วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556

akr จะอยู่หรือไป

akr โดยธุรกิจเดิมเป็นผู้นำเรื่องหม้อแปลงครับ ยอดขายหม้อแปลงอาจดีกว่า qtc trt ด้วยซ้ำ (จุดเด่นที่ connection) ถ้าอยากรู้ว่าดีอย่างไรไปดูที่งบเฉพาะกิจการครับไม่เคยขาดทุน

หม้อแปลงของ akr

ทีนี้เขาอยากโตก็ระดมทุนเข้าตลาดโม้ว่าจะมาทำโรงงานผลิตแผงโซล่าเซลครับ ภายใต้บริษัทย่อยที่ชื่อว่า เอกรัฐโซล่าร์ จำกัด
ภาพโซลาร์ฟาร์ม ขนาด 630 กิโลวัตต์ พื้นที่ 8 ไร่ ลงทุนโดย บริษัท เอกรัฐวิศวกรรม จำกัด (มหาชน) ใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดผลึกเดี่ยวซิลิคอนผลิตโดย บริษัท เอกรัฐโซล่าร์ จำกัด  ผลิตไฟฟ้าได้ปีละประมาณ 870,000 หน่วย มีรายได้ปีละประมาณ 9.5 ล้านบาท เริ่มผลิตไฟฟ้าต้นมีนาคม 2553
ที่มา: http://www.thaisolarfuture.com/product.php?id=12


ทำไปซักพักแข่งขันกับผู้ผลิตจากจีนก็ไม่ได้ รัฐก็ไม่สนับสนุน ตอนนี้ปัญหาคือโรงงานของบริษัทย่อยเป็นสินทรัพย์ที่ไม่สร้างรายได้ และมีหนี้ให้ปวดหัวเล่นที่ 1,320 ล้าน เมื่อ 31 มีนาคมปีที่แล้วปรับโครงสร้างหนี้ไป 1320 ล้านมีเงื่อนไขดังนี้
  • 500 ล้านยกให้ ถ้าจ่าย 2 - 3 หมด
  • 500 ล้านแบ่งจ่าย 7 ปี
  • 300 ล้านขายโรงงานบริษัทย่อยมาใช้หนี้

ตอนนี้ปัญหาคือ 300 ล้านต้องจ่ายภายในเดือน มีนาคม 2556 ยังเร่ขายไม่ออกเบย

ถ้าไม่เอาออกตอนนี้บริษัทแม่ต้องเอาเงินไปเลี้ยงบริษัทย่อยๆผ่านรายการเงินให้กู้ยืมแก่บริษัทย่อย ประมาณ q ละ 20 ล้าน เพื่อเอาไปจ่ายดอกเบี้ย และค่าดำเนินการนิดหน่อยๆครับ

ที่น่าสนใจคือปีที่แล้วบริษัทได้ล้างขาดทุนสะสมโดยการลดทุน + นำส่วนเกินมูลค่าหุ้นมาล้าง ทำให้ตอนนี้งบเฉพาะกิจการไม่มีขายทุนสะสมพร้อมจ่ายปันผล หรือเพิ่มทุนในกรณีเลวร้ายที่สุดครับ

สรุปว่าช่วงปี 2556 นี้ เป็น shot วัดใจครับว่าหวยจะออกแนวทางไหน โดยสรุปจะมีอยู่ 3 แนวทาง ที่จะปลดล็อคได้ คือ


  1. ขาย เอกรัฐโซล่าร์ ให้ได้(หากรัฐบาลมีการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับพลังงานแสงอาทิตย์ที่ชัดเจน โอกาสขายได้ก็มี)
    ผลกระทบ - ถ้าหากผู้ซื้อ ซื้อหุ้นทั้งหมดของ เอกรัฐโซล่าร์ งบการเงินก็จะแสดงแต่งบของ เอกรัฐวิศวกรรม เท่านั้น ซึ่งงบกำไรขาดทุน ก็จะดีขึ้นทันที ,เงินลงทุนในบริษัทย่อย ที่เคยตั้งด้อยค่าไว้ก็จะถูกบวกกลับตามราคาที่ขายได้ ,เงินที่ได้จากการขายเอกรัฐโซล่าร์ ก็นำไปใช้หนี้ตาม สัญญาปรับโครงสร้างหนี้ ทำให้ไม่ต้องเพิ่มทุนมาชำระหนี้ ส่วน 300 ล้านบาท ที่ต้องชำระปี 57(หากขายได้เงินเพียงพอต่อการชำระหนี้)
  2. รีไฟแนนซ์ จาก ธ.ทหารไทย ไป ธ.xxx แล้วดำเนินการปิดกิจการ เอกรัฐโซล่าร์
    คงมีหลายๆคนสงสัยว่า ในเมื่ิอเอกรัฐโซล่าร์ขาดทุน ทำไมไม่ปิดทิ้งไป ค่าใช้จ่ายจะได้ลดลง งบกำไรขาดทุน จะได้ดูดีขึ้น? ส่วนตัวคิดว่า น่าจะมีเหตุผล 2 อย่าง 1. เมื่อมีผู้ซื้อ ผู้ซื้อสามารถดำเนินกิจการต่อได้ทันที 2. (อันนี้สำคัญ)การปิดเอกรัฐโซล่าร์ จะทำให้ต้องบันทึกสินทรัพย์ในมูลค่าที่อาจจำหน่ายได้ แทนที่มูลค่าสินทรัพย์ตามงบดุลในปัจจุบัน เช่น ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ เฉพาะของเอกรัฐโซล่าร์ บันทึกที่ 810 ล้าน ถามว่าถ้าขายจะขายได้ 810 หรือเปล่า คำตอบ คือ ไม่ถึงแน่ๆ แล้วเท่าไหร่หละ สมมติให้มูลค่าที่อาจจำหน่ายได้ เท่ากับ 300 ล้าน มันจะเกิดอะไรขึ้น

    สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ

    ณ ไตรมาส 1/56

    2,255 = 1,830 + 425

    ถ้าหากปิดเอกรัฐโซล่าร์ (เดิมบันทึก ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ 810 ล้าน ต้องบันทึกเป็น 300 ล้าน มูลค่าลดลง 510 ล้าน)
    (2,255 - 510) = 1,830 + (425 - 510)

    ส่วนของเจ้าของ ติดลบทันที อันนี้เรื่องใหญ่

    แต่ปัญหาทุกอย่างมีทางออก ไม่ใช่ว่าบริษัทจะบันทึกสินทรัพย์เกินความเป็นจริงเท่านั้น แต่หนี้สินของบริษัท ก็บันทึกเกินความเป็นจริงเหมือนกัน เพราะยอดหนี้ที่บันทึกไว้ คือ 1,284 แต่จ่ายจริงเพียง 805 ล้าน ส่วนต่าง 479 ล้าน นี่หละสำคัญ การรีไฟแนนซ์ คือทางออก เพื่อที่จะให้มีกำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้เสียก่อน แล้วจึงปิดเอกรัฐโซล่าร์

    2,255 = (1,830 - 479) + (425 + 479)

    2,255 = 1,351 + 904 (*หน้าตางบดุลหลังรีไฟแนนซ์)
    แล้วทำการปิดเอกรัฐโซล่าร์
    (2,255 - 510) = 1,351 + (904 - 510)
    จะเห็นว่าส่วนของเจ้าของเพียงพอแล้ว ไม่ติดลบ
    เมื่อปิดเอกรัฐโซล่าร์แล้ว งบกำไรขาดทุน ก็จะดูดีขึ้นทันที
  3. การเพิ่มทุน แล้วปิดกิจการ เอกรัฐโซล่าร์
    ขั้นตอนก็คล้ายๆกับ แนวทางที่สอง แต่แทนที่จะเพิ่มส่วนของเจ้าของ โดยการรีไฟแนนซ์ เปลี่ยนเป็นการเพิ่มส่วนของเจ้าของโดยการเพิ่มทุนแทน ซึ่งแนวทางนี้น่าจะใช้เมื่อใกล้ถึงกำหนดเวลาชำระหนี้ 300 ล้าน ที่ต้องชำระในปี 57 แล้วยังปฏิบัติตามแนวทางที่ 1 หรือ 2 ไม่ได้


ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น

สงสัยอะไรถามได้ครับผม