วันพุธที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

P/E กับราคาหุ้น และการลงทุน

P/E กับราคาหุ้น และการลงทุน บทความดีฯจาก อ.sanpong limthamrongkul [1] ครับเชิญอ่านโดยพลัน
ดูจากกราฟของpost ก่อนหน้า P/E ตลาดหุ้นโดยรวม กราฟได้การอนุเคราะห์จาก Barton’s Global Market Trends
PE กับ SET

P/E ในกราฟ ถึงปี 2012 แต่ล่าสุด P/E ตลาดอยู่ที่ 18.38 (ณ 28/5/2013)

ถ้าใช้ EPS 4 ไตรมาสหลังสุดในการคำนวน P/E เราจะเรียกว่า “trailing P/E”
แต่ถ้าใช้ EPS พยากรณ์ไป4 ไตรมาสข้างหน้าในการคำนวน P/E เราจะเรียกว่า “projected or forward P/E”

Barton ได้แบ่ง P/E ออกเป็น 4 โซน คือ

  1. โซน P/E ถูก ซึ่งเกิดจากภาวะตลาดขาลงแรงๆ ที่ P/E ต่ำกว่า 6 เท่า
  2. โซน P/E ปกติ อยู่ในกรอบกว้างหน่อย คือ 6 ถึง 16 เท่า
  3. โซน P/E แพง เกิดจากภาวะตลาดกระทิง นักลงทุนแห่เข้ามาลงทุน กรอบอยู่ที่ 16-25 เท่า (ขณะนี้อยู่ในโซนนี้)
  4. โซน P/E แพงมากๆ เกินกว่า 25 เท่า (อันตราย) โซนนี้ เกือบ 40 ปีที่ผ่านมา หุ้นไทย ไปแตะแค่ 3 ครั้งเท่านั้น

การดู P/E ย้อนหลัง 4 ไตรมาส จริงๆแล้ว ไม่สามารถบ่งบอกได้ว่าหุ้น หรือดัชนีนั้นถูกหรือแพงแบบเต็มปาก 100%

นักวิเคราะห์จึงพยายามคาดการณ์อนาคตของบริษัทโดยประเมินว่า 4 ไตรมาสต่อไป กำไรจะเป็นเท่าไหร่ ซึ่งโดยปกติ บริษัทที่มี EPS Growth โตต่อเนื่อง จะมีค่า Forward P/E ต่ำ Historical P/E อยู่แล้ว (หรือ แปลว่า ค่า E ในอนาคต สูงกว่าในอดีตนั้นเอง)
ส่วนความถูกต้องแม่นยำของการวิเคราะห์กำไรนั้น นั้นก็เป็นหน้าที่ที่ต้องพิจารณากันเอาเอง ยังไงๆก็ไม่สามารถพูดได้เต็มปาก 100% ว่า Forward P/E ถูก แล้วหุ้นน่าเก็บอยู่ดีเพราะในภาวะที่อะไรๆ ดูดีนั้น มักมีมุมมองในเชิงบวกสูง ทำให้ Forward P/E เกิด bias

ความสัมพันธ์ P/E, P/BV และ ROE

P/BV หาร P/E จะได้ = E/BV ซึ่งในที่นี้ E คือกำไรต่อหุ้น ส่วน BVคือมูลค่าตามบัญชีของส่วนผู้ถือหุ้นต่อหุ้น หากเราคิดง่ายโดยไม่ไปดูเรื่องค่าเฉลี่ยแล้ว P/BV หาร P/E ก็คล้ายกับค่า ROE นั่นเอง วิธีนี้ใช้ดูหยาบๆ แบบเร็วๆ หุ้นที่มี P/E ต่ำกว่า ในขณะที่มี P/BV เท่ากันหรือใกล้เคียงกันย่อมดีกว่า ปกติหลายคนอาจมอง P/BV ที่ต่ำๆด้วย ต้องเตือนกันไว้ก่อนว่า หลักมาตรฐานการบัญชีปัจจุบัน ให้มีการปรับมูลค่าสินทรัพย์เพิ่มขึ้น แต่ไม่นำกำไรรวมในงวดปัจจับันแต่ให้รับรู้ในงบกำไรเบ็ดเสร็จแทน เช่น การตีมูลค่าเพิ่มในที่ดินอาคารและอุปกรณ์ การตีมูลค่าเงินลงทุนเผื่อขาย เงินลงทุนระยะยาวตามราคาตลาดยุติธรรม หรือแม้แต่การซื้อเงินลงทุนที่สูงมากจนมีค่าความนิยมสูงๆ รายการเหล่านี้ล้วนทำให้ P/BV ต่ำลงโดยไม่เกิดผลกำไรต่อธุรกิจ รายการเหล่านี้ทำให้ D/E ต่ำลงดูดีขึ้น ในทสงบัญชีเพียงต้องการให้แสดงมูลค่าสินทรัพย์สอดคล้องกับมูลค่าตลาดเท่านั้น มูลค่าที่สูงขึ้นดีในแง่ Liquidation or Breakup Value เท่านั้น แต่ราคาหุ้นส่วนมากอิงกับผลประกอบการ เรื่องมูลค่าเคยเขียนหลักการไว้ก่อนนี้บ้างแล้ว ดังนั้นการเรือกวิธีการประเมินราคาต้องใช้ให้ถูกจังหวะ

ค่า P/BV หาร P/E นี้ ใช้ดูเทียบเร็วง่ายๆ ระหว่างเทรดได้ด้วยว่า หุ้นที่มาเร็วมาแรงตอนนี้ เบื้องต้นมันมีอะไรดีจรงไหม จะเล่นตามและเร็วดีหรือไม่ เพราะขรธ trade ข้อมูล P/E และ P/BV หาง่ายมีให้ระหว่าง trade แต่ถ้าต้องไปเปิดงบดู ผมว่าบางทีเสียเวลา และหลายคนก็ไม่ไปเปิดด้วยซ้ำในเวลานั้น เอาแบบนี้ก็ง่ายและเร็วดี

ข้อคิดน่าสนใจจาก ปีเตอร์ลินท์


  • ผล ประกอบการของบริษัทและราคาหุ้นอาจจะไม่มีความสัมพันธ์ในระยะสั้นหนึ่งเดือน หรือสองเดือนแม้กระทั้งสองหรือสามปี แต่ในระยะยาวผลประกอบการของบริษัทและราคาหุ้นมีความสัมพันธ์กัน 100 เปอร์เซ็นต์
  • ถ้ายังหาหุ้นที่น่าลงทุนไม่ได้ จงอย่าลงทุนและนำเงินไปฝากธนาคารจนกว่าจะหาเจอ
  • ถ้าพูดถึงบริษัทขนาดเล็กคุณควรจะรอจนกว่าบริษัทมีความสามารถทำกำไรสม่ำเสมอ แล้วค่อยตัดสินใจลงทุน
  • ถ้าคุณอยากลงทุนในอุตสาหกรรมที่กำลังอยู่ในช่วงวิกฤต จงลงทุนในบริษัทที่มีโอกาสที่จะรอดจากช่วงวิกฤตได้เท่านั้น (อันนี้ต้องดูกันให้ดีๆ-ผู้เขียน)
ที่มา https://www.facebook.com/sanpong.limthamrongkul/posts/10200384951924821

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น

สงสัยอะไรถามได้ครับผม