วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

แนวทางวิเคราะห์หุ้นบริษัทประกันชีวิต

ธุรกิจประกันชีวิตเขาว่ากำลังเติบโตในเมืองไทย แต่ปัญหาคือมันวิเคราะห์ยากครับสินค้าเขาจับต้องไม่ได้เล่นกับความเสี่ยงอย่างเดี๋ยว ใครยังไม่รู้วิเคราะห์อย่างไร วันนี้ของเจอบทความของ อ.สรรพงษ์ [1] ที่ได้รวบรวมจากแหล่งต่างๆ ทั้งตัดทอนและเสริมในที่ส่วนที่วิเคราะห์เพิ่มเติมในมุมที่ขาดให้สมบูรณ์ตามหลักวิชาการ มันยอดมาก เชิญอ่านโดยพลัน

1. ธุรกิจประกันชีวิตในปัจจุบันมีทั้งสิ้น 25 บริษัท (ณ กย. 56) จดทะเบียนใน ตลาดหุ้นมีแค่ 2 ตัวคือ SCBLIF และ BLA ซึ่งในภาพรวมทั้งอุตสาหกรรม เบี้ยประกันชีวิตรับรวม 12 เดือน ตั้งแต่มกราคม-ธันวาคม 2555 มีทั้งสิ้น 391,358.01 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนในระยะเวลาเดียวกันคิดเป็นร้อยละ 19.1 บริษัทประกันชีวิตที่มีเบี้ยประกันชีวิตรับรวมสูงสุด 10 อันดับแรก คือ

  • อันดับที่ 1 บจ.เอ.ไอ.เอ. จำนวน 103,023.22 ล้านบาท ซึ่งมีสัดส่วนการตลาดร้อยละ 26.32 
  • อันดับที่ 2 บมจ.เมืองไทยประกันชีวิต 48,867.79 ล้านบาท ส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 12.49 
  • อันดับที่ 3 บมจ.ไทยประกันชีวิต 48,846.8 ล้านบาทส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 12.48 
  • อันดับที่ 4 บมจ.ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต 41,909.44 ล้านบาท ส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 10.71 
  • อันดับที่ 5 บมจ.กรุงเทพประกันชีวิต 34,640.2 ล้านบาท ส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 8.85 
  • อันดับ 6 บมจ.กรุงไทยแอกซ่าประกันชีวิต 28,923.66 ล้านบาท ส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 7.39 
  • อันดับ 7 บมจ.อลิอันซ์อยุธยาประกันชีวิต 22,689.61 ล้านบาท ส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 5.8 
  • อันดับ 8 บมจ.ไทยสมุทรประกันชีวิต 14,800.92 ล้านบาท ส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 3.78 
  • อันดับ 9 บมจ.ไอเอ็นจีประกันชีวิต 11,401.12 ล้านบาท ส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 2.91 
  • และอันดับ 10 บมจ.ธนชาต ประกันชีวิต 10,148.37 ล้านบาท


2. ธุรกิจประกันชีวิตนั้นโดยธรรมชาติแล้วถ้าพิจารณาให้ดี จะเติบโตโดยอาศัยเงินจากผู้เอาประกันมาลงทุนนั่นเอง โดยสุดท้ายแล้วต้องคืนพร้อมดอกผล (จึงต้องมีการตั้งสำรองประกันชีวิตในด้านหนี้สินไงครับ) โดยทาวไป มี ROI ราวๆ 5-6% หรืออาจจะน้อยกว่าด้วย หลายคนคงถามว่าแล้ว จะคุ้มหรือ ลองมาพิจารณาตุ๊กตาง่ายดูว่า สมมติว่า

  • - ถ้ามีเงิน 1 ล้านบาท ถ้าลงทุนเองต้องการผลตอบแทน 20% ต่อปี สิ้นปีจะได้รวม (เงินต้น+ดอกเบี้ย) 1.2 ล้านบาท
  • - ถ้าในเงิน 1 ล้านบาท ยืมคนอื่นมาลงทุนเพิ่มอีก 99 ล้านบาท รวมเป็น 100 ล้านบาท คนให้เงินมาลงทุนบอกว่าคิดดอกเบี้ย 4% นะ เอาเงิน 100 ล้านบาท ไปซื้อพันธบัตร หรืออะไรก็ตามได้ผลตอบแทน 5% โดยให้มีความเสี่ยงต่ำเพื่อมั่นใจจะมีเงินต้นคืน ซึ่ง 5% ของ 100 ล้านบาท ก็คือ 5 ล้านบาท แต่เนื่อจากสัญยาว่าจะต้องคืน 99 ล้านบาทรวมกับดอกเบี้ย 4% คือ 3.96 ล้านบาท

สิ้นปีมีเงิน 105 ล้านบาทจากการลงทุน ต้องคืนเงินรวมดอกเบี้ย 99+3.96 = 102.96 ล้านบาท เมื่อนำมาหักออกจากเงินที่ได้มารวม 105 ล้านบาทจะเหลือ 105 – 102.96 = 2.04 ล้านบาท จะเห็นว่าเมื่อเทียบกับลงทุนเองในตอนแรกจะได้ผลตอบแทนสูงกว่า 2.04 – 1.2 ล้านบาท = 840,000 บาท หรือได้ผลตอบแทนมากกว่า 20% นี่ขนาดปีเดียวนะครับ

3. ธุรกิจประกันชีวิตเมื่อลูกค้าซื้อแล้วต้องจ่ายเบี้ยต่อเนื่อง เพราะถ้าจ่ายไม่ครบเสียผลประโยชน์ เอาคืนก่อนเสียผลประโยชน์
ในแง่คนทำประกันนอกจากได้ผลประโยชน์และความคุ้มครอง ในด้านภาษีก็ได้ผลประโยชน์ทางภาษี เป็นทางเลือกสำหรับคนออมระยะยาวแบบความเสี่ยงต่ำ

4. ธุรกิจประกันชีวิตโดยหลักแล้ว ไม่ต้องลงทุนอะไรเพิ่มมาก อาศัยความน่าเชื่อถือ ทั้งในตัวบริษัท ตัวแทน (บุคคล) เดี๋ยวนี้ก็อาศัยช่องทาง Banksurrance (ผ่านธนาคาร) จึงเห็นว่างบการเงินของธุรกิจนี้จึงเป็นเงินลงทุนในหลักทรัพย์ล้วนๆเสียส่วนมาก และเน้นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล

5. ไม่มีหนี้สิน ไม่ต้องกู้ หนี้สินหลักๆมีแต่เงินที่ต้องคืนผู้ถือกรมธรรม์ ก็คือสำรองประกันชีวิต โอกาสเจ๊งน้อยมากๆ เพราะอายุขัยคนยาวขึ้น (เว้นแต่คนตายเป็นเบือจริงๆ แต่ต้องเป็นคนที่ทำประกัน) บริษัทประกันชีวิตจึงไม่นิยมรับคนที่มีโอกาสตายเร็ว ทำให้ไม่ต้องสนใจหนี้สินมาก ดังนั้นในแง่การวิเคราะห์จึงไม่สนในเรื่อง D/E เท่าไร

6. สำหรับในประเทศไทยตลาดประกันชีวิตยังมีโอกาสในการเติบโตอีกมาก ปัจจุบันประกันชีวิตมีอัตราถือครองหรือ penetration rate อยู่ที่ 28% เทียบกับประเทศที่เจริญแล้วเค้าถือกันเกือบ 100% หรือบางที่อย่างญี่ปุ่นถือกันเกือบ 300%
แต่ทั้งนี้แม้ดูเหมือนว่าจะมี room อีกมากแต่ก็ต้องพิจารณา GDP per capita ด้วยเพราะประกันคือฃอการออม ที่คนจะมีกำลังออมได้เมื่อมีรายได้เพียงพอ เพราะคนจนยังมีอีกมากจึงไม่แน่ว่า จะมี roomได้มากหรือไม่ ดังนั้นธุรกิจนี้จึงเติบโตไปได้ดีเมื่อเศรษฐกิจเติบโตต่อเนื่องและประชาชนมีความรู้เรื่องประกันชีวิต

7.การดู FYP(first year premium) = เบี้ยรับปีแรก ซึ่งจะบ่งถึงการเจริญเติบโต ซึ่งควรจะโตทุกปี ข้อมูลเหล่านี้สามารถหาได้จากสมาคมประกันชีวิต จะเปิดเผยดีกว่าการดูตจากงบการเงิน ต่อมาคือดู RYP(renewal year premium) = เบี้ยต่อ คือเอา TP (Total premium) ของปีก่อน หักเบี้ยจ่ายครั้งเดียว (single premium) คูณอัตราคงอยู่ของกรมธรรม์ (เช่นเดียวกันสามารถหาได้จากสมาคมประกันชีวิต

TP (Total premium) = เบี้ยรับรวม คือ FYP + RYP 
ไม่ควรดูเพียง TP เพราะมันควรจะโตทุกปีอยุ่แล้วเนื่องจากมีการชำระเบี้ยประกันต่อเนื่อง ไม่ควรเอา TP มาวัดการเติบโตของธุรกิจ (ถ้า TP ไม่เติบโต แสดงว่า FYP = ส่วนต่างของ TP ปีก่อนลบ RYP ปีนี้ ซึ่ง แสดงว่าไม่มีลูกค้าใหม่หรือลูกค้าเดิมทิ้งประกันมากขึ้นอัตราคงอยู่ของกรมธรรม์ลดลงนั่นเอง

การประกันชีวิต มีรูปแบบประกัน 2 แบบคือ Endowment และNon- endowment

  • ประกันชีวิตแบบ endowment ก็คือแบบสะสมทรัพย์ที่นิยมขายกันอญู่ทั่วไป ประกันแบบนี้ต้องตั้งสำรองประกันชีวิตเพื่อคืนหลังการหมดอายุกรมธรรม์
  • ประกันชีวิตแบบ Non-endowment คือแบบไม่สะสมทรัพย์ ไม่ต้องจ่ายเงินคืนจ่ายแต่ค่าสินไหมทดแทน คล้ายๆกับประกันวินาศภัย จึงมีแต่สำรองค่าสินไหมทดแทนและค่าสินไหมทดแทนค้างจ่าย

ซึ่งถ้าบริษัทไหนขายแบบ endowment มาก แม้รายได้จะสูงในช่วงแรก แต่กำไรในอนาคตปีหลังๆมันจะต่ำครับ(เพราะเงินจ่ายคืนตามกรมธรรม์จะสูงขึ้นมาก) เพราะได้มาก็ต้องคืนเค้าไป

การประกันชีวิตจึงต้องแยกเป็นสองแบบคือประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์หรือเพื่อการออม (ที่พ่วงการคุ้มครอง) กับการประกันชีวิตแบบคุ้มครองอย่างเดียวไม่มีการออม ที่ภาษาประกันเรียกว่า PA คือคุ้มครองอุบัติเหตุ ประกันแบบนี้เหมือนวินาศภัยคือจ่ายชดเชยให่เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ถ้าตายจ่ายเต็ม ไม่ตายก็จ่ายชดเชยให้ตามสัญญา แขนหัก นอนโรงพยาบาล นิ้วขาด แขนขาด ทุพลภาพ ถ้าอยู่ในช่วงสัญญาจ่ายให้ ถ้าหมออายุสัญญาก็เลิกเหมือนวินาศภัย มักคุ้มครองปีต่อปี มีบ้างที่คุ้มครองสามปีห้าปี และแบบใหม่เพิ่มมาคือประกันสุขภาพ (PH) แบบนี้คุ้มครองเรื่องเจ็บป่วย เช่น มะเร็ง โรคหัวใจ ความดันโลหิต ถ้าเข้าโรงพยาบาลหรือไปรักษาเพราะป่วยไข้ บริษัทประกันก็จะจ่ายชดเชยให้

ปัจจุบันธุรกิจประกันชีวิตจะเน้นด้าน Non-endowment คือแบบไม่สะสมทรัพย์ มากขึ้น ในงบแสดงฐานะการเงินด้านหนี้สินจะเห็นสำรองค่าสินไหมทดแทนและค่าสินไหมทดแทนค้างจ่ายมีสัดส่วนมากขึ้น

8. ROI และ ROA ธุรกิจประกันชีวิตไม่สูงมาก ราว 5-6% (หรือบางบริษัทอาจจะน้อยกว่านั้น) ส่วนมากลงทุนในพันธบัตร (ระยะยาว) และตราสารหนี้รวมๆกันกว่า 80-90% ที่เหลือกระจายเป็นหุ้น เงินลงทุนระยะสั้น ส่วนน้อยมากๆก็จะเป็นเงินให้กู้ยืม (ปล่อยกู้สินเชื่อบ้าน)

9. ธุรกิจประกันชีวิตเปรียบเทียบธุรกิจเหมือนเขื่อนเก็บน้ำ แล้วน้ำที่ปล่อยออกจากเขื่อนคือเงินกำไรให้ผู้ถือหุ้น ถ้าบริษัทเลือกเก็บน้ำไว้ในปีแรกๆ ไม่ปล่อยน้ำออก น้ำในเขื่อนก็จะเต็มเร็ว เขื่อนกักน้ำก็คือการตั้งสำรองประกันชีวิต ถ้าตั้งสูงมากๆในช่วงแรกๆ ผู้ถือหุ้นก็จะไม่ได้อะไร แต่ปีต่อๆ มาเมื่อน้ำเต็มก็ต้องปล่อยออกมา เพราะ ไม่มีจำเป็นต้องสำรองแล้ว ซึ่งบริษัทประกันชีวิตในไทยส่วนใหญ่จะเป็นแบบนื้ เพราะอัตราการมีชีวิตยังไม่มาก เมื่ออัตราการมีชีวิตยาวขึ้นอัตรการตั้งจะลดลง

10. บริษัทประกันชีวิตทั่วไปมีสินค้าเป็น Active Life Reserve ซึ่งระยะจ่ายเบี้ยสั้นกว่าระยะเวลาคุ้มครอง ดังนั้น การตั้งสำรองจะมีการคิดเผื่อไว้สำหรับปีที่จะไม่มีเบี้ยจ่ายเข้ามา ดังนั้น จะนำ Loss Ratio มาคำนวณความสามารถของบริษัทไม่ได้เลย ต้องเข้าใจ Reserve Pattern ของบริษัทเสียก่อน บริษัทประกันชีวิตจึงไม่ควรใช้ Loss Ratio แบบประกันวินาศภัยมาใช้ (Loss Ratio = ค่าใช้จ่ายค่าสินไหมทดแทนและผลประโยชน์ต่างๆหารเบี้ยประกันรับสุทธิ)

11. เบี้ยรับในแต่ละปีก็มีความสำคัญไม่มากต่อกำไรของบริษัท เพราะสามารถเร่งเบี้ยได้ไม่ยาก แค่ออกสินค้าที่มี Margin น้อยขายง่ายๆ ขายได้ (เบี้ยประกันต่ำๆ) ขายได้เยอะแต่กำไรน้อย แค่นี้เบี้ยก็พุ่งแล้ว เป็นการทำในเชิงสัญลักษณ์มากกว่าว่ามี Market share เพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงต้องดูคุณภาพของเบี้ยว่าสินค้านั้นๆ มี Profit Margin เท่าไรโดยดูจากกำไรจากการรับประกันภัยหารเบี้ยประกันภัยรับสุทธิ

12. การประเมินมูลค่าของบริษัทชีวิตจึงต้องใช้ค่า Embedded Value + Value of New Business (ซึ่งค่าต่างๆ นี้คงต้องถามจากบริษัทอย่างเดียว คำนวณจากงบไม่ได้เลย) ซึ่งในแง่ของการวิเคราะห์เป็นปัญหาหลักทีเดียว คนที่จะลงทุนในธุรกิจประกันชีวิตต้องแยกให้ชัดเจนก่อนว่า การหา มูลค่าธุรกิจ โดยดู EB + VoNB กับการวิเคราะห์งบการเงินโดยดูอัตราสาวนต่างๆ ไม่ใช่เรื่องเดียวกัน ราคาหุ้นที่เท่ากับหรือใกล้เคียงกับ EB+VoNB อาจไม่ใช่หุ้นที่น่าซื้อเสมอ การเลือกหุ้นไม่ใช่การดูราคา แต่เป็นการเลือกเมล็ดพันธุ์ เราต้องหาเมล็ดพันธุ์ที่ดีก่อน แล้วจึงมาดูเรื่องราคา ไม่ควรดูจากราคาโดยไม่สนใจคุณภาพเมล็ดพันธุ์ (หุ้น)

13. Embedded Value ประกอบด้วยสองส่วน คือ

  1. 1. Value of In-force Business (เงินสดหรือเบี้ยปีต่อที่บริษัทจะรับเข้ามาในอนาคต โดยไม่รวมกับเบี้ยที่ขายใหม่ แล้วคิดเป็น Present Value) บวกกับ 
  2. 2. Adjusted net worth (ส่วนต่างระหว่างมูลค่าตลาดของทรัพย์สินของบริษัท ลบกับ ภาระผูกพันต่างๆ ของบริษัททั้งหมด) สรุป Embedded Value (EV) = Net Asset Value (NAV) + Value In Force (VIF) ย้ำอีกทีว่าเลขพวกนี้เราไม่มีปัญญาคิดครับ ต้องดูว่าบริษัทเปิดเผยเท่าไร ปีละครั้ง


14. Value of New Business คือ กำไรของสินค้าใหม่ที่ขายในปีนั้นแล้วคิดแบบ Cash Flow projection แล้วคิดย้อนกลับมากเป็น Present Value

15. ประกันชีวิต ควรดูอะไรบ้าง

  • 1. Earning Smooth หรอไม่ (เกี่ยวกับวิธีการตั้งสำรองและการจ่ายคืนทุนประกัน)
  • 2. Growth of VoNB
  • 3. SWOT
  • 4. Distribution Channel
  • 5. Asset Liability Management
  • 6. อัตราเติบโตเบี้ยรับ FYP
  • 7. บริษัทเก่งประกันอะไร
  • 8. Net Premium Margin



ที่มา
[1]https://www.facebook.com/sanpong.limthamrongkul/posts/10201392493192723

2 ความคิดเห็น :

สงสัยอะไรถามได้ครับผม