ทำความเข้าใจแบบง่ายๆ ให้ดูตามรูป การทำ Currency Swaps อาจเลือกทำแบบ Back-to-Back ก็ได้แต่มีน้อยเพราะมีบริษัทที่มีศักยภาพเช่นนั้นน้อย คือบริษัท A อยากกู้เงินสกุล $ จาก B แต่ B มีบริษัทในเครือที่ประเทศ A อยู่ ก็ให้บริษัทในเครือบริษัทในเครือทำแทน ส่วน A มีบริษัทในเครือที่ B ตั้งอยู่ เมื่อถึงตอนคืนเงิน A ก็ให้บริษัทในเครือที่ B ตั้งอยู่จ่ายคืนเงินกู้ $ แทน จะเห็นว่าบริษัทที่จะทำอย่างนี้ได้ต้องเป็น Miltinational Company ทั้งคู่ บางคนอาจจะงงอยู่ว่าแล้วยังไง อย่าลืมว่า งบ A และ B ต้องทำ consolidation ตอนกู้ในงบก็จะแสดงรายการก็ยืมปกติ ตอนคืนเงินรายการเงินก็หายไปจากงบรวม
Currency Swaps |
ในด้านการเงินการทำ currency swaps มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ป้องกันความเสี่ยงด้านมูลค่า สมมติยืมมา 1 MU$ แลกมาเป็นบาทที่ 30 ฿/$ เมื่อถึงตอนคืนอยากคืนที่อัตราเดิม อันนี้คล้ายกับทำ forward หนี้สินก็จะขึ้นลงตามอัตราแลกเปลี่ยน เกิด gain/loss FX นั่นเองแต่เมื่อทำ currency swaps หนี้สินก็จะยังคงขึ้นลงเช่นเดิม แต่จะถูก Balance ด้วยมูลค่ายุติธรรมของ currency swaps และ interest rate swap ถ้าขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนจะมีกำไรจากอนุพันธุ์ชดเชย bottom line จะดีขึ้น
งบแสดงฐานะการเงินของคนกู้เงิน ณ วันกู้
เงินสด 30 MB = เงินกู้ยืม 30 MB
เมื่อสิ้นงวด อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 31 B/$
งบแสดงฐานะการเงินของคนกู้เงิน ณ วันสิ้นงวดเป็น สมมติป้องกันความเสี่ยงได้พอดี
เงินสด 30 MB + ส/ท อนุพันธ์ 1 MB = เงินกู้ยืม 31 MB + กำไรจากอนุพันธ์ 1MB – ขาดทุน FX 1 MB
(จะ offset ได้หมดหรือไม่ขึ้นกับมูลค่ายุติธรรมของ currency swaps)
ในบางประเทศมีตลาด Derivatives ที่ active อาจทีการ trade สัญญาพวกนี้ บางบริษัทก็อาจไป hold position ในตลาดแทนที่จะไปทำกับธนาคารก็ได้
Interest rate swaps |
ส่วนกรณี ที่จ่ายดอกเบี้ย โดยไปทำ IRS (Interest rate swaps) ดอกเบี้ยในงบจะเปลี่ยนไปตามอัตราที่เลือกทำ เช่นกู้แบบลอยตัวแต่ทำ IRS จ่ายคงที่ เมื่อถึงตอนจ่าย จ่ายลอยตัวแต่ได้รับส่วนต่างกลับจากสัญญา IRS (เป็นได้ทั้งรับ-จ่าย) ให้กลายเป็นคงที่ และอาจเลือกทำจากคงที่เป็นลอยตัวก็ได้ บางคนอาจอยากถามว่าแล้วเมื่อไรทำอะไรและควรเลือกแบบไหน ในหลักการเงินในเบื้องต้นพิจารณาว่ารูปแบบรายได้บริษัทรายรับถ้าค่อนข้างคงที่หรือประมาณการได้ค่อนข้างชัดเจน เมื่อบริษัทกู้เงินมาจากตลาดเงินมักจะกู้ได้ในอัตราดอกเบี้ยลอยตัว บริษัทไม่ต้องการให้กำไรผันผวนจากอัตราดอกเบี้ย ก็ไปทำ IRS เปลี่ยน Float เป็น Fix หรือกลับกันรายได้บริษัทค่อนข้างผันแปรคามภาวะเงินเฟ้อหรือดอกเบี้ยสูง แต่ตอนไปกู้ได้ดอกเบี้ยแบบคงที่ Fix (ดังภาพตัวอย่าง) ก็ไปทำ IRS เพื่อเปลี่ยนให้ภาพรวมการจ่ายดอกเบี้ยจาก Fix เป็น Float
งบการเงิน ณ วันกู้
เงินสด 1 M$ = เงินกู้ยืม 1M$
เมื่อวันครบกำหนดจ่ายดอกเบี้ยงวดแรก (ตามภาพตัวอย่าง)
ง/ส 1 – จ่าย 0.03 ให้ XYZ + รับจาก BANK 0.001 + ส/ท อนุพันธ์ 0.002 M$ = เงินกู้ 1 งบ I/S –ดอกเบี้ย 0.029 + OCI กำไรจากอนุพันธ์ป้องกันความเสี่ยงจากกระแสเงินสด 0.002
สรุป
ง/ส 0.971 ส/ท อนุพันธ์ 0.002 M = เงินกู้ 1 กำไรสะสม (-0.029) + OCI (0.002)
สมมตว่าให้มูลค่ายุติธรรมของอนุพันธ์ IRS ณ วันสิ้นงวดนั้นเท่ากับ 0.002 M$
จ่ายดอกเบี้ยสุทธิรวม 0.029 = LIBOR +2.5% = 0.4+2.5% = 2.9%
พองวดที่สอง
ง/ส 0.971 – จ่าย 0.03 ให้ XYZ - จ่าย BANK 0.001 = เงินกู้ 1 /ท + น/ส อนุพันธ์ 0.001 M$ กำไรสะสมยกมา -.0027+ งบ I/S –ดอกเบี้ย 0.031 + OCI –ขาดทุนจากอนุพันธ์ป้องกันความเสี่ยงจากกระแสเงินสด 0.003
สรุป
เงินสด 0.94 M = เงินกู้ 1 + น/ส อนุพันธ์ 0.001 + กำไรสะสม (-0.029) + I/S (-0.0310) + OCI (0.002-0.003)
เงินสด 0.94 M = เงินกู้ 1 + น/ส อนุพันธ์ 0.001 + กำไรสะสม (-0.06) + OCI (-0.001)
ตามมาตรฐานการบัญชี การป้องกันความเสี่ยงจากมูลค่ายุติธรรม -ที่เกิดกับรายการที่บันทึกในงบดุล ผลกระทบจะบันทึกในงบกำไรขาดทุนของงวดที่เกิดเกิดจากมูลค่ายุติธรรมที่เปลี่ยนแปลงไป การเปลี่ยนแปลงมูลค่าของอนุพันธ์จะเกิดตรงข้มกับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนของสินทรัพย์หรือหนี้สินชดเชยกันไป หมดหรือไม่ก็อยู่ที่ทำครอบคลุมไว้เท่าไร
ส่วนกรณีที่เป็นการป้องกันความเสี่ยงจากกระแสเงินสด - เกิดจากมูลค่ายุติธรรมที่จะเปลี่ยนแปลงในอนาคตของกระแสเงินสด และกระแสเงินสดนั้นเกี่ยวข้องกับสินทรัพย์หรือหนี้สินที่รับรู้ในงบดล เช่น ดอกเบี้ยจ่ายของหนี้สินแบบอัตราลอยตัว การเปลี่ยนแปลงมูลค่าของอนุพันธ์จะบันทึกในกำไรขาอทุนเบ็ดเสร็จอื่น (ดูตัวอย่างจริงจากงบของ PTTEP จะเห็นการแสดงรายการในงบชัดเจน)
ที่มา https://www.facebook.com/sanpong.limthamrongkul/posts/10201426531723665
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น
สงสัยอะไรถามได้ครับผม