บางครั้งในการวิเคราะห์กิจการหนึ่งๆ เราอาจพบว่าข้อที่จะบ่งชี้ถึงปัญหาสภาพคล่องของกิจการ ในทางการลงทุนเราอาจต้องระวังหรือหลีกเลี่ยง หุ้นนั้นๆ อาจปรับตัวลงเพราะสภาพปัญหา Liquidity ในขณะเดียวกันบางหุ้นก็อาจยังไม่ปรับตัวลง อาจเพราะตลาดไม่รู้หรือคาดว่าบริษัทนั้นๆ จะแก้ปัญหาได้ ซึ่งการที่ไม่ลงหรือว่าลงแล้วจะฟื้นตัวได้หรือไม่ เราอาจต้องประเมินว่า แนวทางการแก้ปัญหาสภาพคล่องของกิจการจะสามารถพลิกปัญหานั้นได้หรือไม่
อัตราส่วนที่ใช้มองว่ากิจการเกิดปัญหาสภาพคล่องที่น่ากังวลหรือไม่นั้นต้องมองอัตราส่วนและใช้ข้อมูลหลายตัว แม้ที่หลายคนเรียนมาว่าอัตราส่วน Current ratio และ Acid-test ratio (Quick ratio) ใช้ดูนั้น ในส่วนตัวผมแล้วและด้วยประสบการณ์ในการเป็นที่ปรึกษาที่ได้สัมผัสจริงๆ มา เพียงสองค่าอาจบ่งชี้ได้ในเบื้องต้นเท่านั้น แต่ยังฟันธงไม่ได้ทุกครั้ง แต่เมื่อได้พิจารณาตัวเลขอื่นๆ ประกอบจะมั่นใจได้มากขึ้นว่าถ้าเห็นแล้วฟันธงได้เลย 99% ไม่เคยพลาด ผู้บริหารยอมรับว่ามีปัญหาจริงๆ คือ
- Current ratio (CR) < 1 อันนี้ basic แต่ถ้ามากกว่า 1 ก็ไม่ใช่ว่าดีต้องดูอัตราส่วนอื่นด้วยคือ เพราะอาจมีสภาพคล่องเทียมได้ เช่นมีสินค้าคงเหลือสูงมากๆ
- Quick ratio (QR) > 0.6 แต่ที่เรียนกันมาผิดๆ คือ ใช้สูตรอัตราส่วนนี้ว่าเท่ากับ Current assets – Inventories (สินค้าคงเหลือ) ต้องบอกก่อนว่าผิดครับ ตำรา text ไม่ผิดหรอกครับเพราะงบการเงินตัวอย่างใน text จะเป็นงบตัวอย่างว่า ส/ท หมุนเวียนมีเพียง cash + A/R + Inventory แต่ในชีวิตจริงมีรายการใน ส/ท หมุนเวียนมากกว่านี้ ดั้งเดิมจริงๆ QR = Liquid Assets/CL ซึ่ง Liquid Assets = Cash + S-T investment + เงินให้กู้ยืมแก่บริษัทฯ + A/R + รายได้ค้างรับ หรือสรุปว่าคือรายการที่พร้อมเปลี่ยนเป็นเงินได้เร็ว หลังรายการนี้ไป ก็จะเป็นสินค้าคงเหลือ และ ส/ท หมุนเวียนอื่น ซึ่งในทางบัญชี การจัดเรียงรายการในงบจะเรียงตามความสามารถ ส/ท ที่จะเปลี่ยนเป็นเงินสดได้คล่องที่สุดไปหา ส/ท ที่เปลี่ยนเป็นเงินสดได้ช้าที่สุด ดังนั้นรายการที่อยู่ต่อจากสินค้าคงเหลือย่อมแสดงว่ารอบหมุนเป็นเงินสดจะนานกว่า ส/ค แน่นอน ดังนั้นการเอาแค่ เอา Inventory ลบ จึงไม่ถูกต้อง และนำไปสู่การตีความผิดๆ ทำให้หลายคนประเมินสภาพคล่องกิจการผิด ที่ให้ QR > 0.6 เพราะตัวหารคือ Total Current Liabilities มากกว่า 60% จะเป็นหนี้สินที่เป็นเจ้าหนี้การค้าและเงินกู้ระยะสั้น การมี Liquid Assets ครอบคลุมส่วนนี้ได้ก็รอดพ้นการเกิด Temporary Bankruptcy (Technical Bankruptcy) ได้สูง
- Modified current ratio (MICR) = CFO/CL ค่าที่ดีควร > 1 ซึ่งก็บังคับกลายๆว่าค่า CFO ต้อง > 0 ค่าของกระแสเงินสดจากการดำเนินงานควรมากกว่า 0 (เป็นบวก) นั่นเอง
- Cash Cycle (CC) ในระดับถือว่าดีมาก (Excellence) คือ < 0 วัน ดีคือ 0-45 วัน พอใช้หรือปกติ 45-75 วัน มากกว่า 75-90 วัน ต้องเฝ้าระวัง มีปัญหา ส่วนมากกว่า 90 วัน ถือว่า แย่
พบบ่อยที่ บริษัทขายได้มากขึ้นแต่กลับมีปัญหาเรื่องเงินทุนหมุนเวียน หมุนเวียนไม่ค่อยทัน (กระแสเงินสดไหลออกเร็วกว่ากระแสเงินไหลเข้า) จะตามมาด้วยภาระดอกเบี้ยและภาระหนี้ที่สูง (ICR ลดลงและ D/E สูงขึ้น) ขายมาก แต่กลับไม่ค่อยมีเงินเหลือและสุดท้ายอัตรากำไรต่ำลง (Net Profit Margin)
ผลกระทบที่ต้องระวัง ภาวะเช่นนี้ กำลังบ่งชี้ว่าอาจจะนำไปสู่ภาวะ temporary bankruptcy (liquidation shortage) ยังไม่ถึงระดับ permanent bankruptcy (Liabilities > Assets) ภาวะ temporary bankruptcy ในช่วงเศรษฐกิจขาขึ้นจะยังทำธุรกิจไปได้ แต่หากภาวะเศรษฐกิจเป็นขาลง จะนำกิจการเข้าสู่ ภาวะ permanent bankruptcy อย่างรวดเร็ว
หนี้ระยะสั้นที่กิจการมีอยู่สูงมามาจาก
- หนี้เงินเบิกเกินบัญชีหรือเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน
- หนี้ T/R จาการซื้อวัตถุดิบจากต่างประเทศ (เจ้าหนี้การค้าต่างประเทศ)
- เจ้าหนี้การค้าในประเทศ
b และ c จะแสดงรวมกันเป็นรายการเดียวคือเจ้าหนี้การค้า เรื่องหนี้ T/R จาการซื้อวัตถุดิบจากต่างประเทศ ในความเห็นผมจะมองเป็นเงินกู้จากสถาบันการเงินมากกว่า (แต่เรื่องนี้ในทางปฏิบัติต้องถกกันยาว แต่อย่างไรก็ตาม ก็ถือเป็นหนี้สินหมุนเวียนอยู่ดีไม่มีผลต่ออัตราส่วน CR) โดยทางหลักวิชาการ การก่อหนี้ระยะสั้นควรจะมีไว้เพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนในการดำเนินงาน ควรจะเท่ากับ ทุนหมุนเวียนที่ต้องการ + กระแสเงินสดที่ต้องมีไว้ใช้จ่ายในช่วงเวลาที่เงินสดยังไม่เข้ากิจการ (COF X CC) ถ้าทุนหมุนเวียนเกิดเป็นประจำ (ส่วนที่เป็น permanent working capital ซึ่งมีอย่างน้อยที่ระดับได้ break-even point) คือทุนหมุนเวียนที่ต้องการนั่นเองและค่าใช้จ่ายของบริษัท ให้พิจารณาค่าใช้จ่ายคงที่ ได้แก่ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร และค่าใช้จ่ายในการผลิต
ทางแก้ไขที่ดีคือต้องปรับกระบวนการทำงานใหม่หมด เพื่อให้มีวงจรเงินสดที่เหมาะสม ถ้าทำได้ อัตราส่วนที่กล่าวมาจะดีหมดตามมาโดยอัตโนมัติ ในการวิเคราะห์ต้องเน้นดูด้าน efficiency ratio ว่ามีทิศทางฟื้นตัวทั้งระยะสั้นและยาว ปกติการดูว่า turnaround แท้จริงแบบยั่งยืนได้ยาวๆ จะต้องมองส่วนนี้ด้วย หลายคนเน้นดูแต่กำไร อาจดี แต่หากปัญหาที่แท้จริง อีกไม่กี่ปีปัญหาเดิมก็จะวกกลับมาอีก ดังนั้นหากจะลงทุนเพียงสองสามปี ก็อาจได้กำไรมากเพราะหุ้นขึ้นแรง (หลายเด้ง) แต่ถ้าลงทุนแบบเดียวกับคุณปู่วอร์เรนบัฟเฟตต์หลายสิบปีอาจไม่เวอร์คได้ แต่ในทางทฤษฎีจริงๆแล้ว หุ้น Turnaround ควรต้องฟื้นจริงๆ และไม่ควรกลับไปด้วยปัญหาเดิมๆ อีก
ทางแก้ชั่วคราวในปัญหาสภาพคล่องคือหาเงินมาใส่ในกิจการ ทำได้สองทางคือ ก่อหนี้เพิ่มหากมี room การก่อหนี้เหลือพอ นั่นคือกิจการมี D/E ในระดับยังไม่มาก วิธีนี้มักไม่แจ้งให้ตลาดรู้ เว้นแต่ออกหุ้นกู้ ซึ่งทำให้ระดับหนี้ (ความเสี่ยง) เพิ่มขึ้น ส่วนต่อมาคือการขายสินทรัพย์ (เช่น ขายสินทรัพย์ให้กองทุน อสังหาริมทรัพย์ (REIT) บ้าง กองทุนโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น) ประเด็นนี้เคยเขียนข้อดีข้อเสียมาแล้ว สุดท้ายก็คือการเพิ่มทุน ซึ่งทำให้เกิด Earning Dilution ที่กล่าวมาในส่วนนี้ล้วนเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าระยะสั้นเท่านั้น
[1]https://www.facebook.com/sanpong.limthamrongkul/posts/10202195537308324?stream_ref=10
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น
สงสัยอะไรถามได้ครับผม