วันอังคารที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ความสัมพันธ์ของรายการตั้งสำรองกับงบการเงิน

ความสัมพันธ์ของรายการตั้งสำรองต่างกับงบการเงิน เป็นเรื่องที่ถ้าใครงงก็จะไม่เข้าใจ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของเกณฑ์คงค้างที่ต้องการปรับมูลค่าของสินทรัพย์และหนี้สินให้เป็นมูลค่าปัจจุบันเพื่อให้ส่วนของผู้ถือหุ้นสะท้อนความเป็นจริงมากที่สุด ยกตัวอย่างบริษัทแห่งหนึ่งไม่ได้ทำมาหากินอะไร สิ้นงวดก็ตั้งสำรองอย่างเดียวดังตาราง (โหลดเป็นไฟล์ excel ไปเล่นได้ ปุ่มโหลดอยู่ตรงมุมขวาล่างคับผม)
 

A ตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ

มีหนี้อยู่ 100 ปีที่แล้วตั้งสำรองไป 5% ก็ 5 บาท ปีนี้ หนี้ก้อนเดิมดูว่าจะเก็บไม่ได้ ก็ตั้งสำรองเพิ่มเป็น 8% ของยอดหนี้ก็ 8 บาท การบันทึกคือ ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้น 3 บาท

  • Dr(ที่ไปของเงิน) หนี้สงสัยจะสูญ 3 (รายจ่ายเพิ่ม)
    • Cr(ที่มาของเงิน) ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 3 (สินทรัพย์ลด)
ส่วนในงบกระแสเงินสดรายการนี้ไม่ได้จ่ายเป็นเงินสดก็นำมาบวกกลับจากกำไร

B มูลค่าสินค้าคงเหลือสุทธิ

มีสินค้าคงเหลืออยู่ 100 ด้อยค่าไป 10 เหลือ 90 ระหว่างงวดซื้อเพิ่มอีก 20 ยอดเพิ่มเป็น 120 แต่วันปิดงบราคาสินค้าคงเหลือตกเหลือมูลค่าแค่ 80 บาท แสดงว่าต้องตั้งสำรองค่าเผื่อด้อยค่าสินค้าคงเหลือ = 120-80=40 แสดงว่าของเดิมด้อยค่าอยู่แล้ว 10 ในงวดนี้ต้องตั้งด้อยค่าเพิ่มอีก 30 

  • Dr(ที่ไปของเงิน) ด้อยค่าสินค้าคงเหลือ 30 (รายจ่ายเพิ่ม)
    • Cr(ที่มาของเงิน) ค่าเผื่อด้อยค่าสินค้าคงเหลือ 30 (สินทรัพย์ลด)
ส่วนในงบกระแสเงินสดรายการนี้ไม่ได้จ่ายเป็นเงินสดก็นำมาบวกกลับจากกำไร

C กำไร (ขาดทุน) จากการขายสินทรัพย์

สินทรัพย์มูลค่า 100 ขายไป 80 ขาดทุน 20
  • Dr(ที่ไปของเงิน) เงินสด 80 (สินทรัพย์เพิ่ม)
  • Dr(ที่ไปของเงิน) ขาดทุนจากการขายทรัพย์สิน 20 (รายจ่ายเพิ่ม)
    • Cr(ที่มาของเงิน) ที่ดิน อาคาร์ อุปกรณ์ 100 (สินทรัพย์ลด)
ส่วนในงบกระแสเงินสด นำขาดทุนจากการขายทรัพย์สิน 20 มาบวกกลับใน CFO และนำเงินสดรับทั้งก้อน 80 มาบวกใน CFI

D ขาดทุนจากการด้อยค่าสินทรัพย์

ที่ดินอาคารอุปกรณ์มูลค่า 500 บาท สิ้นปีวัดมูลค่าเหลือ 450 เท่ากับสินทรัพย์มูลค่าลดลง 50บาท
  • Dr(ที่ไปของเงิน) ขาดทุนจากการด้อยค่าทรัพย์สิน 50 (รายจ่ายเพิ่ม)
    • Cr(ที่มาของเงิน) ค่าเผื่อด้อยค่าสินทรัพย์ 50 (สินทรัพย์ลด)

E กำไรจากการลดหนี้

สินปีเจ้าหนี้ลดหนี้ให้จาก 180 เหลือ 100  ทำให้เกิดกำไรจากการลดหนี้เท่ากับ 80
  • Dr(ที่ไปของเงิน) หนี้สิน 80 (หนี้ลด)
    • Cr(ที่มาของเงิน) กำไรจากการลดหนี้ 80 (รายได้เพิ่ม)
ในงบกระแสเงินสดนำรายการนี้หักออกเพราะไม่ได้รับมาเป็นเงินสด

F สำรองคดีความฟ้องร้อง

อยู่ดีๆโดนฟ้อง 50 บาท ด้วยความระมัดระวังต้องตั้งสำรองเป็นหนี้สินไว้ก่อน
  • Dr(ที่ไปของเงิน) สำรองคดีความฟ้องร้อง 50 (รายจ่ายเพิ่ม)
    • Cr(ที่มาของเงิน) หนี้สินคดีความฟ้องร้อง 50 (หนี้เพิ่ม)

G ดอกเบี้ยจ่าย

จากหนี้ 180 บาท ดอกเบี้ย 10% ต้องจ่ายเงิน 18 บาท
  • Dr(ที่ไปของเงิน) ดอกเบี้ยจ่าย 18 (รายจ่ายเพิ่ม)
    • Cr(ที่มาของเงิน) เงินสด 18 (สินทรัพย์ลด)
ในงบกระแสเงินสด นำดอกเบี้ยจ่ายที่เป็นเกณฑ์คงค้างมาบวกกลับใน CFO และนำไปหักออกใน CFF เพราะดอกเบี้ยควรเป็นรายจ่ายที่มาจากการจัดหาเงินไม่ใช่ดำเนินงาน

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น

สงสัยอะไรถามได้ครับผม