ฺBV = book value = สินทรัพย์ - หนี้สิน = เอาสินทรัพย์ทั้งหมดไปขายแล้วหักหนี้ได้เงินกลับบ้าน
ใช้ PBV กับโรงงาน แปลว่าคุณคิดจะซื้อบริษัทเอาโรงาน ลูกหนี้ สต็อกสินค้า ไปขายหักหนี้ได้เงินกลับบ้าน
ใช้ PBV กับธนาคาร แปลว่าคุณคิดจะซื้อบริษัท ไปนั่งทวงลูกหนี้ทุกราย ได้เงินมาจ่ายคืนผู้ฝากเงิน เหลือเท่าไรก็เอาเงินกลับบ้าน
ถ้าตัดสินใจด้วย PBV แสดงว่าคุณกำลังเล่นกับสินทรัพย์ของบริษัทว่าเงินที่จ่ายไปคุ้มหรือไม่
PBV โดยส่วนตัวผมไม่ชอบใช้เพราะผมไม่ต้องการเอาซากโรงงานมานอนกอดที่บ้าน แต่ต้องการกระแสเงินสดที่บริษัทผลิตได้มากกว่า เช่นเงินปันผล
ปัจจัยที่กำหนด PBV
ต่อให้ชีวิตวุ่นวายอีกนิด เมื่อกี้บอกว่าเราต้องการกระแสเงินสดที่บริษัทผลิตได้ก็คือเงินปันผลจาก DDM เรารู้ว่า P = D/k-g (1)
ให้
- D = กำไร x อัตราการจ่ายเงินปันผล
- = E x b (2)
แทนค่า (2) ใน (1)
- P = (E x b)/k-g
หารด้วย BV ทั้งสองข้างเพื่อหา PBV
- PBV = ((E x b)/k-g)/BV
- =((E/BV)xb)/k-g
- =(ROExb)/k-g
จากสมการหุ้นจะเทรดที่ PBV สูงขึ้นถ้า
- ROE สูงขึ้น ถ้าใช้ Dupon system
- ROE = profit margin x asset turnover x financial leverage
- แสดงว่า ROE จะสููงขึ้น ถ้า การทำกำไรดีขึ้น สินทรัพย์หมุนได้ดีขึ้น และกู้มาเยอะๆ
- อัตราการจ่ายเงินปันผล (b) สูงขึ้น จุดนี้ต้องพิจารณาจากกระแสเงินสดจากการดำเนินงานว่ามีหรือไม่ ธุรกิจอยู่จุดไหนของการเติบโต โตมากอาจจ่ายปันผลน้อยหน่อย การลงทุนทุนสินทรัพย์ถาวร
- ผลตอบแทนที่คาดหวัง (k) ลดลง อย่าไปโลภมากหวังอะไรเยอะ 55555
- การเติบโต (g) ธุรกิจยิ่งโตคนยิ่งยอมซื้อในราคาที่แพงขึ้น
หุ้นตัวนี้ควรเทรดที่ PBV กี่เท่าดี
จากบทความของ อ.สรรพงษ์ [1] "การหา-pe-ที่เหมาะสมทางทฤษฎีเพื่อกำหนดกรอบราคาในการลงทุน" เรารู้ว่า
- PE = b/(k-g)
- = b/(risk free + beta)
แทนค่าเข้าไปจะได้
- PBV = ROE x (b / (risk free + beta))
- ROE ใช้ค่าเฉลี่ยยาวๆๆๆๆๆ
- b = เงินปันผล / กำไร : เงินปันผลจ่ายหาจากงบกระแสเงินสดส่วนใหญ่จะซุกไว้ในงบกระแสเงินสดจากการจัดหาเงิน ส่วนกำไรก็ใช้กำไรสุทธิของปีที่แล้ว ที่ต้องเหลื่อมไป 1 ปีก็เพราะ กว่าจะปิดงบ ปีและประชุมผู้ถือหุ้นจ่ายปันผลได้ ก็ล่วงเวลาไปอีกปีละ
- risk free ใช้พันธบัตร 1 ปี ก็ราวๆ 2.5%
- ค่าเบต้า ผมใช้กราฟของ efinanc thai ก็มี หรือเร็วๆก็เว็ปหุ้นปันผลก็มีข้อมูล
ถ้าราคาปัจจุบัน PBV สูงกว่าที่คำนวณก็แพงไปหน่อย
[1]https://www.facebook.com/notes/sanpong-limthamrongkul/การหา-pe-ที่เหมาะสมทางทฤษฎีเพื่อกำหนดกรอบราคาในการลงทุน/10202892649375690
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น
สงสัยอะไรถามได้ครับผม