วันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2557

ค่าเสื่อมราคาวิธีเส้นตรงและวิธีจำนวนปีต่างกันอย่างไร

ค่าเสื่อมราคาวิธีเส้นตรงและวิธีจำนวนปีต่างกันอย่างไร บทความจากอาจารย์สรรพงษ์ [1]ครับ

มีคำถามเรื่องการคิดค่าเสื่อมราคาของโรบินสัน (ROBINS) มาดูนโยบายบัญชีครับ (จากหมายเหตุฯ ครับ)

ค่าเสื่อมราคา

ค่าเสื่อมราคาคำนวณจากมูลค่าเสื่อมสภาพของรายการอาคาร และอุปกรณ์ ซึ่งประกอบด้วยราคาทุนของสินทรัพย์หรือต้นทุนในการเปลี่ยนแทนอื่น หักด้วยมูลค่าคงเหลือของสินทรัพย์

ค่าเสื่อมราคาบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในกำไรหรือขาดทุน ตามเกณฑ์อายุการใช้งานโดยประมาณของสินทรัพย์แต่ละรายการ อาคารและอุปกรณ์ที่ซื้อหรือได้มาก่อนปี 2544 คำนวณค่าเสื่อมราคาโดยวิธีเส้นตรง ส่วนอุปกรณ์ที่ซื้อหรือได้มาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2544 คำนวณค่าเสื่อมราคาโดยวิธีผลรวมจำนวนปี ประมาณการอายุการใช้งานของสินทรัพย์แสดงได้ดังนี้

ราคาทรัพย์สินของกลุ่มบริษัทก่อนหักค่าเสื่อมราคาสะสมของอาคารและอุปกรณ์ ซึ่งได้คิดค่าเสื่อมราคาเต็มจำนวนแล้ว แต่ยังคงใช้งานจนถึง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 มีจำนวน 3,183 ล้านบาท (2554: 2,686 ล้านบาท)

ราคาทรัพย์สินของบริษัทก่อนหักค่าเสื่อมราคาสะสมของอาคารและอุปกรณ์ ซึ่งได้คิดค่าเสื่อมราคาเต็มจำนวนแล้ว

แต่ยังคงใช้งานจนถึง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 มีจำนวน 2,174 ล้านบาท (2554: 1,807 ล้านบาท)

ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ระหว่างก่อสร้าง

ระหว่างปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2555 บริษัทได้ซื้อที่ดินโดยมีความตั้งใจที่จะสร้างห้างสรรพสินค้าแห่งใหม่บนที่ดินดังกล่าว บริษัทเริ่มก่อสร้างห้างสรรพสินค้าใหม่ ทั้งนี้ต้นทุนที่เกิดขึ้นจนถึงวันที่ในรายงาน มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 772 ล้านบาท (2554: 609 ล้านบาท)

หลักทางการบัญชี

  1. การคิดค่าเสื่อมราคา สินทรัพย์แต่ละชนิด หรือแม้แต่สินทรัพย์ประเภทเดียวกัน สามารถคิดค่าเสื่อมด้วยวิธีและอายุใช้งานที่แตกต่างได้ จากการเปิดเผยในหมายเหตุฯ ของบริษัท สินทรัพย์ที่ซื้อหรือได้มาก่อนปี 2544 คำนวณค่าเสื่อมราคาโดยวิธีเส้นตรง ส่วนอุปกรณ์ที่ซื้อหรือได้มาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2544 คำนวณค่าเสื่อมราคาโดยวิธีผลรวมจำนวนปี 
  2. จากข้อมุลในงบการเงิน ในหมายเหตุ เราไม่สามารถรู้ได้หรอกว่า อะไร ส่วนไหนได้มาเมื่อไร ปีไหน เพราะนั้นไม่ใช่สาระสำคัญ
  3. สิ่งสำคัญคือ มีผลกระทบต่องบการเงินอย่างไรมากกว่า
  4. คำนวณค่าเสื่อมราคาโดยวิธีผลรวมจำนวนปีต่างกับการคำนวณค่าเสื่อมราคาโดยวิธีเส้นตรงคือ วิธีเส้นตรงเมื่อประมาณอายุใช้งานแล้ว ก็ไปหารมูลค่าต้นทุนได้มา (หักราคาซาก) อัตราค่าเสื่อมราคาจะคงที่ทุกปี ส่วนวิธีผลรวมจำนวนปี หาโดยประมาณอายุใช้งานก่อน เช่น 5 ปี ให้เอาตัวเลขผลรวม 1+2+3+4+5 = 15 แล้วคิดอัตราค่าเสื่อมดังนี้ ปีที่ 1 ใช้ 5/15 ปีที่ 2 ใช้ 4/15 ปีที่ 3 ใช้ 3/15 ปีที่ 4 ใช้ 2/15 และปีที่ 5 ใช้ 1/15 หรือคิดเป็น 33.3%, 26.7%, 20%, 13.3% และ 6.7% รวมแล้วก็เท่ากับ 100% พอดี เท่ากับเส้นตรงที่ตัดปีละ 20% ห้าปีก็ 100% เท่ากัน เพียงแต่ข้อสังเกตคือ แบบผลรวมจำนวนปี จะหักค่าเสื่อมราคาสูงในช่วงปีแรกๆ และลดลงในปีหลังๆ ถืเป็นการคิดค่าเสื่อมแบบ Declining method แบบหนึ่ง
  5. ในหลักบัญชีมีแนวคิดทางบัญชีอย่างหนึ่งคือ matching revenue concept หรือการจับคู่รายรับรายและรายจ่าย แบบเส้นตรง เชื่อว่ารายได้จากการใช้งานสินทรัพย์ (ผลิตขายของ) เกิดขึ้นค่อนข้างสม่ำเสมอ (ใช้ประสิทธิภาพการผลิตได้เต็มที่ ค่าใช้จ่ายในการบำรังรักษาเครื่องจักร (maintenance) เพื่อรักษาให้ผลิตได้สม่ำเสมอต่อเนื่อง ดังนั้นค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นจากการทยอยตัดต้นทุนสินทรัพย์ที่ใช้งานก็ควรเกิดขึ้นสม่ำเสมอคงที่ ส่วนแบบผลรวมจำนวนปี มีแนวคิดว่าสินทรัพย์จะให้ประโยชน์ (สร้างรายได้) ได้สูงในช่วงแรกๆ และประสิทธิภาพเริ่มลดลง หรือในอีกแนวคิดหนึ่ง ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นพื่อพยายามคงประสิทธืภาพการผลิต เช่นค่าบำรุงรักษาจะเริ่มสูงขึ้นในปีท้ายๆ ดังนั้นการทยอยตัดต้นทุนจึงกลับกัน โดยตัดต้นทุนเครื่องจักรสูงในปีแรกๆ และ ลดลงในปีท้ายๆ เพื่อให้รายได้และค่าใช้จ่ายโดยรวมที่เกี่ยวข้องสอดคล้องกันมากที่สุด
  6. ถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่า วิธีการคิดค่าเสื่อมราคาด้วยวิธีการแบบผลรวมจำนวนปีนั้น ในปีแรกๆ จะมีอัตราค่าใช้จ่ายสูงว่าอัตราที่เกณฑ์ทางภาษีกำหนด (5% สำหรับสิ่งปลูกสร้าง และ 20% สำหรับอุปกรณ์ เครื่องจักร เครื่องใช้สำนกงาน ฯลฯ) ผลคือเมื่อค่าใช้จ่ายทางบัญชีสูง สินทรัพย์ทางบัญชีน้อยกว่าสินทรัพย์ทางภาษี จะเกิดสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดในงบการเงิน 
  7. ในด้านการตกแต่งกำไรทางบัญชี ทำให้แนวโน้มเติบโตขึ้น หากวิเคราะห์ trend analysis พบว่าค่าขายเพิ่มขึ้นใน 3Q57 12.8% แต่ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่เพิ่มโดยรวม 14.3% (12%-21%) กำไรรวมเพิ่ม 11.1% เนื่องจากเป็นธุรกิจ trading ค่าเสื่อมราคาจึงถือเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหาร ซึ่งเพิ่ม 14.5% ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการขายเพิ่ม 21.4% การตัดค่าเสื่อมลดลงทำให้ค่าใช้จ่ายรวมที่แนวโน้มเกิดค่าใช้จ่ายในการขายสูงขึ้นจากภาวการณ์แข่งขันที่สูงขึ้น ลดแรงกดดันต่อกำไรสุทธิ

[1]https://www.facebook.com/sanpong.limthamrongkul/posts/10201876158364050?stream_ref=10

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น

สงสัยอะไรถามได้ครับผม