วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

กรณีศึกษาการปรับโครงสร้างหนี้ของ THL บริษัท ทุ่งคาฮาเบอร์ จำกัด (มหาชน)

หุ้น THL บริษัท ทุ่งคาฮาเบอร์ จำกัด (มหาชน) ทำธุรกิจเหมืองหินสำหรับทางรถไฟ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจเหมืองทองคำ หุ้นตัวนี้เป็นหุ้นมหากาพย์ตัวหนึ่งตั้งแต่ผมเริ่มเล่นหุ้น ราคาหุ้นขึ้นลงเป็นรถไฟเหาะกับความคาดหวังในประเด็นการลงทุนเหมืองทองคำจะเข้ามาพลิกกิจการให้เติบโต

แต่เหมืองทองคำมีปัญหาไม่สามารถผลิตได้ตามแผน จนทำให้มีปัญหาหนี้สินพะรุงพะรัง จนสุดท้ายมียอดหนี้สุดท้ายที่เจ้าหนี้เรียกร้องรวมๆ ตามแผนฟื้นฟูกิจการรวมเป็นเงินกว่า 2,880 ล้านบาท และส่วนของผู้ถือหุ้นในงบรวมติดลบกว่า 1,213 ล้านบาท ว่าง่ายๆคือเจ้าของเดิมไม่เหลือเงินแล้วตอนนี้

หลังจากเจ็บมานานชีวิตไม่มีอะไรดีขึ้น จุดเปลี่ยนที่น่าสนใจอยู่ที่บริษัท THL ได้ตัดสินใจยื่นตัวเองเข้าฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลาง และศาลรับฟ้องเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2557 และแต่งตั้งบริษัทเป็นผู้บริหารแผน กระบวนการคือเรียกประชุมเจ้าหนี้ ถ้าเจ้าหนี้อนุมัติ ก็เอาแผนปรับโครงสร้างหนี้ไปให้ศาลอนุมัติ จากนั้นก็ชำระหนี้ตามแผนเรื่อยๆ หนี้หมดตามแผนก็ไปขอศาลอนุมัติออกจากแผนฟื้นฟู จบปัญหาหนี้สิน เป็นไท ได้คิดทำงานทำการต่อ

กระบวนการฟื้นฟูกิจการ


กระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ของ THL
หลังจากการประชุมเจ้าหนี้อย่างเคร่งเครียด (เดา) ก็ได้ข้อสรุปและนำข้อสรุปไปให้ศาลสั่งชำระหนี้ โดยในวันที่ 24 ตุลาคม 2558 ที่ผ่านมา

กระบวนการ การปรับโครงสร้างหนี้ จะแบ่งเจ้าหนี้ออกเป็น 7 กลุ่ม แบ่งจ่ายเป็น 5 งวด โดย THL จะชำระหนี้เงินต้นในจำนวน 520 ล้านบาท จากภาระหนี้ที่เจ้าหนี้เรียกร้องมาทั้งหมด 2,880 ล้านบาท

ชำระเงินโดยการเพิ่มทุนจดทะเบียนจากเดิม 756 ล้านบาท โดยเพิ่มทุนจดทะเบียนจากเดิมอีก 23,400 ล้านบาท รวมทุนจดทะเบียน 756+23,400 = 24,156 ล้านบาท บริษัทมีพาร์ 1 บาท ก็มี 24,156 ล้านหุ้นพอดี

จัดสรรให้ นักลงทุนแบบเฉพาะเจาะลง จำนวน 12,135 ล้านหุ้น ได้เงินมา 12,135 x 0.05 = 606 ล้านบาท เพิ่มทุนให้ผู้ถือหุ้นเดิม 4,541 ล้านหุ้น ได้เงินมา 4,541 x 0.05=227  และคงเหลือเงินที่ยังไม่ได้เพิ่มทุนอีก 6,723 ล้านหุ้น เป็นจำนวนเงิน 6,723 x 0.05 = 336 ล้านบาท

ได้เงินเพิ่มทุนมา ก็นำเงิน 100 ล้านไปชำระหนี้ และเงินที่เหลือใช้ไปเป็นเงินทุนหมุนเวียนและนำไปลงทุน ในโครงการต่างของบริษัทเช่น โรงโม่หิน ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และนำไปลงทุนในเหมืองทอง

ผลกระทบกับงบการเงิน


เจ้าหนี้ใจดีลดหนี้ให้จาก 2,880 ล้านบาท เหลือเพียง 520 ล้านบาท ทำให้เกิดกำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ 2,880-520 =2,360 ล้านบาท

ส่วนของผู้ถือหุ้น เพิ่ม1,ทุนจัดสรรให้ นักลงทุนแบบเฉพาะเจาะลง (PP) จำนวน 12,135 ล้านหุ้น ได้เงินมา 12,135 x 0.05 = 606 ล้านบาท เพิ่มทุนให้ผู้ถือหุ้นเดิม (RO) 4,541 ล้านหุ้น ได้เงินมา 4,541 x 0.05=227 รวมทั้ง เพิ่มทุนแบบเฉพาะเจาะจง และเพิ่มทุนให้ผู้ถือหุ้นเดิม ได้ส่วนทุนมา 606 + 227 = 833

เมื่อรวมกำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้และเงินจากการเพิ่มทุน ทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้น จากติดลบ 1,213 ล้านบาท กลายเป็น -1,213 + 833 + 2,360 = 1,980 ล้านบาท

คิดเป็นอัตราส่วน หนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (DE ratio) เท่ากับ 520/1,980 = 0.26 เท่า ต่ำมาก
แต่การหมดหนี้ต้องแลกกันกับ สัดส่วนผู้ถือหุ้นเดิมที่ลดลง ถ้าดูตามจำนวนหุ้นหลังจากเพิ่มทุน 24,156 ล้านหุ้น ถ้าหัก จำนวนหุ้นที่ยังไม่ได้ออกชำระ 6,723 ล้านหุ้น จะเหลือหุ้น 24,156-6,723=17,433 ล้านหุ้น
ผู้ถือหุ้นเดิม (756 + 4,541)/17,433 = 30%
ผู้ถือหุ้นใหม่ 12,135/17,433=70%
และคงเหลือเงินที่ยังไม่ได้เพิ่มทุนอีก 6,723 ล้านหุ้น

อนาคตบริษัทจะเป็นอย่างไร

หุ้น turnaround ที่แท้จริง หลังจากปรับโครงสร้างหนี้และทุนจนปัญหาจบแล้ว กิจการต้องสามารถเติบโตต่อเนื่องได้ไม่กลับมาขาดทุนอีกครั้งให้ต้องปรับโครงสร้างหนี้อีก เมื่อพิจารณาจากสัดส่วนของผู้ถือหุ้นใหม่ที่เข้ามามีสัดส่วนการถือหุ้นกว่า 70% แสดงว่าอนาคตของบริษัทนี้ขึ้นอยู่กับกลุ่มผู้ถือหุ้นชุดใหม่ที่เข้ามา จะวางแผนพาบริษัทไปทิศทางไหน


สำหรับอนาคตที่ผมมอง หลังจากคลายปมเรื่องหนี้สินได้แล้ว ก็ต้องมาจัดการส่วนงานที่มีปัญหาที่สุดคือ บริษัททุ่งคำ ทำธุรกิจเหมืองทองคำ ที่ปัจจุบันบริษัทนี้ยังมีผลการดำเนินงานขาดทุน เหมืองก็ยังขุดไม่ได้ ต้องหาวิธีเอามันออกจากงบให้ได้ ไม่งั้นผลประกอบการก็ยังเจ้งเหมือนเดิม

ในความคิดผมถ้าเป็นผมจะขายทั้งบริษัททิ้ง ขอแค่ 520 ล้านเท่าจำนวนหนี้ที่เคลียให้บริษัททุ่งคำแล้วเอาเหมืองไปเลยยกให้ จุดขายคือคนซื้อก็ได้บริษัทที่ผลประกอบการขาดทุนพร้อมกำไรสะสมไปลดภาษีตัวเองได้ แค่นี้ก็บริษัททุ่งคาก็งบการเงินรวมสะอาดละ จากนั้นอยากทำอะไรก็ทำได้แล้ว เพราะดูธุรกิจที่เหลือก็พอก็อกๆแก็กๆไปได้

โดยสรุปแล้ว หุ้น THL บริษัท ทุ่งคาฮาเบอร์ จำกัด (มหาชน) หลังจากปรับโครงสร้างหนี้ได้สำเร็จ ผมมองว่าเป็นก้าวแรกที่สำคัญของการพลิกฟื้นกิจการ เพราะทำให้ตัวเบาไปได้เยอะ หลังจากนี้คงต้องดูต่อไปละครับว่ากลุ่มเจ้าของใหม่ที่ใส่เงินเพิ่มทุนแบบเฉพาะเจาะจงเข้ามา มองเห็นอะไรและจะพาบริษัทไปในทิศทางไหน สู้ต่อไป THL

ที่มา
 [1] http://www.set.or.th/set/pdfnews.do?newsId=14509124435091&sequence=2015095007

1 ความคิดเห็น :

  1. ตอนนี้ขายเหมืองทองไปแล้ว แต่ยังมีขาดทุนสะสมอยู่ มีแนวโน้มลดทุนและค่อยเพิ่มทุนแน่นอนเลยใช่ไหมคะ (ทำให้สิทธิผถห.เดิม-จำนวนหุ้นลดไปอีก เห็นหลายบริษัทนิยมทำ)อ่ะคะ
    ราคาหุ้น

    ตอบลบ

สงสัยอะไรถามได้ครับผม