1.อัตราส่วนร้อยละ
อัตราส่วนคือ เอาตัวเลข 2 ตัวมาหารกัน จะได้ตัวเลข 1 ตัวที่สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ วิธีอ่านคือให้อ่านค่า ส่วน (ตัวหาร) เป็น 1 เศษก็เป็นค่าไป
เช่น pe คืออัตราส่วนราคาต่อกำไร การอ่านคือ ราคาหุ้นปัจจุบันเป็นกี่เท่าของกำไร จากนั้นเราก็นำค่านี้ไปตีความต่ออีกว่า บริษัทมีกำไร 1 บาท เรายอมจ่ายเงินซื้อบริษัทนี้ด้วยราคาเป็นกี่เท่า ดังนั้นถ้าบริษัทมีลักษณะคล้ายๆกัน หุ้นที่ pe ต่ำกว่าก็จะถูกกว่า
การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน idea คือการวัดประสิทธิภาพ Output/Input พอเราจับหารกัน ก็สามารถวิเคราะห์ประสิทธิภาพได้
เช่นอัตรากำไรสุทธิ สูตรคือ กำไรสุทธิ หาร ยอดขาย ก็จะได้ว่า ยอดขาย 1 บาท หักรายจ่ายแล้วเหลือกำไรเท่าไร ทีนี้พอเป็นทศนิยมมันอ่านยาก เขาก็ทำเป็น ร้อยละโดยการจับคูณ 100 เข้าไป การอ่านค่าก็จะเป็นรายได้ 100 บาท หักรายจ่ายแล้วเหลือกำไรเท่าไร
2.การเทียบบรรยัติไตรยาง
คณิตศาสตร ป4 ที่ถูกนำมาใช้บ่อยในการประมาณค่าโดยเชื่อว่า สิ่งที่นำมาเทียบกันยังมีความสัมพันธ์กันในสัดส่วนเดิม การเทียบบรรยัตไตรยางจะทำ 3 ขั้นตอนดังนี้
โจทย์ตัวอย่าง บริษัท BWG มีกำไรงวด 9 เดือนเท่ากับ 234 ล้านบาท ถ้าความสัมพันธ์ยังเหมือนเดิมอยากรู้ว่ากำไร 12 เดือนจะเป็นเท่าไร
1.จับความสัมพันธ์ของ input และ output
input คือ 9 เดือน out put คือ 234 ล้านบาท
2.จับ input ให้เท่ากับ 1
ขั้นตอนนี้ทำเพื่อหาความสัมพันธ์ของ input และ out put
9 เดือนกำไร 234 ล้านบาท
1 เดือนมีกำไร 234/9 ล้านบาท
3.ใส่ค่า input ที่เราต้องการ
9 เดือนกำไร 234 ล้านบาท
1 เดือนมีกำไร 234/9 ล้านบาท
12 เดือนมีกำไร 234 / 9 x 12 = ลองจิ้มเครื่องคิดเลขดูได้ทำเป็น
ยังใช้ได้อีกเยอะครับเช่น
หุ้น pe 10 เท่าราคา 30 บาท ถ้าตลาดปรับ pe เป็น 15 เท่าจะราคาเท่าไร
3.เพิ่มขึ้นหรือลดลงกี่ %
เริ่มจากปัญหาง่ายๆเช่น ปีนี้กำไร 250 ล้าน ถ้าให้ปีหน้าเติบโต 24% สิ้นปีจะมีกำไรเท่าไร ปัญหานี้การแก้ปัญหามาจากการเทียบบรรยัติไตรยางนั่นเองดังนี้
กำไรปีนี้ 100 บาท กำไรปีหน้าเป็น 100+24=124 ล้าน
ถ้า กำไรปีนี้ 1 บาท กำไรปีหน้าจะเป็น 124/100=1.24
ดังนั้น ถ้ากำไรปีนี้ 250 ล้านบาท กำไรปีหน้าจะเป็น 1.24 x 250 = ลองจิ้มเครื่องคิดเลขดูได้ทำเป็น
เราสามารถสรุปสูตรลัดได้เป็น
- กรณีเพิ่ม ขึ้นให้เอาตัวฐานคูณด้วย 1+%การเติบโต เช่นปีนี้ 300 ปีหน้าโต 30% ก็จะเป็น300 x (1-0.3) = 300 x 1.3 = 390
- กรณีลดลง ขึ้นให้เอาตัวฐานคูณด้วย 1-%การลดลง เช่นปีนี้ 300 ปีหน้าลดลง 20% ก็จะเป็น 300 x (1-0.2) = 300 x 0.8= 240
เรื่องนี้เป็นพื้นฐานของการคิด ผลอบแทนทบต้น
- ต้นปีมีเงิน 1 บาท ดอกเบี้ย 2% สิ้นปีที่ 1 มีเงิน 1 x 1.02 = 1.02
- สิ้นปีที่ 2 มีเงิน 1.02 x 1.02 = 1.02 ^ 2
- สิ้นนปีที่ 3 มีเงิน 1.02 x 1.02 x 1.02 = 1.02 ^ 3
- สิ้นนปีที่ 4 มีเงิน 1.02 x 1.02 x 1.02 x 1.02 = 1.02 ^ 4
- สิ้นนปีที่ 2 มีเงิน 1.02 1.02 x 1.02 x 1.02 x 1.02 = 1.02 ^ 5
- สิ้นนปีที่ n มีเงิน = 1.02 ^ n
ซื่งก็คือ future value นั่นเอง FV = PV x (1+i)^n เป็นการตอบคำถามว่า ถ้ามีเงินวันนี้เท่ากับ pv บาท ได้ผลตอบแทนทบต้น i% ในสิ้นปีที่ n จะมีเงินกี่บาท
ย้ายข้างกลับก็จะได้ present value คือ PV = FV / (1+i)^n ความหมายคือ ถ้าต้องการเงินอนาคตสิ้นปีที่ n เท่ากับ FV ด้วยผลตอบแทนทบต้น i% วันนี้ต้องลงทุนเท่าไร
ต่อยอดไปเรื่อยๆเป็น วิชาการการประเมินมูลค่า
4.การหาผลตอบแทน หรือการเติบโตเฉลี่ยแบบ CMPR
เริ่มจากอยากรู้ว่า เงินปัจจุบัน 100 บาท อีก 5 ปีกลายเป็นเงิน 400 บาท เงินงอกปีละเท่าไร
จากความรู้เรื่อง future value เรารู้ว่า 400 = 100 (1+i)^5
ย้ายสมการหาคา i จะได้ i = (400/100)^(1/5) - 1 = 0.32 แสดงว่าเงินโตปีละ 32%
สรุปเป็นสูตรทั่วไปคือ i = (FV / PV) ^(1/n) - 1
แปลเป็นภาษามนุษย์คือ เอาเงินอนาคตหารเงินปัจจุบัน ถอดรากจำนวนปี ค่าที่ได้ลบ 1
ส่วนใหญ่จะใช้งานในการหา การเติบโต ในสูตรของการประเมินมูลค่า เพราะเบื้องหลังของสูตรประเมินมูลค่าจะมาจากการคิดผลตอบแทนทบต้น ดังนั้นการหาการเติบโตเฉลี่ยแบบนี้จะเหมาะสมกว่า
5.การหาค่าเฉลี่ย
เวลาดูกราฟแล้วเห็นเส้นค่าเฉลี่ยตัดขึ้นซื้อตัดลงขาย การเข้าใจให้ลึกขึ้นจะต้องมองไปที่ที่มาของเส้นค่าเฉลี่ยว่าคืออะไร
ในเชิงสถิติ ค่าเฉลี่ย พารามิเตอร์ตัวหนึ่งที่ใช้เป็นการอธิบายลักษณะของกลุ่มตัวอย่าง เหมือน นาย ก มีน้ำหนัก 10kg ถ้าเราอยากรู้ว่าทั้งบ้านของนาย ก 15 คนมีน้ำหนักเท่าไรก็จะใช้ค่าเฉลี่ยมาเป็นตัววัด
สูตรง่ายๆ คือ เอาค่าของกลุ่มตัวอยางมาบวกกันแล้วหารด้วยจำนวน
เช่นราคาหุ้น 5 วันย้อนหลังเท่ากับ 39 38 40 39 39.5 ราคาเฉลี่ย เท่ากับ (39
คนก็นำมาประยุกต์ได้หลากหลายเช่น เทรดด้วยกราฟของค่าเฉลี่ย ค่าค่าเฉลี่ยเริ่มสูงขึ้น (วันนี้สูงกว่าเมื่อวาน ) แสดงวาทิศทางราคาเริ่มมีการปรับตัวขาขึ้นโดย ใช้ค่าเฉลี่ยเป็นแนวร้บแนวต้านอะไรก็ว่ากันไป
ในการวิเคราะห์งบ ก็เอาค่าตัวบริษัทเอง เปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของตัวเองในอดีต หรือค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม ก็จะเห็นภาพได้ดีขึ้นว่าดีหรือแย่กว่าอุตสาหกรรมอย่างไร
จะเห็นว่าการที่เราเข้าใจที่มาที่ไปของสูตรต่างๆจะทำให้เราสามารถวิเคราะห์ได้ลึกซึ้นมากขึ้น เยี่ยมจริง
ติดตามข่าวสารและสอบถามปัญหาคาใจได้ที่ (ถามได้ทุกเรื่องยกเว้นยืมเงิน)
line@ หยิบมือถือมาจิ้มเบาๆที่ลิงค์
fanpage investidea.in.th
สัมมนาวิเคราะห์หุ้นด้วยปัจจัยพื้นฐาน ดูรายละเอียดและตารางอบรมได้ที่หน้าหลักสูตร
หรือสอบถามราบละเอียดและลงทะเบียนได้ที่ Line; pat4310, หรือโทร 086-503-5023
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น
สงสัยอะไรถามได้ครับผม