ส่วนแรก อ้อมจากงบกำไรขาดทุน
เป็นการเปลี่ยนแปลงจากกำไรทางบัญชีให้เป็นเงินสด- จากงบกำไรขาดทุน รายได้ - รายจ่าย = กำไร
- งบกำไรขาดทุนบัญทึกบัญชีด้วยเกณฑ์คงค้าง ทำให้มีรายได้บางรายการที่ไม่ใช่เงินสด และรายจ่ายหลายรายการก้ไม่ได้จ่ายออกไปเป็นเงินสด
- กระแสเงินสดต้องการแสดงเฉพาะรายการที่เป็นเงินสด นักบัญชีจึงแปลงกำไรให้เป็นเงินสด โดย เอากำไรทางบัญชีเป็นตัวตั้ง และค่าใช้จ่ายไหนที่เป็นเงินสดก็นำมาบวกกลับ รับไดไหนที่ไม่ได้รับมาเป็นเงินสดก็เอามาหักออกจากกำไรทางบัญชี สรุปเป็นสูตรง่ายๆว่า
- ค่าบวก แปลว่ารายการนั้นไม่ได้จ่ายเป็นเงินสด
- ค่าลบ แปลว่ารายการนั้นไม่ได้รับมาเป็นเงินสด
ภาพที่ 1 การเปลี่ยนแปลงในงบกำไรชาดทุน |
- กำไรสุทธิ 229 ล้านจากงบกำไรขาดทุน เป็นตัวตั้ง ปรับปรุงด้วย
- ค่าเสื่อม 68 ล้าน ไม่ได้จ่ายเป็นเงินสดก็เอามาบวกกลับ
- หนี้สูญ 179 ล้าน ไม่ได้จ่ายเป็นเงินสดก็เอามาบวกกลับ เพราะเงินจ่ายไปตั้งแต่วันที่ให้เขากู้แล้วบัญทึกไว้เป็นลูกหนี้ในงบงบดุล พึ่งมาตัดจ่ายเป็นหนี้สูญในงบกำไรขาดทุนในไตรมาศนี้
- กำไรจากการจำหน่ายอุปกรณ์ 6.34 ล้าน อันนี้นักบัญชีเขาต้องการย้ายให้มันอยู่ใน CFI กระแสเงินสดจากการลงทุน เขาเลยเอากำไรจากการจำหน่ายอุปกรณ์มาหักออกใน CFO และมาบวกกลับใน CFI
- ที่เหลือคิดเองฝึกสมองบ้าง
- จะได้กำไรจากการดำเนินงานก่อนการเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์และหนี้สินดำเนินงานเท่ากับ 486 ล้านแปลว่าทำมาหากินบริษัทนี้ได้กำไรที่เป็นเงินสดออกมา 486 ล้านบาน
ส่วนที่ 2 อ้อมมาจากงบดุล
งบดุลเป็นการบันทึกรายการ สินทรัพย์ หนี้สิน และทุน ณ จุดใดจุดหนึ่งของเวลา ผลต่างของแต่ละจุดเวลาก็คือ flow ในช่วงเวลานั้นๆ (เพิ่มขึ้น, ลดลง) โดยการ เพิ่มขึ้นหรือลดลงในงบดุลมีความหมายดังนี้- สินทรัพย์
- สินทรัพย์เพิ่ม แปลว่าเงินลดไปซื้อสินทรัพย์นั้น บันทึกค่าลบในงบกระแสเงินสด
- สินทรัพย์ลด แปลว่าขายสินทรัพย์ออกมาได้เงิน บันทึกค่าบวกในงบกระแสเงินสด
- หนี้สิน
- หนี้สินเพิ่ม แปลว่าเงินเพิ่ม(ไปกู้เขามา) บันทึกค่าบวกในงบกระแสเงินสด
- หนี้สินลด แปลว่าเงินลด(ใช้หนี้) บันทึกค่าลบในงบกระแสเงินสด
- ทุน
- ทุนเพิ่ม แปลว่าเงินเพิ่ม(ไปเพิ่มทุน) บันทึกค่าบวกในงบกระแสเงินสด
- ทุนลด แปลว่าเงินลด(ลดทุน) บันทึกค่าลบในงบกระแสเงินสด
การอ่านให้อ่านจากหลังไปหน้าคือดูเครื่องหมายตัวเลขตามสูตร
- เครื่องหมายลบ เงินหาย ตีความว่า
- สินทรัพย์เพิ่ม
- หนี้ลด
- ทุนลด
- เครื่องหมายบวก เงินเพิ่ม ตีความว่า
- สินทรัพย์ลด
- หนี้เพิ่ม
- ทุนเพิ่ม
ภาพที่ 2 การเปลี่ยนแปลงในงบดุล |
สินทรัพย์ดำเนินงาน
- ลูกหนี้การค้า เพิ่มขึ้น 1000 ล้าน (เอาเงินให้เขากู้)
- จ่ายล่วงหน้า เพิ่มขึ้น 38 ล้าน
- สินค้าคงเหลือลดลง 22 ล้าน (ขายออก)
- ที่เหลือลองอ่านเอา
หนี้สินดำเดินงาน
- เจ้าหนี้การค้า ลดลง 12 ล้าน (คืนหนี้)
- ภาษีค้างจ่าย เพิ่มขึ้น 12 ล้าน (ค้างภาษี)
- ที่เหลืออ่านเอาเอง
ส่วนที่ 3 เงินสดสทุธิจากกิจกรรมดำเนินงาน
ค่าติดลบ 552 ล้าน ดูเผินเหมือนร้อนเงินแต่ส่วนใหญ่มาจาก เอาเงินไปใช้เขาก็ ซึ่งจะได้รายได้มาเป็นดอกเบี้ยในอนาคต ถ้าดูแลเรื่องส่วนต่างดอกเบี้ยระหว่างเงินที่กู้มากับเงินที่ปล่อยต่อ และหนี้สูญดีๆ บริษัทจะมีกำไรครับตั้งสติดีๆ จะไม่งงครับ เจริญในการลงทุนทุกท่าน
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น
สงสัยอะไรถามได้ครับผม