตร ปิโตรเคมี โลหะต่างๆ
การใช้ PE ratio จะสลับทิศกันถ้า PE ต่ำต้องระวังเพราะแสดงว่าเป็นรอบขาขึ้นไม่รู้จะลงเมื่อไร การซื้อต้องซื้อตอน PE แพงๆ หรือขาดทุนเพราะแสดงว่ารอบเริ่มเป็นขาลง แค่รอมันขึ้นเท่านั้น
จะเห็นว่า PE ตัวเดียวถ้าเข้าใจสามารถพลิกแพงได้ไม่จำกัดครับ เลือกที่เราถนัดครับผม
ติดตามเราได้ที่ Website : http://www.investidea.in.th
Facebook : http://www.facebook.com/investidea.in.th
Line ID : @investidea.in.th ใส่@นำหน้าด้วย
สัมมนาวิเคราะห์หุ้นด้วยปัจจัยพื้นฐาน
ดูรายละเอียดและตารางอบรมได้ที่http://www.investidea.in.th/p/value-investor.htmlหรือสอบถามราบละเอียดและลงทะเบียนได้ที่ Line; pat4310, หรือโทร 086-503-5023
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น
สงสัยอะไรถามได้ครับผม