วันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2556

AKR จะ turn around

มหากาพย์ AKR ใกล้จบแล้วเนื้อหาในช่วงต้นมา จาก http://value.exteen.com/20120404/akr-turn-around เขียนไว้ตั้งนานตั้งแต่วันที่ซื้อหุ้นตัวนี้ แต่ web เน่าไปแล้วเปิดได้บ้างไม่ได้บ้างย้ายบทความมานี่ละกัน

AKR บริษัท เอกรัฐวิศวกรรม จำกัด (มหาชน) ทำมาหากินเกี่ยวกับ ผลิตหม้อแปลงไฟฟ้าและบริการซ่อมบำรุงรักษา รับออกแบบติดตั้งรวมทั้งก่อสร้างสถานีไฟฟ้าย่อย
ตัวธุรกิจเดิมไม่มีปัญหาได้กำไรทุกปี ตอนปี 50 เข้าตลาดมาระดมทุน + กู้เงินเพื่อสร้างโรงงานผลิต Solar cell แล้วก็เจ้งไม่เป็นท่า ตอนนี้ก็ฮิตทำ Solar farm แต่ไม่เห็นมีใครซื้อซักเจ้า T^T แต่ออกข่าวโม้ซะดิบดี
วันที่ 30 มีนาได้ลงนามปรับโครงสร้างหนีกับธนาครกรุงไทย[1] หนี้ก่อนปรับโครงสร้าง 1,320 ล้าน เหลือต้องจ่าย 2 ส่วนคือ 505 ล้าน กับ 300 ล้านจากการขายโรงงานภายในปี 2557  ข้อดีคือบริษัทจะได้จ่ายดอกเบี้ย MLR จากตอนนี้ต้องจ่ายดอกเบี้ยผิดนัดชำระ ( 1,320-805=515  จะบันทึกเป็นกำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ในไตรมาศ 1 หรือเปล่าไม่มั่นใจ )
ที่น่าสนใจคือ
ปี 2553 บริษัทหักขาดทุนจากบริษัทย่อยหมดแล้ว เพราะขาดทุนเกินทุนเรียบร้อยTongue out แต่ถ้าหาผู้ร่วมทุนได้เงินก้อนนี้ก็จะพลิกกลับมาเป็นกำไรWink
  • หนี้สงส้ยจะสูญ 275 ล้าน
  • เงินลงทุนบริษัทย่อย 700 ล้านเกลี้ยง
ปี 2554 [2] บริษัทมี EBITDA     204.26 ล้านแสดงว่าธุรกิจเดิมก็ยังไปได้อยู่
  • ค่าใช้จ่ายจากการผลิตไม่เต็มกำลังการผลิต 48 ล้าน<--ถ้าขายตัวถ่วงไปได้ก็ไม่มีค่าใช้จ่ายตัวนี้อีกนะ
  • ค่าใช้จ่ายทางการเงิน 150 ล้าน <-- เป็นอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหลังปรับโครงสร้างหนี้มันจะลดลงกลับมาจ่ายแค่ MLR
  • ขาดทุนสะสม 807 ล้านบาท <--ล้างด้วย กำไรจากการ Hair cut + ส่วนล้ำมูลค่าหุ้น 297 ล้าน + ลดทุน

Update:14 พฤษภาคม 55

จากงบการเงิน Q1  จะเห็นว่า ยอดขายเพิ่มเป็น 503.23 ล้าน จาก 325.21 ล้านCool อัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มจาก 19% เป็น 24% Cool กำไรก่อนดอกเบี้ยจากและภาษี อยู่ที่ 40 ล้าน จากติดลบ 19 ล้านCool ส่วนดอกเบี้ยค้างชำระ 500 กว่าล้านจะบันทึกเมื่อชำระหนี้ได้ตามแผน(เขียนในหมายเหตุประกอบงบ)Tongue out
แต่พึงเซ๊นต์สัญญาปรับโครงสร้างหนี้ไปเมื่อ 30 มีนาทำให้ ไตรมาศแรกยังบันทึกต้นทุนทางการเงินในอัตราผิดนัดชำระอยู่ที่ 35 ล้าน ทำให้ net แล้วยังขาดทุนอยู่ 11 ล้านTongue out แต่ไตรมาศต่อไปจะกลับมาจ่ายที่ MLR แล้วหวังว่าชีวิตคงจะดีขึ้น และขายโรงงานผลิตแผงโซล่าเซลได้ไวๆนะครับ

Update:19 มิถุนายน 55

แสงสว่างรำไร มีการลดทุนล้างขาดทุนสะสม[3] โดยการลดพาร์จาก 1 บาทมาเป็น 0.8 บาทเอาส่วนต่างมาล้างขาดทุนสะสมได้ 100 กว่าล้านCool แถมออกข่าวในกรุงเทพธุรกิจ[4]ว่าจะปิดบริษัทปลายปีนี้ เหตูเพราะนโยบายรัฐไม่นิ่ง

Update: 18 กรกฎาคม 2555

ไปประชุมผู้ถือหุ้นมาพบว่าล้างขาดทุนสะสมแค่บริษัทแม่อย่างเดียวก็จ่ายปันผลได้แล้ว สรุปก็คือล้างขาดทุนสะสมแค่ "512" ล้านในงบการเงินเฉพาะกิจการ ไม่ใช่ 852 ล้านในงบรวมตามที่คิดไว้ตอนแรกครับ ด้วยวิธีการดังนี้
  • ใช้ ส่วนเกินมูลค่าหุ้นสามัญ 296 ล้าน
  • ส่วนเกินจากการลดทุน 158 ล้าน
  • สำรองตามกฎหมาย 35 ล้าน
สรุปว่าวันนี้เหลือขาดทุนสะสมแค่ 24 ล้านจาก 512 ล้าน ด้วยการยกมือเพียงครั้งเดียว เย้ Cool น่าจะเห็นขาดทุนสะสมลดลงในงบไตรมาศ 3 ครับถ้าโชคดีอาจได้เงินปันผลครั้งแรกในรอบหลายปี
ส่วนเรื่องหนี้สินผู้บริหารพูดอย่างมั่นใจว่ามีจ่ายแน่ๆครับ

Update 18 สิงหาคม 2555

ยอดขายดีขึ้น ค่าใช้จ่ายทางการเงินลดลงจากผลของการปรับโครงสร้างหนี้ net แล้วขาดทุนไตรมาศนี้ 8 แสนบาท Cool  มีรายการหนึ่งที่น่าสนใจคือ
  • หมายเหตุข้อ 5, ในงบการเงินเฉพาะกิจการ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2555 บริษัทฯได้จ่ายค่าหุ้นเพิ่มทุนเป็นเช็คให้แก่บริษัทย่อย จำนวน 300 ล้านบาท และบริษัทย่อยได้นำเช็คดังกล่าวมาชำระคืนเงินให้กู้ยืมและดอกเบี้ยค้างรับ จำนวน 211.97 ล้านบาท และลูกหนี้การค้า จำนวน 88.03 ล้านบาท
แค่เขาเช๊คโยนไปโยนมา รายการระหว่างกันในหมายเหตุข้อ 27 โดยเฉพาะเงินให้กู้ยืมแก่บริษัทย่อยหายเกลี้ยง เหลืออยู่ 19 ล้านเพราะให้เอาเงินไปจ่ายดอกเบี้ย หวังว่ารายการนี้คงจะเป็นการทำความสะอาดลูกเพื่อขายทิ้งได้ซะทีนะ สาธู้
เหลือ lock ตัวสุดท้ายคือการขายบริษัทย่อยออกไปในปีนี้ซึ่งก็ยังไม่มีความชัดเจนอะไรซักอย่าง ก็คิดในกรณีเลวร้ายที่สุดแล้วกันก็คือขายไม่ออกต้องหาเงิน 300 ล้านมาโป๊ะในปีหน้า เริ่มต้นกวาดตาหาทรัพย์สินหน้าตักเราก่อน
  • เงินสด 71 ล้าน
  • กระแสเงินสดจากการดำเนินงานอีก 2 ไตรมาศถ้าทำได้เท่า H1 ก็อีก 66 ล้าน
รวมได้ 137 ล้าน ขาดอีก 163 ล้าน(300-137)
อาจจะเพิ่มทุนอีกซัก 150-200 ล้านก็พอใช้หนี้ เฉพาะหน้าอีก 500 ที่เหลือก็ผ่อนจ่าย 7 ปีไม่น่ามีปัญหาอะไร

Update 28 กันยายน 2555

ไปเยียมชมกิจการมา ir เขาว่าตอนนี้ก็ยังหาคนมาซื้อลูกไม่ได้ แต่ขณะนี้กำลังพยายามที่จะ refinance ทั้งก้อนอยู่ครับ อยู่ในขั้นตอนที่แบงค์สองแบงค์คุยกันอยู่ถ้าคุยกันจบก็จะบันทึกส่วนต่างจาก
  • 1300 - เงินที่เอามาโป๊ะ = กำไรพิเศษ
ใช้สินทรัพย์ของบริษัทแม่เป็นตัวค้ำประกัน ถ้าทำได้สินทรัพย์ของบริษัทย่อยก็จะฟรี ล็อกหน้าประตูบริษัทเป็นสินทรัพย์ที่ไม่ได้ใช้งานได้เลย เอาไปเร่ขายซากอย่าให้ต่ำกว่าบุ้กแล้วกัน
ถ้าปัญหาจบเขาว่าจะโตจากหม้อแปลงนี่แหละ ไม่ยุ่งกับนโยบายรัฐแล้วเข็ด
เดี๋ยว Q3 มาลุ้นกันต่อ

Update 13 พฤศจิกายน 2555

ชีวิตเริ่มดีขึ้น จากงบกำไรขาดทุนงวด 3 เดือน ไตรมาศ 3  รายได้เพิ่มขึ้น 22.43 % จาก 497ล้านบาท เป็น 609 ล้าน อัตรากำไรขึ้นต้นก็เพิ่มขึ้นจาก 19%  เป็น 25% ,ต้นทุนทางการเงินจากอัตราดอกเลี้ยผิดนัดที่กลับมาจ่าย MLR ทำให้กำไรสุทธิเป็นบวก 31 ล้าน พลิกจากขาดทุน 29 ล้าน
แต่ถ้าดูในงบเฉพาะกิจการมีกำไร 49 ล้านถ้าเอาเงินให้กู้ยื่มแก่บริษัทย่อย 19 ล้านมาบวกกลับนี่แสดงว่า เฉพาะกำไรจากหม้อแปลงไตรมาศ 3 เกือบ 70 ล้านเลยทีเดียวCool แสดงว่าถ้าบริษัทอยากจ่ายปันผลก็จ่ายได้เลยครับเพราะ ตอนนี้งบเฉพาะกิจการมีกำไรสะสมอยู่ 39 ล้าน จากขาดทุนสะสม 557 ล้านในปีที่แล้วCool
ส่วนเอกรัฐโซล่าที่เป็นตัวถ่วงกิจการอยู่ก็ยังไม่ชัดเจนว่าจะเอาอย่างไร ขายได้หรือเปล่า กำหนดการที่ต้องจ่าย 300 ล้านก็ใกล้เข้ามาทุกทีแล้วววววว เรื่อง refinance ก็ยังไม่ได้ข้อสรุปLaughing

Update 1 มีนาคม 2556

AKR งบปีออกแล้ว งบรวมกำไร 111 ล้านบาท ซึ่งรวมขาดทุนจากบริษัทย่อยไปแล้ว 173 ล้านบาท แสดงว่าตัวแม่จริงๆกำไรเท่ากับ 111 + 173 = 284 ล้าน กำไรสูงที่สุดตั้งแต่เปิดบริษัทมาเลยทีเดียว เยี่ยมมากครับ ส่วนบริษัทย่อยก็ยังขายไม่ออกเหมือนเดิมเป็นตัวถ่วงต่อไป

Update 27 ตุลาคม 2556

เมื่อเย็นวันที่ 25 ตุลาคม 2556 ได้มีข่าวสำคัญคือ ประกาศเพิ่มทุนที่อัตราส่วน 1 หุ้นเดิมต่อ 0.6 หุ้นใหม่ ในราคา 0.8 บาทต่อหุ้น ปัจจุบันมีจำนวนหุ้นทัั้งหมด 839,555,877 หุ้น จะมีหุ้นใหม่เพิ่มขั้นมาเท่ากับ 503,733,527 หุ้น รวมมีหุ้นเท่ากับ 1,343,289,404 ซึ่งจำนวนหุ้นที่เพิ่มขึ้นมาส่งผลดังนี้

1. ผลกระทบด้านการลดลงของสัดส่วนการถือหุ้น (Control dilution)
 สามารถคำนวณได้ดังนี้ Control dilution = Qe/(Qe +Qo)

  • โดยที่  Qe = จำนวนหุ้นใหม่เพิ่มขั้นมาเท่ากับ 503,733,527 หุ้น
  • Qo = จำนวนหุ้นเดิมเท่ากับ  839,555,877 หุ้น
  • Control dilution = 503,733,527/(503,733,527 +839,555,877)
  •  Control dilution = 37.5%
ถ้าเพิ่มทุนแล้วสามารถทำให้กำไรโตมากกว่าสัดส่วนหุ้นที่เพิ่มเข้ามาก็คุ้มละ

2. ผลกระทบด้านการลดลงของราคาหุ้น (Price dilution)
สามารถคำนวณได้ดังนี้ Price dilution = (Po - Pnew) / Po
  • โดยที่ Po เป็นราคาสิ้นวันที่ 1.67
  • Pnew = (Po x จำนวนหุ้นก่อนเพิ่มทุน) + (ราคาเพิ่มทุน x จำนวนหุ้นเพิ่มทุน) / (จำนวนหุ้นก่อนเพิ่มทุน + จำนวนหุ้นเพิ่มทุน)
  • Pnew = (1.67 x 839,555,877) + (0.8 x 503,733,527) /( 503,733,527 +839,555,877)
  • Pnew = 1.34
  • Price dilution = (1.67-1.34)/1.67 = 19.5%
วัน XR ถ้าราคาอยู่ที่ 1.67 จะเกิดPrice dilution ตามตำราที่ 19.5% ถ้าตอนเช้าเปิดตลาดมาราคาลงต่ำกว่า 19.5% ก็กำไร

ได้เงินมาเอาไปทำอะไร



เพิ่มทุนเอาไปทำอะไร

สรุปก็คือ ตัวแม่เพิ่มทุนมา 400 ล้าน กู้ KBANK มาอีก 400 ล้าน ได้เงินมา 800 เอาไปซื้อเครื่องจักรจากบริษัทย่อยที่ 800  ล้านลาท  (ซื้อที่ราคาทุนก็ไม่มีขาดทุนจากการด้วยค่าสินทรัพย) บริษัทย่อยก็เอาเงินไปโป๊ะหนี้ TMB จ่ายหนี้ครบก็จะได้กำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ จาก TMB 475 ล้านบาท (ในรูปทำตัวเลขกลมๆ)

ทำแล้วได้อะไร

  • หนี้ก้อนใหญ่ลดลงจาก 1,275,444,008.45 บาท (หนี้สินระยะยาวตามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ ณไตรมาศสอง 2556) เหลือแค่หนี้ที่กู้จากกสิกรแค่ 400 ล้าน หรือหนี้ลดลงเท่ากับ 875 ล้านบาท 
  • ส่วนทุนเพิ่มขึ้นสองส่วนจาก
    • กำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ 475 ล้าน
    • ส่วนทุนที่ระดมทุนเพิ่มเข้ามา 400 ล้าน
  • คิด DE ratio จาก 4 เท่าจะเหลือเท่ากับ (1,768.36 -875)/(417.53 +475+400) = 0.7 สามารถกู้เงินมาทำโครงการในอนาคตได้อีกเพียบ
  • ข้อเสียคือจำนวนหุ้นเพิ่มมาเยอะบริษัทจะทำกำไรโตทันหรือไม่ 
UPDATE 12 พฤศจิกายน 2556
งบ AKR ไตรมาศสาม งบรวมขาดทุน 6 ล้าน บริษัทย่อยตัวถ่วงเหมือนเดิม
-รายได้การขายใกล้เคียงเดิม รายได้ค่าบริการลดลง
- อัตรากำไรขั้นต้นดีขึ้น
- ค่าใช้จ่ายในการผลิตไม่เต็มกำลังการผลิต 40 ล้านคือค่าเสื่อมของเครื่องจักรของบริษัทย่อย
- มีขาดทุนจากการด้วยค่าเครื่องจักร 30 ล้าน ตรงนี้คือบริษัทให้ผู้ประเมินราคาอิสระประเมินราคาเครื่องจักรของบริษัทย่อยใหม่ ก่อนที่บริษัทแม่จะซื้อเข้ามาหลังจากที่เพิ่มทุนแล้ว ประเมินใหม่อีกรอบก็ 3 ปีข้างหน้านู้นนนน
- กำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษีที่ 112 ล้าน
- หักดอกเบี้ย 52 ล้าน และภาษี 41 ล้าน งบ 9 เดือนกำไร 19 ล้าน
- ลองคิดเล่นๆ หลังจากเพิ่มทุนปีหน้า หนี้จาก 1300 จะเหลือ 400 ทำให้ดอกเบี้ยจ่ายลดลงครึ่งนึง นอกจากนั้นดอกเบี้ยจ่ายและค่าเสื่อมจะย้ายมาอยู่ในงบเฉพาะกิจการทำให้สามานำค่าใช้จ่ายส่วนนี้มาประหยัดภาษีของบริษัทแม่ได้ถ้าให้กำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษีเท่าเดิมจะงบ 9 เดือนจะมีกำไรสุทธิท่ากับ (112 - (52/2))x0.8 =68 ล้านบาท มันเยี่ยมจริง
สู้ต่อไป AKR กลับมาทำสิ่งที่ตัวเองถนัดแล้ว turn around ซะ

ที่มา
[1] http://www.settrade.com/simsImg/news/2012/12015613.pdf
[2] http://www.set.or.th/set/factsheet.do?symbol=AKR&language=th&country=TH
[3] http://www.set.or.th/set/pdfnews.do?file=http%3A%2F%2Fwww.set.or.th%2Fdat%2Fnews%2F201206%2F12028984.pdf
[4] http://www.irplus.in.th/Listed/AKR/read_detail.asp?topic=clipping&name=akr_bkkbizn_190612.pdf

39 ความคิดเห็น :

  1. ขออนุญาติแชร์นะครับ ข้อมูลเป็นประโยชน์มากๆเลยครับ
    ล่าสุด IR แจ้ง 475 เข้า Q4 เพิ่มทุนถ้าไม่หมดจะ PP
    และโซล่ามีแพลนที่จะปิด อยู่ระหว่างการหาวิธีการครับ

    ตอบลบ
  2. สรุปคือ ตอนนี้ควรซื้อหุ้นตัวนี้หรือไม่ ราคาอยู่ที่ 1.14 บาท ติด XR อยู่ค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ถ้ามีหุ้นอยู่ก็ควรซื้อครับ ต้นทุนจะลงมาอยู่ประมาณ 1.3
      ถ้าไม่ใส่เงินเพิ่มก็ขายมาเพิ่มทุนครับ

      ลบ
  3. " (112 - (52/2))x0.8 =68 ล้านบาท มันเยี่ยมจริง" ตรง ตัวคูณ 0.8 ไม่ทราบมีที่มาจากอะไรครับ
    ผมพึ่งเริ่มอ่านเรื่องวีไอนะครับ ทยอยอ่านบล็อกพี่จนหมดแล้ว เข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง เด๋วจะอ่านซํ้าอีกรอบครับ
    ขอบคุณมากครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. มาจากอัตราภาษี20%ครับ เลยจับ0.8มาคูณ

      คิดเต็มๆก็
      ((112-(52/2))-0.2(112-(52/2))
      =(112-(52/2)(1-0.2)
      =(112-(52/2)x0.8

      ลบ
  4. น่ากลัวว่าราคาจะต่ำกว่าบาทจัง ติดดอยอยู่ด้วย ซื้อเพิ่มดีมั้ยครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ราคานี้ไม่ตายหรอกครับ เดี๋ยวงบปีออกเดือนกพน่าจะมีอะไรดีๆ เพราะส่วนใญ่หม้อแปลงจะดีช่วงq4ครับ

      ลบ
  5. ขอบคุณครับ ผมเพิ่มทุนไปแล้ว แล้วก็ต้องซื้อเพิ่มอีกให้ราคาเฉลี่ยย่อลงมาหน่อย ขอบคุณที่ให้กำลังใจครับ

    ตอบลบ
  6. กังวลเรื่อง solar cell แม้จะมีการปรับโครงสร้างทางการเงินได้สำเร็จก็ตาม จะขายแข่งกับ แผงราคาถูกจากจีนได้หรือเปล่า ? จะหวังพึ่งนโยบายรัฐก็ดูจะไม่แน่นอน (ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลนโยบายอาจเปลี่ยนอีก) หลังเพิ่มทุนจำนวนหุ้นก็เพิ่มขึ้นมาอีกเยอะธุรกิจหม้อแปลงอย่างเดียวคงเอาไม่อยู่ สุดท้ายต้องเอากำไรหม้อแปลงไปอุดขาดทุนธุรกิจ solar cell อีกตามเคย

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. เรื่องsolar คงขาดทุนได้เท่านี้แหละคือค่าเสื่อม ที่ไม่ได้จ่ายออกไปเป็นเงินสด และดอกเบี้ยซึ้นปีหน้าก็จะลดลงไปเยอะ แต่จากการที่ตัวแม่กู้มาซื้อเครื่งจักรจากลูกทำให้ค่าใช้จ่ายส่วนนี้มาอยู่ในงบแม่.ทำให้สามารถช่วยแม่ลดภาษีได้ครับ

      ต่อไปงานsolarที่รับน่าจะเป็นงานติดตั้งได้งานมาก็ไปซื้อแผงจากจีนมาติดคงไม่ขาดทุนละ

      ลบ
  7. กสิกรไทย ให้กู้ 855ลบ.แก่บมจ.เอกรัฐวิศวกรรมใช้หมุนเวียนในกิจการจำหน่ายหม้อแปลง นายวศิน วณิชย์วรนันต์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย และ นายดนุชา น้อยใจบุญ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอกรัฐวิศวกรรม จำกัด(มหาชน) ร่วมลงนามสนับสนุนทางการเงิน จำนวน 855 ล้านบาท เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการผลิตและจำหน่ายหม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่าย (Distribution Transformer) ทั้งชนิดแบบน้ำมันและแบบแห้ง รวมทั้งบริการบำรุงรักษาและซ่อมแซมหม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่าย ณ ธนาคารกสิกรไทย อาคารพหลโยธิน เมื่อเร็วๆ นี้
    ที่มา-ฐานเศรษฐกิจ วันพุธที่ 04 ธันวาคม 2013 เวลา 16:32 น. ณัฐญา เนตรหิน ข่าวประชาสัมพันธ์ - ข่าว ตกลง akr ไม่ได้กู้ 400 ล้านบาทเพื่อไปใช้หนี้ tmb หรือครับ งง!!!

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. เงินกู้จาก kbank มีสองชุดครับ
      1 กู้ 400 + เพิ่มทุน400 มาโป๊ะหนี้ TMB 1300 จบสนิท
      2 กู้ OD 400 มาเป็นเงินทุนหมุนเวียน

      จากที่ประชุมวันที่ 20 จะเอาเงินไปจ่ายหนี้ วันนี้ DE จะเหลือ 0.7 ครับ

      ลบ
  8. รัฐบาลยุบสภาฯแล้ว โซล่าร์ชุมชน 800 mw จะเป็นหมันหรือเปล่าครับ ดูๆแล้วแค่บริษัทในตลาดฯ เช่น spcg, gunkul, solar, demco คงชิงส่วนแบ่งไปมากกว่า 60-80%แล้ว ยังไม่นับรวมบริษัทที่อยู่นอกตลาดทั้งของไทยและต่างประเทศอีกนับไม่ถ้วน ในขณะที่เอกรัฐฯ หลายปีที่ผ่านมายังไม่เห็นผลงานรับเหมาติดตั้งแผงโซล่าร์เลย โซล่าร์ฟาร์มที่ปราจีนบุรี เฟสแรก 0.6 mw ก็จ้างคนอื่นทำ (วันเดือนปีที่ก่อสร้าง: พฤศจิกายน 2552 - กุมภาพันธ์ 2553

    สถานที่ก่อสร้าง: อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี ถนน 3079 กม. 2

    รายละเอียด: บริษัท ไทยโซลาร์ฟิวเจอร์ จำกัด ได้รับสัญญาว่าจ้างจาก บริษัท เอกรัฐวิศวกรรม จำกัด (มหาชน)

    ให้ก่อสร้างงานระบบไฟฟ้าของโซลาร์ฟาร์มขนาด 630 กิโลวัตต์ โดยใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ผลิตโดย

    บริษัท เอกรัฐโซล่าร์ จำกัด ขนาดแผงละ 200 วัตต์ บนพื้นที่ 8 ไร่) ส่วนเฟส 2 ไม่ทราบว่าทำเองหรือจ้างคนอื่นครับ จะมีความเชี่ยวชาญในการติดตั้งพอที่จแข่งขันกับเจ้าอื่นๆหรือเปล่าครับ?

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ไม่ต้องไปสน เอกรัฐโซล่าหรอกครับ ตอนนี้เหลือถ่วงแค่ค่าเสื่อม ดอกเบี้ยก็ลงไปเยอะ แถม ค่าเสื่อมกับดอกเบี้ยยังเอามาช่วยเรื่องภาษีของตัวแม่ได้อีก

      ลบ
  9. หุ้นเพิ่มทุนเข้าตลาดพรุ่งนี้ราคาน่าจะร่วงแนะนำเก็บที่กี่บาทดีครับ

    ตอบลบ
  10. หม้อแปลงนี่ถือเป็นธุรกิจที่อยู่ในความสนใจพวกกองทุนหรือต่างชาติหรือไม่ครับ?

    ตอบลบ
  11. ธรรมาภิบาลของผู้บริหารเป็นอย่างไรบ้างคะ? หากมองข้ามเรื่องการปรับโครงสร้างหนี้ไปสู่โหมดการดำเนินธุรกิจตามปกติ AKR ถือว่ายังน่าสนใจอยู่ไหมคะ (อยากทราบแนวคิดผิดถูกไม่ว่ากันค่ะ) ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. สมัยก่อนตอนพี่ชายคุมไม่พูดถึง
      แต่ตอนปี 55 ที่น้องชายขึ้นมาบริหาร ถือว่าขยันดีครับ มีพัฒนาการให้เห็นทุกไตรมาศ ทั้งการปรับโครงสร้างหนี้ การล้างขาดทุนสะสม จนปัญหาจบได้ในวันนี้ เดี๋ยวน่าลุ้นต้นปีหน้าครับว่าจะปันผลฉลองหรือไม่อย่างไร

      ลบ
  12. ค่าเงินบาทแนวโน้มอ่อนตัวลง ถ้าลุยส่งออกแผงโซล่าร์ไปยุโรปกับอเมริกา พอจะลุ้นสู้จีนไหวไหมครับ? แล้วข่าวจีนจะใช้ไทยเป็นฐานส่งออกแผงฯจริงเท็จแค่ไหนครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. อย่าไปหวังบริษัทลูกดีกว่าครับ ขนาดบริษัทจากจีนรัฐบาล support ขนาดนั้นยังเอาตัวแทบไม่รอด

      ลบ
  13. เอกรัฐมีจุดแข็งเรื่องผลิตสินค้าคุณภาพ แต่ด้อยในเรื่องบริหารความเสี่ยงเรื่องการกู้ยืมมาทำธุรกิจ จนต้องปรับโครงสร้างหนี้และเพิ่มทุนเพื่อใช้หนี้มา 2 ครั้งแล้ว ไม่ทราบตอนประชุมผู้ถือหุ้นมีใครเคยถามผู้บริหารมั้ยครับว่าจะแก้ไขหรือป้องกันจุดอ่อนตรงนี้อย่างไรบ้าง ได้แต่ภาวนาขออย่าให้มีครั้งต่อไปอีกเลย เพราะรายย่อยเจ็บหนักทุกที

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ตอนนี้คงเข็ดไม่ทำอะไรแปลกๆไปอีกนาน คุณดนุชา น้อยใจบุญ ที่ขึ้นมาบริหารก็conservative กว่า

      ลบ
  14. จากปัญหาการเมือง ผลประกอบการหม้อแปลงฯปี57 คงดูไม่ดีแน่ๆเลย คงมีแต่รับรู้รายได้จากงานเก่าๆ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. การเมืองไม่ค่อยกระทบครับ ถ้าคนยังใช้ไฟเพิ่มขึ้นหม้อแปลงก็ต้องใช้เพิ่มอยู่ดี

      ลบ
  15. หลายปีก่อนมีคนเคยถามผู้บริหารเรื่องจะจัดการอย่างไร เรื่องบ.เกาหลีที่มาเซ็นสัญญาร่วมทุนกับเอกรัฐโซล่าร์แล้วเบี้ยวไปเฉยๆ ผู้บริหารตอบประมาณว่าอายุความยังเหลือ+ค่าใช้จ่ายสูง ขอแก้ไขปัญหาบริษัทลูกก่อน ณ.ปัจจุบัน = "ช่างหัวมัน" ใช่ไหมครับ?

    ตอบลบ
  16. คำตอบ
    1. AKR ยอดขายเยอะกว่า ยอดขายสม่ำเสมอกว่า และ อัตรากำไรขั้นต้นดีกว่า

      ลบ
  17. Akr ผลประกอบการน่าจะดีกว่าปี 2555 รึป่าวครับ แล้วปีนี้จะมีปันผลรึป่าวก็ไม่รู้ของเก่าติดอยู่อยากซื้อเฉลี่ยราคาตอนนี้ แนะนำมั้ยครับ

    ตอบลบ
  18. ผ่านไป 2 ปี ราคาหุ้นถอยกลับมาที่เดิมเสียเวลาไปเปล่าๆ รู้สึกผิดหวังกับ AKR มาก

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ไม่มีโปรเจกใหม่ๆมาดันกำไรให้โตครับ โรงงานแผงโซ่ล่าก็ยังเป็นตัวถ่วงกำไรอยู่ ถ้าขายสินทรัพย์ออกไปให้พ้นๆงบ กำไรจะดีขึ้นครับ

      ลบ
  19. AKR ผลประกอบการย่ำแย่มาก ธุรกิจหม้อแปลงก็เดีัยง ธุรกิจแผงโซล่าร์ภาครัฐก็ไม่ช่วย จะรอดมั๊ยครับ กลุ่มน้อยใจบุญ (บริษัท เควี แอสเซ็ท)ก็ถือหุ้นแค่ 12.66% จะมีใครสนใจมาเทกโอเวอร์แล้วเปลี่ยนธุรกิจไปทำอย่างอื่นที่ดีกว่านี้มั้ยครับ? เพราะดูแล้วธุรกิจเดิมการแข่งขันสูงผลตอบแทนต่ำ แถมดูแล้วทีมบริหารเดิมก็ไม่ค่อยจะเก่งเลยคาดการณ์อะไรก็ผิดพลาดไปหมด ช้าไปไม่ค่อยจะทันคนอื่นเลย

    ตอบลบ
  20. บริษัทนี้ทำธุรกิจเหมือนแมงมุมชักใยรอเหยื่อ บทจะไม่มีงานก็ไม่มีงานเลย บทจะมีงานก็มาเยอะแต่ก็รับงานมากไม่ได้เพราะทุนมีจำกัด ประมาณหาได้เท่าไหร่ก็ใช้หมดไม่มีเหลือเก็บ หมดโอกาศสะสมทุนเพื่อขยายธุรกิจ ครั้นจะกู้ธนาคารมาลงทุนรายได้ก็แค่พอจ่ายดอกเบี้ย เงินต้นไม่ต้องพูดถึง ทำธุรกิจมา30ปีโตได้ก็แค่นี้แหละ เศรษฐกิจดีก็ได้แค่เดินช้าๆ พอเศรษฐกิจแย่ก็ล้มลงนอนแทบจะลงโลงเลยทีเดียว

    ตอบลบ
  21. หรือจะเป็นเพราะเอานักฟุตบอลมาบริหารงานวิศวกรรมหว่า?

    ตอบลบ
  22. เห็นราคาหุ้น AKR แล้วละเหี่ยใจ ผลประกอบการ 9 เดือนปี60 กำไรสุทธิแค่0.02 บาท ไตรมาสสี่ไม่รู้ว่าจะขาดทุนอีกหรือเปล่า ปี59 ขาดทุน 0.05 บาท นี่ถ้าบริษัทเอาทุนจดทะเบียนบริษัทไปลงทุนซื้อพันธบัตรหรือกองทุนได้ผลตอบแทน ประมาณ 2.5-3%ต่อปีไม่ดีกว่าเหรอ เลิกไปเถอะหม้อแปลงเหนื่อยเปล่า ไม่รู้ว่าจะทนทำไปทำไม รู้ๆอยู่ว่ากำไรต่ำแข่งขันสูง

    ตอบลบ
  23. ผลประกอบการตกต่ำ ราคาหุ้นต่ำตมเตี้ยติดดิน

    ตอบลบ

สงสัยอะไรถามได้ครับผม